
เมื่อพูดถึงการชงชา หลายคนอาจนึกถึงแค่อุณหภูมิของน้ำ แต่ชนิดของน้ำที่ใช้ก็มีความสำคัญเช่นกัน โดยทั่วไปเราใช้น้ำดื่มบรรจุขวดมาต้มให้เดือด แต่บางคนอาจสงสัยว่า “น้ำแร่” ซึ่งมีแร่ธาตุมากจะใช้ชงชาได้ไหม และจะช่วยให้รสชาติหรือคุณภาพของชาดีขึ้นจริงหรือไม่? มาหาคำตอบกันค่ะ
น้ำแร่ มี 2 ชนิด แบ่งชนิดตามปริมาณของแร่ธาตุแมกนีเซียมและแคลเซียมที่พบในน้ำ ซึ่งถ้ามีปริมาณของแร่ธาตุสูง จะเรียกว่า “น้ำกระด้าง” (Hard Water)เป็นน้ำที่มีหินปูนและแมกนีเซียมละลายอยู่ด้วยค่อนข้างมาก แต่ถ้ามีปริมาณของแร่ธาตุต่ำ ก็จะเรียกว่า “น้ำอ่อน” (Soft Water)ส่วนมากน้ำแร่ นำเข้าจากต่างประเทศจะเป็นน้ำแร่ธรรมชาติแบบน้ำกระด้าง แต่ถ้าในไทยจะเป็นน้ำแร่ธรรมชาติแบบน้ำอ่อน โดยหลักแล้วน้ำทั้ง 2 ชนิด สามารถชงชาได้รสชาติดีเหมือนกัน แต่กลิ่น สีจะแตกต่างกัน
ในการชงชา นิยมใช้น้ำอ่อนมากกว่าน้ำกระด้าง เพราะน้ำอ่อนมีแร่ธาตุน้อย ทำให้ชามีสีเข้ม รสชาติกลมกล่อม ดื่มด่ำได้เต็มที่ ต่างจากน้ำกระด้างที่แร่ธาตุในน้ำอาจกลบรสชา และอาจมีกลิ่นคล้ายโลหะ ทำให้รสและกลิ่นหอมของชาจางลง อย่างไรก็ตาม การเลือกใช้น้ำกระด้างหรืออ่อนขึ้นอยู่กับสุนทรียะและความชอบของแต่ละคนนั่นเอง
อย่างไรก็ตามก็มีบางคนที่เน้นความสะดวก นำน้ำประปามาต้มแล้วเอามาใช้ชงชาดื่ม ซึ่งน้ำต้มที่ได้จะมีคลอรีนที่ใช้สำหรับฆ่าเชื้อโรคในน้ำละลายปนอยู่ด้วย จะมีกลิ่นอื่นเจือปนอยู่ ถ้าอยากจะใช้น้ำประปาไปต้มชงชา ควรต้มน้ำในภาชนะที่ไม่มีฝาปิดและควรเพิ่มเวลาต้ม ประมาณ 3-5 นาที เพื่อให้กลิ่นคลอรีนระเหยหมดไป
ดังนั้นในการชงชาสามารถใช้น้ำแร่ชงได้ และสามารถใช้น้ำดื่มทั่วไปที่ สด ใหม่ สะอาด บริสุทธิ์ กล่าวคือ น้ำที่ไม่มีกลิ่นอื่นเจือปน ไม่ใช้สารเคมีในการปรับคุณภาพ อีกทั้งไม่ใช่น้ำที่ผ่านการต้มมาแล้วหลายครั้ง เพราะน้ำต้มที่ผ่านการต้อมหลายครั้งจะมีออกซิเจนน้อย หากนำมาชงชาจะทำให้รสชาติชาจืดชืดไป ขาดความนุ่ม และความลึก เป็นไปได้ ควรใช้น้ำที่มีค่าน้ำเป็นกลาง (PH7)ดังนั้นจะเหมาะที่สุด
ทั้งนี้การใส่ใจกับคุณภาพน้ำอย่งเดียวไม่ได้ส่งผลต่อรสชาติของชา 100% แต่ความอร่อย รสชาติอูมามิของชา ยังต้องคำนึงถึงอุณหภูมิของน้ำ ระยะเวลาที่ใช้ชง คุณภาพใบชา และยังรวมถึงเรื่องของภาชนะที่ใช้ในการชงชาอีกด้วย
ที่มา
บทความจาก : Fuwafuwa