เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าชาเขียวเป็นเครื่องดื่มที่มีคุณค่าทางสารอาหารสูง แต่อย่างไรก็ตามชาเขียวก็มีหลายแบบ ซึ่งเชื่อว่าหลายคนคงคิดว่า ผงมัทฉะ เป็นชาประเภทที่คุณประโยชน์น้อยมาก หากดื่มชา จึงมักจะเลือกดื่มที่เป็นชาใบมากกว่าผงชา แต่ในความเป็นจริงแล้วผงมัทฉะ ก็มีประโยชน์ต่อสุขภาพไม่แพ้กัน เพราะผงมัทฉะ เป็นยอดชาที่ถูกนำเข้าสู่โรงอบไอน้ำโดยเร็วที่สุดเพื่อหยุดกระบวนการออกซิเดชั่น เป็นการรักษาปริมาณสารคาเทซินในใบชาให้คงอยู่ไว้มากที่สุด แล้วนำใบชาแห้งจากการอบ เข้าสู่กระบวนการร่อนเพื่อคัดกิ่งและก้านออกจนหมด ก่อนจะนำไปบดด้วยเครื่องโม่ที่ทำจากหินชนิดพิเศษที่ทำเพื่อการบดมัทฉะโดยเฉพาะนั่นเอง
เดิมทีแล้วมัทฉะเป็นเครื่องดื่มล้ำค่าและมีคุณค่าสูง ซึ่งในอดีตมัทฉะจะถูกสงวนไว้เฉพาะสมเด็จพระจักรพรรดิ ราชวงศ์ และขุนนางชั้นสูงเท่านั้น แม้ในปัจจุบันการดื่มมัทฉะจะแพร่หลายไปทั้งประเทศญี่ปุ่นและทั่วโลก ความพิถีพิถันทุกขั้นตอนก็ยังคงอยู่อย่างไม่เสื่อมคลาย การเก็บมัทฉะเก็บเกี่ยวได้เพียงปีละครั้งเท่านั้น โดยคัดเลือกจากแปลงชาที่สมบูรณ์ที่สุด เมื่อใบชาเริ่มแตกยอด ก่อนจะเก็บเกี่ยว 1 เดือน จะต้องใช้ผ้าสีดำคลุมไว้ทั้งแปลง เพื่อให้สารอาหารที่รากถูกดูดซึมขึ้นมาเก็บกักไว้ที่ใบอ่อน 3 ใบแรก จากนั้นกระบวนการเก็บยอดชา ต้องเก็บด้วยมือโดยผู้ชำนาญที่มีประสบการณ์เท่านั้น และเลือกเฉพาะยอดอ่อนที่สมบูรณ์ 3 ใบแรก ต้องไม่ปนเปื้อนกับส่วนอื่นการเก็บเกี่ยวต้องทำให้เสร็จสิ้นก่อนแสงแรกแห่งอรุณรุ่งจะมาเยือน
เซนฉะแม้จะเกิดจากต้นชาชนิดเดียวกับมัทฉะ แตกต่างกันที่เซนฉะจะปลูกกลางแจ้งตลอดปี ไม่มีการคลุมด้วยผ้าสีดำ เซนฉะจะเก็บเกี่ยวได้ปีละ 4 ครั้ง โดยใช้กรรไกรตัดยอดต้นชา จากนั้นนำมาเป่าให้แห้ง สลับกับปั่นใบชาให้เป็นเกลียว จนได้ใบชาที่แห้งพอเหมาะพอดี ที่ให้รสชาติเข้มข้นและกลิ่นหอมกำลังดี ซึ่งการดื่มเซนฉะ จะนำใบชาแห้งใส่น้ำร้อน รอสักครู่จนน้ำชามีสีเข้มตามต้องการ จึงรินน้ำชามาดื่ม คุณค่าสารอาหารที่ได้จากเซนฉะจึงมาจากการที่ใบชาละลายในน้ำ ต่างจากมัทฉะที่เป็นการดื่มชาจากผงที่บดทั้งใบ ชาชนิดนี้จะมีลักษณะพิเศษ คือ มีสารคาเทชิน (catechin) หรือสารต้านอนุมูลอิสระหลงเหลืออยู่มาก ซึ่งสารคาเทชินที่มีในเซนฉะจะช่วยลดระดับการดูดซึมไขมันและเป็นส่วนประกอบที่ช่วยป้องกันความเสียหายของเซลล์ร่างกาย ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เซนฉะนั้นเป็นหนึ่งในชาที่นิยมดื่มกันในหมู่ผู้รักสุขภาพนั่นเอง
ว่าด้วยเรื่องปริมาณคาเฟอีนของชาเขียวมัทฉะและเซนฉะ
เนื่องจากวิธีการปลูกของชาแต่ละชนิดแตกต่างกันจึงมีคาเฟอีนในระดับที่แตกต่างกัน ชามัทฉะที่ปลูกในสภาพที่ร่มรื่นจะมีคาเฟอีนมากกว่า แต่มัทฉะปกติหนึ่งถ้วยมีคาเฟอีนประมาณ 70 มก. ซึ่งต่ำกว่ากาแฟขนาดเดียวกันเล็กน้อย (ขึ้นอยู่กับเมล็ดกาแฟที่ใช้) ส่วนชาเซนฉะ มีคาเฟอีนระหว่าง 20-30 มก. ต่อถ้วยขึ้นอยู่กับคุณภาพของใบชาและระยะเวลาที่อนุญาตให้ชง หากใครที่ต้องการลดปริมาณคาเฟอีนในร่างกาย ชาเซนฉะจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าเนื่องจากมีคาเฟอีนน้อยกว่ามัทฉะประมาณ 40 มก.
ชาเขียวมัทฉะและเซนฉะ สารต้านอนุมูลอิสระตัวไหนสูงกว่ากัน?
โดยทั่วไปชาเขียวถือเป็นหนึ่งในเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่ควรบริโภค ซึ่งทั้ง2 ชนิด อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่
โพลีฟีนอล :สารอาหารขนาดเล็กที่เชื่อว่าช่วยเรื่องการย่อยอาหารช่วยในการควบคุมน้ำหนักและช่วยปรับปรุงสภาวะต่างๆรวมถึงโรคเบาหวานและโรคหัวใจและหลอดเลือด
Catechins:เป็นโพลีฟีนอลชนิดหนึ่งและเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่แข็งแกร่งที่สุดที่พบในชาเขียวซึ่งสามารถช่วยป้องกันความเสียหายของเซลล์ งานวิจัยบางชิ้นรายงานว่าคาเทชินมีคุณสมบัติในการต่อต้านมะเร็ง
L-theanine: กรดอะมิโนที่ช่วยในการผ่อนคลาย ช่วยลดระดับความวิตกกังวลได้
แม้ว่าชาเซนฉะ ขึ้นชื่อว่าเป็นชาที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระอย่างมาก มีประโยชน์ในการลดระดับคอเลสเตอรอลสูงและไตรกลีเซอไรด์ในเลือดปรับปรุงการไหลเวียนโลหิต แต่ก็ยังถือว่ามีปริมาณที่น้อยกว่าผงมัทฉะ เนื่องจากการดื่มชาจากผงมัทฉะ คือ การที่บริโภคทั้งใบจึงได้รับสารอาหารมากที่สุด การดื่มเซนฉะในรูปแบบผงจะทำให้คุณได้รับสารอาหารมากขึ้นจากรูปใบเช่นกัน
นอกจากนี้เซนฉะยังช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเซนฉะยังมีปริมาณ vitamin C และ vitamin E ที่มากกว่าผงมัทฉะ
แต่ในทางกลับกัน ผงมัทฉะ มี vitamin B6 และ beta-carotene ที่มากกว่าชาเซนฉะ จะเห็นว่าทั้ง 2 ชนิดมีคุณค่าทางสารอาหารที่เหมือนกัน ต่างกันแค่ปริมาณที่ได้รับ ดังนั้นการดื่มชาชนิดใดก็ตามถือว่าดีต่อสุขภาพ
ที่มา
https://www.pinterest.com/pin/405605510171042632/
บทความจาก : Fuwafuwa