E-commerce แบบไหนเหมาะกับร้านชา

พูดถึง E-commerce ก็ขออธิบายเพิ่มเติมก่อนว่า E-Commerce ย่อมาจากคำว่า Electronic Commerceเป็นการทำธุรกิจโดยซื้อขายสินค้าหรือโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่นิยมใช้งานมากที่สุดในปัจจุบันก็คือ อินเทอร์เน็ต โดยสามารถใช้ทั้งข้อความ เสียง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ซึ่งการทำ E-commerce สามารถเข้าถึงลูกค้าได้กว้างขวางและช่วยลดค่าใช้จ่ายต่างๆได้พอสมควร

E-commerce

E-commerce

ปัจจุบัน ผู้คนสามารถเข้าถึงสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ในโลกออนไลน์ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และการใช้งานอินเตอร์เน็ตถือได้ว่าเป็นกิจกรรมหลักในชีวิตประจำวันของผู้คนส่วนใหญ่ อีกทั้ช่วงสถานการณ์โควิดที่หน้าร้านบางร้านอาจจะเปิดขายได้ไม่เหมือนเดิม การหันมาพึ่งโลกโซเชียลในการขายจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกร้านควรหาลู่ทางในแบบที่ร้านตัวเองสามารถทำได้ ซึ่ง E-commerce เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง นอกจากพวกระบบดิลิเวอรี่อย่าง Line Man , Grab Food, Food Panda

หากถามถึงการทำ E-commerce ที่เหมาะกับร้านชา มี 3 ช่องทางใหญ่ ได้แก่

  1. Marketplaceเป็นช่องทางที่ทุกคนคุ้นเคยดี มีผู้เล่นใหญ่ๆ อย่าง Lazada, Shopee ซึ่งหากร้านชาร้านไหนมีใบชา ผงชา หรือสินค้าอื่นๆที่สามารถลงในแพลตฟอร์มเหล่านี้ได้ ก็ควรลองเปิดร้านค้าทิ้งไว้เช่นกัน เนื่องจากแพลตฟอร์มเหล่านี้มีสินค้าที่หลากหลาย และกลุ่มลูกค้าก็กว้าง ระบบโลจิสต์ติกส์ การชำระเงินครบวงจร จึงเหมาะกับร้านชาที่มีสินค้าแห้งๆอย่างวัตถุดิบส่วนผสมในกรชงเครื่องดื่ม หรืออาจะทำเป็นชุด Meal kit, Giftset วางขายในระบบแทนก็น่าสนใจเช่นกัน ดูโมเดลร้านชาใหม่ๆได้ที่ shorturl.at/bruEX
  2. E-Retailer เป็นกลุ่มธุรกิจค้าปลีกที่มีการขยายช่องทางออนไลน์ จากเดิมที่มีแค่หน้าร้าน ก็เพิ่มในส่วนของอีคอมเมิร์ซเข้ามา เช่น เทสโก้ โลตัส, บิ๊กซี, เซ็นทรัล และเดอะมอลล์ เป็นต้น ก็เปรียบเหมือนการที่เราไปออกบูทในห้างนั้นเอง เพียงแต่สินค้าที่ขายอาจะขายได้ไม่หลากหลายและมีข้อจำกัดพอสมควร ซึ่งร้านค้าปลีกบางร้านอาจจะมีค่าแรกเข้าที่ราคาค่อนข้างสูง จึงไม่ค่อยแนะนำกับแพลตฟอร์มนี้มากนัก
  3. Direct to Consumerคือการที่ร้านชาสร้างเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชั่นของตัวเองเพื่อให้มีฐานข้อมูลลูกค้าอยู่ในมือ และสามารถนำข้อมูลลูกค้าไปต่อยอดทำ Royalty Program ในอนาคตได้ ซึ่งการทำเว็บไซต์ E-Commerce ทีดีควรประกอบไปด้วย
    • หน้าเว็บไซต์ต้องเป็นระเบียบ นอกจากความสวยงามแล้ว เว็บไซต์จะต้องใช้งานง่าย มีการแบ่งหมวดหมู่สินค้าอย่างเป็นระบบ ไม่ซับซ้อน
    • ระบบเว็บไซต์หรือระบบหลังร้านต้องจัดการและควบคุมได้ง่าย เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ขาย
    • มีรายละเอียดของสินค้าครบถ้วนชัดเจน ทั้งรูปภาพ ข้อความอธิบาย ราคา นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มส่วนของรีวิวจากลูกค้าก็ได้เพื่อช่วยในการตัดสินใจซื้อ
    • สถานะสินค้าต้องแสดงแบบ Real Time กล่าวคือ ถ้าสินค้าหมด หรือเหลือจำนวนน้อย ต้องขึ้นแสดงให้ลูกค้าเห็น เพื่อให้ง่ายต่อการตัดสินใจซื้อ
    • มีขั้นตอนการสั่งซื้อที่ง่าย ไม่ยุ่งยาก มีการระบุชัดเจนว่าต้องทำอย่างไรบ้าง
    • อำนวยความสะดวกในการสั่งซื้อด้วยระบบตะกร้าสินค้า (Shopping Cart) ที่สามารถจดจำข้อมูลและจำนวนสินค้าของลูกค้าเอาไว้
    • สามารถสรุปรายการสั่งซื้อให้ลูกค้าได้ เช่น ราคาสินค้าทั้งหมด ค่าจัดส่ง เป็นต้น
    • การชำระเงินต้องมีความปลอดภัย และควรมีช่องทางให้ลูกค้าชำระเงินได้หลายช่องทาง เช่น บัตรเครดิต โอนผ่านธนาคาร เป็นต้น
    • มีระบบการติดตามการจัดส่ง เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า
    • เว็บไซต์ต้องรองรับการทำ SEO (Search Engine Optimization) ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้ค้นเจอเว็บไซต์และเพิ่มผู้เข้าชมเว็บไซต์ ซึ่งจะทำให้มีโอกาสขายสินค้าได้มากขึ้น

นอกจากการมีการทำ E-Commerce แล้ว ไม่ว่าจะทำด้วยแพลตฟอร์มของร้านเองหรืออาศัยเจ้าอื่นต้องอย่าลืมที่จะใช้กลยุทธ์การตลาดทั้งเรื่องการอัพเดตภาพเมนูใหม่ๆ การทำโปรโมชั่นในการโปรโมทสินค้าทางช่องทางออนไลน์ด้วยเหมือนเวลาที่เราเปิดขายหน้าร้านนั่นเอง

การทำเว็บไซต์ของร้านชาเอง จึงถือเป้นแพลตฟอร์มที่ค่อนข้างเหมาะกับผู้ประกอบการร้านชาทั้ง SMEและร้านที่ขายเครื่องดื่ม ขนม ที่ต้องมีการบอกเล่าเรื่องราว เอกลักษณ์ของแบรนด์ ผ่านหน้าเว็บไซต์ที่สวยๆ ซึ่งเว็บสำเร็จรูปฟรีที่สามารถให้ทดลองใช้ก็มีหลายตัว เช่น wordpress, wix.com หรือแบบเสียค่าแพคเกจในราคาถูก แต่ครีเอทเว็บสวยๆได้ก็มีมากมาย ซึ่งหลังจากครีเอทแล้ว แนะนำให้สร้ง Line@ ของที่ร้านเพื่อรับออเดอร์ และจัดส่งเองผ่านทาง Lineman, Grab หรือลาลามูฟ ก็เป็นวิธีที่เหมาะสม รวดเร็ว ประหยัดค่าใช้จ่ายและสามารถส่งอาหาร เครื่องดื่ม ขนม ได้ทุกเมนูของที่ร้าน

อีกสิ่งที่แม้ว่าเราจะหันไปรับลูกค้าทาง W-commerce แทนหน้าร้าน ก็อย่าลืมที่จะใช้การให้บริการเฉกเช่นเดียวกับการขายหน้าร้านเหมือนเดิมด้วยหลักของ Emotional Value 

ที่มา

https://brandinside.asia/e-commerce-thai-marketer-need-to-know/

https://guru.sanook.com/3871/

https://dribbble.com/shots/6623948-Matcha-cafe-app

บทความจาก : Fuwafuwa

เพิ่ม 3 แนวคิดธุรกิจอาหาร ให้ร้านชาโตต่อได้

ในยุคที่ร้านคาเฟ่ผุดขึ้นเยอะมาก การออกเมนูใหม่ โปรโมชั่นใหม่ หรือตกแต่งร้านเพิ่มเติม อาจจะไม่เพียงพออีกต่อไป การโฟกัสถึงเทรนด์ธุรกิจอาหาร จึงเป็นอีกสิ่งที่จะช่วยให้ธุรกิจไปต่อได้  เพราะเทรนด์อาหารสมัยนี้ ไม่ได้เน้นแค่ความอร่อย ยิ่งช่วงนี้ที่โควิดกลับมาระบาดอีกรอบ การสร้างความสะดวกให้ลูกค้าและให้ลูกค้าได้สัมผัสประสบการณ์กับอาหารเครื่องดื่มคุณภาพดี เหมือนได้ไปทานที่ร้านจึงเป็นเทรนด์ที่ร้านค้าต้องหันมาให้ความใส่ใจมากขึ้น มาดู 3 แนวคิดหลักของธุรกิจอาหาร ที่จะช่วยให้ร้านชาของคุณยังเติบโตได้แม้จะมีสถานการณ์โควิดก็ตาม

1. การเพิ่ม Option ให้สั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชั่นที่ทางร้านครีเอทเอง หรือผ่านระบบ Delivery ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ายุคนี้ การสั่งอาหารผ่านช่องทางออนไลน์เติบโตอย่างรวดเร็วมาก ยิ่งสถานการณ์โควิด ที่ทำให้หลายคนหลีกเลี่ยงการเข้าร้านอหาร และหันมาใช้การสั่งอาหารผ่านมือถือแทน ด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวกสบาย และเทรนด์การให้บริการในรูปแบบนี้ยังมีโปรโมชั่น สิทธิพิเศษมากมาย การเอาร้านชาเข้าไปอยู่ในแพลตฟอร์มสั่งอาหารดิลิเวอรี่อย่าง Grab Food, Food Panda, Gojek, Line Man จึงยังไปได้ดีอย่างแน่นอน ถึงแม้จะมีการเสีย GP อยู่บ้าง ทำให้บางร้านไม่อยากร่วมกับการทำดิลิเวอรี่แพลตฟอร์มเหล่านี้ แต่หากพิจารณาดีๆแล้วจะพบว่าการขายทางช่องทางดิลิเวอรี่พวกนี้ช่วยให้ร้านสามารถใช้วัตถุดิบที่มีอยู่แล้ว

Delivery

อย่างไรก็ตามสำหรับร้านชา อาจจะกังวลกับการขนส่งสินค้าที่ร้านว่าอาจจะหก เลอะเทอะ ไปถึงลูกค้าอาจจะไม่ได้รับสินค้าที่สมบูรณ์ 100% นั้น ต้องตัดความกังวลนั้นทิ้งแล้วมองหาแพคเกจ อีกทั้งวิธีการที่แตกต่างออกไปในการเสิร์ฟชาแทน เช่น การใช้ขวดใส่น้ำแยกน้ำชาและน้ำแข็งออกจากกัน

2. ปรับเมนูเครื่องดื่ม อาหารเพื่อสุขภาพ และมีความ Creative มากขึ้น อาหารที่ให้มากกว่าความอร่อยสำหรับยุคนี้ ต้องเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และหากมีการนำศาสตร์ชั้นสูงมาสร้างสรรค์เมนูอาหาร หรือใส่ความคิดสร้างสรรค์เข้าไปในเมนู ตลอดจนการนำเสนอในรูปแบบใหม่ๆ ที่ชวนตื่นเต้น ล้วนเป็นการสร้างประสบการณ์ใหม่ให้ลูกค้า อย่างการดื่มชาเขียวปกติหากทำเป็นสมูตตี้เพิ่มผลไม้บางตัวเข้าไปให้ชาเขียวมีรสชาติที่แปลกใหม่มากขึ้นและยังดีต่อสุขภาพ ก็เป็นสิ่งที่ช่วยดึงดูดลูกค้าสาวๆได้มากขึ้น หรือจะเป็นโยเกิร์ตธัญพืชที่เป็นกระแสมื้อเช้ายอดนิยมอยู่ช่วงนี้ สามารถเพิ่มรสชาติชาเขียวเข้าไปได้ เพื่อสร้างความเป็นเอกลักษณ์ให้มื้อเช้าที่ร้านของคุณ

Healthy Healthy

อย่างไรก็ตามหากเป็นเมนูเครื่องดื่ม อาหารเพื่อสุขภาพ หรือเป็นเมนูที่ครีเอทมากๆมักจะมีราคาที่สูงทำให้ลูกค้าใหม่น้อยคนนักที่จะกล้าลอง ดังนั้น หากทางร้านสามารถควบคุมต้นทุนให้ได้ในราคาต่ำ จะยิ่งทำให้ราคาขายถูกลงและเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้ง่ายขึ้นนั่นเอง

3. ธุรกิจขายอาหารแบบ 24 ชั่วโมงใครจะไปคิดว่า โมเดลการเปิดร้านอาหารแบบ 24 ชั่วโมงนั้น จะเป็นไปได้ และจะมีผู้ใช้บริการจริง แต่ด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน มีการใช้ชีวิตช่วงกลางคืนมากขึ้น และกลุ่มคนที่ทำงานในช่วงเวลากลางคืนนั้นจะมีโอกาสน้อยมากในการได้รับประทานอาหารเครื่องดื่มอร่อยๆ เหมือนคนที่ใช้ชีวิตช่วงกลางวัน อีกทั้งคนไทยยังมีความเชื่อว่าการบริโภคชา กาแฟที่มีคาเฟอีนช่วงกลางคืนจะทำให้นอนไม่หลับ ร้านค้าที่ขายชากาแฟช่วงดึกจึงมีน้อยมากๆ แต่คนที่ใช้ชีวิตช่วงกลางคืนก็ยังคงต้องการดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้อยู่ โมเดลธุรกิจขายอาหารเครื่องดื่ม 24 ชั่วโมงนี้จึงไปได้ดีกว่าที่คิด ถือเป็นการผลักดันให้ธุรกิจอาหารเติบโตจากการจับไลฟ์สไตล์คนใช้ชีวิตกลางคืนนั่นเอง

ที่มา

https://www.elle.com/culture/career-politics/a31478025/how-to-help-community-coronavirus-pandemic/

https://weheartit.com/entry/320776028

บทความจาก : Fuwafuwa

สิ่งที่คนมักพลาด! เมื่อเปิดร้านชา

ร้านคาเฟ่ หรือ ร้านเครื่องดื่ม เป็นหนึ่งในธุรกิจในฝันของใครหลายคน เนื่องจากคิดว่าเป็นธุรกิจที่เปิดง่าย กำไรสูง แค่ทำเลดี ชงเครื่องดื่มอร่อย แต่งร้านให้สวยเก๋ ก็น่าจะไปรอด แต่รู้หรือไม่ว่า เปิดร้านเครื่องดื่มปัจจุบันนี้ ในตลาดที่มีการแข่งขันกันสูงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นการเปิดร้านก็ควรที่จะคิดคำนวนดีดี ก่อนที่จะเริ่มต้นกิจการนั้นๆ ดังนั้นก่อนที่จะเปิดร้าน หรือตัดสินใจใดๆ มาพิจารณาปัจจัยเหล่านี้ก่อน ว่าคุณพลาดอะไรไปบ้าง

1.รู้จักสิ่งที่จะขายยังไม่ดีพอ ข้อนี้เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดเลย ไม่ว่าจะเป็นใบชา ผงชา แต่ละประเภท มีที่มาจากประเทศไหน ไร่ชานั้นปลูกชา ผ่านกรรมวิธีอะไรบ้าง หากเรามีข้อมูลเหล่านี้จะทำให้เราสามารถตอบคำถามลูกค้าได้อย่างมั่นใจว่าแบรนด์เรามีจุดแข็งที่อะไร อย่าลืมศึกษาทำการทดลองถึงชนิดของชา รสชาติ กลิ่น และคุณสมบัติว่าต่างกันยังไง ใช้น้ำอุณหภูมิเท่าไหร่ในการชง สื่อที่ใช้ในการนำเสนอลูกค้าถึงความต่างของชาที่ร้าน

เมนูชาเป็นเมนูที่ร้านไหนๆก็ทำได้ แต่ทำให้แตกต่างและได้รสชาติที่คงที่นั้น เป็นเรื่องที่ต้องผ่านการฝึกฝน และเทคนิคเฉพาะตัว

Matcha Cafe Matcha Cafe

2. แบรนด์ไม่ชัดเจน เกิดจากการเห็นแบรนด์อื่นทำแล้วดี เลยทำบ้าง โดยไม่ได้ศึกษาให้ถี่ถ้วนถึงปัจจัยแวดล้อม อย่างร้านชานมไข่มุกที่เปิดเยอะมากๆในช่วงนี้ ชื่อคล้ายกัน เมนูที่เหมือนๆกัน ต่างกันที่ราคา ไม่มีเอกลักษณ์ของแบรนด์ตัวเองที่ชัดเจน จะทำให้ร้านประเภทนี้โดนกลืนได้ ก่อนเปิดร้านควรตอบให้ได้ว่า เพราะอะไรลูกค้าถึงต้องซื้อชาที่ร้านคุณ ไม่ซื้อของคู่แข่ง อาจจะเป็นเรื่องการบริการของพนักงานในร้าน เช่นมีการเสิร์ฟผ้าเย็นเช็ดมือก่อนเมื่อมาถึงที่ร้านเหมือนร้านอาหารญี่ปุ่น หรือจุดเล็กๆน้อยๆที่เราควรใส่ใจในรายละเอียด เพื่อเอามาเป็นจุดแข็งของที่ร้าน อย่างเช่นวิธีการนำเสนอการชงชาที่เคาน์เตอร์ อาจจะเป็นการดริปชา ชงด้วยกาน้ำแบบดั้งเดิม หรือชงด้วยฉะเซ็นตามแบบฉบับญี่ปุ่น  หรือใช้การ shake หรือตีด้วยที่ตีฟองนมตามแบบคนที่เร่งรีบ

Matcha Cafe Matcha Cafe

3. ลงทุนในสิ่งที่ไม่จำเป็นมากเกินไป เพราะเจ้าของร้านยุคนี้ จะโฟกัสว่าร้านต้องสวย มีมุมที่เก๋ให้ถ่ายรูปลงโซเชียลได้ สิ่งเหล่านี้ทำให้งบค่าตกแต่งร้านค่อนข้างสูงมาก จนบางครั้งอาจทำให้งบประมาณบานปลาย จริงๆ แล้วความคิดนี้ไม่ใช่เรื่องผิด แต่อย่าลืมว่า ยิ่งคุณลงทุนมากเท่าไร ระยะเวลาคืนทุนก็นานขึ้นเท่านั้น ยิ่งไปกว่านั้น หากคุณมีงบประมาณจำกัด แต่ลงทุนในส่วนที่ไม่จำเป็นมากเกินไป จะกระทบกับจำนวนเงินทุนที่จะนำไปสร้างรายได้เข้าร้านได้ เพราะอย่าลืมว่านอกจากการตกแต่งแล้วยังมีรายจ่ายอื่นๆ เช่น อุปกรณ์ชงชา วัตถุดิบดีๆ หรือค่าจ้างพนักงานที่มีประสิทธิภาพ การแบ่งสัดส่วนการลงทุนให้เหมาะสมจึงต้องเริ่มทำตั้งแต่แรก หรือถ้าใครไม่มีไอเดียในการตกแต่ง ลองดูตามสไตล์ญี่ปุ่นที่เน้นความเรียบง่าย ดื่มชาในสวนสวยๆเงียบๆเรียบๆไม่ต้องตกแต่งหวือหวา เพิ่มบรรยากาศสไตล์ญี่ปุ่นด้วยนิตยสารภาพญี่ปุ่น ก็ทำให้เต็มอิ่มกับบรรยากาศในร้านได้

Matcha Cafe Matcha Cafe Matcha Cafe

4.เลือกทำเลผิด ไม่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย หรือเลือกทำเลในย่านที่มีคู่แข่งเยอะมากๆ หรือกำลังจะมีคู่แข่งในอนาคต คู่แข่ง เป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้ยอดขายที่วางไว้ไม่ถึงเป้า อย่าลืมวิเคราะห์ว่า ละแวกนั้นมีกลุ่มเป้าหมายของเราอยู่มากน้อยแค่ไหน มีกำลังซื้อหรือเปล่า เช่นย่านนั้นเป็นย่านโรงเรียน แต่ตั้งขายชาในราคาสูงเกินอาจจะไม่เหมาะ วิเคราะห์คู่แข่งแต่ละเจ้าตั้งราคาเท่าไร มีจุดอ่อน จุดแข็งอะไรบ้าง และกลับมามองตัวเองว่าเราสามารถเอาชนะพวกเขาได้อย่างไรบ้าง

5.ลืมคำนวนต้นทุนวัตถุดิบ waste และต้นทุนแฝงอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นในแต่ละวัน อย่างเช่นที่ต้องระวังมากๆสำหรับใครที่ใช้ใบชานำเข้าจากญี่ปุ่น หรือประเทศอื่นๆ อย่าลืมคำนวนค่าขนส่ง ภาษีการซื้อใบชาตรงนี้ด้วย ว่าส่งวิธีไหนมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่บ้าง วัตถุดิบบางตัวที่เสียง่าย หากซื้อมาใช้ไม่หมด อาจจะทำให้เกิด waste ได้โดยไม่รู้ตัว เช่น พวก นม น้ำแข็ง ครีม ไหนจะค่าสวัสดิการ ค่าอาหาร ค่า OT จิปาถะ นอกจากนี้ยังมีค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเสื่อมของอุปกรณ์ต่างๆ ค่าแก้ว ค่าทิชชู่ ฯลฯ ซึ่งเมื่อนำมาคำนวณแล้ว กำไร 1 แก้ว จะเหลือกี่ %

6.ขาดประสบการณ์และความรู้ ต้องระวังตั้งแต่เรื่องบัญชีรายรับ รายจ่าย และการแบ่งเงินส่วนตัว กับเงินที่ร้านออกจากกัน เพื่อดูกำไรขาดทุน งบดุลต่างๆ การบริหารจัดการพนักงานรวมทั้งระบบการรับออเดอร์ การตัดสต๊อกวัตถุดิบต่างๆ ที่จำเป็นต้องเรียนรู้ เพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและประสบความสำเร็จ

ที่มา

https://www.pinterest.com/pin/491596115581630781/

http://rover.ebay.com

https://www.morimatea.com/

บทความจาก : Fuwafuwa

“ชาเขียว“ ของขวัญทุกเทศกาลของคนญี่ปุ่น

ชาวญี่ปุ่นมักจะมีของฝากเล็กๆน้อยๆถือติดไม้ติดมือมอบให้กันอยู่เรื่อยๆไม่ว่าจะเป็นโอกาไหนๆ เช่น หากต้องเดินทางไปต่างถิ่นหรือแม้กระทั่งทริปเล็กๆ โดยทั่วไปก็จะนิยมซื้อของฝาก หรือในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “โอมิยาเกะ”มาให้ โดยของฝากมีทั้งเป็นห่อคุกกี้น่ารักๆ ช็อกโกแลต ชาเขียว หรือของหวานญี่ปุ่นชนิดต่างๆ

โอมิยาเกะ

ไม่เพียงแค่การซื้อของฝากจากการไปท่องเที่ยว แต่การมอบของขวัญให้แก่กันทได้เป็นวัฒนธรรมที่ฝังรากลึกลงไปของคนญี่ปุ่น อย่างเช่น วันปีใหญ่ แต่งงาน คลอดบุตร ฯลฯ ซึ่ง”ชา”ถือว่าเป็นของขวัญที่นิยมมากๆเลยก็ว่าได้ การมอบชาเขียวให้กันนั้นก็จะแฝงความหมายที่แตกต่างตามวาระโอกาสที่ให้ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความยินดี การทักทาย หรือแสดงความขอบคุณ เพราะ”ชา”เป็นสิ่งที่ชาวญี่ปุ่นดื่มกันทุกวันอยู่แล้ว นอกจากจะดีต่อสุขภาพแล้ว ให้ความรู้สึกถึงความมีคุณภาพ มีราคา ยิ่งส่งมอบให้กันเป็นชุด gift set หรือ ห่อด้วยผ้าฟุโรชิกิด้วยแล้ว ยิ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กลายเป็นเซ็ตชาที่ถูกใจผู้รับแน่นอน อีกเหตุผลที่นิยมให้ชาเป็นของขวัญ เพราะนอกจากนั้นยังเก็บรักษาได้นาน และมีขนาดไม่เล็กไม่ใหญ่เกินไป ทานได้ทุกเพศทุกวัย ชายังแฝงความหมายที่ดีและเป็นมงคลที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ด้วย เช่น

ฉะเมียว (茶寿)

  • คำว่า ฉะเมียว (茶寿)ที่สะกดด้วยตัว茶ที่แปลว่า ชา อยู่ในคำนั้นด้วย ฉะเมียว ในความหมายคนญี่ปุ่น หมายถึง “การแสดงความยินดีฉลองอายุครบ 108 ปี” การมอบชาเป็นของขวัญจึงถือเป็นการอวยพรขอให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง อายุยืนยาว
  • ในงานแต่งงานของคนญี่ปุ่นบางพื้นที่ ได้แก่ ภูมิภาคคิวชู รวมถึง จังหวัดนีกาตะและฟุคุชิมะ จะมีการมอบ “ชุดชา”เป็นของขวัญสำหรับงานหมั้น เพราะต้นชามีอายุยืนยาว หยั่งรากลึกลงในดิน ยากที่จะถอนแล้วนำไปปลูกใหม่อีกครั้ง แสดงถึง “การแต่งงานออกเรือนของเจ้าสาวเพียงครั้งเดียว และยึดมั่นในคู่ครองไปตลอดชีวิต”

ชุดชา ชุดชา

  • ในวันขึ้นปีใหม่ของญี่ปุ่นจะมีธรรมเนียมการดื่มชาไดฟุคุฉะ (大福茶) เป็นชาที่ดื่มเพื่อขอให้ในปีนี้ปลอดภัยจากภัยพิบัติ และโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ โดยเฉพาะที่เกียวโต สืบเนื่องมาจากในสมัยก่อนที่มีนักบวชเอาชาไปแจกให้ผู้ป่วยติดเชื้อดื่ม และอาการหายเป็นปกติ การรับประทานชุดอาหารโอเซจิ (おせち料理) ในวันขึ้นปีใหม่ พร้อมดื่มไดฟุคุฉะกับบ๊วยแห้งและสาหร่ายคอมบุ วัฒนธรรมที่สืบทอดต่อกันมายาวนาน
  • คำว่า เมเดไต (めでたい) ที่แปลว่า “น่ายินดี” ในภาษาญี่ปุ่น พ้องเสียงกับคำว่า เมเดไต (芽出たい) ที่แปลว่า “ต้องการแตกหน่อ(ของยอดชา)” ดังนั้นการมอบชาเป็นของขวัญจึงมีความเป็นสิริมงคลที่คนญี่ปุ่นเชื่อว่า หมายถึง การแสดงความยินดีต่อผู้รับนั่นเอง

เมเดไต (めでたい)

อย่างไรก็ตาม บางตำรากล่าวว่ากชาเป็นเครื่องดื่มที่ญี่ปุ่นรับมาจากประเทศจีนพร้อมกับศาสนาพุทธ จึงให้ภาพพจน์ที่เกี่ยวข้องกับพิธีทางพุทธศาสนา ซี่งส่วนมากจะเป็นพิธีศพ จึงควรหลีกเลี่ยงที่จะให้ชาเป็นของขวัญ แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้ความเชื่อนั้นก็ได้หายไป และยังมีความนิยมส่งชินชะ (新茶)ซึ่งเป็นชาแรกของฤดูที่ทำจากยอดอ่อนที่เก็บได้ครั้งแรก ให้เป็นของขวัญตามฤดูกาลมากขึ้น

ชินชะ (新茶)

นอกจากโอกาสมงคลต่างๆ ที่เราส่งมอบชากันเป็นของขวัญแล้ว ยังมีวัฒนธรรมการดื่มชาอื่นๆที่คนญี่ปุ่นจะดื่มกันอีก เช่น

  • ซากุระยุ (桜湯)ที่ได้จากการชงน้ำร้อนกับกลีบดอกซากุระที่ปรุงรสด้วยเกลือ แทนชาเขียว นิยมดื่มในโอกาสมงคล คู่กับขนมฮิกาชิ เป็นขนมแห้ง ชิ้นเล็กมีลวดลายและสีสันงดงาม คล้ายขนมผิงบ้านเรา
  • ในฤดูร้อนนิยมดื่มมุงิชะ (麦茶)ชาข้าวบาร์เลย์เย็นๆ คลายร้อน
  • ถ้าใช้รับรองแขก จะนิยมเสิร์ฟเกียวกุโระ ( 玉露) หรือ เซ็นชะ ( 煎茶)คู่กับขนมวากาชิ
  • แต่ในชีวิตประจำวันจะนิยมดื่มโฮจิฉะ ( ほうじ茶) บันชะ ( 番茶) เก็นไมฉะ ( 玄米茶) คู่กับขนมเซมเบ้

เลือกชาให้ถูกประเภท ถูกเทศกาล การส่งมอบของขวัญด้วยชา จะทำให้ผู้รับประทับใจมากยิ่งขึ้น

ที่มา

https://www.hibiki-an.com/index.php/cPath/26

https://www.ooigawachaen.co.jp/blog/2015/12/16/249

https://www.alfemminile.com/none/none-s4002149.html

บทความจาก : Fuwafuwa