ส่งต่อความอร่อย เพิ่มยอดขายด้วยกลยุทธ์ OEM

ในยุคที่เศรษฐกิจไม่ค่อยดี ร้านค้าหลายร้านก็ถูกปิดตัวลง ร้านที่ยังอยู่รอดก็พยายามงัดหลากหลายกลวิธี ทั้งออกสินค้าใหม่ จัดกิจกรรม จัดโปรโมชั่นต่างๆ เพื่อดึงดูดลูกค้าให้กลับเข้าร้านมากขึ้น แต่มีอีกวิธีหนึ่งที่หลายแบรนด์อาจจะมองข้ามไป นั่นคือ การรับผลิตสินค้าให้กับแบรนด์ต่างๆ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ OEM

OEM ย่อมาจาก Original Equipment Manufacturer คือ การที่ร้านค้าไหน หรือแบรนด์ใดที่มีจุดเด่นในเรื่องการผลิตสินค้าสามารถเข้ารับจ้างผลิตสินค้าให้กับบริษัทอื่นๆได้ โดยเป็นลักษณะของการ Collaboration หรืออาจจะเป็นการผลิตให้แบรนด์อื่นๆเพื่อไปขายในแบรนด์ของตัวลูกค้าเองขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้าโดยการใช้กระบวนการผลิตของโรงงานหรือร้านค้าเองตั้งแต่ฝ่ายผลิต ไปจนถึง เครื่องจักรต่างๆสำหรับการผลิต ซึ่งลูกค้าที่มาจ้างร้านค้าหรือโรงงานผลิต อาจจะมีความเชี่ยวชาญไม่มากพอในการทำสินค้าชนิดนั้นๆ หรือเล็งเห็นถึงความสามารถและเอกลักษณ์ของโรงงานหรือร้านค้านั่นๆว่าสามารถผลิตสินค้าตามเสปคได้ 

ในมุมมองลูกค้าหรือแบรนด์อื่นๆที่มาจ้าง

  • ถือว่าช่วยลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงได้เพราะสามารถย้ายฐานการผลิตไปที่อื่นๆที่ต้นทุนต่ำกว่าได้ตลอด
  • เจ้าของแบรนด์ไม่ต้องมีโรงงานเป็นของตัวเอง ง่ายต่อการเปลี่ยนลักษณะหรือกลยุทธ์ทางธุรกิจ
  • มีผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาทางการผลิตคอยดูแลให้ ได้วัจถุดิบตามมาตรฐานที่ต้องการโดยไม่ต้องลงแรงในการเสาะหาเองตั้งแต่ขั้นแรก

แต่ถ้ามองในมุมมองของร้านค้าหรือโรงงานที่รับผลิตสินค้าให้

  • มีร้ายได้อีกช่องทางเพิ่มมากขึ้นโดยที่ไม่ต้องลงทุนคิดสินค้าเองตั้งแต่ต้นจนจบ เพราะมีสูตรจากทางผู้ว่าจ้างมาให้แล้ว
  • ประหยัดต้นทุนทางการตลาดในการโฆษณาสินค้านั้นๆ เพราะผู้ผลิตไม่ได้เป็นคนขายสินค้าเอง
  • ไม่ต้องคำนึงถึงการบริหารจัดการสต็อกสินค้าเอง เพียงแค่ทำตามออเดอร์ที่แบรนด์อื่นๆมาว่าจ้างให้ผลิต

อย่างไรก็ตามการรับทำ OEM ให้แบรนด์อื่นๆ นอกจจากจะต้องคิดต้นทุนให้รอบคอบก่อนนำเสนอราคาขายให้แบรนด์ที่มาว่าจ้างแล้ว ยังต้องคำนึงถึงราคาที่แบรนด์นั้นๆจะไปขายต่อผู้บริโภคด้วย เพราะถ้าเราตั้งไว้สูงตั้งแต่แรก เจ้าของแบรนด์เขาต้องไปบวกราคาเพิ่มอีกกว่าจะถึงลูกค้า สินค้าชิ้นนั้นๆอาจจะราคาสูงเกิน ทำให้ยอดขายไม่ดีได้เช่นกัน

นอกจากนั้นแล้วการรับ OEM ต้องคำนวนถึงค่าขนส่งสินค้า ด้วยเช่นกันว่า ราคาที่เราตั้งนั้นรวมถึงค่าขนส่งหรือยัง และจำเป็นจะต้องมองยาวไปถึงเรื่องการที่ของอาจจะแตก พัง เสียหาย ความสูญเสียทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นด้วยว่า ควรมีระบบรับเคลมสินค้า รับประกันสินค้าที่เราผลิตให้อย่างไรบ้าง

หากใครยังไม่เห็นภาพว่าจะเริ่มรับ OEM แบรนด์ไหนได้บ้าง มาลองดูไอเดียตัวอย่างที่เหมาะกับการเริ่มหาลูกค้าในกลุ่ม B2B แบบนี้ดู เช่น

  • ร้านที่เน้นขายขนม เครื่องดื่มสำหรับคนรักสุขภาพโดยเฉพาะ สูตรต่างๆเป็นเมนูหวานน้อย ไม่ใส่น้ำตาล แนะนำให้นำรับผลิตเครื่องดื่มหรือขนมสำหรับผู้แพ้อาหารให้กับโรงพยาบาล หรือ ออกเครื่องดืมชาเพื่อสุขภาพให้กับฟิตเนส ผลิตขนม หรือ ชา โดยให้ตีตราเป็นของโรงพยาบาลหรือฟิตเนสนั้นๆไปเลย

OEM OEM

  • ร้านที่มีจุดเด่นเรื่องการใช้ผงชาเขียวพรี่เมี่ยม สามารถนำวัตถุดิบนี้ในการรับผลิตขนมตามสูตรที่่แบรนด์ต่างๆต้องการเพื่อให้ได้รสชาติชาเขียวออริจินัล ตามแบบที่โรงงานหรืิร้านค้าเราใช้อยู่แล้ว สามารถรับผลิตได้หลากหลายสินค้าเลย เช่น คุกกี้ พุดดิ้ง หรือเมนูเสปรดต่างๆจากชาเขียว ซึ่งไลน์การผลิตขนมหลากหลายรูปแบบนี้ เหมาะกับการทำให้บริษัททัวร์ สายการบิน หรือ โรงแรม หรือแม้แต่ตามร้านอาหารญี่ปุ่นที่ไม่มีเมนูของหวาน เพราะเชี่ยวชาญด้านการทำเมนูของคาวมากกว่า ก็สามารถนำเสนอเมนูขนมหวานแล้วให้ตีตราเป็นแบรนด์ของร้านอาหารนั้นๆไปเลย ก็สามารถทำได้เช่นกัน

OEM

OEM OEM

การเพิ่มยอดขายให้ร้านของคุุณ ไม่ได้มีแต่การลดราคา แจกของแถม แต่มองมุมให้กว้างขึ้น อย่าโฟกัสแต่ผู้บริโภคที่เป็นลูกค้าปกติ แต่ให้มองถึงกลุ่มบริษัท ร้านอาหาร หรือธุรกิจอื่นๆด้วย ก็จะเจออีกหลายกลยุทธ์ ที่ใช้ส่งต่อความอร่อยได้

ที่มา

https://www.moshimoshi-nippon.jp/115252

https://www.pinterest.com/pin/Ab-c8jUkof2iYtJeTFNSBg58sGUXOAgBICxwy85elSDMHu7Ky4Yqygw/

http://www.thirstyfortea.com/2016/12/18/tea-shortbread-coins/

บทความจาก : Fuwafuwa

ปรัชญาของคนญี่ปุ่นที่แฝงแนวคิด จาก ถ้วยชา

เคยสังเกตมั้ยว่า ถ้วยชงชาญี่ปุ่น เมื่อเทียบกับของทางฝั่งยุุโรป จะมีลักษณะที่แตกต่างกันค่อนข้างมาก ถ้วยชาญี่ปุ่น จะไม่เรียบ 100% ลักษณะส่วนมากเป็นถ้วยชาจากการปั้นด้วยมือ มีความขรุขระบ้าง ลวดลายสีสันที่ดูเป็นงานคราฟต์ บางใบดูดีๆจะเห็นว่าเป็นถ้วยที่แตกแล้ว แต่ถูกประสานด้วยทองจนเนียนเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของลวดลายถ้วยชานั้นๆ ซึ่งวิธีการทำแบบนี้เราเรียกว่า การทำคินสึงิ (Kintsugi)นั่นเอง

Kintsugi

คินสึงิ มีประวัติศาตร์อันยาวนาน ย้อนไปในศตวรรษที่ 15 โชกุนของญี่ปุ่นที่มีชื่อว่า อาชิกางะ โยชิมาสะ (Ashikaga Yoshimasa) ได้ส่งถ้วยชาที่เสียหายไปยังประเทศจีนเพื่อซ่อมแซม และมันก็ถูกส่งกลับมาในสภาพที่มีตัวเย็บเหล็กที่ไม่สวยงาม ทำให้โชกุนต้องคิดค้นหาวิธีที่ดีกว่าในการซ่อมแซมสิ่งที่พังไป ช่างฝีมือของเขาจึงมองหาวิธีอันงดงามในการประกบเครื่องปั้นดินเผาอีกครั้งด้วยการใช้ครั่งผสมทอง เทคนิคนี้เป็นการเชื่อมรอยต่ออันงดงามที่ถูกพูดถึงกันมากในประวัติศาสตร์ จึงเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็ว นักสะสมจำนวนมากรู้สึกชื่นชอบเทคนิคนี้มากถึงขั้นตั้งใจทุบเครื่องปั้นดินเผาอันมีค่า เพื่อที่จะได้ซ่อมแซมมันโดยใช้เทคนิคคินสึงิซึ่งแน่นอนว่าเครื่องปั้นเซรามิคมีความวิจิตรงดงามมากยิ่งขึ้นหลังจากการซ่อมแซมทุกครั้ง การซ่อมแซมภาชนะที่แตกบิ่นเสียหายด้วยวิธีคินสึงิแบบนี้ อีกนัยนะหนึ่งเกิดจากการที่ชาวญี่ปุ่นเชื่อกันว่า ถ้วยชามที่แตกบิ่นนั้นไม่ควรทิ้งขว้าง แต่ควรซ่อมมันด้วยรักทองเพื่อให้พวกมันกลับคืนมามีชีวิตอีกครั้ง เหมือนกับชีวิตของเราทุกคนนั้นล้วนหลีกหนีความเจ็บปวดทางใจไม่พ้น เช่น การสูญเสียผู้เป็นที่รักหรือสิ่งที่เป็นที่รัก เผชิญกับอาการเจ็บป่วยร้ายแรงหรืออุบัติเหตุที่ส่งผลต่อชีวิต แม้แต่ความเจ็บปวดที่ต่อเนื่องมาจากอดีต บาดแผลทางใจเหล่านี้ควรได้รับการเยียวยาและสมานให้กลับมาดีดังเดิม ดังนั้นปรัชญาคินสึงิจึงถูกนำมาประยุกต์ใช้เพื่อซ่อมแซมบาดแผลทางใจที่หนักหนาและค้างคา เพื่อที่เราจะได้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากขึ้น เข้มแข็งมากขึ้น และเข้าใจผู้ที่ยังเจ็บปวดคนอื่นๆ มากขึ้นนั่นเอง

ปรัชญาของคนญี่ปุ่นที่แฝงถึงแนวคิดที่ว่า ไม่มีชีวิตใดที่สมบูรณ์แบบอย่างหลักคินสึงิ คือ การทำให้ตัวเองเข้าใจถึงความแตกหัก เปราะบางภายในจิตใจของตัวเอง เป็นการสร้างความแข็งแกร่งจากภายในสู่ภายนอก ทำให้มีสภาวะจิตใจที่ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ เพราะการซ่อมแซมถ้วยที่แตกร้าวอย่างใส่ใจและเต็มไปด้วยความรักจะทำให้เราเข้าใจว่าเราควรยอมรับ, เคารพในรอยร้าวและรอยแผลเป็น, ความอ่อนแอและความไม่สมบูรณ์พร้อมทั้งในตัวเราและผู้อื่น เพื่อพบความสุขที่แท้จริงในชีวิต

Wabi-sabi

อย่างไรก็ตาม ถ้วยชาที่ผ่านการทำคินสึงิมาแล้ว  แม้จะยังใช้งานได้ แต่ถ้วยที่แตกแล้วก็คือแตกแล้ว ไม่ได้สมบูรณ์แบบเหมือนเดิม เพียงแต่เป็นความเรียบง่ายที่ไม่ต้องดิ้นรนหาถ้วยชาใบใหม่ แต่เต็มใจที่จะใช้ถ้วยชาที่มีริ้วรอย ผ่านการผุกร่อนตามกาลเวลาแบบนี้ เป็นอีกหนึ่งปรัชญาแห่งการดำรงชีวิตที่ฝังรากลึกอยู่ในจิตวิญญาณของชาวญี่ปุ่นมานานเช่นกัน นั่นคือ สุนทรียภาพอันเรียบง่าย สมถะ ไม่ยึดติดในความสมบูรณ์แบบ ชื่นชมในริ้วรอยและความผุกร่อนของสรรพสิ่งที่เสื่อมสลายไปตามกาลเวลามอย่างเต็มใจ แนวคิดนี้คนญี่ปุ่นเรียกว่า  วะบิ สะบิ” Wabi-sabi (侘寂)

วะบิ สะบิ” Wabi-sabi (侘寂)  เป็นแนวคิดที่ถูกนำไปปรับใช้และแทรกตัวอยู่ในงานตกแต่งสไตล์ Loft, Industrial, Rustic, Minimal ซึ่งสังเกตได้อย่างง่ายด้วยถ้วยชา ที่เราเห็นคนญี่ปุ่นใช้กัน ขอบถ้วยที่ไม่มีการปรับให้เรียบ เมื่อริมฝีปากจรดจะสัมผัสได้ถึงผิวอันดิบหยาบ ส่วนถ้วยชา ไม่ได้เนี๊ยบเรียบหรู แต่เป็นถ้วยชาที่เปี่ยมด้วยสุนทรียะที่มุ่งนำพาจิตผู้ดื่มชาให้สัมผัสได้ถึงความสงบและเรียบง่าย เพื่อแสดงถึงแก่นแท้แห่ง “วะบิ สะบิ” นั่นเอง

วะบิ สะบิ

แนวคิดถ้วยชาดังกล่าว เกิดในสมัยที่พิธีดื่มชาทีได้รับอิทธิพลจากภิกษุนิกายเซน ได้รับความสนใจอยากแพร่หลาย และกลายเป็นส่วนหนึ่งของศิลปะ ปรัชญา เกิดชาโนยุ หรือ วิถีแห่งชา ที่ได้รับความนิยมอย่างยิ่งในหมู่ชนชั้นสูง นักรบและพ่อค้าที่ร่ำรวย เครื่องใช้ต่างๆ ในพิธีชงชา ล้วนถูกซื้อหาจากต่างแดนและประดับประดาด้วยสิ่งอันหรูหรา โดยเฉพาะถ้วยชาที่สวยงามเป็นหนึ่งในสิ่งที่ชนชั้นสูงและผู้มีฐานะใน ยุคนั้นต่างแสวงหาความหรูหราฟุ่มเฟือยนี้ เห็นได้จากช่วงปี ค.ศ.1585-1586 ฮิเดโยชิมีคำสั่งให้ริคิวจัดสร้างห้องชาที่ปิดด้วยทองคำทั้งหลัง เพื่อรับเสด็จสมเด็จพระจักรพรรดิโอะกิมะจิ โดยฮิเดโยชิเองทำหน้าที่เป็นผู้ชงชา เขาจึงเสิร์ฟชาด้วยถ้วยชาที่ปั่นขึ้นอย่างง่ายเพื่อโน้มนำให้ผู้ดื่มเข้าถึงความงามอันปราศจากการปรุงแต่ง ตระหนักถึงความงามอันจริงแท้ที่มิได้ขึ้นอยู่กับรูปลักษณ์ภายนอก ความไม่สมบูรณ์แบบก็ทำให้ได้สัมผัสรสชาติที่แท้จริงของชาได้เช่นเดียวกัน

นอกจากนี้ วะบิ-ซะบิยังสะท้อนให้เห็นได้ชัดผ่านสถาปัตยกรรมและหัตถกรรมที่เกี่ยวข้องกับพิธีชงชาของชาวญี่ปุ่นนั่นคือ เรือนชงชา ซึ่งแยกตัวจากสิ่งปลูกสร้างอื่น มีขนาดเล็กแค่เพียงพอดีกับกิจกรรม สร้างขึ้นจากวัสดุที่ไม่มีลักษณะความคงทนถาวรที่จะต้องเสื่อมสลายไปซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมญี่ปุ่น เช่น ตัวบ้านทำจากไม้ และบานประตูทำจากกระดาษ ต่างจากสถาปัตยกรรมโมเดิร์นของตะวันตกที่ถูกสร้างให้มีภาพลักษณ์ของความสมบูรณ์ เป็นอมตะและไม่สามารถทนต่อปัจจัยที่มากระทำผ่านกาลเวลาได้

ถัดมาที่ห้องในเรือนชงชามักออกแบบให้คนเข้าไปได้ไม่เกินครั้งละ 5 คน ประตูทางเข้าของแขกมีความสูงเพียง 80 เซนติเมตร ทุกคนต้องคลานด้วยมือและเข่าเป็นแถวเดียวเข้าไปด้วยความสงบและเสมอภาคกัน อันเป็นการลดทิฐิและทำให้เกิดความเรียบง่ายในการอยู่ร่วมกัน

ภายในห้องมีถ้วยชามอุปกรณ์ที่ใช้ในพิธีซึ่งทำมากวัสดุตามธรรมชาติ แต่ละชิ้นมีร่องรอย มีคราบผ่านการเวลาในแบบฉบับของตนเอง เพื่อแสดงถึงความงดงามของสิ่งที่ไม่สมบูรณ์แบบของสิ่งต่างๆ ที่ไม่ใช่สิ่งที่ไม่ดี แต่เมื่อสิ่งเหล่านั้นมาอยู่รวมกันแล้ว ก็อาจจะทำให้เกิดมุมมองต่างๆที่เปลี่ยนไป เกิดสุนทรียะในการใช้ชีวิตแบบที่ไม่ต้องสมบูรณ์แบบเสมอไปนั่นเอง

พิธีชงชาของชาวญี่ปุ่น

ที่มา

https://www.bareo-isyss.com/service/decor-guide/wabi-sabi-decor/

https://www.hibiki-an.com/contents.php/cnID/61

https://www.bareo-isyss.com/service/decor-guide/wabi-sabi-decor/

https://jpninfo.com/thai/11264

https://gaskimishima.wordpress.com

https://etsy.me/2MjfImy

https://themomentum.co/wabi-sabi/

บทความจาก : Fuwafuwa