พิธีชงชาหรือที่เรียกว่า ชะโด (Chadou) มาจากคำว่า ชะ (Cha) แปลว่า “ชา” และ โด (Dou) แปลว่า “วิถี” รวมกันจึงหมายถึง “วิถีแห่งชา” ซึ่งจุดมุ่งหมายสูงสุดของพิธีชงชา คือ การแสดงออกถึงความงามในการต้อนรับผู้มาเยือน และการชื่นชมคุณค่าและความงามของสิ่งต่างๆ รอบตัว และมิตรภาพระหว่างเจ้าบ้านและแขกผู้มาเยือนนั่นเอง ซึ่งอุปกรณ์พื้นฐานสำหรับพิธีชงชาแบบครบชุด ได้แก่
- คะมะ (Kama) กาน้ำสำหรับใช้ต้มน้ำใส่ชา
- นัทสึเมะ (Natsume) โถสำหรับใส่ผงชามัทฉะ
- ชะอิเระ (Chaire) โถใส่ชา
- ชะฉะคุ (Chashaku) ช้อนตักผงชา มีลักษณะยาว ปลายแหลมเล็ก ทำจากไม้ไผ่ ดูเพิ่มเติมได้ที่ shorturl.at/alIZ1
- ชะเซน (Chasen) อุปกรณ์สำหรับคนชา ทำจากไม้ไผ่ ดูเพิ่มเติมได้ที่ shorturl.at/sDGIT หรือ shorturl.at/aqBT2
- ชะวัง (Chawan) ถ้วยชาขนาดใหญ่ แตกต่างไปตามฤดูกาล
- ชะคิง (Chakin) ผ้าสำหรับเช็ดทำความสะอาดถ้วยชา
- ฮิชะคุ (Hishaku) กระบวยสำหรับตักน้ำชงชา
ซึ่ง Matchazuki เราก็ได้พาไปรู้จักอุปกรณ์ชงชามาหลายแบบแล้ว รอบนี้จะพาไปรู้จักกับผ้าผืนเล็กๆ ที่เรียกว่า Tea cloth (茶巾, chakin) ผ้า chakinส่วนมากจะเป็นผ้าลินินสีขาว แต่ในยุคปัจจุบันก็มีการทำแบบมีลวดลายเพิ่มมากขึ้น ขนาดจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับการใช้งานและรูปแบบ แต่มักเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดประมาณ 30.3 x 15.2 ซม. ซึ่งผ้านี้จะถูกพับในลักษณะเฉพาะและวางไว้ในภาชนะขนาดเล็กหรือทรงกระบอกที่เรียกว่า kintō (巾筒) ซึ่งผ้า chakin นี้นิยมใช้เช็ด chawan หรือถ้วยชงชา หลังจากล้างเสร็จ ซึ่งวิธีการใช้ผ้า chakin นี้ จะต้องมีการพับอย่างสวยงาม เพื่อการใช้งานที่ง่าย และเป็นระเบียบ เวลาอยู่ในพิธีชงชาจะได้ดูสง่าสงาม
สามารถดูวิธีพับเพิ่มเติมได้ที่https://www.youtube.com/watch?v=Uv-wxLKVxuI&ab_channel=KoheiYamamoto
จะสังเกตวิธีการใช้ chakin ในการเช็ดถ้วยชา (chawan) ได้ตามตัวอย่างในภาพข้างต้น ซึ่งหลังจากพับเรียบร้อยแล้วจะวางพักไว้ในถ้วยชงชา ( chawan ) ก่อนเริ่มพิธีตามตัวอย่างด้านล่างนี่เอง หากร้านไหน มีการจัดกิจกรรมพิธีชงชาที่ร้านเพื่อให้ลูกค้าได้สัมผัสประสบการณ์พิธีชงชาแบบญี่ปุ่นจริงๆ อย่าลืมนำผ้า chakin มาเป็นส่วนหนึ่งในการจัดกิจกรรมดังกล่าว
ที่มา
https://www.facebook.com/MatsuKazeTea/photos/a.563146407056813/3132182870153141/shorturl.at/abqHN
บทความจาก : Fuwafuwa