หลากหลายไอเดีย กับโดนัทชาเขียว

จะเห็นว่าช่วงนี้เทรนด์โดนัทกำลังมา หลายๆร้านเริ่มทำโดนัทในรูปแบบต่างๆ ร้านขายเฉพาะโดนัทอย่างเดียวเปิดใหม่ก็เยอะขึ้น แม้กระทั่งแบรนด์ไก่ทอดชื่อดังก็มีการเอาเมนูโดนัทเข้ามามิกซ์กับเมนูที่ร้าน Matchazuki จึงพลาดไม่ได้ที่จะพาไปดูไอเดียดีๆจากร้านโดนัทน้องใหม่ที่เกียวโต อย่างร้าน Koe Donut และร้านโดนัทที่ขึ้นชื่อเรื่องความน่ารักอันดับต้นๆของญี่ปุ่นอย่างร้าน Floresta nature donuts

Koe Donutsภายในร้านจะพบกับโดนัทหน้าตาไม่คุ้นเคย และรสชาติใหม่ๆที่ไม่มีในไทยหลายตัวที่น่าลอง เช่นโดนัทชาเขียว โรยตกแต่งด้วยถั่วพิซาชิโอ เป็นต้น แม้ว่าโดนัทในร้านทุกชิ้นจะทำจากส่วนผสมที่เรียบง่ายที่ให้รสชาติโดนัทแบบดั้งเดิมแต่ด้วยความสดใหม่ที่ผลิตโดนัทขึ้นเองทุกเช้าประกอบกับไอเดียการสร้างสรรค์โดนัทมากมาย ทำให้ร้านนี้ไม่ว่าใครผ่านไปมาที่เกียวโต ต้องแวะเข้าไปอย่างแน่นอน ภายในร้านยังมีโซน “Powder Factory” ที่สามารถชมวิธีการทำโดนัทได้สดๆ  ขณะที่นั่งรับประทานไปได้ด้วย ซึ่งความตั้งใจของแบรนด์จริงๆแล้ว คือ อยากจะสร้างความเชื่อมโยงกันระหว่างวัฒนธรรมญี่ปุ่น แฟชั่น งานออกแบบที่ทันสมัย และอาหาร และส่งเสียงนี้ออกไปให้โลกได้รับรองในหลากหลายรูปแบบโดนัทที่ทำออกมาแต่ละตัวจึงมีความสวยงาม ไม่ซ้ำโดนัทแบบเดิมๆ อย่างเช่นการเอาถั่วเม็ดโตที่เป็นเอกลักษณ์ในการทำขนมวากาชิของญี่ปุ่นมาตกแต่งเป็นหน้าขนมโดนัท หรือที่เมืองเกียวโตขึ้นชื่อเรื่องความอร่อยของชาเขียว ทางร้านเลยจัดเมนู Uji matcha tiramisu Donut melt ที่เปลี่ยนภาพลักษณ์การเสิร์ฟโดนัทที่คุ้นตาให้เป็นในรูปแบบเค้กนี่เอง

Koe Donuts Koe Donuts

ดูแผนที่ https://goo.gl/maps/cpa9MAamNvmZMzDb8

ดูไอเดียเพิ่มเติมได้ที่https://www.instagram.com/koe_donuts/?hl=en

Floresta nature donuts

อีกร้านที่หลายคนคุ้นชื่ออยู่แล้วอย่างFloresta nature donutsในย่าน Koenji โตเกียว โดนัท ร้านนี้ใช้แป้ง  organic เนื้อโดนัทออกจะหยาบตามสไตล์แป้ง wholewheat ทำออกมาหลายรูปทรง และมีโดนัทที่ทำเป็นรูปสัตว์น่ารักๆมากมายที่ใช้ส่วนผสมของเกลซรสชาติต่างๆทั้งชาเขียว ช็อคโกแลต สตอเบอรี่ ให้ขนมออกมาน่ารักสดใส ลืมภาพโดนัทกลมๆมีรูตรงกลางปกติไปเลย ร้านนี้มีหลายสาขานอกจากที่โตเกียวก็ยังมีที่นารา เกียวโต โอซาก้า

Floresta nature donuts Floresta nature donuts

หลังจากได้ไอเดียการสร้างสรรค์โดนัทรูปแบบต่างๆแล้ว จะพามาต่อยอดไอเดียกับเมนูโดนัทชาเขียว ด้วยการตกแต่ง 3 รูปแบบ ที่ใช้ส่วนผสมน้อย และทำง่ายมาก ได้แก่

  1. Matcha Glaze ทำง่ายมากเพียงเอาผงชาเขียวและไอซิ่งผสมกัน แล้วเทนมอัลมอนด์ลงไปคนจนเข้ากัน แล้วเอาโดนัทมาชุบเป็นเกลซชาเขียวได้เลย ส่วนผสมสูตรนี้ ได้แก่
  • น้ำตาลไอซิ่ง ½ ถ้วย
  • ผงชาเขียว ⅛ ถึง ¼ ช้อนชา ขึ้นอยู่กับว่าอยากได้ขนมที่มีความเขียวมากน้อยแค่ไหน
  • นมอัลมอนด์ 1 ช้อนโต๊ะ

   2.  Matcha Cane Sugar ตัวนี้สีชาเขียวจะไม่เข้มมาก เริ่มจากการเอาโดนัทที่ทำเสร็จแล้วมาชุบน้ำมันมะพร้าวก่อน แล้วถึงเอาไปคลุกกับน้ำตาลอ้อยและผงชาเขียวที่ผสมรอไว้ก่อนแล้ว จะได้โนนัทสีเขียวอ่อน ส่วนผสมสูตรนี้ ได้แก่

  • น้ำตาลอ้อย ½ ถ้วย
  • ผงชาเขียว ¼ ถึง ½ ช้อนชา ขึ้นอยู่กับว่าอยากได้ขนมที่มีความเขียวมากน้อยแค่ไหน
  • น้ำมันมะพร้าว ⅓ ถ้วย

   3. Matcha Powdered Sugar หลังจากทอดโดนัทสร็จก็เอาไปชุบผงชาเขียวกับไอซิ่งที่ผสมกันไว้ก่อนแล้ว ตัวผงจะเกาะที่แป้งโดนัท ทำให้เห็นเป็นสีเขียวอีก texture ส่วนผสมสูตรนี้ ได้แก่

  • น้ำตาลไอซิ่ง ½ ถ้วย
  • ผงชาเขียว ¼ ถึง ½ ช้อนชา ขึ้นอยู่กับว่าอยากได้ขนมที่มีความเขียวมากน้อยแค่ไหน

หรือใครจะทำตัวโดนัทจากแป้งชาเขียว แล้วตกแต่งด้วยไวท์ช็อคโกแลต หรือไอซิ่งที่ขาวให้ตัดกันกับโดนัทก็สสวยน่าทานไปอีกแบบ หรือแม้แต่การเปลี่ยนรูปทรงของโดนัท ชาเขียวที่เคยทำให้เป็นทรงอื่นๆ ก็เพิ่มความน่าทานของโดนัท และอยากถ่ายรูปแชร์ลงโซเชียลแน่นอน

Matcha Donut Matcha Donut Matcha Donut

ที่มา

https://twitter.com/hashtag/florestadoughnuts

https://thesweetwanderlust.com/sweets-eats/best-desserts-in-tokyo/

http://www.supertastermel.com/2015/05/cute-animal-donuts-at-floresta.html

https://www.loveandlemons.com/matcha-baked-doughnuts/

บทความจาก : Fuwafuwa

ชา ทำ cold brew ได้มั้ยนะ…?

หลายคนอาจจะคุ้นชินกับกาแฟ Cold Brew ซึ่งเป็นกาแฟที่มีความหวานมากกว่ากาแฟที่ชงด้วยวิธีอื่นเนื่องจากมีกรดต่ำ เพราะใช้น้ำเย็นสกัดระดับคาเฟอินในปริมาณต่ำเมื่อเทียบกับกาแฟที่ชงด้วยน้ำร้อน ซึ่งคอชาเลยอาจจะสงสัยว่า ชา สามารถนำไปผ่านกรรมวิธีเช่นเดียวกับการทำ Cold Brew กาแฟได้มั้ยนะ?

Tea Cold Brew

หลักของการทำ Cold Brew คือ การสกัดเย็น สามารถใช้ได้ทั้งน้ำที่อุณหภูมิห้อง หรือจะใช้น้ำเย็น 5-15 องศาก็ได้ ตามปกติแล้ว ถ้าเราใช้น้ำร้อนชงชา คาเตชินและคาเฟอีนในใบชาจะออกมากับน้ำร้อน เพราะสารสองตัวนี้ละลายที่อุณหภูมิสูง ราว 80-90 องศาขึ้นไป สารสองตัวนี้จะให้รสขม ในขณะที่รสอุมามิของชาที่หลายคนชอบดื่มด่ำ ซึ่งเกิดจากกรดอะมิโน จะละลายที่อุณหภูมิตั้งแต่ 60 องศาขึ้นไป ดังนั้น พวกชาเขียวที่อุดมไปด้วยรสอุมามิ อย่างเกียวขุโระ จึงต้องชงด้วยน้ำอุณหภูมิ 40-60 องศา

ดังนั้นหากเราแช่ใบชาในน้ำเย็น รสขมของชาจะออกมาน้อยกว่าการชงแบบร้อน เหมาะสำหรับคนชอบดื่มชารสนุ่มๆ แบบอูมามินั่นเอง

Tea Cold Brew Tea Cold Brew

วิธีการทำชา cold brewทั้งชาดำ ชาอู่หลง

  1. ใช้ใบชา 4 กรัม ต่อน้ำ 200-250 มล
  2. นำใบชาใส่ถุงชาใช้แล้วทิ้ง
  3. นำถุงชาที่ใส่ใบชาแล้วแช่ลงไปในน้ำ ปิดฝาให้แน่น
  4. นำชาแช่ในตู้เย็น เป็นระยะเวลา 6-12 ชั่วโมง
  5. พอครบ ให้ดึงถุงชาออก ชาที่เย็นแบบนี้ สามารถเก็บได้ในตู้เย็นราว 3-4 วัน รสชาติก็ไม่เปลี่ยน ไม่มีความขมเพิ่ม

แต่ข้อควรระวังสำหรับชาเขียว จะขมได้ง่ายมาก ให้ลดปริมาณชาลง เหลือใบชา 3 กรัม ต่อน้ำ 500 มล. และแช่ชาเพียง 3-6 ชั่วโมง  และปกติแล้ว เวลาชงร้อนเรามักได้ กลิ่นหอมจากการชง แต่การชงชาแบบ Cold brew จะไม่มีกลิ่นหอมชวนดื่ม

แม้ว่าใบชาที่ผ่านการ cold brew แล้ว อาจจะนำมาชงร้อนซ้ำได้อีกสักครั้ง แต่รสชาติจะเหลือน้อยแล้ว แนะนำให้ทิ้งไปเลยจะดีกว่า

ส่วนการใช้ผงชาเขียวทำ Cold Brew นั้น ให้ใช้ผงชา 1 ช้อนชาลงไปในขวดที่มีฝาปิด และเทน้ำลงไป 1.5 ถ้วย ปิดฝาแล้วเขย่าประมาณ 15 วินาทีเป็นอันเรียบร้อย

Tea Cold Brew

ที่มา

https://pickledplum.com/cold-brew-tea/

https://theteacupoflife.com/2019/04/cold-brew-matcha.html

https://matchaoutlet.com/blogs/recipes/cold-brew-summer-matcha-drink

บทความจาก : Fuwafuwa