ทำความรู้จักการชงชาแบบ Steeping

Steeping

      มาทำความรู้จัก รู้จักการชงชาแบบ Steeping กัน หากพูดถึงการชงชาเขียวจากผงมัทฉะ ภาพที่แต่ละคนคิดก็จะชงด้วยฉะเซน ตีผงชาให้ละลาย ส่วนการชงชาใบนั้น ไม่ใช่แค่การเทน้ำผ่านใบชาแล้วจะดื่มได้เลย แต่หากเป็นการ Steeping ชา หรือการแช่ชาไว้ในกาตลอดการดื่ม มีขั้นตอนการชงที่ง่าย ใช้อุปกรณ์น้อย และได้รสชาค่อนข้างคงที่ จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความสะดวก และต้องการทานเพื่อประโยชน์โดยเฉพาะ ซึ่งการ  Steeping ชาเป็นกระบวนการสกัดกลิ่นและรสชาติของชาออกมาอย่างเรียบง่ายด้วยการแช่ใบชาไว้ในน้ำที่มีอุณหภูมิและระยะเวลาที่แตกต่างกันออกไปตามประเภทใบชา ข้อสำคัญในการชงแบบนี้คือการหมั่นเติมน้ำเดือด เพื่อรักษาระดับน้ำไม่ให้ต่ำกว่าครึ่งกาหรือเมื่อรู้สึกว่าชานั้นเริ่มจะเข้มเกินไป 

การแช่ชาที่สมบูรณ์แบบต้องมี 2 สิ่ง คือ น้ำ และเวลาในการแช่ที่ถูกต้อง โดยทั่วไป การชงชาแบบจีน จะใช้ชาราว 4-5 กรัม ต่อน้ำ 100 มล. ส่วนการชงชาฝรั่ง หรือชาเบลนด์ จะใช้ชาราว 3 กรัม ต่อน้ำ 200-250 มล.ใช้ระยะเวลาในการแช่ใบชานาน คือ 2.5-3 นาทีขึ้นไป

Steeping

สำหรับชาที่นิยมชงแบบ Steeping เป็นชาตะวันออก ชาธรรมชาติ ที่ไม่ได้เบลนด์ และไม่ได้แต่งกลิ่น ในกรณีที่ชงชาขาว หรือ ชาเขียว  เป็นชาสด จะใช้น้ำที่ไม่เดือดมากในการชง สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะถ้าใช้น้ำเดือดในการชง บางครั้งจะได้กลิ่นสาบเขียวของใบชา คล้ายผักต้ม จึงควรใช้น้ำอุณหภูมิไม่สูงประมาณ 80 องศา จะกำลังพอดี จะไม่นิยมดื่มน้ำแรก เพราะถือว่าเป็นน้ำกระตุ้นใบชา ให้เททิ้งก่อน จะเริ่มดื่มตั้งแต่น้ำที่สองเป็นต้นไป

การชงชาปกติจะใช้เวลา steeping หรือแช่ชาประมาณ 3-5 นาที ยกเว้นการชงชาขาวที่จะใช้เวลาชงแค่ 2-3 นาที ส่วนชาผลไม้ ชาดอกไม้ หรือชาสมุนไพร จะชงนานประมาณ 5-7 นาที แต่ถ้าเป็นชาเซนฉะจะแช่เพียง 30 วินาที – 1 นาที เท่านั้น หากแช่นานเกินกว่านี้จะขม

Steeping Steeping

ส่วนของชาอู่หลง และชาดำควรใช้น้ำเดือดในการชง แต่ถ้าหากเป็นชาดีๆ ควรรอให้อุณหภูมิของน้ำลดลงสักครู่นึง คือ สัก 90 องศา แล้วจึงชง เพื่อหลีกเลี่ยงความขมฝาดที่อาจเกิดขึ้น เพราะความขมต่างๆ มักจะถูกดึงออกมาเมื่ออุณหภูมิของน้ำสูงมากกว่า 90 องศานั่นเอง อย่างไรก็ตามปัจจัยอื่นๆประกอบการชงชาด้วยวิธีการแช่ใบชานั้นยังมีเรื่องของประเภทน้ำที่ควรใช้ในการชงชา เป็นต้น

จะเห็นว่าเทคนิค ปัจจัยในการชงชาแบบ steeping หรือการแช่ชานั้นแตกต่างกันออกไป การทดลองด้วยตัวเองเพื่อให้ได้รถชาติที่ถูกปากที่สุดจึงเป็นเรื่องที่คนรักชาเขียวควรลองศึกษาทดลองเพื่อให้ได้สูตรชาในแบบฉบับของคุณเอง

ที่มา

https://www.thespruceeats.com/tea-brewing-temperature-guide-766367

https://the.republicoftea.com/tea-library/tea-101/how-to-steep-tea/

บทความจาก : Fuwafuwa

คุณค่าทางสารอาหาร “เซนฉะ vs มัทฉะ”

เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าชาเขียวเป็นเครื่องดื่มที่มีคุณค่าทางสารอาหารสูง แต่อย่างไรก็ตามชาเขียวก็มีหลายแบบ ซึ่งเชื่อว่าหลายคนคงคิดว่า ผงมัทฉะ เป็นชาประเภทที่คุณประโยชน์น้อยมาก หากดื่มชา จึงมักจะเลือกดื่มที่เป็นชาใบมากกว่าผงชา แต่ในความเป็นจริงแล้วผงมัทฉะ ก็มีประโยชน์ต่อสุขภาพไม่แพ้กัน เพราะผงมัทฉะ เป็นยอดชาที่ถูกนำเข้าสู่โรงอบไอน้ำโดยเร็วที่สุดเพื่อหยุดกระบวนการออกซิเดชั่น เป็นการรักษาปริมาณสารคาเทซินในใบชาให้คงอยู่ไว้มากที่สุด แล้วนำใบชาแห้งจากการอบ เข้าสู่กระบวนการร่อนเพื่อคัดกิ่งและก้านออกจนหมด ก่อนจะนำไปบดด้วยเครื่องโม่ที่ทำจากหินชนิดพิเศษที่ทำเพื่อการบดมัทฉะโดยเฉพาะนั่นเอง

เดิมทีแล้วมัทฉะเป็นเครื่องดื่มล้ำค่าและมีคุณค่าสูง ซึ่งในอดีตมัทฉะจะถูกสงวนไว้เฉพาะสมเด็จพระจักรพรรดิ ราชวงศ์ และขุนนางชั้นสูงเท่านั้น แม้ในปัจจุบันการดื่มมัทฉะจะแพร่หลายไปทั้งประเทศญี่ปุ่นและทั่วโลก ความพิถีพิถันทุกขั้นตอนก็ยังคงอยู่อย่างไม่เสื่อมคลาย การเก็บมัทฉะเก็บเกี่ยวได้เพียงปีละครั้งเท่านั้น โดยคัดเลือกจากแปลงชาที่สมบูรณ์ที่สุด เมื่อใบชาเริ่มแตกยอด ก่อนจะเก็บเกี่ยว 1 เดือน จะต้องใช้ผ้าสีดำคลุมไว้ทั้งแปลง เพื่อให้สารอาหารที่รากถูกดูดซึมขึ้นมาเก็บกักไว้ที่ใบอ่อน 3 ใบแรก จากนั้นกระบวนการเก็บยอดชา ต้องเก็บด้วยมือโดยผู้ชำนาญที่มีประสบการณ์เท่านั้น และเลือกเฉพาะยอดอ่อนที่สมบูรณ์ 3 ใบแรก ต้องไม่ปนเปื้อนกับส่วนอื่นการเก็บเกี่ยวต้องทำให้เสร็จสิ้นก่อนแสงแรกแห่งอรุณรุ่งจะมาเยือน

Matcha

เซนฉะแม้จะเกิดจากต้นชาชนิดเดียวกับมัทฉะ แตกต่างกันที่เซนฉะจะปลูกกลางแจ้งตลอดปี ไม่มีการคลุมด้วยผ้าสีดำ เซนฉะจะเก็บเกี่ยวได้ปีละ 4 ครั้ง โดยใช้กรรไกรตัดยอดต้นชา จากนั้นนำมาเป่าให้แห้ง สลับกับปั่นใบชาให้เป็นเกลียว จนได้ใบชาที่แห้งพอเหมาะพอดี ที่ให้รสชาติเข้มข้นและกลิ่นหอมกำลังดี ซึ่งการดื่มเซนฉะ จะนำใบชาแห้งใส่น้ำร้อน รอสักครู่จนน้ำชามีสีเข้มตามต้องการ จึงรินน้ำชามาดื่ม คุณค่าสารอาหารที่ได้จากเซนฉะจึงมาจากการที่ใบชาละลายในน้ำ ต่างจากมัทฉะที่เป็นการดื่มชาจากผงที่บดทั้งใบ ชาชนิดนี้จะมีลักษณะพิเศษ คือ มีสารคาเทชิน (catechin) หรือสารต้านอนุมูลอิสระหลงเหลืออยู่มาก ซึ่งสารคาเทชินที่มีในเซนฉะจะช่วยลดระดับการดูดซึมไขมันและเป็นส่วนประกอบที่ช่วยป้องกันความเสียหายของเซลล์ร่างกาย ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เซนฉะนั้นเป็นหนึ่งในชาที่นิยมดื่มกันในหมู่ผู้รักสุขภาพนั่นเอง

Gencha

ว่าด้วยเรื่องปริมาณคาเฟอีนของชาเขียวมัทฉะและเซนฉะ

เนื่องจากวิธีการปลูกของชาแต่ละชนิดแตกต่างกันจึงมีคาเฟอีนในระดับที่แตกต่างกัน ชามัทฉะที่ปลูกในสภาพที่ร่มรื่นจะมีคาเฟอีนมากกว่า แต่มัทฉะปกติหนึ่งถ้วยมีคาเฟอีนประมาณ 70 มก. ซึ่งต่ำกว่ากาแฟขนาดเดียวกันเล็กน้อย (ขึ้นอยู่กับเมล็ดกาแฟที่ใช้) ส่วนชาเซนฉะ มีคาเฟอีนระหว่าง 20-30 มก. ต่อถ้วยขึ้นอยู่กับคุณภาพของใบชาและระยะเวลาที่อนุญาตให้ชง หากใครที่ต้องการลดปริมาณคาเฟอีนในร่างกาย ชาเซนฉะจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าเนื่องจากมีคาเฟอีนน้อยกว่ามัทฉะประมาณ 40 มก.

Matcha

ชาเขียวมัทฉะและเซนฉะ สารต้านอนุมูลอิสระตัวไหนสูงกว่ากัน?

โดยทั่วไปชาเขียวถือเป็นหนึ่งในเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่ควรบริโภค ซึ่งทั้ง2 ชนิด อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่

โพลีฟีนอล :สารอาหารขนาดเล็กที่เชื่อว่าช่วยเรื่องการย่อยอาหารช่วยในการควบคุมน้ำหนักและช่วยปรับปรุงสภาวะต่างๆรวมถึงโรคเบาหวานและโรคหัวใจและหลอดเลือด

Catechins:เป็นโพลีฟีนอลชนิดหนึ่งและเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่แข็งแกร่งที่สุดที่พบในชาเขียวซึ่งสามารถช่วยป้องกันความเสียหายของเซลล์ งานวิจัยบางชิ้นรายงานว่าคาเทชินมีคุณสมบัติในการต่อต้านมะเร็ง

L-theanine: กรดอะมิโนที่ช่วยในการผ่อนคลาย ช่วยลดระดับความวิตกกังวลได้

แม้ว่าชาเซนฉะ ขึ้นชื่อว่าเป็นชาที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระอย่างมาก มีประโยชน์ในการลดระดับคอเลสเตอรอลสูงและไตรกลีเซอไรด์ในเลือดปรับปรุงการไหลเวียนโลหิต แต่ก็ยังถือว่ามีปริมาณที่น้อยกว่าผงมัทฉะ เนื่องจากการดื่มชาจากผงมัทฉะ คือ การที่บริโภคทั้งใบจึงได้รับสารอาหารมากที่สุด การดื่มเซนฉะในรูปแบบผงจะทำให้คุณได้รับสารอาหารมากขึ้นจากรูปใบเช่นกัน

นอกจากนี้เซนฉะยังช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเซนฉะยังมีปริมาณ vitamin C และ vitamin E ที่มากกว่าผงมัทฉะ

แต่ในทางกลับกัน ผงมัทฉะ มี vitamin B6 และ beta-carotene ที่มากกว่าชาเซนฉะ จะเห็นว่าทั้ง 2 ชนิดมีคุณค่าทางสารอาหารที่เหมือนกัน ต่างกันแค่ปริมาณที่ได้รับ ดังนั้นการดื่มชาชนิดใดก็ตามถือว่าดีต่อสุขภาพ

Matcha

ที่มา

http://inthemakingbybelen.com

http://www.skinnymetea.com.au

https://www.pinterest.com/pin/405605510171042632/

บทความจาก : Fuwafuwa

Matcha Latte Art ศิลปะบนชาเขียว

Latte Art ที่คุ้นชินกันบนเมนูกาแฟ แรกเริ่มเดิมทีแล้วถูกสร้างสรรค์ขึ้นครั้งแรกในประเทศอิตาลี ซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่มีความโด่งดังในเรื่องการชงกาแฟเป็นอย่างมาก ศิลปะบนแก้วกาแฟนี้ได้รับความนิยมอย่างมาก จนเริ่มถูกแพร่หลายมาบนเมนูมัทฉะลาเต้ แม้จะยังไม่เป็นที่นิมมากนัก แต่ลาเต้อาร์ต นับเป็นศิลปะที่น่าสนใจอย่างมาก ที่ช่วยช่วยเพิ่มเสน่ห์ให้ชาเขียวถ้วยโปรดของคุณน่าหลงใหลยิ่งขึ้นอีกด้วย

Matcha Latte Art

ความสวยงามของลาเต้อาร์ต ขึ้นอยู่กับคุณภาพของฟองนมที่ตีจนแตกฟองสวย เนื้อละเอียด หรือที่เรียกกันว่าไมโครโฟม-microfoam โดยลาเต้อาร์ตที่ดีต้องมีความคมชัด, ความบาลานซ์ และรูปแบบการดีไซน์ที่พลิ้วไหวสร้างสรรค์ ซึ่งการทำลาเต้อาร์ตออกมาสวยงามในแต่ละแก้ว สะท้อนความใส่ใจและความทุ่มเทของคนทำ ช่วยสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าอย่างแน่นอน

การลาเต้อาร์ตทำได้อยู่ 3 วิธีหลักๆ คือ

1. Free Hand คือ การราดฟองนมลงไปบนชาเขียว แล้วขยับถ้วยให้เป็นลวดลายต่างๆ ซึ่งลวดลายนั้นเกิดจากการแทรกตัวระหว่างโฟมนมกับน้ำกาแฟ กำหนดน้ำหนักและทิศทางของฟองนมให้เลื่อนไหลไป โดยมากแล้ววิธีนี้จะทำให้ได้รูปที่เป็นหัวใจ รูปแอปเปิ้ล และรูปใบไม้ บางคนยังสามารถทำเป็นรูปใบไม้คู่ รูปปลา รูปหงส์ หรือดอกไม้ไฟได้ด้วย ถ้าเทโฟมนมในปริมาณที่แตกต่างกัน อัตราความช้า-เร็วในการเทต่างกัน การขยับหรือเอียงถ้วยกาแฟในลักษณะที่ต่างกันก็ล้วนทำให้ภาพที่ออกมาแตกต่างกันทั้งสิ้น เช่น ถ้าจะทำรูปหัวใจจะต้องใช้ปริมาณฟองนมที่มากกว่าการทำลายใบไม้ เพราะลายหัวใจจะมีโครงสร้างที่กว้างและมน ขณะที่ลายใบจะมีโครงสร้างที่เล็กเรียว ถ้าทำลายใบไม้แต่ฟองนมมากเกินไปลายของใบก็จะไม่คมและฟองนมอาจจะไปกลบลายริ้วของกลีบใบ

Matcha Latte Art

2. Draggingเป็นการทำลาเต้ อาร์ตโดยใช้ช้อนตักโฟมนมลงไปบนน้ำกาแฟเอสเปรสโซซึ่งถูกราดทับด้วยน้ำนมประมาณ 3 ใน 4 ของถ้วย โดยโฟมนมด้านบนอยู่ในระดับที่เสมอกับขอบถ้วย จากนั้นจึงหยอดซอสที่ใช้ในการแต่งหน้า เช่น ช็อกโกแลตซอส คาราเมลซอส ราสเบอรี่ซอส ให้เป็นลายเรขาคณิตต่างๆ เช่น เป็นวงแบบก้นหอย , ลากเส้นแบ่งวงกลมเป็น 8 ส่วน แล้วใช้วัสดุปลายแหลมลากระหว่างโฟมนมกับซอสเพื่อให้เกิดเป็นลวดลาย ซึ่งลายที่นิยมได้แก่ ลายดอกไม้ต่างๆ เช่น ดอกเบญจมาศ ดอกเฟื่องฟ้า ดอกกุหลาบ ลายปลาดาว และลายอมยิ้ม

Matcha Latte Art

3. ส่วนเทคนิคผสมระหว่าง Free Hand Pour และ Draggingนั้นนิยมใช้กับการทำรูปสัตว์หรือการ์ตูนต่างๆ โดยจะใช้วิธีเทโฟมนมลงบนชาเขียวให้โฟมนมเป็นวงขนาดใหญ่ตรงกลางถ้วยและเหลือแนวรอบถ้วยประมาณ 2 เซนติเมตร จากนั้นใช้ช้อนขนาดเล็กตักโฟมนมหยอดลงไปเพื่อสร้างโครงของรูปที่ทำ เช่น หู เขา หรือมือของสัตว์ แล้วใช้ก้านไม้จุ่มชาเขียวซึ่งอยู่รอบนอกมาแต้มเป็นหน้าตา จมูก ปาก หรือลายละเอียดต่างๆ เช่น หนวด เส้นขน นิ้วมือ

การทำลาเต้อาร์ตที่สวยงามต้องอาศัยความเร็วด้วย เมื่อได้ชาเขียวอุ่นๆมาแล้ว ต้องเตรียมสตรีมนมให้พร้อมกัน หากปล่อยทิ้งไว้ โฟมจะลอยตัวและเสียทรง ซึ่งสีของชาเขียวก็มีผลต่อลาย และสีบนลาเต้อาร์ตเช่นกัน นอกจากนั้นเวลาขึ้นลาย ให้เทนมอย่างต่อเนื่องจนจบลาย ถ้าหกก็เทต่อ อย่าหยุดพร้อมกับค่อยๆ พลิกข้อมือขึ้นลงช้าๆ ให้ลายในแก้วเสียหายน้อยที่สุด ซึ่งเวลาเท แนะนำให้เอียง Pitcher รับกับตัวแก้วประมาณ 45 องศา ยก Pitcher ให้สูงขึ้น วนนมให้เข้ากับชาเขียว ระวังไม่ให้นมที่เทลงไปโดนขอบแก้ว

ส่วนการสตรีมนม ก็คือ  การใช้เครื่องตีน้ำนมให้เกิดฟอง ซึ่งการสตรีมที่สมบูรณ์นั้นจะทำให้ได้ฟองนมที่เนียนนุ่ม โดยความร้อนที่ใช้ในการสตรีมนมควรอยู่ที่ 60-70 องศาเซลเซียส และจังหวะและน้ำหนักในการตีน้ำนมต้องเหมาะสม เคล็ดลับเพิ่มความอร่อยนี้คือการใช้ฟองนมที่เป็นนมโคแท้ๆ 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีปริมาณไขมันและโปรตีนสูง จึงให้รสชาติหอมมันมากกว่านมผสม เมื่อนำมาสตรีมจะให้เนื้อที่มีความเนียนละเอียด ไม่หยาบกระด้างเป็นฟองขนาดใหญ่จนเห็นได้ชัด แต่ถ้าใครเคยได้ยินว่าชาเขียวใส่นมดื่มแล้วไม่ดี ควรดื่มแต่ชาเขียวเพียวๆ ลองศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ เรื่องชาเขียว กับนม ดูเพื่อความสบายใจในการดื่มชาเขียวแก้วโปรดของคุณ ^^

Matcha Latte Art Matcha Latte Art

นอกจากการทำลาเต้อาร์ตแบบปกติแล้ว จะเห็นว่าตามร้านคาเฟ่ช่วงหลังๆมานี้ ก็มีไอเดียน่ารักๆ สร้างสรรค์ฟองนมขึ้นมาแบบลาเต้อาร์ต 3 มิติ คือ การสร้างสรรค์ฟองนมให้เป็นรูปร่างที่นูนขึ้นเป็นมุมมอง 3 ด้าน หรือสูงเกินปากแก้วขึ้นมา เทคนิคในการทำอยู่ที่การทำฟองนมให้เนียนและมีความคงตัว สามารถตักมาปั้นและเขียนหน้าตาให้เป็นรูปแบบที่ต้องการ ไม่มีแบบตายตัว แล้วแต่ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการของผู้ทำ สัดส่วนในการทำเหมือนลาเต้อาร์ต แต่ใช้ฟองนมที่มากกว่านั้นเอง

ส่วนร้านไหนที่ยังไม่สามารถทำลาเต้อาร์ตบนชาเขียวได้เอง แนะนำให้เพิ่มความสวยงามบนเมนูชาเขียวด้วยกาใส่ฟองนมธรรมดาแล้วโรยผงชาเขียวแต่งหน้าเบาๆอีกที ก็ทำให้ชาเขียวลาเต้มีมิติขึ้น

Matcha Latte Art

ที่มา

https://www.pinterest.com/pin/452330356316089320/

weheartit.com

https://www.shutterstock.com/blog/instagram-worthy-photos-cafes

บทความจาก : Fuwafuwa

เปลี่ยนสวนที่บ้านให้เป็นต้นชาเขียวได้มั้ย?

เอาใจคนรักชาเขียว กับการทดลองเปลี่ยนสวนที่บ้านให้เป็นต้นชาเขียว เริ่มด้วยการเพาะเมล็ดในถุงพลาสติก ขนาด 6×8 นิ้ว ใส่ดินผสมไว้ในถุง วางเมล็ดชาที่ดี ไว้กลางถุงให้ด้านตาควํ่าลง แล้วกลบเมล็ดด้วยถ่านแกลบหรือทรายผสมขุยมะพร้าวหนาประมาณ 1 นิ้ว ควรมีการพรางแสงให้ร่มเงา และรดนํ้าอย่างสม่ำเสมอในระหว่างเพาะ ที่ต้องเลือกวิธีการเพาะเมล็ดเพราะไม่กินพื้นที่มากสำหรับสวนบ้าน และการขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เป็นวิธีการที่นิยมใช้กันมากในประเทศไทยด้วย ต้นชาที่เพาะจากเมล็ดจะมีระบบรากแข็งแรง มีรากแก้วสามารถทนต่อความแห้งแล้งได้ดีนั่นเอง

matcha lover

ปัจจัยที่สำคัญในการปลูกชา  คือ สามารถเจริญได้ไม่ว่าอากาศจะร้อนหรือหนาว ยกเว้นในพื้นที่ที่มีนํ้าแข็ง แะยังมีปัจจัยอื่นๆอีก นั่นคือ

  1. ดินชาจะเจริญงอกงามในดินร่วนที่มีการระบายนํ้าได้ดี เป็นกรดเล็กน้อย มี PH 4.5-6.0 ความลาดชันไม่ควรเกิน 45 องศา
  2. ความชื้นและปริมาณนํ้าฝนควรเป็นพื้นทีที่มีฝนตกสม่ำเสมอตลอดปี ปริมาณนํ้าฝนอย่างตํ่า ควรอยู่ในช่วง 1,140-1,270 มิลลิเมตร/ปี เพราะถ้าขาดนํ้าจะทำ ให้ต้นชาชะงักการเจริญเติบโต ไม่แตกยอด ทำ ให้ผลผลิตลดลงนั่นเอง
  1. อุณหภูมิ ชาสามารถเจริญได้ในอุณหภูมิที่แตกต่างกัน โดยชาจะเจริญเติบโตดีในช่วงอุณหภูมิระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียสและอุณหภูมิค่อนข้างคงที่ตลอดปี ทำให้ชาสร้างยอดใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง
  1. ความสูงจากระดับนํ้าทะเลชาที่ปลูกในพื้นที่สูงตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป มีอากาศเย็นจะทำ ให้ผลผลิตใบชาที่ได้มีคุณภาพสูง ใบชามีกลิ่นและรสชาติดี แต่ปริมาณผลผลิตที่ได้จะตํ่า ส่วนการปลูกชาในที่ตํ่า อากาศค่อนข้างร้อน ชาจะให้ผลผลิตสูงแต่คุณภาพตํ่ากว่าชาที่ปลูกในที่สูง

หลังจากเช็คปัจจัยต่างๆเหล่านี้ครบแล้ว ในทางตรงกันข้ามที่จะเห็นได้ชัดว่า ปัจจัยที่ไม่เหมาะสมในการปลูกชา คือ

  1. ดินชั้นล่างเป็นหิน หรือลูกรัง ทำ ให้ชาหยั่งรากลงไปหาอาหารได้ตื้น
  2. เป็นพื้นที่ที่ไม่มีการระบายนํ้า และ มีหินปูนและมี pH เกินกว่า 6
  3. พื้นที่มีความลาดชันมากเกิน
  4. ดินที่มีอินทรีย์วัตถุน้อย และไม่สามารถเก็บความชุ่มชื้นได้
  5. บริเวณที่มีลมแรง จนไม่สามารถทำ ที่บังลมได้ เพราะต้นชา เป็นพืชที่ต้องการร่มเงาไม้เพื่อบังร่ม และบังลม ช่วยลดอุณหภูมิในช่วงกลางวันลง ลดปริมาณของแสงแดดที่ส่องยังต้นชาโดยตรง ทำ ให้ใบชาสามารถสังเคราะห์แสงได้ดีขึ้น เพราะถ้าต้นชาได้รับแสงแดดจัดเต็มที่โดยตรงจะทำ ให้ใบมีขนาดเล็ก เหลือง หรือทำ ให้เกิดใบไหม้ ใบชาไม่มีการปรุงอาหาร ต้นจะโทรมและตายในที่สุด

การเก็บเกี่ยวชา

การเก็บเกี่ยวชาเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะการผลิตชาให้ได้คุณภาพดีนั้น ต้องเริ่มจากใบชาสดที่มีคุณภาพ ใบชาสดที่มีคุณภาพดีที่สุดคือ ใบชาที่เก็บจากยอดชาที่ประกอบด้วย 1 ยอด กับ 2 ใบ การเก็บชาจะเริ่มเก็บยอดชาที่ระดับ 60 เซนติเมตร ในช่วงเดือนมีนาคม จนถึงเดือนพฤศจิกายน โดยเฉลี่ยจะเก็บยอดชา 10 วันต่อครั้ง ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยวยอดชาจะอยู่ประมาณ 05.00-14.00 น. การเก็บยอดชาจะต้องไม่อัดแน่นในตะกร้า หรือกระสอบเพราะจะทำ ให้ยอดชาชํ้าและคุณภาพใบชาเสียได้ เนื่องจากความร้อนที่เกิดขึ้นจากการหายใจของใบชานั่นเอง

ส่วนเมล็ดชาที่ดีที่เหมาะกับการปลูก ควรเก็บจากผลชาที่แก่จัดเต็มที่มีสีนํ้าตาล และยังติดบนต้น ไม่ควรเก็บเมล็ดชาที่ร่วงใต้ต้น หลังจากเก็บผลชาที่แก่เต็มที่จากต้นแล้วนำ มากระเทาะเปลือกออกหรือนำ มาใส่กระด้งหรือกระจาด ผึ่งทิ้งไว้ในที่ร่ม ผลชาจะแห้งและแตกเองภายใน 2-3 วัน จากนั้นรีบนำ เมล็ดชาที่ได้ไปเพาะ เนื่องจากเมล็ดชามีปริมาณนํ้ามันภายในเมล็ดสูง ทำ ให้มีอัตราการสูญเสียความงอกเร็วมากก่อนเพาะเมล็ดชาควรนำ เมล็ดที่ได้แช่นํ้าไว้ 12-24 ชั่วโมง เมล็ดชาที่เสียจะลอยนํ้าให้ตัดทิ้งไว้ใช้แต่เมล็ดที่จมนํ้านำไปเพาะต่อไป

หลังจากที่บ้านไหนได้ลองปลูกชาดูเองแล้ว อยากทำเป็นไร่ชาออร์แกนิค ให้ได้ชาที่ปลอดภัยต่อสุขภาพในระยะยาว ไม่มีสารเคมีตกค้าง สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ทำความรู้จักการปลูกชาเขียวแบบออร์แกนิค

ที่มา https://www.japanesegreenteain.com

https://i.pinimg.com/originals/72/ea/da/72eada1447275ef65d7ab82ff6cd381e.jpg

https://www.morimatea.com/

https://www.freepik.com

http://technology-farmmer.blogspot.com/2015/02/blog-post_20.html

บทความจาก : Fuwafuwa

ผงมัทฉะเข้าช่องฟรีซได้มั้ย ??

เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าการตั้งผงมัทฉะไว้เฉยๆบนเคาน์เตอร์ครัว เมื่อผงมัทฉะสัมผัสกับองค์ประกอบต่างๆ เช่น ความร้อนและอากาศ มันก็จะสูญเสียรสชาติความสดใหม่และสารต้านอนุมูลอิสระได้

ความร้อนและความชื้น เป็นหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ผงมัทฉะเหม็นอับได้ บางคนหลีกเลี่ยงความร้อนด้วยการนำเข้าตู้เย็นหลังใช้เสร็จ ซึ่งหากนำเข้าตู้เย็นเลยโดยไม่ทันระวัง ผงมัทฉะจะสามารถดูดซับกลิ่นที่รุนแรงได้อย่างรวดเร็ว กลิ่นอาหารที่อยู่ในตู้เย็นจะถูกผงมัทฉะดูดมา แล้วชาเขียวแก้วโปรดของคุณก็จะรสชาติและกลิ่นเสียไป เพราะในชาเขียวจะมีสาร Catechins เป็นสารต้านอนุมูลอิสระชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย ซึ่งภัยคุกคามอันดับหนึ่งของผงมัทฉะ คือ ออกซิเจน การออกซิไดซ์ทำให้สาร Catechins แย่ลง ดังนั้นผงมัทฉะจะต้องเก็บไว้ในภาชนะที่ปิดสนิทนั่นเอง ภาชนะที่ปิดสนิทก็มีให้เลือกหลายแบบ แต่ควรเก็บผงมัทฉะไว้ในถุงซิปล็อค หรือถุงสุญญากาศก่อนเพื่อลดการเกิดออกซิไดซ์ให้มากที่สุด

นอกจากการหลีกเลี่ยงออกซิเจนแล้ว ควรเก็บผงมัทฉะในที่มืดเนื่องจากผงมัทฉะมาจากชาเขียวที่ปลูกในร่มชนิดพิเศษจึงต้องใช้เวลานานกว่ามากในการเจริญเติบโต ใบชาจึงผลิตคลอโรฟิลล์ในระดับที่สูงขึ้น แต่เนื่องจากแสงจะทำลายคลอโรฟิลล์เมื่อผ่านกระบวนการผลิตผงมัทฉะด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงแนะนำให้เก็บมัทฉะไว้ในที่มืดหรือภาชนะที่มืด (ไม่ใส) เพราะถ้าสัมผัสกับแสงมากๆ ผงมัทฉะอาจทำให้ชาที่ชงออกมามีรสชาติที่ไม่กลมกล่อม ด้วยเหตุนี้เราจึงไม่แนะนำให้เก็บมัทฉะไว้ในภาชนะใสหรือโปร่งแสง หรือถ้าจำเป็นให้วางภาชนะใสไว้ในตู้สีเข้มที่ไม่ได้เปิดบ่อย และเมื่อหลังจากนำออกจากตู้เย็น ให้นำภาชนะเก็บชาตั้งไว้แบบปิดฝาและปล่อยให้อุ่นก่อนนำมาชง ก็จะได้มัทฉะแสนอร่อยตามเดิม

Freeze matcha

ส่วนบางคนนิยมยืดอายุอาหารด้วยการนำเข้าช่องฟรีซ จึงอาจเกิดความคิดที่ว่าหากนำผงมัทฉะเข้าช่องฟรีซก็คงยืดอายุการใช้งานได้เช่นกัน

……คำตอบ คือจริง สามารถเข้าช่องฟรีซได้โดยเฉพาะคนที่นานๆเอามาชงสักที สามรถนำผงมัทฉะเข้าช่องฟรีซไว้ก่อนได้ ทั้งนี้ควรเก็บผงมัทฉะไว้ในภาชนะที่ปิดสนิท เพื่อป้องกันกลิ่นจากอาหารคาวในตู้เย็น

แต่หากเป็นใบชาเขียวไม่แนะนำให้แช่ฟรีซ แต่สามารถแช่เย็นปกติได้ เพราะการแช่แข็งใบชา จะทำให้ชาไม่มีรสชาติ เพราะ ใบชามีความชื้น ซึ่งเป็นส่วนสำคัญมากในแง่ของรสชาติและสารอาหาร การแช่แข็งชาจะทำให้ความชื้นกลายเป็นผลึกและทำลายโครงสร้างของเซลล์ใบทำให้รสชาติเปลี่ยนไป นอกจากนี้อุณหภูมิที่ต่ำจะลดกลิ่นหอมของชาลงไปอีกด้วย ซึ่งการแช่แข็งใบชา หากเราจัดเก็บไม่ดียิ่งทำให้เกิด freeze burn ขึ้นบ่อย โดยเฉพาะเมื่อใบชาถูกจัดเก็บโดยไม่มีการปิดผนึกที่ดี จึงเกิดการคายน้ำและออกซิเดชั่นจากอาหาร ใบชาที่แช่แข็งจึงได้รับความเสียหาย

ดังนั้นการเก็บรักษาใบชา หากมีใบชาปริมาณมากเกินไปให้ใส่ไว้ในถุงกระดาษที่สะอาด จากนั้นนำมาห่อให้แน่นวางไว้บนจาน แล้ววางถ่านรอบๆห่อชาให้เต็ม นำมาเก็บไว้ในที่ที่ไม่โดนแสงแดด หรือหากใบชามีปริมาณน้อยให้ใส่ไว้ในกระป๋องเหล็ก แล้วใส่ซองกันชื้นลงไป หรือใช้ภาชนะดินเผาหรือภาชนะโลหะขนาดพอเหมาะมีฝาสองชั้นเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้อากาศเข้า หรืออาจจะใช้ภาชนะทึบแสงเพื่อนำไปเก็บในตู้ที่ทึบแสง ซึ่งการเก็บใบชาควรหลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะที่แสงสามารถลอดผ่านได้ เนื่องจากมีผลเสียต่อใบชาสูง

Freeze matcha

ข้อควรรู้เพิ่มเติมคือ ใบชาแต่ละชนิดอาจจะต้องใช้วิธีเก็บในอุณหภูมิที่เก็บรักษาต่างกัน หากเป็น ชาเขียว โดยเฉพาะถ้าเป็นชาใหม่จะต้องเก็บในที่แห้งและอุณหภูมิต่ำ และอาจจะเก็บใส่กระป๋องที่ปิดมิดชิด หรือไว้ในตู้เย็น ไม่ควรเก็บ ชาเขียวไว้ชงดื่มนานเกิน 12-18 เดือน ส่วน ชาอูหลงหรือชาดำสามารถเก็บใบชาไว้ได้ในอุณหภูมิปกติแต่ไม่ควรให้ถูกแสงแดด และหลีกเลี่ยงการนำใบชาออกตากแดดเพราะแสงแดดจะทำลายคุณภาพของใบชา เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงความชื้นและรักษาอุณหภูมิของใบชาให้คงที่ ที่สำคัญควรเก็บใบชาไว้ในที่อากาศถ่ายเทได้ดีนั่นเอง

ใบชาโดยปกติแล้วจะสามารถเก็บไว้ได้ไม่เกิน 1 ปี นับจากวันที่ซื้อ (ทางที่ดีควรดูจากวันหมดอายุด้วย) หากเกินนั้นรสของชาจะค่อย ๆ จางไปจนไม่เหลือกลิ่น อย่างไรก็ตามหากเก็บไม่ถูกวิธี กลิ่นของชาก็อาจจางลงได้ในระยะเวลาแค่ 3 เดือน ซึ่งสิ่งสำคัญในการเก็บรักษาใบชาคือจะต้องหาทางทำให้กลิ่นของชาคงอยู่ได้นานที่สุดภายใต้สภาพที่แห้งและไม่โดนแสงนั่นเอง

ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดในการเก็บผงมัทฉะและใบชาเขียว จะมีความแตกต่างกันเล็กน้อย แต่ที่เหมือนกันคือต้องการเก็บไว้ในที่เย็นและมืดห่างจากออกซิเจน เพราะถ้าผงมัทฉะเสื่อมคุณภาพ ก่อนเวลาที่หมดอายุ ก็เป็นปัจจัยให้ตีชาเขียวแล้วไม่เกิดฟองได้ ดูเพิ่มเติมที่ shorturl.at/zS148

ที่มา

https://gracematcha.com/blogs/blog

http://zengreentea.com.au/

บทความจาก : Fuwafuwa

ชงมัทฉะลาเต้ ด้วยครีมเทียมให้ไม่เสียรสชาติ

การดื่มชาเขียวเพียวๆไม่ผสมนม น้ำตาล เป็นการดื่มที่ได้ประโยชน์มากที่สุด แต่สำหรับบางคนการดื่มแบบเพียวๆ อาจจะรสชาติไม่ถูกปากนัก จึงใส่นมลงไปเพื่อเพิ่มความกลมกล่อมมากขึ้น แต่ก็ใช่ว่าการดื่มชาเขียวใส่นม จะไม่ได้ประโยชน์เลย เพียงแค่ได้ประโยชน์ที่น้อยลง( อ่านเพิ่มเติมได้ที่ shorturl.at/lpsFG )  แต่บางร้านก็ประหยัดต้นทุนไปอีกด้วยการเปลี่ยนมาใช้ครีมเทียมในการชงชาไปเลยเพื่อให้ถูกปากคนไทยมากขึ้น เพราะครีมเทียมสะดวกในการใช้ และเป็นของแห้งทำให้เก็บรักษาไว้ได้นาน

ครีมเทียมโดยทั่วไปจะมีบัตเตอร์ไขมัน 18-30% ในขณะที่นมธรรมดามี  1-2% ครีมเทียมเป็นผลิตภัณฑ์เลียนแบบครีมจากน้ำนมโคที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ในบางคนที่ไม่มีเอนไซม์ย่อยน้ำตาลแล็กโทส เมื่อดื่มน้ำนมจึงมีอาการท้องอืดเฟ้อ การใช้ครีมเทียมแทนนมในการชงชาเลยเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ ครีมเทียมทำเลียนแบบครีมแท้โดยมาก เกิดจากไขมันจากน้ำมันปาล์ม โปรตีนนมที่แยกออกจากน้ำนมโค น้ำตาลทรายและน้ำ กลับมาผสมรวมกัน แล้วจึงนำไปทำให้แห้งเป็นผงละเอียดส่วนประกอบของครีมเทียม ไขมันจากปาล์มเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุด โดยทำให้ครีมเทียมมีสีขาวเมื่อกระจายตัวในน้ำ ให้ความข้น ความมัน ไม่มีคอเลสเตอรอลแต่มีกรดไขมันชนิดอิ่มตัวสูง

ในการเลือกครีมเทียมที่จะมาเติมเต็มชาแก้วโปรดของคุณ แนะนำให้พิจารณาจาก

  1. เข้ากับชาได้ดีใช่มั้ย 2. รสชาติ อร่อยกลมกล่อมไม่เหม็น

ครีมเทียม

เพราะ ครีมเทียมสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ ชนิดผงและชนิดเหลว ส่วนประกอบหลักของครีมเทียมชนิดผงจะได้มาจากการแยกส่วนประกอบมาจากน้ำนมดิบโดยตรง จึงทำให้ได้รสชาติของนมที่เข้มข้น กลมกล่อม และหอมหวานอย่างลงตัวเมื่อนำไปผสมกับชา

สำหรับครีมเทียมชนิดเหลวจะไม่ใช่ครีมเทียมในรูปแบบที่มาจากนมแท้ๆ แต่เป็นการผสมสารปรุงแต่งอาหารอย่าง “อิมัลซิไฟเออร์ (Emulsifier)” ลงในน้ำมันพืช ทำให้ได้ความหนืดและคุณลักษณะใกล้เคียงกับครีมจริง ๆ แทน และแน่นอนว่า ครีมเทียมชนิดเหลวที่ทำจากน้ำมันพืชเพียงอย่างเดียวนี้ ย่อมสัมผัสไม่ได้ถึงรสชาติที่เข้มข้นเท่ากับการใช้ครีมเทียมแบบที่ทำจากน้ำนมดิบจริงๆ จึงไม่เหมาะที่จะใช้ในกรชงชานัก เพราะจะทำให้เสียรสชาติความเข้มข้นของชาเขียว

แม้ว่าครีมเทียมชนิดเหลวบางยี่ห้อก็มีการผสมน้ำนมดิบเข้าไปด้วยเช่นกัน แต่ส่วนใหญ่จะผสมลงในปริมาณที่ไม่สูงมากนัก แต่ถ้าต้องการผลิตภัณฑ์ตัวอื่นที่ทำจากน้ำนมแท้ๆ มาใช้แทนครีมเทียม ก็สามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อย่างครีมสด นมข้นหวาน หรือนมถั่วเหลืองมาแทนได้ หากใครอยากใช้นมข้นหวานแทนครีมเทียม เพื่อให้ได้รสชาตติชาที่กลมกล่อม แต่เป็นการใช้วัตถุดิบนมแท้ๆ แนะนำเป็นทำนมข้นหวานโฮมเมดแทนการซื้อแบบกระป๋องสำเร็จรูปมา ก็จะช่วยให้ลูกค้าได้บริโภคเครื่องดื่มที่ใช้วัตถุดิบคุณภาพดียิ่งขึ้น สามารถทำง่ายๆโดยการ ใช้นมสด 2 ถ้วยตวง ต้มกับน้ำตาลทราย 2/3 ถ้วยตวง ไฟอ่อนปานกลาง จนน้ำตาลละลายแล้วหยุดคนน้ำนมทันที หลังจากนั้นเบาไฟลงใช้ไฟอ่อน ๆ เปิดฝาหม้อไว้ เพื่อให้น้ำระเหยออก ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที จึงคนน้ำนมอีก 1 ครั้ง คนให้ทั่ว แล้วตั้งไฟทิ้งไว้นิ่ง ๆ อีก 20 นาที และยังคงเปิดฝาหม้อไว้

หลังจาก 20 นาที เพิ่มไฟขึ้นเป็นความร้อนปานกลาง คนให้ทั่วอีกรอบ ขั้นตอนนี้จะเห็นได้ว่าน้ำนมเริ่มมีสีที่เข้มขึ้นและมีความข้นมากขึ้น เติมเบกกิ้งโซดาลงไปในน้ำนมแล้วก็คนอย่างรวดเร็ว คนต่อไป และเบาไฟลง คนต่ออีกประมาณ 5 นาที แล้วก็ปิดไฟเตา คนต่อจนกระทั่งฟองยุบตัวหมด เป็นอันเสร็จเรียบร้อย สามารถเก็บใส่ขวดโหลอยู่ได้ 2 สัปดาห์

creamer creamer

สิ่งที่ควรระวังในการชงเมนูชาเขียวลาเต้ไม่ให้มีรสฝาด ที่บางคนคาดเดาว่ามาจากกระบวนการการผลิตครีมเทียมที่ไม่ดีนัก หรือเป็นเพราะใช้ไขมันไม่ได้คุณภาพมาทำเลยทำให้มีรสชาติไม่กลมกล่อม แต่จริงๆแล้วรสฝาดดังกล่าวเกิดได้ตั้งแต่ขั้นตอนการสกัดชา ควรใช้น้ำร้อนเดือดจัดกรองชาสลับไป-มา 4 ครั้ง  เมื่อกรองชาเสร็จแล้ว ไม่ควรแช่ผงชาไว้ในน้ำ ให้รีบบีบน้ำชาออกจากน้ำ แต่ก็ควรบีบพอประมาณ ไม่ควรเค้น เมื่อกรองกากชาออกแล้ว ควรรีบใส่ครีมเทียม ในขณะน้ำยังร้อน เพื่อให้ครีมเทียมละลายเข้ากันดีนั่นเอง

ที่มา

https://www.znaturalfoods.com/whole-milk-powder

https://www.wifemamafoodie.com/homemade-oat-milk/

shorturl.at/opyY9

Bromabakery.com

บทความจาก : Fuwafuwa

ชาเขียวใส่นม ดื่มแล้วไม่ดีต่อสุขภาพจริงมั้ย?

อย่างที่รู้กันอยู่แล้วว่าประโยชน์สูงสุดของการดื่มชาเขียว คือ ต้องดื่มแบบเพียวๆ ไม่ใส่นม น้ำตาล แต่ก็ใช่ว่าการใส่นมลงไป จะทำให้สูญเสียคุณค่าทางอาหารของชาไปทั้งหมด เพราะนมก็มีหลายประเภท ทั้งนมสด นมผง นมถั่วเหลือง นมอัลมอนด์ แต่ละชนิดก็ให้ประโยชน์ที่แตกต่างกันออกไป หากคุณต้องการได้รับประโยชน์สูงสุด การดื่มชาเขียวใส่นม จะทำให้คุณประโยชน์ของชาลดลงเท่านั้น แต่จะไม่สามารถขจัดประโยชน์ทั้งหมดได้

ประโยชน์ต่อสุขภาพที่สำคัญอย่างหนึ่งของชาเขียว คือ ประโยชน์จากคาเทชินซึ่งดีต่อหัวใจการไหลเวียนของเลือด คาเทชินเป็นอาวุธสำคัญของธรรมชาติที่เข้าไปทำหน้าที่ป้องกันการเกิดอนุมูล อิสระ และช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งในร่างกาย ชะลอความเสื่อมของร่างกายและช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งอีกด้วย ซึ่งในนมจะมีโปรตีนที่พบ เรียกว่า เคซีน ตัวนี้จะทำปฏิกิริยาทางเคมีกับคาเทชินและลดประโยชน์ต่อสุขภาพ เพียงแค่ลดประโยชน์ที่ดีลง แต่ไม่ได้ผลิตสารเคมีที่ไม่ดีต่อร่างกาย

Soy Milk Soy Milk

ดังนั้น หากจะช่วยเพิ่มประโยชน์ในการดื่มชาเขียวลาเต้แก้วโปรดของคุณ มีทางเลือกอีกมากมายในการใส่นมลงไป เช่น การเลือกนมถั่วเหลืองแทนนมวัว นมถั่วเหลืองมีเลซิตินซึ่งมีโครงสร้างโมเลกุลที่แตกต่างจากเคซีนดังนั้นคุณจะได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากคาเทชิน เพียงแค่รสชาติจะแตกต่างกันเล็กน้อยเท่านั้น และยังเป็นทางเลือกสำหรับคนที่แพ้นมวัวอีกด้วย แต่ถ้าาใครไม่ชอบนมถั่วเหลือง ก็ยังมีนมถั่วพิตาชิโอ้ และนมอัลมอนด์ ที่มีคุณค่าทางสารอาหารไม่แพ้กัน

อย่างไรก็ตามสามารถเพลิดเพลินกับการดื่มชาเขียวได้เหมือนเดิม แทนนิน กรดแกลลิก และคาเฟอีน คุณประโยชน์ในชายังคงทำหน้าที่ได้ดีตามปกติเมื่อคุณดื่มชาเขียวใส่นม

Milk

ข้อควรระวังสำหรับการดื่มชาเขียวใส่นมโดยเฉพาะอย่างยิ่งร้านที่ขายเครื่องดื่มชาเขียวในราคาถูกมากๆ อาจจะมีการใช้นมผง แทนนมสด จริงๆแล้วนมผง เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกใหม่ๆที่เก็บรักษาง่ายเพราะเป็นผงไม่ต้องแช่เย็น แต่บางร้านไม่ได้ใช้นมผงแท้ๆ ราคาจึงถูกกว่านมผงทั่วไปก็มีพบได้ในตลาดทุกวันนี้

หากคุณเป็นหนึ่งในผู้ประกอบการร้านเครื่องดื่มชา กาแฟ นอกจากการเลือกผงมัทฉะที่เป็นองค์ประกอบหลักในการชงเครื่องดื่มแล้ว อย่าลืมที่จะทำความรู้จักกับนม ที่เป็นอีกองค์ประกอบสำคัญด้วย

อย่างนมสดพาสเจอร์ไรซ์ นิยมบรรจุในขวดพาสติก แบบขุ่น กล่องกระดาษ หรือถุงพลาสติก โดยวางจำหน่ายในตู้เย็น หรือ ตู้แช่ ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส เพื่อไม่ให้นมเสีย เป็นนมที่มีคุณค่า ทางอาหารใกล้เคียงกับนมโคสดมากที่สุด นมประเภทนี้จึงเหมาะกับร้านขายเครื่องดื่มอย่างน้ำชา กาแฟมากที่สุด เพราะหาซื้อง่าย และสะดวก ซึ่งแต่ละยี่ห้อก็จะมีความหอม อร่อยที่ต่างกันออกไป และเป็นนมที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ข้อจำกัดของนมชนิดนี้คือ ต้องเก็บเเช่เย็นไว้ตลอดเวลา เมื่อเปิดแล้วต้องใช้ให้ หมดภายใน 2 วัน มิฉะนั้น นมอาจเสียได้

ดังนั้นบางร้านที่ไม่สะดวกใช้นมสด ก็อาจจะใช้นม UHT น้ำนมสดที่ผ่านกระบวนการให้ความร้อนที่สูงมากแต่ใช้เวลาสั้นมากจึงทำให้น้ำนมยังมีกลิ่นและรสที่ดี ไม่มีกลิ่นเป็นนมต้ม (ไหม้) เหมือนนมสดสเตอร์ไรซ์ รสชาติ ความสด อร่อยน้อยกว่า เมื่อเทียบกับนมพาสเจอร์ไรซ์ แต่ก็ยังได้รสชาติที่ดีกว่านมผงนั่นเอง เพราาะนมผง เป็นกระบวนการถนอมรักษานมสด โดยการทำให้เป็นผงแห้ง การแปรรูปเป็นผงโดยการระเหยน้ำส่วนใหญ่ออกจากน้ำนมสด ทำให้ผลิตภัณฑ์แห้งเป็นผง มีน้ำหนักเบา ประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนส่งและเก็บได้นาน

Milk

หากใครที่ไม่รู้จะเลือกใช้นมแบบไหนดี แนะนำให้คำนึงถึงก่อนว่า นมประเภทที่จะใช้ หาซื้อได้ง่ายไหม / สูตรการชงของร้านเป็นอย่างไร และราคา ต้นทุน เมื่อรวมกันแล้วได้กำไรต่อแก้วละเท่าไหร่

ไม่จำเป็นจะต้องสต็อกนมไว้มาก เพราะต้นทุนไม่สูง นอกจากนมที่ไว้ใส่ในชาแล้ว อย่าลืมคิดต้นทุนนมเผื่อนมที่ไว้ตีฟองนมทำเป็นท็อปปิ้งด้วย หากใช้นมประเภทเดียวกันได้ ก็ถือเป็นการประหยัดต้นทุนได้อีกทาง

ที่มา

https://www.japanesegreenteain.com

https://500px.com/photo/270154585/Iced-matcha-latte-with-milk-pouring-fron-pitcher-in-glass-by-Anna-Ivanova/

https://zibafoods.com/cold-pistachio-milk-with-cardamom-and-rosewater/

http://www.maki.vn/organic-vegan-milk

https://www.alphafoodie.com/simple-homemade-soy-milk-recipe/

บทความจาก : Fuwafuwa

ไขข้อสงสัย ทำไมชาไทย จึงต่างจาก ชาญี่ปุ่น

ดูเผินๆอาจจะไม่รู้ว่า เครื่องดื่มชาเขียวที่เราทานอยู่นั้น มาจากญี่ปุ่นแท้ๆ หรือผลิตจากในไทยกันแน่หากไม่ได้มีการระบุไว้ที่ชัดเจน ก็แยกยากอยู่เช่นกัน เพียงแต่จะสังเกตได้จากลักษณะของการบริโภค กล่าวคือ

1. คนญี่ปุ่นหลายคนยังคงมีความคิดว่า ชาเขียวกับน้ำตาล เป็นสิ่งที่ไม่เข้ากัน และยังนิยมบริโภคชาเขียวรสจืด ซึ่งเป็นรสดั้งเดิมเหมือนเมื่อสมัยโบราณ เป็นชาเขียวเพียวๆที่ดีต่อสุขภาพมากๆ แต่คนไทยจะบริโภคแบบนี้ไม่ค่อยได้กัน ชาเขียวไทย จึงได้มีการใส่น้ำตาลลงไปเพื่อปรับให้เข้ากับความชอบของคนไทย

Matcha Matcha

2. คนญี่ปุ่นมีวิธีชงชาที่พิถีพิถัน จนเกิดเป็นวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ วิธีการดื่มชาของญี่ปุ่นส่วนมากจะดื่มแบบร้อนเท่านั้น แต่ที่ไทย ด้วยความที่อากาศร้อน คนจึงนิยมบริโภคแบบเย็นมากกว่า

Matcha Matcha

3. ในส่วนของกรรมวิธีการปลูกชาเขียวทางภาคเหนือของไทย กับของญี่ปุ่น ด้วยสภาพอากาศ และอุณหภูมิ ความชื้น ความสูงจากระดับน้ำทะเลต่างกัน ย่อมส่งผลให้คุณลักษณะของชา สี กลิ่น รส แตกต่างกันเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละที่ การปลูกที่ไทย ส่วนมากจะปลูกช่วงต้นฤดูฝน ประมาณเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ซึ่งเป็นช่วงที่ดินมีความชุ่มชื้นเพียงพอ แต่ชาเป็นพืชที่ต้องการความชื้นสูง และสม่ำเสมอตลอดทั้งปีเพื่อให้มีการแตกยอด ที่ญี่ปุ่นชาจึงแตกยอดได้ดีกว่าด้วยสภาพภูมิอากาศของประเทศญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกียวโต เมืองที่รยล้อมด้วยภูเขา จึงทำให้ไม่ร้อนมากและมีความชื้นอยู่ในปริมาณที่เหมาะ อย่างไรก็ตามสวนชาของไทยส่วนใหญ่ยังอาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติเป็นแหล่งสำคัญ ทำให้สวนชามีผลผลิตมากน้อยแตกต่างกันไปตามปริมาณน้ำฝนในแต่ละปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศและปริมาณน้ำฝนนั่นเอง

4. ชาเขียวญี่ปุ่นไม่ได้ถูกนำไปคั่วบนกระทะเหมือนของไทย แต่กลับถูกนำไปผ่านความร้อนโดยการนึ่ง และอบแห้ง ใบชาเขียวญี่ปุ่นจึงมีสีเขียวที่สด และน้ำชาก็มีสีเขียวอ่อนๆตามธรรมชาติ

Matcha

5. ชาเขียวไทยหลายเจ้ามีการผสมแป้ง ลงไปในผงชาด้วย เพื่อให้ได้ปริมาณผงชาที่เยอะขึ้น แต่รสชาติ สี ก็จะเจือจางลงตามเช่นกัน จึงไม่ต้องแปลกใจหากเจอผงชาเขียวที่ผลิตจากญี่ปุ่นแล้วราคสูงกว่าที่ไทยมาก เห็นได้ชัดจากร้านชา เครื่องดื่มตามท้องตลาด หากสั่งที่เป็นเครื่องดื่มชาเยียว จะได้เห็นได้ชัดจากสีที่ของไทยจะอ่อนจนคล้ายสีเขียวมิ้นต์

Matcha Matcha

อย่างไรก็ตาม แม้ชาที่ผลิตในไทยคุณภาพอาจจะไม่ได้เทียบเท่ากับที่ญี่ปุ่น แต่หากมาชงเครื่องดื่มตามสูตรแบบฉบับที่ร้านได้ ก็เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อย แต่ร้านไหนที่อยากให้ลูกค้าได้ดื่มชาเขียวเข้มข้น กรเลือกใช้ผงชาเขียว วัตถุดิบคุณภาพดีจากต้นกำเนิด ก็จะยิ่งทำให้เมนูที่ร้านน่าทานมากยิ่งขึ้น

ที่มา

https://saihojimatcha.com/pages/saihoji-faqs

https://www.instagram.com/p/BgYv1pfHjgF/

https://nourishedkitchen.com/matcha-tea-latte

บทความจาก : Fuwafuwa

หลายคนอาจสงสัย น้ำแร่ใช้ชงชาได้มั้ย ?

หากพูดถึงน้ำที่ต้องใช้ในการชงชา เชื่อว่าทุกคนต้องนึกถึงอุณหภูมิของน้ำที่ควรใช้ มากกว่าชนิดของน้ำที่ใช้ชงชา เพราะปกติแล้วเราก็จะใช้น้ำสำหรับดื่มทั่วไป อาจจะเป็นน้ำขวดธรรมดาแบบที่วางขายทั่วไป นำมาต้มให้เดือดก็เป็นอันใช้ได้ แต่บางคนอาจจะสงสัยว่า แล้วน้ำแร่สามรถใช้ชงชาได้มั้ย? น้ำแร่ได้ชื่อว่าเป็นน้ำที่มีแร่ธาตุอยู่มาก หากเอามาชงชาแล้ว จะได้ชาที่ยิ่งคุณภาพดีจริงรึเปล่า??

น้ำแร่ มี 2 ชนิด แบ่งชนิดตามปริมาณของแร่ธาตุแมกนีเซียมและแคลเซียมที่พบในน้ำ ซึ่งถ้ามีปริมาณของแร่ธาตุสูง จะเรียกว่า “น้ำกระด้าง” (Hard Water)เป็นน้ำที่มีหินปูนและแมกนีเซียมละลายอยู่ด้วยค่อนข้างมาก แต่ถ้ามีปริมาณของแร่ธาตุต่ำ ก็จะเรียกว่า “น้ำอ่อน” (Soft Water)ส่วนมากน้ำแร่ นำเข้าจากต่างประเทศจะเป็นน้ำแร่ธรรมชาติแบบน้ำกระด้าง แต่ถ้าในไทยจะเป็นน้ำแร่ธรรมชาติแบบน้ำอ่อน โดยหลักแล้วน้ำทั้ง 2 ชนิด สามารถชงชาได้รสชาติดีเหมือนกัน แต่กลิ่น สีจะแตกต่างกัน

น้ำแร่

ในการชงชา นิยมใช้น้ำอ่อนมากกว่าน้ำกระด้าง เพราะในน้ำมีปริมาณแร่ธาตุน้อย ชาที่ได้จึงมีสีเข้ม รสชาติเข้มกลมกล่อมกว่า ทำให้สามารถดื่มด่ำกับรสชาติของชาได้มากที่สุด ตรงกันข้ามกับการใช้น้ำกระด้าง ซึ่งรสชาติของแร่ธาตุจะไปกลบรสชาติของชา ทำให้เวลาดื่ม นอกจากจะไม่ได้ดื่มด่ำกับรสชาติของชาอย่างเต็มที่แล้ว และอาจมีกลิ่นคล้ายๆกับโลหะเจืออยู่ในน้ำชาอีกด้วย รสชาติและกลิ่นหอมจะอ่อนๆ สีน้ำชาจางๆ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่สามารถใช้น้ำกระด้างในการชงชาได้เลย เพราะสุนทรียของการดื่มชาของแต่ละคนแตกต่างกันไปตามความชอบนั่นเอง

อย่างไรก็ตามก็มีบางคนที่เน้นความสะดวก นำน้ำประปามาต้มแล้วเอามาใช้ชงชาดื่ม ซึ่งน้ำต้มที่ได้จะมีคลอรีนที่ใช้สำหรับฆ่าเชื้อโรคในน้ำละลายปนอยู่ด้วย จะมีกลิ่นอื่นเจือปนอยู่ ถ้าอยากจะใช้น้ำประปาไปต้มชงชา ควรต้มน้ำในภาชนะที่ไม่มีฝาปิดและควรเพิ่มเวลาต้ม ประมาณ 3-5 นาที เพื่อให้กลิ่นคลอรีนระเหยหมดไป

น้ำแร่

ดังนั้นในการชงชาสามารถใช้น้ำแร่ชงได้ และสามารถใช้น้ำดื่มทั่วไปที่ สด ใหม่ สะอาด บริสุทธิ์ กล่าวคือ น้ำที่ไม่มีกลิ่นอื่นเจือปน ไม่ใช้สารเคมีในการปรับคุณภาพ อีกทั้งไม่ใช่น้ำที่ผ่านการต้มมาแล้วหลายครั้ง เพราะน้ำต้มที่ผ่านการต้อมหลายครั้งจะมีออกซิเจนน้อย หากนำมาชงชาจะทำให้รสชาติชาจืดชืดไป ขาดความนุ่ม และความลึก เป็นไปได้ ควรใช้น้ำที่มีค่าน้ำเป็นกลาง (PH7)ดังนั้นจะเหมาะที่สุด

น้ำแร่ น้ำแร่

ทั้งนี้การใส่ใจกับคุณภาพน้ำอย่งเดียวไม่ได้ส่งผลต่อรสชาติของชา 100% แต่ความอร่อย รสชาติอูมามิของชา ยังต้องคำนึงถึงอุณหภูมิของน้ำ ระยะเวลาที่ใช้ชง คุณภาพใบชา และยังรวมถึงเรื่องของภาชนะที่ใช้ในการชงชาอีกด้วย

ที่มา

eatingwell.com

ourfoodstories.com

บทความจาก : Fuwafuwa

ทำความรู้จักครกหินญี่ปุ่น อุปกรณ์คู่ใจของคนทำผงมัทฉะ

ทุกวันนี้มีการให้ความสำคัญน้อยมากกับเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการสร้างผงมัทฉะ เครื่องมือนั้นคือ “อิชิอุสุ” (石臼: Ishi-usu) หรือ “ครกหิน”นั่นเอง

อิชิอุสุ อิชิอุสุ

“ครกหินญี่ปุ่น” มีลักษณะเป็นหินทรงกระบอกสองชิ้น วางทับกัน โดยมีที่จับสำหรับหมุนที่หินด้านบน สามารใช้สำหรับบดอาหารจำพวกเมล็ดข้าว ธัญพืช และใบชา ซึ่งไม่ว่าจะหมุนด้วยแรงคนหรือพลังงานไฟฟ้า การบดมัทฉะโดยครกอิชิอุสุนั้น ถ้าหมุนโดยไม่หยุดพักเลย 1 ชั่วโมงจะได้ผงมัทฉะออกมาแค่ 40 กรัมเท่านั้น จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้มัทฉะมีราคาแพงกว่าใบชา

อิชิอุสุ มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 1400 ปี สมัยก่อน คนญี่ปุ่นแทบทุกครัวเรือนจะมีอิชิอุสุไว้ใช้ ทั้งบดเมล็ดข้าวเพื่อนำแป้งไปทำเส้นอุด้ง หรือบดถั่วเหลืองเพื่อนำไปทำเต้าหู้ โดยใส่อาหารที่ต้องการบดที่รูด้านบน แล้วหมุนครกไปมา ให้หินสองก้อนเสียดสีกัน และผงที่บดออกมาก็จะตกลงมาที่ถาดรอง การใช้ครกอิชิอุสุต้องใช้แรงเยอะ สมัยก่อน เวลาหนุ่มสาวจีบกัน แม่ฝ่ายหญิงจะให้ฝ่ายชายช่วยบดแป้งจากเมล็ดข้าว แล้วให้ฝ่ายหญิงเอาแป้งที่ได้ไปทำมันจู ( ซาลาเปาญี่ปุ่นลูกเล็กๆ ไส้ทำจากถั่วแดงหรือเกาลัดกวน ) เป็นวิธีการจีบ และเรียนรู้นิสัยซึ่งกันและกันของคนญี่ปุ่นในสมัยก่อน น่าเสียดาย ที่ปัจจุบัน บ้านญี่ปุ่นที่มีครกหินแบบนี้เหลืออยู่น้อยแล้วครับ อีกทั้งครกอิชิอุสุยังมีราคาแพงมาก โดยครกเล็กๆแบบในรูปข้างล่าง มีราคาตั้งแต่ 20,000 ถึง 70,000 กว่าบาท

ศิลปะการบดชาด้วยหินถูกนำเข้ามาในญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกโดยพระในศาสนาพุทธนิกายเซนชื่อ Eisai ในศตวรรษที่ 12 เขาใช้เทคนิคที่เขาสังเกตเห็นจากชาวจีน แม้ว่าวิธีการบดหินนี้ไม่ได้รับความนิยมในประเทศจีน แต่วิธีนี้ยังคงดำเนินต่อไปในญี่ปุ่นตั้งแต่ศตวรรษที่ 12 เป็นต้นมา ซึ่งผงมัทฉะเข้าเป็นครั้งแรกโดยเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมทางพุทธศาสนานิกายเซน จากนั้นก็กลายเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับการคัดเลือกจากชนชั้นสูงของสังคมญี่ปุ่นศักดินาและปัจจุบันจนถึงปัจจุบันที่ความชื่นชมของมัทฉะแพร่กระจายไปทั่วโลก

อิชิอุสุ อิชิอุสุ

มีประโยคที่กล่าวว่า“Matcha must be powdered green tea. But notall powdered green tea is matcha…”นั้นเป็นเพราะว่าใบชาที่ดีที่นิยมนำมาบดเป็นผงละเอียดได้ ส่วนใหญ่จะเป็นใบชาเทนฉะ เพราะบดออกมาแล้วจะได้ความละเอียดมากกว่าชนิดอื่น แต่ในยุคสมัยใหม่ เมื่อผงมัทฉะเป็นที่นิยมมากขึ้น เกิดการขายตัดราคากัน ทำให้ผงชาเขียวตามท้องตลาดทุกวันนี้อาจจะมีส่วนผสมของแป้งเพิ่มเข้ามาด้วย ทำให้ผงสีเขียวที่ควรจะเป็นผงชาเขียว 100% กลับไม่ใช่ผงมัทฉะที่แท้ตามแบบฉบับคนญี่ปุ่น จะเห็นได้ชัดหากเรานำผงมัทฉะหลายๆแบรนด์ มาเทเทียบกัน อนุภาคความละเอียดของผงมัทฉะจะเห็นได้ชัดว่ามีสีและความละเอียดท่แตกต่างกันออกไป

อิชิอุสุ

ส่วนที่สำคัญอีกประการของกรบดมัทฉะ คือ วิธีการของช่างฝีมือในการบดเทนฉะ เพราะเมื่อเพิ่มใบเทนชะลงในอิชิอุสุแล้ว วิธีการบดจะควบคุมยากขึ้น เพราะ อิชิอุสุ มักทำจากหินแกรนิต ถือเป็นหินที่ “อ่อน” เนื่องจากไม่เกิดแรงเสียดทานหรือความร้อนมากนัก จึงต้องหมุนโม่หินอย่างช้าๆและเป็นระบบเพื่อให้ได้ผงละเอียด การหมุนเร็วเกินไปส่งผลให้เกิดความร้อนมากเกินไปและใบชาจะออกซิไดซ์และไหม้ได้ บวกกับผงมัทฉะที่ได้อาจจะหยาบเกินไปสำหรับการตีด้วยฉะเซน

การบดอย่างช้าๆสม่ำเสมอ นำไปสู่ผงมัทฉะที่ละเอียดประณีต พร้อมด้วยกลิ่นหอมหวานที่อุดมไปด้วยรสอูมามิ ปัจจุบันนี้ เป็นที่น่าเสียดายที่ใบชาบางที่ถูกบดด้วยลูกเหล็กหรือด้วยเครื่องปั่นพลังสูงซึ่งสามารถทำลายความสมบูรณ์ คุณภาพ สารอาหาร และรสชาติของชามัทฉะได้ เพื่อให้สามารถผลิตมัทฉะได้จำนวนมาก แต่ก็มีหลายๆที่ที่พยายามควบคุมคุณภาพการผลิต ให้คงเดิมตามแบบวัฒนธรรมญี่ปุ่นดั้งเดิมไว้ ตามพิพิธภัณฑ์ ชา ที่ฟุกุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น ก็ยังมีการโชว์เครื่องอิชิอุสุ และให้นักท่องเที่ยวสามารถทดลองบดใบชาได้เองอีกด้วย

อิชิอุสุ

ที่มา

http://www.isetan.co.jp/icm2/jsp/shops/otoriyose/wagashi/2012_04_uzuki/s01.jsp

https://photodune.net

https://mizubatea.com/blogs/news-1/the-ishi-usu-what-using-a-stone-matcha-mill-is-all-about

บทความจาก : Fuwafuwa

How to เบลนด์ชาเขียวเองได้ด้วยตัวเอง

“ชาที่ดี ใบชาตั้งต้นต้องดี”  หัวใจสำคัญแรกเริ่มเลย ก่อนจะรู้จักการเบลนด์ชาเอง ใบชาตั้งตั้นที่กล่าวถึงนี้ ก็คือชาดำ ชาเขียว และชาอู่หลง พอได้ใบชาตั้งต้นดีแล้ว จะเอามาเบลนด์กับอะไร รสชาก็จะอร่อย หอมตามไปด้วย กล่าวคือ ชาเขียวที่เหมาะกับการนำมาเบลนด์เองได้นั้น ควรเป็นชาที่ปลูกในที่ภูเขาสูง อากาศเย็น อย่างที่ญี่ปุ่น ที่นั่นเขาจะดื่มชากันสดมากๆ เพราะผลิตผลเขาดีมาก ชาที่ดี จึงมักมีจุดตัดกันที่ แหล่งที่มาของชา การปลูก ดิน แหล่งชาไหนจะสร้างชามาได้เลิศกว่ากัน

แหล่งชา แหล่งชา แหล่งชา

เมื่อเราได้ชาตั้งต้นที่ดี ความสนุกและซับซ้อนของชายังอยู่ที่การเบลนด์ส่วนผสมอื่นเข้าไปเพื่อให้มีกลิ่นและรสที่มีมิติน่าสนใจมากขึ้น โดยเฉพาะสมุนไพรที่นอกจากจะมีกลิ่นรสเฉพาะตัว ยังมีสรรพคุณดีๆ ที่ช่วยเรื่องสุขภาพอีกด้วย เช่น หากเลือก ดอกลาเวนเดอร์และกุหลาบตากแห้งดอกจิ๋วๆ ที่เติมความน่ารักให้ชา จะช่วยบำรุงระบบหมุนเวียนโลหิต พร้อมทั้งคลายเครียด ดอกคำฝอยช่วยลดไขมันในเส้นเลือด แถมยังช่วยให้ชาสีสวย หากใครหลับยาก ถ้าเป็น ดอกคาโมมายล์และดอกหอมหมื่นลี้ช่วยให้ผ่อนคลายและหลับสบายขึ้นดอกเก๊กฮวยแก้ร้อนใน ดีต่อหัวใจ หรือถ้าเลือกผสม ดอกอัญชันแห้งก็จะช่วยบำรุงสายตาและเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกายใบเตยแห้งช่วยลดไข้ บำรุงผิว และแก้ท้องผูก ตะไคร้แห้งช่วยขับลมและแก้คลื่นไส้ นอกจากนี้ยังมีส่วนผสมตัวอื่นๆที่น่าลอง เช่น หญ้าหวาน ข้าวเหนียวดำ ขิง มะม่วง กระเจี๊ยบ ซินนาม่อน

การเบลนด์ชา การเบลนด์ชา

พอรู้จักสรรพคุณของชาแล้ว มาลองเริ่มเบลนด์ชากันเองดีกว่า หลักการง่ายๆ ของการเบลนด์ชาเบื้องต้น เริ่มต้นง่ายๆ จากการเลือกชาและสมุนไพรที่ชอบก่อน ต้องออกแบบรส และกลิ่นไว้คร่าวๆ ก่อนว่าต้องการรสแบบไหน ประมาณไหน อยากได้รสหลักเป็นอะไร แล้วค่อยๆ ใส่ลูกเล่นเข้าไปเพิ่ม หลักการง่ายๆ คือการค่อยๆ ปรับแก้จนได้รสที่ใกล้เคียงสิ่งที่คิดไว้ สัดส่วนใบชาและสมุนไพรที่แนะนำคือ ใบชา 3 ส่วน ต่อสมุนไพร 1 ส่วนใส่ลงถุงชา หรือที่กรองชา โดยลองสกัดชาที่เบลนด์แล้วด้วยน้ำร้อนอุณหภูมิประมาณ 95 องศาเซลเซียส เทน้ำลงไปชาเหมือนเวลาชงชาปกติ เพราะจะได้ชาที่มีรสชาติพอดิบพอดี

สิ่งที่ต้องดูนอกจากรสชาติ คือ ดูสีสัน และกลิ่นที่เข้ากันได้ เช่น ไม่ควรใส่ดอกไม้ที่กลิ่นหอมทั้งคู่ กลิ่นจะตีกัน เช่น กุหลาบ กับ ลาเวนเดอร์ หรือควรจับคู่กลิ่นรสที่เสริมกัน เช่น ใบเตยกับตะไคร้ จะยิ่งให้ความสดชื่นในตอนดื่ม หากไม่แน่ใจ จะลองชงดื่มดูก่อนก็ได้ว่าได้กลิ่น สี และรสอย่างที่ต้องการหรือไม่

แต่การเบลนด์ชาก็ไม่ใช่ว่าจับอันนั้นผสมอันนี้ก็เสร็จ เพราะเรื่องสัดส่วนเป็นเรื่องสำคัญ สมุนไพร ดอกไม้บางชนิดกว่าจะแช่ในน้ำร้อนให้กลิ่นและสี ชาเขียวก็อาจจะถูกแช่จนขมไปหมด ส่วนที่ยากของการเบลนด์ชาคือ ไม่มีทางตัดสินได้ว่ารสชานั้นจะออกมาเป็นอย่างไรในการผสมของแห้ง สุดท้ายชาต้องถูกแช่ในน้ำร้อน กลิ่นและรสก็จะเปลี่ยนแปลงไปอีกจากที่เราชอบ กว่าจะได้ชา 1 เบลนด์ต้องผ่านการลองผิดลองถูกซ้ำแล้วซ้ำเล่าไม่รู้กี่ครั้ง จนได้จุดที่สมดุลที่สุด

ส่วนร้านที่เริ่มเบลนด์ชาเองได้จนเชี่ยวชาญแล้ว สามารถต่อยอดชุดชาเบลนด์ เป็นชุดของขวัญ รวมชาสรรพคุณดีๆ กลิ่นหอมๆ ใส่โหลผูกโบ หรือแพ็คลงกล่องอย่างสวยงาม แทนกระเช้าอาหารแปรรูปที่วางขายอยู่ทั่วไป ก็น่าสนใจและบ่งบอกถึงความตั้งใจในการคัดเลือกชาคุณภาพให้ผู้รับประทับใจ

ชุดชาเบลนด์ ชุดชาเบลนด์

ที่มา

http://www.lovecreatecelebrate.com/homemade-peppermint-tea/

https://creationsbyfc.com/products/tea-sampler-gift-set-10pc

https://www.anthropologie.com/wellness-teas-coffees-elixirs

http://www.womansday.com/health-fitness/10-healing-herbs-used-in-teas-75249

https://www.anthropologie.com/wellness-teas-coffees-elixirs

บทความจาก : Fuwafuwa

ทำความรู้จักการปลูกชาเขียวแบบออร์แกนิค

ทำไมรสชาติของชาญี่ปุ่นออร์แกนิคจึงมีกลิ่นหอม และหวานละมุน?

Matcha

เพราะการปลูกชาออร์แกนิคเป็นการปลูกชาที่ต้องงดปุ๋ยเคมีหรือยาฆ่าแมลง ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ไม่มีการดัดแปลงพันธุกรรม (ไม่มีจีเอ็มโอ) รวมทั้งเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ได้ตัดต่อทางพันธุกรรม หรือวัตถุสังเคราะห์ใดๆ ซึ่งการเตรียมหน้าดินก่อนปลูก ต้องทำให้ปลอดสารพิษไม่น้อยกว่า 3 ปี และในกระบวนการผลิตต้องมีการอนุรักษ์ดินและแหล่งน้ำ เพื่อให้ผลผลิตเจริญเติบโตตามธรรมชาติอย่างแท้จริง และปลอดภัยต่อสุขภาพไม่มีสารตกค้างจากสารเคมี เนื่องจากการปลูกชาโดยทั่วไปยังมีการใช้สารเคมีและยาปราบศัตรูพืชซึ่งอาจจะส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว

ปัจจุบันแม้ชาส่วนใหญ่ที่ญี่ปุ่นเป็นเพียงชาปลอดสารพิษ มีเปอร์เซ็นต์น้อยมากๆ ที่เป็นออร์แกนิค 100% เพราะเป็นเรื่องยากที่จะสร้างไร่ชาออร์แกนิคนั่นเอง เนื่องจากมีไร่ชาปลอดสารพิษมากมายอยู่ในพื้นที่ติดกัน และมีการแพร่กระจายของปุ๋ยเคมีหรือสารกำจัดศัตรูพืชและสารเคมีที่แทรกซึมผ่านดินจากฟาร์มโดยรอบสามารถเข้าสู่ฟาร์มอินทรีย์ ดังนั้นไร่ชาออร์แกนิคจำเป็นต้องสร้างพื้นที่กันชนหรือที่พักพิงระหว่างไร่ชาออร์แกนิกและไร่ชาปลอดสารพิษ เพื่อให้สภาพดินไร้สารเคมีอย่างแท้จริง

Matcha

ชาออร์แกนิคมีรสชาติที่เรียบง่ายเพราะชาได้รับสารอาหารที่มีอยู่ในดินโดยตรง และรสชาติชาจะขึ้นอยู่กับสภาพอากาศด้วย การคัดเฉพาะยอดอ่อน 3 ใบบนเท่านั้น และเก็บเฉพาะช่วงเช้าก่อน 7 โมงเช้า เทคนิคที่ทำให้ชาออร์แกนิคมีรสชาติที่ละมุนพิเศษ เพราะใบชาจะผลิใบรับแสงแดดอ่อนๆ อย่างเต็มที่ และมีละอองน้ำค้างที่จะขับกลิ่นหอมและรสชาติหวานละมุนของชาให้ออกมาได้อย่างเต็มที่ในช่วงเวลาเช้านี่เองสภาพอากาศจึงเป็นอีกตัวแปรสำคัญที่ทำให้รสชาติชาเป็นเอกลักษณ์

อีกสาเหตุที่การปลูกชาออร์แกนิคได้รับความนิยมไม่มากนักเพราะว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ให้ออกผลผลิตได้รวดเร็วตามที่ต้องการ ปุ๋ยอินทรีย์จะทำงานช้าเป็นเวลา 3 ถึง 9 เดือน ในทางตรงกันข้ามปุ๋ยเคมีจะทำงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพในเวลาประมาณ 1 เดือนเท่านั้น ซึ่งสอดคล้องกับต้นทุนการผลิต ที่ปุ๋ยอินทรีย์จะทำงานช้า ดังนั้นต้นชาอินทรีย์จึงมีภาระมากกว่าต้นชาที่ไม่ใช่ออร์แกนิก ในทางกลับกันปุ๋ยเคมีในไร่ชาปลอดสารพิษทำให้กระบวนการปลูกง่ายขึ้นมาก ออกผลผลิตเร็ว

ดินในไร่ชาออร์แกนิกโดยทั่วไปมีอากาศมากกว่าและนุ่มกว่าดินในไร่ชาที่ไม่ใช่อินทรีย์ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณปุ๋ยที่ใช้ด้วย หากใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในปริมาณมากทำให้ดินนุ่มและโปร่งสบายขึ้น นี่เป็นเรื่องจริงสำหรับทั้งไร่ชาออร์แกนิคและไม่ใช่ออร์แกนิค ดินจะโปร่งสบายเนื่องจากแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในดินและสร้างสารอาหารและสภาพแวดล้อมที่ดีต่อใบชา

Matcha Field

ในพื้นที่ไร่ชาที่เมืองอูจิ เกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ในช่วงฤดูร้อน แสงแดดจะร้อนจัดและอากาศชื้น แต่ด้วยความชื้น พร้อมกับปุ๋ยที่อุดมสมบูรณ์นี้ เป็นสภาพแวดล้อมที่ดีมากสำหรับต้นชา แต่ยังเป็นสภาพแวดล้อมที่วัชพืชชื่นชอบด้วยเช่นกัน การกำจัดวัชพืชในไร่ชาออร์แกนิค ต้องใช้การถอนเถาวัลย์ออกจากต้นชา ถือเป็นงานที่ยาก เพราะชาออร์แกนิค กำจัดวัชพืชทำด้วยมือเท่านั้น และต้องกำจัดออกเพื่อป้องกันไม่ให้วัชพืชดูดซับสารอาหารจากปุ๋ยไปหมด

Matcha

ชาออร์แกนิคจะมีรสชาติที่รสชาติอร่อยกว่าชาจากไร่อื่นๆเพราะเติบโตในสภาพอากาศที่เหมาะสมและแหล่งน้ำธรรมชาติ คุณภาพดีเพราะเก็บด้วยมือ แถมยังปลอดภัยต่อสุขภาพในระยะยาว เพราะไม่มีสารเคมีตกค้าง จึงทำให้มีราคาที่สูงกว่าชาทั่วๆไปนั่นเอง

ที่มา

https://www.unclelee.com/article-history-our-tea.html

https://www.hibiki-an.com/contents.php/cnID/19

บทความจาก : Fuwafuwa