การปลูกชาเขียว แต่ละไร่ แต่ละที่ก็มีวิธีการเคล็ดลับที่แตกต่างกันออกไป ส่งผลให้รสชาติชาแต่ละที่ไม่เหมือนกัน แต่จริงๆปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อรสชาติ คือ อากาศ ดิน และคนปลูกถ้าปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งมีความต่างกัน กระบวนการผลิต และรสชาติย่อมออกมาแตกต่างกัน แม้ชาที่ใช้ปลูกจะเป็นสายพันธุ์เดียวกันก็ตาม
ที่มา http://blog.davidstea.com/en/get-to-know-loose-leaf-tea/
ปัจจัยแรกที่ส่งผลต่อรสชาติชาเป็นอย่างมาก คือ ดิน เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ชาแต่ละที่มีคุณภาพแตกต่างกับอีกที่ ซึ่งนอกจากดินตามธรรมชาติของแหล่งปลูกแต่ละแหล่งจะมีผลแล้ว การคัดเลือกดิน รวมถึงการใส่ปุ๋ยแต่ละไร่ชาก็จะมีสูตรพิเศษของตนเองที่ทำให้ชารสชาติออกมาตามที่ต้องการแตกต่างกันสภาพเนื้อดินบนที่สูงจะมีแดงเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเกิดจากการซะล้างและบางพื้นที่เกิดจากการสลายตัวของภูเขาหินปูน ทั้งนี้ดินที่เหมาะสมสำหรับการปลูกชามีค่าความเป็นกรดด่างอยู่ระหว่าง 4.5-5.5 ซึ่งมีสภาพเป็นกรดเล็กน้อย
ปัจจัยต่อมา คือ อากาศ ชาเขียว จำเป็นต้องปลูกในทั้งอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสม ควรเป็นพื้นที่มีหมอก ที่เกิดจากอุณหภูมิที่มีความแตกต่างกันสูง ในตอนกลางวันและกลางคืน ถึงแม้ว่าชาสามารถทนอุณหภูมิต่ำได้ดี แต่ก็ไม่ควรให้เกล็ดน้ำแข็งเกาะใบชา จะทำให้ใบชาเสียคุณภาพ จึงจะสังเกตได้ว่าในญี่ปุ่นจะมีพัดลมเป่าความร้อนขนาดใหญ่เกือบทุกไร่ชา เพื่อเป่าไม่ให้เกล็ดน้ำแข็งเกาะใบชาในฤดูหนาวนั้นเอง ซึ่งคุณภาพของใบชาโดยเฉพาะด้านกลิ่นและรสชาติส่วนนึงจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ฉะนั้นจึงมีความเกี่ยวข้องกับสภาพพื้นที่ปลูกอย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้พื้นที่ที่มีความสูงมากจะมีอากาศหนาวเย็นและอุณหภูมิคงที่เกือบตลอดทั้งปี จะส่งผลให้ผลผลิตใบชาสดมีคุณภาพแต่จะให้ผลผลิตต่ำ ซึ่งตรงข้ามกับพื้นที่ต่ำ อุณหภูมิสูง จะให้ผลผลิตสูงแต่คุณภาพต่ำ
ที่มา http://chaehbae.tumblr.com/post/90942615222/tea-fields-zhejiang-china-awesome-amazing
ปัจจัยต่อมาที่สำคัญไม่แพ้กัน คน คือ หัวใจของกระบวนการทั้งหมด ที่นอกจากจะต้องใช้ผู้มีประสบการณ์สูงในแต่ละขั้นตอนแล้ว ยังต้องใช้ความเอาใจใส่ ความละเอียดรอบคอบในการดูแลชาเพื่อให้ได้มาตรฐานที่ควรจะเป็น
ที่มา http://www.trekearth.com/gallery/Asia/Indonesia/Java/Jawa_Barat/Ciwalini/photo633381.htm
นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล็กๆน้อยๆที่ส่งผลต่อรสชาติชาอีกด้วย เช่น การเก็บใบชาจะเลือกที่มีลักษณะ 2 ยอด 1 ใบ เพราะใบชาส่วนนี้จะเต็มไปด้วยสารโพลีฟีนอลเป็นสารสำคัญที่จะส่งผลต่อสี กลิ่น รสชาติ รวมไปถึงคุณประโยชน์ต่างๆ ที่ดีต่อสุขภาพอีกด้วย
ซึ่งถ้าพูดถึงชาของญี่ปุ่น เรามักจะนึกถึง ชาจากอูจิเกียวโตและ ชาจากชิซุโอกะทั้งสองแห่งนี้ได้สร้างสไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์ในการผลิตชาที่งดงามและน่าอัศจรรย์ และยังมีเรื่องราวของการเดินทางที่สนใจแตกต่างกันออกไปอีกด้วย
อูจิ เกียวโต ดินแดนแห่งชาดั้งเดิม
อย่างที่ทราบกันอยู่แล้วว่าที่เกียวโต เมืองอูจิเป็นสถานที่แห่งประวัติศาสตร์ของชา ในตอนแรกการปลูกชาในอูจิมีหลากหลายแบบ แต่หลังจากนั้นก็ได้มุ่งเน้นไปที่การผลิตมัทฉะเป็นหลัก
เนื่องจากชามัทฉะมีความสัมพันธ์ที่สามารถผสมผสานไปกับลัทธิเซน เนื่องจากที่เกียวโตมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับวัดวาอารามชั้นนำหลายแห่ง จึงเน้นไปที่มัทฉะเป็นหลัก ด้วยดินที่ยอดเยี่ยมและวิธีการผลิตที่ดี ทำให้อูจิได้สร้างชาที่มีชื่อเสียงระดับโลกที่ผสมผสานรสชาติและประวัติศาสตร์เข้าด้วยกัน
ที่มา http://pin.it/YUO1SKu
ส่วนที่ชิซุโอกะ ต้นกำเนิดของชาสมัยใหม่
ประวัติศาสตร์ชาของชิซุโอกะนั้นแตกต่างจากอูจิ ในขณะที่มัทฉะใช้ชาที่เติบโตในภูมิภาค แต่เกษตรกรของชิซุโอกะได้คัดสายพันธ์ุชาอื่น ๆ ที่หลากหลาย เนื่องจากได้รับอิทธิพลของพุทธศาสนาน้อยกว่า ชิซุโอกะเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีการผลิตชาเขียวที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 40% ของไร่ชาทั้งหมด หนึ่งในนวัตกรรมหลักของชิซุโอกะ คือ ความหลากหลายของสายพันธุ์ที่เรียกว่า เซนฉะยะบุกิ (Sencha Yabukita)ซึ่งมีชื่อเสียงในด้านความแข็งแกร่ง กลิ่นหอม และรสหวาน กว่าที่เกียวโตนั้นเอง
ที่มา https://www.flickr.com/photos/ippei-janine/5721719180/
บทความจาก : Fuwafuwa