ผงมัทฉะเข้าช่องฟรีซได้มั้ย ??

เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าการตั้งผงมัทฉะไว้เฉยๆบนเคาน์เตอร์ครัว เมื่อผงมัทฉะสัมผัสกับองค์ประกอบต่างๆ เช่น ความร้อนและอากาศ มันก็จะสูญเสียรสชาติความสดใหม่และสารต้านอนุมูลอิสระได้

ความร้อนและความชื้น เป็นหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ผงมัทฉะเหม็นอับได้ บางคนหลีกเลี่ยงความร้อนด้วยการนำเข้าตู้เย็นหลังใช้เสร็จ ซึ่งหากนำเข้าตู้เย็นเลยโดยไม่ทันระวัง ผงมัทฉะจะสามารถดูดซับกลิ่นที่รุนแรงได้อย่างรวดเร็ว กลิ่นอาหารที่อยู่ในตู้เย็นจะถูกผงมัทฉะดูดมา แล้วชาเขียวแก้วโปรดของคุณก็จะรสชาติและกลิ่นเสียไป เพราะในชาเขียวจะมีสาร Catechins เป็นสารต้านอนุมูลอิสระชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย ซึ่งภัยคุกคามอันดับหนึ่งของผงมัทฉะ คือ ออกซิเจน การออกซิไดซ์ทำให้สาร Catechins แย่ลง ดังนั้นผงมัทฉะจะต้องเก็บไว้ในภาชนะที่ปิดสนิทนั่นเอง ภาชนะที่ปิดสนิทก็มีให้เลือกหลายแบบ แต่ควรเก็บผงมัทฉะไว้ในถุงซิปล็อค หรือถุงสุญญากาศก่อนเพื่อลดการเกิดออกซิไดซ์ให้มากที่สุด

นอกจากการหลีกเลี่ยงออกซิเจนแล้ว ควรเก็บผงมัทฉะในที่มืดเนื่องจากผงมัทฉะมาจากชาเขียวที่ปลูกในร่มชนิดพิเศษจึงต้องใช้เวลานานกว่ามากในการเจริญเติบโต ใบชาจึงผลิตคลอโรฟิลล์ในระดับที่สูงขึ้น แต่เนื่องจากแสงจะทำลายคลอโรฟิลล์เมื่อผ่านกระบวนการผลิตผงมัทฉะด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงแนะนำให้เก็บมัทฉะไว้ในที่มืดหรือภาชนะที่มืด (ไม่ใส) เพราะถ้าสัมผัสกับแสงมากๆ ผงมัทฉะอาจทำให้ชาที่ชงออกมามีรสชาติที่ไม่กลมกล่อม ด้วยเหตุนี้เราจึงไม่แนะนำให้เก็บมัทฉะไว้ในภาชนะใสหรือโปร่งแสง หรือถ้าจำเป็นให้วางภาชนะใสไว้ในตู้สีเข้มที่ไม่ได้เปิดบ่อย และเมื่อหลังจากนำออกจากตู้เย็น ให้นำภาชนะเก็บชาตั้งไว้แบบปิดฝาและปล่อยให้อุ่นก่อนนำมาชง ก็จะได้มัทฉะแสนอร่อยตามเดิม

Freeze matcha

ส่วนบางคนนิยมยืดอายุอาหารด้วยการนำเข้าช่องฟรีซ จึงอาจเกิดความคิดที่ว่าหากนำผงมัทฉะเข้าช่องฟรีซก็คงยืดอายุการใช้งานได้เช่นกัน

……คำตอบ คือจริง สามารถเข้าช่องฟรีซได้โดยเฉพาะคนที่นานๆเอามาชงสักที สามรถนำผงมัทฉะเข้าช่องฟรีซไว้ก่อนได้ ทั้งนี้ควรเก็บผงมัทฉะไว้ในภาชนะที่ปิดสนิท เพื่อป้องกันกลิ่นจากอาหารคาวในตู้เย็น

แต่หากเป็นใบชาเขียวไม่แนะนำให้แช่ฟรีซ แต่สามารถแช่เย็นปกติได้ เพราะการแช่แข็งใบชา จะทำให้ชาไม่มีรสชาติ เพราะ ใบชามีความชื้น ซึ่งเป็นส่วนสำคัญมากในแง่ของรสชาติและสารอาหาร การแช่แข็งชาจะทำให้ความชื้นกลายเป็นผลึกและทำลายโครงสร้างของเซลล์ใบทำให้รสชาติเปลี่ยนไป นอกจากนี้อุณหภูมิที่ต่ำจะลดกลิ่นหอมของชาลงไปอีกด้วย ซึ่งการแช่แข็งใบชา หากเราจัดเก็บไม่ดียิ่งทำให้เกิด freeze burn ขึ้นบ่อย โดยเฉพาะเมื่อใบชาถูกจัดเก็บโดยไม่มีการปิดผนึกที่ดี จึงเกิดการคายน้ำและออกซิเดชั่นจากอาหาร ใบชาที่แช่แข็งจึงได้รับความเสียหาย

ดังนั้นการเก็บรักษาใบชา หากมีใบชาปริมาณมากเกินไปให้ใส่ไว้ในถุงกระดาษที่สะอาด จากนั้นนำมาห่อให้แน่นวางไว้บนจาน แล้ววางถ่านรอบๆห่อชาให้เต็ม นำมาเก็บไว้ในที่ที่ไม่โดนแสงแดด หรือหากใบชามีปริมาณน้อยให้ใส่ไว้ในกระป๋องเหล็ก แล้วใส่ซองกันชื้นลงไป หรือใช้ภาชนะดินเผาหรือภาชนะโลหะขนาดพอเหมาะมีฝาสองชั้นเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้อากาศเข้า หรืออาจจะใช้ภาชนะทึบแสงเพื่อนำไปเก็บในตู้ที่ทึบแสง ซึ่งการเก็บใบชาควรหลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะที่แสงสามารถลอดผ่านได้ เนื่องจากมีผลเสียต่อใบชาสูง

Freeze matcha

ข้อควรรู้เพิ่มเติมคือ ใบชาแต่ละชนิดอาจจะต้องใช้วิธีเก็บในอุณหภูมิที่เก็บรักษาต่างกัน หากเป็น ชาเขียว โดยเฉพาะถ้าเป็นชาใหม่จะต้องเก็บในที่แห้งและอุณหภูมิต่ำ และอาจจะเก็บใส่กระป๋องที่ปิดมิดชิด หรือไว้ในตู้เย็น ไม่ควรเก็บ ชาเขียวไว้ชงดื่มนานเกิน 12-18 เดือน ส่วน ชาอูหลงหรือชาดำสามารถเก็บใบชาไว้ได้ในอุณหภูมิปกติแต่ไม่ควรให้ถูกแสงแดด และหลีกเลี่ยงการนำใบชาออกตากแดดเพราะแสงแดดจะทำลายคุณภาพของใบชา เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงความชื้นและรักษาอุณหภูมิของใบชาให้คงที่ ที่สำคัญควรเก็บใบชาไว้ในที่อากาศถ่ายเทได้ดีนั่นเอง

ใบชาโดยปกติแล้วจะสามารถเก็บไว้ได้ไม่เกิน 1 ปี นับจากวันที่ซื้อ (ทางที่ดีควรดูจากวันหมดอายุด้วย) หากเกินนั้นรสของชาจะค่อย ๆ จางไปจนไม่เหลือกลิ่น อย่างไรก็ตามหากเก็บไม่ถูกวิธี กลิ่นของชาก็อาจจางลงได้ในระยะเวลาแค่ 3 เดือน ซึ่งสิ่งสำคัญในการเก็บรักษาใบชาคือจะต้องหาทางทำให้กลิ่นของชาคงอยู่ได้นานที่สุดภายใต้สภาพที่แห้งและไม่โดนแสงนั่นเอง

ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดในการเก็บผงมัทฉะและใบชาเขียว จะมีความแตกต่างกันเล็กน้อย แต่ที่เหมือนกันคือต้องการเก็บไว้ในที่เย็นและมืดห่างจากออกซิเจน เพราะถ้าผงมัทฉะเสื่อมคุณภาพ ก่อนเวลาที่หมดอายุ ก็เป็นปัจจัยให้ตีชาเขียวแล้วไม่เกิดฟองได้ ดูเพิ่มเติมที่ shorturl.at/zS148

ที่มา

https://gracematcha.com/blogs/blog

http://zengreentea.com.au/

บทความจาก : Fuwafuwa

เพิ่มสีสันให้เมนูชา รับเทศกาลคริสมาสต์

ใกล้ช่วงสิ้นปีแบบนี้ หลากหลายร้านเริ่มออกเมนูใหม่ต้อนรับเทศกาลความสุข ทั้งเครื่องดื่มและเบเกอรี่ แต่ถ้าใครยังไม่รู้ว่าจะสร้างสรรค์เมนูยังไง MATCHAZUKI ได้รวบรวมไอเดียและสูตรเครื่องดื่มและขนมชาเขียว ให้คอชาเขียวได้ลองปรับเปลี่ยนเมนูที่ร้านให้สนุกขึ้น

คริสมาสต์

เริ่มจาก มัทฉะลาเต้ร้อน เมนูแนะนำของหลายๆร้านที่เพิ่มสีสันรับเทศกาล คริสมาสต์ง่ายๆเพียงใส่มาชแมลโลว์ snowman น่ารักๆลงไปทานคู่กัน วิธีทำไม่ยากมากเพราะเริ่มจากทำมาร์ชแมลโลว์ทรงสี่เหลี่ยมตามสูตรมาชแมลโลว์ที่ร้านชื่นชอบ ให้มีขนาดใหญ่พอที่จะตัดเป็นก้อนกลมเล็ก ๆ ใช้ไม้จิ้มฟันที่มีปลายแหลมด้านใดด้านหนึ่งหักออกแล้วจุ่มไม้จิ้มฟันลงในไวท์ช็อคโกแลตสีส้มที่ละลายแล้วและวาดจมูกลงบนมาร์ชแมลโลว์ ส่วนตาใส่ดาร์กช็อกโกแลตชิพ 2 ช้อนโต๊ะกับน้ำมันมะพร้าว 1/4 ช้อนชาลงในจานเล็ก ๆ และไมโครเวฟทีละ 20 วินาทีกวนทีละน้อยจนดาร์กช็อกโกแลตละลายอย่างสมบูรณ์และเนียน ใช้ไม้จิ้มฟันที่มีปลายแหลมจุ่มลงในดาร์กช็อกโกแลตที่ละลายแล้วตบที่ตาและปากของ snowman แล้วปล่อยให้ช็อคโกแลตหน้ามนุษย์หิมะตั้งไว้ที่อุณหภูมิห้องก่อนเสิร์ฟคู่มัทฉะลาเต้ร้อนแก้วโปรด

Matcha Cookie Christmas Tree

ต่อด้วย Matcha Cookie Christmas Tree เริ่มจากตีเนยจืด 1 ถ้วย ผงมัทฉะ 2 ช้อนโต๊ะ และน้ำตาล  1 ½  ถ้วยจนฟู ใส่ไข่แดง 1 ฟอง และวานิลลา 1 ช้อนชาลงไปแล้วผสมจนเข้ากัน แล้วร่อนแป้ง เบกกิ้งโซดาและเกลือเข้าด้วยกันพักไว้อีกชาม ใส่ส่วนผสมทั้งหมดลงในชามแล้วผสมให้เข้ากัน ปิดฝาแป้งและแช่เย็น 30 นาที เปิดเตาอบที่ 180 องศา วางกระดาษรองอบลงในถาดอบ

หั่นแป้งเป็นครึ่ง ๆ หรือสี่ส่วนแล้วรีดให้มีความหนาประมาณ 1/6 – 1/4 นิ้ว ใช้พิมพ์ต้นคริสมาสต์ตัดลงไปแล้ววางบนกระดาษรองอบที่เตรียมไว้ อบแต่ละชุดเป็นเวลา 7-9 นาที ตกแต่งลวดลายด้วยไวท์ช็อคโกแลตที่ละลายด้วยไมโครเวฟ 20 วินาที หรือผสมสีแดงเล็กน้อยเพื่อให้ได้ลวดลายที่แตกต่างไป

ความเข้มอ่อนขอสีต้นคริสมาต์ขึ้นอยู่กับปริมาณผงมัทฉะที่ใส่ลงไป เพิ่มความน่ารักด้วยการผูกโบว์ หรือแพ็คใส่ถุงแก้วใสๆเพื่อโชว์ลวดลายคุ้กกี้ก็ได้

เทคนิคเพิ่มความน่ารักให้คุ้กก้คริสมาสต์คือ ตอนกดแป้งเป็นรูปต้นคริสต์มาสต์ สามารถกดเป็นรูปดาว หลายๆขนาดได้ เพื่อหลังจากอบเสร็จ มาวางเรียงสลับชั้นกัน โดยแต่ละชั้นเชื่อมด้วยไวท์ช็อคโกแลตเล็กน้อย ปักดาวด้านบนด้วยเมล็ดอัลมอนด์ แล้วโรยไอซิ่งเล็กน้อย ก็ได้เมนูคุ้กกี้ชาเขียวรับเทศกาลคริสมาต์นี้แล้ว

Matcha Mont Blanc

อีกเมนูที่แค่เห็นก็นึกถึงต้นคริสมาต์เลย คือ Matcha Mont Blanc สามารถใช้สูตรมองบลังค์ปกติที่ทำได้เลยเพียงแต่เปลี่ยนส่วนผสมครีมเกาลัดที่บีบด้านบนเป็นครีมชาเขียว แล้วประดับตกแต่งด้วยคุ้กกี้ไอซิ่งสีสันสดใส ก็กลายเป็นมองบลังค์ชาเขียวที่ใครได้ทานต้องประทับใจ

Matcha Mont Blanc

นอกจากเมนูชาด้านบนที่เป็นตัวอย่างให้ร้านชาของคุณได้เห็นไอเดียเบื้องต้นสำหรับดัดแปลงเมนูแล้ว ยังมีเมนูชาเขียวอีกหลายหลายเมนูที่สามารถทำขายช่วงคริสมาสต์ได้ เช่น Matcha Hot Chocolate หรือ Matcha Macaron หรือจะเป็น Matcha Cake ที่เน้นการเติมสีแดงด้วยสตรอเบอร์รี่

Matcha Macaron Matcha Macaron

แต่ถ้าใครไม่ถนัดทำขนมที่ต้องใช้เทคนิคเยอะๆ ลองเอาเมนูขนมชาเขียวแบบไม่อบ( ดูเพิ่มเติมได้ที่ shorturl.at/dpDS7 ) มาปรับให้เป็นสไตล์คริสมาต์ดูก็เป็นอีกไอเดียที่น่าสนใจ ยิ่งถ้ามีเมนูใหม่ๆออกมาพร้อมกับจัดแคมเปญส่งท้ายปีด้วยโปรโมชั่นหรือกิจกรรมที่น่าสนใจ ยิ่งช่วยกระตุ้นให้ลูกค้าอยากมาที่ร้านได้มากขึ้น ( ดูเพิ่มเติมได้ที่ shorturl.at/ceqKP ) เพราะไม่จำเป็นว่าช่วงเทศกาลแบบนี้ทุกร้านจะต้องมีเมนูใหม่ๆออกมา มันอาจจะเป็นการยากไปสำหรับบางร้านที่ต้องคิดเมนูใหม่ๆตลอด เพราะตามควมเชื่อของคนญี่ปุ่นนั้น แค่ซื้อชาเขียวมอบให้กันในเทศกาลต่างๆก็ถือว่าเป็นการอวยพรให้มีสุขภาพที่ดีแล้ว ( ดูเพิ่มเติมได้ที่ shorturl.at/bcCHK )

ที่มา

https://encha.com/pages/matcha-recipes

https://www.stephaniesuen.com/2018/12/08/mini-matcha-christmas-tree-sugar-cookies/

https://steemit.com/food/@alwayssmile/elegant-noble-french-dessert-mont-blanc

https://hostthetoast.com/matcha-cookie-christmas-tree-stacks/

บทความจาก : Fuwafuwa