ช้อนไม้ไผ่ Chashaku (茶杓) จำเป็นจริงหรอ?

ช้อนตักผงชามัทฉะ หรือที่เรียกว่า Chashaku (茶杓)มีที่มาจากในสมัยก่อนช่วงที่ชาเขียวจากจีนถูกนำเข้ามาสู่ญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นใช้ช้อนตักชาที่ทำจากงาช้าง นำเข้าจากประเทศจีน แต่พอเข้าสู่ช่วงหลังๆมา ช้อนตักชาที่ทำจากไม้ไผ่ปลายดัดก็เริ่มมีปรากฏให้เห็น โดยมีการคาดกันว่าผู้ที่คิดค้นรูปร่างฉะชะขุแบบในปัจจุบันขึ้นมา คือ มุราตะ จุโค ผู้พัฒนาพิธีชงชาแบบเซนเป็นคนแรก ซึ่งเหตุผลที่เลือกใช้ไม้ไผ่แทนงาช้าง เพราะว่า ต้องการให้ช้อนตักผงชานั้นมีความเรียบง่าย ไม่ฟุ้งเฟ้อหรูหราแบบงาช้าง เพราะนิกายเซน มีพื้นฐานแนวคิดอย่างเรียบง่ายมาจากศาสนาพุทธแบบเซนนั่นเอง

ChashakuChashaku

ลักษณะที่ดีของ Chashaku ส่วนมากจะทำจากไม้ไผ่ มีปลายช้อนกว้าง 1 ซม. เพื่อให้การตักผงชา 1 ครั้งได้ในปริมาณที่เหมาะสม คือ ประมาณ 1 กรัม ซึ่งในพิธีชงชาจะใช้ชา 2 กรัม กล่าวคือ ตักชาด้วย Chashaku 2 รอบนั่นเองโดยไม่ต้องผ่านการใช้เครื่องชั่ง นอกจากนี้ตัวด้ามควรยาว 19 ซม. เป็นความยาวที่พอดีกับการใช้ในพิธีชงชาของญี่ปุ่น

ChashakuChashaku

การตักผงชาเขียวเพื่อชงชานั้น จริงๆสามารถใช้ช้อนสแตนเลส หรือช้อนประเภทอื่นได้เช่นกัน ไม่จำเป็นจะต้องใช้ Chashaku ก็ได้ แต่จะเห็นว่าหลายๆร้านคาเฟ่ และตามพิธีชงชาของญี่ปุ่นเอง จะนิยมใช้ Chashaku เพราะด้วยคุณสมบัติของไม้ไผ่ ที่เมื่อสัมผัสกับผงชาเขียวแล้ว จะทำให้รสชาติคงที่ และด้วยปริมาณชาที่ Chashaku สามารถตักได้ในแต่ละครั้งนั่นเอง นอกจากนี้ไม้ไผ่ของช้อน Chashaku ยังทำให้สรรพคุณสารอาหารต่างๆของชาเขียวคงเดิม ใช้งานง่ายด้วยการใช้ผ้าแห้ง หรือทิชชู่เช็ดบริเวณปลายช้อนให้แห้งก่อนเก็บเข้ากล่อง ไม่ควรล้างด้วยน้ำเปล่า และ Chashaku ยังทำให้รู้สึกถึงความเป็นญี่ปุ่นแท้ๆนั่นเอง อย่างไรก็ตามช้อน Chashaku นี้มีไว้สำหรับการตักผงชาเท่านั้น ไม่ได้มีไว้สำหรับตักใบชาประเภทอื่นๆ

Chashaku

แต่ในปัจจุบันนี้ช้อน Chashaku ได้มีการผลิตด้วยวัสดุอื่นเพิ่มมากขึ้นนอกจากไม้ไผ่ ตามกาลสมัยที่เปลี่ยนไป เช่น แสตนเลส โลหะ หรือไม้เนื้อแข็งประเภทอื่นๆ ซึ่งช้อนที่ทำด้วยโลหะ จะมีปลายช้อนที่กลมคล้ายกับช้อนชาทั่วไปที่เราใช้ทำขนมกัน แต่ก็ต้องเลือกให้ดีเพราะบางครั้งอาจจะทำให้ตักชาได้ในปริมาณที่ไม่คงที่

ที่มา

https://www.edenfoods.com/store/matcha-spoon.html

https://oideyasu.tumblr.com/post/64615700994

https://www.taketora.co.jp/fs/taketora/sa00235

https://www.pinterest.com/pin/353110427034464612/

บทความจาก : Fuwafuwa

3 ขนมยอดนิยมของคนญี่ปุ่น ที่ชอบทานคู่ชาเขียว

การกินชาเขียวให้อร่อย หลายคนคงทราบอยู่แล้วว่าคนญี่ปุ่นนิยมทานคู่กับขนมหวานญี่ปุ่น หรือที่เรียกว่า วากาชิ แม้ว่าที่จริงแล้วในพิธีชงชามีขนมอื่น ๆ อีกมากมายที่สามารถทานคู่ชาเขียวได้ แต่ขนมที่ติดอันดับคนนิยมกินคู่กับการดื่มชาและคนไทยรู้จักกันดี ได้แก่

วากาชิวากาชิ

อันดับ 1 คือ ไดฟุกุขนมแป้งโมจินุ่มหนึบที่พิเศษด้วยไส้ที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นไส้ชาเขียวลาวา ไส้ชาเขียวถั่วแดง บางเจ้าก็ใส่ผลไม้เข้าไปด้วยเพื่อเพิ่มรสชาติความอร่อย ขนมรสชาติออกหวาน ได้ชาเขียวร้อนๆเสิร์ฟคู่กัน เป็นความอร่อยที่ลงตัว

Daifuku Daifuku

ส่วนใครที่อยากลองปั้นขนมไดฟุกุเอง เสิร์ฟคู่กับชาที่ร้าน เพิ่มสไตล์ความเป็นญี่ปุ่นให้กับเมนูในร้านสามารถทำได้เองง่ายๆ และต่อยอดเปลี่ยนรสชาติแป้งได้ฟุกุ หรือไส้ได้ตามชอบ

 

 

เมนู ไดฟุกุชาเขียว สตอเบอรี่

  1. แป้งข้าวเหนียว 100 กรัม
  2. แป้งมัน 20 กรัม ( สำหรับทำแป้งนวล )
  3. ผงมัทฉะ 10 กรัม
  4. น้ำตาลทราย 50 กรัม
  5. น้ำเปล่า 150 มล.
  6. ถั่วขาวกวนสำเร็จ  200 กรัม + ผงชาเขียว 5 กรัม
  7. สตรอเบอร์รี่

วิธีทำ

  1. แป้งข้าวเหนียว, ผงมัทฉะ, น้ำตาลทราย ผสมให้เข้ากัน ในภาชนะที่เข้าไมโครเวฟได้ ค่อยๆเติมน้ำผสมจนแป้งไม่เป็นเม็ด ลักษณะจะเหลวข้น
  2. นำส่วนผสมแป้งเข้าไมโครเวฟ โดยใช้พลาสติกแรพไว้ หรือ หา ภาชนะปิดไม่ให้แป้งหน้าแห้ง ใช้ไฟแรงสุดนาน 3 นาที นำออกมาเกลี่ยทุกๆ 1 นาที สังเกตแป้ง ถ้าสุกจะเปลี่ยนเป็นแป้งใส และจะจับตัวเป็นก้อน
  3. นำแป้งที่กวนสุกแล้ว คลุกกับแป้งนวล ตัดแบ่งให้เท่าๆกัน แผ่แป้งให้เป็นแผ่นกลม ใส่ไส้ถั่วขาวที่ผสมกันกับผงชาเขียวเป็นเนื้อเดียวกันที่ห่อลูกสตรอเบอร์รี่ไว้ ปั้นเป็นก้อนกลม คลุกแป้งนวลเพื่อไม่ให้ไดฟุกุติดกัน เป็นอันเสร็จเรียบร้อย

โดยปกติของการเสิร์ฟไดฟุกุ จะมีไม้เล็ก ๆ หรือที่เรียกว่า คุโระโมจิ (黒文字)ก็จะเป็นสัญลักษณ์ว่า ให้ทานขนมโดยการตัดแบ่งให้พอดีคำก่อนทานส่วนใหญ่จะเป็นขนมชิ้นไม่ใหญ่มากตัดได้ประมาณ 3-4 ครั้ง นั่นเอง

เซมเบ้

ต่อมาอันดับ 2คือ เซมเบ้ ขนมข้าวกรอบที่มีหลายรูปทรง ขนาด และรสชาติ โดยปกติแล้วจะเป็นรสเค็ม(เป็นรสชาติของโชยุ)​ แต่รสหวานก็มีให้เห็น ส่วนใหญ่แล้วเซ็มเบจะรับประทานคู่กับชาเขียว เป็นขนมและจัดให้แขกที่มาเยี่ยมเยียนที่บ้านนั่นเอง โดยปกติแล้วเซ็มเบจะทำโดยการอบ หรือย่างถ่านแบบดั้งเดิม ระหว่างปรุงอาจมีการทาเซ็มเบด้วยซอสปรุงรส ซึ่งส่วนมากทำจากซอสถั่วเหลืองและมิริน จากนั้นอาจห่อด้วยสาหร่ายและปรุงด้วยเกลือ การเสิร์ฟเซมเบ้คู่กับชานั้นจะไม่มีไม้คุโระโมจิเหมือนอย่างไดฟุกุ จะเป็นที่รู้กันว่าให้ใช้มือทานได้เลยไม่เสียมารยาทนั่นเอง

ดังโงะดังโงะดังโงะ

มาถึงอันดับ 3 คือ ดังโงะ  ขนมญี่ปุ่นที่ทำโดยการนำแป้งข้าวเจ้ารสชาติหวานอ่อนๆมาปั้น แล้วต้ม บางครั้งก็ทานโดยการราดด้วยซอสโชยุหวาน ถั่วแดงกวน หรือชาเขียว หรือบางที่ก็นำไปย่างไฟอ่อนๆ ก่อนมาทานคู่กับซอสต่างๆ เพื่อเพิ่มกลิ่นให้น่าทานยิ่งขึ้น ขนมดังโงะสามารถดัดแปลงได้หลายรสชาติ และเสิร์ฟด้วยการเสียบไม้ก่อนเพื่อย่างหรือราดซอสอยู่แล้ว สามารถหยิบทานได้ง่ายสะดวก จึงกลายเป็นขนมที่คนญี่ปุ่นนิยมรับประทานคู่กับชาเขียว และจะมีรสชาติอร่อยที่สุดเมื่อทานคู่กับชาเขียวเรียวคุฉะว่ากันว่าในญี่ปุ่นเองมีการนำแป้งข้าวเจ้ามาทำอาหารตั้งแต่ในอดีต ซึ่ง Mitarashi dango นี้ได้มาจากฟองอากาศที่เกิดขึ้นตอนกรองน้ำบริสุทธิ์จากบ่อน้ำมิตาราชิ ซึ่งไหลอยู่บริเวณทางเข้าศาลเจ้าชิโมะกาโมะ มิตาราชิดังโกะ ในสมัยก่อนเสียบดังโงะ 5 ลูกต่อไม้ โดยดังโงะลูกบนสุดหมายถึงหัว 2 ลูกถัดมาหมายถึงแขน ส่วนอีก 2 ลูกหมายถึง ขา ถ้าเกิดนำดังโงะไปถวายเทพเจ้า มีเชื่อว่าจะกลายเป็นตัวแทนช่วยรับเคราะห์ร้ายแทนเจ้าตัวนั่นเอง

หากร้านไหนอยากลองทำดังโงะเองที่ร้านก็สามารถทำได้ วิธีทำคล้ายกับการปั้นบัวลอยบ้านเราเลยทีเดียว

วัตถุดิบ ได้แก่ เต้าหู้ขาว 250 กรัม แป้งข้าวเจ้า (หรือแป้งโมจิ) + น้ำตาล 200 กรัม

วิธีทำแสนง่าย :ก่อนอื่นให้ใช้มือนวดผสมเต้าหู้และแป้งข้าวเจ้าเข้าด้วยกัน ให้แป้งมีความนุ่มกำลังดี ไม่นิ่มและไม่แข็งจนเกินไป หลังจากนั้นปั้นเป็นก้อนกลม ต้มน้ำในหม้อขนาดใหญ่จนเดือดและใส่ดังโงะก้อนกลมลงไป ต้มไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะลอยขึ้นมา เมื่อลอยขึ้นมาเหนือผิวน้ำแล้วให้ต้มต่อไปอีกประมาณ 2 – 3 นาทีและตักออกมาพักไว้บนจานรองกระดาษ นำไปเสียบไม้ ทานคู่ซอส หรือย่างไฟอ่อนๆก่อนก็ได้ตามชอบ เสิร์ฟคู่ชาเขียวร้อนของที่ร้าน รับรองว่าลูกค้าที่มาที่ร้านต้องรู้สึกเหมือนได้ไปญี่ปุ่นแน่นอน

ที่มา

https://www.pinterest.com/pin/325807354293426536/

https://moichizen.exblog.jp/13348925/

https://www.pinterest.com/pin/14707136267674817/

https://www.japancentre.com/en/recipes/1669-matcha-ganache-filled-strawberry-daifuku

บทความจาก : Fuwafuwa