How to Become a Tea Expert (ผู้เชี่ยวชาญด้านชา)

เชื่อว่าใครหลายคนที่ชื่นชอบชา ย่อมอยากจะได้ชื่อว่าเป็น ผู้เชี่ยวชาญด้านชา ( Tea expert / Tea Sommelier ) ที่มีความรู้และเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ สามารถแยกชนิด ประเภทของชาได้ รู้ถึงอุณหภูมิ หรือประเภทของน้ำที่ต้องใช้ในการชงชาแต่ละชนิดเพื่อให้ได้รสชาติที่ดีที่สุด 

หากมีความรู้ความเข้าใจด้านการชงชาอย่างแท้จริงแล้ว ไม่ได้แค่เพียงได้เป็น Tea expert แต่ยังสามารถเอาความรู้เหล่านี้ไปต่อยอดทางธุรกิจได้ เช่น เป็นผู้ให้คำปรึกษาตามร้านชา ร้านอาหาร ช่วยในการออกแบบจับคู่เมนูอาหาร ขนม กับชา ที่ช่วยส่งเสริมรสชาติกันให้ออกมาดีที่สุดนั่นเอง ดังนั้นมาลองไล่เช็คลิสต์กันดูว่าการจะเป็น Tea expert ได้นั้น ต้องมีความรู้อะไรบ้าง

Tea cuppingการชงชา ที่มีวิธีการชงหลากหลายแบบ เช่น การใช้ฉะเซนชงชาที่ทำมาจากผงชาเขียว ( ดูเพิ่มเติมได้ที่ shorturl.at/desuL ) หรือการชาด้วยการสกัดเย็น ( ดูเพิ่มเติมได้ที่ shorturl.at/gAV57 ) เป็นต้น ซึ่งรูปแบบการชงชาก็ยังมีอีกหลายแบบมากที่ควรรู้

Tea cultureรู้ถึงวัฒนธรรมการดื่มชาของแต่ละประเทศ เพื่อสามารถครีเอทเรื่องราวของชาที่ต้องการนำเสนอได้

Different brewing and presentation techniques of teaที่การชงชาและวิธีการจัดเสิร์ฟชาแต่ละประเภทให้น่าทานมากยิ่งขึ้นควรทำยังไง หรือควรจับคู่กับเมนูอาหาร ขนมสไตล์ไหน

Blending and flavoring tea ว่าด้วยเรื่องของการเบลนด์ชาเอง เรียนรู้ว่าการผสมชาระหว่าง 2 ชนิดเข้าด้วยกัน หรือผสมกับดอกไม้ หรือสมุนไพรชนิดอื่นๆ จะได้ชาที่มีกลิ่นหรือรสชาติแบบใหม่ออกมาได้อย่างไร

เทคนิคการชงและการนำเสนอชา รูปแบบการเสิร์ฟชาสไตล์ญี่ปุ่น กับชาสไตล์อังกฤษก็มีความแตกต่างกัน การจีดเสิร์ฟด้วยภาชนะที่ถูกต้องหรือใช้พร็อพตกแต่งเสริมจะช่วยเพิ่มความสุนทรียะให้การดื่มชาได้มากยิ่งขึ้น

เข้าใจถึงวิธีการปลูกชา การเก็บเกี่ยวชา เพื่อให้ได้ใบชา และผงชาที่ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการปลูชาแบบออร์แกนิค หรือจะเป็นการทดลองปลูกเองง่ายๆที่บ้านว่าต้องอาศัยปัจจัยใดบ้างในการปลูกชาเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีที่สุด 

อย่างไรก็ตามการจะเป็น Tea Expert ได้ไม่เพียงแต่ต้องมีความรู้อย่างลึกซึ้งแล้ว แต่ต้องอาศัยประสบการณ์ การทดลองซ้ำๆ ที่จะทำให้ประสาทสัมผัสด้านการชงชาดีขึ้น ทั้ง กลิ่น รสชาติ และการรับรู้สีสันของชานั่นเอง ซึ่งนอกจากความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชาที่ต้องมีแล้ว หากมีความรู้เพิ่มเติมเรื่องการตลาด หรือการจัดการธุรกิจร้านชา ก็จะยิ่งช่วยส่งเสริมให้ร้านชามีแผนการตลาด และเทคนิคการขายที่ดียิ่งขึ้น

ที่มา  

becauseimaddicted.net

eatingwell.com

 

บทความจาก : Fuwafuwa

 

ทำความรู้จักเพิ่มเติมเกี่ยวกับ กล่องเก็บชา

คนรักชาเขียวส่วนมากจะทราบกันอยู่แล้วว่าผงชา นอกจากควรเก็บในกล่องที่ปิดมิดชิด ทึบแสงและกันอากาศเข้า ยังควรเก็บผงชาให้ห่างจากแสงแดด หรือความร้อนเป็นเวลานานๆ และควรเก็บชาไว้ในที่เย็น อย่างไรก็ตาม หลังเอาออกมาจากตู้เย็น ก็ควรทิ้งไว้สักพักให้หายเย็นก่อนเปิดภาชนะ เพื่อป้องกันไม่ให้ชาชื้น 

เมื่อผงชามีความไวต่อแสงและมีวิธีเก็บที่ละเอียดอ่อน กล่องที่เก็บชา จึงควรมีลักษณะที่ถูกต้องมากที่สุด เพื่อรักษาคุณภาพชา และเป็นการปกป้องผงชาจากอากาศ ดังนั้น ขวดแก้ว ขวดใส จึงไม่เหมาะสมสำหรับการเก็บผงชา กล่องเก็บผงชานี้ ภาษาญี่ปุ่น เรียกว่า棗 หรือ natsume(Tea caddy )

ที่มาของกล่องเก็บชานั้นมาจากฝั่งยุโรป เพราะสมัยก่อน ชามีราคาแพงมาก วัฒนธรรมการบริโภคชาของชาวอังกฤษได้รับการเผยแพร่จากจีนในช่วงกลางศตวรรษที่ 17 ในช่วงนั้น มีความเชื่อว่า ชาสามารถรักษาโรคได้และมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากๆ ชาเป็นที่รู้จักในภาคตะวันออกมานานหลายพันปี คนอังกฤษจึงให้คุณค่ากับชามาก เพราะชาสมัยนั้นมีราคาแพง จึงจำเป็นต้องถูกจัดเก็บล็อคกุญแจเป็นอย่างดี กล่องที่ใช้เก็บผงชามักมีราคาแพงและมีการตกแต่งเพื่อให้เข้ากับบรรยากาศภายในห้องรับแขกหรือห้องรับรองอื่นๆ ที่จะมีการเสิร์ฟน้ำชาบริเวณนั้นๆ ซึ่งกล่องเก็บชามีหลายวัสดุ เช่น ไม้ โดยทำมาจากทำจากไม้มะฮอกกานีและไม้ชิงชันเป็นที่นิยม และยังมีรูปลักษณ์ที่หลากหลายกันออกไปทั้ง 6 เหลี่ยม 8 เหลี่ยม พัฒนาเรื่อยมามีทั้งกล่องจากดินเผา สแตนเลส หลากทรง หลายดีไซน์ แต่ลักษณะที่เห็นได้ชัดคือกล่องทุกแบบจะมีลักษณะทึบแสงนั้นเอง หากตอนนี้ใครใส่ในกล่องพลาสติกใส แม้จะมีฝาปิดตัวล็อคมิดชิด ก็ควรเปลี่ยนมาใส่กล่องที่มีลักษณะที่ถูกต้องจะดีกว่า

ดังนั้นในการเลือกกล่องเก็บชา สามารถเลือกได้ทั้งที่เป็นสแตนเลส หรือไม้ เพียงแค่ต้องมีฝาปิดให้สนิก ยิ่งถ้ามีที่ล็อคปิดให้แน่นยิ่งขึ้นยิ่งช่วยยืดระยะเวลาของผงชานั้นๆได้ หากใครที่มองหากล่องเก็บผงชา ลองเลือกดูได้จาก htps://matchazuki.com/product/canister/

ที่มา

https://matchazuki.com/product/canister/

 

บทความจาก : Fuwafuwa

How to take care of your teaware

หากพูดถึงการชงมัทฉะแล้ว อุปกรณ์ที่ต้องนึกถึง คงหนีไม่พ้น ฉะเซ็น ช้อนไม้ไผ่ ฉะชะคุ หรือ แท่นวางฉะเซ็น ซึ่งวิธีใช้งานอุปกรณ์ดังกล่าว สามารถศึกษาได้จากในเว็บไซต์มากมาย แต่การใช้งานอุปกรณ์ที่ถูกต้อง จำเป็นต้องมีการเก็บรักษาที่ถูกต้องด้วยเช่นกัน มาดูกันว่าอุปกรณ์ชงชาแต่ละชนิด ควรเก็บรักษายังไงบ้าง

เริ่มจาก การเก็บรักษาฉะเซ็น (Chasen) หรือแปรงชงชาอุปกรณ์สำคัญที่สุดในการชงชา หลังจากใช้งานเสร็จ ควรนำไปแกว่งในน้ำอุ่น โดยเน้น แกว่งเฉพาะส่วนที่สัมผัสกับมัทฉะ ไม่ต้องเอาไปล้างน้ำทั้งอัน พอแกว่งเสร็จสักสองน้ำก็นำมาตั้งไว้ให้แห้ง ถ้าใครมีที่พักฉะเซ็น แนะนำให้เอาไปเสียบไว้ รอให้แห้ง จะดีกว่า เพราะที่พักฉะเซ็นนี้มีข้อดีคือ น้ำไม่ไหลเข้าส่วนที่เป็นที่จับ แล้วก็ช่วยรักษารูปทรงของฉะเซ็น หลังจากฉะเซ็นต์แห้งให้เก็บไว้ในกล่อง หรือในที่ๆอุณหภูมิพอดี ไม่ร้อน ไม่เย็น อากาศถ่ายเทได้สะดวก และที่สำคัญต้องไม่ชื้นและแห้งจนเกินไป เพราะถ้าร้อน หรือแห้งมาก ไม้ไผ่จะกรอบและหักง่าย และควรระวังเรื่องความชื้นนิดนึง ไม่งั้นไม้ไผ่จะขึ้นราเอาได้ครับ ส่วนที่พักฉะเซ็นเซรามิคที่ช่วยให้ฉะเซ็นแห้งเร็ว และยังรักษาทรงไม้ไผ่ ป้องกันการขึ้นรา แค่เพียงค่อยสังเกตว่าเลอะเป็นคราบบางหรือไม่ ถ้าเลอะก็เพียงล้างและ พึ่งให้แห้งเท่านั้น เนื่องจากไม่ได้เลอะอะไรมาก แต่หากใช้งานนานๆ ก็ไม่ควรละเลยที่จะคอยสอดส่องว่ายังสภาพดีเหมาะกับการใช้งานหรือไม่

ส่วนฉะชะขุ หรือช้อนไม้ไผ่มีวิธีเก็บรักษาที่ง่ายมากๆ เพียงแค่ หลังจากใช้ตักมัทฉะแล้ว “ห้ามล้าง” หรือ “ห้ามโดนน้ำ” เด็ดขาด เพราะว่า ฉะชะขุ คือ อุปกรณ์ที่สัมผัสกับมัทฉะโดยตรง หากนำไปล้าง ฉะชะขุจะมีความชื้น เวลานำไปตักมัทฉะ ความชื้นก็จะวิ่งไปหามัทฉะที่อยู่ในภาชนะเก็บ ทำให้มัทฉะจับตัวกันเป็นก้อนนั่นเอง อีกทั้งการล้างฉะชะขุบ่อยๆ จะทำให้ไม้ไผ่เสียทรง และเก่าเร็วขึ้น จึงแนะนำเป็นใช้กระดาษทิชชู่แห้งๆ ค่อยๆเช็ดผงมัทฉะออก แค่นี้ก็เพียงพอแล้ว

Chawan หรือถ้วยชงชา หลังจากใช้แล้วให้ล้างออกด้วยน้ำเบาๆ ไม่แนะนำให้ล้างด้วยเครื่องล้างจานหรือเครื่องอบผ้า และไม่ควรใช้สก็อตไบร์ถูถ้วยแรงจนเกินไป หลีกเลี่ยงการใช้นำยาล้างจาน ควรใช้แบบออร์แกนิคที่กลิ่นไม่แรงนัก หลังจากล้างแล้วไม่แนะนำให้วางไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิสูงเช่น ไมโครเวฟ เตาอบ หรือเตา แต่ประเด็นที่สำคัญที่สุด คือ Chawan มีไว้เพื่อใช้สำหรับชงชามัทฉะเท่านั้น ไม่ควรนำไปใช้ปนกับการใส่อย่างอื่น มิฉะนั้นอาจจะติดกลิ่นได้

ยังมีอุปกรณ์บางชนิดที่ก่อนใช้ครั้งแรกให้ล้างออกด้วยน้ำร้อนแล้วปล่อยให้แห้งสนิทก่อน นั่นคือ กาน้ำชาเซรามิก ซึ่งหลังจากใช้งานแล้วก็ไม่แนะนำให้ใช้เครื่องล้างจาน เครื่องอบผ้ าหรือสบู่ล้างจาน ส่วนบริเวณที่กรองในตัวให้รีดน้ำออกจากพวยกา ใช้แปรงสีฟันหรือไม้จิ้มฟันเพื่อนำใบชาที่ติดอยู่ในกระชอนออก หลังใช้งานควรปล่อยให้แห้งสนิทเสมอเพราะหากเก็บไว้ในขณะที่ยังเปียกอยู่อาจทำให้เกิดกลิ่นอับชื้นหรือเชื้อราได้

ที่มา

https://www.worldmarket.com/product/matcha-bowl-and-whisk-tea-gift-sets-set-of-2.do

thediscoverer.com

fitteaandsushi.blogspot.com

บทความจาก : Fuwafuwa