ชาเขียว กลายเป็นอีกหนึ่งเมนูยอดฮิตไปแล้วสำหรับคนไทย โดยเฉพาะในหมู่ของคนที่ชื่นชอบความเป็นญี่ปุ่น ซึ่งในหลายๆร้านก็จะมีการนำผงชาเขียวปชงเป็นเครื่องดื่ม หรือเอาไปเป็นส่วนผสมของขนมสไตล์ตะวันตก อย่างเค้ก พาย ทาร์ต หรือขนมปัง
แต่รากฐานจริงๆของการดื่มชาเขียวร้อนนั้น มักจะเสิร์ฟคู่กับขนมวากาชิ ขนมชิ้นเล็กพอดีคำ ที่ถูกตกแต่งอย่างประณีต ในพิธีชงชา ซึ่งเป็นประเพณีดั้งเดิมของญี่ปุ่น วากาชิจึงเป็นจึงเป็นอีกไอเดียที่เจ้าของคาเฟ่ หรือคนที่อยากมีร้านเป็นของตัวเอง สามารถหยิบจับไอเดียไปต่อยอดได้ เพราะเป็นขนมที่ยังไม่แพร่หลายนักในไทย แต่ไม่ว่าใครที่ไปญี่ปุ่น ก็ต้องหาทานกันทุกครั้ง จึงเป็นไอเดียที่น่าสนใจมากสำหรับเจ้าของคาเฟ่ หรือผู้ที่สนใจเปิดคาเฟ่ในการสร้างเอกลักษณ์ให้กับเมนูในร้าน


ขนมวากาชิแบบแห้ง หรือที่เรียกว่าฮิงะชิ

ขนมมันจู

พูดถึงวากาชิ (和菓子 / Wagashi) หรือขนมหวานญี่ปุ่น หลายคนอาจจะยังนึกไม่ออกว่า คืออะไร??

วากาชิ ดั้งเดิมแล้วเป็นขนมหวานแบบแห้งที่ทำด้วยน้ำตาล ในสมัยนั้นน้ำตาลเป็นสิ่งที่หาได้ยากมาก ถูกจำกัดให้ชนชั้นสูงและผู้ผลิตขนมหวานที่ถูกเลือกเท่านั้น ขนมหวานตามฤดูกาลจึงเริ่มถูกคิดค้นขึ้นและนำไปใช้ประกอบพิธีชงชาในยุคนี้เอง

ต่อมาได้มีการดัดแปลง ใช้ถั่ว น้ำตาล แป้งข้าวต่างๆ และแป้งชนิดอื่นๆ เป็นส่วนผสมหลัก และมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะและรสชาติไปตามฤดูกาล เช่น ในฤดูหนาว จะมีวากาชิแบบนึ่งทานอุ่นๆ ที่คล้ายกับซาลาเปา ทำจากแป้งผสมกับน้ำตาล สอดไส้ถั่วแดงหวาน เรียกว่ามันจู และยังมีขนมถั่วแดงต้มร้อนๆ ที่นิยมทานกันในช่วงที่อากาศหนาวอีกด้วย

ต่อมาได้มีการดัดแปลง ใช้ถั่ว น้ำตาล แป้งข้าวต่างๆ และแป้งชนิดอื่นๆ เป็นส่วนผสมหลัก และมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะและรสชาติไปตามฤดูกาล เช่น ในฤดูหนาว จะมีวากาชิแบบนึ่งทานอุ่นๆ ที่คล้ายกับซาลาเปา ทำจากแป้งผสมกับน้ำตาล สอดไส้ถั่วแดงหวาน เรียกว่ามันจู และยังมีขนมถั่วแดงต้มร้อนๆ ที่นิยมทานกันในช่วงที่อากาศหนาวอีกด้วย

ส่วนในฤดูร้อน ขนมมักจะเสิร์ฟแบบเย็นๆ เช่น วุ้น หรือขนมที่ทำจากแป้ง น้ำตาล และถั่วแดง
ความพิเศษและน่าตื่นตาตื่นใจของวากาชิอีกอย่างที่ไม่เหมือนเบเกอรี่อื่นๆ คือ ลวดลายขนมที่เกิดจากการสร้างสรรค์ตามธรรมชาติ เช่น ต้นไม้ ดอกไม้ ตามการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล เช่น ฤดูใบไม้ร่วง จะทำขนมเป็นรูปใบเมเปิ้ล ฤดูร้อน ทำเป็นรูปพัด หรือดอกทานตะวัน เป็นต้น

วุ้นโยคัง ที่มักเสิร์ฟในช่วงหน้าร้อน

ขนมวากาชิยังมีอีกหลายชนิด เช่น โดรายากิ ไดฟุกุ ดังโงะโมจิ นามะกาชิ โมนากะ เป็นต้น ซึ่งขนมเหล่านี้นอกจากจะใช้เสิร์ฟคู่ชาที่ร้านได้แล้ว ยังสามารถนำผงมัทฉะไปเป็นส่วนผสมในการทำขนมได้อีกด้วย เช่น ร้านไหนที่มีเมนูไอศครีมชาเขียวอยู่แล้วสามารถนำมาเสิร์ฟในรูปแบบขนมโมนากะ แป้งเวเฟอร์ สอดไส้ถั่วแดงและโมจิ ยิ่งดูเพิ่มมูลค่าให้ขนมดูน่าทานและไม่ซ้ำกับร้านไหนๆได้อีก
หรือจะเป็นลองนำผงมัทฉะมาทำวุ้นโยคัง วุ้นสไตล์ญี่ปุ่น เสิร์ฟคู่กับถั่วแดงเชื่อมเม็ดโต ยิ่งดูน่าทานมากขึ้น

ที่มา

http://www.flickr.com/photos/bananagranola/2070637842/in/set-72157602396958026/

https://www.flickr.com/photos/kiri_no_hana/9663383258/

https://500px.com/photo/32742361

http://www.flickr.com/photos/bananagranola/2553212708/in/set-72157602396958026

http://www.flickr.com/photos/bananagranola/2553212708/in/set-72157602396958026

https://www.flickr.com/photos/lotus-aki/15441310123/

http://masoupedujour.tumblr.com/post/3928153619/clover-by-green-piglet

By : Contrary To Popular Belief

Share on facebook
Share on twitter

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง

Privacy Preferences

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save