How to take care of your teaware

หากพูดถึงการชงมัทฉะแล้ว อุปกรณ์ที่ต้องนึกถึง คงหนีไม่พ้น ฉะเซ็น ช้อนไม้ไผ่ ฉะชะคุ หรือ แท่นวางฉะเซ็น ซึ่งวิธีใช้งานอุปกรณ์ดังกล่าว สามารถศึกษาได้จากในเว็บไซต์มากมาย แต่การใช้งานอุปกรณ์ที่ถูกต้อง จำเป็นต้องมีการเก็บรักษาที่ถูกต้องด้วยเช่นกัน มาดูกันว่าอุปกรณ์ชงชาแต่ละชนิด ควรเก็บรักษายังไงบ้าง

เริ่มจาก การเก็บรักษาฉะเซ็น (Chasen) หรือแปรงชงชาอุปกรณ์สำคัญที่สุดในการชงชา หลังจากใช้งานเสร็จ ควรนำไปแกว่งในน้ำอุ่น โดยเน้น แกว่งเฉพาะส่วนที่สัมผัสกับมัทฉะ ไม่ต้องเอาไปล้างน้ำทั้งอัน พอแกว่งเสร็จสักสองน้ำก็นำมาตั้งไว้ให้แห้ง ถ้าใครมีที่พักฉะเซ็น แนะนำให้เอาไปเสียบไว้ รอให้แห้ง จะดีกว่า เพราะที่พักฉะเซ็นนี้มีข้อดีคือ น้ำไม่ไหลเข้าส่วนที่เป็นที่จับ แล้วก็ช่วยรักษารูปทรงของฉะเซ็น หลังจากฉะเซ็นต์แห้งให้เก็บไว้ในกล่อง หรือในที่ๆอุณหภูมิพอดี ไม่ร้อน ไม่เย็น อากาศถ่ายเทได้สะดวก และที่สำคัญต้องไม่ชื้นและแห้งจนเกินไป เพราะถ้าร้อน หรือแห้งมาก ไม้ไผ่จะกรอบและหักง่าย และควรระวังเรื่องความชื้นนิดนึง ไม่งั้นไม้ไผ่จะขึ้นราเอาได้ครับ ส่วนที่พักฉะเซ็นเซรามิคที่ช่วยให้ฉะเซ็นแห้งเร็ว และยังรักษาทรงไม้ไผ่ ป้องกันการขึ้นรา แค่เพียงค่อยสังเกตว่าเลอะเป็นคราบบางหรือไม่ ถ้าเลอะก็เพียงล้างและ พึ่งให้แห้งเท่านั้น เนื่องจากไม่ได้เลอะอะไรมาก แต่หากใช้งานนานๆ ก็ไม่ควรละเลยที่จะคอยสอดส่องว่ายังสภาพดีเหมาะกับการใช้งานหรือไม่

ส่วนฉะชะขุ หรือช้อนไม้ไผ่มีวิธีเก็บรักษาที่ง่ายมากๆ เพียงแค่ หลังจากใช้ตักมัทฉะแล้ว “ห้ามล้าง” หรือ “ห้ามโดนน้ำ” เด็ดขาด เพราะว่า ฉะชะขุ คือ อุปกรณ์ที่สัมผัสกับมัทฉะโดยตรง หากนำไปล้าง ฉะชะขุจะมีความชื้น เวลานำไปตักมัทฉะ ความชื้นก็จะวิ่งไปหามัทฉะที่อยู่ในภาชนะเก็บ ทำให้มัทฉะจับตัวกันเป็นก้อนนั่นเอง อีกทั้งการล้างฉะชะขุบ่อยๆ จะทำให้ไม้ไผ่เสียทรง และเก่าเร็วขึ้น จึงแนะนำเป็นใช้กระดาษทิชชู่แห้งๆ ค่อยๆเช็ดผงมัทฉะออก แค่นี้ก็เพียงพอแล้ว

Chawan หรือถ้วยชงชา หลังจากใช้แล้วให้ล้างออกด้วยน้ำเบาๆ ไม่แนะนำให้ล้างด้วยเครื่องล้างจานหรือเครื่องอบผ้า และไม่ควรใช้สก็อตไบร์ถูถ้วยแรงจนเกินไป หลีกเลี่ยงการใช้นำยาล้างจาน ควรใช้แบบออร์แกนิคที่กลิ่นไม่แรงนัก หลังจากล้างแล้วไม่แนะนำให้วางไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิสูงเช่น ไมโครเวฟ เตาอบ หรือเตา แต่ประเด็นที่สำคัญที่สุด คือ Chawan มีไว้เพื่อใช้สำหรับชงชามัทฉะเท่านั้น ไม่ควรนำไปใช้ปนกับการใส่อย่างอื่น มิฉะนั้นอาจจะติดกลิ่นได้

ยังมีอุปกรณ์บางชนิดที่ก่อนใช้ครั้งแรกให้ล้างออกด้วยน้ำร้อนแล้วปล่อยให้แห้งสนิทก่อน นั่นคือ กาน้ำชาเซรามิก ซึ่งหลังจากใช้งานแล้วก็ไม่แนะนำให้ใช้เครื่องล้างจาน เครื่องอบผ้ าหรือสบู่ล้างจาน ส่วนบริเวณที่กรองในตัวให้รีดน้ำออกจากพวยกา ใช้แปรงสีฟันหรือไม้จิ้มฟันเพื่อนำใบชาที่ติดอยู่ในกระชอนออก หลังใช้งานควรปล่อยให้แห้งสนิทเสมอเพราะหากเก็บไว้ในขณะที่ยังเปียกอยู่อาจทำให้เกิดกลิ่นอับชื้นหรือเชื้อราได้

ที่มา

https://www.worldmarket.com/product/matcha-bowl-and-whisk-tea-gift-sets-set-of-2.do

thediscoverer.com

fitteaandsushi.blogspot.com

บทความจาก : Fuwafuwa

ทำความรู้จัก 茶巾, chakin ผ้าสำหรับเช็ดถ้วยชา

พิธีชงชาหรือที่เรียกว่า ชะโด (Chadou) มาจากคำว่า ชะ (Cha) แปลว่า “ชา” และ โด (Dou) แปลว่า “วิถี” รวมกันจึงหมายถึง “วิถีแห่งชา” ซึ่งจุดมุ่งหมายสูงสุดของพิธีชงชา คือ การแสดงออกถึงความงามในการต้อนรับผู้มาเยือน และการชื่นชมคุณค่าและความงามของสิ่งต่างๆ รอบตัว และมิตรภาพระหว่างเจ้าบ้านและแขกผู้มาเยือนนั่นเอง ซึ่งอุปกรณ์พื้นฐานสำหรับพิธีชงชาแบบครบชุด ได้แก่

  1. คะมะ (Kama) กาน้ำสำหรับใช้ต้มน้ำใส่ชา
  2. นัทสึเมะ (Natsume) โถสำหรับใส่ผงชามัทฉะ
  3. ชะอิเระ (Chaire) โถใส่ชา
  4. ชะฉะคุ (Chashaku) ช้อนตักผงชา มีลักษณะยาว ปลายแหลมเล็ก ทำจากไม้ไผ่ ดูเพิ่มเติมได้ที่ shorturl.at/alIZ1
  5. ชะเซน (Chasen) อุปกรณ์สำหรับคนชา ทำจากไม้ไผ่ ดูเพิ่มเติมได้ที่ shorturl.at/sDGIT หรือ shorturl.at/aqBT2
  6. ชะวัง (Chawan) ถ้วยชาขนาดใหญ่ แตกต่างไปตามฤดูกาล
  7. ชะคิง (Chakin) ผ้าสำหรับเช็ดทำความสะอาดถ้วยชา
  8. ฮิชะคุ (Hishaku) กระบวยสำหรับตักน้ำชงชา

ซึ่ง Matchazuki เราก็ได้พาไปรู้จักอุปกรณ์ชงชามาหลายแบบแล้ว รอบนี้จะพาไปรู้จักกับผ้าผืนเล็กๆ ที่เรียกว่า Tea cloth (茶巾, chakin)  ผ้า chakinส่วนมากจะเป็นผ้าลินินสีขาว แต่ในยุคปัจจุบันก็มีการทำแบบมีลวดลายเพิ่มมากขึ้น ขนาดจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับการใช้งานและรูปแบบ แต่มักเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดประมาณ 30.3 x 15.2 ซม. ซึ่งผ้านี้จะถูกพับในลักษณะเฉพาะและวางไว้ในภาชนะขนาดเล็กหรือทรงกระบอกที่เรียกว่า kintō (巾筒) ซึ่งผ้า chakin นี้นิยมใช้เช็ด chawan หรือถ้วยชงชา หลังจากล้างเสร็จ ซึ่งวิธีการใช้ผ้า chakin นี้ จะต้องมีการพับอย่างสวยงาม เพื่อการใช้งานที่ง่าย และเป็นระเบียบ เวลาอยู่ในพิธีชงชาจะได้ดูสง่าสงาม 

สามารถดูวิธีพับเพิ่มเติมได้ที่https://www.youtube.com/watch?v=Uv-wxLKVxuI&ab_channel=KoheiYamamoto

จะสังเกตวิธีการใช้ chakin ในการเช็ดถ้วยชา (chawan) ได้ตามตัวอย่างในภาพข้างต้น ซึ่งหลังจากพับเรียบร้อยแล้วจะวางพักไว้ในถ้วยชงชา ( chawan ) ก่อนเริ่มพิธีตามตัวอย่างด้านล่างนี่เอง หากร้านไหน มีการจัดกิจกรรมพิธีชงชาที่ร้านเพื่อให้ลูกค้าได้สัมผัสประสบการณ์พิธีชงชาแบบญี่ปุ่นจริงๆ อย่าลืมนำผ้า chakin มาเป็นส่วนหนึ่งในการจัดกิจกรรมดังกล่าว

ที่มา

https://www.facebook.com/MatsuKazeTea/photos/a.563146407056813/3132182870153141/shorturl.at/abqHN

บทความจาก : Fuwafuwa

Chasen หนึ่งในอุปกรณ์สำคัญในการชงมัทฉะ

Chasen (茶筅 หรือที่เรียกว่า ที่ตีฟองชา) เป็นหนึ่งในอุปกรณ์สำคัญในการชงตีผงมัทฉะให้ละลาย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีลักษณะแปรงและคุณภาพที่เหมาะสมเพื่อให้ได้มัทฉะที่ดี ซึ่งฉะเซ็นมีหลายประเภท ที่มีความแตกต่างแค่เล็กน้อยในวัสดุ และรูปร่าง และลักษณะการใช้งาน โดยวัสดุหลักที่ใช้คือ ไม้ไผ่ ซึ่งไม้ไผ่ที่ใช้ทำมี 3 ชนิดหลัก ได้แก่ ไผ่ Hachiku, ไผ่ Susudake, และไผ่ดำ Kurodake โดยไผ่ Hachiku เป็นวัสดุที่นิยมใช้มากที่สุดในการทำฉะเซ็น เพราะเนื้อไม้มีความเนียน และอ่อน ทำให้แกะง่าย แต่ในขณะเดียวกันก็มีความทนทานต่ำและแตกง่ายเช่นกัน

Susudake

หากใช้ไผ่ Susudakeจะมีความทนทานกว่า แต่จะหาไผ่ชนิดนี้ค่อนข้างยาก ส่วนไม้ไผ่ Kurodakeเป็นวัสดุที่มีน้ำหนักมากที่สุดในการทำฉะเซ็น อยู่ได้นานกว่าไม้ไผ่ Hachiku 3 เท่า แต่ไม้ชนิดไผ่ Kurodakeจะแกะสลักได้ยากเป็นพิเศษ ไผ่ที่ใช้ทำฉะเซ็นมักมีอายุประมาณ 3 ปีและเก็บเกี่ยวในฤดูหนาว หลังจากการเก็บเกี่ยวไม้ไผ่จะแห้งเป็นเวลาหนึ่งปี ขั้นแรกในช่วงฤดูหนาวจะทำด้านนอกโดยปล่อยให้สภาพอากาศในฤดูหนาวเป็นไม้จากนั้นนำไปเก็บไว้ในที่เก็บของแห้งและทิ้งไว้ที่นั่นตลอดทั้งปี

Chasen

เมื่อไม้ไผ่พร้อมแล้วจะเลือกไม้ไผ่ที่เหมาะสม สภาพสมบูรณ์ที่สุด มาตัดเป็นชิ้นยาว 9-12 ซม. และแกะสลักด้วยมือเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่พร้อมใช้งานโดยเด็กฝึกงาน และถูกส่งกลับไปยังต้นทางผู้ชำนาญการแกะสลักอีกครั้งเพื่อทำการปรับแต่งอย่างละเอียดซึ่งประกอบด้วยการโค้งงอและเกลียว

Chasen Chasen

รูปร่างสุดท้ายของฉะเซ็นถูกกำหนดขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆมากมาย เช่น Chu-araho ฉะเซ็นที่มีขนแปรงหยาบกว่า 70 ถึง 80 ที่ใช้สำหรับโคอิชะ (มัทฉะแบบเข้มข้น) และ Kazuho ฉะเซ็นที่มีขนแปรงละเอียดมากถึง 120 ชนิดที่ใช้เป็นหลักสำหรับอุซึฉะ (มัทฉะแบบเจือจาง)

แม้ว่าจะมีหลายประเทศที่พยายามทำฉะเซ็นขึ้นมา แต่ว่าที่ญี่ปุ่นยังให้คุณภาพที่ดีกว่าอย่างสม่ำเสมอเนื่องจากความใส่ใจในรายละเอียดของช่างฝีมือในแต่ละขั้นตอน ตั้งแต่การเลือกไม้ไผ่อย่างพิถีพิถันไปจนถึงการตัดและขึ้นรูปในแต่ละครั้ง เพราะคุณภาพไม้ไผ่มีผลอย่างมากต่อความทนทานของฉะเซ็นซึ่งส่งผลต่อให้การตีชาด้วยฉะเซ็นที่ทำจากไม้ไผ่คุณภาพสูงมีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น

ส่วนจำนวนสายตะกร้อที่ตียิ่งมีความละเอียดมากเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้มัทฉะแก้วนั้นนุ่มนวลขึ้น ฉะเซ็นทั่วไปที่ขายมีจำนวนซี่ตะกร้อระหว่าง 16 ถึง 120 ซี่ ยิ่งจำนวนสูงเท่าไหร่ก็ยิ่งง่ายต่อการปัดผงชาลงในน้ำ และ ตีมัทฉะให้ขึ้นฟองได้ง่าย ฟองละเอียด แต่ถ้าจำนวนซี่น้อยจะใช้เวลาในการตีนานขึ้น ส่วนวิธีใช้ แนะนำให้วางฉะเซ็นส่วนที่เป็นตะกร้อตีลงในน้ำร้อนสักสองสามวินาทีก่อนเพื่อคลายตัวไม้ไผ่ให้อ่อนลง เคล็ดลับในการตี คือ การงอข้อมือเล็กน้อยในขณะที่ขยับข้อมือเท่านั้น ปัดส่วนผสมให้เร็วที่สุดโดยใช้การเคลื่อนไหวเป็นรูปตัว M หรือ W หลังจากได้ชั้นโฟมที่เท่ากันแล้วให้ค่อยๆเอาที่ปัดในลักษณะหมุนวนอีกครั้งเป็นอันเรียบร้อย

Chasen Chasen

ฉะเซ็นมีหลายประเภท หากนับกันจริงๆแล้วจะพบว่ามีมากถึงหนึ่งร้อยรุ่นเลยทีเดียว ในยุคเริ่มแรกนั้น ฉะเซ็นถูกทำออกมาเพียงแค่รุ่นเดียวเท่านั้น ทว่าหลังจากที่พิธีชงชาญี่ปุ่นเกิดการแพร่หลาย ลูกศิษย์ของเซนโนะริคิวหลายคนต่างก็ออกไปเปิดสำนักชงชาของตนเอง นำความรู้ที่ได้จากการร่ำเรียนกับริคิวไปเผยแพร่ต่อ ซึ่งแต่ละคนต่างก็ได้ดัดแปลงรายละเอียดปลีกย่อยบางอย่างให้เข้ากับอัตลักษณ์และค่านิยมส่วนตน และเมื่อเวลาผ่านไปเรื่อยๆ รายละเอียดที่แตกต่างกันเพียงเล็กน้อยเหล่านั้นในเริ่มแรกก็ได้แตกแขนงออกไปเรื่อยๆ จนกระทั่งกลายเป็นข้อแตกต่างของแต่ละสำนักชงชาในที่สุด รวมถึงรูปทรงของฉะเซ็นที่แต่ละสำนักใช้ในการชงชาด้วยเช่นกัน

ในส่วนของด้ายที่นำมาพันฉะเซ็น ก็มีข้อแตกต่างไปตามแต่ละรุ่นอีกเช่นกัน ฉะเซ็นปกติจะใช้ด้ายสีดำ ทว่าฉะเซ็นที่ใช้ในโอกาสพิเศษจะถูกพันด้วยด้ายสีแดงหรือสีขาว เพื่อความเป็นศิริมงคล โดยเฉพาะฉะเซ็นรุ่นที่ใช้ในวันขึ้นปีใหม่

Chasen

อยากรู้แปรงชงชาแบบไหนเป็นที่นิยม อ่านต่อได้ที่บทความ >> 10 อันดับ แปรงชงชาเขียว แบบไหนดี ปี 2022

ที่มา

http://japan-web-magazine.com/japanese-tea/japan-japanese-tea-ceremony0.html

https://zhaozhoutea.com/chasen-%E8%8C%B6%E7%AD%85-the-matcha-whiskchasen/

บทความจาก : Fuwafuwa

 

ความต่างของ”กาน้ำชา”

ชามีบทบาทในพิธีกรรมและกิจกรรมทางสังคมต่างๆ ในพิธีกรรมและกิจกรรมทางสังคมต่างๆ ในหลายวัฒนธรรม การชงชาไม่ได้ชงเพื่อรสชาติเท่านั้น แต่การชงชาได้เป็นการแสดงออกถึงศิลปะความงามอีกประเภทหนึ่ง จึงส่งผลให้การเลือกใช้กาชาของแต่ละคนอาจจะลืมนึกถึงประโยชน์ในการใช้งานไป

เวลาเลือกกาน้ำชา บางคนเลือกเพียงจากความสวยงาม และใช้งานถนัดมือ แต่ความจริงแล้ว เราจำเป็นต้องคำนึงว่ากานั้นๆจะใช้ชงชาใบหรือชาซอง หรือใช้แค่ใส่น้ำร้อนเทลงถ้วยชาวังสำหรับตีผงมัทฉะ นอกจากวัตถุประสงค์ในการใช้แล้ว จะเห็นว่า กาน้ำชา สามารถทำได้จากวัสดุที่หลากหลายเช่นกัน ทั้ง หิน ดินเผา แก้ว เหล็กหล่อ เงิน และสเตนเลส วัสดุแต่ละประเภทมีผลต่อรสชาติของชาและก็เหมาะกับการชงชาแต่ละประเภทแตกต่างกันไป

กาน้ำชา กาน้ำชา

หากต้องการชงชาใบตะกร้ากรองชาที่มากับกาน้ำชาก็เป็นสิ่งที่สำคัญที่ต้องดูความถี่ของตะแกรงให้ดี ไม่เช่นนั้น อาจจะมีใบชาเล็ดลอดออกมาตอนเท ทำให้เสียรสชาติการดื่มชาได้

หากเป็นกาชา “เครื่องกระเบื้อง” เป็นเครื่องปั้นดินเผาสีขาวขุ่นคุณภาพดีที่ผ่านการเผาที่อุณหภูมิสูง กาน้ำชาเครื่องกระเบื้องใช้ได้ดีกับชารสอ่อน เช่น ชาเขียว ชาอู่หลง และชาดำอ่อนๆ ยอมชาดาร์จีลิง แต่ถ้าเป็น กาชา”เหล็กหล่อ”เหล็กหล่อถูกใช้เพื่อทำภาชนะสำหรับต้มน้ำด้วยกองไฟเพราะเหล็กจะร้อนได้เร็วและรักษาความร้อนไว้ได้ดีเมื่อมีอุณหภูมิตามที่ต้องการแล้ว การใช้กาน้ำชาแบบเหล็กมาหล่อต้มชาเกิดขึ้นในช่วงที่เซนฉะเริ่มได้รับความนิยมในญี่ปุ่น

โดยกาน้ำชาเหล็กหล่อมีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับกาน้ำชาดินเผาแบบไม่เคลือบ เพราะมันจะดูดซับรสชาติบางส่วนของชาไว้ดังนั้นจึงไม่ควรใช้น้ำยาล้างจานล้างกาน้ำชาเหล็กหล่อ และควรทำให้แห้งสนิทเพื่อป้องกันสนิม

กาชาอีกประเภทที่เห็นทั่วไปคือ กาชา “แก้ว” วัสดุที่ไม่ค่อยจะเหมาะแก่การทำกาน้ำชาเพราะมันเก็บกักความร้อนได้น้อย เปื้อนง่าย และเปราะบาง เหมาะสำหรับการชงชาที่มีความสวยงามโดยเฉพาะชาดอกไม้บานเพราะเราจะเห็นใบชาที่กำลังคลี่ออกอย่างสวยงาม นอกจากนี้คุณยังรู้ด้วยว่าชาของคุณเข้มพอหรือยัง และกาน้ำชาแก้วมักจะมาพร้อมกับเตาอุ่นที่ให้ใส่เทียนเข้าไปด้านล่างเพื่อรักษาให้ชาอุ่น

กาชา “ดินเหนียว”  ยิ่งอุณหภูมิที่สูงเท่าไหร่ เครื่องปั้นดินเผาที่ได้ออกมาก็จะแข็งแรงขึ้นเท่านั้น กาชาประเภทนี้จะสามารถเก็บรักษาความร้อนได้ดีกว่าประเภทอื่น โดยธรรมชาติแล้วเครื่องปั้นดินเผาแบบไม่เคลือบที่ทำจากดินเหนียวที่มีรูพรุนช่วยให้การน้ำชาดูดซึมกลิ่นและรสชาติของชาในกาได้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามคำแนะนำสำหรับการใช้เครื่องปั้นดินเผาที่ไม่เคลือบ คือ ควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำยาล้างจานเพราะมันจะดูดเอารสน้ำยาล้างจานไว้ ควรล้างด้วยน้ำเย็นจนแน่ใจว่าไม่มีเศษใบชาเหลืออยู่และนำไปตากให้แห้ง

กาน้ำชา กาน้ำชา

ส่วนกาน้ำชาที่ใช้ในพิธีชงชาของญี่ปุ่นที่ถูกเลือกมาเพื่อสะท้อนช่วงเวลาของปีหรือแต่ละโอกาส โดยการออกแบบตัวกาน้ำชาและอุปกรณ์ชงชาอื่นๆ จะสื่อถึงฤดูที่กำลังเปลี่ยนจากฤดูใบไม้ผลิไปเป็นฤดูใบไม้ร่วงนั่นเอง

อย่างไรก็ตามการชงชาที่อร่อยไม่ได้ขึ้นอยู่กับกาน้ำชาเพียงอย่างเดียว จริงหูที่กาน้ำชาที่ดีต้องน้ำหนักเบา เก็บความร้อน รินน้ำแล้วไม่หยด เมื่อเอียงกากลับมาน้ำต้องหยุดทันที ไม่ไหลเปียกโต๊ะ และฝากาต้องแน่นหนาพอให้เมื่อรินน้ำชาแล้วฝาไม่หลุดออกมา กาน้ำชาเซรามิกบางรุ่นหนักมาก ทำให้ควบคุมปริมาณน้ำที่เทออกมาได้ยาก แถมยังไม่เก็บความร้อน

อย่างระดับอุณหภูมิของน้ำร้อนเป็นสิ่งสำคัญมากในการชงชา ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับชาแต่ละชนิด ถ้าเป็น ชาขาวหรือ ชาเขียวที่ต้องการความสดใหม่ ควรใช้น้ำร้อนประมาณ 85 องศาเซลเซียส ชาอูหลงประมาณ 90 องศาเซลเซียส ชาแดงหรือ ชาพูเอ่อร์ประมาณ 100 องศาเซลเซียส

กาน้ำชา

อีกสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือ ควรอุ่นอุปกรณ์ที่ใช้ในการชงชาก่อนด้วยการลวกน้ำร้อน รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ควรมองข้าม เพราะต่อให้ต้มน้ำร้อนได้อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับชงชาแล้ว แต่ถ้ากาน้ำชาและแก้วที่ใช้ยังเย็นอยู่ เมื่อเทน้ำร้อนลงไปอุณหภูมิของน้ำก็จะลดลง ทำให้ดึงรสชาติชาออกมาได้ไม่เต็มที่นั่นเอง

ที่มา

https://www.pinterest.com/pin/337066353331099228/

บทความจาก : Fuwafuwa

ปรัชญาของคนญี่ปุ่นที่แฝงแนวคิด จาก ถ้วยชา

เคยสังเกตมั้ยว่า ถ้วยชงชาญี่ปุ่น เมื่อเทียบกับของทางฝั่งยุุโรป จะมีลักษณะที่แตกต่างกันค่อนข้างมาก ถ้วยชาญี่ปุ่น จะไม่เรียบ 100% ลักษณะส่วนมากเป็นถ้วยชาจากการปั้นด้วยมือ มีความขรุขระบ้าง ลวดลายสีสันที่ดูเป็นงานคราฟต์ บางใบดูดีๆจะเห็นว่าเป็นถ้วยที่แตกแล้ว แต่ถูกประสานด้วยทองจนเนียนเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของลวดลายถ้วยชานั้นๆ ซึ่งวิธีการทำแบบนี้เราเรียกว่า การทำคินสึงิ (Kintsugi)นั่นเอง

Kintsugi

คินสึงิ มีประวัติศาตร์อันยาวนาน ย้อนไปในศตวรรษที่ 15 โชกุนของญี่ปุ่นที่มีชื่อว่า อาชิกางะ โยชิมาสะ (Ashikaga Yoshimasa) ได้ส่งถ้วยชาที่เสียหายไปยังประเทศจีนเพื่อซ่อมแซม และมันก็ถูกส่งกลับมาในสภาพที่มีตัวเย็บเหล็กที่ไม่สวยงาม ทำให้โชกุนต้องคิดค้นหาวิธีที่ดีกว่าในการซ่อมแซมสิ่งที่พังไป ช่างฝีมือของเขาจึงมองหาวิธีอันงดงามในการประกบเครื่องปั้นดินเผาอีกครั้งด้วยการใช้ครั่งผสมทอง เทคนิคนี้เป็นการเชื่อมรอยต่ออันงดงามที่ถูกพูดถึงกันมากในประวัติศาสตร์ จึงเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็ว นักสะสมจำนวนมากรู้สึกชื่นชอบเทคนิคนี้มากถึงขั้นตั้งใจทุบเครื่องปั้นดินเผาอันมีค่า เพื่อที่จะได้ซ่อมแซมมันโดยใช้เทคนิคคินสึงิซึ่งแน่นอนว่าเครื่องปั้นเซรามิคมีความวิจิตรงดงามมากยิ่งขึ้นหลังจากการซ่อมแซมทุกครั้ง การซ่อมแซมภาชนะที่แตกบิ่นเสียหายด้วยวิธีคินสึงิแบบนี้ อีกนัยนะหนึ่งเกิดจากการที่ชาวญี่ปุ่นเชื่อกันว่า ถ้วยชามที่แตกบิ่นนั้นไม่ควรทิ้งขว้าง แต่ควรซ่อมมันด้วยรักทองเพื่อให้พวกมันกลับคืนมามีชีวิตอีกครั้ง เหมือนกับชีวิตของเราทุกคนนั้นล้วนหลีกหนีความเจ็บปวดทางใจไม่พ้น เช่น การสูญเสียผู้เป็นที่รักหรือสิ่งที่เป็นที่รัก เผชิญกับอาการเจ็บป่วยร้ายแรงหรืออุบัติเหตุที่ส่งผลต่อชีวิต แม้แต่ความเจ็บปวดที่ต่อเนื่องมาจากอดีต บาดแผลทางใจเหล่านี้ควรได้รับการเยียวยาและสมานให้กลับมาดีดังเดิม ดังนั้นปรัชญาคินสึงิจึงถูกนำมาประยุกต์ใช้เพื่อซ่อมแซมบาดแผลทางใจที่หนักหนาและค้างคา เพื่อที่เราจะได้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากขึ้น เข้มแข็งมากขึ้น และเข้าใจผู้ที่ยังเจ็บปวดคนอื่นๆ มากขึ้นนั่นเอง

ปรัชญาของคนญี่ปุ่นที่แฝงถึงแนวคิดที่ว่า ไม่มีชีวิตใดที่สมบูรณ์แบบอย่างหลักคินสึงิ คือ การทำให้ตัวเองเข้าใจถึงความแตกหัก เปราะบางภายในจิตใจของตัวเอง เป็นการสร้างความแข็งแกร่งจากภายในสู่ภายนอก ทำให้มีสภาวะจิตใจที่ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ เพราะการซ่อมแซมถ้วยที่แตกร้าวอย่างใส่ใจและเต็มไปด้วยความรักจะทำให้เราเข้าใจว่าเราควรยอมรับ, เคารพในรอยร้าวและรอยแผลเป็น, ความอ่อนแอและความไม่สมบูรณ์พร้อมทั้งในตัวเราและผู้อื่น เพื่อพบความสุขที่แท้จริงในชีวิต

Wabi-sabi

อย่างไรก็ตาม ถ้วยชาที่ผ่านการทำคินสึงิมาแล้ว  แม้จะยังใช้งานได้ แต่ถ้วยที่แตกแล้วก็คือแตกแล้ว ไม่ได้สมบูรณ์แบบเหมือนเดิม เพียงแต่เป็นความเรียบง่ายที่ไม่ต้องดิ้นรนหาถ้วยชาใบใหม่ แต่เต็มใจที่จะใช้ถ้วยชาที่มีริ้วรอย ผ่านการผุกร่อนตามกาลเวลาแบบนี้ เป็นอีกหนึ่งปรัชญาแห่งการดำรงชีวิตที่ฝังรากลึกอยู่ในจิตวิญญาณของชาวญี่ปุ่นมานานเช่นกัน นั่นคือ สุนทรียภาพอันเรียบง่าย สมถะ ไม่ยึดติดในความสมบูรณ์แบบ ชื่นชมในริ้วรอยและความผุกร่อนของสรรพสิ่งที่เสื่อมสลายไปตามกาลเวลามอย่างเต็มใจ แนวคิดนี้คนญี่ปุ่นเรียกว่า  วะบิ สะบิ” Wabi-sabi (侘寂)

วะบิ สะบิ” Wabi-sabi (侘寂)  เป็นแนวคิดที่ถูกนำไปปรับใช้และแทรกตัวอยู่ในงานตกแต่งสไตล์ Loft, Industrial, Rustic, Minimal ซึ่งสังเกตได้อย่างง่ายด้วยถ้วยชา ที่เราเห็นคนญี่ปุ่นใช้กัน ขอบถ้วยที่ไม่มีการปรับให้เรียบ เมื่อริมฝีปากจรดจะสัมผัสได้ถึงผิวอันดิบหยาบ ส่วนถ้วยชา ไม่ได้เนี๊ยบเรียบหรู แต่เป็นถ้วยชาที่เปี่ยมด้วยสุนทรียะที่มุ่งนำพาจิตผู้ดื่มชาให้สัมผัสได้ถึงความสงบและเรียบง่าย เพื่อแสดงถึงแก่นแท้แห่ง “วะบิ สะบิ” นั่นเอง

วะบิ สะบิ

แนวคิดถ้วยชาดังกล่าว เกิดในสมัยที่พิธีดื่มชาทีได้รับอิทธิพลจากภิกษุนิกายเซน ได้รับความสนใจอยากแพร่หลาย และกลายเป็นส่วนหนึ่งของศิลปะ ปรัชญา เกิดชาโนยุ หรือ วิถีแห่งชา ที่ได้รับความนิยมอย่างยิ่งในหมู่ชนชั้นสูง นักรบและพ่อค้าที่ร่ำรวย เครื่องใช้ต่างๆ ในพิธีชงชา ล้วนถูกซื้อหาจากต่างแดนและประดับประดาด้วยสิ่งอันหรูหรา โดยเฉพาะถ้วยชาที่สวยงามเป็นหนึ่งในสิ่งที่ชนชั้นสูงและผู้มีฐานะใน ยุคนั้นต่างแสวงหาความหรูหราฟุ่มเฟือยนี้ เห็นได้จากช่วงปี ค.ศ.1585-1586 ฮิเดโยชิมีคำสั่งให้ริคิวจัดสร้างห้องชาที่ปิดด้วยทองคำทั้งหลัง เพื่อรับเสด็จสมเด็จพระจักรพรรดิโอะกิมะจิ โดยฮิเดโยชิเองทำหน้าที่เป็นผู้ชงชา เขาจึงเสิร์ฟชาด้วยถ้วยชาที่ปั่นขึ้นอย่างง่ายเพื่อโน้มนำให้ผู้ดื่มเข้าถึงความงามอันปราศจากการปรุงแต่ง ตระหนักถึงความงามอันจริงแท้ที่มิได้ขึ้นอยู่กับรูปลักษณ์ภายนอก ความไม่สมบูรณ์แบบก็ทำให้ได้สัมผัสรสชาติที่แท้จริงของชาได้เช่นเดียวกัน

นอกจากนี้ วะบิ-ซะบิยังสะท้อนให้เห็นได้ชัดผ่านสถาปัตยกรรมและหัตถกรรมที่เกี่ยวข้องกับพิธีชงชาของชาวญี่ปุ่นนั่นคือ เรือนชงชา ซึ่งแยกตัวจากสิ่งปลูกสร้างอื่น มีขนาดเล็กแค่เพียงพอดีกับกิจกรรม สร้างขึ้นจากวัสดุที่ไม่มีลักษณะความคงทนถาวรที่จะต้องเสื่อมสลายไปซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมญี่ปุ่น เช่น ตัวบ้านทำจากไม้ และบานประตูทำจากกระดาษ ต่างจากสถาปัตยกรรมโมเดิร์นของตะวันตกที่ถูกสร้างให้มีภาพลักษณ์ของความสมบูรณ์ เป็นอมตะและไม่สามารถทนต่อปัจจัยที่มากระทำผ่านกาลเวลาได้

ถัดมาที่ห้องในเรือนชงชามักออกแบบให้คนเข้าไปได้ไม่เกินครั้งละ 5 คน ประตูทางเข้าของแขกมีความสูงเพียง 80 เซนติเมตร ทุกคนต้องคลานด้วยมือและเข่าเป็นแถวเดียวเข้าไปด้วยความสงบและเสมอภาคกัน อันเป็นการลดทิฐิและทำให้เกิดความเรียบง่ายในการอยู่ร่วมกัน

ภายในห้องมีถ้วยชามอุปกรณ์ที่ใช้ในพิธีซึ่งทำมากวัสดุตามธรรมชาติ แต่ละชิ้นมีร่องรอย มีคราบผ่านการเวลาในแบบฉบับของตนเอง เพื่อแสดงถึงความงดงามของสิ่งที่ไม่สมบูรณ์แบบของสิ่งต่างๆ ที่ไม่ใช่สิ่งที่ไม่ดี แต่เมื่อสิ่งเหล่านั้นมาอยู่รวมกันแล้ว ก็อาจจะทำให้เกิดมุมมองต่างๆที่เปลี่ยนไป เกิดสุนทรียะในการใช้ชีวิตแบบที่ไม่ต้องสมบูรณ์แบบเสมอไปนั่นเอง

พิธีชงชาของชาวญี่ปุ่น

ที่มา

https://www.bareo-isyss.com/service/decor-guide/wabi-sabi-decor/

https://www.hibiki-an.com/contents.php/cnID/61

https://www.bareo-isyss.com/service/decor-guide/wabi-sabi-decor/

https://jpninfo.com/thai/11264

https://gaskimishima.wordpress.com

https://etsy.me/2MjfImy

https://themomentum.co/wabi-sabi/

บทความจาก : Fuwafuwa