เริ่มวาง Tactical Plan ปีหน้าให้ร้านชาของคุณรึยัง?

การวางแผนล่วงหน้าเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับทุกธุรกิจ ยิ่งยุคสมัยนี้ที่ร้านเครื่องดื่ม ขนม คาเฟ่ผุดขึ้นเยอะมาก การวาง Tactical Plan แคมเปญตลอดปีหน้าไว้ ว่าแต่ละช่วงเทศกาล แต่ละเดือนจะทำอะไรบ้าง จะช่วยให้เตรียมการได้ทัน อย่างไรก็ตามการวางแผนนี้ไม่ใช่การโฟกัสแต่การออกเมนูใหม่รับเทศกาล แต่ต้องคำนึงถึง Target ลูกค้าที่ต้องการทำแคมเปญด้วย และ Budget รวมถึง Communication Channel ที่รวมถึงสื่อต่างๆ กิจกรรมการตลาดและการตกแต่งภายในร้านด้วย

จะเริ่มวาง Tactical Plan ให้ร้านชาได้ยังไง แนะนำให้เอา Sesonal ต่างๆมาเป็นจุดหลักของแพลน เพราะพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของคนไทย จะซื้อง่ายจ่ายคล่องขึ้นเมื่อมีเทศกาลอะไรบางอย่าง

เริ่มจากเดือนมกราคม เป็นช่วงปีใหม่ เริ่มต้นสิ่งใหม่ๆ ที่สดใสขึ้นด้วยเมนูเพื่อสุขภาพอย่างแพนเค้กชาเขียวแป้งโฮลวีต ท้อปปิ้งด้วยกล้วยหอมซินนาม่อน  ต่อด้วยวันเด็ก  เมนูที่ร้านจึงเหมาะกับการครีเอทให้น่ารัก ที่เด็กๆเห็นแล้วอยากทาน

เดือนกุมภาพันธ์ เดือนแห่งความรัก เมนูหวานๆ รูปหัวใจ ที่ทำจากชาเขียวที่ร้านเป็นหลัก ทำให้วาเลนไทน์นี้พิเศษกว่าเดิม

เดือนมีนาคม เมษายน เข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิที่ซากุระเริ่มผลิบาน เมนูที่ทำจากซากุระ จึงเป็นที่นิยมมากที่ญี่ปุ่น ดังนั้น ร้านชาเขียวที่ใช้วัตถุดิบจากญี่ปุ่นแท้ๆ ก็ไม่ควรพลาดที่จะอิงกระแสซากุระนี้ไปด้วย

ส่วนในวันแม่ วันพ่อที่ลูกๆหลายคนอยากจะทำขนมโฮมเมดให้ท่านเอง หรือเลือกหาขนมที่ดีต่อสุขภาพ หรือจะเป็น raw sweets ขนมสุขภาาพอีกแนว ก็น่าสนใจ

มัฟฟินชาเขียวแป้งโฮลวิต หรือ เค้กชาเขียวงาดำ รสชาติที่เหมาะกับผู้ใหญ่ ก็จะช่วยให้ร้านชาของคุณน่าแวะเวียนมาหาซื้อของขวัญในทุกเทศกาลอีกช่วงที่เหมาะกับการสร้างสรรค์ไอเดียให้เมนูชาเขียวคือฮาโลวีนแม้จะไม่เป็นที่นิยมมากนักสำหรับคนไทย แต่ก็มีหลายร้านที่ทำคุ้กกี้ชาเขียว หรือเค้กบอลชาเขียวลวดลายผีน่ารักๆ เสิร์ฟเป็นของแถมในวันที่ 31 ต.ค.

แล้วก็วนมาถึงสิ้นปี ช่วงเทศกาลแห่งความสุข คริสมาสต์ ปีใหม่ ที่เมนูน่ารักน่าทานลวดลายธีมคริสมาสต์ได้ออกมามากมาย เพื่อสร้างความสดใสและสนุกให้ที่ร้าน

จะเห็นว่า ตลอดทั้งปีจะมีช่วงเทศกาลที่ทำให้เราสามารถอิงกระแสเพื่อครีเอทเมนูใหม่ให้สอดคล้องกับช่วงนั้นๆได้ทำให้ลูกค้าสามารถแวะเวียนมาได้ทุกเทศกาล แต่ก่อนที่จะดูว่าจะออกเมนูอะไรใหม่ สิ่งที่ควรรู้คือ เราต้องเข้าใจต้องเข้าใจตลาดที่ตัวเองกำลังเล่นอย่างลึกซึ้งก่อน ทั้งฝั่งของร้านเราเองที่ต้องรู้จุดยืนของแบรนด์คุณ และรู้ความต้องการของลูกค้า พฤติกรรมของลูกค้าว่าเหมาะกับการทำสินค้าใหม่ตามเทศกาลจริงมั้ย รวมทั้งดูจุดอ่อน จุดแข็ง ของคู่แข่งแต่ละรายด้วยเพื่อที่จะได้มาอุดรอยรั่วของร้านเราเอง

หลังจากนั้น การวิเคราะห์เป้าหมายทางการตลาดจะต้องชัดเจนที่สุด ไม่คลุมเคลือ หรือ กว้างไป ต้องระบุว่าร้านอยากได้อะไรจากการวางแผนนี้ ช่วงระยะเวลาจัดแคมเปญที่ชัดเจน และการจะแคมเปญทุกครั้งที่มีเป้าหมายที่ชัดเจนแล้วจะนำสู่การวัดผล ประเมินผลออกมาได้อย่างชัดเจน

หลังจากวิเคราะห์จุดประสงค์ เป้าหมายลูกค้าเรียบร้อยแล้ว การวางแผนจะต้องเอา Budget ทั้งปีมากางดูและแบ่งslot ไปก่อน เพื่อทำให้เจ้าของร้านรู้ได้ว่า ช่วงไหนควรลงทุนกับการจัดแคมเปญมากน้อยแค่ไหน ทั้งนี้ Budget นั้นๆจะครอบคลุมถึงสื่อต่างๆทั้งออฟไลน์และออนไลน์ การตกแต่งภายในร้าน ต้นทุนของ R&D ในการคิดค้นเมนูใหม่ๆให้สอดคล้องกับเทศกาล รวมถึงการหาแพคเกจให้สอดคล้องตามเทศกาลด้วยใหม่อื่นๆด้วย

วิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้ร้นชาของคุณเป็นรูปเป็นร่างไม่ทำการตลาดที่สะเปะสะปะระหว่างปี คือการเขียน Tactical Plan ตลอดทั้งปีเพื่อให้มีเวลาในการดำเนินการตามแผนที่วางไว้ได้ครบถ้วนนั่นเอง

วันนี้คุณเตรียมแผนปีหน้าให้ที่ร้านคุณรึยัง?

ที่มา

https://sweetrusticbakes.com/gluten-free-halloween-cookies/

http://www.huffingtonpost.com/ken-leung/to-us-matcha-goma-mousse-_b_3786543.html?utm_hp_ref=baking

http://lifeinthesouth.co/raw-matcha-lime-tarts/

บทความจาก : Fuwafuwa

เปลี่ยนสวนที่บ้านให้เป็นต้นชาเขียวได้มั้ย?

เอาใจคนรักชาเขียว กับการทดลองเปลี่ยนสวนที่บ้านให้เป็นต้นชาเขียว เริ่มด้วยการเพาะเมล็ดในถุงพลาสติก ขนาด 6×8 นิ้ว ใส่ดินผสมไว้ในถุง วางเมล็ดชาที่ดี ไว้กลางถุงให้ด้านตาควํ่าลง แล้วกลบเมล็ดด้วยถ่านแกลบหรือทรายผสมขุยมะพร้าวหนาประมาณ 1 นิ้ว ควรมีการพรางแสงให้ร่มเงา และรดนํ้าอย่างสม่ำเสมอในระหว่างเพาะ ที่ต้องเลือกวิธีการเพาะเมล็ดเพราะไม่กินพื้นที่มากสำหรับสวนบ้าน และการขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เป็นวิธีการที่นิยมใช้กันมากในประเทศไทยด้วย ต้นชาที่เพาะจากเมล็ดจะมีระบบรากแข็งแรง มีรากแก้วสามารถทนต่อความแห้งแล้งได้ดีนั่นเอง

matcha lover

ปัจจัยที่สำคัญในการปลูกชา  คือ สามารถเจริญได้ไม่ว่าอากาศจะร้อนหรือหนาว ยกเว้นในพื้นที่ที่มีนํ้าแข็ง แะยังมีปัจจัยอื่นๆอีก นั่นคือ

  1. ดินชาจะเจริญงอกงามในดินร่วนที่มีการระบายนํ้าได้ดี เป็นกรดเล็กน้อย มี PH 4.5-6.0 ความลาดชันไม่ควรเกิน 45 องศา
  2. ความชื้นและปริมาณนํ้าฝนควรเป็นพื้นทีที่มีฝนตกสม่ำเสมอตลอดปี ปริมาณนํ้าฝนอย่างตํ่า ควรอยู่ในช่วง 1,140-1,270 มิลลิเมตร/ปี เพราะถ้าขาดนํ้าจะทำ ให้ต้นชาชะงักการเจริญเติบโต ไม่แตกยอด ทำ ให้ผลผลิตลดลงนั่นเอง
  1. อุณหภูมิ ชาสามารถเจริญได้ในอุณหภูมิที่แตกต่างกัน โดยชาจะเจริญเติบโตดีในช่วงอุณหภูมิระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียสและอุณหภูมิค่อนข้างคงที่ตลอดปี ทำให้ชาสร้างยอดใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง
  1. ความสูงจากระดับนํ้าทะเลชาที่ปลูกในพื้นที่สูงตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป มีอากาศเย็นจะทำ ให้ผลผลิตใบชาที่ได้มีคุณภาพสูง ใบชามีกลิ่นและรสชาติดี แต่ปริมาณผลผลิตที่ได้จะตํ่า ส่วนการปลูกชาในที่ตํ่า อากาศค่อนข้างร้อน ชาจะให้ผลผลิตสูงแต่คุณภาพตํ่ากว่าชาที่ปลูกในที่สูง

หลังจากเช็คปัจจัยต่างๆเหล่านี้ครบแล้ว ในทางตรงกันข้ามที่จะเห็นได้ชัดว่า ปัจจัยที่ไม่เหมาะสมในการปลูกชา คือ

  1. ดินชั้นล่างเป็นหิน หรือลูกรัง ทำ ให้ชาหยั่งรากลงไปหาอาหารได้ตื้น
  2. เป็นพื้นที่ที่ไม่มีการระบายนํ้า และ มีหินปูนและมี pH เกินกว่า 6
  3. พื้นที่มีความลาดชันมากเกิน
  4. ดินที่มีอินทรีย์วัตถุน้อย และไม่สามารถเก็บความชุ่มชื้นได้
  5. บริเวณที่มีลมแรง จนไม่สามารถทำ ที่บังลมได้ เพราะต้นชา เป็นพืชที่ต้องการร่มเงาไม้เพื่อบังร่ม และบังลม ช่วยลดอุณหภูมิในช่วงกลางวันลง ลดปริมาณของแสงแดดที่ส่องยังต้นชาโดยตรง ทำ ให้ใบชาสามารถสังเคราะห์แสงได้ดีขึ้น เพราะถ้าต้นชาได้รับแสงแดดจัดเต็มที่โดยตรงจะทำ ให้ใบมีขนาดเล็ก เหลือง หรือทำ ให้เกิดใบไหม้ ใบชาไม่มีการปรุงอาหาร ต้นจะโทรมและตายในที่สุด

การเก็บเกี่ยวชา

การเก็บเกี่ยวชาเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะการผลิตชาให้ได้คุณภาพดีนั้น ต้องเริ่มจากใบชาสดที่มีคุณภาพ ใบชาสดที่มีคุณภาพดีที่สุดคือ ใบชาที่เก็บจากยอดชาที่ประกอบด้วย 1 ยอด กับ 2 ใบ การเก็บชาจะเริ่มเก็บยอดชาที่ระดับ 60 เซนติเมตร ในช่วงเดือนมีนาคม จนถึงเดือนพฤศจิกายน โดยเฉลี่ยจะเก็บยอดชา 10 วันต่อครั้ง ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยวยอดชาจะอยู่ประมาณ 05.00-14.00 น. การเก็บยอดชาจะต้องไม่อัดแน่นในตะกร้า หรือกระสอบเพราะจะทำ ให้ยอดชาชํ้าและคุณภาพใบชาเสียได้ เนื่องจากความร้อนที่เกิดขึ้นจากการหายใจของใบชานั่นเอง

ส่วนเมล็ดชาที่ดีที่เหมาะกับการปลูก ควรเก็บจากผลชาที่แก่จัดเต็มที่มีสีนํ้าตาล และยังติดบนต้น ไม่ควรเก็บเมล็ดชาที่ร่วงใต้ต้น หลังจากเก็บผลชาที่แก่เต็มที่จากต้นแล้วนำ มากระเทาะเปลือกออกหรือนำ มาใส่กระด้งหรือกระจาด ผึ่งทิ้งไว้ในที่ร่ม ผลชาจะแห้งและแตกเองภายใน 2-3 วัน จากนั้นรีบนำ เมล็ดชาที่ได้ไปเพาะ เนื่องจากเมล็ดชามีปริมาณนํ้ามันภายในเมล็ดสูง ทำ ให้มีอัตราการสูญเสียความงอกเร็วมากก่อนเพาะเมล็ดชาควรนำ เมล็ดที่ได้แช่นํ้าไว้ 12-24 ชั่วโมง เมล็ดชาที่เสียจะลอยนํ้าให้ตัดทิ้งไว้ใช้แต่เมล็ดที่จมนํ้านำไปเพาะต่อไป

หลังจากที่บ้านไหนได้ลองปลูกชาดูเองแล้ว อยากทำเป็นไร่ชาออร์แกนิค ให้ได้ชาที่ปลอดภัยต่อสุขภาพในระยะยาว ไม่มีสารเคมีตกค้าง สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ทำความรู้จักการปลูกชาเขียวแบบออร์แกนิค

ที่มา https://www.japanesegreenteain.com

https://i.pinimg.com/originals/72/ea/da/72eada1447275ef65d7ab82ff6cd381e.jpg

https://www.morimatea.com/

https://www.freepik.com

http://technology-farmmer.blogspot.com/2015/02/blog-post_20.html

บทความจาก : Fuwafuwa