รู้หรือไม่ทำไมชาเป็นตะกอนเมื่อเย็น?

เคยทานชาเขียวแล้วมีผงชาเขียวนอนก้นเป็นตะกอนกันมั้ยคะ?

ตะกอนที่เห็นอยู่นั้นแท้จริงแล้ว คือ ผงชาที่ละลายไม่หมด เป็นผลมาจากการชงที่ไม่ดีส่วนนึง เพราะผงมัทฉะที่ดีจะค่อนข้างละเอียดมาก ไม่สามารถละลายได้หมดด้วยน้ำร้อนจากการใช้ช้อนคนธรรมดา แต่ควรใช้แปรงชา หรือที่เรียกว่า ฉะเซ็นในการชง จะทำให้ละลายได้ง่ายกว่า หรือถ้าร้านไหนที่ไม่มีฉะเซ็น สามารถลองใส่พวกกระบอกเชคเกอร์ หรือใช้ตระกร้อมือคนแทนก็พอคนให้ผงชาละลายได้อยู่

ตะกอนชา

อย่างไรก็ตามในการบางครั้งที่ใช้ฉะเซ็นในการชงแล้ว บางคนอาจจะพบว่า เมื่อทิ้งไว้ระยะหนึ่งก็จะเกิดการแยกชั้นได้ ไม่เว้นแม้กระทั่งชาเขียวที่บรรจุขายทั่วไป เราจะได้เห็นข้างขวดเขียนไว้เสมอว่า “อาจมีตะกอนตามธรรมชาติ ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย” จึงถือว่าเป็นเรื่องปกติมากที่ชาแต่ละขวดหลังจากชงแล้วอาจจะมีตะกอนหลุดรอดออกมานั่นเองMatcha Matcha

พูดถึงตัวผงฝุ่นในชาเป็นผลมาจากการตกตะกอน ซึ่งเรียกว่า ‘ครีมชา’ จะเกิดขึ้นเมื่อชามีอุณหภูมิเย็นลงต่ำกว่า 40 องศาเซลเซียส สารประกอบในชา อย่างระหว่างคาเฟอีนและโพลีฟีนอลจะจับตัวกันอย่างอ่อนๆ ซึ่งหากชาเมนูไหนที่มีการใส่นม ก็จะเกิดปฏิกิริยาระหว่างโปรตีนในนม และ โพลีฟีนอลต่างๆ มีผลให้เกิดตะกอนมากขึ้นนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม การผสมชาและน้ำใหม่ที่ต้มแล้วเข้าด้วยกัน จะทำให้ใบชาตกตะกอนอยู่ด้านล่างของกาที่ใช้ชงชาได้เช่นกัน เพื่อเป็นการลดการสัมผัสระหว่างใบชาและน้ำ แนะนำให้ทำการคนชาทุกครั้งเพื่อกระตุ้นชาและทำให้มีการละลายที่เหมาะสม

กรณีที่ชาของบางร้านไม่ตกตะกอนเลย จึงอาจเป็นที่น่าสงสัยได้ว่า ร้านนั้นไม่ได้ใช้ผงมัทฉะจริงๆ แต่ อาจจะเป็นการใช้เป็นไซรัปรสชาเขียวแทน หรืออาจใช้ผงชงสำเร็จรูปเพื่อลดระยะเวลาในการชง ซึ่งทำให้ราคาก็จะลดหลั่นกันไปตามวัตถุดิบที่ใช้นั่นเอง

นอกจากตะกอนที่มักเกิดที่ก้นถ้วยแล้ว ในบางครั้งจะเจอกรณีที่กากชา หรือ ใบชาสีเข้ม ที่ลอยอยู่ด้านบนของชาที่ชงแล้วแทนนอนก้น กรณีดังกล่าว เป็นผลของส่วนประกอบน้ำหนักโมเลกุลที่สูง เกิดจากแคลเซียม และ ไบคาร์บอเนตไอออน ที่ผิวหน้าของน้ำ ตามปกติแล้ว กากชาจะเกิดขึ้นในชาที่มีความเข้มข้นสูง อย่างไรก็ตามการบริโภคกากชา หรือตะกอนชาที่มีปริมาณน้อยกว่า 1 มิลลิกรัมของกากชาที่เกิดขึ้นในถ้วยชานั้น จะไม่เป็นอันตรายใดๆต่อสุขภาพของผู้ดื่ม

Matcha Matcha

ที่มา

https://japanesegreenteaonline.com/

https://www.stylecraze.com/trending/tea-drinks-for-weight-loss/

http://www.honannchasou.net/shihou_18.html

บทความจาก : Fuwafuwa

ชา ทำ cold brew ได้มั้ยนะ…?

หลายคนอาจจะคุ้นชินกับกาแฟ Cold Brew ซึ่งเป็นกาแฟที่มีความหวานมากกว่ากาแฟที่ชงด้วยวิธีอื่นเนื่องจากมีกรดต่ำ เพราะใช้น้ำเย็นสกัดระดับคาเฟอินในปริมาณต่ำเมื่อเทียบกับกาแฟที่ชงด้วยน้ำร้อน ซึ่งคอชาเลยอาจจะสงสัยว่า ชา สามารถนำไปผ่านกรรมวิธีเช่นเดียวกับการทำ Cold Brew กาแฟได้มั้ยนะ?

Tea Cold Brew

หลักของการทำ Cold Brew คือ การสกัดเย็น สามารถใช้ได้ทั้งน้ำที่อุณหภูมิห้อง หรือจะใช้น้ำเย็น 5-15 องศาก็ได้ ตามปกติแล้ว ถ้าเราใช้น้ำร้อนชงชา คาเตชินและคาเฟอีนในใบชาจะออกมากับน้ำร้อน เพราะสารสองตัวนี้ละลายที่อุณหภูมิสูง ราว 80-90 องศาขึ้นไป สารสองตัวนี้จะให้รสขม ในขณะที่รสอุมามิของชาที่หลายคนชอบดื่มด่ำ ซึ่งเกิดจากกรดอะมิโน จะละลายที่อุณหภูมิตั้งแต่ 60 องศาขึ้นไป ดังนั้น พวกชาเขียวที่อุดมไปด้วยรสอุมามิ อย่างเกียวขุโระ จึงต้องชงด้วยน้ำอุณหภูมิ 40-60 องศา

ดังนั้นหากเราแช่ใบชาในน้ำเย็น รสขมของชาจะออกมาน้อยกว่าการชงแบบร้อน เหมาะสำหรับคนชอบดื่มชารสนุ่มๆ แบบอูมามินั่นเอง

Tea Cold Brew Tea Cold Brew

วิธีการทำชา cold brewทั้งชาดำ ชาอู่หลง

  1. ใช้ใบชา 4 กรัม ต่อน้ำ 200-250 มล
  2. นำใบชาใส่ถุงชาใช้แล้วทิ้ง
  3. นำถุงชาที่ใส่ใบชาแล้วแช่ลงไปในน้ำ ปิดฝาให้แน่น
  4. นำชาแช่ในตู้เย็น เป็นระยะเวลา 6-12 ชั่วโมง
  5. พอครบ ให้ดึงถุงชาออก ชาที่เย็นแบบนี้ สามารถเก็บได้ในตู้เย็นราว 3-4 วัน รสชาติก็ไม่เปลี่ยน ไม่มีความขมเพิ่ม

แต่ข้อควรระวังสำหรับชาเขียว จะขมได้ง่ายมาก ให้ลดปริมาณชาลง เหลือใบชา 3 กรัม ต่อน้ำ 500 มล. และแช่ชาเพียง 3-6 ชั่วโมง  และปกติแล้ว เวลาชงร้อนเรามักได้ กลิ่นหอมจากการชง แต่การชงชาแบบ Cold brew จะไม่มีกลิ่นหอมชวนดื่ม

แม้ว่าใบชาที่ผ่านการ cold brew แล้ว อาจจะนำมาชงร้อนซ้ำได้อีกสักครั้ง แต่รสชาติจะเหลือน้อยแล้ว แนะนำให้ทิ้งไปเลยจะดีกว่า

ส่วนการใช้ผงชาเขียวทำ Cold Brew นั้น ให้ใช้ผงชา 1 ช้อนชาลงไปในขวดที่มีฝาปิด และเทน้ำลงไป 1.5 ถ้วย ปิดฝาแล้วเขย่าประมาณ 15 วินาทีเป็นอันเรียบร้อย

Tea Cold Brew

ที่มา

https://pickledplum.com/cold-brew-tea/

https://theteacupoflife.com/2019/04/cold-brew-matcha.html

https://matchaoutlet.com/blogs/recipes/cold-brew-summer-matcha-drink

บทความจาก : Fuwafuwa

ชาที่ต้มแล้ว เอามาต้มซ้ำได้มั้ยนะ??

หลายคนคงเคยชินกับการชงชาจากถุงชาซ้ำสองถึงสามรอบ หรือใช้ใบชาที่ผ่านการชงแล้วมากกว่า 1 ครั้ง แม้จะมีความสงสัยกับการชงชาว่าหลังจากต้มน้ำแล้ว เอามาชงซ้ำอีกรอบได้มั้ย เพราะดูๆแล้วยังชงดื่มได้อีก สักรอบถึงสองรอบ

Green tea Green tea

โดยปกติแล้วผงชา หรือใบชาบดทุกชนิด มีความเข้มข้นในตัวเอง หากมีการนำมาต้ม หรือโดนน้ำร้อน จะทำให้น้ำร้อนสกัดรสชาติและความเข้มข้นของชาออกมา และเมื่อตอนเราบีบน้ำให้ออกมาจากใบชา ยิ่งบีบแรงเท่าไหร่ ก็จะได้ความเข้มข้นของชามากขึ้น เมื่อผงหรือใบชาที่ผ่านการกรองกากมาแล้วหนึ่งครั้ง ในตัวของผงหรือใบชานั้น ก็ยังคงเหลือรสชาติ และความเข้มข้นอยู่ แต่ไม่เข้มเท่าครั้งแรก ยิ่งชงซ้ำหลายครั้ง รสชาติของน้ำชา ก็จะจืดลงไปเรื่อยๆนอกจากนั้นสีและกลิ่นของชาก็จะลดลง โดยเฉพาะชาที่ผสมนมอย่างเช่น ชาไต้หวัน ชาเขียว ชาไทยแล้วความหวานและกลิ่นของนมจะกลบกลิ่นชาไปอีกด้วย

Green tea Green tea

นอกจากนี้รสชาติ สีสัน และ ความรู้สึกที่สัมผัสจากการดื่มชานั้นมาจากสององค์ประกอบหลักของชา คือ โพลีฟีนอล และ คาเฟอีนแต่ละส่วนประกอบมีรสฝาดในตัวเอง แต่เมื่อมารวมกันความฝาดก็จะลดลง การต้มน้ำให้เดือดอีกครั้งจะทำการลดระดับของ CO2 ซึ่งมีผลในการลดความเป็นกรดลง มีผลต่อองค์ประกอบของคาเฟอีนและโพลีฟีนอล และจะทำให้เกิดการเปลี่ยนสีรวมทั้งลักษณะของชาที่ชง น้ำที่ต้มสองครั้งจะมีผลต่อรสชาติของชาเท่านั้น ไม่ได้มีอันตรายใดๆ และสารอาหารก็ไม่ได้หายไปไหนอีกด้วย

matcha

อย่างไรก็ตามเมนูชาเย็นแนะนำใช้ชงครั้งเดียว เพราะเมนูชาเย็น ความอร่อยที่แท้จริง คือ รสชาติต้องเข้มข้น กลิ่นต้องหอมนั้นเอง

อย่างไรก็ตามอาจจะมีบางคนที่อ่านบทความนี้แล้วรู้สึกว่างั้นการชงชาแค่ครั้งเดียวแต่ทิ้งไว้ในกาชาให้นานขึ้นเพื่อให้ได้รสชาติที่เข้มข้นเลยน่าจะดีกว่าการเอามาชงซ้ำ ต้องขอบอกก่อนเลยว่าเป็นความคิดที่ไม่ดีนัก เพราะอีกตัวแปรที่ส่งผลต่อกลิ่นและรสชาติของชา คือ ระยะเวลาที่เราทิ้งชาเอาไว้ในกาน้ำชา ที่ไม่ต่างอะไรกับการอบขนม ถ้าอบนานเกินไปเค้กอาจจะค่อยๆ แห้งไปเรื่อยๆ จนไหม้ ถ้าทิ้งใบชาไว้ในกานานๆ รสชาติก็จะค่อยๆ ขมขึ้นเรื่อยๆ จนไม่อร่อยไปเอง ถ้าอยากได้รสชาติหอมหวานจากใบชาเพิ่มมากขึ้น แนะนำว่าให้เพิ่มปริมาณใบชา แทนที่จะใช้วิธีทิ้งใบชาแช่ในกาให้นานขึ้น ไม่เช่นนั้นน้ำชาอาจจะออกมาขมจนดื่มไม่ลงเลยก็ได้ หรือเอาชาใบเก่า กลับมาชงได้อีกรอบจะเป็นวิธีที่ดีกว่านั้นเอง

ที่มา

https://www.pinterest.com/pin/244461086010500412/

https://kinarino.jp/cat8/25451

https://e-yamamotoen.com/?pid=105742195

บทความจาก : Fuwafuwa

การผสมชากับนมนั้นมันไม่ดีจริงเหรอ? 

ชาใส่นม ไม่ว่าจะเป็นมัทฉะลาเต้ หรือ ชานมเย็น ที่เป็นที่ชื่นชอบของหลายๆคน ด้วยความเข้มข้น ของชา และความกลมกล่อมด้วยนมที่ผสมตามสูตรของที่ร้าน ชาจึงกลายเป็นหนึ่งในเครื่องดื่มที่มีการบริโภคมากที่สุดในโลกก็ว่าได้ อย่างที่ไทยบ้านเรา ก็มีทั้งชาดำเย็น ชานม หรือฝั่งญี่ปุ่น คนนิยมบริโภคชาเขียว ฝั่งยุโรปยังมีธรรมเนียมในการดื่มชากับขนมหวาน หรือที่เรียกว่า Afternoon tea นอกจากรสชาติที่อร่อยแล้วยังเป็นเพราะชาอุดมด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากๆ อย่างที่รู้กัน เช่น สารคาเทชิน (Catechin) ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ช่วยดักจับอนุมูลอิสระ และสารธีอะนิน (Theanine) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ทำงานสัมพันธ์กันกับเส้นประสาท หากดื่มไปแล้วจะทำให้รู้สึกผ่อนคลาย สงบนิ่งและสมองปลอดโปร่งมากขึ้น ซึ่งการจะได้ประโยชน์จากสารอาหารเหล่านี้อย่างเต็มที่ เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าต้องดื่มแบบไม่ผสมนม หรือน้ำตาล

Matcha Latte

แต่การผสมชากับนมนั้นมันไม่ดีจริงเหรอ? 

มีการค้นพบโดย นักวิจัยจากโรงพยาบาลคาริตของมหาวิทยาลัยเบอร์ลิน เยอรมนี ว่า ชาจะหมดประโยชน์ได้ ถ้าหากใส่นม เพราะโปรตีนในนมจะไปยับยั้งการทำงานของสารคาเทซิน ทำให้ประโยชน์ของชาในการปกป้องโรคหัวใจหมดไปการวิจัยดังกล่าวทดลองเปรียบเทียบ ระหว่างสุขภาพของผู้ดื่มน้ำอุ่น ดื่มชา และดื่มชาแบบเติมนม พบว่า

“ คนที่ดื่มชาทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้นอย่างชัดเจน เมื่อเทียบกับการดื่มน้ำอุ่น แต่พอมีการเติมนมลงไปในน้ำชาคุณประโยชน์ชาก็จะหายไปทันที ”

Matcha Latte

แต่ถ้าต้องการดื่มชาแบบเติมนมจริงๆ ก็ยังมีการโต้เถียงอีกว่า“ควรใส่ ชาก่อนหรือหลังนม?”

บางคนก็เชื่อว่าการเติมนมทีหลังชงชา ทำให้ผู้ดื่มสามารถกะปริมาณนมได้ง่ายกว่า โดยดูจากสีที่เปลี่ยนไป แถมเปิดโอกาสให้เจ้าของชาเลือกอุณหภูมิที่พอใจได้ด้วยตนเอง

แน่นอนว่าก็มีบางคนที่บอกว่าการเติมนมก่อนชงชาสามารถรักษาอุณหภูมิของชาได้ดีกว่า และทำให้ชามีรสละมุนกว่า เพราะแลคโตสในนม จะละลายดีกว่าเมื่อถูกความร้อนอย่างช้าๆ และการที่เทชาลงทีหลัง ทำให้นมมีโอกาสสัมผัสความร้อนจากชาได้อย่างทั่วถึงนั้นเอง ซึ่งเป็นสาเหตุหลังให้รสชาติของนมมีความกลมกล่อมและหวานหอมมากกว่า และนมที่ดีไม่ควรผ่านความร้อนหลายครั้ง ดังนั้นถ้าอยากเก็บคุณค่าทางสารอาหาร ก็แนะนำให้เสิร์ฟนมอุณหภูมิปกติ โดยให้ผ่านความร้อนจากการสัมผัสชาเพียงครั้งเดียวจะดีกว่านั่นเอง

อย่างไรก็ตามการไม่ใส่นมลงไปในชา ถือว่าเป็นวิธีการดื่มที่ดีที่สุด แต่ถ้าใครอยากใส่นมจริงๆ ลองเปลี่ยนมาดื่มชาที่ผสมนมอัลมอนด์ หรือนมพิสทาชิโอแทนก็น่าสนใจทีเดียว เพราะ 2 ตัวนี้อุดมด้วยมีแคลอรี่ต่ำ อุดมไปด้วยวิตามินอี และวิตามินดีไม่แพ้นมวัวเลย ที่สำคัญไม่มีส่วนผสมของถั่วเหลือง ปราศจากแลคโตสและกลูเตน คนที่แพ้นมวัวจึงสามารถทานได้อย่างไร้กังวล

Matcha Latte

ที่มา https://www.teacachai.com/pistachio-matcha-latte/

https://www.acozykitchen.com/matcha-iced-latte

https://bonaippetit.com/aip-coconut-milk-matcha-latte/

https://theforkedspoon.com/how-to-make-thai-iced-tea/

บทความจาก : Fuwafuwa

สีเขียวๆเหมือนกัน แต่ทำไมเป็นชาเขียวคนละแบบกัน

ทุกคนน่าจะเคยเห็นชาเขียว ที่สีไม่เขียว อย่างที่รู้จักกันในชื่อของ ชาโฮจิฉะ กันแล้ว แต่ก็อาจจะเคยเห็นชา ที่สีเขียวเหมือนกัน ต่างระดับเข้มอ่อน ซึ่งจริงๆแล้วเป็นการแสดงรสชาติที่มีหลากรสชาติหลายระดับ สิ่งที่ทำให้ชาเขียวแตกต่างจากชาประเภทอื่นๆ อย่างชาแดง และชาอู่หลง คือการ “นึ่ง” ใบชา ที่สามารถช่วยไล่กลิ่นเหม็นเขียวไปพร้อมๆ กับหยุดกระบวนการออกซิเดชัน ทำให้รักษาสีเขียวเอาไว้ได้นั่นเอง

สิ่งที่เรียกว่าชาเขียวเองก็ยังแบ่งได้ออกเป็นอีก 4 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่

1.เกียวคุโระ (Gyokuro)ยอดใบชาเขียวชั้นดี ใบชาม้วนเป็นเกลียว สีเขียวเข้ม ปลูกโดยคลุมผ้ากันแสงให้อยู่ในสภาวะเหมาะสมจนเกิดเป็นสีเขียว ผ่านการนึ่ง นวด และทำให้แห้ง ได้ออกมาเป็นชารสไม่ฝาด หวานเล็กน้อย ซึ่งที่มาของรสชาติหวานกลมกล่อมนี้ มาจากการที่ให้ใบชาอยู่ในร่มก่อนการเก็บเกี่ยว ซึ่งการป้องกันแสงแดดนี้จะทำให้สารเธียอะนินที่มีประโยชน์ (ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย) ในใบชาเพิ่มขึ้น แต่ทำให้สาร catechin ที่มาของรสขมในใบชาลดลง ทำให้ได้ชาที่มีรสชาติหวานกลมกล่อมนั่นเองกลิ่นหอม สีชาเกียวคุโระสีเขียวสด จัดเป็นชาเขียวชั้นสูง ผลิตได้ไม่มาก เก็บเกี่ยวได้ทีละน้อย ราคาจึงค่อนข้างแพง ส่วนมากใช้ในงานพิธีการ

2.มัทฉะ (Matcha) ชื่อที่หลายคนคุ้นเคยมากที่สุด ชาตัวนี้ผลิตจากมาจาก เท็นฉะ (Tencha) ซึ่งได้มาจากใบชาที่ปลูกในที่ร่มเหมือนชาเกียวคุโระก่อนจะนำไปบดเป็นผงด้วยหินอย่างพิถีพิถัน มักจะใช้ในพิธีชงชา เพราะมัทฉะรสชาติกลมกล่อมมัทฉะแบ่งเป็นหลายเกรด เช่น สำหรับทำขนม เครื่องดื่ม ชงในงานพิธีการ เป็นต้น สามารถสังเกตได้จากสีของมัทฉะ ยิ่งมัทฉะสีเข้มเท่าไหร่ คุณภาพก็ยิ่งดี ซึ่งในมัทฉะสารอาหารค่อนข้างมากที่สุด

3.เซ็นฉะ (Sencha) ชาเขียวส่วนใหญ่ หรือคิดเป็นกว่า 60% ของชาเขียวในประเทศญี่ปุ่นไม่ต้องเลี้ยงในร่ม เก็บเกี่ยวในช่วงแรก หรือช่วงที่สองของปี เมื่อเก็บใบมาแล้วต้องผ่านกระบวนการนึ่ง นวด และอบแห้งเหมือนกับเกียวคุโระ รสชาติค่อนข้างฝาด เนื่องจากการอบเลยทำให้ชาประเภทนี้ค่อนข้างมีกลิ่นหอม

4. บันฉะ (Bancha) คุณภาพรองลงมาจากชาเซนฉะ เพราะเก็บเกี่ยวในช่วงที่สามหรือสี่ของปี ใช้ดื่มทั่วไป เป็นใบชาที่เหลือจากยอดต้น ได้มาจากใบชาที่เก็บนอกฤดูกาล เช่น ก่อนต้นชาแตกยอด

ใหม่ หรือมีขนาดไม่ได้ตามมาตรฐาน รวบรวมมาผ่านกระบวนการต่างๆ จนได้เป็นชาราคาย่อมเยา มีรสชาติอ่อน สีออกไปทางเหลืองอมเขียวแทนที่จะเป็นสีเขียวสด รสฝาดกว่าชาชนิดอื่น อีกทั้งกลิ่นเฉพาะตัวของชาไม่หอมเท่าประเภทอื่น

ชาเขียว

ความอร่อยในการดื่มชาแต่ละประเภทอยู่ที่รสนิยม วิธีการปรุง รวมถึงอาหารที่รับประทานทานคู่กับชา แต่ชาเขียวทุกประเภทมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายจำนวนมากน้อย ขึ้นอยู่กับประเภทของชานั้นๆ นั่นเอง

Matcha Matcha

ที่มา

6 Different Types of Tea: The Ultimate Guide

http://www.flickr.com/photos/nikosan-artwork/5445104938/in/set-72157625618496145/

Homemade Tea Blends | For Christmas

https://kinarino.jp/cat8/25451

บทความจาก : Fuwafuwa

โรยผงมัทฉะบนขนมยังไงให้ดูน่าทาน?

ตามปกติแล้วชาเขียวที่ใช้ทำเบเกอรี่นั้น ใช้ได้ทั้งชาเขียวแบบใบและแบบผง ถ้าใช้แบบใบต้องนำไปชงในน้ำร้อนแล้วกรองใบชาออกก่อนใช้ เราจึงนิยมใช้แบบผงมากกว่าเพราะใช้งานได้กว้างกว่า สามารถใช้ได้ทั้งแบบแห้งหรือนำไปชงแล้วใช้แบบน้ำได้ด้วย ซึ่งหลายคนที่เลือกใช้แบบผงมาทำขนมแล้ว แต่ก็ยังเกิดปัญหากับการแต่งหน้าขนมที่ไม่เป็นตามที่คิดไว้

การโรยผงมัทฉะลงไปที่ขนมแล้วซึมลงไปในเนื้อเค้กนั้นเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ เพราะผงชามันจะดูดความชื้นเข้ามาจนเปียกเมื่อทิ้งไว้นานๆ นั้นเอง สีจึงอาจจะไม่เรียบเนียน

matcha cake matcha cake

ทริคเล็กๆน้อยๆสำหรับการแต่งหน้าขนม คือ ให้โรยตอนที่จะเสิร์ฟ หรือใกล้ๆช่วงเวลาที่จะทานเพื่อให้สีเขียวเรียบเสมอกัน และแนะนำให้ก่อนโรยผงมัทฉะ พักหน้าเค้กไว้ในตู้เย็นไม่ต้องเอาอะไรคลุม ให้หน้าเค้กแห้งขึ้น สัก 2 ชม. จะทำให้ผงมัทฉะติดง่ายขึ้นไม่ละลายซึมลงไป หรือในกรณีที่ต้องการตกแต่งหน้าขนมเป็นลวดลาย หลังจากนำเค้กออกจากตู้เย็น วางกระดาษทาบไปบนหน้าเค้ก ไม่ต้องกด แล้วโรยผงมัทฉะด้วยกระชอนตาถี่ๆให้ทั่วตามรอยที่บุไว้ (ขั้นตอนนี้ต้องทำให้รวดเร็ว)

อย่างไรก็ตามบางคนก็นำผงมัทฉะผสมน้ำตาลไอซิ่งเล็กน้อย จะช่วยได้พอประมาณ เพราะในน้ำตาลไอซิ่งมีแป้งข้าวโพดจะช่วยกันความชื้นระดับหนึ่ง หรือใช้ผงมัทฉะเฉพาะสำหรับโรยหน้าขนม แต่ราคาจะค่อนข้างสูงกว่าผงมัทฉะปกติ มีขายตามร้านทำขนมที่ญี่ปุ่

ส่วนใครที่ไม่มีน้ำตาลไอซิ่ง สามารถน้ำตาลไปป่นจนละเลียดและผสมแป้งข้าวโพดเข้าไปประมาณ 3% ก็จะมีลักษณะที่เป็นเหมือนน้ำตาลไอซิ่ง ใช้แทนกันได้

อีกข้อควรระวังในการโรยผงมัทฉะลงบนขนม คือ เรื่องสี รสชาติ และกลิ่น กล่าวคือ สีของผงมัทฉะ ยิ่งเขียวสดเข้ม จะยิ่งมีความขมน้อยมากๆเป็นมัทฉะที่ได้รับการดูแลอย่างดี สายพันธุ์ดี แต่ถ้าสีเขียวอ่อน คือผลิตจากใบชาที่เกรดรองลงมา ผลิตจากใบชาเขียวใบโตที่ได้รับแสงแดดมานาน ใครที่เป็นขั้นเทพเรื่องชาเขียวพอเห็นหน้าตาขนมเลยจะรู้ได้เลยว่าใช้ชาเขียวเกรดไหนในการทำขนม แต่วิธีเพิ่ม value ให้ขนมได้อีกทาง คือ การเขียนText สั้นๆ ว่าที่ร้านใช้ผงมัทฉะเกรดพรี่เมี่ยมจากที่ไหน ก็จะทำใ้ขนมมีมูลค่ามากขึ้น เพราะ บางคนไม่รู้ว่าสีเขียวเข้มๆที่เห็นเป็ฯผงชาเขียวแท้ๆ หรือเป็ฯการผสมสีผสมอาหารนั่นเอง

นอกจากนั้นรสของชาปกติจะมีความหวานในตัวนิดๆ ขมหน่อยๆ ฝาดพอรู้สึกได้ แต่ถ้าชาเกรดรองๆลงมา จะยิ่งขมและฝาดมากขึ้น เพราะฉะนั้น การเลือกผงชาเขียวที่ใช้โรยหน้าขนมก็เป็นอีกสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญไม่แพ้กัน

matcha

ที่มา

https://bit.ly/2S6UsG2

Tastykitchen.com

http://cookingwithjapanesegreentea.blogspot.com/

https://www.justonecookbook.com/

http://www.landsandflavors.com/vegan-matcha-mousse-cake/

บทความจาก : Fuwafuwa

เคล็ดลับการเลือกดื่มชา เวลาไหนเกิดประโยชน์ที่สุด?

สำหรับผู้ที่ชอบดื่มชาอาจจะอยากทราบว่า หากต้องการดื่มชาให้ได้ประโยชน์สูงสุด ควรดื่มเวลาไหนดีนะ? เพราะเครื่องดื่มอย่างชา..หากดื่มถูกจังหวะเวลาก็ย่อมทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อร่างกายได้ด้วย แต่ถ้าดื่มมากไปก็อาจจะเกิดผลเสียได้เช่นกัน แล้วช่วงเวลาไหนคือ เวลาที่เหมาะสมสำหรับการดื่ม และเหมาะกับแต่ละคน

ชงมัทฉะ

แนะนำให้ดื่มชาทันที หลังชงเสร็จร้อนๆทันทีไม่ควรปล่อยไว้นานเกินกว่า 2 ชั่วโมง ไม่เช่นนั้น สีของน้ำชาจะคล้ำลง และมีรสชาติฝาด เพราะการดื่มแบบชงร้อนจะทำให้ร่างกายได้รับประโยชน์จากสารอาหารในชามากกว่า เนื่องจากชามีกรดแทนนินสูง (Tannin) หากคุณดื่มตอนที่มีรสฝาดจะส่งผลกระทบมายังกระเพาะอาหารและลำไส้ ซึ่งมันจะทำให้การดูดซึมสารอาหารไม่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการดูดซึมธาตุเหล็ก แคลเซียมและแมกนีเซียม

ในชายังมีสารสำคัญอย่างคาเทชิน (Catechin) ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ช่วยดักจับอนุมูลอิสระ และสารธีอะนิน (Theanine) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ทำงานสัมพันธ์กันกับเส้นประสาท หากดื่มไปแล้วจะทำให้รู้สึกผ่อนคลาย สงบนิ่งและสมองปลอดโปร่งมากขึ้น หากไม่ดื่มหลังชงร้อนๆเสร็จ ปล่อยน้ำชาไว้ให้เย็น จะทำให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้น้อยลง

อย่างไรก็ตามปกติเรามักจะได้ยินคนแนะนำว่าให้รับสิ่งดี ๆ ที่มีประโยชน์เข้าไปในตอนเช้า แต่ว่าอย่าดื่มชาเขียวตั้งแต่เช้าขณะท้องว่างเพราะว่าชาเขียวมีคาเฟอีนจะทำให้ร่างกายขับน้ำออกมา กลายเป็นอาจทำให้ร่างกายขาดน้ำ ผิวพรรณห่อเหี่ยวไม่สดชื่น สมองก็จะมึนงงได้ แถมชาเขียวยังกระตุ้นให้เกิดกรดในกระเพาะอาหารมากไปจนเกิดแผลตามมาได้ ควรกินอาหารเช้าให้เรียบร้อยก่อนแล้วค่อยตามด้วยชาเขียวร้อนๆสัก 1 แก้วจะดีกว่า

ส่วนใครที่ชอบออกกำลังกายมีงานวิจัยทดลองว่าการดื่มชาเขียวก่อนออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที จะช่วยให้เราสดชื่นกระปรี้กระเปร่าและออกกำลังกายได้ต่อเนื่องยาวนานขึ้น ดังนั้นจึงเหมาะมากๆกับคนที่ต้องการจะลดน้ำหนักสลายไขมัน แต่ทั้งนี้ จะต้องเป็นชาเขียวเพียวๆที่ไม่ใส่น้ำตาลและนม

ชาเขียว

สำหรับคนที่ชอบจิบชาแทนน้ำเปล่า หรือคนที่เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบควรหันมาจิบน้ำชาอ่อนๆ ดีกว่า ไม่ควรจิบชาแก่ๆ เพราะจะยิ่งทำให้การหลั่งของกรดออกมามากขึ้น ทำให้เกิดการระคายเคืองภายในกระเพาะอาหาร

ส่วนคนทั่วไปแนะนำให้ดื่มชาเข้มๆ หลังจากกินอาหารไปแล้ว 2-3 ชั่วโมง เพื่อเป็นการกระตุ้นให้น้ำย่อยหลั่งออกมา จะทำให้การย่อยอาหารจำพวกวิตามินต่างๆ ได้ดีขึ้น การจิบชาที่มีควาามเข้มข้นต่างกัน จะกระตุ้นการหลั่งกรดมากน้อยต่างกัน ซึ่งจะได้ไม่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารหนักมากขึ้นไปกว่าเดิม และจะช่วยทำให้การดูดซึมสารอาหารเป็นไปได้ดี

ส่วนใครที่ต้องการดีท็อกซ์ร่างกาย วิธีที่ช่วยได้ก็คือ จิบชาเขียวที่ชงอ่อนๆ ตลอดทั้งวัน จิบทีละน้อยๆ หากดื่มไปรวดเดียวจนหมดแก้วจะช่วยเรื่องการล้างพิษไม่ได้ และกลายเป็นจะถูกขับออกไปอย่างรวดเร็วในรูปแบบปัสสาวะแทน

แม้จะไม่มีการระบุว่าการดื่มช่วงไหนคือเวลาที่ดีที่สุด แต่การดื่มให้เหมาะกับพฤติกรรมและช่วงเวลาที่แต่ละคนสะดวก ก็จะทำให้การจิบชาแต่ละครั้งก็จะทำให้ได้สารอาหารที่ครบถ้วยมากขึ้น ดีต่อสุขภาพ และดีต่อใจ ^^

ที่มา

https://www.topteny.com/top-10-most-expensive-tea-in-the-world/

https://www.poetrysoup.com/poem/green_tea_cleans_your_thoughts_1124642

http://goop.com/the-best-green-lattes-thank-you-very-matcha/

บทความจาก : Fuwafuwa

ข้อควรระวังในการดื่มชา ที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้

หลายคนคงทราบกันอยู่แล้วว่า การดื่มชามีประโยชน์มากมาย แต่น้อยคนนักจะรู้ว่าการดื่มชามากจนเกินไปจะมีผลเสียต่อร่างกายพอสมควรเลยทีเดียว

matcha benefits

1. การดื่มน้ำชาไม่ว่าจะชาร้อนหรือชาแช่เย็นไม่ควรแต่งรสด้วยนมสด นมข้นหรือนมผง เพราะโปรตีนในนมจะไปจับกับสารสำคัญในชา ทำลายประสิทธิภาพสารออกฤทธิ์ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย วิธีการดื่มชาเขียวให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพ จึงควรดื่มน้ำชาล้วนๆไม่ควรปรุงแต่ง นอกจากจะได้สารอาหารที่ครบถ้วนแล้วยังไม่อ้วนจากน้ำตาลที่ปรุงแต่งเข้าไปด้วย

2. ใบชายังมีองค์ประกอบของฟลูออไรด์ในปริมาณที่ค่อนข้างสูงและสูงกว่าปริมาณในน้ำประปา หากดื่มในปริมาณที่มากเกินไป จะเกิดการสะสม มีผลให้ไตวาย เกิดมะเร็งลำไส้ โรคกระดูกพรุน (Osteofluorosis) โรคข้อ และโรคอื่นๆที่เกี่ยวกับกระดูก และยังทำให้ฟันเกิดคราบเหลืองได้ ยิ้มฟันขาวๆจะหายไป แต่ผู้ที่ดื่มไม่มาก ก็คงไม่ต้องกังวล

3. หลีกเลี่ยงชาที่มีส่วนผสมของคอมเฟรย์ (comfrey)ซึ่งมีสารไพโรลิซิดีน อัลคาลอยด์ อันอาจเป็นอันตรายต่อตับ ในบางประเทษดอกคอมเฟรย์เป็นเรื่องต้องห้ามเลย

matcha

4. สารออกซาเรท (oxalate) ในชาที่มีอยู่ในปริมาณน้อย แต่หากผู้ที่ชื่นชอบการดื่มชามากจนเกินไปและดื่มบ่อยๆเป็นประจำ จะสะสมสารออกซาเรทในร่างกายได้ อาจส่งผลต่อการทำลายไตได้

5. ใบชามีคาเฟอีนในปริมาณสูงอาจสูงกว่าในเมล็ดกาแฟด้วยซ้ำไป เพียงแต่การดื่มน้ำชา สารแทนนินจากน้ำชาจะช่วยลดการดูดซึมของคาแฟอีนเข้าสู่ร่างกาย ทำให้ฤทธิ์การกระตุ้นหัวใจและสมองน้อยกว่ากาแฟมากคาเฟอีน แต่ก็ส่งผลต่อการนอนเช่นเดียวกับกาแฟ ดังนั้นไม่ควรดื่มภายในสามชั่วโมงก่อนเข้านอน

6. สารแทนนินที่มีอยู่ในชาเขียวซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการท้องผูกเพราะสารตัวนี้ทำหน้าที่ยับยั้งการดูดซึมสารอาหารสำคัญอีกหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นโปรตีน เหล็กและโฟลิก เพราะฉะนั้น เพื่อป้องกันปัญหาท้องผูกตามมา แนะนำให้คุณหันมาดื่มชาเขียวแต่เพียงในปริมาณพอดี โดยดื่มวันละไม่ควรเกินกว่า 5 แก้ว ร่วมกับการดื่มน้ำให้มากๆ และกินอาหารที่มีกากใยสูง ก็จะช่วยปรับระบบขับถ่ายให้ทำงานคล่องตัวขึ้นได้แล้ว ดังนั้นจึงมักจะมีคำแนะนำไม่ให้เด็กดื่มน้ำชา ไม่ว่าจะเป็นชาเขียวแช่เย็นหรือชาร้อน เพราะจะทำให้ร่างกายขาดสารอาหารได้

7. สารคาเทคชินส์ (Catechins) ที่อยู่ในชา จะถูกความร้อนทำลายไปเกือบหมด คงเหลือแต่ความหอมและรสชาติ ถ้าต้องการดื่มชาร้อนๆ ควรดื่มน้ำชาที่เข้มข้น เช่นเดียวกับคนจีน ที่นิยมชงชาจีนรสเข้มข้นในถ้วยชาใบจิ๋วคล้ายกับการดื่มกาแฟเอ็กซ์เพรซโซ่ ความเข้มข้นของใบชาจะทำให้มีปริมาณสารคาเทคชินส์ที่เข้มข้น และแม้ว่าสารเหล่านี้จะสลายตัวไปบางส่วนเมื่อโดนความร้อนจากน้ำร้อน แต่จะยังคงมีบางส่วนที่หลงเหลืออยู่ ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพได้บ้าง

ไม่ว่าจะเป็นชาเขียวหรือชาชนิดใดก็ตาม ควรดื่มในปริมาณ และเวลาที่เหมาะสมเพื่อบำรุงร่างกายจะดีกว่าการดื่มที่มากเกินไป ^^

ที่มา

https://bit.ly/3a3MFi2

https://www.ful-filled.com/2018/01/23/all-about-matcha/

https://health.mthai.com/howto/health-care/12777.html

https://mommypotamus.com/comfrey/

บทความจาก : Fuwafuwa

รู้ไหมว่า…ชงชาเขียวใช้น้ำแบบไหน?

ปกติแล้วเรามักนิยมแช่ใบชากับน้ำร้อนนานๆ อยากดื่มเมื่อไหร่ก็เทออกมา ซึ่งความคุ้นเคยนี้ทำให้บางครั้งเราไม่ได้รับรสชาที่แท้จริง การชงชาแต่ละชนิดมีความแตกต่างจากหลักการเบื้องต้นไม่มากนัก แต่ก็มีความละเอียดอ่อนที่จะช่วยให้ได้รสอร่อยและประโยชน์ของชาอย่างแท้จริง

ใบชาแต่ละชนิด มีสารอาหารอยู่ในปริมาณที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับกรรมวิธีการผลิต ซึ่งสารอาหารเหล่านี้นี่เอง ที่เป็นตัวกำหนด “รสชาติ” ของชา เช่น ชาที่มีกรดอะมิโนเยอะ ก็จะมีรสกลมกล่อม ชาที่มีสารแคทิซินเยอะ ก็จะมีรสฝาด และขม

มัทฉะ มัทฉะ

ซึ่งนอกจากประเภทชาแล้ว “น้ำ”ที่ใช้สำหรับชงชา ดูเผินๆหลายคนคงไม่ได้ให้ความสำคัญกับมันนัก เน้นไปที่เลือกผงชา ใบชา ที่คุณภาพดีไว้ก่อน แต่ความจริงแล้ว การชงชาให้อร่อยชนิดของน้ำที่ชง มีผลต่อรสชาติและกลิ่นของชา ที่มองข้ามไม่ได้เช่นกัน เพราะสารอาหารในชา นอกจากจะมีปริมาณที่ต่างกันแล้ว ยังมีคุณสมบัติละลายในน้ำอุณหภูมิที่ต่างกันอีกด้วย

อย่างชาเขียว คือ ชาที่ไม่ผ่านการหมักหากชงด้วยน้ำเดือด 100 องศา ใบชาจะเฉา เหี่ยว และขับสารแคทิซีนออกมาเป็นจำนวนมากส่งผลให้ชามีรสขม เวลาดื่มรสสัมผัสจะน้อยลง เพราะในชาเขียวเป็นชาที่มีปริมาณกรดอะมิโนสูง การจะชงชาให้ได้รสชาติดีที่สุดนั้น จะต้องดึงกรดอะมิโนออกมา โดยที่ในขณะเดียวกันก็ต้องระวังไม่ให้สารแคทิซิน ซึ่งเป็นสารให้ความขมและฝาดออกมา จึงต้องใช้น้ำที่อุณหภูมิระหว่าง 50-60 องศาเซลเซียส เพราะกรดอะมิโน จะเริ่มละลายออกมาในน้ำอุณหภูมิตั้งแต่ 50 องศา ในขณะที่สารแคทิซิน จะละลายออกมาที่น้ำอุณหภูมิสูงกว่า 60 องศา เป็นต้น หรือสรุปง่ายๆคือการชงชาเขียว จึงต้องใช้น้ำร้อนอุณหภูมิต่ำกว่า 100 องศา  แต่ถ้าเป็นมัทฉะและเซนฉะใช้น้ำร้อน ร้อนแค่85 องศาก็เพียงพอแล้ว

วิธีชงมัทฉะ

นอกจากนี้จริงๆแล้วที่ยุโรป มักจะใช้น้ำบรรจุขวดในการชงชา ไม่ใช้น้ำแร่ เพราะแร่ธาตุในน้ำแร่จะทำให้รสชาติของแร่ธาตุจะไปกลบรสชาติของชา ทำให้ไม่รู้รสชาติที่แท้จริง แต่น้ำแร่ในฝั่งเอเชีย กลับเป็นน้ำที่เหมาะสมในการใช้ชงชามากกว่า

หากจะชงชาเพื่อลิ้มรสของชาจริงๆแล้ว ไม่ควรใช้น้ำก๊อก แม้จะเป็นน้ำก๊อกที่สามารถดื่มได้ก็ตาม เพราะน้ำจากก๊อกอาจมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ หากนำมาชงชาก็อาจจะทำให้เสียอรรถรสในการดื่มชาได้เช่นกัน

ที่มา

https://www.morimatea.com/

https://bestceramics.cn/products/chinese-landscape-painting-stoves

บทความ : Fuwafuwa

ชาจีนต่างกับชาญี่ปุ่นอย่างไร

ไม่ว่าที่ประเทศจีน และที่ญี่ปุ่น ก็มีชาเป็นเครื่องดื่มหลักเหมือนกัน เพราะชา เป็นเครื่องดื่มที่อุดมด้วยสารอาหาร ดีต่อสุขภาพ เช่นเดียวกัน

เมื่อพูดถึงชาจีนเรามักเข้าใจว่าเป็นชาเขียวในความเป็นจริงแล้ว ชามีหลายประเภท ตามเวลาในการเก็บใบชา และสถานที่เก็บ โดยชาจีน จะแบ่งเป็น ชาขาว, ชาเขียว, ชาอู่หลง, ชาดำ

กรรมวิธีทำชาแต่ละประเภทแตกต่างกัน อย่างเช่นชาขาวและชาเขียว จะทำให้ได้รับความร้อน เพื่อรักษาสารต้านอนุมูลอิสระให้ยังคงอยู่ ส่วนชาอู่หลง ชาดำ พวกนี้ถูกเอาไปหมัก ชาอู่หลงจะหมักให้ถูกอ๊อกซิไดน์เพียงส่วนหนึ่ง ส่วนชาดำจะถูกอ๊อกซิไดน์ทั้งหมด

ชาจีน ชาจีน

ในทางกลับกันชาเขียวญี่ปุ่นเป็นชาที่เก็บสดๆ เอามา stream ด้วยไอน้ำ เพื่อหยุดออกซิไดซ์ ได้สีเขียวสวย และรสตามธรรมชาติ การที่ใบชาที่ได้นั้นไม่ผ่านขั้นตอนการหมัก จึงทำให้ใบชามีสารประกอบฟีนอล หลงเหลืออยู่มาก จึงทำให้ชาเขียวมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากกว่าชาชนิดอื่น และเมื่อเอามาบดผ่านเครื่องจนเป็นผง จึงกลายเป็นผงมัทฉะ ที่เรานิยมใช้ในพิธีชงชา และการทำขนมนั่นเอง

มัทฉะญี่ปุ่น

นอกจากความต่างของกรรมวิธีการผลิตแล้ว การเสิร์ฟชาของชาจีนและชาญี่ปุ่นก็แตกต่างกัน ประเทศจีนส่วนมากจะใช้กาใหญ่ เมื่อมีแขกเข้าบ้าน ก็ใส่ใบชาในกาและเทน้ำร้อนใส่ลงไป เมื่อแช่ไว้จนได้กลิ่นและสีชาแล้วจึงรินใส่แก้วให้แขกดื่ม แต่ก็มีบางท้องถิ่นของจีนเช่นเมืองจางโจวของมณฑลฮกเกี้ยนจะมีอุปกรณ์กังฮูเต๊ โดยมีเครื่องถ้วยชากาชาเป็นชุดและมีวิธีการชงชาที่พิเศษ จึงทำให้กลาย เป็นศิลปะชาที่มีเอกลักษณ์ของพื้นเมือง

พิธีชงชา

ส่วนที่ญี่ปุ่น พิธีการชงชา จะมีลักษณะที่เป็นแบบแผนที่ได้พัฒนาภายใต้อิทธิพลของพุทธศาสนานิกายเซ็น มีขั้นตอนและกรรมวิธีการชงที่ค่อนข้างละเอียดอ่อนมากกว่าของจีน ทั้งการเลือกถ้วยชาม วิธีการนั่งชงชา การตักน้ำสำหรับชงชา นิยมเสิร์ฟคู่กับขนมวากาชิ ขนมชิ้นเล็กที่มีรสหวาน ทานคู่กันกับชาเพื่อตัดเลี่ยน ซึ่งจุดประสงค์สามารถอธิบายหัวใจแท้จริงของพิธีชงชาได้ด้วยหลัก 5 ประการ คือ 1.ความเรียบง่าย  (Simplicity) 2.ความบริสุทธิ์ (Purity) 3.ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติอย่างลงตัว (Harmony)  4.ความสงบของจิตใจ (Tranquillity) 5.ความสง่างาม (Beauty) อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://matchazuki.com/ซะโด-พิธีชงชาที่แฝงปรัช/ 

ไม่ว่าใครจะเป็นสายชาจีน หรือชาญี่ปุ่น แต่ชาทั้ง 2 ประเภทก็มีประโยชน์ไม่ต่างกันนัก ลดการดื่มน้ำหวาน แล้วมาดื่มชาเพื่อสุขภาพกันดีกว่า

มาสัมผัสรสชาติชาเขียวญี่ปุ่นแท้ๆได้ที่ https://matchazuki.com/shop/

ที่มา

http://dofire.bestnailideas.com/image.php?id=454524

https://www.chopstickchronicles.com/sanshoku-three-colour-dango/

http://neredennereye190696.weblobi.net/image.php?id=561147

http://tokyopic.com/

https://www.pinterest.com/pin/657033033123464205/

https://journal.pim.ac.th/uploads/content/2017/12/o_1c2bpm19o16itkenbpr6kn130ga.pdf

บทความจาก : Fuwafuwa

กว่าจะเป็นผงชามัทฉะ

ชาเขียว กับมัทฉะ เป็นเครื่องดื่มที่นิยมของชาวญี่ปุ่น ผลิตจากใบชาจากแหล่งปลูกในญี่ปุ่นที่เหมือนกัน ความเหมือนที่แตกต่างของ “มัทฉะ” และ “ชาเขียว ที่ชัดเจนที่สุด คือ ลักษณะของการใช้ เพราะมัทฉะจะมาในรูปแบบผงละเอียด ในขณะที่ชาเขียวโดยปกติจะมาในรูปแบบของใบชาแห้ง เวลากิน ชงกับน้ำร้อนกินแต่น้ำชา ส่วนใบชากรองออก

matcha

ส่วนชาเขียวที่เราเรียกมัทฉะ มีลักษณะเป็นผงชาเขียวที่นำใบชามาบดจนละเอียด เวลากินนำผงชาไปผสมกับน้ำร้อน คนให้เข้ากันแล้วดื่มได้ทั้งหมด ไม่ต้องกรองส่วนใดออก ซึ่งกรรมวิธีการแปรรูปจากใบชาเขียว มาเป็นผงมัทฉะต้องอาศัยความละเอียดอ่อนพอสมควร ชาเขียวญี่ปุ่นแท้ เป็นชาที่ไม่ผ่านกระบวนการหมัก เสร็จแล้วนำไปนวดเพื่อให้ใบชาม้วนตัว จากนั้นนำไปอบแห้ง สีของน้ำชาจึงมีสีเขียว

matcha greentea

ต้นชาที่จะนำมาผลิตเป็นมัทฉะ จะมีการปลูกและดูแลที่ซับซ้อนกว่าชารูปแบบอื่น ช่วงที่ใบชาแตกยอด ก่อนเก็บเกี่ยวต้องคลุมป้องกันไม่ให้ชาได้รับแสดงแดดโดยตรง เพื่อหลีกเลี่ยงการโดนแสงแดดโดยตรง เป็นการลดการสังเคราะห์แสงชะลอการเจริญเติบโตของใบชา เพื่อกระตุ้นการผลิตคลอโรฟิลและกรดอะมิโนใบชาจึงมีสีเขียวเข้ม เหมาะกับการนำไปทำมัทฉะ โดยนำใบชามาบดโดยครกหินที่ทำให้เกิดความร้อนน้อยที่สุด เพื่อรักษารสชาติและกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ไว้ บดจนออกมาป็นผงละเอียดเหมือนแป้ง ใช้เวลานาน กว่าจะได้ผงชาออกมาจำนวนหนึ่ง ทำให้มัทฉะมีราคาสูงกว่าชาเขียวชนิดอื่นๆ

matcha

ในสมัยก่อนมัทฉะจึงเป็นชาที่ถูกนำไปใช้ในพิธีชงชาของประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันนิยมนำผงมัทฉะมาชงเครื่องดื่ม ร้อน เย็น ทำขนม หรือไอศกรีม เพราะมัทฉะมีสีเขียวสดสวย อีกทั้งยังมีคุณค่าทางอาหารจากใบชาทั้งใบอีกด้วย ทำให้มัทฉะเป็นที่ได้รับความสนใจจากกลุ่มคนรักสุขภาพมากยิ่งขึ้น ในขณะที่ชาเขียวสามารถใช้ชงเครื่องดื่ม ร้อน เย็นได้ แต่ไม่เหมาะที่จะไปทำขนม

ประโยชน์ของชาเขียว สารสำคัญหลักๆ คือ ธีอะนีนและคาเทชิน

  • ธีอะนีนเป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่งเป็นสารสำคัญที่พบมากในชาเขียว ให้ฤทธิ์ในเรื่องของการผ่อนคลาย ลดความเครียด ทำให้เกิดสมาธิ คิดอ่านได้ดีขึ้นและยังส่งเสริมคุณภาพของการนอนหลับ ทำให้หลับสนิทยิ่งขึ้นด้วย
  • คาเทชิน มีฤทธิ์เป็นสารต้านออกซิเดชันที่จับกับอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบ เพิ่มความสามารถในการจดจำ สามารถลดไตรกลีเซอไรด์ ลดคอเลสเตอรอล ลดการดูดซึมไขมันในลำไส้และการสะสมของไขมัน เพิ่มการใช้พลังงาน การดื่มชาสามารถลดความอ้วนได้ ที่สำคัญช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งในร่างกายได้อีกด้วย
  • สรรพคุณอื่นๆ ได้แก่ ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย และเป็นการดีท๊อกซ์ร่างกายไปในตัวด้วย

แหล่งที่มา

https://www.pinterest.com/pin/631207704000682997/

https://www.pinterest.com/pin/481463016383950342/

https://www.ohhowcivilized.com/what-is-matcha-green-tea/

https://www.tealoftco.com/products/matcha-premium

https://www.finedininglovers.com/stories/tea-tips-teapot-food-design/

บทความจาก : Fuwafuwa

ชาชนิดเดียวกัน ทำไมรสชาติถึงแตกต่างกัน?

การปลูกชาเขียว แต่ละไร่ แต่ละที่ก็มีวิธีการเคล็ดลับที่แตกต่างกันออกไป ส่งผลให้รสชาติชาแต่ละที่ไม่เหมือนกัน แต่จริงๆปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อรสชาติ คือ อากาศ ดิน และคนปลูกถ้าปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งมีความต่างกัน กระบวนการผลิต และรสชาติย่อมออกมาแตกต่างกัน แม้ชาที่ใช้ปลูกจะเป็นสายพันธุ์เดียวกันก็ตาม

ที่มา http://blog.davidstea.com/en/get-to-know-loose-leaf-tea/

ชาชนิดเดียวกัน ทำไมรสชาติถึงแตกต่างกัน?

ปัจจัยแรกที่ส่งผลต่อรสชาติชาเป็นอย่างมาก คือ  ดิน เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ชาแต่ละที่มีคุณภาพแตกต่างกับอีกที่ ซึ่งนอกจากดินตามธรรมชาติของแหล่งปลูกแต่ละแหล่งจะมีผลแล้ว  การคัดเลือกดิน รวมถึงการใส่ปุ๋ยแต่ละไร่ชาก็จะมีสูตรพิเศษของตนเองที่ทำให้ชารสชาติออกมาตามที่ต้องการแตกต่างกันสภาพเนื้อดินบนที่สูงจะมีแดงเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเกิดจากการซะล้างและบางพื้นที่เกิดจากการสลายตัวของภูเขาหินปูน ทั้งนี้ดินที่เหมาะสมสำหรับการปลูกชามีค่าความเป็นกรดด่างอยู่ระหว่าง 4.5-5.5 ซึ่งมีสภาพเป็นกรดเล็กน้อย

ชาชนิดเดียวกัน ทำไมรสชาติถึงแตกต่างกัน?

ปัจจัยต่อมา คือ อากาศ  ชาเขียว จำเป็นต้องปลูกในทั้งอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสม ควรเป็นพื้นที่มีหมอก ที่เกิดจากอุณหภูมิที่มีความแตกต่างกันสูง ในตอนกลางวันและกลางคืน ถึงแม้ว่าชาสามารถทนอุณหภูมิต่ำได้ดี แต่ก็ไม่ควรให้เกล็ดน้ำแข็งเกาะใบชา จะทำให้ใบชาเสียคุณภาพ จึงจะสังเกตได้ว่าในญี่ปุ่นจะมีพัดลมเป่าความร้อนขนาดใหญ่เกือบทุกไร่ชา เพื่อเป่าไม่ให้เกล็ดน้ำแข็งเกาะใบชาในฤดูหนาวนั้นเอง ซึ่งคุณภาพของใบชาโดยเฉพาะด้านกลิ่นและรสชาติส่วนนึงจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ฉะนั้นจึงมีความเกี่ยวข้องกับสภาพพื้นที่ปลูกอย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้พื้นที่ที่มีความสูงมากจะมีอากาศหนาวเย็นและอุณหภูมิคงที่เกือบตลอดทั้งปี จะส่งผลให้ผลผลิตใบชาสดมีคุณภาพแต่จะให้ผลผลิตต่ำ ซึ่งตรงข้ามกับพื้นที่ต่ำ อุณหภูมิสูง จะให้ผลผลิตสูงแต่คุณภาพต่ำ

ที่มา http://chaehbae.tumblr.com/post/90942615222/tea-fields-zhejiang-china-awesome-amazing

ชาชนิดเดียวกัน ทำไมรสชาติถึงแตกต่างกัน?

ปัจจัยต่อมาที่สำคัญไม่แพ้กัน คน คือ หัวใจของกระบวนการทั้งหมด ที่นอกจากจะต้องใช้ผู้มีประสบการณ์สูงในแต่ละขั้นตอนแล้ว ยังต้องใช้ความเอาใจใส่ ความละเอียดรอบคอบในการดูแลชาเพื่อให้ได้มาตรฐานที่ควรจะเป็น

ที่มา http://www.trekearth.com/gallery/Asia/Indonesia/Java/Jawa_Barat/Ciwalini/photo633381.htm

นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล็กๆน้อยๆที่ส่งผลต่อรสชาติชาอีกด้วย เช่น การเก็บใบชาจะเลือกที่มีลักษณะ 2 ยอด 1 ใบ เพราะใบชาส่วนนี้จะเต็มไปด้วยสารโพลีฟีนอลเป็นสารสำคัญที่จะส่งผลต่อสี กลิ่น รสชาติ รวมไปถึงคุณประโยชน์ต่างๆ ที่ดีต่อสุขภาพอีกด้วย

ซึ่งถ้าพูดถึงชาของญี่ปุ่น เรามักจะนึกถึง ชาจากอูจิเกียวโตและ ชาจากชิซุโอกะทั้งสองแห่งนี้ได้สร้างสไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์ในการผลิตชาที่งดงามและน่าอัศจรรย์ และยังมีเรื่องราวของการเดินทางที่สนใจแตกต่างกันออกไปอีกด้วย

ชาชนิดเดียวกัน ทำไมรสชาติถึงแตกต่างกัน?

อูจิ เกียวโต ดินแดนแห่งชาดั้งเดิม

อย่างที่ทราบกันอยู่แล้วว่าที่เกียวโต เมืองอูจิเป็นสถานที่แห่งประวัติศาสตร์ของชา ในตอนแรกการปลูกชาในอูจิมีหลากหลายแบบ แต่หลังจากนั้นก็ได้มุ่งเน้นไปที่การผลิตมัทฉะเป็นหลัก

เนื่องจากชามัทฉะมีความสัมพันธ์ที่สามารถผสมผสานไปกับลัทธิเซน เนื่องจากที่เกียวโตมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับวัดวาอารามชั้นนำหลายแห่ง จึงเน้นไปที่มัทฉะเป็นหลัก ด้วยดินที่ยอดเยี่ยมและวิธีการผลิตที่ดี ทำให้อูจิได้สร้างชาที่มีชื่อเสียงระดับโลกที่ผสมผสานรสชาติและประวัติศาสตร์เข้าด้วยกัน

ที่มา http://pin.it/YUO1SKu

ส่วนที่ชิซุโอกะ ต้นกำเนิดของชาสมัยใหม่

ประวัติศาสตร์ชาของชิซุโอกะนั้นแตกต่างจากอูจิ ในขณะที่มัทฉะใช้ชาที่เติบโตในภูมิภาค แต่เกษตรกรของชิซุโอกะได้คัดสายพันธ์ุชาอื่น ๆ ที่หลากหลาย เนื่องจากได้รับอิทธิพลของพุทธศาสนาน้อยกว่า ชิซุโอกะเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีการผลิตชาเขียวที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 40% ของไร่ชาทั้งหมด หนึ่งในนวัตกรรมหลักของชิซุโอกะ คือ ความหลากหลายของสายพันธุ์ที่เรียกว่า เซนฉะยะบุกิ (Sencha Yabukita)ซึ่งมีชื่อเสียงในด้านความแข็งแกร่ง กลิ่นหอม และรสหวาน กว่าที่เกียวโตนั้นเอง

ที่มา https://www.flickr.com/photos/ippei-janine/5721719180/

บทความจาก : Fuwafuwa