
ปกติของการชงชาเขียวด้วยผงชาเขียวนั้น จะมีการใช้ฉะเซ็น หรือ ที่ตีฟองนมช่วยในการตีชาให้ละลายไปกับน้ำ บางครั้งตีผงชาด้วยอุปกรณ์และเทคนิคแบบเดิม กลับได้ผลลัพธ์ที่ไม่เหมือนเดิม ผงชาอาจจะไม่ละลาย ตีแล้วไม่ขึ้นฟองที่สวยงาม ทำให้เวลาถ่ายภาพเมนูอาหารไม่น่าทาน สาเหตุเกิดจากอะไรนั้น ลองมาสังเกตไปพร้อมๆกัน
1. ไม่ได้กรองชาเขียวก่อนตีโดยทั่วไปแล้วผงมัทฉะไม่จำเป็นต้องผ่านการร่อน แต่ถ้าต้องการให้เกิดฟองที่สวยงามในตอนตี ควรจะผ่านการร่อนสักรอบเหมือนก่อนที่เราจะนำแป้งมาใช้ทำขนม เพาะ ผงชา และแป้งพวกนี้เมื่อถูกเก็บอยู่ในภาชนะนานๆ อาจเกิดการจับตัวเป็นก้อนได้อีกครั้ง การร่อนก่อนที่จะตีจะช่วยให้คุณได้เครื่องดื่มชาเขียวที่นุ่มขึ้น และยังทำให้ได้ฟองเป็นชั้นๆสวยงาม
2. ปริมาณน้ำกับชาไม่ได้สัดส่วนกัน หากใส่น้ำในปริมาณที่มากเกินไป ฟองมัทฉะจะตีได้ยาก และอาจเกิดฟองอากาศขนาดใหญ่จำนวนมาก ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ต้องการ เพราะการชงมัทฉะที่สวยงามน่าดื่มควรมีฟองเล็กน้อย หากใส่ผงมัทฉะในปริมาณมากเกินไป ชาเขียวที่ได้จะเข้มข้นมาก แต่ปัญหาคือเมื่อใช้ผงมัทฉะมากขึ้นเพื่อรสชาติที่เข้มขึ้น แต่ปริมาณของเหลว คือ น้ำ ยังคงเท่าเดิม ซึ่งอาจไม่เพียงพอต่อการละลายผงมัทฉะ จึงทำให้ตีได้ยาก โดยปกติแล้ว ความเข้มข้นของชาจะขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน แต่อัตราส่วนทั่วไปในการตีมัทฉะคือ ใช้ไม้ไผ่ตักผงชา 2 ช้อน (หรือ 1 ช้อนชา) ต่อน้ำ 2-3 ออนซ์ หากต้องการปรับระดับความเข้มข้น อย่าลืมเติมน้ำเพิ่มขึ้นตามระดับที่สามารถละลายผงชาได้
3. อุณหภูมิของน้ำต่ำลงเกินไปหากน้ำเย็นเกินไปการพักมัทฉะในน้ำจะเป็นเรื่องยาก ซึ่งจะส่งผลให้มีการจับตัวเป็นก้อนมากกว่าฟอง อุณหภูมิของน้ำขึ้นไม่ได้มีสูตรบังคับตายตัว เพียงแต่มีคำแนะนำ เพื่อรสชาติที่ดีท่สุดเท่านั้นตามแบบฉบับของแต่ละร้านว่าควรใช้อุณหภูมิที่เท่าไหร่ ซึ่งแน่นอนว่า การใช้น้ำร้อนเกินไปก็ไม่ได้ทำให้การตีผงชาละลายได้ดีที่สุด แต่ถ้าอุณหภูมิของน้ำ ต่ำมากเกินไป ก็จะทำให้การละลายชาไม่ดีเท่าที่ควร อุณภูมิ 85 องศาเซลเซียส จึงเป็ฯอุณภูมิที่พอเหมาะที่สุดนั่นเอง
4.ชาเขียวที่ใช้เป็นชาเขียวที่เสื่อมคุณภาพแล้วหากผงมัทฉะเป็นผงชาที่อยู่ในเกรดธรรมดาคุณภาพไม่สูงคุณนัก หรือเป็นชาที่ถูกเก็บไว้นานเกินด้วยวิธีการเก็บที่ผิดวิธี แม้จะสามารถตีต่อไปได้เรื่อยๆและดื่มได้ตามปกติ แต่ฟองมัทฉะที่สมบูรณ์แบบจะไม่ปรากฏให้เห็นเท่านั้น เพราะผงมัทฉะคุณภาพต่ำจะตีฟองได้ยาก แม้จะมีฟองอากาศอยู่บ้าง แต่จะไม่เป็นชั้นเรียบ มีโอกาสที่ของเหลวจะถูกเปิดเผยใต้พื้นผิวของฟองด้วย
การตีชาให้เกิดฟองเป็นเพียงความสวยงามที่ทำให้ชาแก้วนั้นดูน่ารับประทานมากขึ้น บางร้านอาจจะต้องการฟองน้อยๆ หรือไม่มีฟองเลย ขึ้นอยู่กับรูปแบบการจัดเสิร์ฟที่ร้านตั้งใจไว้ ดังนั้นหากเห็นชาที่ไม่เกิดฟอง ไม่ได้แปลว่าชาแก้วนั้นมีคุณภาพไม่ดี 100% แต่อย่างใดนั่นเองค่ะ