ความหวาน กับ เมนูชา

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า เครื่องดื่มชาที่ทานง่าย ทานได้ทุกเพศทุกวัย และเป็นที่นิยมมากสำหรับคนไทยนั้น ไม่ใช่ชาเพียวๆ แต่เป็นชาที่มีการใส่สารให้ความหวาน อย่างน้ำตาล น้ำผึ้ง และเพิ่มความกลมกล่อมอีกระดับด้วยนมจืด โดยเฉพาะชาที่บรรจุใส่ขวดขายตามร้านสะดวกซื้อต่างๆ เช่น ชาเขียวลาเต้พร้อมดื่ม หรือแม้ที่ข้างขวดจะระบุว่าเป็นชาเขียวเพียวๆ ล้วนแต่มีส่วนผสมของน้ำตาลในปริมาณที่มาก แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าความหวานเหล่านี้ ทำให้ชา เครื่องดื่มแก้วโปรดของคุณอร่อยขึ้น ให้ความสดชื่นแก่ร่างกายได้นั่นเอง

sweets sweets

ความหวานกับเมนูชา จึงเป็นเหมือนของคู่กัน แต่ทั้งนี้เราเลือกได้ว่าจะให้ความหวานนั้นมาจากอะไรนอกจากน้ำตาล

1. น้ำเชื่อม ( Syrup ) ได้จากการเคี่ยวน้ำตาลกับน้ำที่ไฟปานกลาง มีสีใส ที่เห็นกันบ่อยๆ คือใช้ราดขนมหวานไทยคู่กับน้ำกะทิ หรือใช้ตามร้านกาแฟเพิ่มเพิ่มความหวานให้เครื่องดื่มอย่างชาและกาแฟ  และบาร์เทนเดอร์ใช้ผสมเครื่องดื่มค็อกเทล เป็นต้น น้ำเชื่อม จึงอาจหมายถึง การนำน้ำตาลมาละลายกับน้ำจนเกิดความหวานด้วยความเข้มข้นระดับต่างๆ เป็นตัวให้ความหวานที่นิยมใช้มากที่สุดในท้องตลาด ไม่ว่าจะร้านคาเฟ่ ร้านชาทั่วไป เพราะสะดวกต่อการชง และง่ายต่อการเก็บรักษา แต่ต้องเพิ่งระวังว่า การกดน้ำเชื่อมเพียงแค่ปั๊มเดียว ที่ดูเหมือนน้อยนิด แต่ให้ความหวานที่มากจนน่าตกใจ จึงเป็นตัวเลือกที่ไม่ดีสำหรับคนรักสุขภาพ

2. น้ำเชื่อมเมเปิ้ล ( Maple Syrup )ได้จากน้ำเลี้ยงของต้นเมเปิ้ลนำมาต้มจนได้น้ำเชื่อมเข้มข้น มักใช้ราดบนขนมหวานแทนน้ำผึ้ง แต่น้ำเชื่อมเมเปิ้ลแท้ๆ นั้นมีน้อย ที่เราเห็นกันมักเป็นน้ำเชื่อมแต่งกลิ่นเมเปิ้ลสังเคราะห์ หากจะใช้ในการชงชาเขียว จะเป็นสัดส่วนตามนี้ นม 4 ถ้วย + ผงชาเขียว 1 ช้อนโต๊ะ + เมเปิ้ลไซรัป 1 ช้อนโต๊ะนำมาต้มเข้าด้วยกัน แล้วราดด้วยฟองนมอีกทีด้านบน รสชาติจะไม่ได้ต่างจากการใช้น้ำตาลมากนัก เพียงแต่จะได้กลิ่นที่ต่างกันออกไป และเป็นความหวานที่เบาลงไม่หวานแหลมเหมือนไซรัปนั่นเอง

sweets

3. น้ำผึ้ง  ความหวานตามธรรมชาติ ให้ความหวานไม่แพ้น้ำตาลทราย และมีโปรตีน ให้พลังงานที่ทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า มีวิตามินและเกลือแร่ แต่หากรับประทานมากเกินไปอาจทำให้เกิดโรคอ้วนได้ ในน้ำผึ้งจะประกอบด้วยน้ำตาลกลูโคส และฟรักโทส ซึ่งเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ร่างกายจะสามารถดูดซึมและนำไปใช้ได้เลย น้ำผึ้งยังมีสารต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ และยังทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายดีขึ้นอีกด้วย ที่สำคัญ น้ำผึ้งยังให้ความหวาน และกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์

หากลองชงด้วยสูตรนี้จะช่วยให้เมนูชาร้านของคุณโดดเด่นจากความหวานของน้ำผึ้ง หรือจะยกระดับเมนูด้วยการใช้นมมะพร้าวแทนนมวัว เพื่อให้เหมาะกับคนที่แพ้นมวัวด้วยก็ได้ โดยการนำผงมัทฉะ 1 ช้อนชา + น้ำร้อน 1/2 ถ้วย + นมมะพร้าว 1 ถ้วย + น้ำผึ้ง 1 ช้อนชา

sweets sweets

4. น้ำตาลมะพร้าวเครื่องปรุงให้ความหวานแทนน้ำตาลทรายได้ดีมากๆ เพราะเป็นน้ำตาลที่ได้จากธรรมชาติ ไม่ผ่านการแปรรูปหลายขั้นตอน ส่วนเรื่องสีก็คล้ายกับน้ำตาลทรายแดง แต่มีเนื้อหยาบกว่า มีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ไม่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง ก่อนใช้ปรุงอาหารควรนำไปผสมกับของเหลวก่อน หากนำไปชงชาเขียวลาเต้ จะใช้ในสัดส่วน ผงมัทฉะ ½ ช้อนชา + น้ำตาลมะพร้าว 2 ช้อนชา + เนยมะพร้าว 1 ช้อนชา + น้ำร้อน 10 ออนซ์ คนเข้าด้วยกัน แต่ถ้าไม่อยากใส่เนยก็ได้เช่นกันเพราะสตรนี้ที่ต้องใส่เนยเพื่อให้ชาเขียวลาเต้มีความกลมกล่อมเหมือนบางสูตรใช้ครีม หรือนมข้นนั้นเอง

sweets sweets

นอกจากสารให้ความหวานข้างต้นแล้วยังมีตัวเลือกอื่นๆที่สามารถใช้ในการชงชาได้เช่นกันไม่ว่าจะเป็นนมข้นหวาน ที่ให้ความหวานมันกลมกล่อมตามสไตล์คนไทยชอบ หรือจะเป็นน้ำตาลทรายแดงเคี่ยวเป็นไซรัปที่ให้กลิ่นและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์สไตล์ญี่ปุ่น ก็ยังมีหญ้าหวาน  จัดได้ว่าเป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลทรายที่เป็นธรรมชาติที่สุดและดีที่สุด เพราะให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายถึง 300 เท่า แต่ให้พลังงานน้อย สามารถนำหญ้าหวานมาปรุงอาหารได้หลากหลายเมนู หรือชงกับเครื่องดื่มพวกชา กาแฟ ซึ่งมักพบว่าร้านขายเครื่องดื่มได้นำหญ้าหวานมาเป็นจุดขายทำให้ลูกค้ามั่นใจว่าจะไม่อ้วนได้ง่าย แต่ก็ต้องรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมด้วย

sweets sweets

เลือกความหวานกับเมนูชาให้เหมาะสมกับสไตล์ของที่ร้าน สร้างเอกลักาณ์เมนูชาให้โดดเด่นจากร้านอื่นๆง่ายๆด้วยเรื่องเล็กๆที่หลายร้านอาจจะมองข้ามไป

ที่มา http://www.byrdie.com/weight-loss-tips?utm_campaign=article-share&utm_source=social-pinterest-button&utm_medium=earned-social

https://www.livestrong.com/recipes/matcha-almond-milk-honey/

https://maplefromquebec.ca/recipes/maple-matcha-tea-latte/

https://www.cleaneatingkitchen.com/dairy-free-green-tea-matcha-latte/

บทความจาก : Fuwafuwa