“ชาเขียว“ ของขวัญทุกเทศกาลของคนญี่ปุ่น

ชาวญี่ปุ่นมักจะมีของฝากเล็กๆน้อยๆถือติดไม้ติดมือมอบให้กันอยู่เรื่อยๆไม่ว่าจะเป็นโอกาไหนๆ เช่น หากต้องเดินทางไปต่างถิ่นหรือแม้กระทั่งทริปเล็กๆ โดยทั่วไปก็จะนิยมซื้อของฝาก หรือในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “โอมิยาเกะ”มาให้ โดยของฝากมีทั้งเป็นห่อคุกกี้น่ารักๆ ช็อกโกแลต ชาเขียว หรือของหวานญี่ปุ่นชนิดต่างๆ

โอมิยาเกะ

ไม่เพียงแค่การซื้อของฝากจากการไปท่องเที่ยว แต่การมอบของขวัญให้แก่กันทได้เป็นวัฒนธรรมที่ฝังรากลึกลงไปของคนญี่ปุ่น อย่างเช่น วันปีใหญ่ แต่งงาน คลอดบุตร ฯลฯ ซึ่ง”ชา”ถือว่าเป็นของขวัญที่นิยมมากๆเลยก็ว่าได้ การมอบชาเขียวให้กันนั้นก็จะแฝงความหมายที่แตกต่างตามวาระโอกาสที่ให้ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความยินดี การทักทาย หรือแสดงความขอบคุณ เพราะ”ชา”เป็นสิ่งที่ชาวญี่ปุ่นดื่มกันทุกวันอยู่แล้ว นอกจากจะดีต่อสุขภาพแล้ว ให้ความรู้สึกถึงความมีคุณภาพ มีราคา ยิ่งส่งมอบให้กันเป็นชุด gift set หรือ ห่อด้วยผ้าฟุโรชิกิด้วยแล้ว ยิ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กลายเป็นเซ็ตชาที่ถูกใจผู้รับแน่นอน อีกเหตุผลที่นิยมให้ชาเป็นของขวัญ เพราะนอกจากนั้นยังเก็บรักษาได้นาน และมีขนาดไม่เล็กไม่ใหญ่เกินไป ทานได้ทุกเพศทุกวัย ชายังแฝงความหมายที่ดีและเป็นมงคลที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ด้วย เช่น

ฉะเมียว (茶寿)

  • คำว่า ฉะเมียว (茶寿)ที่สะกดด้วยตัว茶ที่แปลว่า ชา อยู่ในคำนั้นด้วย ฉะเมียว ในความหมายคนญี่ปุ่น หมายถึง “การแสดงความยินดีฉลองอายุครบ 108 ปี” การมอบชาเป็นของขวัญจึงถือเป็นการอวยพรขอให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง อายุยืนยาว
  • ในงานแต่งงานของคนญี่ปุ่นบางพื้นที่ ได้แก่ ภูมิภาคคิวชู รวมถึง จังหวัดนีกาตะและฟุคุชิมะ จะมีการมอบ “ชุดชา”เป็นของขวัญสำหรับงานหมั้น เพราะต้นชามีอายุยืนยาว หยั่งรากลึกลงในดิน ยากที่จะถอนแล้วนำไปปลูกใหม่อีกครั้ง แสดงถึง “การแต่งงานออกเรือนของเจ้าสาวเพียงครั้งเดียว และยึดมั่นในคู่ครองไปตลอดชีวิต”

ชุดชา ชุดชา

  • ในวันขึ้นปีใหม่ของญี่ปุ่นจะมีธรรมเนียมการดื่มชาไดฟุคุฉะ (大福茶) เป็นชาที่ดื่มเพื่อขอให้ในปีนี้ปลอดภัยจากภัยพิบัติ และโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ โดยเฉพาะที่เกียวโต สืบเนื่องมาจากในสมัยก่อนที่มีนักบวชเอาชาไปแจกให้ผู้ป่วยติดเชื้อดื่ม และอาการหายเป็นปกติ การรับประทานชุดอาหารโอเซจิ (おせち料理) ในวันขึ้นปีใหม่ พร้อมดื่มไดฟุคุฉะกับบ๊วยแห้งและสาหร่ายคอมบุ วัฒนธรรมที่สืบทอดต่อกันมายาวนาน
  • คำว่า เมเดไต (めでたい) ที่แปลว่า “น่ายินดี” ในภาษาญี่ปุ่น พ้องเสียงกับคำว่า เมเดไต (芽出たい) ที่แปลว่า “ต้องการแตกหน่อ(ของยอดชา)” ดังนั้นการมอบชาเป็นของขวัญจึงมีความเป็นสิริมงคลที่คนญี่ปุ่นเชื่อว่า หมายถึง การแสดงความยินดีต่อผู้รับนั่นเอง

เมเดไต (めでたい)

อย่างไรก็ตาม บางตำรากล่าวว่ากชาเป็นเครื่องดื่มที่ญี่ปุ่นรับมาจากประเทศจีนพร้อมกับศาสนาพุทธ จึงให้ภาพพจน์ที่เกี่ยวข้องกับพิธีทางพุทธศาสนา ซี่งส่วนมากจะเป็นพิธีศพ จึงควรหลีกเลี่ยงที่จะให้ชาเป็นของขวัญ แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้ความเชื่อนั้นก็ได้หายไป และยังมีความนิยมส่งชินชะ (新茶)ซึ่งเป็นชาแรกของฤดูที่ทำจากยอดอ่อนที่เก็บได้ครั้งแรก ให้เป็นของขวัญตามฤดูกาลมากขึ้น

ชินชะ (新茶)

นอกจากโอกาสมงคลต่างๆ ที่เราส่งมอบชากันเป็นของขวัญแล้ว ยังมีวัฒนธรรมการดื่มชาอื่นๆที่คนญี่ปุ่นจะดื่มกันอีก เช่น

  • ซากุระยุ (桜湯)ที่ได้จากการชงน้ำร้อนกับกลีบดอกซากุระที่ปรุงรสด้วยเกลือ แทนชาเขียว นิยมดื่มในโอกาสมงคล คู่กับขนมฮิกาชิ เป็นขนมแห้ง ชิ้นเล็กมีลวดลายและสีสันงดงาม คล้ายขนมผิงบ้านเรา
  • ในฤดูร้อนนิยมดื่มมุงิชะ (麦茶)ชาข้าวบาร์เลย์เย็นๆ คลายร้อน
  • ถ้าใช้รับรองแขก จะนิยมเสิร์ฟเกียวกุโระ ( 玉露) หรือ เซ็นชะ ( 煎茶)คู่กับขนมวากาชิ
  • แต่ในชีวิตประจำวันจะนิยมดื่มโฮจิฉะ ( ほうじ茶) บันชะ ( 番茶) เก็นไมฉะ ( 玄米茶) คู่กับขนมเซมเบ้

เลือกชาให้ถูกประเภท ถูกเทศกาล การส่งมอบของขวัญด้วยชา จะทำให้ผู้รับประทับใจมากยิ่งขึ้น

ที่มา

https://www.hibiki-an.com/index.php/cPath/26

https://www.ooigawachaen.co.jp/blog/2015/12/16/249

https://www.alfemminile.com/none/none-s4002149.html

บทความจาก : Fuwafuwa

ส่งต่อความอร่อย เพิ่มยอดขายด้วยกลยุทธ์ OEM

ในยุคที่เศรษฐกิจไม่ค่อยดี ร้านค้าหลายร้านก็ถูกปิดตัวลง ร้านที่ยังอยู่รอดก็พยายามงัดหลากหลายกลวิธี ทั้งออกสินค้าใหม่ จัดกิจกรรม จัดโปรโมชั่นต่างๆ เพื่อดึงดูดลูกค้าให้กลับเข้าร้านมากขึ้น แต่มีอีกวิธีหนึ่งที่หลายแบรนด์อาจจะมองข้ามไป นั่นคือ การรับผลิตสินค้าให้กับแบรนด์ต่างๆ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ OEM

OEM ย่อมาจาก Original Equipment Manufacturer คือ การที่ร้านค้าไหน หรือแบรนด์ใดที่มีจุดเด่นในเรื่องการผลิตสินค้าสามารถเข้ารับจ้างผลิตสินค้าให้กับบริษัทอื่นๆได้ โดยเป็นลักษณะของการ Collaboration หรืออาจจะเป็นการผลิตให้แบรนด์อื่นๆเพื่อไปขายในแบรนด์ของตัวลูกค้าเองขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้าโดยการใช้กระบวนการผลิตของโรงงานหรือร้านค้าเองตั้งแต่ฝ่ายผลิต ไปจนถึง เครื่องจักรต่างๆสำหรับการผลิต ซึ่งลูกค้าที่มาจ้างร้านค้าหรือโรงงานผลิต อาจจะมีความเชี่ยวชาญไม่มากพอในการทำสินค้าชนิดนั้นๆ หรือเล็งเห็นถึงความสามารถและเอกลักษณ์ของโรงงานหรือร้านค้านั่นๆว่าสามารถผลิตสินค้าตามเสปคได้ 

ในมุมมองลูกค้าหรือแบรนด์อื่นๆที่มาจ้าง

  • ถือว่าช่วยลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงได้เพราะสามารถย้ายฐานการผลิตไปที่อื่นๆที่ต้นทุนต่ำกว่าได้ตลอด
  • เจ้าของแบรนด์ไม่ต้องมีโรงงานเป็นของตัวเอง ง่ายต่อการเปลี่ยนลักษณะหรือกลยุทธ์ทางธุรกิจ
  • มีผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาทางการผลิตคอยดูแลให้ ได้วัจถุดิบตามมาตรฐานที่ต้องการโดยไม่ต้องลงแรงในการเสาะหาเองตั้งแต่ขั้นแรก

แต่ถ้ามองในมุมมองของร้านค้าหรือโรงงานที่รับผลิตสินค้าให้

  • มีร้ายได้อีกช่องทางเพิ่มมากขึ้นโดยที่ไม่ต้องลงทุนคิดสินค้าเองตั้งแต่ต้นจนจบ เพราะมีสูตรจากทางผู้ว่าจ้างมาให้แล้ว
  • ประหยัดต้นทุนทางการตลาดในการโฆษณาสินค้านั้นๆ เพราะผู้ผลิตไม่ได้เป็นคนขายสินค้าเอง
  • ไม่ต้องคำนึงถึงการบริหารจัดการสต็อกสินค้าเอง เพียงแค่ทำตามออเดอร์ที่แบรนด์อื่นๆมาว่าจ้างให้ผลิต

อย่างไรก็ตามการรับทำ OEM ให้แบรนด์อื่นๆ นอกจจากจะต้องคิดต้นทุนให้รอบคอบก่อนนำเสนอราคาขายให้แบรนด์ที่มาว่าจ้างแล้ว ยังต้องคำนึงถึงราคาที่แบรนด์นั้นๆจะไปขายต่อผู้บริโภคด้วย เพราะถ้าเราตั้งไว้สูงตั้งแต่แรก เจ้าของแบรนด์เขาต้องไปบวกราคาเพิ่มอีกกว่าจะถึงลูกค้า สินค้าชิ้นนั้นๆอาจจะราคาสูงเกิน ทำให้ยอดขายไม่ดีได้เช่นกัน

นอกจากนั้นแล้วการรับ OEM ต้องคำนวนถึงค่าขนส่งสินค้า ด้วยเช่นกันว่า ราคาที่เราตั้งนั้นรวมถึงค่าขนส่งหรือยัง และจำเป็นจะต้องมองยาวไปถึงเรื่องการที่ของอาจจะแตก พัง เสียหาย ความสูญเสียทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นด้วยว่า ควรมีระบบรับเคลมสินค้า รับประกันสินค้าที่เราผลิตให้อย่างไรบ้าง

หากใครยังไม่เห็นภาพว่าจะเริ่มรับ OEM แบรนด์ไหนได้บ้าง มาลองดูไอเดียตัวอย่างที่เหมาะกับการเริ่มหาลูกค้าในกลุ่ม B2B แบบนี้ดู เช่น

  • ร้านที่เน้นขายขนม เครื่องดื่มสำหรับคนรักสุขภาพโดยเฉพาะ สูตรต่างๆเป็นเมนูหวานน้อย ไม่ใส่น้ำตาล แนะนำให้นำรับผลิตเครื่องดื่มหรือขนมสำหรับผู้แพ้อาหารให้กับโรงพยาบาล หรือ ออกเครื่องดืมชาเพื่อสุขภาพให้กับฟิตเนส ผลิตขนม หรือ ชา โดยให้ตีตราเป็นของโรงพยาบาลหรือฟิตเนสนั้นๆไปเลย

OEM OEM

  • ร้านที่มีจุดเด่นเรื่องการใช้ผงชาเขียวพรี่เมี่ยม สามารถนำวัตถุดิบนี้ในการรับผลิตขนมตามสูตรที่่แบรนด์ต่างๆต้องการเพื่อให้ได้รสชาติชาเขียวออริจินัล ตามแบบที่โรงงานหรืิร้านค้าเราใช้อยู่แล้ว สามารถรับผลิตได้หลากหลายสินค้าเลย เช่น คุกกี้ พุดดิ้ง หรือเมนูเสปรดต่างๆจากชาเขียว ซึ่งไลน์การผลิตขนมหลากหลายรูปแบบนี้ เหมาะกับการทำให้บริษัททัวร์ สายการบิน หรือ โรงแรม หรือแม้แต่ตามร้านอาหารญี่ปุ่นที่ไม่มีเมนูของหวาน เพราะเชี่ยวชาญด้านการทำเมนูของคาวมากกว่า ก็สามารถนำเสนอเมนูขนมหวานแล้วให้ตีตราเป็นแบรนด์ของร้านอาหารนั้นๆไปเลย ก็สามารถทำได้เช่นกัน

OEM

OEM OEM

การเพิ่มยอดขายให้ร้านของคุุณ ไม่ได้มีแต่การลดราคา แจกของแถม แต่มองมุมให้กว้างขึ้น อย่าโฟกัสแต่ผู้บริโภคที่เป็นลูกค้าปกติ แต่ให้มองถึงกลุ่มบริษัท ร้านอาหาร หรือธุรกิจอื่นๆด้วย ก็จะเจออีกหลายกลยุทธ์ ที่ใช้ส่งต่อความอร่อยได้

ที่มา

https://www.moshimoshi-nippon.jp/115252

https://www.pinterest.com/pin/Ab-c8jUkof2iYtJeTFNSBg58sGUXOAgBICxwy85elSDMHu7Ky4Yqygw/

http://www.thirstyfortea.com/2016/12/18/tea-shortbread-coins/

บทความจาก : Fuwafuwa

ปรัชญาของคนญี่ปุ่นที่แฝงแนวคิด จาก ถ้วยชา

เคยสังเกตมั้ยว่า ถ้วยชงชาญี่ปุ่น เมื่อเทียบกับของทางฝั่งยุุโรป จะมีลักษณะที่แตกต่างกันค่อนข้างมาก ถ้วยชาญี่ปุ่น จะไม่เรียบ 100% ลักษณะส่วนมากเป็นถ้วยชาจากการปั้นด้วยมือ มีความขรุขระบ้าง ลวดลายสีสันที่ดูเป็นงานคราฟต์ บางใบดูดีๆจะเห็นว่าเป็นถ้วยที่แตกแล้ว แต่ถูกประสานด้วยทองจนเนียนเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของลวดลายถ้วยชานั้นๆ ซึ่งวิธีการทำแบบนี้เราเรียกว่า การทำคินสึงิ (Kintsugi)นั่นเอง

Kintsugi

คินสึงิ มีประวัติศาตร์อันยาวนาน ย้อนไปในศตวรรษที่ 15 โชกุนของญี่ปุ่นที่มีชื่อว่า อาชิกางะ โยชิมาสะ (Ashikaga Yoshimasa) ได้ส่งถ้วยชาที่เสียหายไปยังประเทศจีนเพื่อซ่อมแซม และมันก็ถูกส่งกลับมาในสภาพที่มีตัวเย็บเหล็กที่ไม่สวยงาม ทำให้โชกุนต้องคิดค้นหาวิธีที่ดีกว่าในการซ่อมแซมสิ่งที่พังไป ช่างฝีมือของเขาจึงมองหาวิธีอันงดงามในการประกบเครื่องปั้นดินเผาอีกครั้งด้วยการใช้ครั่งผสมทอง เทคนิคนี้เป็นการเชื่อมรอยต่ออันงดงามที่ถูกพูดถึงกันมากในประวัติศาสตร์ จึงเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็ว นักสะสมจำนวนมากรู้สึกชื่นชอบเทคนิคนี้มากถึงขั้นตั้งใจทุบเครื่องปั้นดินเผาอันมีค่า เพื่อที่จะได้ซ่อมแซมมันโดยใช้เทคนิคคินสึงิซึ่งแน่นอนว่าเครื่องปั้นเซรามิคมีความวิจิตรงดงามมากยิ่งขึ้นหลังจากการซ่อมแซมทุกครั้ง การซ่อมแซมภาชนะที่แตกบิ่นเสียหายด้วยวิธีคินสึงิแบบนี้ อีกนัยนะหนึ่งเกิดจากการที่ชาวญี่ปุ่นเชื่อกันว่า ถ้วยชามที่แตกบิ่นนั้นไม่ควรทิ้งขว้าง แต่ควรซ่อมมันด้วยรักทองเพื่อให้พวกมันกลับคืนมามีชีวิตอีกครั้ง เหมือนกับชีวิตของเราทุกคนนั้นล้วนหลีกหนีความเจ็บปวดทางใจไม่พ้น เช่น การสูญเสียผู้เป็นที่รักหรือสิ่งที่เป็นที่รัก เผชิญกับอาการเจ็บป่วยร้ายแรงหรืออุบัติเหตุที่ส่งผลต่อชีวิต แม้แต่ความเจ็บปวดที่ต่อเนื่องมาจากอดีต บาดแผลทางใจเหล่านี้ควรได้รับการเยียวยาและสมานให้กลับมาดีดังเดิม ดังนั้นปรัชญาคินสึงิจึงถูกนำมาประยุกต์ใช้เพื่อซ่อมแซมบาดแผลทางใจที่หนักหนาและค้างคา เพื่อที่เราจะได้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากขึ้น เข้มแข็งมากขึ้น และเข้าใจผู้ที่ยังเจ็บปวดคนอื่นๆ มากขึ้นนั่นเอง

ปรัชญาของคนญี่ปุ่นที่แฝงถึงแนวคิดที่ว่า ไม่มีชีวิตใดที่สมบูรณ์แบบอย่างหลักคินสึงิ คือ การทำให้ตัวเองเข้าใจถึงความแตกหัก เปราะบางภายในจิตใจของตัวเอง เป็นการสร้างความแข็งแกร่งจากภายในสู่ภายนอก ทำให้มีสภาวะจิตใจที่ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ เพราะการซ่อมแซมถ้วยที่แตกร้าวอย่างใส่ใจและเต็มไปด้วยความรักจะทำให้เราเข้าใจว่าเราควรยอมรับ, เคารพในรอยร้าวและรอยแผลเป็น, ความอ่อนแอและความไม่สมบูรณ์พร้อมทั้งในตัวเราและผู้อื่น เพื่อพบความสุขที่แท้จริงในชีวิต

Wabi-sabi

อย่างไรก็ตาม ถ้วยชาที่ผ่านการทำคินสึงิมาแล้ว  แม้จะยังใช้งานได้ แต่ถ้วยที่แตกแล้วก็คือแตกแล้ว ไม่ได้สมบูรณ์แบบเหมือนเดิม เพียงแต่เป็นความเรียบง่ายที่ไม่ต้องดิ้นรนหาถ้วยชาใบใหม่ แต่เต็มใจที่จะใช้ถ้วยชาที่มีริ้วรอย ผ่านการผุกร่อนตามกาลเวลาแบบนี้ เป็นอีกหนึ่งปรัชญาแห่งการดำรงชีวิตที่ฝังรากลึกอยู่ในจิตวิญญาณของชาวญี่ปุ่นมานานเช่นกัน นั่นคือ สุนทรียภาพอันเรียบง่าย สมถะ ไม่ยึดติดในความสมบูรณ์แบบ ชื่นชมในริ้วรอยและความผุกร่อนของสรรพสิ่งที่เสื่อมสลายไปตามกาลเวลามอย่างเต็มใจ แนวคิดนี้คนญี่ปุ่นเรียกว่า  วะบิ สะบิ” Wabi-sabi (侘寂)

วะบิ สะบิ” Wabi-sabi (侘寂)  เป็นแนวคิดที่ถูกนำไปปรับใช้และแทรกตัวอยู่ในงานตกแต่งสไตล์ Loft, Industrial, Rustic, Minimal ซึ่งสังเกตได้อย่างง่ายด้วยถ้วยชา ที่เราเห็นคนญี่ปุ่นใช้กัน ขอบถ้วยที่ไม่มีการปรับให้เรียบ เมื่อริมฝีปากจรดจะสัมผัสได้ถึงผิวอันดิบหยาบ ส่วนถ้วยชา ไม่ได้เนี๊ยบเรียบหรู แต่เป็นถ้วยชาที่เปี่ยมด้วยสุนทรียะที่มุ่งนำพาจิตผู้ดื่มชาให้สัมผัสได้ถึงความสงบและเรียบง่าย เพื่อแสดงถึงแก่นแท้แห่ง “วะบิ สะบิ” นั่นเอง

วะบิ สะบิ

แนวคิดถ้วยชาดังกล่าว เกิดในสมัยที่พิธีดื่มชาทีได้รับอิทธิพลจากภิกษุนิกายเซน ได้รับความสนใจอยากแพร่หลาย และกลายเป็นส่วนหนึ่งของศิลปะ ปรัชญา เกิดชาโนยุ หรือ วิถีแห่งชา ที่ได้รับความนิยมอย่างยิ่งในหมู่ชนชั้นสูง นักรบและพ่อค้าที่ร่ำรวย เครื่องใช้ต่างๆ ในพิธีชงชา ล้วนถูกซื้อหาจากต่างแดนและประดับประดาด้วยสิ่งอันหรูหรา โดยเฉพาะถ้วยชาที่สวยงามเป็นหนึ่งในสิ่งที่ชนชั้นสูงและผู้มีฐานะใน ยุคนั้นต่างแสวงหาความหรูหราฟุ่มเฟือยนี้ เห็นได้จากช่วงปี ค.ศ.1585-1586 ฮิเดโยชิมีคำสั่งให้ริคิวจัดสร้างห้องชาที่ปิดด้วยทองคำทั้งหลัง เพื่อรับเสด็จสมเด็จพระจักรพรรดิโอะกิมะจิ โดยฮิเดโยชิเองทำหน้าที่เป็นผู้ชงชา เขาจึงเสิร์ฟชาด้วยถ้วยชาที่ปั่นขึ้นอย่างง่ายเพื่อโน้มนำให้ผู้ดื่มเข้าถึงความงามอันปราศจากการปรุงแต่ง ตระหนักถึงความงามอันจริงแท้ที่มิได้ขึ้นอยู่กับรูปลักษณ์ภายนอก ความไม่สมบูรณ์แบบก็ทำให้ได้สัมผัสรสชาติที่แท้จริงของชาได้เช่นเดียวกัน

นอกจากนี้ วะบิ-ซะบิยังสะท้อนให้เห็นได้ชัดผ่านสถาปัตยกรรมและหัตถกรรมที่เกี่ยวข้องกับพิธีชงชาของชาวญี่ปุ่นนั่นคือ เรือนชงชา ซึ่งแยกตัวจากสิ่งปลูกสร้างอื่น มีขนาดเล็กแค่เพียงพอดีกับกิจกรรม สร้างขึ้นจากวัสดุที่ไม่มีลักษณะความคงทนถาวรที่จะต้องเสื่อมสลายไปซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมญี่ปุ่น เช่น ตัวบ้านทำจากไม้ และบานประตูทำจากกระดาษ ต่างจากสถาปัตยกรรมโมเดิร์นของตะวันตกที่ถูกสร้างให้มีภาพลักษณ์ของความสมบูรณ์ เป็นอมตะและไม่สามารถทนต่อปัจจัยที่มากระทำผ่านกาลเวลาได้

ถัดมาที่ห้องในเรือนชงชามักออกแบบให้คนเข้าไปได้ไม่เกินครั้งละ 5 คน ประตูทางเข้าของแขกมีความสูงเพียง 80 เซนติเมตร ทุกคนต้องคลานด้วยมือและเข่าเป็นแถวเดียวเข้าไปด้วยความสงบและเสมอภาคกัน อันเป็นการลดทิฐิและทำให้เกิดความเรียบง่ายในการอยู่ร่วมกัน

ภายในห้องมีถ้วยชามอุปกรณ์ที่ใช้ในพิธีซึ่งทำมากวัสดุตามธรรมชาติ แต่ละชิ้นมีร่องรอย มีคราบผ่านการเวลาในแบบฉบับของตนเอง เพื่อแสดงถึงความงดงามของสิ่งที่ไม่สมบูรณ์แบบของสิ่งต่างๆ ที่ไม่ใช่สิ่งที่ไม่ดี แต่เมื่อสิ่งเหล่านั้นมาอยู่รวมกันแล้ว ก็อาจจะทำให้เกิดมุมมองต่างๆที่เปลี่ยนไป เกิดสุนทรียะในการใช้ชีวิตแบบที่ไม่ต้องสมบูรณ์แบบเสมอไปนั่นเอง

พิธีชงชาของชาวญี่ปุ่น

ที่มา

https://www.bareo-isyss.com/service/decor-guide/wabi-sabi-decor/

https://www.hibiki-an.com/contents.php/cnID/61

https://www.bareo-isyss.com/service/decor-guide/wabi-sabi-decor/

https://jpninfo.com/thai/11264

https://gaskimishima.wordpress.com

https://etsy.me/2MjfImy

https://themomentum.co/wabi-sabi/

บทความจาก : Fuwafuwa

มาศึกษาต้นกำเนิด ผงชาเขียวมัทฉะ

ว่ากันว่า ชาเขียวได้ถูกค้นพบโดยจักรพรรดิเสินหนงซึ่งเป็นบัณฑิตและนักสมุนไพรผู้รักความสะอาดเป็นอย่างมาก ดื่มเฉพาะน้ำต้มสุกเท่านั้น วันหนึ่งขณะที่เสินหนงกำลังพักผ่อนอยู่ใต้ต้นชาในป่า และกำลังต้มน้ำอยู่นั้น ปรากฏว่าลมได้โบกกิ่งไม้ เป็นเหตุให้ใบชาร่วงหล่นลงในน้ำซึ่งใกล้เดือดพอดี เมื่อเขาลองดื่มก็เกิดความรู้สึกกระปรี้กระเปร่าขึ้นมาก ชาเขียวถูกพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ชาวบ้านก็เริ่มหันมาปลูกชาและพัฒนาต่อกันมาเรื่อยๆ มีทั้งการเติมเครื่องเทศน์ หรือดอกไม้ลงไป เพื่อให้มีกลิ่นและรสชาติที่แตกต่างมากยิ่งขึ้น ซึ่งชาที่ปลูกในจีนทั้งหมดเป็นชาเขียว กระบวนการผลิตชาจะเกิดจากการรวมใบชา นำมานึ่ง และอบแห้ง ซึ่งจะเก็บได้ไม่ดีนัก สูญเสียกลิ่นได้ง่าย และรสชาติไม่ดี ในช่วงศตวรรษที่ 17 มีการค้าขายกับชาวยุโรปการผลิตเพื่อจะรักษาคุณภาพชาให้นานขึ้น โดยการหมักแล้วก็จะนำไปอบ ซึ่งก็เป็นที่มาของชาอูหลง และชาดำ ในประเทศจีน

ไร่ชา ไร่ชา

การเข้ามาของชาในประเทศญี่ปุ่นนั้น เริ่มราวต้นสมัยเฮอัน ในสมัยนั้นจีนและญี่ปุ่นเริ่มมีการติดต่อทางด้านศาสนาพุทธและวัฒนธรรมกัน บ้างแล้ว นักบวชญี่ปุ่นได้เดินทางไปเป็นทูตเรียนรู้เรื่องต่างๆ จากประเทศจีนรวมทั้งการศึกษาตัวยาสมุนไพรจากจีนอีกด้วย ชาจีนจึงเข้ามาในประเทศญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกๆ โดยพระสงฆ์นั่นเอง เริ่มจากนักบวชจากจังหวัดไอจิ ได้นำชาอัดแข็ง (ต้องฝนกับหินก่อนแล้วจึงใส่น้ำร้อนถึงจะดื่มได้) และเมล็ดชาจำนวนไม่มากเข้ามาที่ญี่ปุ่นก่อน เมื่อจักรพรรดิได้เข้ามาเยี่ยมพระที่วัด พระ จึงชงชาใส่ถ้วยนำมาถวาย เมื่อองค์จักรพรรดิได้ดื่มชาก็เกิดความประทับใจในรสชาติ จึงสั่งให้นำเมล็ดชาไปปลูกที่สวนสมุนไพรภายในบริเวณราชวัง ชาได้แพร่หลายไปในแถบภูมิภาคคิงคิ (เกียวโต) แต่ความนิยมยังคงมีอยู่แต่ในเฉพาะกลุ่มชนชั้นสูงเท่านั้น

Matcha

ต่อมาในช่วงตอนต้นสมัยคามาคุระ (Kamakura) นักบวชในพุทธศาสนาเซน ได้นำเมล็ดชามาจากจีนเป็นจำนวนมากพร้อมกับกรรมวิธีการผลิตชากลับมาด้วย วิธีการผลิตดังกล่าวนั่นก็คือ การนำใบชามาบดโดยครกหินที่ทำให้เกิดความร้อนน้อยที่สุด เพื่อรักษารสชาติและกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ไว้ ออกมาเป็นผงละเอียดเหมือนแป้ง หรือที่เราเรียกว่า ผงมัทฉะนั่นเอง ซึ่งการทำผงมัทฉะใช้เวลานานกว่าจะได้ผงชาออกมาจำนวนหนึ่ง ราคาจึงสูงกว่าชาเขียวชนิดอื่นๆ และมีวิธีการชงที่ค่อนข้างพิเศษที่ต้องใช้แปรงชงชาในการตีตาให้ละลายก่อน

ในสมัยนั้นมีการส่งเสริมการเพาะปลูกชาเพื่อใช้เป็นสมุนไพรให้แพร่หลายมากขึ้น และมีประโยคหนึ่งในหนังสือที่ท่านได้เขียนไว้ว่า ชาเป็นพื้นฐานทางจิตใจและเป็นเครื่องมือแพทย์ที่ดีที่สุด ทำให้ชีวิตถูกเติมเต็มและมีความสมบูรณ์มากขึ้น”จากนั้นก็เริ่มมีการค้นคว้าสรรพคุณของชา ที่ช่วยดับกระหายได้ ช่วยให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้น และช่วยล้างพิษด้วยการขับสารพิษออกทางปัสสาวะอีกด้วย

สมัยที่โชกุน มินาโมโตะ ซาเนะโมโตะ ทนทุกข์ทรมานจากการดื่มสุราอย่างหนัก ได้ลองดื่มชาและอาการของโชกุนก็หายไปในที่สุด ต่อมา เหล่านักบวชจึงเริ่มมีการเดินทางเพื่อออกเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับชาไปทั่วญี่ปุ่น จากนั้นชาจึงกลายมาเป็นส่วนหนึ่งพิธีกรรมบางอย่างและใช้เพื่อการรักษาโรค

Matcha History Matcha History

ในสมัยมุโระมาจิ เริ่มมีพิธีชงชาในแบบฉบับดั้งเดิมของญี่ปุ่นแล้ว เรียกว่า Chanoyu และในยุคนี้การชงชาเริ่มมีการผสมผสานทางด้านความคิด จิตวิญญาณ และการสร้างสรรค์ศิลปะในแบบธรรมชาติเข้ามาเกี่ยวข้องแล้ว เริ่มมีการลงรายละเอียดในภาชนะที่ใช้ในพิธีชงชา รวมไปถึงการเสิร์ฟชาเขียวในร้านอาหารอีกด้วย

Matcha History

การดื่มชาด้วยความเรียบง่ายและมีสมาธิในแบบของเซนจะช่วยให้จิตใจสามารถพัฒนา ขึ้นได้อย่างสมบูรณ์ นักบวชจึงออกแบบห้องพิธีชงชาขนาดเล็ก เพื่อใช้สนับสนุนการชงชาตามอุดมคติของนิกายเซน หลังจากนั้นจึงเริ้มมีพิธีชงชาตามแบบฉบับญี่ปุ่นเกิดขึ้นอย่างที่เราเห็นกันทุกวันนี้ แม้ว่าในสมัยยุคเอโดะ พิธีชงชาและการดื่มชาเริ่มมีการขยายวงกว้างลงมาถึงชนชั้นล่างมากขึ้น แต่กระนั้นเมื่อถึงการเก็บเกี่ยวชาที่ดีที่สุดในช่วงแรกของปีก็ต้องส่งมอบ ให้กับชนชั้นซามูไรก่อน ส่วนชาที่ชาวบ้านดื่มกันจะเป็นชาที่เก็บเกี่ยวในครั้งต่อมาคุณภาพก็จะด้อยลงมานั่นเอง จนช่วงหลังๆได้มีการเผยแพร่และลดการแบ่งชนชั้นตามกาลเวลา ประเพณีชงชาจึงยังคงเป็นที่แพร่หลายสืบทอดต่อกันมาถึงทุกวันนี้ เพราะประเพณีชงชานอกจากจะช่วยฝึกสมาธิแล้ว ยังช่วยให้จิตใจสงบ ได้อยู่กับตัวเองมากขึ้น โรงเรียนในญี่ปุ่นบางแห่งมีการสอนประเพณีชงชาให้เด็กญี่ปุ่นด้วย

ที่มา

http://fineartamerica.com/featured/oolong-tea-bud-jung-pang-wu.html

https://moyamatcha.com/en/moya-matcha/history-of-matcha/#

http://d.hatena.ne.jp/keibunsha2/20110508

https://www.pinterest.com/pin/339951471845392656/

https://www.flickr.com/photos/aligatorpics/6240407574/in/photostream/

http://japan-web-magazine.com/japanese-tea/japan-japanese-tea-ceremony0.html

https://traditional-japan.tumblr.com/image/153431720372

shorturl.at/brstQ

บทความจาก : Fuwafuwa

นำผงมัทฉะมาประกอบอาหารอย่าง โซบะชาเขียว

ใครที่ชื่นชอบชาเขียวเป็นชีวิตจิตใจ ยิ่งได้ชาเขียวพรี่เมี่ยมที่มีทั้งกลิ่น และรสชาติแบบออริจินัลใช้ทำเครื่องดื่มหรือขนมแล้ว เมนูนั้นจะยิ่งพิเศษ ชวนทานมากยิ่งขึ้น แต่หลายคนก็คงสงสัยเหมือนกันว่า ผงมัทฉะ เอาไปทำอย่างอื่นนอกจากเครื่องดื่มและขนมได้มั้ย????

ถ้านึกดีๆแล้ว ที่ญี่ปุ่น เรามักจะเห็นหลายๆร้านมีการนำผงมัทฉะมาประกอบอาหาร แต่เราอาจะลืมคิดไปว่าที่ไทย เมนูของคาวจากชาเขียว มีขายอยู่น้อยมาก ทั้งๆที่บางร้านเองก็ใช้ผงมัทฉะนำเข้าจากญี่ปุ่นเหมือนกัน การนำผงมัทฉะนั้นมาประกอบอาหารบ้างจึงเป็นเรื่องที่ไม่ยากเกินความสามารถแน่นอน แถมยังได้สัมผัสชาเขียวดั้งเดิมอีก ไม่ต้องไปไกลถึงญี่ปุ่น ก็ทำกินเองได้ที่บ้าน แถมยังนำมาใส่ในเมนูของคาวที่ร้านคาเฟ่ได้อีก “เส้นโซบะชาเขียวโฮมเมด” ที่ไม่ต้องผ่านกรรมวิธีทางโรงงานให้ยุ่งยาก

ส่วนผสม :

แป้งสาลีอเนกประสงค์ 100 กรัม

แป้งบัควีต 100 กรัม

น้ำ 200 กรัม

ผงมัทฉะ 1 ช้อนชา

เริ่มจากการผสมแป้งบัควีตกับแป้งสาลีอเนกประสงค์เข้าด้วยกัน ร่อนแป้งลงในอ่างผสม ใส่ผงมัทฉะ แล้วค่อยๆ ใส่น้ำทีละน้อยพร้อมใช้มือคนแป้งไปเรื่อยๆ นวดแป้งให้ค่อยๆ ดูดน้ำ นวดและซุยแป้งจนรู้สึกว่ามีเนื้อสัมผัสคล้ายเม็ดทราย

ใส่น้ำให้เหลือประมาณ ¼ ของน้ำทั้งหมด จากนั้นใส่น้ำที่เหลือลงไปพร้อมนวดให้แป้งจับตัวเป็นก้อน ใช้ฝ่ามือนวดแป้งตรงกลางแล้วพับริมแป้งขึ้นมาทับกัน นวดแป้งแบบนี้วนไปเรื่อยๆ จนกว่าแป้งจะนุ่ม (กดแล้วเป็นรอยบุ๋ม) จากนั้นปั้นแป้งให้เป็นก้อนกลม

โรยแป้งนวลบนไม้กระดานเล็กน้อย ย้ายก้อนแป้งของเรามาวางไว้ ใช้ฝ่ามือกดก้อนแป้งให้ขยายออก จากนั้นใช้ไม้คลึงรีดแป้งให้เป็นแผ่นสี่เหลี่ยมจัตุรัสบางประมาณ 0.2 มิลลิเมตร โรยแป้งนวลให้ทั่ว พับแป้งมาประกบกัน จากนั้นใช้มีดหั่นเป็นเส้นเล็กๆ คลุกเส้นด้วยแป้งนวลให้ทั่วอีกครั้ง ห่อด้วยกระดาษทิชชู ใส่ในภาชนะปิดสนิท หรือจะใส่ถุงพลาสติกแล้วรีดเอาอากาศออกให้หมดก็ได้ เก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดาได้ประมาณ 1-2 วัน

การลวกเส้นให้ตั้งหม้อน้ำบนไฟกลางจนเดือดจัด ใส่เส้นโซบะที่เราบรรจงหั่นลงต้มประมาณ 1 นาที ตักขึ้นแช่ในอ่างน้ำเย็น 20 วินาที ตักขึ้นพักให้สะเด็ดน้ำ โซบะต้มเสร็จใหม่ๆ ต้องกินทันทีอย่าปล่อยไว้นาน เพราะเส้นจะดูดน้ำเข้าไปทำให้เส้นอืด เละ ไม่อร่อยนั่นเอง

…………………..พอเราได้วิธีทำเส้นโซบะชาเขียวแล้ว มาดูกันว่าเส้นโซบะชาเขียว เอาไปทำอาหารเมนูอะไรได้อีกบ้าง

เริ่มจาก โซบะชาเขียวเย็น ที่คนญี่ปุ่นมักทานคู่กับ วาซาบิ ซอสสียุสำหรับทานกับโซบะ ประมาณ 50 ml. สาหร่ายแผ่นหั่นฝอย หอมญี่ปุ่นซอย โดยบางคนก็ทานคู่กับกุ้งเทมปุระ หรือ ผงเทมปุระทอดกรอบ นิยมทานกันในหน้าร้อน เพื่อเพิ่มความสดชื่น คลายร้อนนั่นเอง

matcha soba

นอกจากโซบะเย็นแล้ว มัทฉะโซบะ ยังสามารถนำไปทำได้อีกหลายเมนูเลยอย่างเช่น

Ginger Miso Soup With Green Tea Soba Noodles

Ginger Miso Soup With Green Tea Soba Noodles

Let’s Cook : ขิงบดละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ + น้ำเปล่า 6 ถ้วย + น้ำมะขาม ¼ ถ้วย เทรวมกันลงหม้อ ต้มไฟอ่อนประมาณ 10 นาที แล้วถึงเติม มิโสะ ¼ ถ้วย ลงไป ต้มต่ออีกประมาณ 3 นาที ไม่ต้องให้เดือดเกินไป เพราะ เวลาเสิร์ฟลูกค้าจะได้ซดน้ำได้ ไม่ลวกปาก

Serve ! ในชามเสิร์ฟจะมีโซบะมัทฉะ ไข่ต้ม 1 ฟอง แบบยังไม่ต้องสุกมาก เพราะไข่จะแห้งเกินไป และเห็ดหอม & บล็อคโคลี่ ย่างปริมาณตามชอบ ตกแต่งเพิ่มเติมด้วย โต้วเหมี่ยว และหอมญี่ปุ่นซอย ปริมาณตามชอบ โรยด้วยงาดำเล็กน้อยด้านบน

มาต่อกันที่อีกเมนูอย่าง

Green Tea Sesame Soba Noodles With Stir Fried Tofu

Let’s Cook : วอร์มเตาอบที่ 180c หั่นเต้าหู้เป็นก้อนสี่เหลี่ยม ขนาดประมาณ 1.5 ซม วางบนแผ่นรองอบ เข้าเต้าอบ 15 นาที แล้วลวกเส้นโซบะชาเขียวพักไว้ ผัดน้ำมันงา 1 ช้อนโต๊ะ + ขิงบด 2 ช้อนชา + น้ำส้มสายชู ½ ช้อนชา ผัดที่ไฟกลางให้หอม แล้วเอาเต้าหู้ที่อบเสร็จแล้วมาใส่ในกระทะ ใส่โชยุ 1 ช้อนโต๊ะ +  วาซาบิ ½ ช้อนโต๊ะ + มิโสะ 2 ช้อนชา ผัดจนเข้ากัน ปิดไฟ

Serve ! นำเต้าหู้ที่ผัดเสร็จแล้วมาใส่ในชามที่มีเส้นมัทฉะโซบะที่ลวกรอไว้แล้ว โรยหน้าตกแต่งด้วยงาขาวอีกที เป็นอันเรียบร้อย

Green Tea Sesame Soba Noodles With Stir Fried Tofu

แต่ถ้าใครอยากสลับเป็ฯใช้เส้นโซบะธรรมดา แต่ทานคู่กับซอสชาเขียว ลองใช้เป็นสูตรนี้แทน

Matcha Soba With Spicy Tofu Nuggets

Matcha Soba With Spicy Tofu Nuggets

Let’s Cook : เริ่มจากใส่น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ เปิดไฟกลาง ใส่หอมใหญ่สับละเอียดปริมาณตามชอบ และกระเทียมสับ 3 กลีบ ผัดจนหอม แล้วเอาไปเทใส่เครื่องปั่น เติมน้ำ 1 ถ้วย +เมเปิ้ลไซรับ 2 ช้อนโต๊ะ + เกลือ 1½ ช้อนชา + น้ำมะนาว 1 ช้อนชา+ ผงมัทฉะ 1 ช้อนชา + เม็ดมะม่วงหิมพานต์ดิบ ½ ถ้วย ปั่นให้เข้ากัน

นำเต้าหู้ หั่นชิ้นสี่เหลี่ยมไทอดในน้ำมันงาให้หอม ข้างนอกกรอบเล็กน้อย

Serve ! นำซอสครีมชาเขียว ไปคลุกกับเส้นโซบะที่ลวกไว้แล้วและเต้าหู้ทอดโรยหน้าด้วยหอมญี่ปุ่นซอย และงาขาวเล็กน้อย เป็นอันเรียบร้ออยอีกเมนูนึง ……อิตาดาคิมัส ทานแล้วนะคะ 🙂

ที่มา

https://foodie.sysco.com/recipes/matcha-soba-with-spicy-tofu-nuggets/

https://www.japancentre.com/en/recipes/1265-cold-green-tea-soba-noodles

shorturl.at/uIRX7

shorturl.at/mnCU2

shorturl.at/bqsxX

บทความจาก : Fuwafuwa

รวมสูตรไอศกรีมชาเขียวสำหรับทุกคน

ไอศกรีมชาเขียวเมนูที่ทำไม่ยาก แต่มีรายละเอียดเล็กน้อยที่ถ้าปรับส่วนผสมแค่เล็กน้อย จะส่งผลต่อรสชาติความเข้มข้นของชาเขียวอย่างร้านไอศกรีมชื่อดังแถวย่านอาซากุสะที่โตเกียวที่มีการทำไอศกรีมชาเขียวหลายระดับขาย แต่รอบนี้ไม่ต้องไปไกลถึงญี่ปุ่นก็เข้าครัวทำไอศกรีมชาเขียวอร่อยๆได้หลายระดับ แถมยังใช้สูตรเดียวกันนี้ไปปรับกับไอศกรีมชาโฮจิฉะได้เช่นกัน

ไอศกรีมมัทฉะ

สูตรเจือจาง   สูตรธรรมดา  สูตรเข้มข้น

ผงชาเขียว               2 g.            8 g.         14 g.

น้ำอุ่น                   10 g.          20 g.         40 g. >>> น้ำ จะใ้ช้อุณหภูมิประมาณ 80 องศา

น้ำตาล                 50 g.          50 g.         50 g.

นม                     200 g.       200 g.       200 g.

ครีมสด                 70 g.          70 g.         70 g.

matcha ice cream matcha ice cream

วิธีการทำไอศกรีมชาเขียวเริ่มจากนำผงชาเขียวมาละลายน้ำตีจนไม่เหลือผงชา เติมน้ำตาล ครีมสด นม ลงไปแล้วตีให้เข้ากัน นำเข้าช่องฟรีซ แล้วเอาออกมาคนทุกๆ 1 ชั่วโมงจนกว่าเนื้อจะเนียนเป็นอันเสร็จเรียบร้อย ซึ่งไอศกรีมชาเขียว คนญี่ปุ่นมักนิยมทานคู่กับดังโงะโมจิ แป้งนุ่มหนึ่บสไตล์ขนมญี่ปุ่น หรือจะเป็น ผลไม้สด อย่างสตอเบอรี่ หรือส้ม รวมถึงถั่วแดงกวน ที่มีความหวานเล็กน้อย เพื่อตัดความเข้มข้นของชาเขียว

หากใครลองทำตามสูตรนี้แล้วอยากได้ความเข้มข้น หรือเจือจางของชาเขียวแบบอื่นๆสามารถเทียบอัตราส่วนเพิ่มลดได้อีกตามชอบ

เพิ่มความอร่อยและแตกต่างให้ไอศกรีมชาเขียวแบบธรรมดาด้วย 3 สูตรแนะนำ ให้คุณต่อยอดเมนูชาเขียวให้ว้าว!! กว่าเดิม วิธีทำง่ายมากเพียงแค่นำส่วนผสมทั้งหมดปั่นเข้ากันแล้วนำไปแช่ช่องฟรีซ หมั่นเอาออกมาคนให้เนียน ใช้เวลาทั้งหมด ประมาณ 5-6 ชั่วโมงแล้วแต่ความเย็นของตู้เย็นแต่ละบ้านเริ่มด้วยVegan Matcha Avocado Ice Cream สูตรนี้เป็นเมนูวีแกน เหมาะสำหรับคนที่แพ้นมวัว

Vegan Matcha Avocado Ice Cream Vegan Matcha Avocado Ice Cream

ส่วนผสม

  • อะโวคาโดครึ่งลูก
  • นมอัลมอนด์ ¾ ถ้วย
  • อะกาเวไซรัป หรือ เมเปิ้ลไซรัป ¼ ถ้วย
  • น้ำมะนาว 1 ช้อนโต๊ะ
  • ผงชาเขียว 1 ช้อนโต๊ะ
  • เกลือ ½ ช้อนชา
  • เพิ่มท็อปปิ้งโรยหน้าทานคู่กับไอศครีมชาเขียวอะโวคาโดด้วยถั่วพิซาชิโอ้ ใบมิ้นต์ หรือโกโก้นิปส์ ก้ได้

ตามด้วยอีกเมนูที่กลิ่นหอมสดชื่นอย่าง Matcha Mint Chocolate Chunk Ice Cream

Matcha Mint Chocolate Chunk Ice Cream Matcha Mint Chocolate Chunk Ice Cream Matcha Mint Chocolate Chunk Ice Cream

ส่วนผสม

  • ครีม 1 ถ้วยครึ่ง
  • ผงชาเขียว 4 ช้อนชา
  • นมจืด 1 ถ้วย
  • ไข่แดง 4 ใบ
  • น้ำตาล ½ ถ้วย
  • เกลือ หยิบมือ
  • ใบมิ้นต์ 1 ถ้วย
  • ดาร์คช็อคโกแลต 70% 100 กรัม

วิธีทำ

  1. นำไข่แดง เกลือ น้ำตาลผสมให้เข้ากัน ตีจนขึ้นฟูเนียน อุ่นนมด้วยไฟกลาง แล้วเทนมลงส่วนผสมของไข่ค่อยๆตี พอเริ่มเข้ากันใส่ครีมและผงชาเขียวลงไป คนต่อเนื่องช้าๆจนเนียนเป็นเหมือนเนื้อคัสตาร์ด
  2. นำใบมิ้นต์ใส่ตะแกรงแล้วเอาน้ำร้อนเทลงไปประมาณครึ่งถ้วย พอใบมิ้นต์เหี่ยว ให้เอามาช้อนบดใบมิ้นกับตะแกรงบีบน้ำออกจากใบให้มากที่สุดใส่ลงไปในข้อ 1 ส่วนใบมิ้นต์ที่เป็นกากที่เหลือนำไปปั่นให้ละเอียด เทผสมลงไปในข้อ 1 คนให้เข้ากัน แล้วนำไปเข้าตู้เย็น วิธีนี้จะทำให้ได้ไอศครีมมิ้นต์แท้ๆที่ไม่ต้องแต่งกลิ่น หรือใช้สีสังเคราะห์
  3. นำไปเข้าช่องฟรีซ มันเอาออกมาคนทุกๆ 1 ชม. หลังจากนำออกมาคนรอบที่ 2 ให้เทดาร์คช็อคโกแลตครึ่งนึงที่นำไปละลายไว้ก่อนแล้วลงไป แล้วคนให้เข้ากันอีกครั้ง แช่ช่องฟรีซต่อเหมือนเดิม
  4. หลังจากไอศครีมเซ็ตตัว โรยดาร์คช็อคโกแลตที่แบ่งไว้ที่เหลือด้านบนไอศครีม ใช้ที่ตักไอศครีมตักม้วนทั้งไอศครีมชาเขียวมิ้นต์ และดาร์คช็อคโกแลตเข้าด้วยกัน เสิร์ฟใส่ถ้วยหรือโคน ตกแต่งด้วยใบมิ้นต์อีกครั้งเพื่อเพิ่มความสดชื่นและให้กลิ่นหอม

เมนูสุดท้ายที่อยากแนะนำเป็นHoney Matcha Raspberry Ice cream

Honey Matcha Raspberry Ice cream

ส่วนผสม

  • ผงชาเขียว 2 ช้อนโต๊ะ
  • นมอัลมอนด์ ¾ ถ้วย
  • น้ำผึ้ง ¼ ถ้วย
  • น้ำมะนาว 1 ช้อนโต๊ะ
  • ราสเบอรี่แช่แข็ง 1 ถ้วย

ที่มา

http://www.chopstickchronicles.com/matcha-green-tea-ice-cream/

https://www.diannesvegankitchen.com/2019/03/10/vegan-matcha-avocado-ice-cream/

https://momentsofsugar.com/2019/03/10/pistachio-cardamom-matcha-ice-cream/

https://bojongourmet.com/matcha-mint-chip-ice-cream/#wprm-recipe-container-25879

บทความจาก : Fuwafuwa

ชาเขียวจับคู่กับอะไรก็อร่อย

การเติมสมุนไพร ผลไม้ หรือ ดอกไม้ ลงไปในเครื่องดื่มชา เป็นการต่อยอดเมนูชา จากรสชาติออริจินัล ให้มีสีสัน รสชาติ กลิ่น ที่เปลี่ยนไป เพิ่มความน่าสนใจแปลกใหม่ให้ผู้ที่ชื่นชอบการลองของใหม่ การเติมสิ่งต่างๆเหล่านี้ อาจจะส่งผลต่อการลดคุณประโยชน์ของชาที่ควรได้รับอย่างเต็มที่ลงไปบ้าง แต่เมนูเหล่านี้เหมาะกับการเสิร์ฟในคาเฟ่ที่บรรยากาศดีๆ ให้ลูกค้าได้รู้สึกผ่อนคลายจากความเครียดและความเหนื่อยล้าจากการทำงานได้เป็นอย่างดี เพราะของอร่อยๆย่อมทำให้คนยิ้มได้

มาลองดูกันมานอกจากชาเขียวผสมนมที่เป็นมัทฉะลาเต้แล้ว เมื่อไปมิกซ์กับส่วนผสมอื่นๆอย่างอัญชัน

สตอเบอรี่ กุหลาบ หรือสับปะรด จะต้องใช้ส่วนผสม หรือวิธีทำยังไงบ้าง

Matcha Hot Chocolate

Matcha Hot Chocolate

ส่วนผสม :

  • นมจืด 2 ถ้วย
  • ไวท์ช็อคโกแต ½ ถ้วย
  • ผงมัทฉะ 1 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ
  • เกลือ 1 ช้อนชา
  • มาชแมลโล่เบิร์นไฟเล็กน้อย

Start :อุ่นนมมในไฟกลางให้พออุ่น ใส่ไวท์ช็อคโกแลตลงไปคนจนละลาย เติมผงมัทฉะ น้ำผึ้ง เกลือ ลงไปคนให้เข้ากัน เทใส่แก้วเสิร์ฟ หรือจะท็อปปิ้งด้วยมาร์ชแมลโล่เล็กน้อยตามชอบ ก็จะได้ชาร้อนๆพร้อมเสิร์ฟ

Iced Matcha Rose Latte

Iced Matcha Rose Latte

ส่วนผสม :

  • นมจืด ½ ถ้วย
  • น้ำร้อน½ ถ้วย
  • ผงมัทฉะ 1 ช้อนชา
  • สีกุหลาบ 2 ช้อนโต๊ะ
  • กลิ่นกุหลาบ 1 ช้อนโต๊ะ
  • กลีบกุหลาบอบแห้ง

Start :ผสมสีกุหลาบกับนมจืด ด้วยการใส่ shaker และเขย่าให้เข้ากัน จนกลายเป็นสีชมพูแล้วเทลงในน้ำแข็งที่เตรียมไว้ ตีผงมัทฉะกับน้ำจนละลายแล้วเทลงทับนมกุหลาบในแก้ว โรยกลีบกุหลาบอบแห้งตกแต่งด้านบน

Layered Iced Watermelon Matcha

Layered Iced Watermelon Matcha

ส่วนผสม :

  • แตงโมหั่นชิ้นสี่เหลี่ยม 2 ถ้วย
  • น้ำเย็นครึ่งถ้วย
  • ผงมัทฉะ 1 ช้อนชา
  • น้ำแข็ง
  • แตงโมหั่นชิ้นสำหรับตกแต่ง

Start : ปั่นเนื้อแตงโมให้เป็นสมูตตี้ เชคผงมัทฉะกับน้ำเย็นด้วยshaker 10 วินาที เอาน้ำแตงโมที่ปั่นใส่แก้วครึ่งแก้ว เทชาเขียวที่เชคแล้วลงไป แล้วเทสมูตตี้แตงโมทับอีกชั้นให้เห็นเป็น layer สีตัดกัน

Matcha Pineapple Smoothie

Matcha Pineapple Smoothie

ส่วนผสม :

  • กล้วยหอม 1 ลูก
  • สับปะรด 1 ชิ้นใหญ่
  • ผักโขม 1 ใบ
  • ผงชาเขียว ½ ช้อนชา
  • นมถั่วเหลือง ½ ถ้วย
  • น้ำมะนาว 2 ช้อนชา
  • น้ำแข็ง

Start : เอาส่วนผสมทุกอย่างปั่นเข้าด้วยกัน พร้อมเสิร์ฟ

Banana Matcha Smoothie

Banana Matcha Smoothie

ส่วนผสม :

  • กล้วยหอมแช่ฟรีซ 1 ถ้วย
  • ผงมัทฉะ 1 ช้อนชา
  • ผักโขม 1 ถ้วย
  • แฟล็กซีด 1 ถ้วย
  • กลิ่นวานิลลา 1 ช้อนชา
  • นมอัลมอนด์ ¾ ถ้วย

Start : เอาส่วนผสมทุกอย่างปั่นเข้าด้วยกัน พร้อมเสิร์ฟ

Butterfly Pea Flower Matcha Lemonade

Butterfly Pea Flower Matcha Lemonade

ส่วนผสม :

  • น้ำ 1 ถ้วย ผสมน้ำตาลครึ่งถ้วยและน้ำมะนาว1/4 ถ้วยอุ่นเข้าด้วยกัน
  • ดอกอัญชัน 2 ช้อนชา ต้มกับน้ำ 1 ถ้วย 3-5 นาทีเพื่อให้สีออก
  • ผงมัทฉะ 2 ช้อนชา
  • น้ำอุ่น1 ถ้วย

Start : นำน้ำมะนาวที่ผสมแล้ว เทผสมกับน้ำอัญชันสีฟ้าที่ได้จากการต้ม สีน้ำมะนาวจะเปลี่ยนเป็นสีม่วง เทให้ได้สัดส่วน ⅔ ของแก้ว ตีมัทฉะกับน้ำจนละลาย เทใส่น้ำมะนาวอัญชันด้านบนจนเต็มแก้ว

Matcha Ginger Beer

Matcha Ginger Beer

ส่วนผสม :

  • 1 bottle ginger beer
  • ผงมัทฉะ 1 ช้อนชา

Start : นำผงมัทฉะละลายน้ำโดยให้ผสม ginger beer 4 ช้อนชา เข้าไปตีให้เข้ากัน แล้วเทลงในแก้วทรงสูงแล้วเติมginger beer ลงไปให้เต็มแก้ว

ไอเดียใหม่ๆหาได้ง่ายๆทุกวัน หยิบโน่นผสมนี้ทดลอง จดบันทึกในทุกรายละเอียด เพียงเท่านี้ร้านของคุณก็จะมีเมนูใหม่น่าทานมาให้ลูกค้าได้ผลัดกันแวะเวียนมาชิมเรื่อยๆเอง

ที่มา

https://www.ohhowcivilized.com

https://matchazuki.com/

https://www.feastingathome.com/matcha-green-tea-and-pineapple-smoothie/

บทความจาก : Fuwafuwa

รวมเทคนิคการถ่ายชวนลูกค้าเข้าร้าน

ยุคโซเชียลแบบนี้ภาพที่เราใช้โพสต์ลงโซเชียลของร้าน ส่งผลต่อลูกค้าอย่างมาก ยิ่งภาพสวย ดูแล้วน่าทาน ยิ่งทำให้ลูกค้าอยากเข้ามาลองมากขึ้น มาดูเทคนิคการถ่ายภาพที่ใครเห็นแล้วก็อยากเข้าร้าน โดยต้องคำนึงไว้เวลาถ่ายว่า ถ่ายอย่างไรให้เพื่อนหิว ทำได้โดยการเข้าไปใกล้ๆ แล้วดูว่าในจานนี้มีสิ่งใดที่น่าจะยั่วน้ำลายได้ดีที่สุด ซูมถ่ายโดยให้สิ่งสิ่งนั้นเด่นที่สุดไปเลย

matcha matcha

1. เน้นใช้สีโทนอุ่นในการถ่าย  ลดแสงสว่างของภาพลงหน่อย แต่อย่าลดมากเกินไปจะทำให้อาหารดูหมอง ไม่เห็นรายละเอียดของสิ่งที่กำลังถ่าย ถ้าจะให้ดีให้ใช้แสงธรรมชาติจะดีที่สุด พยายามเลี่ยงการใช้แฟลชของมือถือที่ใช้ถ่ายภาพ เนื่องจากจะทำให้เกิดเงา และทำให้อาหารดูแบน ไม่มีมิติ หากแสงไม่พอจริงๆ ควรใช้มือถือเครื่องอื่นส่องไฟมาในระยะห่างๆ จะดีกว่า  และให้ความสำคัญกับเงาจกแสงธรรมชาติ เพราะจะทำให้ภาพเูสมจริง น่าค้นหามากขึ้น

matcha shooting

2.ถ่ายด้วยมุมที่เรานั่งทานอาหาร และมี Action กับอาหารบ้างเป็นการช่วยเพิ่มชีวิตชีวาและเรื่องราวให้กับภาพถ่าย การจับภาพช่วงเวลาต่างๆ เช่น ขณะกำลังเทนมลงในแก้วชา ขณะที่กำลังจะยกชาขึ้นมาดื่ม เห็นมือ หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายบ้าง จะทำให้ภาพดูมีมิติมากขึ้น

shooting shooting shooting

3.ทำขนาดภาพเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสเป็นขนาดอัตราส่วน 1:1 หรือ Square เป็นที่นิยมค่อนข้างมาก เพราะรูปขนาดนี้จะช่วยทำให้เราเห็นดีเทลของอาหารได้ชัดขึ้น เห็นได้ใกล้ขึ้น ก็จะดูน่าทานมากขึ้นไปด้วย

4.ลองเพิ่มองค์ประกอบอื่นๆเข้าไปในภาพ ภาพอาหารแบบที่ใส่ในจานหรือถ้วยแบบเดิมๆอาจจะดูน่าเบื่อเกินไปสำหรับบางคน ลองวางของตกแต่งอื่นๆที่แปลกตาไว้ข้างๆจาน อาจจะเป็นของที่เกี่ยวข้องกันอย่างฉะเซน กาชา ในขณะชงชา หรือ ต้นไม้  ผ้าสวยๆสักผืน ขณะดื่มชา จะช่วยสร้างบรรยากาศใหม่ๆ และทำให้ภาพดูสวยแปลกตาขึ้นได้

shooting shooting shooting

5.ถ่ายภาพจากด้านบนตรงๆ เพื่อเน้นสีสันและรูปทรง โดยถ่ายภาพจากด้านบนตรงๆเช่น จากมุมสูงเมื่อคุณสามารถหาตำแหน่งถ่ายภาพได้แล้ว ขยับเข้าใกล้ให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ แม้ว่าบางส่วนของจานจะต้องหลุดเฟรมภาพไปก็ตาม แต่จะทำให้อาหารเครื่องดื่มนั้นๆ ดูน่าทานมากยิ่งขึ้นจะทำให้เห็นรายละเอียดของอาหารครบ และดูน่ารับประทาน มากกว่าการถ่ายแนวราบ หรือ 45 องศา ที่อาจจะเห็นเพียงแค่บางส่วน 

shooting shooting

6.หาจุดเด่นของภาพ จัดภาพให้เมนูที่ต้องการเด่นนั้นดูชัด ใช้สีพื้นหลังเรียบๆ เช่น นำมาวางด้านหน้า หรือถ่ายโดยเน้นจานนั้นเป็นพิเศษ ก็จะทำให้ภาพไม่ดูรกจนเกินไป การเว้นที่ว่างในภาพบ้างก็ช่วยเพิ่มความสบายตา และทำให้เมนูที่ต้องการเน้น เห็นชัดมากขึ้น

shooting

  1. อย่าลืมที่จะถ่ายภาพเมนูอาหารให้เห็นบรรยากาศของที่ร้านบ้างเพื่อให้คนที่เห็นภาพร้านเราในโซเชียล ได้ซึมซับบรรยากาศร้านที่ตกแต่งอย่างสวยงามกับเครื่องดื่ม ขนมที่ดูน่าทาน ว่าถ้าได้ไปอยู่ที่ร้านนั้นจริงๆ จะรู้สึกดีแค่ไหน

ลองปรับสไตล์การถ่ายภาพเมนูที่ร้านของคุณให้เหมาะกับบรรยากาศร้าน และคอนเซปต์ของร้าน ก็จะช่วยให้เมนูนั้นๆน่าทานมากยิ่งขึ้นได้นะ ^^

ที่มา

https://www.pinterest.com/pin/374713631499402090/

https://www.flickr.com

https://www.ohhowcivilized.com/matcha-latte/

http://matchaeologist.com/

https://www.notonthehighstreet.com

https://tendingthetable.com

บทความจาก : Fuwafuwa

ชา กับ กาแฟ เครื่องดื่มที่เป็นที่นิยม

ถ้าพูดถึงเครื่องดื่มที่เป็นที่นิยมทั่วโลก คงหนีไม่พ้น ชาและกาแฟเห็นได้จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่ให้ความนิยมเครื่องดื่ม 2 ชนิดนี้มากขึ้น ไม่ว่าจะไปที่ไหนๆ ก็มีร้านชา หรือกาแฟ เต็มไปหมด แน่นอนว่า ทั้งชาและกาแฟมีคาเฟอีนเหมือนกันทั้งคู่ ซึ่งหลังจากเราดื่มชาหรือกาแฟเข้าไปแล้วจะรู้สึกตื่นตัวด้วยฤทธิ์ของคาเฟอีน และรู้สึกว่ากระหายน้ำ เพราะร่างกายจะพยายามกำจัดคาเฟอีนที่สูงออกไปนั่นเอง หากเปรียบเทียบปริมาณคาเฟอีนระหว่างใน 1 แก้ว ระหว่างชากับกาแฟ กาแฟจะมีปริมาณคาเฟอีนอยู่ที่ 90-170 มิลลิกรัม ส่วนชาจะมีคาเฟอีนอยู่ที่ 25-70 มิลลิกรัม จะเห็นได้ว่าปริมาณในชาพบได้น้อยกว่ามาก ดังนั้นคนที่มองหาตัวเลือกเพื่อสุขภาพ ก็อาจจะเลือกชาเป็นตัวเลือกแรก

ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่าชา หรือกาแฟอันไหนดีกว่ากัน แต่ตามหลักความเป็นจริงแล้ว ทั้ง 2 ชนิดมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะการดื่มของแต่ละคนด้วย หากดื่มในสัดส่วนที่พอดี จะให้ประโยชน์ต่อร่างกาย แต่หากดื่มในปริมาณมากๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ เช่น มะเร็งหลอดอาหารที่มาจากการดื่มชา โรคกระดูกพรุนจากการดื่มกาแฟ เป็นต้น

coffee

อย่างไรก็ตาม ชาและกาแฟก็มีประโยชน์ต่อร่างกายในด้านอื่นๆเช่นกัน เช่น เมื่อคุณมีอาการหนาว สิ่งที่ควรดื่มคือกาแฟเพราะหลังจากดื่มเพียงแค่ 10 นาที คาเฟอีนในกาแฟจะทำให้มีการเต้นของหัวใจและความดันเลือดที่ดีขึ้น และสิ่งที่ผสมลงไปในกาแฟ เช่น พวกนม น้ำตาล ยังกลายเป็นพลังงานซึ่งทำให้ร่างกายอุ่นขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้ ประโยชน์ของการดื่มกาแฟ ยังช่วยในเรื่องของการลดความเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์ ลดอาการปวดหัวไมเกรนได้ ลดความเสี่ยงเป็นโรคเกาต์ในผู้ชายได้ และหากดื่มในปริมาณที่เหมาะสม สามารถลดความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้ด้วย นอกจากนี้ในกาแฟมีโพแทสเซียมและฟอสฟอรัสสูงกว่าชา ซึ่งช่วยในเรื่องของการบำรุงกระดูก

สเน่ห์ของกาแฟ ที่คอกาแฟชื่นชอบกัน คือ กลิ่นหอมของการคั่วกาแฟจะไปทำปฏิกิริยากับโปรตีนในสมอง ตัวที่เกี่ยวกับความเครียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเครียดที่เกิดจากการนอนไม่หลับ แค่ได้กลิ่นกาแฟก็จะผ่อนคลายลง

ข้อควรระวังในการดื่มกาแฟ คือ กาแฟมีปริมาณคาเฟอีนสูงกว่าชา ถ้าดื่มมากเกินไปเกิน 3-4 แก้วต่อวัน หรือ 400 มิลลิกรัม อาจทำให้เกิดอาการหัวใจเต้นเร็ว หรือเต้นผิดจังหวะ วิตกกังวล รวมถึงอาการนอนไม่หลับได้ นอกจากนั้นยังทำให้ฟันเหลืองอีกด้วย หากดื่มกาแฟเกินวันละ 8 แก้วต่อวัน ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่มากเกินไปจะเพิ่มอัตราการแท้งบุตรได้ และกาแฟยังไปลดการไหลเวียนของเลือดเข้าสู่หัวใจอีกด้วย

การดื่มกาแฟขณะที่ท้องว่าง อาจทําให้ปฏิกิริยาตอบสนองต่อกาเฟอีนรุนแรงขึ้น และในขณะเดียวกันอันตรายจากการระคายเคืองในกระเพาะอาหารก็จะสูงขึ้นด้วย ซึ่งหมายความว่า หากไม่ต้องการเสี่ยงต่อโรคกระเพาะอาหารอักเสบหรือใจสั่นก็ไม่ควรดื่ม

Tea or Coffee

ในทางกลับกัน หากคุณต้องการให้อารมณ์ดีขึ้น ต้องการความรู้สึกผ่อนคลาย สิ่งที่คุณควรดื่มคือ ชาเพราะกลิ่นของชาจะช่วยทำให้ใจเย็น และผ่อนคลาย เช่น ชามะลิ หรือ ชาผลไม้ หรือไม่ก็ชาเขียวเองก็ตาม แนะนำให้ก่อนดื่ม สูดกลิ่นที่ของชาร้อนๆก่อน แล้วค่อยๆจิบ แค่นี้ก็ช่วยสร้างรอยยิ้มในยามบ่ายได้ดี นอกจากนั้นแล้ว ชายังมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยต้านโรคมะเร็งได้  ช่วยป้องกันโรคมะเร็งและช่วยบำรุงผิวพรรณ ทำให้ไม่แก่ง่าย การดื่มชา 4 ครั้งต่อวันอย่างต่อเนื่อง 6 สัปดาห์ จะช่วยลดระดับฮอร์โมนความเครียดได้ นอกจากนี้ชายังมีส่วนช่วยในการลดโรคมะเร็งหลอดอาหารในผู้หญิงได้ถึง 60% ชาสามารถช่วยกระตุ้นระบบประสาท ช่วยหมุนเวียนโลหิตได้ ทำให้ร่างกายทำงานได้ตามปกติ ป้องกันไขมันส่วนเกินสะสมในร่างกาย ลดอาการของโรคอัลไซเมอร์ได้เช่นเดียวกับกาแฟ อีกทั้งยังเพิ่มฤทธิ์ในการรักษาโรคไมเกรนได้ด้วยเช่นกัน

แต่หากดื่มชามากเกินไปทำให้เป็นโรคกระดูกพรุน และในชายังมีสารทานินจำนวนมาก ซึ่งสารตัวนี้จะช่วยลดการดูดซึมธาตุเหล็ก ทำให้เสี่ยงเป็นโรคโลหิตจางได้ หากดื่มชาร้อนมากไป อาจทำให้เสี่ยงเป็นโรคมะเร็งหลอดอาหารได้อีกด้วย

ชาแต่ละชนิด ก็มีปริมาณคาเฟอีนที่แตกต่างกันไปอีก อย่างชาดำจะมีปริมาณคาเฟอีนมากที่สุด เฉลี่ย  23 – 110 มิลลิกรัม รองลงมาเป็นชาอูหลง อยู่ที่ 12 – 55 มิลลิกรัม และชาเขียว 8 – 36 มิลลิกรัม ตามด้วย ชาขาว ที่มีแค่ 6 – 25 มิลลิกรัม

Tea

จะเห็นว่าทั้งชา และกาแฟ มีประโยชน์และโทษด้วยกันทั้งคู่ หากดื่มในปริมาณที่มากเกินไป ดังนั้นการเลือกดื่มในปริมาณที่เหมาะสม ส่วนใครที่เป็นสายรักสุขภาพ ก็จะนิยมหันมาบริโภคชา มากกว่ากาแฟ เพราะในชายังมีสารที่สําคัญอื่นๆ อีก เช่น แทนนิน คาเทชิน เพิ่มเติ่มอีก หรือหากต้องการดื่มชา หรือ กาแฟ จริงๆ แนะนำให้ชงดื่มเองได้ ก็จะยิ่งดีต่อร่างกาย เพราะสามารถควบคุมปริมาณนม น้ำตาล ครีม ที่เป้นสาเหตุให้เกิดโรคอ้วนได้

ที่มา

https://www.sweetrevolution.co.uk/

https://www.pinterest.com/pin/841962092818083327/

บทความจาก : Fuwafuwa

การทำไส้ขนมจากผงชาเขียวมัทฉะ

เทคนิคในการดัดแปลงส่วนผสมและสูตรต่างๆให้เป็นรสชาติที่หลากหลาย เป็นสิ่งที่เจ้าของร้านขนมและร้านคาเฟ่ควรรู้ บางครั้งหลายคนไปเรียนทำขนมมา แต่พอต้องการดัดแปลงขนมที่เรียนมาเป็นรสชาติที่ต้องการ กลับใส่ส่วนผสมไม่ถูก

การทำครีมชาเขียวเป็นไส้ขนม บางเจ้าก็นิยมซื้อสำเร็จตามที่มีขายอยู่แล้วในท้องตลาดมาใช้เลยเพื่อความสะดวก แต่รสชาติความเข้มข้นรวมทั้งสีของชาเขียว อาจจะไม่ได้เป็นอย่างที่ตั้งใจไว้

Matchazuki เลยอยากจะมาแชร์ การทำไว้ครีมชาเขียวอย่างง่าย และถ้าใครเป็นคอชาโฮจิฉะ ก็สามารถเปลี่ยนผงชาเขียวตามสูตรเป็นผงชาโฮจิฉะได้ในปริมาณเท่าๆกัน แต่แนะนำให้การทำขนมใช้ผงชาเขียวจะอร่อย สีสวย และได้รสชาติที่ดีกว่าใช้ชาใบ

ไส้มัทฉะ ไส้มัทฉะ

หากใครอยากลองทำไส้คัสตาร์ดชาเขียวเอง ลองทำได้ง่ายๆเพียงแค่อุ่นนม 125 ml. ในหม้อ แค่พออุ่นๆ ไม่ถึงกับต้องเดือด ดูถ้ามีไอลอยขึ้นมาก็ปิดไฟเลย หลังจากนั้น ตีไข่แดง 1 ฟอง กับน้ำตาล 35 กรัม จนเป็นสีเหลืองอ่อน ร่อนแป้งเค้ก 13 กรัม กับผงชาเขียว 1 ช้อนชา 5 กรัมลงไปตีต่อ จากนั้นค่อยๆเทนมอุ่นลงไปผสมลงไปในหม้อ อุ่นด้วยไฟเบา คนด้วยไม้พายตลอดเวลา จนครีมเริ่มข้น ถ้าเห็นมีฟองขึ้นมาปุ๊บ อุ่นอีก 1 นาทีแล้วปิดไฟเลยค่ะ จากนั้นใส่เนยลงไป คนจนเนยละลายเข้ากัน หลังจากนั้นเทครีมใส่จานแบนๆ ปิดด้วยแรปใสแล้วเอาเข้าตู้เย็นแช่ไว้สัก 1 ชม.เนื้อครีมประเภทนี้จะมีความหนืดเหมือนเวลาเราทานซาลาเปาไส้ครีม เหมาะกับเอาไปเป็นไส้ขนมปัง หรือทำไส้พายนั้นเอง

matcha cream

แต่ถ้าเป็นครีมชาเขียว เนื้อสัมผัสนุ่มละมุน ไว้ปาดเป็นไส้เค้กอย่างเครปเค้ก ไส้ชูครีม หรือไส้โรลเค้ก ตัวไส้กลุ่มนี้ครีมจะมีลักษณะที่เป็นเนื้อบางเบา นุ่มละมุนลิ้น ทานได้เรื่อยๆ ไม่หนักหรือเลี่ยน เพราะเกิดจากวัตถุดิบอย่างง่ายเพียงแค่ 3 อย่าง ได้แก่ วิปปิ้งครีม 400 มิลลิลิตร ผงชาเขียว 1/3 ถ้วย และ น้ำตาลทราย 1/3 ถ้วยที่มาเทผสมกัน แล้วตีด้วยหัวตีตะกร้อ จนตั้งยอดอ่อนวิธีการสังเกตว่าเป็นยอดอ่อนคือ มือหยุดตีแล้วยกหัวตะกร้อขึ้น ตัวครีมที่ปลายตะกร้อจะงอลงเล็กน้อย เนื้อครีมแบบนี้จะมีความนุ่มละมุน มักนิยมใช้กับเบเกอรี่สไตล์ญี่ปุ่น แต่ถ้าตีนานเกินไป ไส้ครีมชาเขียวนุ่มๆของเราจะกลายเป็นครีมเนื้อหนักที่ไว้ปาดรอบเค้กเพื่อตกแต่งหรือบีบครีมขึ้นรูปเป็นลวดลายต่างๆ

matcha cream

หรือถ้าเป็นเสปรดชาเขียวที่ไว้ทานคู่กับขนมปังนั้นแค่นำผงชาเขียว 12 g นมจืด 50 ml นมจืด 150 ml วิปครีม 100 ml น้ำตาลทราย 40 g ผสมรวมกันในหม้อ เคี่ยวใช้ ’ไฟอ่อน 15 นาที สังเกตได้ว่าส่วนผสมจะลดลง 50% และมีความหนืดขึ้นั้นเอง

matcha custard

แต่ถ้าเป็นพวกไส้ชาเขียวลาวา วิธีทำเริ่มจากผสมผงเจลาติน 1 ½ ช้อนชา กับน้ำ  2 ช้อนโต๊ะ คนให้เข้ากันแล้วพักไว้ จากนั้นตีไข่ไก่ 2 ฟอง น้ำตาล ½ ถ้วย และแป้งข้าวโพด 4 ช้อนโต๊ะ เข้าด้วยกัน แล้วพักไว้ ใส่นม 2 ถ้วย วิปปิ้งครีม  1 ถ้วย ผงชาเขียว  ¼ ถ้วย และเกลือ ½ ช้อนชา ลงไปในหม้อตั้งไฟอ่อน ใช้ตะกร้อมือคนให้เข้ากันจนผงชาเขียวละลายดี แล้วจึงเทส่วนผสมของไข่ไก่ตามลงไป คนจนส่วนผสมข้นขึ้นมา เมื่อส่วนผสมนมข้นขึ้นแล้วให้ปิดไฟ จากนั้นใส่เจลาติน และเนยที่เตรียมไว้ลงไปคนให้เข้ากัน นำไปพักในตู้เย็นจนกว่าจะเย็น นำมาใส่ขนมปัง ซาลาเปา หรือขนมที่ต้องการให้เป็นไว้ลาวาได้เลย ตัวนี้ที่เป็นไส้ลาวาได้เพราะมีการใช้เนยในการทำไส้นั้นเอง เวลาอุ่นร้อนๆ หั่นขนมออกมา มันจึงมีลักษณะไหลเยิ้มเป็นลาวา

หากใครมีสูตรขนมอื่นๆแล้วต้องการทำเป็นรสชาติชาเขียวแต่ไม่รู้จะเริ่มปรับยังไง อย่างเช่นมีสูตรไส้ช็อคโกแลต ก็สามารถเปลี่ยนผงโกโก้ ให้เป็นผงชาเขียวได้เลยในปริมาณที่เท่ากัน หรือถ้าใครที่อยากได้ความเข้มข้นหรือสีที่ชัดขึ้น ริ่มแรก ให้ลองแอดผงชาเขียวเข้าไปครั้งละ 2-5 กรัมก่อน เพื่อให้รสขมชาเขียวไม่โดดจนเกินไป หรือถ้าใครแพ้นมวัว ก็สามารถเปลี่ยนนมวัวเป็นนมถั่วเหลืองได้เช่นกัน ทีนี้เราก็จะปรับเปลี่ยนดัดแปลงขนมให้มีหลากหลายเอาใจ MATCHA LOVER กันได้ง่ายๆไม่ต้องพึ่งไส้สำเร็จที่อาจจะใส่สารกันบูด แต่งกลิ่น และใช้สีเขียวสังเคราะห์แทนผงมัทฉะแท้ๆ 🙂

ที่มา

https://www.proportionalplate.com/dalgona-matcha-latte/

http://www.matcha.my/Blog/matcha-milk-jam-recipe

https://www.oliveandartisan.com/การทำไส้ขนมจากผง Matcha

https://minimalistbaker.com/vegan-matcha-buttercream-frosting-1-bowl/

บทความจาก : Fuwafuwa

กลิ่นหอมที่แตกต่างของ “เก็นไมฉะ”

ถ้าพูดถึงชาเขียวของญี่ปุ่น หลายคนคงนึกถึง “มัทฉะ” เป็นชื่อแรก เพราะ “มัทฉะ” เป็นชาเขียวชั้นดีที่นิยมใช้ในพิธีชงชาของชนชั้นสูงในญี่ปุ่น ด้วยกรรมวิธีการบดยอดอ่อนใบชาอย่างพิถีพิถัน จนได้รสชาติที่กลมกล่อม ส่วนชาเขียวอีกประเภทหนึ่งที่คนทั่วโลกนิยมดื่มกันมากที่สุด ด้วยรสชาติที่สดชื่น ดื่มง่ายอย่าง “เซนฉะ” แต่มีชาเขียวอีกหนึ่งประเภทที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยกลิ่นหอมที่แตกต่างจากชาประเภทอื่นของ “เก็นไมฉะ”

genmaicha genmaicha

เก็นไมฉะ ( 玄米茶: Genmaicha)  เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนอยู่น้อยมาก ถือว่าน้อยกว่าชาเขียวประเภทอื่นๆเลยก็ว่าได้ จึงสามารถดื่มได้ทุกที่ทุกเวลา และทุกเพศทุกวัย แถมราคายังไม่แพงชงง่าย

เก็นไมฉะ แตกต่างจากชาเขียวประเภทอื่นที่เห็นได้ชัดอีกประการ คือ กลิ่นหอมที่เกิดจากการเบลนด์ชาร่วมกับข้าวคั่วนั่นเองเห็นได้จากสีของใบชาที่ไม่ได้มีสีน้ำตาลเหมือนสีข้าวคั่ว 100% และก็ไม่ได้เขียวมากเหมือนสีของใบชาเขียวปกติ แต่จะเป็นสีเหลืองทอง ที่เกิดจากข้าวคั่วที่นำมาผสมผสานกันในเก็นไมฉะ ข้าวที่ต้องคัดสรรสายพันธุ์ดีงามของญี่ปุ่น ผ่านกรรมวิธีการคั่วด้วยอุณหภูมิที่เหมาะสม แล้วมาตากแห้งและอบเข้ากับใบชา ในอัตราส่วน 1 : 1  ผสมผสานกันออกมาเป็นชากลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์หาไม่ได้จากชาเขียวประเภทอื่น รสชาติที่ฝาดกำลังดี หวานน้อย การดื่มเก็นไมฉะคู่กับเมนูอื่นๆ ก็นับเป็นตัวเลือกที่เข้ากันได้ดีทีเดียว

รสชาติที่ดีของเกนไมฉะ ส่วนนึงมาจากคุณภาพของข้าว มากกว่าคุณภาพของใบชา การนำข้าวกล้องไปคั่วต้องระวังอย่าให้แตก เหมือนกับป็อบคอร์น เรียกว่า “ข้าวตอก” เพราะถ้าแตกมากคุณภาพความอร่อยของชาขะลดลงเมื่อนำไปผสมกับชาเขียว

ส่วนคุณค่าทางสารอาหารก็มีเยอะไม่แพ้ชาเขียวประเภทอื่นๆ ไล่มาตั้งแต่เก็นไมฉะมีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ช่วยในเรื่องปรับสมดุลระบบความดันโลหิต ช่วยลดความเสี่ยงจากมะเร็งและโรคหัวใจได้อีกด้วย

genmaicha

มีบางตำราที่เล่ากันว่าเกนไมฉะเกิดจากพ่อค้าชาชาวญี่ปุ่นคนหนึ่งในสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง รู้สึกเสียดายข้าวหลังจากนำไปเซ่นไหว้บรรพบุรุษ จึงนำมาคั่วแล้วนำมาผสมกับชานั่นเอง แต่ก็มีบางตำราเล่าว่ากิดขึ้นที่เมืองเกียวโต เมื่อพ่อค้าใบชาเขียวผู้มั่งคั่ง และเต็มเปี่ยมด้วยความคิดสร้างสรรค์ จับเอาวัตถุดิบต่างๆ มาผสมผสานเข้ากับใบชาเขียว เพื่อให้ได้ความพรีเมียมที่แปลกใหม่ วันหนึ่งพ่อค้าใบชาเขียวนึกสนุก จึงทดลองนำข้าวคั่วและใบชาเขียวมาลองชงดื่มดู จนได้มาซึ่งเก็นไมฉะที่มีทั้งกลิ่นและรสชาติไม่เหมือนใคร

ชาที่นำใบชาเขียว มาผสมกับข้าวกล้อง โดยข้าวกล้องที่นำมาผสมจะถูกนำไปนึ่ง แล้วนำมาผัดจนมีสีน้ำตาลอ่อน ผสมกับใบชาในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 นั่นคือเหตุผลหลักที่เวลาเราดื่ม” เกนไมฉะ ” (玄米茶: Genmaicha) หรือ “ชาข้าวกล้องคั่ว” จะได้กลิ่นหอมที่ไม่เหมือนชาเขียวประเภทอื่น นั่นเอง จริงๆแล้ว” เกนไมฉะ ” เป็นชาธรรมดา ราคาไม่แพง เวลาชง ต้องชงด้วยน้ำร้อน 100 องศาเซลเซียส ในเวลาเพียง 30 วินาที เพราะถ้าแช่นานไป ชาจะเริ่มมีรสชาติขมจนทานลำบาก

สำหรับวิธีการการต้มชาเขียวชนิดนี้ แนะนำให้ใช้น้ำร้อนที่มีอุณหภูมิประมาณ 80–85 ° C และใช้เวลาต้มชาที่ประมาณ 3-5 นาที หากต้มนานกว่านี้จะทำให้ชามีรสฝาดมากขึ้น

genmaicha

ที่มา

https://www.rishi-tea.com/product/gram-tin-genmai-matcha-organic-japanese-green-tea-blend/loose-leaf-tea

http://www.stocksy.com/22595

https://www.teasource.com/products/genmaicha-green-tea-blend

กลิ่นหอมที่แตกต่างของ “เก็นไมฉะ”บทความจาก : Fuwafuwa

How to ……. present TEA ?

ชาเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก ด้วยรสชาติ กลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ และคุณประโยชน์จากสารอาหารในชา การดื่มชา ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก ทั้งอังกฤษ จีน ญี่ปุ่น หรือแม้แต่ที่ไทยเอง ซึ่งลักษณะการเสิร์ฟชาของแต่ละประเทศก็มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป เพราะรูปลักษณ์การนำเสนอ และเสิร์ฟชา แต่ละครั้งต้องอาศัยความละเอียดอ่อนในการชง บรรยากาศแวดล้อมในการนั่งดื่มชา ที่อาจจะต้องเพิ่มความสุนทรีย์ในการดื่มด้วยต้นไม้ ดอกไม้เพื่อผ่อนคลายความเครียดจากการทำงาน ร้านไม่ควรให้มีกลิ่นกับข้าวมารบกวนกลิ่นหอมของชา รวมไปถึงคุณภาพของภาชนะในการดื่มนั้นก็มีผลอย่างมากต่อระดับของอร่อยและความประทับใจของผู้ดื่มเช่นกัน

tea set tea set

การเสิร์ฟด้วยถ้วยเซรามิคที่หยาบและหนานั้นจะทำให้เกิดผลที่แตกต่างอย่างมาก เมื่อเปรียบเทียบกับชาแบบเดียวกันที่เสริฟในพอร์เซเลนที่ดี โบนไชน่า หรือ แก้ว หรือการนำเสนอชาที่หลายคนอาจจะลืมคิดไป คือ การนำเสนอในสามด้าน นั้นคือ การมองเห็น กลิ่น และ รสชาติเพื่อให้แขกได้สัมผัสผ่านทางประสาทสัมผัสให้ครบถ้วน บางร้านจึงมีรูปแบบการเสิร์ฟที่นำเสนอที่แตกต่างกันไป เช่น ให้ลูกค้าดริปชาเอง เสิร์ฟทั้งกาชาเพื่อให้ชุดชา เป็นอีกองค์ประกอบที่ทำให้ภาพถ่ายของลูกค้ามีความน่าทานมากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตามถ้าร้านไหนอยากเสิร์ฟชาเป็นแก้วๆให้ลูกค้า แนะนำเป็นการชงสดๆร้อนๆใหม่ๆทุกครั้ง และเพิ่มอรรถรสในการดื่มชาให้ลูกค้าด้วยการเดินมารินชาให้ลูกค้าที่โต๊ะ จะทำให้ลูกค้าได้สัมผัสถึงกลิ่นของชาอย่างชัดเจนในขณะที่รินชา ดีกว่าเทจากหลังร้าน กว่าจะยกมาเสิร์ฟลูกค้า สุนทรียะของการดื่มชาก็ลดลงไปอย่างน่าเสียดาย

tea set

หากใครยังไม่มีไอเดียว่าจะเสิร์ฟชารูปแบบไหนดี ลองดูก่อนว่า ชาที่ร้านของคุณเป็นชาสไตล์ไหน

  1. การเสิร์ฟชาสไตล์อังกฤษคนอังกฤษนิยมดื่มชาดำเป็นหนึ่งในชาที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก ซึ่งสามารถเสิร์ฟชาจากแก้วได้เลย แต่หากต้องการอารมณ์ของการจิบชาแบบอังกฤษแท้ๆ ควรเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม ได้แก่ กาน้ำชา (กาน้ำชาจีนหรือเซรามิค) ถ้วยชาพร้อมจานรอง โถน้ำตาล เหยือกครีม กาต้มน้ำ ถ้วยสำหรับทิ้งน้ำชาหรือใบชาที่เหลือ และจานของว่าง

โดยปกติเวลาดื่มชาของอังกฤษมักจะเริ่มประมาณ 4 โมง หากที่ร้านอยากเสิร์ฟเป็นเซ็ต Afternoon Tea ที่เสิร์ฟชาคู่กับของว่าง สามารถเสิร์ฟชาได้ตลอดเวลาตั้งแต่ บ่าย 2-5 โมง Afternoon tea ดั้งเดิมมักทานคู่กับแซนด์วิชชิ้นเล็กๆ สโคน และขนมอบหลากหลายชนิด อัลมอนด์ชอร์ตเบรด ชีสเค้ก มาการอง บิสกิต หรือเค้กกล้วยหอมก็ได้

หาร้านไหนอยากเสิร์ฟพร้อมกับนม น้ำตาล หรือเลม่อน แนะนำเป็นให้จัดวางเรียงแยกไปในชุดน้ำชา เพื่อให้ลูกค้าสนุกและเปิดประสบการณ์กับการเติมส่วนผสมที่แตกต่างกันเพื่อให้ได้รสชาติตามชอบ แต่ไม่แนะนำให้เติมเลมอนและนมพร้อมกัน เพราะกรดซิตริกของมะนาวจะทำให้โปรตีนในนมแข็งเป็นก้อน ลำดับที่แนะนำ คือ เทชาก่อน เติมน้ำตาล แล้วค่อยวางมะนาวลงบนชาเบาๆ เป็นอันดับสุดท้าย

Afternoon tea afternoon tea

นอกจาก Afternoon Tea แล้ว ยังมี High Tea นิยมจิบชากันประมาณ 5 โมงเย็น ถึง หนึ่งทุ่ม อาหารที่เสิร์ฟคู่กับชาเวลานี้ จะเป็นอาหารที่หนักกว่า Afternoon Tea เช่น อาหารจานร้อนชนิดหนึ่ง ขนมปัง มันฝรั่ง ผัก ชีส เนื้อ สตูว์ มัฟฟินแบบชาวเวลส์ พายหรือไข่เจียว นั่นเอง

ลองดูว่าถ้าร้านของคุณเป็นร้านชาสไตล์อังกฤษ การจัดชุดเมนู ชาแบบ Afternoon Tea และ High Tea ก็เป็นชุดเมนูที่น่าสนใจดึงดูดลูกค้าได้ดีทีเดียว

  1. การเสิร์ฟชาสไตล์ญี่ปุ่นเชื่อว่าหลายคนคงจะคุ้นเคยกับการเสิร์ฟแบบสไตล์ญี่ปุ่นอยู่แล้ว ที่เน้นความเรียบง่ายของดีไซน์ภาชนะที่ใช้ในการเสิร์ฟ ขนมที่นิยมเสิร์ฟด้วยก็นิยมเป็นขนมชิ้นเล็กเช่นเดียวกัน ที่เรียกว่า วากาชิ ซึ่งคนญี่ปุ่น นิยมทานขนมให้หมดก่อนถึงจะนำชามาเสิร์ฟ แต่ถ้าร้านไหนต้องการเพิ่มความเป็นญี่ปุ่นเข้าไป อาจจะมีมุมเล็กๆของที่ร้าน หรือที่เคาน์เตอร์บาร์ ที่โชว์การชงชาตามพิธีดั้งเดิมของญี่ปุ่นโดยใช้ฉะชะขุในการตักผงชา ใช้ฉะเซ็นในการตีผงชาให้ละลาย และมีการหมุนถ้วยชาก่อนดื่มอย่างที่เรานิยมเห็นตามรายการท่องเที่ยวญี่ปุ่นนั่นเอง

บางร้านหากไม่เชี่ยวชาญเรื่องวัฒนธรรมในการชงชามากนัก มักเปิดเพลงบรรเลงในร้านสไตล์ญี่ปุ่น หรืออาจะมีเสียงน้ำไหลเบาๆ เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกผ่อนคลายมากขึ้นนั่นเอง

Japanese tea Japanese tea

แล้วการเสิร์ฟชาที่ร้านคุณเป็นแบบไหน ลืมจุดสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามไปของ เอกลักษณ์ชา ไปรึเปล่า ลองใช้เวลาว่างสักวัน ดื่มด่ำการชาที่คุณชอบ อาจจะได้ไอเดียที่จะ PRESENT ชาในแบบของคุณได้นะ ^^

ที่มา

http://casatreschic.blogspot.com

http://thecharmofhome.blogspot.com

https://thestrawberrynight.tumblr.com

http://teaismycupoftea.tumblr.com

Kinarino.jp

บทความจาก : Fuwafuwa