กว่าจะเป็นผงชามัทฉะ

ชาเขียว กับมัทฉะ เป็นเครื่องดื่มที่นิยมของชาวญี่ปุ่น ผลิตจากใบชาจากแหล่งปลูกในญี่ปุ่นที่เหมือนกัน ความเหมือนที่แตกต่างของ “มัทฉะ” และ “ชาเขียว ที่ชัดเจนที่สุด คือ ลักษณะของการใช้ เพราะมัทฉะจะมาในรูปแบบผงละเอียด ในขณะที่ชาเขียวโดยปกติจะมาในรูปแบบของใบชาแห้ง เวลากิน ชงกับน้ำร้อนกินแต่น้ำชา ส่วนใบชากรองออก

matcha

ส่วนชาเขียวที่เราเรียกมัทฉะ มีลักษณะเป็นผงชาเขียวที่นำใบชามาบดจนละเอียด เวลากินนำผงชาไปผสมกับน้ำร้อน คนให้เข้ากันแล้วดื่มได้ทั้งหมด ไม่ต้องกรองส่วนใดออก ซึ่งกรรมวิธีการแปรรูปจากใบชาเขียว มาเป็นผงมัทฉะต้องอาศัยความละเอียดอ่อนพอสมควร ชาเขียวญี่ปุ่นแท้ เป็นชาที่ไม่ผ่านกระบวนการหมัก เสร็จแล้วนำไปนวดเพื่อให้ใบชาม้วนตัว จากนั้นนำไปอบแห้ง สีของน้ำชาจึงมีสีเขียว

matcha greentea

ต้นชาที่จะนำมาผลิตเป็นมัทฉะ จะมีการปลูกและดูแลที่ซับซ้อนกว่าชารูปแบบอื่น ช่วงที่ใบชาแตกยอด ก่อนเก็บเกี่ยวต้องคลุมป้องกันไม่ให้ชาได้รับแสดงแดดโดยตรง เพื่อหลีกเลี่ยงการโดนแสงแดดโดยตรง เป็นการลดการสังเคราะห์แสงชะลอการเจริญเติบโตของใบชา เพื่อกระตุ้นการผลิตคลอโรฟิลและกรดอะมิโนใบชาจึงมีสีเขียวเข้ม เหมาะกับการนำไปทำมัทฉะ โดยนำใบชามาบดโดยครกหินที่ทำให้เกิดความร้อนน้อยที่สุด เพื่อรักษารสชาติและกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ไว้ บดจนออกมาป็นผงละเอียดเหมือนแป้ง ใช้เวลานาน กว่าจะได้ผงชาออกมาจำนวนหนึ่ง ทำให้มัทฉะมีราคาสูงกว่าชาเขียวชนิดอื่นๆ

matcha

ในสมัยก่อนมัทฉะจึงเป็นชาที่ถูกนำไปใช้ในพิธีชงชาของประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันนิยมนำผงมัทฉะมาชงเครื่องดื่ม ร้อน เย็น ทำขนม หรือไอศกรีม เพราะมัทฉะมีสีเขียวสดสวย อีกทั้งยังมีคุณค่าทางอาหารจากใบชาทั้งใบอีกด้วย ทำให้มัทฉะเป็นที่ได้รับความสนใจจากกลุ่มคนรักสุขภาพมากยิ่งขึ้น ในขณะที่ชาเขียวสามารถใช้ชงเครื่องดื่ม ร้อน เย็นได้ แต่ไม่เหมาะที่จะไปทำขนม

ประโยชน์ของชาเขียว สารสำคัญหลักๆ คือ ธีอะนีนและคาเทชิน

  • ธีอะนีนเป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่งเป็นสารสำคัญที่พบมากในชาเขียว ให้ฤทธิ์ในเรื่องของการผ่อนคลาย ลดความเครียด ทำให้เกิดสมาธิ คิดอ่านได้ดีขึ้นและยังส่งเสริมคุณภาพของการนอนหลับ ทำให้หลับสนิทยิ่งขึ้นด้วย
  • คาเทชิน มีฤทธิ์เป็นสารต้านออกซิเดชันที่จับกับอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบ เพิ่มความสามารถในการจดจำ สามารถลดไตรกลีเซอไรด์ ลดคอเลสเตอรอล ลดการดูดซึมไขมันในลำไส้และการสะสมของไขมัน เพิ่มการใช้พลังงาน การดื่มชาสามารถลดความอ้วนได้ ที่สำคัญช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งในร่างกายได้อีกด้วย
  • สรรพคุณอื่นๆ ได้แก่ ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย และเป็นการดีท๊อกซ์ร่างกายไปในตัวด้วย

แหล่งที่มา

https://www.pinterest.com/pin/631207704000682997/

https://www.pinterest.com/pin/481463016383950342/

https://www.ohhowcivilized.com/what-is-matcha-green-tea/

https://www.tealoftco.com/products/matcha-premium

https://www.finedininglovers.com/stories/tea-tips-teapot-food-design/

บทความจาก : Fuwafuwa

พิชิตใจลูกค้าด้วย Emotional Value

ธุรกิจร้านอาหารทุกวันนี้ แต่ละร้านจะมีเอกลักษณ์ของร้านตัวเองที่ดึงดูดลูกค้าเข้าร้าน บางร้านใช้วิธีจัดโปรโมชั่น ลด แลก แจก แถม บางร้านใช้การจัดอีเว้นต์ เชิญ Influencer ดังๆเข้ามา แต่จริงๆแล้ว วิธีเหล่านี้เป็นเหมือนเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เพราะในบางครั้งที่จบช่วงโปรโมชั่น หรืออีเว้นต์นั้นๆไป ลูกค้าก็อาจจะหายไปเหมือนเดิมได้ เป็นการแก้ปัญหาระยะสั้นเพียงเท่านั้น

วิธีการพิชิตใจลูกค้าที่ยั่งยืนจริงๆแล้ว ควรให้ความสำคัญสิ่งที่เรียกว่า Emotional Value (คุณค่าทางอารมณ์) เพิ่มมากขึ้น ซึ่งการทำ Emotional Value ของแต่ละร้านย่อมมีวิธีการที่แตกต่างกันออกไป ว่าจะใช้ในเรื่องของการชูโรงเรื่องความพรีเมี่ยมของวัตถุดิบ หรือ การสร้างคอนเทนต์ในรูปแบบของร้านนั้นๆเองให้มีเอกลักษณ์ แต่ถ้าใครไม่มีไอเดีย มาดูเทคนิคง่ายๆที่ทำให้ลูกค้าเลือกมาร้านของเรา แทนที่จะไปร้านอื่นๆบ้าง

  • Emotion : Caring การดูแล ห่วงใย เอาใจใส่ ครอบครัวบางครอบครัวมักจะมีปัญหาเวลาไปทานข้าวด้วยกันที่บางคนชอบอย่าง อีกคนชอบอีกอย่าง ถ้าร้านนนั้นๆ มีเมนูที่หลากหลายเหมาะกับคนในครอบครัวทุกเพศทุกวัย ก็เป็นการเอาใจใส่ลูกค้าเล็กๆน้อยๆ ที่อาจจะทำให้ลูกค้าประทับใจได้โดยไม่รู้ตัว เช่น มีเมนูชาเขียวเลือกระดับความเข้มได้ คนที่ไม่ชอบชาเขียว ก็สามารถเลือกเลเวลเจือจาง ผู้ใหญ่สายเข้ม สามารถเลือกชาเขียวเข้มข้นมากๆ ทำให้ในครอบครัวเดียวกัน สามารถใช้เวลาด้วยกันได้ หรือเป็นเมนูที่วางขายธรรมดาอยู่แล้วตามปกติ แต่ตกแต่งหน้าตาให้แตกต่างออกไปตามเทศกาลพิเศษ เช่นทาร์ตชาเขียว แค่เปลียนวิธีการปาดครีมชีสชาเขียว เพิ่มดอกไม้และสตอเบอรี่เล็กน้อย ก็เหมาะที่จะมอบให้ลูกค้าคนสำคัญในวันเกิดของเขา

matcha matcha cake

  • Emotion : Adventure ประสบการณ์อันน่าตื่นเต้น ที่ให้ลูกค้ามีส่วนร่วม สร้างประสบการณ์ในทานเมนูชาเขียวเองที่ทำให้ลูกค้าสนุก เกิดการถ่ายคลิป และแชร์ลงโซเชียลได้ เช่น การทำฟองดูว์ชาเขียว มัทฉะสตอเบอรี่ลาเต้ ที่ให้ลูกค้าเทส่วนผสมบางอย่างเอง หรืออัฟโฟกาโต้มัทฉะ ที่ลูกค้าสามารถเทมัทฉะลงไปในไอศครีมได้เอง เพียงแค่เราเปลี่ยนวิธีจากการเสิร์ฟปกติที่ทำให้ลูกค้าทถกขั้นตอนมาเป็นให้ลูกค้ามีส่วนร่วมมมากขึ้น ลูกค้าจะรู้สึกเหมือนได้ทำเมนูนั้นทานเอง และสนุกที่จะเข้ามาที่ร้านเพื่อลองเล่นอะไรใหม่ๆที่ต่างจากร้านอื่น

matcha matcha latte

  • Emotion : Certainty ความเชื่อมั่น เป็นเรื่องปกติที่บางครั้งใจหนึ่งลูกค้าก็มองหาร้านอาหารใหม่ๆ เมนูแปลกๆน่าทาน แต่บางครั้งจะเกิดความกลัว ไม่มั่นใจที่จะลองอาหารใหม่ๆ จึงมักจะเลือกอาหารที่คุ้นเคยทานแทน ดังนั้นการสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้ารู้สึกปลอดภัย และเหมือนอยู่ใน Comfort Zone ที่จะมาทานร้านนี้ สิ่งสำคัญอีกอย่างนนอกจากเมนู Signature หรือ เมนูขายดี ที่ควรมีบอกลูกค้าแล้ว คงเป็นเรื่องของรสชาติที่คงที่ ความสะอาด และการบริการที่ประทับใจลูกค้า การจดจำลูกค้าให้ได้เพื่อที่จะต้อนรับการกลับมาในแต่ละครั้งของลูกค้าอย่างดีที่สุดนั้นเอง
  • Emotion: Scarcity กระตุ้นให้ลูกค้ารู้สึกถึงสิ่งหายาก จำนวนจำกัด ความพิเศษของวัตถุดิบที่ใช้ เช่น การใช้วัตถุดิบชั้นดีจากไร่ชาจากอูจิ เกียวโตการใช้ส่วนผสมในขนมที่หายาก ราคาแพงในไทย แต่ให้รสชาติและความแปลกใหม่ไม่ซ้ำร้านไหนๆ

Green tea

  • Emotion: Surprise สร้างความประหลาดใจให้กับลูกค้าด้วยแจกฟรีคุ้กกี้ชาเขียวตอนช่วงคริสต์มาสต์ ปีใหม่

matcha cookie matcha cookie

แหล่งที่มา

https://digjapan.travel/en/blog/id=11002

https://danielfooddiary.com/2019/02/07/nocturneno5/

http://paulstravelpics.blogspot.com/2008/08/savouring-tea-capital-of-japan-uji.html

http://www.tching.com/2012/05/why-the-rising-price-of-tea-in-china-is-not-entirely-bad-news/

http://www.matchaoutlet.com/

https://www.pinterest.com/pin/781093129097456583/

https://colorsoffood.de/matcha-mousse-kuchen/

https://matchaoutlet.com/blogs/recipes/matcha-cheesecake-with-buckwheat-ginger-chocolate-crust

https://kimchimari.com/green-tea-matcha-cookies-omija-dasik/

https://associatedfood.top/cake-salmon-leeks-and-dill/?utm_term=vegan%20dessert%20recipes&utm_campaign=9254176315

บทความจาก : Fuwafuwa

เสิร์ฟชาเขียวยังไงให้เหมือนไปทานที่ญี่ปุ่น

ชาเขียว กลายเป็นอีกหนึ่งเมนูยอดฮิตไปแล้วสำหรับคนไทย โดยเฉพาะในหมู่ของคนที่ชื่นชอบความเป็นญี่ปุ่น ซึ่งในหลายๆร้านก็จะมีการนำผงชาเขียวปชงเป็นเครื่องดื่ม หรือเอาไปเป็นส่วนผสมของขนมสไตล์ตะวันตก อย่างเค้ก พาย ทาร์ต หรือขนมปัง

แต่รากฐานจริงๆของการดื่มชาเขียวร้อนนั้น มักจะเสิร์ฟคู่กับขนมวากาชิขนมชิ้นเล็กพอดีคำ ที่ถูกตกแต่งอย่างประณีต ในพิธีชงชา ซึ่งเป็นประเพณีดั้งเดิมของญี่ปุ่น วากาชิจึงเป็นจึงเป็นอีกไอเดียที่เจ้าของคาเฟ่ หรือคนที่อยากมีร้านเป็นของตัวเอง สามารถหยิบจับไอเดียไปต่อยอดได้ เพราะเป็นขนมที่ยังไม่แพร่หลายนักในไทย แต่ไม่ว่าใครที่ไปญี่ปุ่น ก็ต้องหาทานกันทุกครั้ง จึงเป็นไอเดียที่น่าสนใจมากสำหรับเจ้าของคาเฟ่ หรือผู้ที่สนใจเปิดคาเฟ่ในการสร้างเอกลักษณ์ให้กับเมนูในร้าน

ที่มา http://masoupedujour.tumblr.com/post/3928153619/clover-by-green-piglet

พูดถึงวากาชิ (和菓子/ Wagashi) หรือขนมหวานญี่ปุ่น หลายคนอาจจะยังนึกไม่ออกว่า คืออะไร??

วากาชิ ดั้งเดิมแล้วเป็นขนมหวานแบบแห้งที่ทำด้วยน้ำตาล ในสมัยนั้นน้ำตาลเป็นสิ่งที่หาได้ยากมาก ถูกจำกัดให้ชนชั้นสูงและผู้ผลิตขนมหวานที่ถูกเลือกเท่านั้น ขนมหวานตามฤดูกาลจึงเริ่มถูกคิดค้นขึ้นและนำไปใช้ประกอบพิธีชงชาในยุคนี้เอง

ขนมวากาชิแบบแห้ง หรือที่เรียกว่าฮิงะชิ

ขนมวากาชิแบบแห้ง

ที่มาhttps://www.flickr.com/photos/lotus-aki/15441310123/

ต่อมาได้มีการดัดแปลง ใช้ถั่ว น้ำตาล แป้งข้าวต่างๆ และแป้งชนิดอื่นๆ เป็นส่วนผสมหลัก และมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะและรสชาติไปตามฤดูกาล เช่น ในฤดูหนาว จะมีวากาชิแบบนึ่งทานอุ่นๆ ที่คล้ายกับซาลาเปา ทำจากแป้งผสมกับน้ำตาล สอดไส้ถั่วแดงหวาน เรียกว่ามันจู และยังมีขนมถั่วแดงต้มร้อนๆ ที่นิยมทานกันในช่วงที่อากาศหนาวอีกด้วย

ขนมมันจู

ขนมมันจู

ที่มา http://www.flickr.com/photos/bananagranola/2553212708/in/set-72157602396958026

ส่วนในฤดูร้อน ขนมมักจะเสิร์ฟแบบเย็นๆ เช่น วุ้น หรือขนมที่ทำจากแป้ง น้ำตาล และถั่วแดง

วุ้นโยคัง ที่มักเสิร์ฟในช่วงหน้าร้อน

วุ้นโยคัง

ที่มาhttp://500px.com/photo/32742361

ความพิเศษและน่าตื่นตาตื่นใจของวากาชิอีกอย่างที่ไม่เหมือนเบเกอรี่อื่นๆ คือ ลวดลายขนมที่เกิดจากการสร้างสรรค์ตามธรรมชาติ เช่น ต้นไม้ ดอกไม้ ตามการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล  เช่น ฤดูใบไม้ร่วง จะทำขนมเป็นรูปใบเมเปิ้ล ฤดูร้อน ทำเป็นรูปพัด หรือดอกทานตะวัน เป็นต้น

ที่มา https://mochikowagashishop.wixsite.com/wagashi-mochiko

ขนมวากาชิยังมีอีกหลายชนิด เช่น โดรายากิ ไดฟุกุ ดังโงะโมจิ นามะกาชิ โมนากะ เป็นต้น ซึ่งขนมเหล่านี้นอกจากจะใช้เสิร์ฟคู่ชาที่ร้านได้แล้ว ยังสามารถนำผงมัทฉะไปเป็นส่วนผสมในการทำขนมได้อีกด้วย เช่น ร้านไหนที่มีเมนูไอศครีมชาเขียวอยู่แล้วสามารถนำมาเสิร์ฟในรูปแบบขนมโมนากะ แป้งเวเฟอร์ สอดไส้ถั่วแดงและโมจิ ยิ่งดูเพิ่มมูลค่าให้ขนมดูน่าทานและไม่ซ้ำกับร้านไหนๆได้อีก หรือจะเป็นลองนำผงมัทฉะมาทำวุ้นโยคัง วุ้นสไตล์ญี่ปุ่น เสิร์ฟคู่กับถั่วแดงเชื่อมเม็ดโต ยิ่งดูน่าทานมากขึ้น

วากาชิ  วากาชิ

ที่มา http://www.flickr.com/photos/bananagranola/2070637842/in/set-72157602396958026/

https://www.flickr.com/photos/kiri_no_hana/9663383258/

บทความจาก : Fuwafuwa

ชาชนิดเดียวกัน ทำไมรสชาติถึงแตกต่างกัน?

การปลูกชาเขียว แต่ละไร่ แต่ละที่ก็มีวิธีการเคล็ดลับที่แตกต่างกันออกไป ส่งผลให้รสชาติชาแต่ละที่ไม่เหมือนกัน แต่จริงๆปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อรสชาติ คือ อากาศ ดิน และคนปลูกถ้าปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งมีความต่างกัน กระบวนการผลิต และรสชาติย่อมออกมาแตกต่างกัน แม้ชาที่ใช้ปลูกจะเป็นสายพันธุ์เดียวกันก็ตาม

ที่มา http://blog.davidstea.com/en/get-to-know-loose-leaf-tea/

ชาชนิดเดียวกัน ทำไมรสชาติถึงแตกต่างกัน?

ปัจจัยแรกที่ส่งผลต่อรสชาติชาเป็นอย่างมาก คือ  ดิน เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ชาแต่ละที่มีคุณภาพแตกต่างกับอีกที่ ซึ่งนอกจากดินตามธรรมชาติของแหล่งปลูกแต่ละแหล่งจะมีผลแล้ว  การคัดเลือกดิน รวมถึงการใส่ปุ๋ยแต่ละไร่ชาก็จะมีสูตรพิเศษของตนเองที่ทำให้ชารสชาติออกมาตามที่ต้องการแตกต่างกันสภาพเนื้อดินบนที่สูงจะมีแดงเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเกิดจากการซะล้างและบางพื้นที่เกิดจากการสลายตัวของภูเขาหินปูน ทั้งนี้ดินที่เหมาะสมสำหรับการปลูกชามีค่าความเป็นกรดด่างอยู่ระหว่าง 4.5-5.5 ซึ่งมีสภาพเป็นกรดเล็กน้อย

ชาชนิดเดียวกัน ทำไมรสชาติถึงแตกต่างกัน?

ปัจจัยต่อมา คือ อากาศ  ชาเขียว จำเป็นต้องปลูกในทั้งอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสม ควรเป็นพื้นที่มีหมอก ที่เกิดจากอุณหภูมิที่มีความแตกต่างกันสูง ในตอนกลางวันและกลางคืน ถึงแม้ว่าชาสามารถทนอุณหภูมิต่ำได้ดี แต่ก็ไม่ควรให้เกล็ดน้ำแข็งเกาะใบชา จะทำให้ใบชาเสียคุณภาพ จึงจะสังเกตได้ว่าในญี่ปุ่นจะมีพัดลมเป่าความร้อนขนาดใหญ่เกือบทุกไร่ชา เพื่อเป่าไม่ให้เกล็ดน้ำแข็งเกาะใบชาในฤดูหนาวนั้นเอง ซึ่งคุณภาพของใบชาโดยเฉพาะด้านกลิ่นและรสชาติส่วนนึงจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ฉะนั้นจึงมีความเกี่ยวข้องกับสภาพพื้นที่ปลูกอย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้พื้นที่ที่มีความสูงมากจะมีอากาศหนาวเย็นและอุณหภูมิคงที่เกือบตลอดทั้งปี จะส่งผลให้ผลผลิตใบชาสดมีคุณภาพแต่จะให้ผลผลิตต่ำ ซึ่งตรงข้ามกับพื้นที่ต่ำ อุณหภูมิสูง จะให้ผลผลิตสูงแต่คุณภาพต่ำ

ที่มา http://chaehbae.tumblr.com/post/90942615222/tea-fields-zhejiang-china-awesome-amazing

ชาชนิดเดียวกัน ทำไมรสชาติถึงแตกต่างกัน?

ปัจจัยต่อมาที่สำคัญไม่แพ้กัน คน คือ หัวใจของกระบวนการทั้งหมด ที่นอกจากจะต้องใช้ผู้มีประสบการณ์สูงในแต่ละขั้นตอนแล้ว ยังต้องใช้ความเอาใจใส่ ความละเอียดรอบคอบในการดูแลชาเพื่อให้ได้มาตรฐานที่ควรจะเป็น

ที่มา http://www.trekearth.com/gallery/Asia/Indonesia/Java/Jawa_Barat/Ciwalini/photo633381.htm

นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล็กๆน้อยๆที่ส่งผลต่อรสชาติชาอีกด้วย เช่น การเก็บใบชาจะเลือกที่มีลักษณะ 2 ยอด 1 ใบ เพราะใบชาส่วนนี้จะเต็มไปด้วยสารโพลีฟีนอลเป็นสารสำคัญที่จะส่งผลต่อสี กลิ่น รสชาติ รวมไปถึงคุณประโยชน์ต่างๆ ที่ดีต่อสุขภาพอีกด้วย

ซึ่งถ้าพูดถึงชาของญี่ปุ่น เรามักจะนึกถึง ชาจากอูจิเกียวโตและ ชาจากชิซุโอกะทั้งสองแห่งนี้ได้สร้างสไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์ในการผลิตชาที่งดงามและน่าอัศจรรย์ และยังมีเรื่องราวของการเดินทางที่สนใจแตกต่างกันออกไปอีกด้วย

ชาชนิดเดียวกัน ทำไมรสชาติถึงแตกต่างกัน?

อูจิ เกียวโต ดินแดนแห่งชาดั้งเดิม

อย่างที่ทราบกันอยู่แล้วว่าที่เกียวโต เมืองอูจิเป็นสถานที่แห่งประวัติศาสตร์ของชา ในตอนแรกการปลูกชาในอูจิมีหลากหลายแบบ แต่หลังจากนั้นก็ได้มุ่งเน้นไปที่การผลิตมัทฉะเป็นหลัก

เนื่องจากชามัทฉะมีความสัมพันธ์ที่สามารถผสมผสานไปกับลัทธิเซน เนื่องจากที่เกียวโตมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับวัดวาอารามชั้นนำหลายแห่ง จึงเน้นไปที่มัทฉะเป็นหลัก ด้วยดินที่ยอดเยี่ยมและวิธีการผลิตที่ดี ทำให้อูจิได้สร้างชาที่มีชื่อเสียงระดับโลกที่ผสมผสานรสชาติและประวัติศาสตร์เข้าด้วยกัน

ที่มา http://pin.it/YUO1SKu

ส่วนที่ชิซุโอกะ ต้นกำเนิดของชาสมัยใหม่

ประวัติศาสตร์ชาของชิซุโอกะนั้นแตกต่างจากอูจิ ในขณะที่มัทฉะใช้ชาที่เติบโตในภูมิภาค แต่เกษตรกรของชิซุโอกะได้คัดสายพันธ์ุชาอื่น ๆ ที่หลากหลาย เนื่องจากได้รับอิทธิพลของพุทธศาสนาน้อยกว่า ชิซุโอกะเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีการผลิตชาเขียวที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 40% ของไร่ชาทั้งหมด หนึ่งในนวัตกรรมหลักของชิซุโอกะ คือ ความหลากหลายของสายพันธุ์ที่เรียกว่า เซนฉะยะบุกิ (Sencha Yabukita)ซึ่งมีชื่อเสียงในด้านความแข็งแกร่ง กลิ่นหอม และรสหวาน กว่าที่เกียวโตนั้นเอง

ที่มา https://www.flickr.com/photos/ippei-janine/5721719180/

บทความจาก : Fuwafuwa

ชาเขียว ที่สีไม่เขียว

หลายคนจะเข้าใขว่าชาเขียวจะต้องมีแต่สีเขียวเท่านั้น ถ้าเป็นชาสีอื่นก็จะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งในความเป็นจริงแล้วชาเขียวยังมีสีอื่น ที่ไม่ใช่สีเขียว แต่มีต้นกำเนิดจากชาเขียวเหมือนกัน เพียงแต่ต่างกันที่กระบวนการผลิต เวลาในการเก็บใบชา กระบวนการคั่วชา ทำให้ชาเขียวที่ปกติสีเขียว หรือที่เราคุ้นในชื่อของ “มัทฉะ”ที่มักนิยมใช้ผงชามัทฉะในการชงเครื่องดื่มเป็นมัทฉะลาเต้ หรือนำไปทำขนมต่างๆที่ให้ให้สีเขียวเป็นหลัก แต่เมื่อผ่านกระบวนกรรมวิธีการผลิต จะกลายเป็นสีน้ำตาลได้ ชื่อที่เรียกกันอย่างคุ้นหู คือ ชาโฮจิฉะ นั้นเอง

ปกติแล้วชาเขียวมัทฉะ มาจากชาเทนฉะที่ถูกเลี้ยงในที่ร่มเหมือนชาเกียวคุโระก่อนจะนำไปบดเป็นผงด้วยหินอย่างพิถีพิถัน มักจะใช้ในพิธีชงชา มีหลายเกรด เช่น สำหรับทำขนม เครื่องดื่ม ชงในงานพิธีการ เป็นต้น สามารถสังเกตได้จากสีของมัทฉะ ยิ่งมัทฉะสีเข้มเท่าไหร่ คุณภาพก็ยิ่งดี หากดื่มมัทฉะ 1 ถ้วย จะได้รับสารอาหารเท่ากับดื่มชาเขียวประเภทอื่น 10-15 แก้วเลยทีเดียว

มัทฉะ      โฮจิฉะ

ที่มา https://www.takaski.com/product/ochaski-kyoma-kyoto-organic-matcha-made-japan/

ส่วนชาเขียวที่สีไม่เขียว….ชาโฮจิฉะ  คือใบชาที่เก็บเกี่ยวในช่วงสุดท้าย เป็นใบชาที่โตแล้ว ไม่ใช่ใบชาอ่อน จึงมีขนาดใบชาที่ใหญ่ และนับว่ามีคุณภาพรองลงมาจากชาเขียวเซนฉะ แต่โฮจิฉะมีความพิเศษ คือ ชาที่ผ่านการคั่วทำให้ชามีสีน้ำตาลอมแดง กลิ่นหอม ได้รสชาติที่เข้มข้มรสชาเขียวแท้ๆ ได้กลิ่นหอมให้ชวนดื่มมากกว่ามัทฉะ รสชาติมักจะถูกเปรียบเทียบกับคาราเมล ชาร์โคล หรือถั่วคั่ว ราคาจะถูกกว่าชาเขียวอื่น ๆ เพราะผลิตด้วยใบชาที่ถือว่าเป็นเกรดต่ำกว่าและมีความหวานน้อยกว่า เสน่ห์ของชานี้ก็คือการผ่านการคั่วซึ่งทำให้ความฝาดและขมลดลงไป กลายเป็นรสชาติที่หอมและดื่มง่ายจึงเป็นที่นิยมในญี่ปุ่นมากๆ เหมาะสำหรับดื่มระหว่างมื้อหรือหลังอาหารเย็น และเหมาะสำหรับเด็กเพราะมีคาเฟอีนต่ำ

ที่มา https://www.etsy.com/listing/275027278/kukicha-twig-green-tea-organic-35-oz-tin

โฮจิฉะลาเต้

แรกเริ่มเดิมทีชาเขียวโฮจิฉะจะชงดื่มกันในครัวเรือนเท่านั้น แต่ต่อมาที่โตเกียวกลับมีวัฒนธรรมการเสิร์ฟชาเขียวโฮจิฉะตามร้านอาหารภัตตาคารด้วย จนกระทั่งในปัจจุบันเป็นที่นิยมโดยทั่วไป อีกทั้งชาเขียวโฮจิฉะยังถูกนำไปทำเป็นรสชาติของขนมและเครื่องดื่มหลากหลายชนิด

ที่มา https://www.soarorganics.com/blogs/blog/gingerbread-hojicha-latte-recipe

สรรพคุณโฮจิฉะ

  1. ช่วยลดคอเลสเตอรอลและระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติ
  2. ร่างกายผ่อนคลาย สมองปลอดโปร่ง
  3. ลดแบคทีเรีย ป้องกันฟันผุ

Houjicha

ที่มา http://www.lifehack.org/386925/10-natural-reliefs-to-stop-diarrhea-quickly?ref=pp
https://matchazuki.com/product/matchazuki-houjicha

บทความจาก : Fuwafuwa

5 เทคนิคการเสิร์ฟเมนูชาเขียวให้ดูญี่ปุ่นมากขึ้น

ช่วงนี้ไปร้านไหนก็ต้องเจอกับเมนูชาเขียว ไม่ว่าจะเครื่องดื่ม หรือ ขนม อาจจะเป็นเทรนด์ญี่ปุ่นที่กำลังมาแรงเลยก็ว่าได้ ทำให้ลูกค้าหลายคนอาจจะรู้สึกได้ว่าไปร้านไหน ก็เหมือนกัน จนตัดสินใจไปในร้านที่ใกล้และสะดวกกว่าแทน ส่งผลต่อยอดขายที่อาจตกลงได้

วิธีสร้างจุดต่างให้กับเมนูในร้าน สิ่งแรกที่หลายคนนึกถึงคงเป็นโปรโมชั่น ลด แลก แจก แถม ซึ่งเป็นวิธีการเพิ่มยอดขายในระยะสั้นเท่านั้น อีกวิธีที่จะช่วยสร้างจุดเด่นของร้าน ให้ต่างจากร้านอื่น คือการเพิ่มเอกลักษณ์ ที่ไม่เหมือนใครให้กับสินค้า ยิ่งถ้าเป็นร้านชาด้วยแล้ว หลายคนต้องนึกถึงร้านคาเฟ่เก๋ๆในญี่ปุ่นแน่นอน

มาดู5  เทคนิคการเสิร์ฟเมนูชาเขียวให้ดูญี่ปุ่นมากขึ้นง่ายๆ สร้างความครีเอทให้ลูกค้าได้เข้ามาแชะ แชร์ เหมือนได้ไปคาเฟ่ที่ญี่ปุ่นจริงๆ

  1. เพิ่มวัตถุดิบความเป็นญี่ปุ่น หลากหลายเมนูที่ญี่ปุ่นมักมีส่วนประกอบของ
  • ถั่วแดง เพราะถั่วแดงเป็นพืชที่เติบโตมาพร้อมกับชาวญี่ปุ่นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ด้วยสภาพภูมิประเทศที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้ถั่วแดงเจริญงอกงาม นำมาเป็นส่วนผสมของขนมได้ตลอดทั้งปี จึงเป็นวัตถุดิบหลักที่ควรเอามาใช้เป็นส่วนหนึ่งของเมนูที่ร้าน เช่น จากมูสชาเขียว เพิ่มถั่วแดงเข้าไปเป็นส่วนประกอบด้วยจะยิ่งน่าทานมากขึ้น หรือชาเขียวลาเต้ธรรมดา เพียงแค่ใส่ถั่วแดงเข้าไป ยิ่งเพิ่มความน่าทานให้มากกว่าปกติอีก มูสชาเขียวถั่วแดง   

มูสชาเขียวถั่วแดง    

มัทฉะถั่วแดงเฟรปเป้

ที่มา http://mykitchenoflove.wordpress.com/2012/09/01/our-anniversary-cake-matcha-and-red-bean-mousse/

http://www.facebook.com/mofcafe

  • ดอกซากุระ ที่ไม่ว่าใครเห็นก็ต้องนึกถึงญี่ปุ่น ช่วงฤดูใบไม้ผลิ หลายๆที่นิยมนำดอกซากุระหมักเกลือมาเป็นส่วนผสมหนึ่งในขนม ซึ่งในไทยถือว่าเป็นวัตถุดิบที่หายาก เหมาะกับการนำมาต่อยอดเมนูที่ร้าน เช่น มัทฉะลาเต้ร้อนๆท้อปปิ้งด้วยซากุระ ให้กลิ่นอายฤดูใบไม้ผลิเบาๆ มัฟฟินธรรมดา เพิ่มความน่าทานด้วยการท้อปปิ้งซากุระครีมสด

ซากุระมัทฉะลาเต้

ซากุระ มัฟฟิน

ที่มา http://shewhoeats.blogspot.com/2010/04/sweets-over-flowers.htmlhttps://www.marumura.com/eat-sakura-flower/

https://thecitybakery.jp/new/328/

2. เสิร์ฟขนมในภาชนะสไตล์ญี่ปุ่นที่ช่วยให้ถ่ายภาพได้เก๋ ไม่ซ้ำร้านไหนๆ ใครเห็นต้องนึกว่ามาคาเฟ่ที่ญี่ปุ่นแน่นอน ที่มักนิยมใช้กันจะเป็นกล่องไม้ไผ่

ที่มา https://www.amazon.com/gp/mpc/A1BANPHECDMMWA?1213213894

https://tabizine.jp/2019/03/18/244578/

3. ใช้สี หรือรูปร่างของขนมให้อิงกับฤดูกาลของญี่ปุ่น เช่นเดือนมีนา ใช้สีชมพู มาเป็นส่วนหนึ่งของเค้ก หรือทำคุ้กกี้ หรือแพนเค้กเป็นทรงใบไม้ตามเทศกาลใบไม้เปลี่ยนสี

เค้กซากุระมัทฉะ

แพนเค้ก

ที่มา http://www.myfudo.com/easy-desserts-recipes-cherry-blossom-matcha-layer-cake-entremet-2/

https://www.vermontcountrystore.com/maple-leaf-cakelet-pan/product/81182

4. ใส่ความประณีตให้แพคเกจจิ้งทุกชิ้น เวลาที่เราไปเที่ยวที่ญี่ปุ่นมักจะเห็นของหลายๆชิ้นมีแพคเกจสวยงาม ซึ่งถ้าแพคเกจสวยน่าซื้อ จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้สินค้าได้ในตัว แถมยังสามารถจัดเป็นเซตสำหรับของฝากได้อีกด้วย ซึ่งการทำแพคเกจจิ้งที่ดี ไม่ใช่แค่เพียงดีไซน์ที่สวย แต่ต้องมีฟังก์ชั่นการใช้งานที่ตอบโจทย์กับทางร้านและลูกค้า เพื่อช่วยสร้างประสบการณ์ใหม่ๆให้กับลูกค้าไปในตัว อย่างร้านไอศครีมที่ญี่ปุ่น ที่มีการเสิร์ฟไอศครีมที่ระดับความเข้นข้นต่างกัน ในจานเดียวกัน เพื่อให้เห็นถึงสีและเนื้อสัมผัสของไอติมเปรียบเทียบกันได้อย่างชัดเจน ลูกค้าจะรู้สึกสนุกขึ้นเวลาทาน

ที่มา http://danielfooddiary.com/2019/02/07/nocturneno5/

5. มีคำทำนาย หรือกิจกรรมเล็กๆให้ลูกค้าได้ร่วมสนุก สร้างประสบการณ์ใหม่ๆ เช่น เปลี่ยนจากคุ้กกี้ชาเขียวธรรมดาเป็นคุ้กกี้เสี่ยงทายชาเขียว หรือจะเป็นการเสิร์ฟชาเขียวอัฟฟากาโต้ที่ให้ลูกค้าได้เทเองก่อนทาน แทนที่จะเทให้ลูกค้าตั้งแต่แรกเลย

ที่มา http://www.dessertsforbreakfast.com/2013/05/fortune-cookies.html?utm_source=feedly&utm_medium=feed&utm_campaign=Feed:+dessertsforbreakfast+(Desserts+for+Breakfast)

http://www.caramelizedblog.com/blog-roll/2017/1/drip-affogato-bar.html

ถึงแม้ว่าจะเป็นมือใหม่หัดทำขนมขาย หรือเพิ่งมีร้านคาเฟ่เป็นของตัวเองแต่ยังไม่อยากลงทุนมาก และไม่มีเชฟที่ช่วยคิดสูตรใหม่ๆให้ตลอดเวลา เราสามารถใช้ 5 เทคนิคง่ายๆข้างต้น มาเพิ่ม Value ให้กับคาเฟ่ชาเขียวธรรมดาๆ ให้มีเอกลักษณ์ไม่ซ้ำร้านไหน

บทความจาก : Fuwafuwa 

วิธีแก้ปัญหามัทฉะเป็นก้อนไม่ละลาย

ปัญหาหนึ่งที่มักเกิดขึ้นและเป็นเรื่องที่นักดื่ม (ชา) หลายคนติเตียนก็คือก้อนมัทฉะผงๆ ที่ไม่ละลายน้ำที่เจอตอนดื่ม

ปัญหานี้อยู่ที่คนชงล้วนๆ ครับ ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจว่ามัทฉะไม่เหมือนนมผง เหมือนโกโก้ ความจริงแล้วมันไม่ใช่สิ่งที่ละลายน้ำได้ เพราะมันคือใบชาที่นำมาบด และใบไม้นั้นไม่ละลายน้ำโดยเด็ดขาด

เชื่อว่าหลายท่านคงมีวิธีแก้ปัญหากันอยู่แล้วแต่ครั้งนี้ผมอยากแบ่งปันวิธีแก้ปัญหาที่ผมมีให้ทุกคนครับ

  1. เอาไปร่อน

เรียกได้ว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดก็ว่าได้ มัทฉะที่ปกติจะจับตัวกัน หากเอาไปร่อนเหมือนแป้งจะละเอียดขึ้น ทำให้ผสมน้ำได้ง่ายดาย แถมสัมผัสน้ำชาเวลาดื่มยังนุ่มละมุนกว่าอย่างไม่น่าเชื่อด้วย เสียอย่างเดียวคือวิธีนี้เป็นขั้นตอนที่อาจเสียเวลามาก และพิถีพิถันเกินไปในยามที่เร่งรีบ

matcha

  1. คนกันน้ำน้อยๆ ให้เข้ากันก่อน

ถ้าขี้เกียจร่อนมัทฉะ เราอาจแก้ไขได้ด้วยการใส่น้ำทีละน้อย ค่อยๆ ใส่มัทฉะทีละนิด นึกถึงตอนทำแพนเค้กดูสิครับ ถ้าเราใส่ทุกอย่างไปพรวดเดียวแล้วผสม แป้งจะเป็นก้อนๆ ต้องเสียแรงมากทีเดียวกว่าจะเข้ากันได้ มัทฉะก็เหมือนกันครับ หากใครรู้วิธีชงมัทฉะชนิดข้น (โอะโคอิฉะ) จะใช้วิธีเดียวกันก็ได้ครับ ตักผงชาใส่ถ้วย เติมน้ำร้อนก่อนนิดเดียว ใช้แปรงกวาดซ้ายกวาดขวา นวดๆ ให้เข้ากัน ก็จะได้สสารคล้ายโคลนสีเขียวสดแบบในรูปครับ หลังจากนั้นค่อยเติมน้ำที่เหลือลงไป

Making Matcha Usucha and Koicha

  1. ใช้กระปุกมัทฉะที่มีฝาแบบร่อนได้

อุปกรณ์นี้ออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหานี้อย่างสะดวกรวดเร็วโดยแท้จริง มันก็เหมือนกระปุกเกลือพริกไทยบนโต๊ะอาหารนี่แหละครับ แต่ยังมีปัญหาอีกคือ มัทฉะที่โดนความชื้นไประยะหนึ่งและจับตัวเป็นก้อนจะลงมาด้วยแรงเขย่ายากมาก มัทฉะที่ไม่ได้แกะใหม่สุดท้ายก็ต้องใช้วิธี 1 หรือ 2 อยู่ดีครับ

  1. เขย่าด้วยกระบอกเชค

เป็นวิธีที่อาจจะง่ายที่สุดในการทำเครื่องดื่มมัทฉะ โดยเฉพาะเมื่อเขย่าผสมกับนมจะได้ฟองปริมาณมาก แถมยังละเอียดสุดๆ ข้อเสียคือเป็นเรื่องยากที่จะเขย่าไม่ให้มีก้อนมัทฉะอยู่เลย แต่อย่างน้อยก้อนมัทฉะที่จับตัวจะไม่ใหญ่มาก เป็นก้อนเล็กๆ กระจายทั่วไป ระดับที่ทานแล้วไม่ติดขัดอะไร อย่างไรก็ตาม หากเขย่ากับน้ำร้อน หรือนมร้อนจะทำให้ไอน้ำอัดอยู่ภายในกระบอก ทำให้กระเด็นเลอะเทอะเวลาเปิดฝา รวมถึงต้องระวังไม่ให้ลวกมือด้วย

  1. ผสมด้วยเครื่องทำฟองนม

เครื่องทำฟองเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ผสมมัทฉะได้สะดวกสบาย แต่อย่างที่บอกไปในข้อ 2. การเริ่มผสมมัทฉะกับของเหลวปริมาณน้อยๆ ก่อนจะมีประสิทธิภาพกว่าอยู่ดี

  1. ผสมผงมัทฉะกับน้ำตาลก่อน

กรณีที่ต้องการใส่น้ำตาลในสูตร ให้คลุกน้ำตาลเข้ากับผงมัทฉะก่อนเลย น้ำตาลที่ละลายได้ง่ายจะสร้างช่องว่างให้ผงมัทฉะแยกจากกันได้ง่าย ไม่เป็นก้อน

  1. ใช้ไม้แปรงมัทฉะตีผสมด้วยความเร็วสูง

วิธีสุดท้ายนี้เป็นวิธีที่อาศัยความไวเข้าว่า ในกรณีที่ใช้ไม้แปรงผสมมัทฉะ มือคุณต้องไว้มากๆ ใช้ข้อมือขยับไม้แปรงขึ้นลงเป็นเลข 1 ด้วยความไวเหมือนนักกีต้าร์เกาสายอย่างเชี่ยวชาญ เทคนิคนี้คงต้องอาศัยประสบการณ์ครับ เว้นเสียแต่คุณจะใช้เครื่องทุ่นแรงอย่างเครื่องทำฟองนม หรือเครื่องปั่น ซึ่งในกรณีนี้ ผมก็แนะนำให้ผสมกับของเหลวปริมาณน้อยก่อนอยู่ดีครับ เพราะมันจะละเอียดกว่า

โดยสรุป ถ้าคิดว่ามัทฉะเป็นแป้ง เรื่องทั้งหมดจะง่ายขึ้นครับ คุณสามารถใช้วิธีผสมแป้งเวลาทำขนมมาใช้กันมัทฉะได้เลย เท่านี้อะไรๆ ก็ง่ายขึ้นมากแล้ว

บทความจาก : Vachi

พูดถึงมัทฉะ ทำไมต้องเป็นอุจิมัทฉะ

ในญี่ปุ่น สินค้าที่เรียงรายในซุปเปอร์มาเก็ต ขนมในร้านขนมต่างๆ ที่ใช้มัทฉะเป็นส่วนผสม ไม่ว่าที่ไหนต่างก็พยายามโฆษณาว่าใช้อุจิมัทฉะทั้งนั้น หมู่นี้ในไทยเองก็คงเริ่มคุ้นเคยกับชื่อ “อุจิ” บ้างแล้ว สงสัยกันบ้างไหมครับ ว่าทำไมถึงต้องเป็นอุจิมัทฉะ ไม่ใช่มัทฉะที่อื่น

  1. นิยามของอุจิมัทฉะ

“อุจิ” คือชื่อเมืองหนึ่งในจังหวัดเกียวโต รากฐานของวัฒนธรรมญี่ปุ่นตั้งอยู่ที่นี่มากว่าพันปี เห็นได้จากมรดกโลกอย่างวัดเบียวโดอิน รวมถึงเป็นแหล่งของผู้ผลิตชาในญี่ปุ่นด้วย เมื่อคริสตศตวรรษที่ 12 สมัยราชวงศ์ซ่งของจีน ตอนที่พระภิกษุเอไซนำชาและโม่บดจากจีนมายังญี่ปุ่นครั้งแรก ก็นำมายังเกียวโต กล่าวได้ว่าชาชนิดแรกที่ดื่มกันในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นก็คือมัทฉะนี้เอง ขณะที่จีนได้เลิกวิธีดื่มโบราณนี้และกลายมาเป็นวิธีสกัดร้อน เอาน้ำชาออกจากใบชาอย่างปัจจุบัน

แต่ว่า ความจริงแล้ว ชาอุจิในปัจจุบันไม่ได้ปลูกในเมืองอุจิอย่างเดียวหรอกนะครับ

สำนักงานกิจการชาจังหวัดเกียวโตให้นิยามชาอุจิไว้ว่า เป็นชาที่ปลูกใน 4 จังหวัดที่มีพัฒนาการมาแล้ว โดยพิจารณาแล้วถึงด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ภูมิศาสตร์ และสภาพอากาศ อันได้แก่จังหวัดเกียวโต นาระ ชิกะ และมิเอะ ซึ่งทำการแปรรูปชาโดยกิจการชาในจังหวัดเกียวโต ที่จังหวัดเกียวโต

นอกจากนี้การขึ้นทะเบียนสินค้าอุจิมัทฉะยังให้นิยามเพิ่มไว้อีกว่า มัทฉะคือชาที่แปรรูปขั้นสุดท้ายจากชาซึ่งผลิตในสี่จังหวัดดังกล่าวภายในจังหวัดเกียวโตด้วยวิธีการอันกำเนิดมาจากอุจิ อีกด้วย ด้วยเหตุนี้ชาอุจิที่ได้รับการนับถือว่าคุณภาพยอดเยี่ยมแท้จริงแล้วอาจประกอบไปด้วยชาจากสี่จังหวัดซึ่งอยู่ติดๆ กันข้างต้น แต่ยังคงความเป็นอุจิไว้ด้วยวิธีการผลิตนั้นเอง

  1. ปริมาณการปลูกมัทฉะอันดับหนึ่งในญี่ปุ่น

ในปี 2018 ประเทศญี่ปุ่นผลิตเท็นฉะ (คำเรียกใบชาที่จะนำมาทำมัทฉะ) 3,660 ตัน ในจำนวนนี้ 1 ใน 3 ถูกผลิตในเกียวโตถึง 1,200 ตัน นอกจากนี้ยังมีจากจังหวัดนาระ 250 ตัน จังหวัดชิกะ 50 ตัน และจังหวัดมิเอะ 150 ตัน อ้างอิงจากนิยามด้านบนแล้ว มัทฉะราวครึ่งหนึ่งของญี่ปุ่นอาจมาจาก “ชาอุจิ” ก็เป็นได้ แสดงให้เห็นว่ามัทฉะอุจิถูกผลิตมาจากแหล่งมัทฉะที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นเลยทีเดียว

  1. ชนะการประกวดแบบขาดลอย

ในงานเทศกาลชาระดับประเทศญี่ปุ่น (全国お茶まつり) ซึ่งจัดขึ้นปีละหนึ่งครั้งนั้นเป็นงานที่เหล่าคนในวงการชาจะมารวมตัวกันพร้อมหน้าพร้อมตา มีกิจกรรมต่างๆ รวมถึงการประกวดคุณภาพชาระดับประเทศด้วย (全国茶品評会) ล่าสุดได้จัดเป็นครั้งที่ 73 ที่เมืองนิชิโอะ จังหวัดไอจิในวันที่ 27 – 30 สิงหาคม ปี 2019 นี้เอง

สำหรับมัทฉะ จะทำการประเมิณจากในสภาพที่เป็นใบ (เท็นฉะ) อยู่ครับ จะถูกพิจารณาจาก 5 ด้านด้วยกันคือ 1. ลักษณะภายนอก เช่น สีหรือรูปร่าง 40 คะแนน กลิ่น 65 คะแนน สีของน้ำชา 20 คะแนน รสชาติ 65 คะแนน สีของน้ำจากกากชา (จุดนี้ทำเฉพาะเท็นฉะ) 10 คะแนน รวม 200 คะแนน

อุจิมัทฉะ

การประกวดคุณภาพชาระดับประเทศครั้งที่ 73 มีข้อมูลแต่ผลรางวัลพิเศษ ไม่มีข้อมูลคะแนนระดับของชา ในสาขาเท็นฉะนั้น ชาที่ผลิตจากเกียวโต ได้รางวัลถึง 5 รางวัลจากทั้งหมด 6 รางวัล นอกจากนั้นสำหรับรางวัลแหล่งผลิตดีเด่น เมืองอุจิ จังหวัดเกียวโตยังได้อันดับ 1 และเมืองโจโย จังหวัดเกียวโตก็ได้อันดับ 2 ปีที่แล้วเองในการประกวดคุณภาพชาระดับประเทศครั้งที่ 72 จัดขึ้นที่จังหวัดชิสึโอกะ ชาเท็นฉะที่ได้คะแนนสูงสุดเป็นอันดับ 1 ได้คะแนนเต็ม 200 คะแนนมาจากเมืองอุจิ โดยชาที่ได้รับลำดับการประเมิณว่าเป็นระดับ 1 -3 (นอกนั้นไม่ได้รับ) จำนวนทั้งหมด 34 รายการ ซึ่ง 31 รายการมาจากเกียวโต และในจำนวนนี้ 22 รายการมาจากเมืองอุจิ สำหรับผลรางวัลพิเศษ เท็นฉะจากเกียวโตกินเรียบทั้งหมด 6 รางวัลเลย

  1. แล้วเรื่องรสชาติล่ะ?

บางคนสงสัยว่า อ้าว แล้วสรุปว่าอุจิมัทฉะ มีรสชาติวิเศษกว่าที่อื่นยังไงล่ะ? ความจริงนี่เป็นคำถามที่ยาก เพราะเอาแค่ในอุจิเอง มัทฉะก็มีหลายรุ่น หลายแบบ แต่ละแบบคาแรกเตอร์ก็ต่างกันตามสายพันธุ์ หรือตามผู้ผลิตจะกำหนด รสย่อมต่างกันอยู่แล้ว แต่สิ่งหนึ่งที่บ่งบอกความเยี่ยมของมัทฉะได้คือ รสอุมามิ (ความกลมกล่อม) เป็นรสชาติเฉพาะ ที่แยกต่างหากกับความหวาน ยิ่งเป็นมัทฉะชั้นยอดเท่าไหร่ ความฝาดขมชวนให้หน้าเบ้จะกลืนหายไปในรสอุมามิ อุจิมัทฉะหลายตัวมากที่บรรลุถึงคุณภาพระดับนี้

ความอร่อยของอุจิมัทฉะไม่ได้จบที่แค่รสอุมามิมากเท่าไหร่ยิ่งดี แต่ยังมีเรื่องความสมดุลขององค์ประกอบต่างๆ เช่นกลิ่นที่มีหลากหลายมาก ความขม ความหวาน ความรู้สึกเมื่อดื่ม ทำให้คนบางคนพอใจกับมัทฉะที่อุมามิไม่มากแต่มีความขมอย่างลงตัว ติดใจกับมัทฉะที่เกรดไม่สูงมาก (Matchazuki รุ่น Classic ให้อุมามิไม่มากเท่ารุ่น Excellent แต่กลิ่นก็หอมไม่แพ้กันนะครับ) หรือพบว่ามัทฉะเกรดไม่สูงมากเหมาะกับการทำขนมแบบหนึ่งมากกว่า

อย่างไรก็ตามการทำมัทฉะเช่นนี้ได้นั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับแหล่งที่ปลูกเพียงอย่างเดียว แต่อยู่ที่ฝีมือคนเบลนด์ชาจากแหล่งต่างๆ ให้สมบูรณ์ด้วย อย่างไรก็ตาม ถ้าวัตุดิบอย่างชาที่ปลูกนั้นไม่ดี เบลนด์ยังไงก็คงไม่ได้ชาชั้นยอดหรอกจริงไหมครับ?

พอจะเห็นกันหรือยังครับว่าอุจิมัทฉะมีโปรไฟล์ดีขนาดไหน ถ้าเห็นที่ไหนเขียนว่าใช้มัทฉะจากเมืองอุจิ ก็รับประกันได้ระดับหนึ่งว่ากลิ่นรสย่อมดีกว่า มีภาษีดีกว่ามัทฉะทั่วไปแน่นอน

บทความจาก : Vachi

สารอาหารในมัทฉะและปริมาณมัทฉะที่ดีต่อสุขภาพ

ก่อนที่จะเฉลยเรามาดูกันผ่านๆ ดีกว่าว่ามัทฉะมีสารอาหารอะไรอยู่บ้าง
มัทฉะปริมาณ 100 กรัมมีสารอาหารดังต่อไปนี้

“พลังงาน 324 kcal, น้ำ 5 กรัม, โปรตีน 29.6 กรัม, โปรตีนจากกรดอะมิโน 22.6 กรัม, ไขมัน 5.3 กรัม, 0.68 กรัม, ไตรกลีเซอไรด์ 3.3 กรัม, กรดไขมันอิ่มตัว 0.68 กรัม, กรดไขมันไม่อิ่มตัวพันธะคู่เดี่ยว 0.34 กรัม, กรดไขมันไม่อิ่มตัวพันธะคู่หลายคู่ 2.16 กรัม, คอเรสเตอรอล 0 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 39.5 กรัม, คาร์โบไฮเดรตที่นำไปใช้ได้ 1.6 กรัม, ไฟเบอร์ที่ละลายได้ในน้ำ 6.6 กรัม, ไฟเบอร์ที่ไม่ละลายในน้ำ 31.9 กรัม, ปริมาณไฟเบอร์ทั้งหมด 38.5 กรัม, ปริมาณเถ้า (ส่วนของสารอนินทรีย์ในอาหาร) 7.4 กรัม, โซเดียม 6 มิลลิกรัม, โพแทสเซียม 2700 มิลลิกรัม, แคลเซียม 420 มิลลิกรัม, แมกนีเซียม 230 มิลลิกรัม, ฟอสฟอรัส 350 มิลลิกรัม, เหล็ก 17.0 มิลลิกรัม, สังกะสี 6.3 มิลลิกรัม, ทองแดง 0.6 มิลลิกรัม, วิตามิน A เบต้าแครอทีน 29000 ไมโครกรัม, วิตามิน A1 2400 ไมโครกรัม, วิตามิน E โทโคฟีรอล 28.1 มิลลิกรัม, วิตามิน K 2900 ไมโครกรัม,วิตามิน B1 0.6 ไมโครกรัม, วิตามิน B2 1.35 มิลลิกรัม, ไนอาซิน 4.0 มิลลิกรัม, วิตามิน B6 0.96 มิลลิกรัม, กรดโฟลิก 1200 มิลลิกรัม, กรดแพนโทเทนิก 3.7 ไมโครกรัม, วิตามิน C 60 มิลลิกรัม, คาเฟอีน 3.2 กรัม, แทนนิน 10.0 กรัม”

ขอโทษที่ยาวนะครับ อ่านผ่านๆ ก็พอ
ข้อมูลนี้ผมแปลมาจากรายการสารอาหารมาตรฐานในสินค้าบริโภค ฉบับแก้ไขครั้งที่ 7 ปี 2015 (ฉบับล่าสุด) จัดทำโดยกระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ประเทศญี่ปุ่นครับ เชื่อถือได้และไปใช้อ้างอิงได้เลย
ดูจากข้อมูลนี้แล้วจะพบว่ามัทฉะมีคุณค่าทางสารอาหารมากมาย กินทั้งกระปุกไป 100 กรัมคงไม่เป็นไรใช่ไหมครับ? ทว่ามีสารตัวหนึ่งที่เราควรระวังเป็นพิเศษ นั่นคือ คาเฟอีน

มัทฉะ 100 กรัม มีคาเฟอีน 3.2 กรัม แปลว่ามัทฉะ 1 กรัมมีคาเฟอีน 32 มิลลิกรัมนั่นเอง สมมุติว่าชามัทฉะกับน้ำร้อน ปกติใช้มากสุด 2 กรัม แปลว่าร่างกายเราจะได้รับคาเฟอีน 64 มิลลิกรัม
งั้นปริมาณคาเฟอีนที่ควรได้รับคือเท่าไหร่กันล่ะ?
ขณะนี้ไม่มีค่า ADI (Acceptable Daily Intake) ที่กำหนดไว้สำหรับคาเฟอีน หากอ้างตามคำแนะนำของหน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารแห่งสหภาพยุโรป EFSA (European Food Safety Authority) ปริมาณคาเฟอีนที่เหมาะสมใน 1 วันนั้นแตกต่างกันตามช่วงอายุและน้ำหนักตัวตามตารางด้านล่างนี้

ช่วงอายุ ปริมาณที่เหมาะสมต่อวัน ปริมาณมัทฉะที่แนะนำ สรุปอย่างง่าย
75 ปีขึ้นไป 22-417mg 0.69-13.03g ได้ถึง 2 ช้อนโต๊ะ 1 ช้อนชา
65-75 ปี 23-362mg 0.72-11.31g ได้ถึง 2 ช้อนโต๊ะ ครึ่งช้อนชา
18-64 ปี 37-319mg 1.16-9.97g ได้ถึง 2 ช้อนโต๊ะ
10-18 ปี 0.4-1.4mg/น้ำหนักตัว (kg) 0.01-0.0437g x น้ำหนักตัว (kg)
3-10 ปี 0.2-2.0mg/น้ำหนักตัว (kg) 0.006-0.0625g x น้ำหนักตัว (kg)
12-36 เดือน 0-2.1mg/น้ำหนักตัว (kg) 0.006-0.03125g x น้ำหนักตัว (kg)
สตรีมีครรภ์ 200 mg ต่อวัน 6.25 gต่อวัน ได้ถึง 1 ช้อนโต๊ะ ครึ่งช้อนชา

ตามตารางด้านบน ช่วงอายุ 12 เดือนถึง 18 ปีคงต้องฝากผู้อ่านคำนวณกันเอาเองนะครับ ท่านที่ไม่มีเครื่องวัดอาจจะรู้สึกยุ่งยาก ผมเลยลองดูว่าถ้าเปลี่ยนเป็นหน่วยช้อนชาที่ทุกคนน่าจะคุ้นเคย

หากท่านดูรูปประกอบด้านล่างรูปที่มีช้อนคันสีฟ้า นั่นเป็นช้อนตวงปริมาณ 1 ช้อนชา ปริมาณมัทฉะจะอยู่ประมาณประมาณ 2.2-2.4 กรัมครับ ส่วนในรูปปกบทความนั้นตวงมาจากช้อนตวง 1 ช้อนชาจะได้มัทฉะราว 4.9-5.1 กรัมครับ ช้อนตวงพวกนี้หาไม่ยากเลย ลองเอามากะๆ ดูก็ได้ครับ

การศึกษาเรื่องปริมาณคาเฟอีนยังเป็นหัวข้อศึกษากันอยู่ องค์กรของหลายๆ ประเทศก็ให้ข้อสรุปแตกต่างกัน บางที่เช่นสำนักงานความปลอดภัยด้านอาหารประเทศนิวซีแลนด์ (NZFSA) ก็กล่าวว่า วัยผู้ใหญ่ที่สุขภาพแข็งแรงสามารถรับคาเฟอีนได้สูงสุด 400 mg ต่อวัน (มัทฉะ 2 ช้อนโต๊ะกับ 1 ช้อนชานิดๆ ) หากมีงานวิจัยใหม่ๆ ออกมาตัวเลขนี้คงเปลี่ยนแปลงไป แต่ถ้าเชื่อตามยุโรป ตัวเลขในตารางนี้ก็พอให้เห็นภาพบ้างครับ

ถ้าร่างกายรับคาเฟอีนไปแล้วจะมีผลอย่างไรบ้าง?

มีการศึกษามากมายเกี่ยวกับเรื่องประโยชน์และโทษของคาเฟอีน รวมถึงมีหลายกรณีมาก เราจึงตัดสินกันไม่ได้ง่ายๆ ว่าคาเฟอีนจะส่งผลแบบไหนกับคนจำพวกไหน อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการความปลอดภัยด้านอาหาร ประเทศญี่ปุ่น (Food Safety Commission of Japan: FSC) ก่อตั้งโดยสำนักนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับคาเฟอีนไว้ดังนี้ครับ

ได้รับในปริมาณเหมาะสม: ประสาทตื่นตัว แก้ความง่วง แก้อาการเมาแอลกอฮอล์ (ระวังจะดื่มสุรามากเกินไปนะครับ)

ได้รับในปริมาณมากเกินไป:

  1. กระตุ้นประสาทส่วนกลาง: อาการวิงเวียน ชีพจรสูงขึ้น วิตกกังวล อาการสั่น อาการนอนไม่หลับ
  2. กระตุ้นทางเดินอาหาร: กระตุ้นอาการท้องเสีย คลื่นไส้
  3. ขับปัสสาวะ

นอกจากนี้องค์การอนามัยโลกยังกล่าวว่า ในสตรีมีครรภ์ ร่างกายจะมีการกำจัด (clearance) คาเฟอีนจากกระแสเลือดได้ช้าลง งานวิจัยหลายชิ้นชี้ว่าการรับคาเฟอีนมากเกินไป (ตัวเลขขององค์การอนามัยโลกคือ 300 mg ต่อวัน – มัทฉะเกือบ 2 ช้อนโต๊ะ) มีความเป็นไปได้ที่พัฒนาการของทารกในครรภ์จะช้าลง น้ำหนักทารกแรกเกิดต่ำลง คลอดเร็ว และทารกตายคลอด จึงแนะนำให้จำกัดปริมาณคาเฟอีนในระดับที่เหมาะสม

ส่วนสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มประเทศญี่ปุ่นยังแนะนำไม่ให้ดื่มเครื่องดื่มคาเฟอินขณะใช้เภสัชภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน

ไม่ว่าอาหารนั้นๆ จะมีคุณค่าทางสารอาหารมากขนาดไหน ถ้าทานมากไปก็ไม่ดีทั้งนั้น แม้แต่มัทฉะก็ตาม บางคนชงมัทฉะตามธรรมเนียมดั้งเดิม (1.7-2.0 กรัม) ไม่กล้าทานมากๆ หวังว่าเมื่อทุกคนจะดื่มมัทฉะได้อย่างสบายใจมากขึ้นเมื่อได้อ่านบทความนี้นะครับ

https://chakatsu.com/basic/caffeine_matcha/

บทความจาก : Vachi

เรื่องเล็กๆ ที่ทำให้รสชาติชาไม่คงที่

ไปร้านขายชากาแฟทีไร ผมก็อดไม่ได้ที่จะสั่งมัทฉะนม เดินผ่านทีไรเป็นต้องได้มาสักแก้ว พอกินบ่อยเข้าก็เริ่มสังเกตว่ากลิ่นรสชามันขึ้นๆ ลงๆ เดี๋ยวหอมบ้าง เดี๋ยวฝาดบ้าง แต่ก็ไม่ใช่ชาคนละตัวเสียทีเดียว คุณคิดว่ามันเกิดจากอะไร? แน่นอนว่าพนักงานที่ชงก็มีส่วน ถ้าไม่วัดให้ดี ประมาณความร้อนให้แม่น รสชาติก็คงไม่เหมือนกัน ทำไมล่ะ?

มัทฉะอยู่ตรงห้องไหน?

เราไปหามัทฉะกันก่อน มัทฉะของคุณอยู่ที่ไหนกันบ้างครับ? ห้องนอนสุดฮิตที่หนึ่งอาจเป็นห้องครัว จะทำอาหารก็ดี ชงชาก็สะดวกใช่ไหมครับ? แท้จริงแล้วห้องนี้เป็นห้องต้องห้ามไม่ว่าสำหรับชาใดๆ เลยทีเดียว เพราะนอกจากห้องครัวจะร้อนจากเตาไฟแล้ว ยังมีทั้งกลิ่น ทั้งควัน ที่กลิ่นอาจมาติดชาได้ง่ายๆ นอกจากนี้ยังมีความชื้นสูงอีกด้วย ความร้อนกับความชื้นทำให้อายุสั้นลง สีซีด ชาจะเสื่อมคุณภาพอย่างรวดเร็วในห้องครัว

บางคนที่ทำร้านขายเครื่องดื่มอาจวางไว้ตรงเคาน์เตอร์เลย หยิบง่ายสะดวกดีใช่ไหมครับ? หากใช้มัทฉะได้หมดในเวลาสั้นๆ การเอาไว้ตรงนี้ก็ไม่มีปัญหาครับ แต่ถ้ามีมัทฉะค้างสต๊อกมากแนะนำให้เก็บในตู้เย็นดีกว่าครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเคาน์เตอร์นั้นอยู่ใกล้ประตูหรือหน้าต่าง ทั้งฝนตก แดดออก ล้วนกระทบทั้งสิ้น

พอถึงตรงนี้ตู้เย็นคงเป็นคำตอบของคนหลายคน บางคนถึงกับไว้ช่องแข็งเลย เป็นความจริงที่ตู้เย็นช่วยยืดอายุมัทฉะได้นานกว่าอยู่ข้างนอกมาก แต่การใช้ตู้เย็นมีข้อควรระวังอยู่ 2 อย่าง 1. ตู้เย็นที่เหม็นจนกลิ่นติดชาไปด้วย 2. ความชื้นที่มาเกาะตอนเอาออกจากตู้เย็น ทำให้เสื่อมคุณภาพเร็วยิ่งกว่าวางไว้ข้างนอกเสียอีก วิธีแก้ไขคือ ใส่ถุงซิปล็อกอีกทีให้แน่นหนา และวางทิ้งไว้ให้หายเย็นก่อนจะนำมาใช้ สักครึ่งวันคงหายห่วง

เอาอะไรเก็บมัทฉะ?

กระปุก, ถุงที่เก็บอาจไม่สำคัญนัก ขอแค่ไม่เหม็นโลหะ พลาสติกหรือกลิ่นอื่นๆ ก็นับว่าใช้ได้ คงไม่ต้องบอกว่าต้องปิดมิดชิดแน่นหนาด้วย เพียงแต่มีกระปุกแบบหนึ่งที่ทำให้ชาแย่ลงแบบนึกไม่ถึง นั่นคือกระปุกใส บางคนจงใจใช้กระปุกประเภทนี้เพื่อโชว์สีสันของมัทฉะ โชว์วัตถุดิบในร้าน หรือเพียงแค่ให้คนชงเห็นง่าย ๆ แต่กระปุกใสทำให้แสงมาต้องชาตรง ๆ ทำให้ชาสีซีดลง และเกิดกลิ่นแปลกๆ ออกมา อันที่จริงร้านชาหลายร้านเลือกภาชนะใสมาใส่ บางที่เปิดฝาโชว์ด้วยซ้ำไป กรณีนี้ไม่เป็นเพราะห้องมืดอยู่แล้ว ก็คือชาไม่ได้ดีมาก หรือไม่ก็มั่นใจว่าจะชงหมดในวันนั้น

อีกเรื่องที่คนทั่วไปอาจไม่ทันตระหนักคือ ขนาดของกระปุก การใส่มัทฉะในกระปุกใบใหญ่แปลว่าทุกครั้งที่เปิดฝาตักมัทฉะ ชาจำนวนมากจะโดนอากาศ กลิ่นหอม ๆ ของชาจะหายไปรวดเร็วมากเมื่อสัมผัสอากาศบ่อย ๆ การแบ่งใช้เป็นกระปุกเล็ก ๆ พอใช้ได้หมดในเวลาไม่กี่วันเป็นวิธีที่ช่วยให้ชาจำนวนมากไม่เสียสิ่งดี ๆ ไปกับธาตุอากาศโดยใช่เหตุ

ภาชนะเก็บชา

ภาชนะที่เสิร์ฟชา

เมื่อมองลึก ๆ แล้ว ภาชนะนี่แหละคือตัวกำหนดวิธีการทานในท้ายสุด หรือก็คือกำหนดได้ว่าคนทานจะรู้สึกอย่างไรนั่นเอง รสชาติไม่ใช่แค่เรื่องของตัวชา แต่อยู่ที่ความคิดความรู้สึกด้วย ตัวอย่างที่ง่ายที่สุดคือดีไซน์ ดีไซน์จะกำหนดคอนเซปต์ของเมนูนั้น ๆ ถ้าอยากได้บรรยากาศหรู ๆ ค่อยๆ ลิ้มรสอย่างละเมียดละไม ก็อาจใช้ภาชนะที่ดูหรูหราบอบบาง หรืออย่างได้ความเรียบง่าย ดื่มสบาย ๆ หน้าตาของแก้วก็ต้องเป็นอีกแบบหนึ่ง เรื่องนี้อาจดูเป็นคนละเรื่องกับรสชาติ ดูนามธรรม แต่ที่จริงแล้วหากคิดดูจะพบว่ามีเหตุผลเป็นรูปธรรมมากกว่าความรู้สึกลอย ๆ ในหัว

หลอดหรือแก้ว การใช้หลอดนั้นง่ายและสะดวกในแง่ของการพกพา และแก้ความกังวลว่าแก้วจะล้างไม่สะอาดด้วย แต่การใช้หลอดทำให้ปริมาณน้ำที่เข้าปากถูกจำกัดคล้ายท่อสายยางที่พยายามเติมสระน้ำ มันขาดความพอใจจากการซดน้ำให้พรวดเต็มปาก ในทางกลับกัน การดื่มจากแก้วมีรายละเอียดให้เลือกใช้กว่ากันมากและไม่สร้างขยะอีกด้วย

แก้วที่ขอบบางกับแก้วที่ขอบหนา แก้วที่ขอบบางจะทำให้น้ำไหลมาตรงกว่าขอบหนามน ๆ ทำให้สัมผัสตอนเข้าปากชัดเจนกว่า เหมาะสำหรับการ Testing รสชาติหรือเวลาที่ต้องการแสดงความซับซ้อนของรสชาติ ขณะที่ขอบหนาทำให้น้ำค่อย ๆ ไหลมาตามขอบ เป็นสาเหตุนึงที่ทำให้น้ำหกเวลาเทไปอีกภาชนะหนึ่ง แต่มีข้อดีคือสัมผัสจะนุ่มนวลกว่าแบบแรก ถ้าอยากเน้นความนุ่มนวลแบบนมหรือฟองนมใช้แบบนี้อาจจะดีกว่า

เนื้อบางกับเนื้อหนา ส่วนใหญ่ความหนาของเนื้อภาชนะก็มักเป็นแบบเดียวกับขอบด้วย แต่ก็ไม่เสมอไป ผมจึงแยกออกมา ภาชนะเนื้อบางจะเบาอย่างไม่น่าเชื่อ (และถ้าเป็นเซรามิกเนื้อบางก็มักแพง) มีภาพลักษณ์หรูหราบอบบาง เกิดความรู้สึกที่ดีเวลาถือ ข้อเสียคือไม่ค่อยเก็บอุณหภูมิ เสิร์ฟร้อนหายร้อน เสิร์ฟเย็นหายเย็นในเวลาไม่นาน กลับกัน แบบเนื้อหนาจะเก็บความร้อนความเย็นได้ดีมาก แต่ต้องระวังตอนใช้สักนิด คือเวลาน้ำชาร้อนๆ ลงไป ถ้าไม่ warm แก้วให้อุ่นก่อน น้ำชาจะถูกแก้วหนาที่เย็นอยู่ดึงอุณหภูมิไปจนไม่ตรงกับความร้อนที่เราอยากเสิร์ฟ เครื่องดื่มเย็นก็เช่นกัน ควรทำให้เย็นก่อนหากเป็นไปได้ หลักการเดียวกับแก้วเบียร์ในร้านเหล้า

ขนาดปากแก้ว หรือขนาดแก้ว เป็นตัวกำหนดว่าเวลาจิบครั้งหนึ่งจะมีน้ำเข้าปากมากแค่ไหน บางเมนูที่อยากให้คนค่อยๆ ดื่มก็ควรใช้แก้วปากเล็กใบเล็ก ป้องกันไม่ให้ดื่มหมดเร็วเกินไป แต่ถ้าอยากให้ดื่มเพื่อความสดชื่น ก็ควรเป็นแก้วปากใหญ่ใบใหญ่ ดื่มปริมาณมากๆ

ปากแก้วบานออกหรือตั้งตรง โค้งเข้า ปากแก้วที่บานออกจะทำให้น้ำไหลเข้าปากได้โดยไม่ต้องกระดกแก้วมาก ดีกว่าแบบตรงๆ ทั่วไปหรือแบบโค้งเข้า ส่วนแบบโค้งเข้าจะทำให้เก็บความร้อนได้ดีและกันไม่ให้กลิ่นลอยหายไปหมด

วัสดุ มีทั้งดินเผา กระเบื้องเซรามิก พลาสติก โลหะ ไม่ว่าอย่างไหนก็มีความรู้สึกเวลาสัมผัสไม่เหมือนกัน มีดีไซน์รูปร่าง พื้นผิวหลากหลายมาก คงต้องแล้วแต่คอนเซปต์ของเมนูจริงๆ

ทั้งหมดที่นำเสนอมาเป็นแนวคิดพื้นฐานเพื่อจัดการเรื่องชาเท่านั้น ในความเป็นจริงยังมีที่ว่างมากมายสำหรับไอเดียใหม่ ๆ จะนำมาปรับใช้ได้ นี่ไม่ใช่กฎเหล็กที่ต้องรักษา แต่เป็นพื้นฐานที่ต่อยอดได้ หวังว่าทุกท่านจะเกิดความคิดต่อยอดจากบทความนี้นะครับ

บทความจาก : Vachi