10 เรื่องของการปลูกชาเขียวที่คุณ(อาจ)ไม่เคยรู้

Growing Tea Leaves

ชาเขียวเปรียบเสมือนหัวใจสำคัญของวัฒนธรรมญี่ปุ่น ตั้งแต่การเก็บเกี่ยวและการเตรียมใบชา ทุกขั้นตอนมีความพิถีพิถัน ซับซ้อนและฝังรากลึกลงไป ซึ่งชาเขียวที่เก็บเกี่ยวในญี่ปุ่นมีรสชาติและคุณค่าทางสารอาหารบางชนิดแตกต่างจากชาประเทศจีนและพื้นที่อื่น ๆ ของโลก และนี่คือ 10 สิ่งเกี่ยวกับชาเขียวญี่ปุ่นที่คุณ (อาจ) ไม่รู้

  1. การเก็บเกี่ยวครั้งแรกแห่งปี ใบชาจะมีคุณค่าทางโภชนาการและเป็นที่ต้องการมากที่สุด การเก็บเกี่ยวครั้งแรก เริ่มในเดือนพฤษภาคมและกินเวลาหลายสัปดาห์จนถึงเดือนมิถุนายน การเก็บเกี่ยวนี้เป็นที่ทราบกันดีว่าผลิตใบชาเขียวที่มีคุณภาพสูงสุดโดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการเจริญเติบโตที่ช้าในช่วงเดือนที่หนาวเย็นทำให้ใบมีสารอาหารหนาแน่นส่งผลให้มีรสชาติดีขึ้น ใบไม้ที่เก็บในช่วงฤดูใบไม้ผลิจึงมีปริมาณแอล-ธีอะนีนมากถึงสามเท่าของปริมาณที่ผลิตในการเก็บเกี่ยวในภายหลัง ใบชาล็อตแรกนี้จึงมีรสหวานและรสละมุน
  1. การเก็บเกี่ยวครั้งที่สองของปีในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม ช่วงที่อากาศร้อนมาก เพราะเป็นฤดูร้อนทำให้การเก็บเกี่ยวเป็นเรื่องยากมาก ซึ่งใบชาช่วงนี้ก็จะเติบโตเร็วและมีคุณภาพต่ำลง รสขมมากขึ้น ทำให้ต้องใช้การบริหารจัดการทั้งพนักงานและการควบคุมการเก็บเกี่ยวอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  1. KANREISHA CURTAIN หรือม่านสีดำที่นิยมใช้คลุมดิน สามารถเอามาใช้เพื่อปกป้องต้นชาจากแสงแดดได้โดยตรง ประมาณหนึ่งเดือนก่อนการเก็บเกี่ยวแต่ละครั้งต้นชาจะถูกปกคลุมด้วยม่านเพื่อจำกัดปริมาณแสงแดด ไม่ให้โดนต้นชาโดยตรง ซึ่งผ้าม่านที่ใช้ในญี่ปุ่นมี 2 ประเภท คือ การใช้ผ้าคลุมต้นไม้โดยตรงและการใช้แบบกันสาดเพื่อบังแสงแดด แต่ละไร่ชาจะมีการใช้ที่แตกต่างกันไป บางแห่งใช้ทั้ง 2 แบบเลย ต้นชาที่ถูกคลุมด้วยม่านดังกล่าว ก่อนการเก็บเกี่ยว จะช่วยให้ชาเกิดรสหวาน

Growing Tea Leaves

  1. ใบชาทุกใบจะได้รับการคัดจากคนเก็บใบชาที่ผ่านการคัดอย่างพิถีพิถัน หากเทียบกันแล้วใบชาที่คัดด้วยเครื่องจะได้คุณภาพไม่สูงเท่าที่หยิบด้วยมือ ใบชาที่หยิบด้วยมือ รสชาติจะกลมกล่อมและมีกลิ่นหอมที่ละเอียดอ่อนกว่า ซึ่งเวลาที่ดีที่สุดในการเลือกใบคือ เมื่อมีต้นอ่อนตั้งแต่สามถึงห้าต้นและใบมีขนาดที่เหมาะสมพอดี การเก็บเกี่ยวเร็วเกินไปหมายถึงผลผลิตที่น้อยลง การเก็บเกี่ยวช้าเกินไปส่งผลต่อคุณภาพของชา แม้แต่วันเดียวก็สามารถสร้างความแตกต่างและส่งผลให้ใบขมได้ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะต้องเลือกเก็บใบชาในเวลาที่เหมาะสม และต้องหยิบอย่างรวดเร็วทั้งหมดในคราวเดียว ดังนั้นคนงานแต่ละคนต้องใช้ประสบการณ์ในการถอนใบอย่างรวดเร็ว และประณีต
  1. จริงๆแล้วญี่ปุ่นผลิตชาได้น้อยกว่าประเทศอื่น แม้จะมีวัฒนธรรมชาเขียวที่เด่นชัด แต่ญี่ปุ่นสามารถผลิตชาเขียวเพียง 7% ของโลกเท่านั้น ส่วนใหญ่บริโภคในญี่ปุ่นและมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ส่งออกไปยังประเทศอื่นๆ คนญี่ปุ่นบริโภคชา 95% ของการผลิตชาทั้งหมดในประเทศ จึงมีเพียง 5% เท่านั้นที่ส่งออกไปยังประเทศอื่นๆ
  1. วิธีที่นิยมมากที่สุดในการเก็บใบชายังคงเป็นการใช้ตะกร้าไม้แบบดั้งเดิม แม้จะมีเครื่องจักรและเทคโนโลยีเข้ามาใช้กันแพร่หลาย แต่ตะกร้าไม้แบบดั้งเดิมยังคงใช้เก็บชาอยู่

Growing Tea LeavesGreen tea

  1. ในฤดูใบไม้ร่วงคนงานไร่ชาจะเริ่มเตรียมฟาร์มสำหรับการเก็บเกี่ยวในปีหน้าแล้ว ต้นชาเขียวจะถูกตัดแต่งในช่วงฤดูใบไม้ร่วงของเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน การตัดแต่งกิ่งในขั้นตอนนี้จะช่วยให้มั่นใจได้ว่าต้นอ่อนของใบแก่จะไม่ปะปนและลดการเก็บเกี่ยวในฤดูใบไม้ผลิของปีถัดไป การละเลยไม่ตัดแต่งกิ่งในเวลาที่ถูกต้องจะเป็นอันตรายต่อต้นชาและอาจส่งผลให้ต้นชาไม่แข็งแรงก็เป็นได้ ดังนั้นช่วงปลายฤดูร้อนและต้นฤดูใบไม้ร่วง จึงต้องเสริมสร้างดิน ปรับค่า pH ของดินให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
  1. มีการท่องเที่ยวเพื่อการเก็บเกี่ยวชา Obubu เป็นภาษาเกียวโต เป็นคำเรียกชาเขียวชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นหนึ่งในชาที่แพงที่สุดในญี่ปุ่นโดยมีราคาประมาณ 14,000 เยนต่อกิโลกรัม เป็นเวลากว่า 800 ปีที่ฟาร์มในจังหวัดเกียวโตในชนบทได้เติบโตขึ้นและได้มีการเปิดให้นักท่องเที่ยว หรือบุคคลทั่วไปสามารถช่วยเข้าไปเก็บเกี่ยวได้ในช่วงฤดูเก็บเกี่ยว โดยจะเริ่มต้นด้วยการเที่ยวชมฟาร์มยามเช้าและโอกาสในการเลือกใบชาของคุณเอง เจ้าหน้าที่จะแสดงวิธีเก็บใบชาและนักท่องเที่ยวจะได้รับตะกร้าไม้แบบดั้งเดิม เพื่อเก็บใบชา ซึ่งใบชาที่เก็บมาก็สามารถนำไปส่งแปรรูป หรือส่งไปคั่วเพื่อให้พร้อมเสิร์ฟเป็นเครื่องดื่มชาจากใบที่คุณเก็บสำหรับถ้วยโอชารสเลิศ
  1. ต้นชาเขียวต้องการการดูแลเป็นพิเศษในช่วงฤดูหนาว ฟางใบไม้แห้งและแกลบไม้ไผ่จะถูกปูไว้ข้างต้นไม้เพื่อช่วยให้ความอบอุ่นในช่วงเดือนที่หนาวเย็นและมีหิมะตก ทำหน้าที่เป็นปุ๋ยและช่วยให้ดินมีความชื้นในปริมาณที่เหมาะสม เพราะต้นไม้หลายชนิดมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคและตายในช่วงฤดูหนาว ดังนั้นจึงต้องดูแลต้นชาอย่างดีเพื่อให้พร้อมสำหรับการเก็บเกี่ยวครั้งต่อไป

Green tea Green tea

  1. การเก็บเกี่ยวในญี่ปุ่นนั้นแตกต่างกับเทคนิคที่ใช้ในจีน เพราะญี่ปุ่นเลือกเก็บบางใบในช่วงเวลาต่างๆของปีในขณะที่จีนมักจะรวบรวมใบไม้ทั้งหมดในคราวเดียว

ขั้นตอนการเก็บเกี่ยวใบชาเป็นงานที่ซับซ้อนซึ่งใช้เวลาตลอดทั้งปี ตั้งแต่การเก็บเกี่ยวครั้งแรกจนถึงครั้งสุดท้าย เกษตรกรในญี่ปุ่นทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพื่อผลิตชาคุณภาพสูงสุดเท่าที่จะทำได้เพื่อให้ได้ชาที่รสชาติดีที่สุด

ที่มา

https://www.japanesegreenteain.com/blogs/green-tea-and-health/harvesting-green-tea-in-japan-10-surprising-harvesting-things-you-didnt-know

บทความจาก : Fuwafuwa

5 ข้อผิดพลาดในการชงมัทฉะที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุด

ผงมัทฉะเป็นส่วนผสมที่ค่อนข้างพิถีพิถัน ตั้งแต่กระบวนการผลิตตลอดจนการใช้และเก็บรักษา เพราะหากปล่อยให้โดนแสง หรือ อากาศนานเกินไปมันจะเกิดการออกซิไดซ์และเสียรสชาติ หรือตอนชงใช้อุณหภูมิของน้ำที่ไม่ถูกต้องอาจจะทำให้เกิดรสขมได้ มาดูกันว่า “5 ข้อผิดพลาดในการชงมัทฉะที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุด” มีอะไรบ้าง

matcha

  1. ใช้อุณหภูมิของน้ำที่ไม่ถูกต้องสำหรับมัทฉะ คนส่วนใหญ่คุ้นเคยกับการใช้น้ำเดือดเพื่อชงชา เพราะกลัวว่าผงมัทฉะจะไม่ละลาย แต่นี่คือสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงมากที่สุด เพราะน้ำเดือดจะทำให้มัทฉะมีรสขม เพราะในชาเขียวเป็นชาที่มีปริมาณกรดอะมิโนสูง อุณหภูมิของน้ำที่ดีที่สุดสำหรับมัทฉะคือ ใช้น้ำ 80-85 องศาเซลเซียส หากชงด้วยน้ำเดือด 100 องศา ชาจะขับสารแคทิซีนออกมาเป็นจำนวนมากส่งผลให้ชามีรสขม และประเภทน้ำที่ใช้ในการชงชา ควรเป็นน้ำที่มีค่าเป็นกลาง (PH7) ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำแร่แต่อย่างใด

อ่านเพิ่มเติมเรื่องประเภทของน้ำและอุณหภูมิที่เหมาะกับการชงน้ำชาที่ shorturl.at/vyMW7 และ shorturl.at/bBL38

tea utensils

  1. ใส่ผงมัทฉะมากเกินไปหรือน้อยเกินไป ที่ญี่ปุ่นเราจะใช้ช้อนไม้ไผ่ หรือที่เรียกว่า chashuku ในการตกผงมัทฉะ เป็นอุปกรณ์ในพิธีชงชาแบบเก่าแก่ แต่ช่วยให้ได้ปริมาตรที่เหมาะสม โดย chashaku 1 ช้อนเท่ากับค่าเสิร์ฟตามมาตรฐานที่ครึ่งช้อนชา ตามมาตรฐานการชงชา จะใช้ 2 chashuku ซึ่งเท่ากับ 1 ช้อนชา ถึงแม้ว่าปริมาณ 1 ช้อนชาจะดูเป็นปริมาณที่น้อยมาก บางคนจะคิดว่าต้องได้รสชาติที่ไม่เข้มข้น จึงตักเพิ่มไปอีก แต่จริงๆแล้วการชงมัทฉะด้วยปริมาณ 1 ช้อนชาลงในน้ำน้อยกว่า 6 ออนซ์จะทำให้ได้รสชาติที่เข้มข้นทีเดียว อย่างไรก็ตามหากเป็นคนที่ไม่ชอบความเข้มข้นมากนัก แนะนำให้ชงแบบ USUCHA ของญี่ปุ่นแทน (ชาบาง ๆ )

matcha powder

  1. ใช้มัทฉะผิดประเภท คนส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการจัดประเภทผงมัทฉะ 2 อย่างคือ เกรด “Ceremonial” และเกรด “สำหรับชงเครื่องดื่มและทำอาหารทั่วไป” ซึ่งแท้จริงแล้วผงชายังมีการแบ่งเกรดได้มากกว่านั้น โดยเราควรเลือกก่อนว่าเราควรใช้ผงมัทฉะชนิดนั้นๆสำหรับทำอะไร เครื่องดื่มหรือขนมที่เราทำนั้นต้องการให้ออกมาเป็นแบบไหนมากกว่า อย่างผงมัทฉะเกรด Ceremonial เกรดที่ใช้สำหรับพิธีชงชา ที่เกิดจากการคัดเลือกเฉพาะยอดชา 3 ใบแรก ในฤดูกาลเก็บเกี่ยวที่ดีที่สุด จากแหล่งปลูกชาชั้นเยี่ยมในเขต Uji, Kyoto (宇治市) ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งปลูกชาชั้นดี คุณภาพสูง ผ่านประสบการณ์การปลูกชามายาวนานกว่า 800 ปี และนำใบชามาบดละเอียดด้วยโม่หินเพื่อให้ได้ผงมัทฉะเนื้อเนียนละเอียด สีเขียวสว่างมรกต และรสชาติเข้มข้นกลมกล่อม จะเหมาะสำหรับการชงแบบบาง (Usucha) มากกว่านำไปทำขนม หากต้องการ รสชาติหอม กลมกล่อม ได้สีเขียวอ่อน ติดรสขมนิดๆ เกรดนี้เหมาะสำหรับการนำมาผสมเครื่องดื่มอื่นๆเช่น มัทฉะลาเต้ หรือ นำไปทำขนม เป็นต้น หากไม่แน่ใจว่าเมนูที่ร้านควรใช้ผงมัทฉะแบบไหน ควรปรึกษาผู้ขายผงมัทฉะก่อนจะดีที่สุด

matcha green tea

  1. ผสมมัทฉะผิดวิธี ด้วยความที่ผงมัทฉะไม่สามารถละลายน้ำได้ง่ายๆด้วยการเทน้ำร้อนใส่แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้ละลายเอง แต่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ช่วยอย่างฉะเซ็น แปรงไม้ไผ่ที่ต้องตีผงมัทฉะจนละลายไปกับน้ำก่อน ถึงจะเอาไปเทผสมกับนม หรือส่วนผสมอื่นได้ ดังนั้นหากใส่นม หรือไซรัปลงไปในผงมัทฉะแล้วคนให้ละลายพร้อมกันเลย จะทำให้การทำละลายทำได้ยากขึ้น ดังนั้นหากต้องการชงเครื่องดื่มจากผงมัทฉะ จึงควรทำละลายผงมัทฉะกับน้ำร้อนก่อน แม้ไม่มีฉะเซ็น ก็สามารถทำได้โดยผสมมัทฉะกับน้ำในขวดน้ำ หรอื shaker ปิดขวดและเขย่าขวดแรงๆสักครู่จนเข้ากัน หรือใช้เครื่องตีฟองแทนก็ได้เช่นกัน

tea plantation

  1. การจัดเก็บมัทฉะผิดวิธี ผงมัทฉะค่อนข้างบอบบางและสามารถเกิดการออกซิไดซ์ได้อย่างรวดเร็วหากทิ้งไว้ในที่โล่งซึ่งจะทำให้มัทฉะเสียรสและกลิ่น รวมถึงสีที่ซีดลง ดังนั้นเพื่อรักษารสชาติที่ละเอียดอ่อน และคงคุณภาพของสีที่เขียวตามธรรมชาตินั้น อย่าลืมให้ความสำคัญกับผงมัทฉะมากขึ้น โดยเก็บมัทฉะของคุณให้ห่างจากความร้อน ห่างจากอากาศที่มีความชื้นและแสงแดด ควรเก็บมัทฉะไว้ในตู้เย็น ช่วยให้มัทฉะสดใหม่ได้นานถึง 6 เดือน หรือดูเพิ่มเติมถึงวิธีการเก็บได้ที่ shorturl.at/bzIO8

ที่มา

https://tea-ceremony-kyoto.com/tea-ceremony-blog/

https://naokimatcha.com/articles/5-common-matcha-errors/

บทความจาก : Fuwafuwa