ทำยังไงให้ลูกค้ารู้สึกว่าชาที่ร้านคุ้มค่าสมราคา

ร้านขายชาเหมือนกัน แต่มีราคา และรสชาติที่ต่างกันตามวัตถุดิบที่ใช้ บางร้านขายราคาสูง กลับมีลูกค้าที่พอใจมาใช้บริการแทนที่จะไปร้านที่ราคาถูกกว่า สิ่งที่สามารถยกระดับร้านชานั้นขึ้นมา ให้ลูกค้าชื่นชอบและเพิ่มมูลค่าได้ นั้นคือ “การสร้างแบรนด์”เพราะแบรนด์ที่มีจุดยืนที่ชัด ถ่ายทอดให้ลูกค้าได้เข้าใจและยอมรับในแบรนด์นั้นได้ จะยิ่งช่วยให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่ากับการซื้อ ง่ายต่อการตัดสินใจโดนใจ เรียกว่าถูกใจแล้วราคาเท่าไหร่ก็คุ้มค่า

แล้วการสร้างแบรนด์ของร้านชาปัจจุบันนี้ทำยังไงได้บ้าง??

ตามทฤษฎีแล้ว Branding คือ จุดยืน บุคลิกภาพลักษณ์ และความเป็นตัวตนของแบรนด์ที่เราต้องการถ่ายทอดให้ถึงลูกค้า ผ่านการออกแบบโลโก้ สื่อโฆษณา คอนเทนต์ในสื่อออนไลน์ต่างๆ โดยการสร้างแบรนด์นี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสื่อสารให้แก่ลูกค้าว่า ร้านเราขายอะไร แตกต่างจากร้านอื่นยังไง เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคนั่นเอง

ถ้าจะยกตัวอย่างง่ายๆให้เห็นได้ชัด คงหนีไม่พ้น แบรนด์เครื่องดื่มชื่อดังอย่าง Starbucks ที่มีการสร้างแบรนด์ เป็นจุดเด่นให้ลูกค้าอยากจะถือแก้วของที่ร้านถ่ายรูปลงโซเชียล ออกเมนูเครื่องดื่มใหม่ทุกซีซั่นเพื่อสร้างความตื่นตาตื่นใจให้ทั้งลูกค้าเก่าและใหม่ได้ลอง มีการนำเมนูใหม่ให้ลูกค้าได้ทดลองชิมเพื่อต่อยอดเป็นเมนูที่ร้าน มีการทำสื่อประชสัมพันธ์ที่ชุดเจนเป็นภาพเดียวกันในทุกสาขา เพื่อสร้างภาพจำให้ลูกค้าและผู้ที่เดินผ่านไปมาเกิดความรู้สึกอยากลอง

Starbucks Matcha

ถึงแม้ว่าความอร่อยกลายเป็นพื้นฐานที่ทุกร้านควรมี แต่สิ่งที่ Starbucks จะทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อ ก็คือ “ความรู้สึก”ที่ ไม่ว่าจะเป็น รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และจินตนาการ ล้วนแล้วแต่ถูกถ่ายทอดผ่านแบรนด์ทั้งนั้น ความครีเอทจากเมนูชาเขียวแบบเดิมๆ ก็มีการผสมผสานเอาวัตถุดิบตัวอื่นมาเสริม ให้คนรักชาได้รู้สึกว้าวได้ตลอด อย่าง Starbucks’ Matcha Lemonade หรือ Matcha Espresso Fusion Calories ที่มีเบสเป็นชาเขียว ซึ่ง Starbucs ก็เอาใจกลุ่มลูกค้าที่ทานที่ร้านแล้วติดใจในรสชาติ ด้วยการออกสินค้าพร้อมดื่มให้ไปชงทานต่อที่บ้านเองได้ในราคาที่ถูกลง เป็นการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ทุกรูปแบบ

Starbucks Matcha

นอกจากการสร้างแบรนด์แล้ว ถ้าถ่ายทอดไม่ดี ก็ไม่อาจสร้างความรู้สึกร่วมให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่ากับสิ่งที่ต้องจ่ายไปได้ การสร้างการรับรู้แบรนด์ (Brand Awareness) ก็เป็นสิ่งที่จะทำให้ลูกค้าได้เข้าถึงสินค้าเรามากขึ้น เช่น ชาที่ร้านเป็นชาเขียวพรีเมี่ยมอย่างดี นำเข้าจากญี่ปุ่น ทำให้ราคาค่อนข้างสูง ดังนั้นเราต้องสร้างแบรนด์ให้เห็นชัดเจน อาจจะด้วยบรรยากาศภายในร้าน เครื่องถ้วยชามที่ทำให้เห็นถึงความเป็นญี่ปุ่น และอาจจะมีการเสิร์ฟแบบญี่ปุ่นดั้งเดิม คือ เสิร์ฟคู่ขนมวากาชิ  หรือการชงชด้วยกรใช้ฉะเซน ตามแบบต้นฉบับวัฒนธรรมญี่ปุ่น เพื่อให้ลูกค้าได้รู้สึกถึงกลิ่นอายอย่างชัดเจน

Brand Awareness Brand Awareness

อย่างไรก็ตาม เพราะ Brand Awareness คือ การสร้างรับรู้ต่อแบรนด์ ผ่านการสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้แบรนด์เป็นที่รู้จัก เน้นย้ำถึงจุดเด่นของแบรนด์ผ่านทุกองค์ประกอบภายในร้าน เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายได้ตรงจุด ร้านชาบางร้านจึงเลือกจับกลุ่มลูกค้าวัยรุ่นหรือ First Jobber เพื่อมุ่งเน้นไปที่ไลฟ์สไตล์ การจัดตกแต่งที่สวยงาม น่าทาน ดูมีชีวิตชีวา ทำอยู่ในรูปแบบคอนเทนท์หลายๆแบบ เพื่อให้เกิดกระแส มาที่ร้านเพื่อถ่ายรูปลงโซเชียล ได้ภาพสวยๆจากอาหารน่าทานนั่นเอง

Brand Awareness Brand Awareness

นอกจากเรื่องแบรนด์ดิ้งแล้ว การสร้างประสบการ์แปลกใหม่ หรือความตื่นเต้นให้ลูกค้ารู้สึกอินกับเครื่องดื่มที่ร้าน จนประทับใจ ถูกใจยอมที่จะจ่ายในราคาที่สูงขึ้น เพื่อสัมผัสความพิเศษที่แตกต่าง ก็เป็นอีกไอเดียที่เป็นจุดขายให้ที่ร้านได้ไม่มากก็น้อย อย่างเช่น การเสิร์ฟชาในภาชนะที่แปลกตา อาจจะเป็นแก้ว 2 ชั้น เพื่อให้เห็นสีและของในแก้ว หรือจะเป็นเอาใจคอเบเกอรี่ด้วยการเสิร์ฟชาเขียวลาเต้อุ่นๆในถ้วยที่ทำจากคุ้กกี้ เป็นการสร้างความรู้สึกใหม่ๆให้ลูกค้ารู้สึกดีได้ ซึ่งภาพลักษณ์ของร้านที่ดีนี้ จะช่วยส่งผลต่อความเชื่อมั่นของลูกค้าทั้งใหม่และเก่า

Matcha

การทำให้ลูกค้ารู้สึกดีต่อร้าน สามารถเริ่มทำได้ง่ายมาก อาจเริ่มต้นจากการนำคอมเมนต์ดีๆจากลูกค้าเก่า มาบอกเล่าประสบการณ์ผ่านสื่อของร้าน หรืออาจจะเป็นการทำ CSR ก็จะช่วยให้ลูกค้ารู้สึกประทับใจร้านเรามากขึ้นนั่นเอง

ที่มา

shorturl.at/eiISU

shorturl.at/jsMR1

thestayathomechef.com

http://matchalatteicetea.blogspot.com

บทความจาก : Fuwafuwa