ในยุคที่เศรษฐกิจไม่ค่อยดี ร้านค้าหลายร้านก็ถูกปิดตัวลง ร้านที่ยังอยู่รอดก็พยายามงัดหลากหลายกลวิธี ทั้งออกสินค้าใหม่ จัดกิจกรรม จัดโปรโมชั่นต่างๆ เพื่อดึงดูดลูกค้าให้กลับเข้าร้านมากขึ้น แต่มีอีกวิธีหนึ่งที่หลายแบรนด์อาจจะมองข้ามไป นั่นคือ การรับผลิตสินค้าให้กับแบรนด์ต่างๆ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ OEM
OEM ย่อมาจาก Original Equipment Manufacturer คือ การที่ร้านค้าไหน หรือแบรนด์ใดที่มีจุดเด่นในเรื่องการผลิตสินค้าสามารถเข้ารับจ้างผลิตสินค้าให้กับบริษัทอื่นๆได้ โดยเป็นลักษณะของการ Collaboration หรืออาจจะเป็นการผลิตให้แบรนด์อื่นๆเพื่อไปขายในแบรนด์ของตัวลูกค้าเองขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้าโดยการใช้กระบวนการผลิตของโรงงานหรือร้านค้าเองตั้งแต่ฝ่ายผลิต ไปจนถึง เครื่องจักรต่างๆสำหรับการผลิต ซึ่งลูกค้าที่มาจ้างร้านค้าหรือโรงงานผลิต อาจจะมีความเชี่ยวชาญไม่มากพอในการทำสินค้าชนิดนั้นๆ หรือเล็งเห็นถึงความสามารถและเอกลักษณ์ของโรงงานหรือร้านค้านั่นๆว่าสามารถผลิตสินค้าตามเสปคได้
ในมุมมองลูกค้าหรือแบรนด์อื่นๆที่มาจ้าง
- ถือว่าช่วยลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงได้เพราะสามารถย้ายฐานการผลิตไปที่อื่นๆที่ต้นทุนต่ำกว่าได้ตลอด
- เจ้าของแบรนด์ไม่ต้องมีโรงงานเป็นของตัวเอง ง่ายต่อการเปลี่ยนลักษณะหรือกลยุทธ์ทางธุรกิจ
- มีผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาทางการผลิตคอยดูแลให้ ได้วัจถุดิบตามมาตรฐานที่ต้องการโดยไม่ต้องลงแรงในการเสาะหาเองตั้งแต่ขั้นแรก
แต่ถ้ามองในมุมมองของร้านค้าหรือโรงงานที่รับผลิตสินค้าให้
- มีร้ายได้อีกช่องทางเพิ่มมากขึ้นโดยที่ไม่ต้องลงทุนคิดสินค้าเองตั้งแต่ต้นจนจบ เพราะมีสูตรจากทางผู้ว่าจ้างมาให้แล้ว
- ประหยัดต้นทุนทางการตลาดในการโฆษณาสินค้านั้นๆ เพราะผู้ผลิตไม่ได้เป็นคนขายสินค้าเอง
- ไม่ต้องคำนึงถึงการบริหารจัดการสต็อกสินค้าเอง เพียงแค่ทำตามออเดอร์ที่แบรนด์อื่นๆมาว่าจ้างให้ผลิต
อย่างไรก็ตามการรับทำ OEM ให้แบรนด์อื่นๆ นอกจจากจะต้องคิดต้นทุนให้รอบคอบก่อนนำเสนอราคาขายให้แบรนด์ที่มาว่าจ้างแล้ว ยังต้องคำนึงถึงราคาที่แบรนด์นั้นๆจะไปขายต่อผู้บริโภคด้วย เพราะถ้าเราตั้งไว้สูงตั้งแต่แรก เจ้าของแบรนด์เขาต้องไปบวกราคาเพิ่มอีกกว่าจะถึงลูกค้า สินค้าชิ้นนั้นๆอาจจะราคาสูงเกิน ทำให้ยอดขายไม่ดีได้เช่นกัน
นอกจากนั้นแล้วการรับ OEM ต้องคำนวนถึงค่าขนส่งสินค้า ด้วยเช่นกันว่า ราคาที่เราตั้งนั้นรวมถึงค่าขนส่งหรือยัง และจำเป็นจะต้องมองยาวไปถึงเรื่องการที่ของอาจจะแตก พัง เสียหาย ความสูญเสียทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นด้วยว่า ควรมีระบบรับเคลมสินค้า รับประกันสินค้าที่เราผลิตให้อย่างไรบ้าง
หากใครยังไม่เห็นภาพว่าจะเริ่มรับ OEM แบรนด์ไหนได้บ้าง มาลองดูไอเดียตัวอย่างที่เหมาะกับการเริ่มหาลูกค้าในกลุ่ม B2B แบบนี้ดู เช่น
- ร้านที่เน้นขายขนม เครื่องดื่มสำหรับคนรักสุขภาพโดยเฉพาะ สูตรต่างๆเป็นเมนูหวานน้อย ไม่ใส่น้ำตาล แนะนำให้นำรับผลิตเครื่องดื่มหรือขนมสำหรับผู้แพ้อาหารให้กับโรงพยาบาล หรือ ออกเครื่องดืมชาเพื่อสุขภาพให้กับฟิตเนส ผลิตขนม หรือ ชา โดยให้ตีตราเป็นของโรงพยาบาลหรือฟิตเนสนั้นๆไปเลย
- ร้านที่มีจุดเด่นเรื่องการใช้ผงชาเขียวพรี่เมี่ยม สามารถนำวัตถุดิบนี้ในการรับผลิตขนมตามสูตรที่่แบรนด์ต่างๆต้องการเพื่อให้ได้รสชาติชาเขียวออริจินัล ตามแบบที่โรงงานหรืิร้านค้าเราใช้อยู่แล้ว สามารถรับผลิตได้หลากหลายสินค้าเลย เช่น คุกกี้ พุดดิ้ง หรือเมนูเสปรดต่างๆจากชาเขียว ซึ่งไลน์การผลิตขนมหลากหลายรูปแบบนี้ เหมาะกับการทำให้บริษัททัวร์ สายการบิน หรือ โรงแรม หรือแม้แต่ตามร้านอาหารญี่ปุ่นที่ไม่มีเมนูของหวาน เพราะเชี่ยวชาญด้านการทำเมนูของคาวมากกว่า ก็สามารถนำเสนอเมนูขนมหวานแล้วให้ตีตราเป็นแบรนด์ของร้านอาหารนั้นๆไปเลย ก็สามารถทำได้เช่นกัน
การเพิ่มยอดขายให้ร้านของคุุณ ไม่ได้มีแต่การลดราคา แจกของแถม แต่มองมุมให้กว้างขึ้น อย่าโฟกัสแต่ผู้บริโภคที่เป็นลูกค้าปกติ แต่ให้มองถึงกลุ่มบริษัท ร้านอาหาร หรือธุรกิจอื่นๆด้วย ก็จะเจออีกหลายกลยุทธ์ ที่ใช้ส่งต่อความอร่อยได้
ที่มา
https://www.moshimoshi-nippon.jp/115252
https://www.pinterest.com/pin/Ab-c8jUkof2iYtJeTFNSBg58sGUXOAgBICxwy85elSDMHu7Ky4Yqygw/
http://www.thirstyfortea.com/2016/12/18/tea-shortbread-coins/
บทความจาก : Fuwafuwa