“ชาเขียว“ ของขวัญทุกเทศกาลของคนญี่ปุ่น

ชาวญี่ปุ่นมักจะมีของฝากเล็กๆน้อยๆถือติดไม้ติดมือมอบให้กันอยู่เรื่อยๆไม่ว่าจะเป็นโอกาไหนๆ เช่น หากต้องเดินทางไปต่างถิ่นหรือแม้กระทั่งทริปเล็กๆ โดยทั่วไปก็จะนืยมซื้อของฝาก หรือในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “โอมิยาเกะ” มาให้ โดยของฝากมีทั้งเป็นห่อคุกกี้น่ารักๆ ช็อกโกแลต ชาเขียว หรือของหวานญี่ปุ่นชนิดต่างๆ

ไม่เพียงแค่การซื้อของฝากจากการไปท่องเที่ยว แต่การมอบของขวัญให้แก่กันทได้เป็นวัฒนธรรมที่ฝังรากลึกลงไปของคนญี่ปุ่น อย่างเช่น วันปีใหญ่ แต่งงาน คลอดบุตร ฯลฯ ซึ่ง”ชา”ถือว่าเป็นของขวัญที่นิยมมากๆเลยก็ว่าได้ การมอบชาเขียวให้กันนั้นก็จะแฝงความหมายที่แตกต่างตามวาระโอกาสที่ให้ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความยินดี การทักทาย หรือแสดงความขอบคุณ เพราะ”ชา”เป็นสิ่งที่ชาวญี่ปุ่นดื่มกันทุกวันอยู่แล้ว นอกจากจะดีต่อสุขภาพแล้ว ให้ความรู้สึกถึงความมีคุณภาพ มีราคา ยิ่งส่งมอบให้กันเป็นชุด gift set หรือ ห่อด้วยผ้าฟุโรชิกิด้วยแล้ว ยิ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กลายเป็นเซ็ตชาที่ถูกใจผู้รับแน่นอน อีกเหตุผลที่นิยมให้ชาเป็นของขวัญ เพราะนอกจากนั้นยังเก็บรักษาได้นาน และมีขนาดไม่เล็กไม่ใหญ่เกินไป ทานได้ทุกเพศทุกวัย ชายังแฝงความหมายที่ดีและเป็นมงคลที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ด้วย เช่น


  • คำว่า ฉะเมียว (茶寿) ที่สะกดด้วยตัว 茶 ที่แปลว่า ชา อยู่ในคำนั้นด้วย ฉะเมียว ในความหมายคนญี่ปุ่น หมายถึง “การแสดงความยินดีฉลองอายุครบ 108 ปี” การมอบชาเป็นของขวัญจึงถือเป็นการอวยพรขอให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง อายุยืนยาว
  • ในงานแต่งงานของคนญี่ปุ่นบางพื้นที่ ได้แก่ ภูมิภาคคิวชู รวมถึง จังหวัดนีกาตะและฟุคุชิมะ จะมีการมอบ “ชุดชา” เป็นของขวัญสำหรับงานหมั้น เพราะต้นชามีอายุยืนยาว หยั่งรากลึกลงในดิน ยากที่จะถอนแล้วนำไปปลูกใหม่อีกครั้ง แสดงถึง “การแต่งงานออกเรือนของเจ้าสาวเพียงครั้งเดียว และยึดมั่นในคู่ครองไปตลอดชีวิต”
  • ในวันขึ้นปีใหม่ของญี่ปุ่นจะมีธรรมเนียมการดื่มชา ไดฟุคุฉะ (大福茶) เป็นชาที่ดื่มเพื่อขอให้ในปีนี้ปลอดภัยจากภัยพิบัติ และโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ โดยเฉพาะที่เกียวโต สืบเนื่องมาจากในสมัยก่อนที่มีนักบวชเอาชาไปแจกให้ผู้ป่วยติดเชื้อดื่ม และอาการหายเป็นปกติ การรับประทานชุดอาหารโอเซจิ (おせち料理) ในวันขึ้นปีใหม่ พร้อมดื่มไดฟุคุฉะกับบ๊วยแห้งและสาหร่ายคอมบุ วัฒนธรรมที่สืบทอดต่อกันมายาวนาน
  • คำว่า เมเดไต (めでたい) ที่แปลว่า “น่ายินดี” ในภาษาญี่ปุ่น พ้องเสียงกับคำว่า เมเดไต (芽出たい) ที่แปลว่า “ต้องการแตกหน่อ(ของยอดชา)” ดังนั้นการมอบชาเป็นของขวัญจึงมีความเป็นสิริมงคลที่คนญี่ปุ่นเชื่อว่า หมายถึง การแสดงความยินดีต่อผู้รับนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม บางตำรากล่าวว่ากชาเป็นเครื่องดื่มที่ญี่ปุ่นรับมาจากประเทศจีนพร้อมกับศาสนาพุทธ จึงให้ภาพพจน์ที่เกี่ยวข้องกับพิธีทางพุทธศาสนา ซี่งส่วนมากจะเป็นพิธีศพ จึงควรหลีกเลี่ยงที่จะให้ชาเป็นของขวัญ แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้ความเชื่อนั้นก็ได้หายไป และยังมีความนิยมส่งชินชะ (新茶) ซึ่งเป็นชาแรกของฤดูที่ทำจากยอดอ่อนที่เก็บได้ครั้งแรก ให้เป็นของขวัญตามฤดูกาลมากขึ้น
นอกจากโอกาสมงคลต่างๆ ที่เราส่งมอบชากันเป็นของขวัญแล้ว ยังมีวัฒนธรรมการดื่มชาอื่นๆที่คนญี่ปุ่นจะดื่มกันอีก เช่น

  • ซากุระยุ (桜湯) ที่ได้จากการชงน้ำร้อนกับกลีบดอกซากุระที่ปรุงรสด้วยเกลือ แทนชาเขียว นิยมดื่มในโอกาสมงคล คู่กับขนมฮิกาชิ เป็นขนมแห้ง ชิ้นเล็กมีลวดลายและสีสันงดงาม คล้ายขนมผิงบ้านเรา
  • ในฤดูร้อนนิยมดื่ม มุงิชะ (麦茶) ชาข้าวบาร์เลย์เย็นๆ คลายร้อน
  • ถ้าใช้รับรองแขก จะนิยมเสิร์ฟเกียวกุโระ ( 玉露 ) หรือ เซ็นชะ ( 煎茶 ) คู่กับขนมวากาชิ
  • แต่ในชีวิตประจำวันจะนิยมดื่มโฮจิฉะ ( ほうじ茶 ) บันชะ ( 番茶 ) เก็นไมฉะ ( 玄米茶 ) คู่กับขนมเซมเบ้

เลือกชาให้ถูกประเภท ถูกเทศกาล การส่งมอบของขวัญด้วยชา จะทำให้ผู้รับประทับใจมากยิ่งขึ้น


ที่มา

https://www.hibiki-an.com/index.php/cPath/26
https://www.ooigawachaen.co.jp/blog/2015/12/16/249
https://www.alfemminile.com/none/none-s4002149.html

By : Contrary To Popular Belief

เจาะลึกมาทำความรู้จัก ชาเก็นไมฉะ

ชาเก็นไมฉะที่ทุกคนรู้จักกันว่าเป็นชาข้าวคั่ว รู้มั้ยว่า มีอีกชื่อว่าเป็น Brown Rice Tea หรือ Popcorn Tea ซึ่งชาเก็นไมฉะ เป็นลูกผสมของชาข้าวคั่วและชาเขียวของญี่ปุ่น (Bancha หรือ Sencha ก็ได้) ในสัดส่วนผสม 1: 1 แม้จะเป็นชาลูกผสมแต่ประโยชน์ต่อสุขภาพที่น่าอัศจรรย์ของชาเก็นไมฉะก็มีมากมายไม่แพ้ชาเขียวเลยทีเดียว ซึ่งชาเก็นไมฉะนี้ มีกลิ่นหอมอันเป็นเอกลักษณ์จากการคั่วข้าวคั่วผสมกับใบชาเขียวทำให้ได้กลิ่นเหมือยป๊อปคอร์นนั่นเอง จึงเป็นที่มาของชื่อ Popcorn Tea ประกอบกับมีเป็นชาที่เป็นลูกผสม จึงมีปริมาณคาเฟอีนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับ ชา Bancha หรือ ชา Sencha ชาเก้นไมฉะ จึงกลายเป็นชาที่เหมาะสำหรับเด็กและผู้สูงอายุด้วย

genmaicha

หากพูดถึงชา Banchaถือเป็นชาเขียวอันดับที่มาจากการเก็บเกี่ยวครั้งที่สองหรือสาม จึงแทบจะไม่มีความขมและรสชาติที่สดชื่น แต่ก็กลายเป็นชาเขียวที่เหมาะสำหรับดื่มในชีวิตประจำวันและไม่มีคาเฟอีนมากไป จึงทำให้เด็กและผู้สูงอายุสามารถเพลิดเพลินได้ ส่วนชา Sencha เป็นชาเขียวของญี่ปุ่นทั่วไปที่ปลูกโดยใช้แสงแดดส่องถึงจนสุดหลังจากที่ดอกตูมใหม่ออกมา มีรสชาติความขมและกลิ่นหอมสดชื่นในปริมาณที่ได้สมดุลกัน เป็นที่ชื่นชอบของทุกเพศทุกวัยในญี่ปุ่น และยังครองตำแหน่งชามากกว่า 80% ในตลาดญี่ปุ่นด้วย และมีปริมาณคาเฟอีนเพียง 1 ใน 30 เมื่อเทียบกับกาแฟ 1 แก้ว

ทั้งชา Bancha และ ชา Sencha จึงเป็นส่วนผสมหลักของชาเก็นไมฉะที่ช่วยส่งเสริมให้ชาเก็นไมฉะให้ประโยชน์ต่อสุขภาพที่ยอดเยี่ยมไม่แพ้ชาตัวอื่นๆ ส่วนข้าวกล้องก็ขึ้นแท่นเป็นข้าวที่หอมที่สุดเมื่อนำมาคั่วเพื่อทำเป้นชาเก็นไมฉะนั่นเอง

สารอาหารหลักของชาเก็นไมฉะ ได้แก่ คาเทชิน ธีอะนิน วิตามินซี วิตามินบีรวม วิตามินอี ซึ่งมีส่วนช่วยในการต่อต้านริ้วรอย เพราะคาเทชิน มีส่วนช่วยป้องกันไม่ให้ไขมันหรือน้ำตาลส่วนเกินดูดซึมในร่างกายและเพิ่มจำนวนแบคทีเรียที่ดีในลำไส้ เป็นตัวแทนในการต่อต้านแบคทีเรียที่จะป้องกันไม่ให้เป็นหวัดอาหารเป็นพิษหรือมีกลิ่นปาก นอกจากนี้ในชาเก็นไมฉะมีวิตามินแร่ธาตุและเส้นใยอาหารที่ค่อนข้างสูง จึงช่วยป้องกันอาการท้องผูก และเพิ่มการเผาผลาญได้ดี และมีสารGamma-oryzanol ที่มีผลดีในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดอุดตันเบาหวานและโรคอ้วนอีกด้วย และวิตามินบีคอมเพล็กซ์ในเก็นไมฉะ สามารถช่วยให้หายจากความเหนื่อยล้า ความเครียดได้

genmaicha genmaicha

ส่วนช่วงเวลาที่ควรดื่มชาเก็นไมแะนั้น แน่นอนว่าสามารถดื่มได้ทุกเมื่อ แต่ถ้าต้องการลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วงเวลาที่ดีที่สุดคือ ก่อนมื้ออาหาร

หากดื่มในระหว่างมื้ออาหารก็มีผลดีเช่นกัน เพราะช่วยในการควบคุมคอเลสเตอรอลและการเผาผลาญไขมัน เนื่องจากชาเก็นไมฉะจะยิ่งอร่อยสดชื่นยิ่งขึ้นเมื่อทานกับอาหารที่มีความมันบางชนิด

นอกจากนั้น การดื่มแบบอุ่นๆในระหว่างมื้ออาหารหรือหลังอาหาร จะช่วยย่อยอาหารได้ดียิ่งขึ้น

genmaicha

การชงชาเก็นไมฉะด้วยน้ำต้ม จะทำให้ได้กลิ่นหอมและช่วยให้คาเทชินออกฤทธิ์ดีที่สุด นอกจากนี้ตอนต้มชาเก็นไมฉะ ควรใช้เวลาสั้นที่สุดในการชงเพื่อป้องกันไม่ให้สารแทนนินออกมาซึ่งจะทำให้มีรสขมเกินไป

genmaicha

หากใครที่หลงใหลชาเก็นไมฉะ Matchazuki ก็อยากแนะนำให้เอาไปลองทำขนมดู ก็ได้รสชาติและสัมผัสที่อร่อยไม่แพ้ชาประเภทอื่นๆ ที่สำคัญคือ การใช้เก็นไมฉะมาทำขนมยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก หากร้านไหนต้องการสร้างจุดต่าง อาจจะเริ่มจากการนำไปทำคุ้กกี้ หรือ Topping บน Chocolate Bar ดูก่อนก็น่าสนใจทีเดียว

ที่มา

https://www.ohhowcivilized.com/genmaicha-tea/?utm_source=pinterest&utm_medium=social&utm_campaign=social-pug

7 Health Benefits of Genmaicha and When to Drink

Matcha white chocolate with genmaicha

บทความจาก : Fuwafuwa

ข้อควรระวังในการดื่มชา ที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้

หลายคนคงทราบกันอยู่แล้วว่า การดื่มชามีประโยชน์มากมาย แต่น้อยคนนักจะรู้ว่าการดื่มชามากจนเกินไปจะมีผลเสียต่อร่างกายพอสมควรเลยทีเดียว

1. การดื่มน้ำชาไม่ว่าจะชาร้อนหรือชาแช่เย็น ไม่ควรแต่งรสด้วยนมสด นมข้นหรือนมผง เพราะโปรตีนในนมจะไปจับกับสารสำคัญในชา ทำลายประสิทธิภาพสารออกฤทธิ์ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย วิธีการดื่มชาเขียวให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพ จึงควรดื่มน้ำชาล้วนๆไม่ควรปรุงแต่ง นอกจากจะได้สารอาหารที่ครบถ้วนแล้วยังไม่อ้วนจากน้ำตาลที่ปรุงแต่งเข้าไปด้วย

2. ใบชายังมีองค์ประกอบของฟลูออไรด์ในปริมาณที่ค่อนข้างสูง และสูงกว่าปริมาณในน้ำประปา หากดื่มในปริมาณที่มากเกินไป จะเกิดการสะสม มีผลให้ไตวาย เกิดมะเร็งลำไส้ โรคกระดูกพรุน (Osteofluorosis) โรคข้อ และโรคอื่นๆที่เกี่ยวกับกระดูก และยังทำให้ฟันเกิดคราบเหลืองได้ ยิ้มฟันขาวๆจะหายไป แต่ผู้ที่ดื่มไม่มาก ก็คงไม่ต้องกังวล



3. หลีกเลี่ยงชาที่มีส่วนผสมของคอมเฟรย์ (comfrey) ซึ่งมีสารไพโรลิซิดีน อัลคาลอยด์ อันอาจเป็นอันตรายต่อตับ ในบางประเทษดอกคอมเฟรย์เป็นเรื่องต้องห้ามเลย

4. สารออกซาเรท (oxalate) ในชาที่มีอยู่ในปริมาณน้อย แต่หากผู้ที่ชื่นชอบการดื่มชามากจนเกินไปและดื่มบ่อยๆเป็นประจำ จะสะสมสารออกซาเรทในร่างกายได้ อาจส่งผลต่อการทำลายไตได้

5. ใบชามีคาเฟอีนในปริมาณสูง อาจสูงกว่าในเมล็ดกาแฟด้วยซ้ำไป เพียงแต่การดื่มน้ำชา สารแทนนินจากน้ำชาจะช่วยลดการดูดซึมของคาแฟอีนเข้าสู่ร่างกาย ทำให้ฤทธิ์การกระตุ้นหัวใจและสมองน้อยกว่ากาแฟมากคาเฟอีน แต่ก็ส่งผลต่อการนอนเช่นเดียวกับกาแฟ ดังนั้นไม่ควรดื่มภายในสามชั่วโมงก่อนเข้านอน

6. สารแทนนินที่มีอยู่ในชาเขียวซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการท้องผูก เพราะสารตัวนี้ทำหน้าที่ยับยั้งการดูดซึมสารอาหารสำคัญอีกหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นโปรตีน เหล็กและโฟลิก เพราะฉะนั้น เพื่อป้องกันปัญหาท้องผูกตามมา แนะนำให้คุณหันมาดื่มชาเขียวแต่เพียงในปริมาณพอดี โดยดื่มวันละไม่ควรเกินกว่า 5 แก้ว ร่วมกับการดื่มน้ำให้มากๆ และกินอาหารที่มีกากใยสูง ก็จะช่วยปรับระบบขับถ่ายให้ทำงานคล่องตัวขึ้นได้แล้ว ดังนั้นจึงมักจะมีคำแนะนำไม่ให้เด็กดื่มน้ำชา ไม่ว่าจะเป็นชาเขียวแช่เย็นหรือชาร้อน เพราะจะทำให้ร่างกายขาดสารอาหารได้

7. สารคาเทคชินส์ (Catechins) ที่อยู่ในชา จะถูกความร้อนทำลายไปเกือบหมด คงเหลือแต่ความหอมและรสชาติ ถ้าต้องการดื่มชาร้อนๆ ควรดื่มน้ำชาที่เข้มข้น เช่นเดียวกับคนจีน ที่นิยมชงชาจีนรสเข้มข้นในถ้วยชาใบจิ๋วคล้ายกับการดื่มกาแฟเอ็กซ์เพรซโซ่ ความเข้มข้นของใบชาจะทำให้มีปริมาณสารคาเทคชินส์ที่เข้มข้น และแม้ว่าสารเหล่านี้จะสลายตัวไปบางส่วนเมื่อโดนความร้อนจากน้ำร้อน แต่จะยังคงมีบางส่วนที่หลงเหลืออยู่ ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพได้บ้าง


ไม่ว่าจะเป็นชาเขียวหรือชาชนิดใดก็ตาม ควรดื่มในปริมาณ และเวลาที่เหมาะสมเพื่อบำรุงร่างกายจะดีกว่าการดื่มที่มากเกินไป ^^

ที่มา

https://bit.ly/3a3MFi2

https://www.ful-filled.com/2018/01/23/all-about-matcha/

https://health.mthai.com/howto/health-care/12777.html

https://mommypotamus.com/comfrey/

By : Contrary To Popular Belief

Share on facebook
Share on twitter

Related Blogs

เปิดกรุประวัติศาสตร์ ชาเขียวในไทย

การดื่มชาได้เริ่มขึ้นในประเทศจีน คาดว่าไม่น้อยกว่า 2,167 ปีก่อนคริสตกาล ตำนานการเริ่มต้นของการดื่มชามีหลายตำนาน บ้างก็กล่าวว่าจักรพรรดิเสินหนิงของจีน (Shen Nung) ค้นพบวิธีชงชาโดยบังเอิญ เมื่อพระองค์ทรงต้มน้ำดื่มใกล้ๆ กับต้นชา ขณะรอคอยให้น้ำเดือด กิ่งชาได้หล่นลงในหม้อชา สักพักหนึ่งกลิ่นหอมกรุ่นก็โชยออกมา เมื่อพระองค์เอากิ่งชาออกแล้วทรงดื่ม ก็พบว่า มันทำให้สดชื่น การดื่มชาจึงแพร่หลายมากขึ้นในเวลาต่อมา นอกจากทรงค้นพบสรรพคุณของชาแล้ว พระองค์ยังทรงค้นคว้าและทดสอบสมุนไพรชนิดต่างๆ กว่า 200 ชนิด จนได้มีการเผยแพร่ไปยังประเทศต่างๆ ทั้งญี่ปุ่น อินเดีย รวมถึงที่ไทยเอง

matcha history matcha history

ในสมัยสุโขทัยช่วงที่มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับจีน พบว่าได้มีการดื่มชากัน แต่ก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่านำเข้ามาอย่างไร และเมื่อใด แต่จากจดหมายของท่านลาลูแบร์ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้กล่าวไว้ว่า คนไทยได้รู้จักการดื่มน้ำชาแล้ว โดยนิยมชงชาเพื่อรับแขก การดื่มชาของคนไทยสมัยนั้นดื่มแบบชาจีนไม่ใส่น้ำตาล แต่บางตำราก็บอกว่าคนสมัยนั้นจะอมน้ำตาลกรวดใส่ปากก่อน แล้วจิบน้ำชาร้อนๆตาม ระหว่างนั้นเจ้าบ้านก็จะรินน้ำชาใส่ถ้วยให้เรื่อยๆ ถ้าแขกดื่มพอแล้วก็ให้คว่ำถ้วยชาลงเป็นการส่งสัญญาณว่าน้ำตาลในปากละลายหมดเกลี้ยง แต่น้ำชาร้อนก็ไม่ได้เป็นเครื่องดื่มที่นิยมกันทุกบ้านทุกครัวเรือน เพราะคนไทยชอบกินน้ำเย็นดับร้อนอย่างน้ำฝนมากกว่า น้ำชาร้อนจึงจัดเสิร์ฟเฉพาะในจวนข้าราชการหรือถวายพระเท่านั้น แต่ก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัดนักว่าเป็นชาสายพันธุ์ไหน แล้วมีปลูกที่ไทยหรือเป็นเพียงชาที่ทูตใช้ชงดื่มกันในราชสำนัก

หลักฐานที่เห็นได้ชัดอีกประการ คือ ชาที่ปลูกในเมืองไทย เริ่มเมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประภาสยุโรปเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกล่าอาณานิคมจากชาวยุโรป เมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านได้เสด็จประพาสยุโรปโดยเฉพาะที่อังกฤษ ที่นั่นนิยมดื่มชาและ กาแฟ ในสมัยนั้นประเทศอินเดียเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษตั้งแต่สมัย สงครามโลกครั้งที่ 1 ได้เอาสินค้าเกษตรจากประเทศอินเดียมากมาย ชาอินเดียที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ ชาที่รัฐอัสสัม อยู่ที่ศรีลังกา เรียกว่า “ชาอัสสัม” แต่พอมาอยู่ที่ประเทศอังกฤษ ได้มีการเปลี่ยนชื่อจากชาอัสสัมมาเป็นชาซีลอน โดยระหว่างที่รัชกาลที่ 5 เจริญสัมพันธไมตรีอยู่นั้น ก็ได้นำต้นกล้าชาซีลอนจากอังกฤษกลับมาที่เมืองไทยด้วย ชาชนิดนี้จะชอบภูมิศาสตร์ที่เป็นภูเขาสูง และอากาศหนาวเย็น จึงได้ปลูกไว้ที่ดอยสะเก็ด สมัยนั้นเทือกเขาที่ดอยสะเก็ดจะมีภูเขาที่เชื่อมต่อเป็นแนวยาวถึงดอยวาวี ดอยแม่สลองและดอยตุง ปัจจุบันนี้ที่ดอยสะเก็ดและดอยวาวีก็ยังมีต้นชาอัสสัมอยู่ และได้รับการขนานนามใหม่ในการท่องเที่ยวว่า “ต้นชาร้อยปี”

เมื่อเริ่มการเพาะปลูกใบชาอย่างจริงจังทางภาคเหนือของประเทศ ในช่วงที่ปลูกพืชผักชนิดอื่นแทนฝิ่น จึงเริ่มมีการคิดค้นสูตรชาไทย ซึ่งทำจากชาอัสสัม ให้มีรสเข้มข้นถูกปากคนไทยมากขึ้นจนเป็นชาไทย เครื่องดื่มขึ้นชื่อของไทยทุกวันนี้

matcha history

สำหรับการปลูกชาในประเทศไทยนั้น แหล่งกำเนิดเดิมจะอยู่ตามภูเขาทางภาคเหนือของประเทศ โดยจะกระจายอยู่ในหลายจังหวัดแถบภาคเหนือ ที่สำคัญได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน ลำปางและตาก จากข้อมูลของสถาบันชาและกาแฟแห่งมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้มีบันทึกว่า การพัฒนาอุตสาหกรรมชาของประเทศไทย เริ่มขึ้นอย่างจริงจังในปี พ.ศ. 2480 โดย นายประสิทธิ์ และนายประธาน พุ่มชูศรี สองพี่น้องได้ตั้งบริษัท ใบชาตราภูเขา จำกัด และสร้างโรงงานชาขนาดเล็กขึ้นที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โดยรับซื้อใบชาสดจากชาวบ้านที่ทำเมี่ยงอยู่แล้ว แต่ปรากฏว่าพบปัญหาอุปสรรคหลายประการ เช่น ใบชาสดมีคุณภาพต่ำ ปริมาณไม่เพียงพอ ชาวบ้านขาดความรู้ความชำนาญในการเก็บเกี่ยวยอดชาและการตัดแต่งกิ่งชา จึงได้นำผู้เชี่ยวชาญทางด้านชาชาวฮกเกี้ยนมาจากประเทศจีน เพื่อมาถ่ายทอดความรู้ให้กับคนไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2482 สองพี่น้องตระกูลพุ่มชูศรี ได้แก้ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ โดยเริ่มปลูกสวนชาเป็นของตนเอง ใช้เมล็ดพันธุ์ชาพื้นเมืองมาเพาะ ที่อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ในเนื้อที่ประมาณ 100 ไร่และต่อมาได้ขยายพื้นที่ปลูกมาที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ในช่วงนั้นเองภาครัฐได้มีการนำชาพันธุ์ดีมาจากประเทศอินเดีย ไต้หวัน และญี่ปุ่นมาทดลองปลูก เพื่อทำการค้นคว้าและวิจัยต่อไป

ในปี พ.ศ. 2508 ได้ส่งเสริมการผลิตมากขึ้น โดยขอสัมปทานทำสวนชาจากกรมป่าไม้จำนวน 2,000 ไร่ ที่บ้านบางห้วยตาก ตำบลอินทขิน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ชาที่ผลิตได้ส่วนใหญ่จะเป็นชาฝรั่ง ต่อมาเอกชนเริ่มให้ความสนใจอุตสาหกรรมการผลิตชามากขึ้นโดยในปี พ.ศ. 2530 บริษัทชาระมิงค์ได้ขยายสัมปทานสวนชา ให้แก่บริษัทชาสยาม จากนั้นชาสยามได้เริ่มส่งเสริมให้เกษตรกรที่ปลูกไร่ในบริเวณใกล้เคียงปลูกสวนชาแบบใหม่ และรับซื้อใบชาสด จากเกษตรกรนำมาผลิตชาฝรั่งนามชาลิปตัน จนกระทั่งปัจจุบันนี้

matcha history

ส่วนชาเขียวนั้นแม้ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดว่าเข้ามาในไทยช่วงสมัยไหน แต่มีารคาดการณ์ว่าเข้ามาในช่วงที่มีการทดลองปลูกที่ภาคเหนือ และเริ่มแพร่หลายชัดขึ้นในช่วงที่ไทยรับวัฒนธรรมญี่ปุ่นเข้ามา และเริ่มปลูกอยู่ทางภาคเหนือ ซึ่งก่อนที่จะมีการรับวัฒนธรรมการดื่มชาแบบญี่ปุ่น คือแบบเป็นผงมัทฉะมาตีกับฉะเซนนั้น ชาเขียวในไทยมี 2 ประเภท

  1. ชาเขียวแบบญี่ปุ่น ชาเขียวแบบญี่ปุ่นไม่ต้องคั่วใบชา ชาเขียวมีสารอาหารพวกโปรตีนน้ำตาลเล็กน้อย และมีวิตามินอีสูง
  2. ชาเขียวแบบจีน ชาเขียวแบบจีนจะมีการคั่วด้วยกะทะร้อนนั่นเอง

หากถอยกลับไปชาเขียวญี่ปุ่นก็ได้รับอิทธิพลมาจากจีนเช่นกันราวต้นสมัยเฮอัน โดยเผยแพร่ผ่านทางนักบวชญี่ปุ่นที่ได้เดินทางไปเป็นทูตเรียนรู้เรื่องต่างๆจากประเทศจีนรวมทั้งการศึกษาตัวยาสมุนไพรจากจีนอีกด้วย เมื่อพระ ได้ชงชาใส่ถ้วยนำมาถวายองค์จักรพรรดิได้ดื่มชาก็เกิดความประทับใจในรสชาติ จึงสั่งให้นำเมล็ดชาไปปลูกที่สวนสมุนไพรภายในบริเวณราชวัง ชาจึงได้แพร่หลายไปในแถบภูมิภาคคิงคิ (เกียวโต) แต่ความนิยมยังคงมีอยู่แต่ในเฉพาะกลุ่มชนชั้นสูงเท่านั้น

ต่อมาในช่วงตอนต้นสมัยคามาคุระ นักบวช Eisai ในพุทธศาสนาเซน ได้นำเมล็ดชามาจากจีนเป็นจำนวนมากพร้อมกับกรรมวิธีการผลิตชากลับมาด้วย นั่นก็คือการดื่มชาในสไตล์ Matcha นั่นเอง ได้มีการส่งเสริมการเพาะปลูกชาเพื่อใช้เป็นสมุนไพรให้แพร่หลายมากขึ้น และมีประโยคหนึ่งในหนังสือที่ท่านได้เขียนไว้ว่า “ชาเป็นพื้นฐานทางจิตใจและเป็นเครื่องมือแพทย์ที่ดีที่สุด ทำให้ชีวิตถูกเติมเต็มและมีความสมบูรณ์มากขึ้น”จากนั้นก็เริ่มมีการค้นคว้าสรรพคุณของชามากขึ้นอีกด้วย

ในสมัยมุโระมาจิ เริ่มมีพิธีชงชาในแบบฉบับดั้งเดิมของญี่ปุ่นแล้ว เริ่มมีการลงรายละเอียดในภาชนะที่ใช้ในพิธีชงชา รวมไปถึงการเสิร์ฟชาเขียวในร้านอาหารอีกด้วย การดื่มชายังเป็นที่นิยมในงานพบปะสังสรรค์ของชนชั้นนักรบมากขึ้น แต่เป็นการดื่มชาเพื่อเล่นเกมทายปัญหาต่างๆ เพื่อชิงรางวัลเป็นเหล้าสาเก และมีการร้องเล่นเต้นรำไปด้วย ต่อมานักบวชเซน Shuko Murata ไม่เห็นด้วยกับการดื่มชาเพื่อความสนุกสนานเช่นนั้น เขาคิดว่าโลกแห่งความเรียบง่ายของเซนนั้นมีแนวคิดแตกต่างออกไปในการดื่มชา การดื่มชาด้วยความเรียบง่ายและมีสมาธิในแบบของเซนจะช่วยให้จิตใจสามารถพัฒนา ขึ้นได้อย่างสมบูรณ์ นักบวชจึงออกแบบห้องพิธีชงชาขนาดเล็ก เพื่อใช้สนับสนุนการชงชาตามอุดมคติของนักบวช Eisai และในขณะที่ชงชานั้นก็ได้ผสมผสานจิตวิญญาณของพุทธศาสนานิกายเซนไปด้วย

ต่อมาในสมัยยุคเมจิ การผลิตชามีมากขึ้น มีหนังสือเทคนิคการผลิตต่างๆ ออกมาอย่างแพร่หลาย เริ่มมีเครื่องจักรเข้ามาช่วยในกระบวนการผลิต และเริ่มมีการส่งออกชาไปยังต่างประเทศแล้ว และปริมาณการส่งออกยังมากเป็นอันดับสองรองจากประเทศจีนอีกด้วย แม้การส่งออกจะกระท่อนกระแท่นไปบ้างในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เพราะตอนนั้นชาดำเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นในต่างประเทศ แต่ไม่นานในศตวรรษที่ 20 ชาเขียวก็ได้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของผู้คนทั้งประเทศญี่ปุ่นและ แพร่หลายออกมาทั่วโลกอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันนั่นเอง

matcha history

ที่มา

http://photography.nationalgeographic.com

http://web2.mfu.ac.th/other/teainstitute/?p=291&lang=th

บทความจาก : Fuwafuwa

ตามเทรนด์ชีสเค้กสไตล์คนเลิฟมัทฉะ

ช่วงนี้หันไปทางไหนก็จะเจอเมนูชีสเเค้กแทบจะทุกร้าน ไม่ว่าจะเป็น Baked Cheesecakeชีสเค้กแบบอบ เพื่อทำให้น้ำจากเนื้อเค้กระเหยออกบางส่วน เค้กมีรสชาติเข้มข้นและสีออกน้ำตาลไหม้ ส่วนหน้าเค้กจะยุบลงพอสมควร หรือจะเป็น นิวยอร์กชีสเค้กชีสเค้กที่อบพร้อมกับด้วยน้ำร้อน  เพื่อทำให้เนื้อเค้กยังคงความชุ่มฉ่ำหนานุ่ม และมีรสเปรี้ยวจากซาวน์ครีมที่โดนเด่น  ส่วนหน้าเค้กมีสีน้ำตาลอ่อนกำลังสวย หรือชชีสเค้กอีกแบบที่เนื้อฟูเบา แถมลายได้ในปาก ชีสเค้กสไตล์นี้ เรียกว่า ซูเฟลชีสเค้กชีสเค้กที่มีส่วนผสมของเมอแรงเนื้อฟูเบา  เมื่อนำไปอบพร้อมกับถ้วยน้ำร้อน  จะได้เนื้อเค้กฟูสวย  และมีสีเหลืองอ่อนคล้ายไข่ไก่  ดูน่ารับประทาน ไม่ว่าจะเป็นชีสเค้กแบบไหน

Matcha Basque Cheesecake

Matcha Basque Cheesecake ( ใช้แม่พิมพ์ 15 cm. ) ชีสเค้กหน้าไหม้ที่นิยมมากที่สุดในช่วงนี้ แต่น้อยคนมากๆที่จะทำชีสเค้กหน้าไหม้เป็นรสชาเขียว รอบนี้เลยเอาสูตรชีสเค้กชาเขียวหน้าไหม้มาให้คนรักขนมได้เปิดเตาลองทำกันดู

วัตถุดิบ

  1. ครีมชีส 200กรัม
  2. น้ำตาลทรายขาวหรือน้ำตาลอ้อย 70 กรัม
  3. ไข่แดง 1 ฟอง
  4. ไข่ทั้งลูก 2 ฟอง
  5. ครีมสด 115 มล.
  6. แป้งเค้ก 5 กรัม
  7. ผงชาเขียว 4 ช้อนชา

วิธีทำ

1. นำครีมชีสกับน้ำตาลมาผสมกัน คลุกจนเป็นเนื้อเดียวกัน

2. ใส่เฉพาะไข่แดง 1 ฟองลงไปแล้วคนให้เข้ากัน

3. ตอกไข่อีก 2 ใบ ตีให้เข้ากันก่อน จากนั้นค่อยๆ เทใส่ลงไปในข้อ 2 และคนต่อให้เข้ากัน

4. ใส่ครีมสดคนไปสักพัก ใส่แป้งเค้ก ผงชาเขียวแล้วคนให้เข้ากัน

5. นำกระดาษไขมาปูแม่พิมพ์ หากมีเนยให้นำเนยหรือน้ำมันพืชมาทาระหว่างแม่พิมพ์กับกระดาษไข ตอนเอาออกจะได้ไม่ติด และถ้าอยากให้เนื้อเนียนให้กรองด้วยตะแกรงค่ะ

6. ใส่ในเตาที่ มีการ pre-heated 220 องศา 20-25 นาที โดยใส่ 220 องศา 20-25 นาที หรือเกือบ 1 ชม. จนกว่าหน้าจะไหม้

7. หลังนำออกมาแล้วรอจนเย็น ใส่ตู้เย็นข้ามคืน จะทำให้อร่อยมากยิ่งขึ้น

8. สามารถตกแต่งด้วยการโรยไอซิ่งแล้วท้อปปิ้งด้วยผลไม้สดหลากสี

No Bake Chocolate Matcha Cheesecake No Bake Chocolate Matcha Cheesecake

No Bake Chocolate Matcha Cheesecake( หลังทำเสร็จแล้วแนะนำให้นำขนมเข้าตู้เย็นไว้ตลอดเวลา ) เมนูนี้สามารตกแต่งจัดเสิร์ฟได้หลายแบบตามความชอบและสไตล์ของที่ร้าน  เป็นชีสเค้กแบบไม่อบ ที่ง่ายและทำให้คนไม่มีเตาอบที่บ้านสามารถทานขนมอร่อยๆได้ด้วยฝีมือตัวเอง

1. ส่วนผสมฐานขนม

ข้าวโอ้ต 100 กรัม

อินทผาลัม ½ ถ้วย

ผงโกโก้ 40 กรัม

กลิ่นวนิลา ½ ช้อนชา

เกลือ เล็กน้อย

น้ำมันมะพร้าว ½ ถ้วย

**ผสมทุกอย่างเข้าด้วยกันแล้วกรุลงพิมพ์

—————

2. ส่วนด้านบน

เม็ดมะม่วงหิพานต์ และ แมคคาดีเมียอย่างละ 1 ถ้วย

อะกาเว่ไซรัป ⅔  ถ้วย

นม 1/4 ถ้วย

ผงชาเขียว 1  ช้อนชา

น้ำมะนาว 1 ช้อนโต๊ะ

เกลือ เล็กน้อย

น้ำมันมะพร้าว ¼  ถ้วย

**ผสมทุกอย่างเข้าด้วยกันด้วยเครื่องปั่นอาหารแล้วเททับฐานขนม เข้าตู้เย็น 2-3 ชั่วโมง หรือจนกว่าจะเซ็ตตัว ตกแต่งหน้าขนมด้วยผลไม้ตามชอบ

หากใครชอบสไตล์เปรี้ยวสดชื่นสามารถเพิ่มปริมาณน้ำมะนาวลงไปได้ หรือดัดแปลงให้ทำด้วยพิมพ์ที่ขนาดเล็กลง เพื่อให้ไม่ซ้ำกับร้านอื่นก็น่ารกไปอีกแบบ

No Bake Chocolate Matcha Cheesecake

หรือหากจะเพิ่มความครีเอทให้กับชีสเค้กไปอีกแบบสามารถทำได้ด้วยการเพิ่มชั้น layer ของขนมที่มีสีและรสชาติที่แตกต่างตัดกัน อย่างราสเบอรี่ ด้วยการใช้ราสเบอรี่แช่แข็ง  100 กรัม เม็ดมะม่วงหิมพานต์ 120 กรัม เมเปิ้ลไซรัป 60 ml. นมอัลมอนด์ 2 ช้อนโต๊ะ น้ำเลม่อน 2 ช้อนชา เนยมะพร้าว 100 กรัม ปั่นรวมกัน เทลงไปก่อนเป็น 1 layer แล้วค่อยนำส่วน

No Bake Chocolate Matcha Cheesecake

ส่วนใครที่เป็นคนแพ้อาหารกลุ่ม นม ไข่ เนย หรือทานวีแกน หรืออยากทานขนมี่ไม่อ้วนจนเกินไป Vegan matcha cheesecakeเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คนเลิฟมัทฉะจะต้องติดใจ

Vegan matcha cheesecake Vegan matcha cheesecake

วัตถุดิบส่วนฐานที่เป็นแป้งสีน้ำตาล

ข้าวโอ้ต 1 ถ้วย

มะพร้าวคั่วชิ้นเล็ก ¼ ถ้วย

แป้งอัลมอนด์ ¾ ถ้วย

ผงซินนาม่อน ½ ช้อนชา

เกลือ ¼ ช้อนชา

น้ำมันมะพร้าว ¼ ถ้วย

อะกาเว่ไซรัป 3 ช้อนโต๊ะ

** นำทั้งหมดผัดในกระทะไฟกลางจนเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วนำไปปั่นรวมกันให้เป็นนื้อเดียว แล้วตัดกระดาษไขรองอบเป็นวงกลมวางไปในพิมพ์ กรุส่วนลงพิมพ์ขนาด เส้นผ่านศก 7 นิ้ว ให้หน้าประมาณ ¼ นิ้ว อบไฟ 170 องศา 10 นาที หรือจนกระทั่งเป็นสีเหลืองทอง แล้วนำออกมาพักให้เย็น

ส่วนผสมที่เป็นไส้หน้าขนม

เม็ดมะม่วงหิมพานต์ 1 ½ ถ้วย

นมมะพร้าว ½ ถ้วย

อะกาเว่ไซรัป ⅓ ถ้วย

โยเกิร์ตมะพร้าว ¼ ถ้วย

น้ำมะนาว 1 ช้อนชา

กลินวนืลา 1 ช้อนชาเกลือ ¼ ช้อนชา

ผงชาเขียว 4 ช้อนชา

**ปั่นส่วนผสมทั้งหมดเข้าด้วยกัน หากใครที่ชอบชาเขียวเข้มข้น สามารถเพิ่มปริมาณผงชาเขียวได้อีก 1 ช้อนชา เทส่วนส่วนที่ปั้นลงในฐานชีสเค้กที่ทำเตรียมไว้ แล้วเข้าช่องฟรีซประมาณ 1-2 ชั่วโมงให้ขนมเซ็ตตัว แนะนำให้นำออกมาตั้งในอุณหภูมิห้อง 10-15 นาทีก่อนตัดเสิร์ฟ สามารถตกแต่งท้อปปิ้งด้านบนด้วยดอกไม้ ผลไม้ตามชอบได้

matcha cheesecake matcha cheesecake

ชีสเค้กยังสามารถดัดแปลงได้อีกหลายแบบ เพียงแค่เปลี่ยนพิมพ์จากกลมๆที่ทุกร้านชอบใช้เป็นพิมพ์สี่เหลี่ยมบ้าง หรือใช้ผลไม้ตัวอื่นนอกจาสตอเบอรี่ที่หลายร้านนิยมใช้กันมาทานคู่กัน และยังสามารถดัดแปลงเป็นชีสเค้กชาโฮจิฉะได้อีก คนเลิฟมัทฉะทั้งที ต้องลองเข้าครัวปรับสูตรชีสเค้กปกติที่เคยทำ ให้ใส่ผงมัทฉะลงไปตามเทรนด์ช่วงนี้กัน!!

ที่มา

https://www.nathaliesader.com/blog/2018/09/07/raw-matcha-chocolate-cheesecake

https://www.marumura.com/green-tea-basque-burnt-cheesecake/

https://www.twospoons.ca/vegan-matcha-cheesecake/

บทความจาก : Fuwafuwa

ขนาดของใบชามีผลต่อคุณภาพของชาหรือไม่?

ใบชาที่เราเอามาชงดื่มกันทุกวันนี้ จริงๆแล้วมีหลายเกรดมากๆ ขึ้นอยู่กับกรรมวิธีในการผลิตและเก็บเกี่ยวใบชาที่แตกต่างกัน และมีหลากหลายชนิดให้เราได้เลือก ดังนั้นเพื่อเป็นการควบคุมคุณภาพของชา จึงมีการแบ่งเกรด ของใบชา โดยพิจารณาจากคุณภาพของใบชาที่ผลิตออกมาจากโรงงานหรือไร่ชาในแต่ละที่ การแบ่งเกรด แบ่งเป็น 3 เกรด ดังนี้

ขนาดใบชา ขนาดใบชา

  1. เกรดใบชาเต็มใบ (Whole Tea leaf)โดยทั่วไปชาเต็มใบถือว่าเป็นชาเกรดดี แบ่งได้ 4 เกรดย่อย คือ ใบอ่อน คือ ยอดใบอ่อนชั้นบนสุดของชาเต็มใบ ถือว่าเป็นชาที่ดีที่สุดใบชาคู่แรก  เป็นเกรดรองลงมา ขนาดของใบใหญ่ขึ้นมาหน่อยPekoeชาเกรดนี้ ใบจะมีลักษณะหนาและบิดเกลียว Pure Souchongมีลักษณะใบใหญ่ ค่อนข้างเหนียวและหยาบ เวลาผลิตเครื่องจักรจะปั้นใบชาเป็นก้อนกลมๆ เวลาชงก้อนชานี้จะขยายตัวออกให้เห็นลักษณะใบอย่างชัดเจน
  1. เกรดใบชาร่วง (Broken Tea Leaf) เป็นใบชาที่ไม่ผ่านการคัดเกรดตาม 4 ขั้นตอนแรก ผู้ผลิตก็จะนำใบชาที่เหลือมาผ่านกรรมวิธี หมัก คั่ว ตามกรรมวิธีของแต่ละโรงงาน เป็นชาที่เหลือจากการคัดเกรด โดยการนำเศษที่เหลือมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำไปปรุงแต่งเพื่อผลิตขั้นตอนต่อไป โดยคุณสมบัติของชาผง คือ เวลาชงด้วยน้ำร้อนจะขับสีออกเร็วมาก จึงเป็นที่นิยมของผู้ดื่มชา กลิ่น สี และรสชาติขึ้นอยู่กับผู้ผลิต ราคา จึงเหมาะสมสำหรับคนทั่วไป

Fine Leaf Teas

  1. เกรดใบชาผง (Fine Leaf Teas) เป็นชาที่เหลือจากการคัดเกรด โดยการนำเศษที่เหลือมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำไปปรุงแต่งเพื่อผลิตขั้นตอนต่อไป โดยคุณสมบัติของชาผง คือ เวลาชงด้วยน้ำร้อนจะขับสีออกเร็วมาก จึงเป็นที่นิยมของผู้ดื่ม กลิ่น สี และรสชาติขึ้นอยู่กับผู้ผลิต ราคา ก็เหมาะสมสำหรับคนทั่วไป

จะเห็นได้ว่าขนาดของใบชา คุณภาพทางรสชาติของใบชาไม่ได้ขึ้นกับขนาดของใบชาอย่างเดียว แต่ขึ่นอยู่กับลักษณะของใบชาว่าเป็นส่วนยอดใบชา หรือเป็นส่วนไหนของต้นชส ใบชาที่ใหญ่ไม่ได้หมายความว่าจะมีรสชาติที่ดีกว่า หรือแม้แต่ยอดชา ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นสุดยอดใบชาคุณภาพดี หากผ่านมือผู้ผลิตชาที่ไม่ดี  รสชาติชาก็อาจจะดร็อปลงได้เช่นกัน เพราะจริงๆแล้วขนาดของใบ ไม่มีการแยกคุณภาพหรือสารอาหารใดๆ แต่จะเกิดจากใบชาที่ขนาดใหญ่จะทำให้เกิดชาที่มีความเข้มข้นน้อยลงซึ่งสาเหตุมาจากพื้นที่ผิวสัมผัสที่มากกว่าเมื่อสัมผัสกับน้ำและทำให้ประสิทธิภาพในการสกัดลดลงนั่นเอง

การเก็บเกี่ยวชา

จุดสำคัญจะอยู่ที่การเก็บเกี่ยวชาเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะการผลิตชาให้ได้คุณภาพดีนั้น ต้องเริ่มจากใบชาสดที่มีคุณภาพ ก่อนซึ่งก็คือ ใบชาที่เก็บจากยอดชาที่ประกอบด้วย 1 ยอด กับ 2 ใบ การเก็บชาจะเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม จนถึงเดือนพฤศจิกายน โดยเฉลี่ยจะเก็บยอดชา 10 วันต่อครั้ง ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยวยอดชาจะอยู่ประมาณ 5.00-14.00 น. การเก็บยอดชาจะต้องไม่อัดแน่นในตะกร้า หรือกระสอบเพราะจะทำให้ยอดชาชํ้าและคุณภาพใบชาเสียได้ เนื่องจากความร้อนที่เกิดขึ้นจากการหายใจของใบชา หลังจาเก็บเกี่ยวแล้ว ควรรีบนำ ส่งโรงงานผลิตภายใน 3-4 ชั่วโมง

วิธีการเก็บรักษาใบชา ใบชาจะต้องเก็บรักษาเป็นอย่างดี เพื่อจะคงไว้ซึ่งกลิ่น สีและรสชาติ ภาชนะที่จะใช้บรรจุใบชาจะต้องแห้งและปราศจากกลิ่น อากาศเข้าไม่ได้ สิ่งสำคัญที่มีผลกระทบต่อคุณภาพใบชา คือ ความชื้น อุณหภูมิ และกลิ่น หากกระบวนการผลิต เก็บรักษาที่ไม่ได้มาตรฐาน ขนาดของใบชาจะเล็กจะใหญ่ หรือเก็บจากยอดชาหรือไม่ ก็ทำให้ชาเสื่อมคุณภาพอยู่ดี

วิธีการเก็บรักษาใบชา

ที่มา

https://www.pinterest.com/pin/491596115580846654/

http://www.taotealeaf.com/da-hong-pao-oolong-tea-premium/

บทความ : Fuwafuwa

ชา กับ กาแฟ เครื่องดื่มที่เป็นที่นิยม

ถ้าพูดถึงเครื่องดื่มที่เป็นที่นิยมทั่วโลก คงหนีไม่พ้น ชาและกาแฟเห็นได้จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่ให้ความนิยมเครื่องดื่ม 2 ชนิดนี้มากขึ้น ไม่ว่าจะไปที่ไหนๆ ก็มีร้านชา หรือกาแฟ เต็มไปหมด แน่นอนว่า ทั้งชาและกาแฟมีคาเฟอีนเหมือนกันทั้งคู่ ซึ่งหลังจากเราดื่มชาหรือกาแฟเข้าไปแล้วจะรู้สึกตื่นตัวด้วยฤทธิ์ของคาเฟอีน และรู้สึกว่ากระหายน้ำ เพราะร่างกายจะพยายามกำจัดคาเฟอีนที่สูงออกไปนั่นเอง หากเปรียบเทียบปริมาณคาเฟอีนระหว่างใน 1 แก้ว ระหว่างชากับกาแฟ กาแฟจะมีปริมาณคาเฟอีนอยู่ที่ 90-170 มิลลิกรัม ส่วนชาจะมีคาเฟอีนอยู่ที่ 25-70 มิลลิกรัม จะเห็นได้ว่าปริมาณในชาพบได้น้อยกว่ามาก ดังนั้นคนที่มองหาตัวเลือกเพื่อสุขภาพ ก็อาจจะเลือกชาเป็นตัวเลือกแรก

ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่าชา หรือกาแฟอันไหนดีกว่ากัน แต่ตามหลักความเป็นจริงแล้ว ทั้ง 2 ชนิดมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะการดื่มของแต่ละคนด้วย หากดื่มในสัดส่วนที่พอดี จะให้ประโยชน์ต่อร่างกาย แต่หากดื่มในปริมาณมากๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ เช่น มะเร็งหลอดอาหารที่มาจากการดื่มชา โรคกระดูกพรุนจากการดื่มกาแฟ เป็นต้น

coffee

อย่างไรก็ตาม ชาและกาแฟก็มีประโยชน์ต่อร่างกายในด้านอื่นๆเช่นกัน เช่น เมื่อคุณมีอาการหนาว สิ่งที่ควรดื่มคือกาแฟเพราะหลังจากดื่มเพียงแค่ 10 นาที คาเฟอีนในกาแฟจะทำให้มีการเต้นของหัวใจและความดันเลือดที่ดีขึ้น และสิ่งที่ผสมลงไปในกาแฟ เช่น พวกนม น้ำตาล ยังกลายเป็นพลังงานซึ่งทำให้ร่างกายอุ่นขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้ ประโยชน์ของการดื่มกาแฟ ยังช่วยในเรื่องของการลดความเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์ ลดอาการปวดหัวไมเกรนได้ ลดความเสี่ยงเป็นโรคเกาต์ในผู้ชายได้ และหากดื่มในปริมาณที่เหมาะสม สามารถลดความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้ด้วย นอกจากนี้ในกาแฟมีโพแทสเซียมและฟอสฟอรัสสูงกว่าชา ซึ่งช่วยในเรื่องของการบำรุงกระดูก

สเน่ห์ของกาแฟ ที่คอกาแฟชื่นชอบกัน คือ กลิ่นหอมของการคั่วกาแฟจะไปทำปฏิกิริยากับโปรตีนในสมอง ตัวที่เกี่ยวกับความเครียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเครียดที่เกิดจากการนอนไม่หลับ แค่ได้กลิ่นกาแฟก็จะผ่อนคลายลง

ข้อควรระวังในการดื่มกาแฟ คือ กาแฟมีปริมาณคาเฟอีนสูงกว่าชา ถ้าดื่มมากเกินไปเกิน 3-4 แก้วต่อวัน หรือ 400 มิลลิกรัม อาจทำให้เกิดอาการหัวใจเต้นเร็ว หรือเต้นผิดจังหวะ วิตกกังวล รวมถึงอาการนอนไม่หลับได้ นอกจากนั้นยังทำให้ฟันเหลืองอีกด้วย หากดื่มกาแฟเกินวันละ 8 แก้วต่อวัน ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่มากเกินไปจะเพิ่มอัตราการแท้งบุตรได้ และกาแฟยังไปลดการไหลเวียนของเลือดเข้าสู่หัวใจอีกด้วย

การดื่มกาแฟขณะที่ท้องว่าง อาจทําให้ปฏิกิริยาตอบสนองต่อกาเฟอีนรุนแรงขึ้น และในขณะเดียวกันอันตรายจากการระคายเคืองในกระเพาะอาหารก็จะสูงขึ้นด้วย ซึ่งหมายความว่า หากไม่ต้องการเสี่ยงต่อโรคกระเพาะอาหารอักเสบหรือใจสั่นก็ไม่ควรดื่ม

Tea or Coffee

ในทางกลับกัน หากคุณต้องการให้อารมณ์ดีขึ้น ต้องการความรู้สึกผ่อนคลาย สิ่งที่คุณควรดื่มคือ ชาเพราะกลิ่นของชาจะช่วยทำให้ใจเย็น และผ่อนคลาย เช่น ชามะลิ หรือ ชาผลไม้ หรือไม่ก็ชาเขียวเองก็ตาม แนะนำให้ก่อนดื่ม สูดกลิ่นที่ของชาร้อนๆก่อน แล้วค่อยๆจิบ แค่นี้ก็ช่วยสร้างรอยยิ้มในยามบ่ายได้ดี นอกจากนั้นแล้ว ชายังมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยต้านโรคมะเร็งได้  ช่วยป้องกันโรคมะเร็งและช่วยบำรุงผิวพรรณ ทำให้ไม่แก่ง่าย การดื่มชา 4 ครั้งต่อวันอย่างต่อเนื่อง 6 สัปดาห์ จะช่วยลดระดับฮอร์โมนความเครียดได้ นอกจากนี้ชายังมีส่วนช่วยในการลดโรคมะเร็งหลอดอาหารในผู้หญิงได้ถึง 60% ชาสามารถช่วยกระตุ้นระบบประสาท ช่วยหมุนเวียนโลหิตได้ ทำให้ร่างกายทำงานได้ตามปกติ ป้องกันไขมันส่วนเกินสะสมในร่างกาย ลดอาการของโรคอัลไซเมอร์ได้เช่นเดียวกับกาแฟ อีกทั้งยังเพิ่มฤทธิ์ในการรักษาโรคไมเกรนได้ด้วยเช่นกัน

แต่หากดื่มชามากเกินไปทำให้เป็นโรคกระดูกพรุน และในชายังมีสารทานินจำนวนมาก ซึ่งสารตัวนี้จะช่วยลดการดูดซึมธาตุเหล็ก ทำให้เสี่ยงเป็นโรคโลหิตจางได้ หากดื่มชาร้อนมากไป อาจทำให้เสี่ยงเป็นโรคมะเร็งหลอดอาหารได้อีกด้วย

ชาแต่ละชนิด ก็มีปริมาณคาเฟอีนที่แตกต่างกันไปอีก อย่างชาดำจะมีปริมาณคาเฟอีนมากที่สุด เฉลี่ย  23 – 110 มิลลิกรัม รองลงมาเป็นชาอูหลง อยู่ที่ 12 – 55 มิลลิกรัม และชาเขียว 8 – 36 มิลลิกรัม ตามด้วย ชาขาว ที่มีแค่ 6 – 25 มิลลิกรัม

Tea

จะเห็นว่าทั้งชา และกาแฟ มีประโยชน์และโทษด้วยกันทั้งคู่ หากดื่มในปริมาณที่มากเกินไป ดังนั้นการเลือกดื่มในปริมาณที่เหมาะสม ส่วนใครที่เป็นสายรักสุขภาพ ก็จะนิยมหันมาบริโภคชา มากกว่ากาแฟ เพราะในชายังมีสารที่สําคัญอื่นๆ อีก เช่น แทนนิน คาเทชิน เพิ่มเติ่มอีก หรือหากต้องการดื่มชา หรือ กาแฟ จริงๆ แนะนำให้ชงดื่มเองได้ ก็จะยิ่งดีต่อร่างกาย เพราะสามารถควบคุมปริมาณนม น้ำตาล ครีม ที่เป้นสาเหตุให้เกิดโรคอ้วนได้

ที่มา

https://www.sweetrevolution.co.uk/

https://www.pinterest.com/pin/841962092818083327/

บทความจาก : Fuwafuwa

กลิ่นหอมที่แตกต่างของ “เก็นไมฉะ”

ถ้าพูดถึงชาเขียวของญี่ปุ่น หลายคนคงนึกถึง “มัทฉะ” เป็นชื่อแรก เพราะ “มัทฉะ” เป็นชาเขียวชั้นดีที่นิยมใช้ในพิธีชงชาของชนชั้นสูงในญี่ปุ่น ด้วยกรรมวิธีการบดยอดอ่อนใบชาอย่างพิถีพิถัน จนได้รสชาติที่กลมกล่อม ส่วนชาเขียวอีกประเภทหนึ่งที่คนทั่วโลกนิยมดื่มกันมากที่สุด ด้วยรสชาติที่สดชื่น ดื่มง่ายอย่าง “เซนฉะ” แต่มีชาเขียวอีกหนึ่งประเภทที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยกลิ่นหอมที่แตกต่างจากชาประเภทอื่นของ “เก็นไมฉะ”

genmaicha genmaicha

เก็นไมฉะ ( 玄米茶: Genmaicha)  เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนอยู่น้อยมาก ถือว่าน้อยกว่าชาเขียวประเภทอื่นๆเลยก็ว่าได้ จึงสามารถดื่มได้ทุกที่ทุกเวลา และทุกเพศทุกวัย แถมราคายังไม่แพงชงง่าย

เก็นไมฉะ แตกต่างจากชาเขียวประเภทอื่นที่เห็นได้ชัดอีกประการ คือ กลิ่นหอมที่เกิดจากการเบลนด์ชาร่วมกับข้าวคั่วนั่นเองเห็นได้จากสีของใบชาที่ไม่ได้มีสีน้ำตาลเหมือนสีข้าวคั่ว 100% และก็ไม่ได้เขียวมากเหมือนสีของใบชาเขียวปกติ แต่จะเป็นสีเหลืองทอง ที่เกิดจากข้าวคั่วที่นำมาผสมผสานกันในเก็นไมฉะ ข้าวที่ต้องคัดสรรสายพันธุ์ดีงามของญี่ปุ่น ผ่านกรรมวิธีการคั่วด้วยอุณหภูมิที่เหมาะสม แล้วมาตากแห้งและอบเข้ากับใบชา ในอัตราส่วน 1 : 1  ผสมผสานกันออกมาเป็นชากลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์หาไม่ได้จากชาเขียวประเภทอื่น รสชาติที่ฝาดกำลังดี หวานน้อย การดื่มเก็นไมฉะคู่กับเมนูอื่นๆ ก็นับเป็นตัวเลือกที่เข้ากันได้ดีทีเดียว

รสชาติที่ดีของเกนไมฉะ ส่วนนึงมาจากคุณภาพของข้าว มากกว่าคุณภาพของใบชา การนำข้าวกล้องไปคั่วต้องระวังอย่าให้แตก เหมือนกับป็อบคอร์น เรียกว่า “ข้าวตอก” เพราะถ้าแตกมากคุณภาพความอร่อยของชาขะลดลงเมื่อนำไปผสมกับชาเขียว

ส่วนคุณค่าทางสารอาหารก็มีเยอะไม่แพ้ชาเขียวประเภทอื่นๆ ไล่มาตั้งแต่เก็นไมฉะมีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ช่วยในเรื่องปรับสมดุลระบบความดันโลหิต ช่วยลดความเสี่ยงจากมะเร็งและโรคหัวใจได้อีกด้วย

genmaicha

มีบางตำราที่เล่ากันว่าเกนไมฉะเกิดจากพ่อค้าชาชาวญี่ปุ่นคนหนึ่งในสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง รู้สึกเสียดายข้าวหลังจากนำไปเซ่นไหว้บรรพบุรุษ จึงนำมาคั่วแล้วนำมาผสมกับชานั่นเอง แต่ก็มีบางตำราเล่าว่ากิดขึ้นที่เมืองเกียวโต เมื่อพ่อค้าใบชาเขียวผู้มั่งคั่ง และเต็มเปี่ยมด้วยความคิดสร้างสรรค์ จับเอาวัตถุดิบต่างๆ มาผสมผสานเข้ากับใบชาเขียว เพื่อให้ได้ความพรีเมียมที่แปลกใหม่ วันหนึ่งพ่อค้าใบชาเขียวนึกสนุก จึงทดลองนำข้าวคั่วและใบชาเขียวมาลองชงดื่มดู จนได้มาซึ่งเก็นไมฉะที่มีทั้งกลิ่นและรสชาติไม่เหมือนใคร

ชาที่นำใบชาเขียว มาผสมกับข้าวกล้อง โดยข้าวกล้องที่นำมาผสมจะถูกนำไปนึ่ง แล้วนำมาผัดจนมีสีน้ำตาลอ่อน ผสมกับใบชาในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 นั่นคือเหตุผลหลักที่เวลาเราดื่ม” เกนไมฉะ ” (玄米茶: Genmaicha) หรือ “ชาข้าวกล้องคั่ว” จะได้กลิ่นหอมที่ไม่เหมือนชาเขียวประเภทอื่น นั่นเอง จริงๆแล้ว” เกนไมฉะ ” เป็นชาธรรมดา ราคาไม่แพง เวลาชง ต้องชงด้วยน้ำร้อน 100 องศาเซลเซียส ในเวลาเพียง 30 วินาที เพราะถ้าแช่นานไป ชาจะเริ่มมีรสชาติขมจนทานลำบาก

สำหรับวิธีการการต้มชาเขียวชนิดนี้ แนะนำให้ใช้น้ำร้อนที่มีอุณหภูมิประมาณ 80–85 ° C และใช้เวลาต้มชาที่ประมาณ 3-5 นาที หากต้มนานกว่านี้จะทำให้ชามีรสฝาดมากขึ้น

genmaicha

ที่มา

https://www.rishi-tea.com/product/gram-tin-genmai-matcha-organic-japanese-green-tea-blend/loose-leaf-tea

http://www.stocksy.com/22595

https://www.teasource.com/products/genmaicha-green-tea-blend

กลิ่นหอมที่แตกต่างของ “เก็นไมฉะ”บทความจาก : Fuwafuwa

How to ……. present TEA ?

ชาเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก ด้วยรสชาติ กลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ และคุณประโยชน์จากสารอาหารในชา การดื่มชา ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก ทั้งอังกฤษ จีน ญี่ปุ่น หรือแม้แต่ที่ไทยเอง ซึ่งลักษณะการเสิร์ฟชาของแต่ละประเทศก็มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป เพราะรูปลักษณ์การนำเสนอ และเสิร์ฟชา แต่ละครั้งต้องอาศัยความละเอียดอ่อนในการชง บรรยากาศแวดล้อมในการนั่งดื่มชา ที่อาจจะต้องเพิ่มความสุนทรีย์ในการดื่มด้วยต้นไม้ ดอกไม้เพื่อผ่อนคลายความเครียดจากการทำงาน ร้านไม่ควรให้มีกลิ่นกับข้าวมารบกวนกลิ่นหอมของชา รวมไปถึงคุณภาพของภาชนะในการดื่มนั้นก็มีผลอย่างมากต่อระดับของอร่อยและความประทับใจของผู้ดื่มเช่นกัน

tea set tea set

การเสิร์ฟด้วยถ้วยเซรามิคที่หยาบและหนานั้นจะทำให้เกิดผลที่แตกต่างอย่างมาก เมื่อเปรียบเทียบกับชาแบบเดียวกันที่เสริฟในพอร์เซเลนที่ดี โบนไชน่า หรือ แก้ว หรือการนำเสนอชาที่หลายคนอาจจะลืมคิดไป คือ การนำเสนอในสามด้าน นั้นคือ การมองเห็น กลิ่น และ รสชาติเพื่อให้แขกได้สัมผัสผ่านทางประสาทสัมผัสให้ครบถ้วน บางร้านจึงมีรูปแบบการเสิร์ฟที่นำเสนอที่แตกต่างกันไป เช่น ให้ลูกค้าดริปชาเอง เสิร์ฟทั้งกาชาเพื่อให้ชุดชา เป็นอีกองค์ประกอบที่ทำให้ภาพถ่ายของลูกค้ามีความน่าทานมากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตามถ้าร้านไหนอยากเสิร์ฟชาเป็นแก้วๆให้ลูกค้า แนะนำเป็นการชงสดๆร้อนๆใหม่ๆทุกครั้ง และเพิ่มอรรถรสในการดื่มชาให้ลูกค้าด้วยการเดินมารินชาให้ลูกค้าที่โต๊ะ จะทำให้ลูกค้าได้สัมผัสถึงกลิ่นของชาอย่างชัดเจนในขณะที่รินชา ดีกว่าเทจากหลังร้าน กว่าจะยกมาเสิร์ฟลูกค้า สุนทรียะของการดื่มชาก็ลดลงไปอย่างน่าเสียดาย

tea set

หากใครยังไม่มีไอเดียว่าจะเสิร์ฟชารูปแบบไหนดี ลองดูก่อนว่า ชาที่ร้านของคุณเป็นชาสไตล์ไหน

  1. การเสิร์ฟชาสไตล์อังกฤษคนอังกฤษนิยมดื่มชาดำเป็นหนึ่งในชาที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก ซึ่งสามารถเสิร์ฟชาจากแก้วได้เลย แต่หากต้องการอารมณ์ของการจิบชาแบบอังกฤษแท้ๆ ควรเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม ได้แก่ กาน้ำชา (กาน้ำชาจีนหรือเซรามิค) ถ้วยชาพร้อมจานรอง โถน้ำตาล เหยือกครีม กาต้มน้ำ ถ้วยสำหรับทิ้งน้ำชาหรือใบชาที่เหลือ และจานของว่าง

โดยปกติเวลาดื่มชาของอังกฤษมักจะเริ่มประมาณ 4 โมง หากที่ร้านอยากเสิร์ฟเป็นเซ็ต Afternoon Tea ที่เสิร์ฟชาคู่กับของว่าง สามารถเสิร์ฟชาได้ตลอดเวลาตั้งแต่ บ่าย 2-5 โมง Afternoon tea ดั้งเดิมมักทานคู่กับแซนด์วิชชิ้นเล็กๆ สโคน และขนมอบหลากหลายชนิด อัลมอนด์ชอร์ตเบรด ชีสเค้ก มาการอง บิสกิต หรือเค้กกล้วยหอมก็ได้

หาร้านไหนอยากเสิร์ฟพร้อมกับนม น้ำตาล หรือเลม่อน แนะนำเป็นให้จัดวางเรียงแยกไปในชุดน้ำชา เพื่อให้ลูกค้าสนุกและเปิดประสบการณ์กับการเติมส่วนผสมที่แตกต่างกันเพื่อให้ได้รสชาติตามชอบ แต่ไม่แนะนำให้เติมเลมอนและนมพร้อมกัน เพราะกรดซิตริกของมะนาวจะทำให้โปรตีนในนมแข็งเป็นก้อน ลำดับที่แนะนำ คือ เทชาก่อน เติมน้ำตาล แล้วค่อยวางมะนาวลงบนชาเบาๆ เป็นอันดับสุดท้าย

Afternoon tea afternoon tea

นอกจาก Afternoon Tea แล้ว ยังมี High Tea นิยมจิบชากันประมาณ 5 โมงเย็น ถึง หนึ่งทุ่ม อาหารที่เสิร์ฟคู่กับชาเวลานี้ จะเป็นอาหารที่หนักกว่า Afternoon Tea เช่น อาหารจานร้อนชนิดหนึ่ง ขนมปัง มันฝรั่ง ผัก ชีส เนื้อ สตูว์ มัฟฟินแบบชาวเวลส์ พายหรือไข่เจียว นั่นเอง

ลองดูว่าถ้าร้านของคุณเป็นร้านชาสไตล์อังกฤษ การจัดชุดเมนู ชาแบบ Afternoon Tea และ High Tea ก็เป็นชุดเมนูที่น่าสนใจดึงดูดลูกค้าได้ดีทีเดียว

  1. การเสิร์ฟชาสไตล์ญี่ปุ่นเชื่อว่าหลายคนคงจะคุ้นเคยกับการเสิร์ฟแบบสไตล์ญี่ปุ่นอยู่แล้ว ที่เน้นความเรียบง่ายของดีไซน์ภาชนะที่ใช้ในการเสิร์ฟ ขนมที่นิยมเสิร์ฟด้วยก็นิยมเป็นขนมชิ้นเล็กเช่นเดียวกัน ที่เรียกว่า วากาชิ ซึ่งคนญี่ปุ่น นิยมทานขนมให้หมดก่อนถึงจะนำชามาเสิร์ฟ แต่ถ้าร้านไหนต้องการเพิ่มความเป็นญี่ปุ่นเข้าไป อาจจะมีมุมเล็กๆของที่ร้าน หรือที่เคาน์เตอร์บาร์ ที่โชว์การชงชาตามพิธีดั้งเดิมของญี่ปุ่นโดยใช้ฉะชะขุในการตักผงชา ใช้ฉะเซ็นในการตีผงชาให้ละลาย และมีการหมุนถ้วยชาก่อนดื่มอย่างที่เรานิยมเห็นตามรายการท่องเที่ยวญี่ปุ่นนั่นเอง

บางร้านหากไม่เชี่ยวชาญเรื่องวัฒนธรรมในการชงชามากนัก มักเปิดเพลงบรรเลงในร้านสไตล์ญี่ปุ่น หรืออาจะมีเสียงน้ำไหลเบาๆ เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกผ่อนคลายมากขึ้นนั่นเอง

Japanese tea Japanese tea

แล้วการเสิร์ฟชาที่ร้านคุณเป็นแบบไหน ลืมจุดสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามไปของ เอกลักษณ์ชา ไปรึเปล่า ลองใช้เวลาว่างสักวัน ดื่มด่ำการชาที่คุณชอบ อาจจะได้ไอเดียที่จะ PRESENT ชาในแบบของคุณได้นะ ^^

ที่มา

http://casatreschic.blogspot.com

http://thecharmofhome.blogspot.com

https://thestrawberrynight.tumblr.com

http://teaismycupoftea.tumblr.com

Kinarino.jp

บทความจาก : Fuwafuwa

ถุงชาอันตรายจริงหรือ…… ?

ชาที่เราซื้อตามซุปเปอร์เพื่อมาชงทานเองที่บ้าน มีทั้งแบบใบ ให้เรามาใส่ที่กรองชาเอง สำหรับคนที่ชื่นชอบการชงชาเองและมีเวลาในการพิถีพิถันดื่มด่ำกับการดื่มชา แต่ถ้าสายเร่งด่วน ขอสะดวกไว้ก่อนก็จะนิยมซื้อชาแบบที่แพ็คในถุงชา ที่จะมีเชือกยาวๆห้อยออกมาพร้อมติดแท็กโลโก้แบรนด์ เพียงแค่นำถุงชานั้นมาใส่น้ำร้อนแล้วก็ทิ้งไว้ ก็จะได้ดื่มด่ำกับชาอุ่นๆเข้มข้น

ถุงชา

แต่ช่วงหลังๆมาที่ทุกคนเริ่มหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ถึงกับมีงานวิจัยออกมาเลยว่า ถุงชาพลาสติก 1 ใบ ปล่อยไมโครพลาสติก 11.6 พันล้านอนุภาค และปล่อยนาโนพลาสติกซึ่งขนาดเล็กจิ๋วยิ่งกว่า อีกจำนวน 3.1 พันล้านอนุภาค คิดรวมเป็นปริมาณละอองพลาสติกประมาณ 16 ไมโครกรัมต่อชา 1 แก้ว เป็นปริมาณที่สูงกว่าการปนเปื้อนพลาสติกในอาหารทุกชนิดที่เคยมีการรายงานก่อนหน้านี้ แม้จะยังไม่มีรายงานถึงผลของการกินไมโครพลาสติกเข้าไป แต่เพื่อสุขภาพที่ปลอดภัย และช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยแล้ว ควรเริ่มจากการสังเกตง่ายๆว่าถุงชาแบบไหนที่ไม่ควรใช้

tea bag

ถุงชาพลาสติกที่มีเนื้อผ้าตาข่ายดูวาวๆ ส่วนใหญ่เป็นถุงทรงปิระมิดฐานสามเหลี่ยม เป็นถุงชาที่ไม่ควรใช้เลย ถ้าจำเป็นต้องใช้ถุงชาจริงๆ แนะนำให้เลือกแบบถุงสีขาวที่ดูคล้ายกระดาษ ซึ่งอาจจะหายากหน่อยในท้องตลาดบ้านเรา ถ้าเป็นไปได้ แนะนำให้ใช้การชงด้วยการกรองใบชาออกด้วยที่กรองแสตนเลสที่มีให้เลือกหลายรูปแบบ หลายขนาดตามปริมาณใบชาที่ต้องการชง ล้างซ้ำใช้ได้บ่อยเท่าที่ต้องการ หรือถ้าใครยังเคยชินกับการชงชาโดยใช้ถุงชา แนะนำให้หาซื้อเฉพาะถุงชากระดาษ 100% ที่ไม่ฟอกขาว แล้วซื้อใบชาเป็นห่อใหญ่ๆมาตักใส่ถุงชาเองอีกวิธีคือถุงกรองชาชนิดผ้ากรองเศษใบชาเล็กๆ ได้ดีกว่าตะแกรงกรองสเตนเลส แถมยังล้างตะกอนใบชาออกง่าย และใช้ซ้ำได้นานหลายรอบเช่นกัน

ตะแกรงร่อนชา

อย่างไรก็ตามใครที่ใช้ถุงชากระดาษเสร็จแล้ว อย่าเพิ่งเอาไปทิ้งทันทีนะ เพราะมันยังมีประโยชน์มากกว่าที่คิด เช่น

  • ถุงชาที่ใช้แล้วรองก้นกระถาง โดยวางปิดไว้ที่รูระบายน้ำ จากนั้นก็ค่อยเทดินและปลูกต้นไม้ลงไป ถุงชาก็จะช่วยรักษาความชื้นและน้ำในดินเอาไว้ ไม่ให้ระบายออกมาเร็วเกินไป แถมยังเป็นการเพิ่มสารอาหารให้กับดินไปพร้อมกันด้วย
  • กลิ่นติดมือที่ใช้สบู่ล้างไม่ออก ไม่ว่าจะเป็นกลิ่นกระเทียมหรือหัวหอมก็กำจัดไม่ยาก โดยนำถุงชามาถูมือให้ทั่ว ทั้งฝ่ามือและตามซอกนิ้ว จากนั้นก็ใช้สบู่ล้างมือตามปกติ เพียงแค่นี้กลิ่นเหม็นก็หายไปแล้ว
  • เอาถุงชาที่ใช้แล้วนำไปตากแห้ง แล้วใส่ทิ้งไว้ในรองเท้า 1 คืน ก็ไม่เหลือกลิ่นเหม็นจากรองเท้าให้กังวลอีกต่อไป
  • หย่อนถุงชาที่ใช้แล้ว 2-3 ถุงลงไปในอ่างจานล้างจานที่แช่จาน แล้วทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที ถุงชาก็จะช่วยดักจับคราบมันเอาไว้ แค่ล้างตามปกติ จานที่มีคราบมันมากๆก็จะกลับมาสะอาดวิ้ง
  • หยดน้ำมันหอมระเหยกลิ่นเปเปอร์มินต์ลงไป แล้ววางไว้ตามกล่อง ลิ้นชัก ตู้เก็บของ หรือบริเวณที่มักจะมีแมลงมาทำรัง ก็ช่วยป้องกันไม่ให้สัตว์อันตราย เช่น มดหรือแมงมุม กลับมาอีก
  • แก้ปัญหาตาบวม เนื่องจากชามีสารแทนนินที่มีคุณสมบัติสามารถลดอาการบวมได้ ดังนั้น หลังจากที่เราใช้ถุงชาเสร็จแล้ว ควรนำถุงชาที่กำลังอุ่นๆ อยู่นั้นมาวางแปะลงบนเปลือกตาประมาณ 5-10 นาที อาการตาบวมก็จะค่อยๆ บรรเทาลงและหายไปได้
  • บรรเทาอาการแสบร้อนจากแสงแดด เพียงนำถุงชาไปแช่ตู้เย็นสักครู่เพื่อให้ความเย็น จากนั้นนำมาประคบลงบนผิวที่มีอาการแสบร้อน นอกจากผิวที่ได้รับความแสบร้อนจากแดดเผาแล้ว การที่ผิวของเราไปถูกความร้อนอย่างอื่นมาก็สามารถใช้ถุงชาเย็นๆ มาประคบได้เช่นเดียวกัน

ที่มา

https://theherbalacademy.com/free-ebook-herbal-tea-throughout-the-seasons/

http://katescreativespace.com/2012/09/09/tea-with-a-twist/

https://www.sanook.com/women/79957/

บทความจาก : Fuwafuwa

ช้อนไม้ไผ่ Chashaku (茶杓) จำเป็นจริงหรอ?

ช้อนตักผงชามัทฉะ หรือที่เรียกว่า Chashaku (茶杓)มีที่มาจากในสมัยก่อนช่วงที่ชาเขียวจากจีนถูกนำเข้ามาสู่ญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นใช้ช้อนตักชาที่ทำจากงาช้าง นำเข้าจากประเทศจีน แต่พอเข้าสู่ช่วงหลังๆมา ช้อนตักชาที่ทำจากไม้ไผ่ปลายดัดก็เริ่มมีปรากฏให้เห็น โดยมีการคาดกันว่าผู้ที่คิดค้นรูปร่างฉะชะขุแบบในปัจจุบันขึ้นมา คือ มุราตะ จุโค ผู้พัฒนาพิธีชงชาแบบเซนเป็นคนแรก ซึ่งเหตุผลที่เลือกใช้ไม้ไผ่แทนงาช้าง เพราะว่า ต้องการให้ช้อนตักผงชานั้นมีความเรียบง่าย ไม่ฟุ้งเฟ้อหรูหราแบบงาช้าง เพราะนิกายเซน มีพื้นฐานแนวคิดอย่างเรียบง่ายมาจากศาสนาพุทธแบบเซนนั่นเอง

ChashakuChashaku

ลักษณะที่ดีของ Chashaku ส่วนมากจะทำจากไม้ไผ่ มีปลายช้อนกว้าง 1 ซม. เพื่อให้การตักผงชา 1 ครั้งได้ในปริมาณที่เหมาะสม คือ ประมาณ 1 กรัม ซึ่งในพิธีชงชาจะใช้ชา 2 กรัม กล่าวคือ ตักชาด้วย Chashaku 2 รอบนั่นเองโดยไม่ต้องผ่านการใช้เครื่องชั่ง นอกจากนี้ตัวด้ามควรยาว 19 ซม. เป็นความยาวที่พอดีกับการใช้ในพิธีชงชาของญี่ปุ่น

ChashakuChashaku

การตักผงชาเขียวเพื่อชงชานั้น จริงๆสามารถใช้ช้อนสแตนเลส หรือช้อนประเภทอื่นได้เช่นกัน ไม่จำเป็นจะต้องใช้ Chashaku ก็ได้ แต่จะเห็นว่าหลายๆร้านคาเฟ่ และตามพิธีชงชาของญี่ปุ่นเอง จะนิยมใช้ Chashaku เพราะด้วยคุณสมบัติของไม้ไผ่ ที่เมื่อสัมผัสกับผงชาเขียวแล้ว จะทำให้รสชาติคงที่ และด้วยปริมาณชาที่ Chashaku สามารถตักได้ในแต่ละครั้งนั่นเอง นอกจากนี้ไม้ไผ่ของช้อน Chashaku ยังทำให้สรรพคุณสารอาหารต่างๆของชาเขียวคงเดิม ใช้งานง่ายด้วยการใช้ผ้าแห้ง หรือทิชชู่เช็ดบริเวณปลายช้อนให้แห้งก่อนเก็บเข้ากล่อง ไม่ควรล้างด้วยน้ำเปล่า และ Chashaku ยังทำให้รู้สึกถึงความเป็นญี่ปุ่นแท้ๆนั่นเอง อย่างไรก็ตามช้อน Chashaku นี้มีไว้สำหรับการตักผงชาเท่านั้น ไม่ได้มีไว้สำหรับตักใบชาประเภทอื่นๆ

Chashaku

แต่ในปัจจุบันนี้ช้อน Chashaku ได้มีการผลิตด้วยวัสดุอื่นเพิ่มมากขึ้นนอกจากไม้ไผ่ ตามกาลสมัยที่เปลี่ยนไป เช่น แสตนเลส โลหะ หรือไม้เนื้อแข็งประเภทอื่นๆ ซึ่งช้อนที่ทำด้วยโลหะ จะมีปลายช้อนที่กลมคล้ายกับช้อนชาทั่วไปที่เราใช้ทำขนมกัน แต่ก็ต้องเลือกให้ดีเพราะบางครั้งอาจจะทำให้ตักชาได้ในปริมาณที่ไม่คงที่

ที่มา

https://www.edenfoods.com/store/matcha-spoon.html

https://oideyasu.tumblr.com/post/64615700994

https://www.taketora.co.jp/fs/taketora/sa00235

https://www.pinterest.com/pin/353110427034464612/

บทความจาก : Fuwafuwa

3 ขนมยอดนิยมของคนญี่ปุ่น ที่ชอบทานคู่ชาเขียว

การกินชาเขียวให้อร่อย หลายคนคงทราบอยู่แล้วว่าคนญี่ปุ่นนิยมทานคู่กับขนมหวานญี่ปุ่น หรือที่เรียกว่า วากาชิ แม้ว่าที่จริงแล้วในพิธีชงชามีขนมอื่น ๆ อีกมากมายที่สามารถทานคู่ชาเขียวได้ แต่ขนมที่ติดอันดับคนนิยมกินคู่กับการดื่มชาและคนไทยรู้จักกันดี ได้แก่

วากาชิวากาชิ

อันดับ 1 คือ ไดฟุกุขนมแป้งโมจินุ่มหนึบที่พิเศษด้วยไส้ที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นไส้ชาเขียวลาวา ไส้ชาเขียวถั่วแดง บางเจ้าก็ใส่ผลไม้เข้าไปด้วยเพื่อเพิ่มรสชาติความอร่อย ขนมรสชาติออกหวาน ได้ชาเขียวร้อนๆเสิร์ฟคู่กัน เป็นความอร่อยที่ลงตัว

Daifuku Daifuku

ส่วนใครที่อยากลองปั้นขนมไดฟุกุเอง เสิร์ฟคู่กับชาที่ร้าน เพิ่มสไตล์ความเป็นญี่ปุ่นให้กับเมนูในร้านสามารถทำได้เองง่ายๆ และต่อยอดเปลี่ยนรสชาติแป้งได้ฟุกุ หรือไส้ได้ตามชอบ

 

 

เมนู ไดฟุกุชาเขียว สตอเบอรี่

  1. แป้งข้าวเหนียว 100 กรัม
  2. แป้งมัน 20 กรัม ( สำหรับทำแป้งนวล )
  3. ผงมัทฉะ 10 กรัม
  4. น้ำตาลทราย 50 กรัม
  5. น้ำเปล่า 150 มล.
  6. ถั่วขาวกวนสำเร็จ  200 กรัม + ผงชาเขียว 5 กรัม
  7. สตรอเบอร์รี่

วิธีทำ

  1. แป้งข้าวเหนียว, ผงมัทฉะ, น้ำตาลทราย ผสมให้เข้ากัน ในภาชนะที่เข้าไมโครเวฟได้ ค่อยๆเติมน้ำผสมจนแป้งไม่เป็นเม็ด ลักษณะจะเหลวข้น
  2. นำส่วนผสมแป้งเข้าไมโครเวฟ โดยใช้พลาสติกแรพไว้ หรือ หา ภาชนะปิดไม่ให้แป้งหน้าแห้ง ใช้ไฟแรงสุดนาน 3 นาที นำออกมาเกลี่ยทุกๆ 1 นาที สังเกตแป้ง ถ้าสุกจะเปลี่ยนเป็นแป้งใส และจะจับตัวเป็นก้อน
  3. นำแป้งที่กวนสุกแล้ว คลุกกับแป้งนวล ตัดแบ่งให้เท่าๆกัน แผ่แป้งให้เป็นแผ่นกลม ใส่ไส้ถั่วขาวที่ผสมกันกับผงชาเขียวเป็นเนื้อเดียวกันที่ห่อลูกสตรอเบอร์รี่ไว้ ปั้นเป็นก้อนกลม คลุกแป้งนวลเพื่อไม่ให้ไดฟุกุติดกัน เป็นอันเสร็จเรียบร้อย

โดยปกติของการเสิร์ฟไดฟุกุ จะมีไม้เล็ก ๆ หรือที่เรียกว่า คุโระโมจิ (黒文字)ก็จะเป็นสัญลักษณ์ว่า ให้ทานขนมโดยการตัดแบ่งให้พอดีคำก่อนทานส่วนใหญ่จะเป็นขนมชิ้นไม่ใหญ่มากตัดได้ประมาณ 3-4 ครั้ง นั่นเอง

เซมเบ้

ต่อมาอันดับ 2คือ เซมเบ้ ขนมข้าวกรอบที่มีหลายรูปทรง ขนาด และรสชาติ โดยปกติแล้วจะเป็นรสเค็ม(เป็นรสชาติของโชยุ)​ แต่รสหวานก็มีให้เห็น ส่วนใหญ่แล้วเซ็มเบจะรับประทานคู่กับชาเขียว เป็นขนมและจัดให้แขกที่มาเยี่ยมเยียนที่บ้านนั่นเอง โดยปกติแล้วเซ็มเบจะทำโดยการอบ หรือย่างถ่านแบบดั้งเดิม ระหว่างปรุงอาจมีการทาเซ็มเบด้วยซอสปรุงรส ซึ่งส่วนมากทำจากซอสถั่วเหลืองและมิริน จากนั้นอาจห่อด้วยสาหร่ายและปรุงด้วยเกลือ การเสิร์ฟเซมเบ้คู่กับชานั้นจะไม่มีไม้คุโระโมจิเหมือนอย่างไดฟุกุ จะเป็นที่รู้กันว่าให้ใช้มือทานได้เลยไม่เสียมารยาทนั่นเอง

ดังโงะดังโงะดังโงะ

มาถึงอันดับ 3 คือ ดังโงะ  ขนมญี่ปุ่นที่ทำโดยการนำแป้งข้าวเจ้ารสชาติหวานอ่อนๆมาปั้น แล้วต้ม บางครั้งก็ทานโดยการราดด้วยซอสโชยุหวาน ถั่วแดงกวน หรือชาเขียว หรือบางที่ก็นำไปย่างไฟอ่อนๆ ก่อนมาทานคู่กับซอสต่างๆ เพื่อเพิ่มกลิ่นให้น่าทานยิ่งขึ้น ขนมดังโงะสามารถดัดแปลงได้หลายรสชาติ และเสิร์ฟด้วยการเสียบไม้ก่อนเพื่อย่างหรือราดซอสอยู่แล้ว สามารถหยิบทานได้ง่ายสะดวก จึงกลายเป็นขนมที่คนญี่ปุ่นนิยมรับประทานคู่กับชาเขียว และจะมีรสชาติอร่อยที่สุดเมื่อทานคู่กับชาเขียวเรียวคุฉะว่ากันว่าในญี่ปุ่นเองมีการนำแป้งข้าวเจ้ามาทำอาหารตั้งแต่ในอดีต ซึ่ง Mitarashi dango นี้ได้มาจากฟองอากาศที่เกิดขึ้นตอนกรองน้ำบริสุทธิ์จากบ่อน้ำมิตาราชิ ซึ่งไหลอยู่บริเวณทางเข้าศาลเจ้าชิโมะกาโมะ มิตาราชิดังโกะ ในสมัยก่อนเสียบดังโงะ 5 ลูกต่อไม้ โดยดังโงะลูกบนสุดหมายถึงหัว 2 ลูกถัดมาหมายถึงแขน ส่วนอีก 2 ลูกหมายถึง ขา ถ้าเกิดนำดังโงะไปถวายเทพเจ้า มีเชื่อว่าจะกลายเป็นตัวแทนช่วยรับเคราะห์ร้ายแทนเจ้าตัวนั่นเอง

หากร้านไหนอยากลองทำดังโงะเองที่ร้านก็สามารถทำได้ วิธีทำคล้ายกับการปั้นบัวลอยบ้านเราเลยทีเดียว

วัตถุดิบ ได้แก่ เต้าหู้ขาว 250 กรัม แป้งข้าวเจ้า (หรือแป้งโมจิ) + น้ำตาล 200 กรัม

วิธีทำแสนง่าย :ก่อนอื่นให้ใช้มือนวดผสมเต้าหู้และแป้งข้าวเจ้าเข้าด้วยกัน ให้แป้งมีความนุ่มกำลังดี ไม่นิ่มและไม่แข็งจนเกินไป หลังจากนั้นปั้นเป็นก้อนกลม ต้มน้ำในหม้อขนาดใหญ่จนเดือดและใส่ดังโงะก้อนกลมลงไป ต้มไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะลอยขึ้นมา เมื่อลอยขึ้นมาเหนือผิวน้ำแล้วให้ต้มต่อไปอีกประมาณ 2 – 3 นาทีและตักออกมาพักไว้บนจานรองกระดาษ นำไปเสียบไม้ ทานคู่ซอส หรือย่างไฟอ่อนๆก่อนก็ได้ตามชอบ เสิร์ฟคู่ชาเขียวร้อนของที่ร้าน รับรองว่าลูกค้าที่มาที่ร้านต้องรู้สึกเหมือนได้ไปญี่ปุ่นแน่นอน

ที่มา

https://www.pinterest.com/pin/325807354293426536/

https://moichizen.exblog.jp/13348925/

https://www.pinterest.com/pin/14707136267674817/

https://www.japancentre.com/en/recipes/1669-matcha-ganache-filled-strawberry-daifuku

บทความจาก : Fuwafuwa