ตรวจเช็คไอเท็มร้านชา “ถึงเวลาเก่าไปใหม่มารึยัง”

สิ้นปีแบบนี้ หลายๆร้านโฟกัสไปที่แผนของปีถัดไป ว่าจะทำอะไรใหม่ๆให้ที่ร้านดี ซึ่งถือว่าเป็นการวางแผนที่มองการณ์ไกลที่สำคัญ แต่อย่าลืมที่จะมารีวิวสิ่งต่างๆภายในร้าน ไล่ตรวจเช็คทุกไอเท็มว่าถึงเวลาเปลี่ยนรึยัง เพื่อสร้างภาพลักษณ์ใหม่ๆ แถมยังเป็นการจัดระเบียบร้านชาของคุณ ให้ใช้งานง่ายขึ้นไปอีกขั้น เริ่มจาก……..

1. สภาพวัตถุดิบภายในร้านตัวที่ค้างสต็อกมานาน ขายไม่ได้ หมดอายุรึยัง พวกนมสด ครีม หรือเนยที่เอาไว้ทำขนมในร้าน มักจะมีวันหมดอายุอยู่แล้ว แต่อย่างพวกผงมัทฉะ ผงชาโฮจิฉะ ที่ผลิตในญี่ปุ่น อาจจะดูแล้วไม่แน่ใจว่าวันหมดอายุคือตัวไหนแต่อาจจะสังเกตได้จากสีของผงชาที่เปลี่ยนไป เพราะความจริงแล้วในภาษาญี่ปุ่นคำว่าวันหมดอายุมี 2 แบบ คือ 1. วันหมดอายุควรบริโภค (消費期限)หมายถึง เราจะทานได้ถึงแค่วันที่ระบุไว้เท่านั้น เลยจากนั้นจะบูดเสีย และ 2. วันหมดอายุรสชาติ (賞味期限)หมายถึง สินค้าของเราจะอร่อยถึงแค่วันนี้เท่านั้น ต่อจากนั้นก็ไม่อร่อยแล้วนะ โดยมากผลิตภัณฑ์อาหารมักจะเขียนแบบที่ 2 เพื่อไม่ให้ลูกค้าติงได้ว่ากินก่อนวันหมดอายุควรบริโภคแล้วไม่อร่อย สำหรับผงชาทั้งหลายก็มักจะเป็นแบบที่ 2 กล่าวคือ ถึงจะเลยวันหมดอายุแล้วก็ยังชงดื่มได้อยู่นั่นเอง แต่รสชาติ กลิ่น จะหายไปเรื่อยๆนั่นเอง

Matcha

อย่างไรก็ตามวันหมดอายุดังกล่าว เป็นกรณีที่ ชานั้นถูกเก็บรักษาในอุณภูมิปกติโดยที่ยังไม่แกะซองนั่นเอง แปลว่า ถ้าเราแกะซองแล้วมันจะหมดอายุรสชาติเร็วขึ้นเนื่องจากสัมผัสกับอากาศและความชื้น ประกอบกับวิธีเก็บชาที่เปลี่ยนไปก็ทำให้อายุหดหรือยืดได้เช่นกัน ถ้าเก็บไว้ในที่อุณหภูมิสูงก็จะอายุสั้นลงอย่างไม่ต้องสงสัย แต่ถ้ายังไม่เปิดซองใบชาให้จับแช่ตู้เย็นช่องแข็งจะยืดอายุใบชาได้ถึง 2 ปีทีเดียว ใบชาส่วนใหญ่มีอายุ 1 ปีนับจากบรรจุซองหรือก็คือถ้าแช่ช่องแข็งก็จะบวกอายุไปอีก 1 ปี แน่นอนว่าสามารถใส่ช่องเย็นธรรมดาก็ได้เหมือนกันแต่จะอยู่ได้ไม่นาน แนะนำให้แบ่งใส่ถุงหลายๆถุง เพื่อช่วยให้ยืดการเสื่อมของรสชาติได้เพราะหากเราเก็บชาไว้ในที่เดียว ทุกครั้งที่เปิดมาชง อากาศก็จะเข้าๆออกๆ ทุกครั้ง ทำให้รสชาติใบชาเสื่อมลงเรื่อยๆ แต่ถ้าเราเก็บไว้หลายส่วน ชาส่วนที่แบ่งไว้จะสัมผัสอากาศน้อยครั้งกว่า พอชงที่แบ่งไว้ส่วนหนึ่งหมดแล้วไปเปิดอีกส่วนหนึ่ง ใบชาส่วนนั้นที่สัมผัสอากาศแค่ครั้งเดียว ย่อมจะคงรสชาติได้นานกว่าใบชาที่โดนอากาศหลายครั้ง สำหรับชาที่ใส่ไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดา ก่อนเปิดถุงควรเอามาตั้งทิ้งไว้ข้างนอกสักพักเพื่อให้อุณหภูมิในถุงเท่ากับอุณหภูมิห้อง

2. อุปกรณ์แตกพังบิ่นไปบ้างรึยัง ทั้งถ้วยชงชา ฉะเซน รีเช็คสภาพและวิธีการเก็บรักษาของพนักงานในร้าน โดยเฉพาะฉะเซ็นที่ทำจากไม้ไผ่จะกรอบและหักง่าย การเก็บรักษาที่ถูกต้องจะช่วยยืดระยะเวลาการใช้งานของอุปกรณ์นั้นๆ เพราะข้อควรระวังในการเก็บเพียงแค่ต้องไม่ชื้นและแห้งจนเกินไปครับ วางฉะเซ็นไว้ในห้องที่มีอากาศถ่ายเทสะดวกก็พอส่วนถ้วยชงชา หากมีการแตกร้าว หรือยังพอซ่อมแซมได้ อาจจะลองใช้การทำคินสึงิ ที่คล้ายๆการลงรักทองของคนญี่ปุ่น ก็ช่วยเพิ่มกลิ่นอายความเป็นญี่ปุ่นได้ แต่ถ้าหากใครไม่ถนัดงานฝีมือ แนะนำเป็นซื้อใบใหม่ ที่สร้างความแตกต่างจากใบเดิมไปเลยจะดีกว่า

อุปกรณฺ์

3. การตกแต่งภายในร้านโดยเฉพาะร้านที่เปิดมานานแล้ว สีสัน การตกแต่งต่างๆอาจจะหดความน่านใจหรือตกเทรนด์ไปแล้ว ลองปรับสไตล์ร้าน ปรับโทนสี หรือรีโนเวทบางส่วนของร้านรับเทรนด์ใหม่ๆที่กำลังมา

ร้านชา ร้านชา

นอกจากการตกแต่งร้านด้วยสี เราอาจจะเพิ่มความแปลกตาด้วยอุปกรณ์ชงเครื่องดื่มแบบใหม่ๆ ก็ช่วยสร้างความตื่นตาตื่นใจให้ลูกค้าขาประจำได้ทีเดียว

ร้านชา ร้านชา

4. ปรับผังเมนูที่ร้านและสื่อต่างๆ การปรับเมนูในที่นี่ ไม่ใช่แค่การเปลี่ยนดีไซน์ป้ายให้ดูใหม่ สวยงาม แต่เป็นการปรับผังทราเป็นเรื่องจำเป็นของทุกร้าน ที่ต้องเอาข้อมูลการขายของสินค้าแต่ละตัวมาดูว่า แต่ละเมนูขายดีแค่ไหนค่าเฉลี่ยว่าแต่ละวัน แต่ละเดือน เราขายแต่ละเมนูได้กี่แก้วใช้ข้อมูลย้อนหลังอย่างน้อย 30 วัน หรืออาจจะเปรียบเทียบย้อนไป 3 เดือน หรือเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าด้วย เพื่อประกอบการตัดสินใจ นอกจากนั้นยังต้องคำนึงถึงว่า แต่ละเมนูทำกำไรมากน้อยแค่ไหน เทียบกับต้นทุนวัตถุดิบแต่ละเมนูให้ชัดเจน เราจะเห็นอย่างชัดเจนดังนี้

  • เมนูที่ทำกำไรมาก และได้รับความนิยมมากสมควรเก็บไว้อย่างยิ่ง แล้วควรโปรโมทให้เป็นเมนูแนะนำ เชียร์ขายให้สุด
  • เมนูนั้นกำไรน้อย แต่ได้รับความนิยมมากอาจจะลองเพิ่มราคา แต่แน่นอนว่าลูกค้าบางรายย่อมไม่พอใจ และอาจทำให้เมนูนั้นราคาโดดสูงกว่าเมนูอื่นๆ มากเกินไป ดังนั้นจึงไม่ใช่วิธีที่แนะนำ หรือจะลองออกเมนูใหม่ที่ใกล้เคียงกัน แต่ได้กำไรมากกว่า แล้วเชียร์ขายเมนูใหม่ หรือจัดโปรโมชั่น เพื่อให้ลูกค้าสั่งเมนูเก่าน้อยลง หันมาสั่งเมนูใหม่แทน เมื่อลูกค้าติดเมนูใหม่ จึงค่อยๆ ถอดเมนูที่ไม่ทำกำไรออกไปในภายหลัง
  • เมนูนั้นกำไรมาก แต่ได้รับความนิยมน้อยต้องค้นหาให้เจอว่า เพราะอะไรลูกค้าจึงสั่งเมนูนี้น้อย เพราะพนักงานเชียร์ขายน้อย ตำแหน่งที่อยู่ในเมนูไม่โดดเด่นเตะตาลูกค้า รสชาติไม่ถูกปาก หรือเป็นเพราะเราตั้งราคาสูงเกินไปจริงๆ ลูกค้ารู้สึกว่าไม่คุ้มค่าที่จะสั่ง
  • เมนูนั้นกำไรน้อย และได้รับความนิยมน้อยหากลองเช็คในเมนูโดยภาพรวมแล้วเห็นว่าเมื่อตัดเมนูดังกล่าวทิ้ง ก็ไม่ส่งผลกระทบต่อยอดขายโดยรวม หรือกระทบต่อลูกค้า ก็ตัดทิ้งได้

นอกจากการรีวิวเมนูเดิมแล้ว อย่าลืมที่จะเพิ่มเมนูใหม่ๆ ที่มีสีสันแปลกตา การจัดเสิร์ฟที่ไม่เหมือนเดิม อย่างเช่นการจัดเสิร์ฟซอฟท์ครีมชาเขียวในถ้วยปกติ อาจจะเปลี่ยนไปใส่ในปลาไทยากิ หรือการเอาเค้กชาเขียวไปทานคู่กับมูสซากุระ ก็สร้างสีสันให้กับขนมได้มากทีเดียว

Matcha Menu Matcha Menu

ธุรกิจเครื่องดื่ม และคาเฟ่ช่วงนี้มาไว้ไปไว้มาก ก่อนจะวางแผนให้ธุรกิจไปข้างหน้า อย่าลืมที่จะตรวจเช็คสิ่งเดิมๆที่มีอยู่แล้วเพื่อปรับปรุงคุณภาพสินค้าและบริการให้ดีขึ้นไปพร้อมๆกับการประยุกต์สิ่งใหม่ๆเข้าไป

ที่มา

https://thietkenoithat.org.vn/blog/dich-vu-thiet-ke-va-thi-cong-quan-cafe-tron-goi-tai-quan-bac-tu-liem/

http://tendencee.com.br/2016/09/casquinhas-de-sorvete-em-formato-de-peixe/#_Uwg5wY

https://www.100-vegetal.com/2013/03/petits-gateaux-vert-cerise-battle-food.html

https://www.pinterest.com/pin/27092035248199711/

https://avantcha.com/product-category/iced-tea/

http://on.forbes.com/64968R2Ti

บทความจาก : Fuwafuwa