ทำความรู้จักการชงชาแบบ Steeping

Steeping

      มาทำความรู้จัก รู้จักการชงชาแบบ Steeping กัน หากพูดถึงการชงชาเขียวจากผงมัทฉะ ภาพที่แต่ละคนคิดก็จะชงด้วยฉะเซน ตีผงชาให้ละลาย ส่วนการชงชาใบนั้น ไม่ใช่แค่การเทน้ำผ่านใบชาแล้วจะดื่มได้เลย แต่หากเป็นการ Steeping ชา หรือการแช่ชาไว้ในกาตลอดการดื่ม มีขั้นตอนการชงที่ง่าย ใช้อุปกรณ์น้อย และได้รสชาค่อนข้างคงที่ จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความสะดวก และต้องการทานเพื่อประโยชน์โดยเฉพาะ ซึ่งการ  Steeping ชาเป็นกระบวนการสกัดกลิ่นและรสชาติของชาออกมาอย่างเรียบง่ายด้วยการแช่ใบชาไว้ในน้ำที่มีอุณหภูมิและระยะเวลาที่แตกต่างกันออกไปตามประเภทใบชา ข้อสำคัญในการชงแบบนี้คือการหมั่นเติมน้ำเดือด เพื่อรักษาระดับน้ำไม่ให้ต่ำกว่าครึ่งกาหรือเมื่อรู้สึกว่าชานั้นเริ่มจะเข้มเกินไป 

การแช่ชาที่สมบูรณ์แบบต้องมี 2 สิ่ง คือ น้ำ และเวลาในการแช่ที่ถูกต้อง โดยทั่วไป การชงชาแบบจีน จะใช้ชาราว 4-5 กรัม ต่อน้ำ 100 มล. ส่วนการชงชาฝรั่ง หรือชาเบลนด์ จะใช้ชาราว 3 กรัม ต่อน้ำ 200-250 มล.ใช้ระยะเวลาในการแช่ใบชานาน คือ 2.5-3 นาทีขึ้นไป

Steeping

สำหรับชาที่นิยมชงแบบ Steeping เป็นชาตะวันออก ชาธรรมชาติ ที่ไม่ได้เบลนด์ และไม่ได้แต่งกลิ่น ในกรณีที่ชงชาขาว หรือ ชาเขียว  เป็นชาสด จะใช้น้ำที่ไม่เดือดมากในการชง สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะถ้าใช้น้ำเดือดในการชง บางครั้งจะได้กลิ่นสาบเขียวของใบชา คล้ายผักต้ม จึงควรใช้น้ำอุณหภูมิไม่สูงประมาณ 80 องศา จะกำลังพอดี จะไม่นิยมดื่มน้ำแรก เพราะถือว่าเป็นน้ำกระตุ้นใบชา ให้เททิ้งก่อน จะเริ่มดื่มตั้งแต่น้ำที่สองเป็นต้นไป

การชงชาปกติจะใช้เวลา steeping หรือแช่ชาประมาณ 3-5 นาที ยกเว้นการชงชาขาวที่จะใช้เวลาชงแค่ 2-3 นาที ส่วนชาผลไม้ ชาดอกไม้ หรือชาสมุนไพร จะชงนานประมาณ 5-7 นาที แต่ถ้าเป็นชาเซนฉะจะแช่เพียง 30 วินาที – 1 นาที เท่านั้น หากแช่นานเกินกว่านี้จะขม

Steeping Steeping

ส่วนของชาอู่หลง และชาดำควรใช้น้ำเดือดในการชง แต่ถ้าหากเป็นชาดีๆ ควรรอให้อุณหภูมิของน้ำลดลงสักครู่นึง คือ สัก 90 องศา แล้วจึงชง เพื่อหลีกเลี่ยงความขมฝาดที่อาจเกิดขึ้น เพราะความขมต่างๆ มักจะถูกดึงออกมาเมื่ออุณหภูมิของน้ำสูงมากกว่า 90 องศานั่นเอง อย่างไรก็ตามปัจจัยอื่นๆประกอบการชงชาด้วยวิธีการแช่ใบชานั้นยังมีเรื่องของประเภทน้ำที่ควรใช้ในการชงชา เป็นต้น

จะเห็นว่าเทคนิค ปัจจัยในการชงชาแบบ steeping หรือการแช่ชานั้นแตกต่างกันออกไป การทดลองด้วยตัวเองเพื่อให้ได้รถชาติที่ถูกปากที่สุดจึงเป็นเรื่องที่คนรักชาเขียวควรลองศึกษาทดลองเพื่อให้ได้สูตรชาในแบบฉบับของคุณเอง

ที่มา

https://www.thespruceeats.com/tea-brewing-temperature-guide-766367

https://the.republicoftea.com/tea-library/tea-101/how-to-steep-tea/

บทความจาก : Fuwafuwa

New Normal ธุรกิจร้านชา ช่วงโควิด

ปฏิเสธไม่ได้เลยจริงๆว่าด้วยการแพร่ระบาดของโควิด ทำให้ร้านอาหารเครื่องดื่มช่วงนี้ยอดขายลดลงอย่างแน่นอน ด้วยสถานการณ์โควิดที่ทำให้การใช้ชีวิตเปลี่ยนไปวิถีการใช้ชีวิตของลูกค้ามีไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไป ถึงแม้ว่าจะยังคงเปิดให้บริการนั่งทานที่ร้านได้ แต่ข้อจำกัดก็ยังมีมาก ดังนั้นข้อแนะนำในการปรับตัวร้านให้อยู่รอด ควรปรับรูปแบบการให้บริการ ดังนี้

1.ระบบสั่งอาหารไร้สัมผัส (QR Order) เป็นระบบการสั่งอาหารผ่านการสแกน QR Code โดยใช้โทรศัพท์ลูกค้าแสกนโค้ดที่ทางร้านเตรียมไว้ เมนูจะไปแสดงในโทรศัพท์ลูกค้า ถือว่าเป็นการลดการสัมผัสกันเพื่อป้องกันเชื้อโรคที่อาจเกิดขึ้นได้บนใบเมนู นอกจากนี้ยังเป็นการประหยัดงบในการผลิตใบเมนูใหม่ๆทุกครั้งอีกด้วย เพราะหากอยู่ในโทรศัพท์ลูกค้า ร้านก็สามารถเพิ่มเมนูใหม่ๆ หรือเมนูโปรโมชั่นเข้าไปได้ตลอดเพียงอัพเดตลงระบบไม่ต้องปริ้นใหม่เหมือนทุกครั้งไป

QR Order

2. การชำระเงินแบบไร้สัมผัส (Contactless  Payment) ด้วยสถานการณ์ที่ต้องลดการสัมผัสกัน และต้องรักษาความสะอาดเป็นพิเศษ การชำระเงินโดยไม่ใช้เงินสดจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการชำระผ่านคิวอาร์โค้ด หรือการโอนเงินด้วยแอพพลิเคชั่นนั่นเอง ร้านไหนที่ยังมีแต่การรับเงินสดอย่างเดียว คงถึงเวลาที่ต้องเริ่มหาวิธีการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ช่วงนี้กัน

Contactless Payment

3. Drive-up หรือ walk-up windows หรือการสั่งอาหารแบบแยกจุด Pick upเป็นอีกวิธีที่สะดวกตอบโจทย์คนหิวที่อยาก Social distancing ซึ่งในบ้านเราจะเห็นระบบนี้ชัดๆกัยร้าน KFC หรือ Mc Donald แต่ในอนาคตเราอาจจะได้เห็นเห็นเทรนด์การออกแบบร้านที่เว้นระยะห่างระหว่างลูกค้ากับพนักงานมากขึ้น เช่น นอกจากจะมีพื้นที่สำหรับจอดรถสั่งและรับอาหารโดยเฉพาะแล้ว ยังมีฉากกั้นหรือแบ่งเป็นห้องสั่งที่เป็นสัดส่วนมากขึ้น เพื่อความรวดเร็วในการทำ-แพ็คและจัดส่งอาหาร และยังสะดวกต่อพนักงานเดลิเวอรี่ที่เข้ามารับอาหารด้วย ซึ่งร้านเครื่องดื่มบางร้านอย่าง Starbuck ก็มีบางสาขาในต่างประเทศที่เริ่มทำระบบนี้แล้ว ดังนั้น ร้านชาของใครที่พอมีพื้นที่เป็นสัดส่วนสามารถประยุกต์หน้าร้านให้เป็นจุด Pick Up สินค้าได้เร็วๆ โดยไม่ต้องรอนาน หรืออาจจะทำเป็นระบบให้้โทรสั่งแล้วให้พนักงานเดินออกมาให้ที่ริมถนนเมื่อลูกค้ามาถึงหน้าร้าน

Drive-up

4. บริการส่งอาหาร ผ่าน Deliveryนอกจากพนักงานส่งอาหารต้องใส่หน้ากากตลอดเวลาขณะปฏิบัติงาน รักษาระยะห่างกับลูกค้าไม่น้อยกว่า 1 เมตรแล้ว ในส่วนของร้านชาที่ต้องทำ คือ ต้องคิดว่าทำอย่างไรที่จะทำเมนูเครื่องดื่มในแอพพลิเคชั่นต่างๆให้อ่านง่าย มีรายละเอียดให้ลูกค้าเข้าใจว่าเครื่องดื่มแต่ละแก้วมีส่วนผสมอะไร พิเศษยังไง แต่ละหมวดหมู่ไม่ควรมีจำนวนมากเกินไป จะทำให้ลูกค้ารู้สึกสับสน ไม่รู้ว่าควรจะเลือกเมนูไหนดี และอย่าลืมอัพเดตเมนูพิเศษใหม่ๆ หรือทำโปรโมชั่นในแอพพลิเคชั่น เพื่อให้ลูกค้าได้รู้สึกเหมือนซื้อทานที่หน้าร้าน เป็นการเพิ่มความตื่นเต้นให้กับลูกค้า

5. หากร้านไหนที่ยังคงเปิดให้บริการตามปกติ ควรเพิ่มระบบจองคิวให้ลูกค้า โดยเฉพาะร้านชาที่มีขนาดเล็กมีไม่กี่ที่นั่ง เพื่อลดการรอคิวที่แออัดหน้าร้าน ลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคนั่นเอง

Delivery

6. จำนวนบิลที่ลดลง เพราะที่ร้านจำกัดจำนวนลูกค้า ทำอย่างไรที่จะเพิ่มยอดขายต่อบิลได้นั้น เป็นเรื่องที่ต้องคำนึงถึงโดยเฉพาะร้านชาบางร้านที่เน้นขายเครื่องดื่ม เมนูในร้านไม่ได้หลากหลายมาก การเพิ่มยอดขายจากลูกค้าที่มาคนเดียวทำได้หลายวิธี เช่น เพิ่มเมนูGrab&Go ที่หยิบขายง่ายๆไม่ต้องรอนาน หรือจะเป็นการจัดชุดเมนูชาเครื่องดื่มสุดคุ้ม เป็นต้น

Open Kitchen

7. Open Kitchen เทรนด์ครัวเปิด โชว์ความสะอาด และเพื่อลดความกังวลของลูกค้า การทำครัวเปิดให้ลูกค้าได้เห็นภาพการทำชงชาโดยตรง จะสร้างความรู้สึกเปิดกว้าง จริงใจ ช่วยทำให้ลูกค้ารู้สึกไว้วางใจร้าน และยังเป็นการโชว์ความน่าสนใจและลีลาการชงเครื่องดื่มให้กับร้านอีกด้วย

ที่มา

https://www.behance.net/gallery/53948421/Starbucks-Drive-Thru-(Keele-North)

https://www.pinterest.com/pin/491596115582901369/

บทความจาก : Fuwafuwa