3 ขนมติดอันดับของคนญี่ปุ่น ที่ชอบทานคู่ชาเขียว

การกินชาเขียวให้อร่อย หลายคนคงทราบอยู่แล้วว่าคนญี่ปุ่นนิยมทานคู่กับขนมหวานญี่ปุ่น หรือที่เรียกว่า วากาชิ แม้ว่าที่จริงแล้วในพิธีชงชามีขนมอื่น ๆ อีกมากมายที่สามารถทานคู่ชาเขียวได้ แต่ขนมที่ติดอันดับคนนิยมกินคู่กับการดื่มชาและคนไทยรู้จักกันดี ได้แก่
อันดับ 1 คือ ไดฟุกุ ขนมแป้งโมจินุ่มหนึบที่พิเศษด้วยไส้ที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นไส้ชาเขียวลาวา ไส้ชาเขียวถั่วแดง บางเจ้าก็ใส่ผลไม้เข้าไปด้วยเพื่อเพิ่มรสชาติความอร่อย ขนมรสชาติออกหวาน ได้ชาเขียวร้อนๆเสิร์ฟคู่กัน เป็นความอร่อยที่ลงตัว
ส่วนใครที่อยากลองปั้นขนมไดฟุกุเอง เสิร์ฟคู่กับชาที่ร้าน เพิ่มสไตล์ความเป็นญี่ปุ่นให้กับเมนูในร้านสามารถทำได้เองง่ายๆ และต่อยอดเปลี่ยนรสชาติแป้งได้ฟุกุ หรือไส้ได้ตามชอบ

เมนู ไดฟุกุชาเขียว สตอเบอรี่

  1. แป้งข้าวเหนียว 100 กรัม
  2. แป้งมัน 20 กรัม ( สำหรับทำแป้งนวล )
  3. ผงมัทฉะ 10 กรัม
  4. น้ำตาลทราย 50 กรัม
  5. น้ำเปล่า 150 มล.
  6. ถั่วขาวกวนสำเร็จ 200 กรัม + ผงชา
  7. เขียว 5 กรัม
  8. สตรอเบอร์รี่

วิธีทำ

  1. แป้งข้าวเหนียว, ผงมัทฉะ, น้ำตาลทราย ผสมให้เข้ากัน ในภาชนะที่เข้าไมโครเวฟได้ ค่อยๆเติมน้ำผสมจนแป้งไม่เป็นเม็ด ลักษณะจะเหลวข้น
  2. นำส่วนผสมแป้งเข้าไมโครเวฟ โดยใช้พลาสติกแรพไว้ หรือ หา ภาชนะปิดไม่ให้แป้งหน้าแห้ง ใช้ไฟแรงสุดนาน 3 นาที นำออกมาเกลี่ยทุกๆ 1 นาที สังเกตแป้ง ถ้าสุกจะเปลี่ยนเป็นแป้งใส และจะจับตัวเป็นก้อน
  3. นำแป้งที่กวนสุกแล้ว คลุกกับแป้งนวล ตัดแบ่งให้เท่าๆกัน แผ่แป้งให้เป็นแผ่นกลม ใส่ไส้ถั่วขาวที่ผสมกันกับผงชาเขียวเป็นเนื้อเดียวกันที่ห่อลูกสตรอเบอร์รี่ไว้ ปั้นเป็นก้อนกลม คลุกแป้งนวลเพื่อไม่ให้ไดฟุกุติดกัน เป็นอันเสร็จเรียบร้อย

โดยปกติของการเสิร์ฟไดฟุกุ จะมีไม้เล็ก ๆ หรือที่เรียกว่า คุโระโมจิ (黒文字) ก็จะเป็นสัญลักษณ์ว่า ให้ทานขนมโดยการตัดแบ่งให้พอดีคำก่อนทาน ส่วนใหญ่จะเป็นขนมชิ้นไม่ใหญ่มากตัดได้ประมาณ 3-4 ครั้ง นั่นเอง

ต่อมาอันดับ 2 คือ เซมเบ้ ขนมข้าวกรอบที่มีหลายรูปทรง ขนาด และรสชาติ โดยปกติแล้วจะเป็นรสเค็ม(เป็นรสชาติของโชยุ)​ แต่รสหวานก็มีให้เห็น ส่วนใหญ่แล้วเซ็มเบจะรับประทานคู่กับชาเขียว เป็นขนมและจัดให้แขกที่มาเยี่ยมเยียนที่บ้านนั่นเอง โดยปกติแล้วเซ็มเบจะทำโดยการอบ หรือย่างถ่านแบบดั้งเดิม ระหว่างปรุงอาจมีการทาเซ็มเบด้วยซอสปรุงรส ซึ่งส่วนมากทำจากซอสถั่วเหลืองและมิริน จากนั้นอาจห่อด้วยสาหร่ายและปรุงด้วยเกลือ การเสิร์ฟเซมเบ้คู่กับชานั้นจะไม่มีไม้คุโระโมจิเหมือนอย่างไดฟุกุ จะเป็นที่รู้กันว่าให้ใช้มือทานได้เลยไม่เสียมารยาทนั่นเอง


หากร้านไหนอยากลองทำดังโงะเองที่ร้านก็สามารถทำได้ วิธีทำคล้ายกับการปั้นบัวลอยบ้านเราเลยทีเดียว
วัตถุดิบ ได้แก่ เต้าหู้ขาว 250 กรัม แป้งข้าวเจ้า (หรือแป้งโมจิ) + น้ำตาล 200 กรัม

วิธีทำแสนง่าย : ก่อนอื่นให้ใช้มือนวดผสมเต้าหู้และแป้งข้าวเจ้าเข้าด้วยกัน ให้แป้งมีความนุ่มกำลังดี ไม่นิ่มและไม่แข็งจนเกินไป หลังจากนั้นปั้นเป็นก้อนกลม ต้มน้ำในหม้อขนาดใหญ่จนเดือดและใส่ดังโงะก้อนกลมลงไป ต้มไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะลอยขึ้นมา เมื่อลอยขึ้นมาเหนือผิวน้ำแล้วให้ต้มต่อไปอีกประมาณ 2 – 3 นาทีและตักออกมาพักไว้บนจานรองกระดาษ นำไปเสียบไม้ ทานคู่ซอส หรือย่างไฟอ่อนๆก่อนก็ได้ตามชอบ เสิร์ฟคู่ชาเขียวร้อนของที่ร้าน รับรองว่าลูกค้าที่มาที่ร้านต้องรู้สึกเหมือนได้ไปญี่ปุ่นแน่นอน

ที่มา

https://www.pinterest.com/pin/325807354293426536/
https://moichizen.exblog.jp/13348925/
https://www.pinterest.com/pin/14707136267674817/
https://www.japancentre.com/en/recipes/1669-matcha-ganache-filled-strawberry-daifuku

By : Contrary To Popular Belief

Chasen หนึ่งในอุปกรณ์สำคัญในการชงมัทฉะ

Chasen (茶筅 หรือที่เรียกว่า ที่ตีฟองชา) เป็นหนึ่งในอุปกรณ์สำคัญในการชงตีผงมัทฉะให้ละลาย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีลักษณะแปรงและคุณภาพที่เหมาะสมเพื่อให้ได้มัทฉะที่ดี ซึ่งฉะเซ็นมีหลายประเภท ที่มีความแตกต่างแค่เล็กน้อยในวัสดุ และรูปร่าง และลักษณะการใช้งาน โดยวัสดุหลักที่ใช้คือ ไม้ไผ่ ซึ่งไม้ไผ่ที่ใช้ทำมี 3 ชนิดหลัก ได้แก่ ไผ่ Hachiku, ไผ่ Susudake, และไผ่ดำ Kurodake โดยไผ่ Hachiku เป็นวัสดุที่นิยมใช้มากที่สุดในการทำฉะเซ็น เพราะเนื้อไม้มีความเนียน และอ่อน ทำให้แกะง่าย แต่ในขณะเดียวกันก็มีความทนทานต่ำและแตกง่ายเช่นกัน

Susudake

หากใช้ไผ่ Susudakeจะมีความทนทานกว่า แต่จะหาไผ่ชนิดนี้ค่อนข้างยาก ส่วนไม้ไผ่ Kurodakeเป็นวัสดุที่มีน้ำหนักมากที่สุดในการทำฉะเซ็น อยู่ได้นานกว่าไม้ไผ่ Hachiku 3 เท่า แต่ไม้ชนิดไผ่ Kurodakeจะแกะสลักได้ยากเป็นพิเศษ ไผ่ที่ใช้ทำฉะเซ็นมักมีอายุประมาณ 3 ปีและเก็บเกี่ยวในฤดูหนาว หลังจากการเก็บเกี่ยวไม้ไผ่จะแห้งเป็นเวลาหนึ่งปี ขั้นแรกในช่วงฤดูหนาวจะทำด้านนอกโดยปล่อยให้สภาพอากาศในฤดูหนาวเป็นไม้จากนั้นนำไปเก็บไว้ในที่เก็บของแห้งและทิ้งไว้ที่นั่นตลอดทั้งปี

Chasen

เมื่อไม้ไผ่พร้อมแล้วจะเลือกไม้ไผ่ที่เหมาะสม สภาพสมบูรณ์ที่สุด มาตัดเป็นชิ้นยาว 9-12 ซม. และแกะสลักด้วยมือเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่พร้อมใช้งานโดยเด็กฝึกงาน และถูกส่งกลับไปยังต้นทางผู้ชำนาญการแกะสลักอีกครั้งเพื่อทำการปรับแต่งอย่างละเอียดซึ่งประกอบด้วยการโค้งงอและเกลียว

Chasen Chasen

รูปร่างสุดท้ายของฉะเซ็นถูกกำหนดขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆมากมาย เช่น Chu-araho ฉะเซ็นที่มีขนแปรงหยาบกว่า 70 ถึง 80 ที่ใช้สำหรับโคอิชะ (มัทฉะแบบเข้มข้น) และ Kazuho ฉะเซ็นที่มีขนแปรงละเอียดมากถึง 120 ชนิดที่ใช้เป็นหลักสำหรับอุซึฉะ (มัทฉะแบบเจือจาง)

แม้ว่าจะมีหลายประเทศที่พยายามทำฉะเซ็นขึ้นมา แต่ว่าที่ญี่ปุ่นยังให้คุณภาพที่ดีกว่าอย่างสม่ำเสมอเนื่องจากความใส่ใจในรายละเอียดของช่างฝีมือในแต่ละขั้นตอน ตั้งแต่การเลือกไม้ไผ่อย่างพิถีพิถันไปจนถึงการตัดและขึ้นรูปในแต่ละครั้ง เพราะคุณภาพไม้ไผ่มีผลอย่างมากต่อความทนทานของฉะเซ็นซึ่งส่งผลต่อให้การตีชาด้วยฉะเซ็นที่ทำจากไม้ไผ่คุณภาพสูงมีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น

ส่วนจำนวนสายตะกร้อที่ตียิ่งมีความละเอียดมากเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้มัทฉะแก้วนั้นนุ่มนวลขึ้น ฉะเซ็นทั่วไปที่ขายมีจำนวนซี่ตะกร้อระหว่าง 16 ถึง 120 ซี่ ยิ่งจำนวนสูงเท่าไหร่ก็ยิ่งง่ายต่อการปัดผงชาลงในน้ำ และ ตีมัทฉะให้ขึ้นฟองได้ง่าย ฟองละเอียด แต่ถ้าจำนวนซี่น้อยจะใช้เวลาในการตีนานขึ้น ส่วนวิธีใช้ แนะนำให้วางฉะเซ็นส่วนที่เป็นตะกร้อตีลงในน้ำร้อนสักสองสามวินาทีก่อนเพื่อคลายตัวไม้ไผ่ให้อ่อนลง เคล็ดลับในการตี คือ การงอข้อมือเล็กน้อยในขณะที่ขยับข้อมือเท่านั้น ปัดส่วนผสมให้เร็วที่สุดโดยใช้การเคลื่อนไหวเป็นรูปตัว M หรือ W หลังจากได้ชั้นโฟมที่เท่ากันแล้วให้ค่อยๆเอาที่ปัดในลักษณะหมุนวนอีกครั้งเป็นอันเรียบร้อย

Chasen Chasen

ฉะเซ็นมีหลายประเภท หากนับกันจริงๆแล้วจะพบว่ามีมากถึงหนึ่งร้อยรุ่นเลยทีเดียว ในยุคเริ่มแรกนั้น ฉะเซ็นถูกทำออกมาเพียงแค่รุ่นเดียวเท่านั้น ทว่าหลังจากที่พิธีชงชาญี่ปุ่นเกิดการแพร่หลาย ลูกศิษย์ของเซนโนะริคิวหลายคนต่างก็ออกไปเปิดสำนักชงชาของตนเอง นำความรู้ที่ได้จากการร่ำเรียนกับริคิวไปเผยแพร่ต่อ ซึ่งแต่ละคนต่างก็ได้ดัดแปลงรายละเอียดปลีกย่อยบางอย่างให้เข้ากับอัตลักษณ์และค่านิยมส่วนตน และเมื่อเวลาผ่านไปเรื่อยๆ รายละเอียดที่แตกต่างกันเพียงเล็กน้อยเหล่านั้นในเริ่มแรกก็ได้แตกแขนงออกไปเรื่อยๆ จนกระทั่งกลายเป็นข้อแตกต่างของแต่ละสำนักชงชาในที่สุด รวมถึงรูปทรงของฉะเซ็นที่แต่ละสำนักใช้ในการชงชาด้วยเช่นกัน

ในส่วนของด้ายที่นำมาพันฉะเซ็น ก็มีข้อแตกต่างไปตามแต่ละรุ่นอีกเช่นกัน ฉะเซ็นปกติจะใช้ด้ายสีดำ ทว่าฉะเซ็นที่ใช้ในโอกาสพิเศษจะถูกพันด้วยด้ายสีแดงหรือสีขาว เพื่อความเป็นศิริมงคล โดยเฉพาะฉะเซ็นรุ่นที่ใช้ในวันขึ้นปีใหม่

Chasen

อยากรู้แปรงชงชาแบบไหนเป็นที่นิยม อ่านต่อได้ที่บทความ >> 10 อันดับ แปรงชงชาเขียว แบบไหนดี ปี 2022

ที่มา

http://japan-web-magazine.com/japanese-tea/japan-japanese-tea-ceremony0.html

https://zhaozhoutea.com/chasen-%E8%8C%B6%E7%AD%85-the-matcha-whiskchasen/

บทความจาก : Fuwafuwa

 

เจาะลึกมาทำความรู้จัก ชาเก็นไมฉะ

ชาเก็นไมฉะที่ทุกคนรู้จักกันว่าเป็นชาข้าวคั่ว รู้มั้ยว่า มีอีกชื่อว่าเป็น Brown Rice Tea หรือ Popcorn Tea ซึ่งชาเก็นไมฉะ เป็นลูกผสมของชาข้าวคั่วและชาเขียวของญี่ปุ่น (Bancha หรือ Sencha ก็ได้) ในสัดส่วนผสม 1: 1 แม้จะเป็นชาลูกผสมแต่ประโยชน์ต่อสุขภาพที่น่าอัศจรรย์ของชาเก็นไมฉะก็มีมากมายไม่แพ้ชาเขียวเลยทีเดียว ซึ่งชาเก็นไมฉะนี้ มีกลิ่นหอมอันเป็นเอกลักษณ์จากการคั่วข้าวคั่วผสมกับใบชาเขียวทำให้ได้กลิ่นเหมือยป๊อปคอร์นนั่นเอง จึงเป็นที่มาของชื่อ Popcorn Tea ประกอบกับมีเป็นชาที่เป็นลูกผสม จึงมีปริมาณคาเฟอีนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับ ชา Bancha หรือ ชา Sencha ชาเก้นไมฉะ จึงกลายเป็นชาที่เหมาะสำหรับเด็กและผู้สูงอายุด้วย

genmaicha

หากพูดถึงชา Banchaถือเป็นชาเขียวอันดับที่มาจากการเก็บเกี่ยวครั้งที่สองหรือสาม จึงแทบจะไม่มีความขมและรสชาติที่สดชื่น แต่ก็กลายเป็นชาเขียวที่เหมาะสำหรับดื่มในชีวิตประจำวันและไม่มีคาเฟอีนมากไป จึงทำให้เด็กและผู้สูงอายุสามารถเพลิดเพลินได้ ส่วนชา Sencha เป็นชาเขียวของญี่ปุ่นทั่วไปที่ปลูกโดยใช้แสงแดดส่องถึงจนสุดหลังจากที่ดอกตูมใหม่ออกมา มีรสชาติความขมและกลิ่นหอมสดชื่นในปริมาณที่ได้สมดุลกัน เป็นที่ชื่นชอบของทุกเพศทุกวัยในญี่ปุ่น และยังครองตำแหน่งชามากกว่า 80% ในตลาดญี่ปุ่นด้วย และมีปริมาณคาเฟอีนเพียง 1 ใน 30 เมื่อเทียบกับกาแฟ 1 แก้ว

ทั้งชา Bancha และ ชา Sencha จึงเป็นส่วนผสมหลักของชาเก็นไมฉะที่ช่วยส่งเสริมให้ชาเก็นไมฉะให้ประโยชน์ต่อสุขภาพที่ยอดเยี่ยมไม่แพ้ชาตัวอื่นๆ ส่วนข้าวกล้องก็ขึ้นแท่นเป็นข้าวที่หอมที่สุดเมื่อนำมาคั่วเพื่อทำเป้นชาเก็นไมฉะนั่นเอง

สารอาหารหลักของชาเก็นไมฉะ ได้แก่ คาเทชิน ธีอะนิน วิตามินซี วิตามินบีรวม วิตามินอี ซึ่งมีส่วนช่วยในการต่อต้านริ้วรอย เพราะคาเทชิน มีส่วนช่วยป้องกันไม่ให้ไขมันหรือน้ำตาลส่วนเกินดูดซึมในร่างกายและเพิ่มจำนวนแบคทีเรียที่ดีในลำไส้ เป็นตัวแทนในการต่อต้านแบคทีเรียที่จะป้องกันไม่ให้เป็นหวัดอาหารเป็นพิษหรือมีกลิ่นปาก นอกจากนี้ในชาเก็นไมฉะมีวิตามินแร่ธาตุและเส้นใยอาหารที่ค่อนข้างสูง จึงช่วยป้องกันอาการท้องผูก และเพิ่มการเผาผลาญได้ดี และมีสารGamma-oryzanol ที่มีผลดีในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดอุดตันเบาหวานและโรคอ้วนอีกด้วย และวิตามินบีคอมเพล็กซ์ในเก็นไมฉะ สามารถช่วยให้หายจากความเหนื่อยล้า ความเครียดได้

genmaicha genmaicha

ส่วนช่วงเวลาที่ควรดื่มชาเก็นไมแะนั้น แน่นอนว่าสามารถดื่มได้ทุกเมื่อ แต่ถ้าต้องการลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วงเวลาที่ดีที่สุดคือ ก่อนมื้ออาหาร

หากดื่มในระหว่างมื้ออาหารก็มีผลดีเช่นกัน เพราะช่วยในการควบคุมคอเลสเตอรอลและการเผาผลาญไขมัน เนื่องจากชาเก็นไมฉะจะยิ่งอร่อยสดชื่นยิ่งขึ้นเมื่อทานกับอาหารที่มีความมันบางชนิด

นอกจากนั้น การดื่มแบบอุ่นๆในระหว่างมื้ออาหารหรือหลังอาหาร จะช่วยย่อยอาหารได้ดียิ่งขึ้น

genmaicha

การชงชาเก็นไมฉะด้วยน้ำต้ม จะทำให้ได้กลิ่นหอมและช่วยให้คาเทชินออกฤทธิ์ดีที่สุด นอกจากนี้ตอนต้มชาเก็นไมฉะ ควรใช้เวลาสั้นที่สุดในการชงเพื่อป้องกันไม่ให้สารแทนนินออกมาซึ่งจะทำให้มีรสขมเกินไป

genmaicha

หากใครที่หลงใหลชาเก็นไมฉะ Matchazuki ก็อยากแนะนำให้เอาไปลองทำขนมดู ก็ได้รสชาติและสัมผัสที่อร่อยไม่แพ้ชาประเภทอื่นๆ ที่สำคัญคือ การใช้เก็นไมฉะมาทำขนมยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก หากร้านไหนต้องการสร้างจุดต่าง อาจจะเริ่มจากการนำไปทำคุ้กกี้ หรือ Topping บน Chocolate Bar ดูก่อนก็น่าสนใจทีเดียว

ที่มา

https://www.ohhowcivilized.com/genmaicha-tea/?utm_source=pinterest&utm_medium=social&utm_campaign=social-pug

7 Health Benefits of Genmaicha and When to Drink

Matcha white chocolate with genmaicha

บทความจาก : Fuwafuwa

ความหวาน กับ เมนูชา

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า เครื่องดื่มชาที่ทานง่าย ทานได้ทุกเพศทุกวัย และเป็นที่นิยมมากสำหรับคนไทยนั้น ไม่ใช่ชาเพียวๆ แต่เป็นชาที่มีการใส่สารให้ความหวาน อย่างน้ำตาล น้ำผึ้ง และเพิ่มความกลมกล่อมอีกระดับด้วยนมจืด โดยเฉพาะชาที่บรรจุใส่ขวดขายตามร้านสะดวกซื้อต่างๆ เช่น ชาเขียวลาเต้พร้อมดื่ม หรือแม้ที่ข้างขวดจะระบุว่าเป็นชาเขียวเพียวๆ ล้วนแต่มีส่วนผสมของน้ำตาลในปริมาณที่มาก แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าความหวานเหล่านี้ ทำให้ชา เครื่องดื่มแก้วโปรดของคุณอร่อยขึ้น ให้ความสดชื่นแก่ร่างกายได้นั่นเอง

sweets sweets

ความหวานกับเมนูชา จึงเป็นเหมือนของคู่กัน แต่ทั้งนี้เราเลือกได้ว่าจะให้ความหวานนั้นมาจากอะไรนอกจากน้ำตาล

1. น้ำเชื่อม ( Syrup ) ได้จากการเคี่ยวน้ำตาลกับน้ำที่ไฟปานกลาง มีสีใส ที่เห็นกันบ่อยๆ คือใช้ราดขนมหวานไทยคู่กับน้ำกะทิ หรือใช้ตามร้านกาแฟเพิ่มเพิ่มความหวานให้เครื่องดื่มอย่างชาและกาแฟ  และบาร์เทนเดอร์ใช้ผสมเครื่องดื่มค็อกเทล เป็นต้น น้ำเชื่อม จึงอาจหมายถึง การนำน้ำตาลมาละลายกับน้ำจนเกิดความหวานด้วยความเข้มข้นระดับต่างๆ เป็นตัวให้ความหวานที่นิยมใช้มากที่สุดในท้องตลาด ไม่ว่าจะร้านคาเฟ่ ร้านชาทั่วไป เพราะสะดวกต่อการชง และง่ายต่อการเก็บรักษา แต่ต้องเพิ่งระวังว่า การกดน้ำเชื่อมเพียงแค่ปั๊มเดียว ที่ดูเหมือนน้อยนิด แต่ให้ความหวานที่มากจนน่าตกใจ จึงเป็นตัวเลือกที่ไม่ดีสำหรับคนรักสุขภาพ

2. น้ำเชื่อมเมเปิ้ล ( Maple Syrup )ได้จากน้ำเลี้ยงของต้นเมเปิ้ลนำมาต้มจนได้น้ำเชื่อมเข้มข้น มักใช้ราดบนขนมหวานแทนน้ำผึ้ง แต่น้ำเชื่อมเมเปิ้ลแท้ๆ นั้นมีน้อย ที่เราเห็นกันมักเป็นน้ำเชื่อมแต่งกลิ่นเมเปิ้ลสังเคราะห์ หากจะใช้ในการชงชาเขียว จะเป็นสัดส่วนตามนี้ นม 4 ถ้วย + ผงชาเขียว 1 ช้อนโต๊ะ + เมเปิ้ลไซรัป 1 ช้อนโต๊ะนำมาต้มเข้าด้วยกัน แล้วราดด้วยฟองนมอีกทีด้านบน รสชาติจะไม่ได้ต่างจากการใช้น้ำตาลมากนัก เพียงแต่จะได้กลิ่นที่ต่างกันออกไป และเป็นความหวานที่เบาลงไม่หวานแหลมเหมือนไซรัปนั่นเอง

sweets

3. น้ำผึ้ง  ความหวานตามธรรมชาติ ให้ความหวานไม่แพ้น้ำตาลทราย และมีโปรตีน ให้พลังงานที่ทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า มีวิตามินและเกลือแร่ แต่หากรับประทานมากเกินไปอาจทำให้เกิดโรคอ้วนได้ ในน้ำผึ้งจะประกอบด้วยน้ำตาลกลูโคส และฟรักโทส ซึ่งเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ร่างกายจะสามารถดูดซึมและนำไปใช้ได้เลย น้ำผึ้งยังมีสารต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ และยังทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายดีขึ้นอีกด้วย ที่สำคัญ น้ำผึ้งยังให้ความหวาน และกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์

หากลองชงด้วยสูตรนี้จะช่วยให้เมนูชาร้านของคุณโดดเด่นจากความหวานของน้ำผึ้ง หรือจะยกระดับเมนูด้วยการใช้นมมะพร้าวแทนนมวัว เพื่อให้เหมาะกับคนที่แพ้นมวัวด้วยก็ได้ โดยการนำผงมัทฉะ 1 ช้อนชา + น้ำร้อน 1/2 ถ้วย + นมมะพร้าว 1 ถ้วย + น้ำผึ้ง 1 ช้อนชา

sweets sweets

4. น้ำตาลมะพร้าวเครื่องปรุงให้ความหวานแทนน้ำตาลทรายได้ดีมากๆ เพราะเป็นน้ำตาลที่ได้จากธรรมชาติ ไม่ผ่านการแปรรูปหลายขั้นตอน ส่วนเรื่องสีก็คล้ายกับน้ำตาลทรายแดง แต่มีเนื้อหยาบกว่า มีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ไม่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง ก่อนใช้ปรุงอาหารควรนำไปผสมกับของเหลวก่อน หากนำไปชงชาเขียวลาเต้ จะใช้ในสัดส่วน ผงมัทฉะ ½ ช้อนชา + น้ำตาลมะพร้าว 2 ช้อนชา + เนยมะพร้าว 1 ช้อนชา + น้ำร้อน 10 ออนซ์ คนเข้าด้วยกัน แต่ถ้าไม่อยากใส่เนยก็ได้เช่นกันเพราะสตรนี้ที่ต้องใส่เนยเพื่อให้ชาเขียวลาเต้มีความกลมกล่อมเหมือนบางสูตรใช้ครีม หรือนมข้นนั้นเอง

sweets sweets

นอกจากสารให้ความหวานข้างต้นแล้วยังมีตัวเลือกอื่นๆที่สามารถใช้ในการชงชาได้เช่นกันไม่ว่าจะเป็นนมข้นหวาน ที่ให้ความหวานมันกลมกล่อมตามสไตล์คนไทยชอบ หรือจะเป็นน้ำตาลทรายแดงเคี่ยวเป็นไซรัปที่ให้กลิ่นและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์สไตล์ญี่ปุ่น ก็ยังมีหญ้าหวาน  จัดได้ว่าเป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลทรายที่เป็นธรรมชาติที่สุดและดีที่สุด เพราะให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายถึง 300 เท่า แต่ให้พลังงานน้อย สามารถนำหญ้าหวานมาปรุงอาหารได้หลากหลายเมนู หรือชงกับเครื่องดื่มพวกชา กาแฟ ซึ่งมักพบว่าร้านขายเครื่องดื่มได้นำหญ้าหวานมาเป็นจุดขายทำให้ลูกค้ามั่นใจว่าจะไม่อ้วนได้ง่าย แต่ก็ต้องรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมด้วย

sweets sweets

เลือกความหวานกับเมนูชาให้เหมาะสมกับสไตล์ของที่ร้าน สร้างเอกลักาณ์เมนูชาให้โดดเด่นจากร้านอื่นๆง่ายๆด้วยเรื่องเล็กๆที่หลายร้านอาจจะมองข้ามไป

ที่มา http://www.byrdie.com/weight-loss-tips?utm_campaign=article-share&utm_source=social-pinterest-button&utm_medium=earned-social

https://www.livestrong.com/recipes/matcha-almond-milk-honey/

https://maplefromquebec.ca/recipes/maple-matcha-tea-latte/

https://www.cleaneatingkitchen.com/dairy-free-green-tea-matcha-latte/

บทความจาก : Fuwafuwa

วิธีเช็คผงมัทฉะ ว่าได้คุณภาพจริงหรือไม่

ด้วยความนิยมของผงมัทฉะ และชาเขียวที่ได้รับอิทธิพลจากประเทศญี่ปุ่น ทำให้มีแหล่งซื้อขายผงมัทฉะ และใบชาเขียวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในไทย ไม่ว่าจะเป็นนำเข้าจากญี่ปุ่น จีน หรือแม้กระทั่งผลิตในไทย ซึ่งที่มาของชาแต่ละที่ก็ส่งผลต่อรสชาติ และกลิ่น ที่แตกต่างกัน และที่ต้องระวังอีกประเด็นคือ การไม่บอกคุณสมบัติที่แท้จริงของใบชา ทุกร้านจะบอกว่าเป็นชาต้นตำรับจากญี่ปุ่นแล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ร้านไหนเป็นผงชาเขียวของจริงบ้าง สังเกตได้จากปัจจัยเหล่านี้

  1. สี เป็นสิ่งที่ต้องต้องสังเกตอย่างแรก คือ สีของมัทฉะยิ่งเขียวสดเข้ม ยิ่งมีความขมน้อยมากๆ เพราะเป็นมัทฉะที่ได้รับการดูแลอย่างดี สายพันธุ์ดี มีสีเขียวสดเข้ม ใช้ดื่มแบบ ชงข้น(Koicha) ได้เลย ผงมัทฉะที่ใช้ในการทำเบเกอรี่ แนะนำให้ใช้เกรดรองๆลงมา เพราะจะได้รสชาติที่เข้มข้นกว่า เมื่อไปผสมกับส่วนผสมตัวอื่นก็จะทำให้ได้รสชาติที่เข้มข้นขึ้น นอกจากนี้อย่าลืมดูภาชนะ หรือแพ็คเกจที่ใส่ชา เพราะผงชาเขียวที่ดีจะมีอายุประมาณ 6 เดือนและหลังจากเปิดก็ควรจะใช้ให้หมดภายใน 4 เดือน หากเก็บไว้นานกว่านั้น สีจะเริ่มอ่อนลงและกลิ่นก็จะหอมน้อยลง เนื่องจากในกระบวนการผลิตจะมีการอบใบชาด้วยไอน้ำที่อุณหภูมิสูงเพื่อหยุดปฏิกิริยาออกซิเดชัน แต่เมื่อเวลาผ่านไปใบชาสัมผัสกับออกซิเจนเรื่อยๆก็จะทำให้สีออกเหลืองเหมือนกับใบไม้ทั่วไปที่เปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลือด้วย

Matcha Quality

2. ส่วนผสม ผงมัทฉะบางเจ้าราคาถูกจริง ส่วนนึงมาจากการตีผงมัทฉะผสมแป้ง ไม่ใช่ชาเขียวล้วนๆ จึงสามารถทำราคาถูกมากๆได้ อย่าลืมที่จะพลิกข้างซองเพื่ออ่านส่วนผสมที่ชัดเจนก่อนซื้อผิด

3. รีวิวจากลูกค้าคนอื่น อย่าลืมดูรีวิวสินค้าจากผู้ที่เคยซื้อไปบริโภคด้วยว่านำไปทำเมนูอะไรอร่อย ใช้ในปริมาณแค่ไหน เพื่อเอามาเป็นไอเดีย และให้ผู้ที่ดูรีวิวเกิดความรู้สึกอยากซื้อมาลองทำตามบ้าง

Matcha Quality

4. ที่มา เช็คแหล่งที่มาให้ชัดเจนว่ามาจากเมืองไหนของที่ญี่ปุ่น อย่างเมืองขึ้นชื่อเรื่องชาเขียวที่ทุกคนนิยมใช้คือจาก อูจิ เกียวโต แต่อย่างไรก็ตามที่ชิสึโอกะ ก็มีชื่อเสียงไม่แพ้กัน การรู้แหล่งที่มาโดยละเอียด จะช่วยให้เรามั่นใจในคุณภาพของชามากขึ้น

5. ราคา อย่าลืมที่จะเปรียบเทียบราคาตลาดว่าชาที่เราซื้อนั้นแพงหรือถูกเกินไปมั้ย แม้จะเป็นเกรดดีนำเข้าจากญี่ปุ่น ก็ควรเช็คราคาจากหลายๆแหล่ง และอย่าลืมเช็คราคาจากที่ญี่ปุ่นเองด้วย เพราะ สินค้าบางตัวการนำเข้ามาจากต้นกำเนิด ก็มีราคาถูกกว่าการผลิตเองในไทยหลายเท่าตัว ทั้งนี้ ชาเขียวเองก็มีหลายเกรด แต่ละเกรด ก็มีราคาที่ต่างกัน เช็คเกรดเดียวกันจะทำให้เห็นเรทราคาที่ชัดเจนที่สุด

6. เจ้าของที่ขาย แม้จะไม่ใช่ปัจจัยสำคัญ แต่ถ้าพอจะรู้จักแหล่งที่มา มีเพจ Line@, Facebook หรือเว็บไซด์ที่ดูน่าเชื่อถือ ก็เป็นอีกปัจจัยที่ที่จะช่วยสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคได้

แค่ 6 สิ่งง่ายๆที่ต้องระวังและฉุกคิดนิดนึงก่อนจ่ายเงินซื้อ เพื่อให้ได้คุณภาพชาที่ดี สมราคานะคะ

ที่มา

https://www.rishi-tea.com

https://cookingchew.com/matcha.html

https://drericz.com/recipes/diy-super-greens-mix/

บทความ : Fuwafuwa

ข้อควรระวังในการดื่มชา ที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้

หลายคนคงทราบกันอยู่แล้วว่า การดื่มชามีประโยชน์มากมาย แต่น้อยคนนักจะรู้ว่าการดื่มชามากจนเกินไปจะมีผลเสียต่อร่างกายพอสมควรเลยทีเดียว

1. การดื่มน้ำชาไม่ว่าจะชาร้อนหรือชาแช่เย็น ไม่ควรแต่งรสด้วยนมสด นมข้นหรือนมผง เพราะโปรตีนในนมจะไปจับกับสารสำคัญในชา ทำลายประสิทธิภาพสารออกฤทธิ์ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย วิธีการดื่มชาเขียวให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพ จึงควรดื่มน้ำชาล้วนๆไม่ควรปรุงแต่ง นอกจากจะได้สารอาหารที่ครบถ้วนแล้วยังไม่อ้วนจากน้ำตาลที่ปรุงแต่งเข้าไปด้วย

2. ใบชายังมีองค์ประกอบของฟลูออไรด์ในปริมาณที่ค่อนข้างสูง และสูงกว่าปริมาณในน้ำประปา หากดื่มในปริมาณที่มากเกินไป จะเกิดการสะสม มีผลให้ไตวาย เกิดมะเร็งลำไส้ โรคกระดูกพรุน (Osteofluorosis) โรคข้อ และโรคอื่นๆที่เกี่ยวกับกระดูก และยังทำให้ฟันเกิดคราบเหลืองได้ ยิ้มฟันขาวๆจะหายไป แต่ผู้ที่ดื่มไม่มาก ก็คงไม่ต้องกังวล



3. หลีกเลี่ยงชาที่มีส่วนผสมของคอมเฟรย์ (comfrey) ซึ่งมีสารไพโรลิซิดีน อัลคาลอยด์ อันอาจเป็นอันตรายต่อตับ ในบางประเทษดอกคอมเฟรย์เป็นเรื่องต้องห้ามเลย

4. สารออกซาเรท (oxalate) ในชาที่มีอยู่ในปริมาณน้อย แต่หากผู้ที่ชื่นชอบการดื่มชามากจนเกินไปและดื่มบ่อยๆเป็นประจำ จะสะสมสารออกซาเรทในร่างกายได้ อาจส่งผลต่อการทำลายไตได้

5. ใบชามีคาเฟอีนในปริมาณสูง อาจสูงกว่าในเมล็ดกาแฟด้วยซ้ำไป เพียงแต่การดื่มน้ำชา สารแทนนินจากน้ำชาจะช่วยลดการดูดซึมของคาแฟอีนเข้าสู่ร่างกาย ทำให้ฤทธิ์การกระตุ้นหัวใจและสมองน้อยกว่ากาแฟมากคาเฟอีน แต่ก็ส่งผลต่อการนอนเช่นเดียวกับกาแฟ ดังนั้นไม่ควรดื่มภายในสามชั่วโมงก่อนเข้านอน

6. สารแทนนินที่มีอยู่ในชาเขียวซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการท้องผูก เพราะสารตัวนี้ทำหน้าที่ยับยั้งการดูดซึมสารอาหารสำคัญอีกหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นโปรตีน เหล็กและโฟลิก เพราะฉะนั้น เพื่อป้องกันปัญหาท้องผูกตามมา แนะนำให้คุณหันมาดื่มชาเขียวแต่เพียงในปริมาณพอดี โดยดื่มวันละไม่ควรเกินกว่า 5 แก้ว ร่วมกับการดื่มน้ำให้มากๆ และกินอาหารที่มีกากใยสูง ก็จะช่วยปรับระบบขับถ่ายให้ทำงานคล่องตัวขึ้นได้แล้ว ดังนั้นจึงมักจะมีคำแนะนำไม่ให้เด็กดื่มน้ำชา ไม่ว่าจะเป็นชาเขียวแช่เย็นหรือชาร้อน เพราะจะทำให้ร่างกายขาดสารอาหารได้

7. สารคาเทคชินส์ (Catechins) ที่อยู่ในชา จะถูกความร้อนทำลายไปเกือบหมด คงเหลือแต่ความหอมและรสชาติ ถ้าต้องการดื่มชาร้อนๆ ควรดื่มน้ำชาที่เข้มข้น เช่นเดียวกับคนจีน ที่นิยมชงชาจีนรสเข้มข้นในถ้วยชาใบจิ๋วคล้ายกับการดื่มกาแฟเอ็กซ์เพรซโซ่ ความเข้มข้นของใบชาจะทำให้มีปริมาณสารคาเทคชินส์ที่เข้มข้น และแม้ว่าสารเหล่านี้จะสลายตัวไปบางส่วนเมื่อโดนความร้อนจากน้ำร้อน แต่จะยังคงมีบางส่วนที่หลงเหลืออยู่ ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพได้บ้าง


ไม่ว่าจะเป็นชาเขียวหรือชาชนิดใดก็ตาม ควรดื่มในปริมาณ และเวลาที่เหมาะสมเพื่อบำรุงร่างกายจะดีกว่าการดื่มที่มากเกินไป ^^

ที่มา

https://bit.ly/3a3MFi2

https://www.ful-filled.com/2018/01/23/all-about-matcha/

https://health.mthai.com/howto/health-care/12777.html

https://mommypotamus.com/comfrey/

By : Contrary To Popular Belief

Share on facebook
Share on twitter

Related Blogs

4 เหตุผลของการตีชาเขียวแล้วไม่เกิดฟอง

ปกติของการชงชาเขียวด้วยผงชาเขียวนั้น จะมีการใช้ฉะเซ็น หรือ ที่ตีฟองนมช่วยในการตีชาให้ละลายไปกับน้ำ บางครั้งตีผงชาด้วยอุปกรณ์และเทคนิคแบบเดิม กลับได้ผลลัพธ์ที่ไม่เหมือนเดิม ผงชาอาจจะไม่ละลาย ตีแล้วไม่ขึ้นฟองที่สวยงาม ทำให้เวลาถ่ายภาพเมนูอาหารไม่น่าทาน สาเหตุเกิดจากอะไรนั้น ลองมาสังเกตไปพร้อมๆกัน

Matcha Frothy

1. ไม่ได้กรองชาเขียวก่อนตีโดยทั่วไปแล้วผงมัทฉะไม่จำเป็นต้องผ่านการร่อน แต่ถ้าต้องการให้เกิดฟองที่สวยงามในตอนตี ควรจะผ่านการร่อนสักรอบเหมือนก่อนที่เราจะนำแป้งมาใช้ทำขนม เพาะ ผงชา และแป้งพวกนี้เมื่อถูกเก็บอยู่ในภาชนะนานๆ อาจเกิดการจับตัวเป็นก้อนได้อีกครั้ง การร่อนก่อนที่จะตีจะช่วยให้คุณได้เครื่องดื่มชาเขียวที่นุ่มขึ้น และยังทำให้ได้ฟองเป็นชั้นๆสวยงาม

2.ปริมาณน้ำกับชาไม่ได้สัดส่วนกัน  หากใส่น้ำในปริมาณที่มากเกินไปฟองมัทฉะก็ทำได้ยาก และอาจจะได้ฟองอากาศขนาดใหญ่จำนวนมากซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่ต้องการ เพราะการชงมัทฉะที่สวยงามน่าทานจะต้องเป็นฟองน้อยๆ หากใส่ผงมัทฉะในปริมาณที่มากเกินไปคุณจะได้ชาเขียวที่เข้มข้นมาก ๆ แต่มักจะเกิดกรณีที่เมื่อใช้ผงมัทฉะมากขึ้นเพื่อรสชาติที่เข้มขึ้น แต่ปริมาณของเหลว คือ น้ำ อยู่ในเรทเท่าเดิม ซึ่งไม่เพียงพอต่อการทำละลายของผงมัทฉะ จึงเป็นเรื่องยาก โดยปกติแล้วปริมาณความเข้มข้นของชาจะขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน แต่อัตราส่วนทั่วไปในการตีผงชามัทฉะคือ ไม้ไผ่ 2 ช้อน (หรือ 1 ช้อนชา) ต่อน้ำ 2-3 ออนซ์ หากต้องการปรับระดับความเข้นข้นเอง อย่าลืมที่จะเติมน้ำมากขึ้นตามระดับที่สามารถทำละลายผงชาได้

Matcha Frothy

3. อุณหภูมิของน้ำต่ำลงเกินไปหากน้ำเย็นเกินไปการพักมัทฉะในน้ำจะเป็นเรื่องยาก ซึ่งจะส่งผลให้มีการจับตัวเป็นก้อนมากกว่าฟอง อุณหภูมิของน้ำขึ้นไม่ได้มีสูตรบังคับตายตัว เพียงแต่มีคำแนะนำ เพื่อรสชาติที่ดีท่สุดเท่านั้นตามแบบฉบับของแต่ละร้านว่าควรใช้อุณหภูมิที่เท่าไหร่ ซึ่งแน่นอนว่า การใช้น้ำร้อนเกินไปก็ไม่ได้ทำให้การตีผงชาละลายได้ดีที่สุด แต่ถ้าอุณหภูมิของน้ำ ต่ำมากเกินไป ก็จะทำให้การละลายชาไม่ดีเท่าที่ควร อุณภูมิ 85 องศาเซลเซียส จึงเป็ฯอุณภูมิที่พอเหมาะที่สุดนั่นเอง

Matcha Frothy Matcha Frothy

4.ชาเขียวที่ใช้เป็นชาเขียวที่เสื่อมคุณภาพแล้วหากผงมัทฉะเป็นผงชาที่อยู่ในเกรดธรรมดาคุณภาพไม่สูงคุณนัก หรือเป็นชาที่ถูกเก็บไว้นานเกินด้วยวิธีการเก็บที่ผิดวิธี แม้จะสามารถตีต่อไปได้เรื่อยๆและดื่มได้ตามปกติ แต่ฟองมัทฉะที่สมบูรณ์แบบจะไม่ปรากฏให้เห็นเท่านั้น เพราะผงมัทฉะคุณภาพต่ำจะตีฟองได้ยาก แม้จะมีฟองอากาศอยู่บ้าง แต่จะไม่เป็นชั้นเรียบ มีโอกาสที่ของเหลวจะถูกเปิดเผยใต้พื้นผิวของฟองด้วย

การตีชาให้เกิดฟองเป็นเพียงความสวยงามที่ทำให้ชาแก้วนั้นดูน่ารับประทานมากขึ้น  บางร้านอาจจะต้องการฟองน้อยๆ หรือไม่มีฟองเลย ขึ้นอยู่กับรูปแบบการจัดเสิร์ฟที่ร้านตั้งใจไว้ ดังนั้นหากเห็นชาที่ไม่เกิดฟอง ไม่ได้แปลว่าชาแก้วนั้นมีคุณภาพไม่ดี 100% แต่อย่างใดจ้า…

ที่มา

https://creativemarket.com/Foxys/2137243-Flat-lay-of-freshly-brewed-Japanese

https://www.instagram.com/p/BoOKZJ5AQa-/

http://www.flickr.com/photos/corylum/3814974483/in/photostream

บทความจาก : Fuwafuwa

เปิดกรุประวัติศาสตร์ ชาเขียวในไทย

การดื่มชาได้เริ่มขึ้นในประเทศจีน คาดว่าไม่น้อยกว่า 2,167 ปีก่อนคริสตกาล ตำนานการเริ่มต้นของการดื่มชามีหลายตำนาน บ้างก็กล่าวว่าจักรพรรดิเสินหนิงของจีน (Shen Nung) ค้นพบวิธีชงชาโดยบังเอิญ เมื่อพระองค์ทรงต้มน้ำดื่มใกล้ๆ กับต้นชา ขณะรอคอยให้น้ำเดือด กิ่งชาได้หล่นลงในหม้อชา สักพักหนึ่งกลิ่นหอมกรุ่นก็โชยออกมา เมื่อพระองค์เอากิ่งชาออกแล้วทรงดื่ม ก็พบว่า มันทำให้สดชื่น การดื่มชาจึงแพร่หลายมากขึ้นในเวลาต่อมา นอกจากทรงค้นพบสรรพคุณของชาแล้ว พระองค์ยังทรงค้นคว้าและทดสอบสมุนไพรชนิดต่างๆ กว่า 200 ชนิด จนได้มีการเผยแพร่ไปยังประเทศต่างๆ ทั้งญี่ปุ่น อินเดีย รวมถึงที่ไทยเอง

matcha history matcha history

ในสมัยสุโขทัยช่วงที่มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับจีน พบว่าได้มีการดื่มชากัน แต่ก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่านำเข้ามาอย่างไร และเมื่อใด แต่จากจดหมายของท่านลาลูแบร์ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้กล่าวไว้ว่า คนไทยได้รู้จักการดื่มน้ำชาแล้ว โดยนิยมชงชาเพื่อรับแขก การดื่มชาของคนไทยสมัยนั้นดื่มแบบชาจีนไม่ใส่น้ำตาล แต่บางตำราก็บอกว่าคนสมัยนั้นจะอมน้ำตาลกรวดใส่ปากก่อน แล้วจิบน้ำชาร้อนๆตาม ระหว่างนั้นเจ้าบ้านก็จะรินน้ำชาใส่ถ้วยให้เรื่อยๆ ถ้าแขกดื่มพอแล้วก็ให้คว่ำถ้วยชาลงเป็นการส่งสัญญาณว่าน้ำตาลในปากละลายหมดเกลี้ยง แต่น้ำชาร้อนก็ไม่ได้เป็นเครื่องดื่มที่นิยมกันทุกบ้านทุกครัวเรือน เพราะคนไทยชอบกินน้ำเย็นดับร้อนอย่างน้ำฝนมากกว่า น้ำชาร้อนจึงจัดเสิร์ฟเฉพาะในจวนข้าราชการหรือถวายพระเท่านั้น แต่ก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัดนักว่าเป็นชาสายพันธุ์ไหน แล้วมีปลูกที่ไทยหรือเป็นเพียงชาที่ทูตใช้ชงดื่มกันในราชสำนัก

หลักฐานที่เห็นได้ชัดอีกประการ คือ ชาที่ปลูกในเมืองไทย เริ่มเมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประภาสยุโรปเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกล่าอาณานิคมจากชาวยุโรป เมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านได้เสด็จประพาสยุโรปโดยเฉพาะที่อังกฤษ ที่นั่นนิยมดื่มชาและ กาแฟ ในสมัยนั้นประเทศอินเดียเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษตั้งแต่สมัย สงครามโลกครั้งที่ 1 ได้เอาสินค้าเกษตรจากประเทศอินเดียมากมาย ชาอินเดียที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ ชาที่รัฐอัสสัม อยู่ที่ศรีลังกา เรียกว่า “ชาอัสสัม” แต่พอมาอยู่ที่ประเทศอังกฤษ ได้มีการเปลี่ยนชื่อจากชาอัสสัมมาเป็นชาซีลอน โดยระหว่างที่รัชกาลที่ 5 เจริญสัมพันธไมตรีอยู่นั้น ก็ได้นำต้นกล้าชาซีลอนจากอังกฤษกลับมาที่เมืองไทยด้วย ชาชนิดนี้จะชอบภูมิศาสตร์ที่เป็นภูเขาสูง และอากาศหนาวเย็น จึงได้ปลูกไว้ที่ดอยสะเก็ด สมัยนั้นเทือกเขาที่ดอยสะเก็ดจะมีภูเขาที่เชื่อมต่อเป็นแนวยาวถึงดอยวาวี ดอยแม่สลองและดอยตุง ปัจจุบันนี้ที่ดอยสะเก็ดและดอยวาวีก็ยังมีต้นชาอัสสัมอยู่ และได้รับการขนานนามใหม่ในการท่องเที่ยวว่า “ต้นชาร้อยปี”

เมื่อเริ่มการเพาะปลูกใบชาอย่างจริงจังทางภาคเหนือของประเทศ ในช่วงที่ปลูกพืชผักชนิดอื่นแทนฝิ่น จึงเริ่มมีการคิดค้นสูตรชาไทย ซึ่งทำจากชาอัสสัม ให้มีรสเข้มข้นถูกปากคนไทยมากขึ้นจนเป็นชาไทย เครื่องดื่มขึ้นชื่อของไทยทุกวันนี้

matcha history

สำหรับการปลูกชาในประเทศไทยนั้น แหล่งกำเนิดเดิมจะอยู่ตามภูเขาทางภาคเหนือของประเทศ โดยจะกระจายอยู่ในหลายจังหวัดแถบภาคเหนือ ที่สำคัญได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน ลำปางและตาก จากข้อมูลของสถาบันชาและกาแฟแห่งมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้มีบันทึกว่า การพัฒนาอุตสาหกรรมชาของประเทศไทย เริ่มขึ้นอย่างจริงจังในปี พ.ศ. 2480 โดย นายประสิทธิ์ และนายประธาน พุ่มชูศรี สองพี่น้องได้ตั้งบริษัท ใบชาตราภูเขา จำกัด และสร้างโรงงานชาขนาดเล็กขึ้นที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โดยรับซื้อใบชาสดจากชาวบ้านที่ทำเมี่ยงอยู่แล้ว แต่ปรากฏว่าพบปัญหาอุปสรรคหลายประการ เช่น ใบชาสดมีคุณภาพต่ำ ปริมาณไม่เพียงพอ ชาวบ้านขาดความรู้ความชำนาญในการเก็บเกี่ยวยอดชาและการตัดแต่งกิ่งชา จึงได้นำผู้เชี่ยวชาญทางด้านชาชาวฮกเกี้ยนมาจากประเทศจีน เพื่อมาถ่ายทอดความรู้ให้กับคนไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2482 สองพี่น้องตระกูลพุ่มชูศรี ได้แก้ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ โดยเริ่มปลูกสวนชาเป็นของตนเอง ใช้เมล็ดพันธุ์ชาพื้นเมืองมาเพาะ ที่อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ในเนื้อที่ประมาณ 100 ไร่และต่อมาได้ขยายพื้นที่ปลูกมาที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ในช่วงนั้นเองภาครัฐได้มีการนำชาพันธุ์ดีมาจากประเทศอินเดีย ไต้หวัน และญี่ปุ่นมาทดลองปลูก เพื่อทำการค้นคว้าและวิจัยต่อไป

ในปี พ.ศ. 2508 ได้ส่งเสริมการผลิตมากขึ้น โดยขอสัมปทานทำสวนชาจากกรมป่าไม้จำนวน 2,000 ไร่ ที่บ้านบางห้วยตาก ตำบลอินทขิน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ชาที่ผลิตได้ส่วนใหญ่จะเป็นชาฝรั่ง ต่อมาเอกชนเริ่มให้ความสนใจอุตสาหกรรมการผลิตชามากขึ้นโดยในปี พ.ศ. 2530 บริษัทชาระมิงค์ได้ขยายสัมปทานสวนชา ให้แก่บริษัทชาสยาม จากนั้นชาสยามได้เริ่มส่งเสริมให้เกษตรกรที่ปลูกไร่ในบริเวณใกล้เคียงปลูกสวนชาแบบใหม่ และรับซื้อใบชาสด จากเกษตรกรนำมาผลิตชาฝรั่งนามชาลิปตัน จนกระทั่งปัจจุบันนี้

matcha history

ส่วนชาเขียวนั้นแม้ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดว่าเข้ามาในไทยช่วงสมัยไหน แต่มีารคาดการณ์ว่าเข้ามาในช่วงที่มีการทดลองปลูกที่ภาคเหนือ และเริ่มแพร่หลายชัดขึ้นในช่วงที่ไทยรับวัฒนธรรมญี่ปุ่นเข้ามา และเริ่มปลูกอยู่ทางภาคเหนือ ซึ่งก่อนที่จะมีการรับวัฒนธรรมการดื่มชาแบบญี่ปุ่น คือแบบเป็นผงมัทฉะมาตีกับฉะเซนนั้น ชาเขียวในไทยมี 2 ประเภท

  1. ชาเขียวแบบญี่ปุ่น ชาเขียวแบบญี่ปุ่นไม่ต้องคั่วใบชา ชาเขียวมีสารอาหารพวกโปรตีนน้ำตาลเล็กน้อย และมีวิตามินอีสูง
  2. ชาเขียวแบบจีน ชาเขียวแบบจีนจะมีการคั่วด้วยกะทะร้อนนั่นเอง

หากถอยกลับไปชาเขียวญี่ปุ่นก็ได้รับอิทธิพลมาจากจีนเช่นกันราวต้นสมัยเฮอัน โดยเผยแพร่ผ่านทางนักบวชญี่ปุ่นที่ได้เดินทางไปเป็นทูตเรียนรู้เรื่องต่างๆจากประเทศจีนรวมทั้งการศึกษาตัวยาสมุนไพรจากจีนอีกด้วย เมื่อพระ ได้ชงชาใส่ถ้วยนำมาถวายองค์จักรพรรดิได้ดื่มชาก็เกิดความประทับใจในรสชาติ จึงสั่งให้นำเมล็ดชาไปปลูกที่สวนสมุนไพรภายในบริเวณราชวัง ชาจึงได้แพร่หลายไปในแถบภูมิภาคคิงคิ (เกียวโต) แต่ความนิยมยังคงมีอยู่แต่ในเฉพาะกลุ่มชนชั้นสูงเท่านั้น

ต่อมาในช่วงตอนต้นสมัยคามาคุระ นักบวช Eisai ในพุทธศาสนาเซน ได้นำเมล็ดชามาจากจีนเป็นจำนวนมากพร้อมกับกรรมวิธีการผลิตชากลับมาด้วย นั่นก็คือการดื่มชาในสไตล์ Matcha นั่นเอง ได้มีการส่งเสริมการเพาะปลูกชาเพื่อใช้เป็นสมุนไพรให้แพร่หลายมากขึ้น และมีประโยคหนึ่งในหนังสือที่ท่านได้เขียนไว้ว่า “ชาเป็นพื้นฐานทางจิตใจและเป็นเครื่องมือแพทย์ที่ดีที่สุด ทำให้ชีวิตถูกเติมเต็มและมีความสมบูรณ์มากขึ้น”จากนั้นก็เริ่มมีการค้นคว้าสรรพคุณของชามากขึ้นอีกด้วย

ในสมัยมุโระมาจิ เริ่มมีพิธีชงชาในแบบฉบับดั้งเดิมของญี่ปุ่นแล้ว เริ่มมีการลงรายละเอียดในภาชนะที่ใช้ในพิธีชงชา รวมไปถึงการเสิร์ฟชาเขียวในร้านอาหารอีกด้วย การดื่มชายังเป็นที่นิยมในงานพบปะสังสรรค์ของชนชั้นนักรบมากขึ้น แต่เป็นการดื่มชาเพื่อเล่นเกมทายปัญหาต่างๆ เพื่อชิงรางวัลเป็นเหล้าสาเก และมีการร้องเล่นเต้นรำไปด้วย ต่อมานักบวชเซน Shuko Murata ไม่เห็นด้วยกับการดื่มชาเพื่อความสนุกสนานเช่นนั้น เขาคิดว่าโลกแห่งความเรียบง่ายของเซนนั้นมีแนวคิดแตกต่างออกไปในการดื่มชา การดื่มชาด้วยความเรียบง่ายและมีสมาธิในแบบของเซนจะช่วยให้จิตใจสามารถพัฒนา ขึ้นได้อย่างสมบูรณ์ นักบวชจึงออกแบบห้องพิธีชงชาขนาดเล็ก เพื่อใช้สนับสนุนการชงชาตามอุดมคติของนักบวช Eisai และในขณะที่ชงชานั้นก็ได้ผสมผสานจิตวิญญาณของพุทธศาสนานิกายเซนไปด้วย

ต่อมาในสมัยยุคเมจิ การผลิตชามีมากขึ้น มีหนังสือเทคนิคการผลิตต่างๆ ออกมาอย่างแพร่หลาย เริ่มมีเครื่องจักรเข้ามาช่วยในกระบวนการผลิต และเริ่มมีการส่งออกชาไปยังต่างประเทศแล้ว และปริมาณการส่งออกยังมากเป็นอันดับสองรองจากประเทศจีนอีกด้วย แม้การส่งออกจะกระท่อนกระแท่นไปบ้างในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เพราะตอนนั้นชาดำเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นในต่างประเทศ แต่ไม่นานในศตวรรษที่ 20 ชาเขียวก็ได้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของผู้คนทั้งประเทศญี่ปุ่นและ แพร่หลายออกมาทั่วโลกอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันนั่นเอง

matcha history

ที่มา

http://photography.nationalgeographic.com

http://web2.mfu.ac.th/other/teainstitute/?p=291&lang=th

บทความจาก : Fuwafuwa

ทำความรู้จักใบชา สำหรับคั่วชาโฮจิฉะ

อย่างที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าชาโฮจิฉะ คือ ชาเขียวคั่วด้วยอุณหภูมิที่สูงจนมีกลิ่นหอม เป็นชาที่ทิ้งรสชาติและความหอมให้ยังคงหลงเหลือในปากหลังดื่ม จึงทำให้ชาชนิดนี้นิยมดื่มหลังอาหาร หรือระหว่างมื้ออาหาร ด้วยวิธีการคั่วนี้เองจึงทำให้สารคาเทชินซึ่งเป็นสารที่ทำให้มีรสฝาดและคาเฟอีนน้อยลง ชาประเภทนี้จึงอ่อนโยนต่อร่างกาย สามารถดื่มได้ทั้งเด็ก คนท้อง และผู้ใหญ่ทั่วไป และยังสามารถดื่มก่อนนอนได้อีกด้วยเพราะมีปริมาณคาเฟอีนในชาที่ต่ำมาก โดยใบชาที่นิยมนำมาคั่วเป็นโฮจิฉะมี 3 ชนิด ได้แก่ เซนฉะ (煎茶) บังฉะ (番茶) และคุคิฉะหรือชาที่ทำจากก้านชา (茎茶) แต่ละชนิดที่นำมาคั่วก็มีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกัน หากใครอยากลองที่จะคั่วชาเขียวให้เป็นชาโฮจิฉะ มาทำความรู้จัก ชาทั้ง 3 ชนิดนี้ก่อนว่าแตกต่างกันยังไง

ชาโฮจิฉะ ชาโฮจิฉะ

เริ่มที่ เซนฉะ (煎茶) ชาเขียวที่ชาวญี่ปุ่นดื่มในชีวิตประจำวัน ไม่ต้องเลี้ยงในร่ม สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี เป็นชาที่ผลิตเยอะที่สุดในญี่ปุ่น เพราะ เก็บใบชาได้ปีละ 4 ครั้ง โดยเริ่มเก็บตั้งแต่ เดือนพฤษภาคมโดยเก็บยอดอ่อน 3 ใบแรก และใช้กรรไกรตัด เซนฉะจะถูกแบ่งเกรด 3 ระดับ คือ เกรดสูง เกรดกลาง และ เกรดธรรมดา หลังจากเก็บใบชาจะนำมาเป่าให้แห้ง และปั่นใบชาให้เป็นเกลียว และม้วนภายในระยะเวลาที่สั้นที่สุด เพื่อหยุดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของเอนไซม์ เพราะจะทำให้คงสภาพสีและกลิ่นของของชาเอาไว้ได้ รสชาติออกไปทางรสฝาด แต่เป็นชาที่มีความหอมอยู่แล้ว เลยทำให้เวลานำมาคั่ว จะทำให้มีกลิ่นหอมยิ่งขึ้น

ชาเซนฉะ

แต่ถ้านำใบชาเซนฉะไปอบนานขึ้น ประมาณ 2-3 เท่า ทำให้ได้สีและรสชาติที่เข้มกว่าเซนฉะ จะเรียกว่า ฟุคะมุชิฉะ (深蒸し茶) นั่นเอง

ชาเซนฉะ ชาเซนฉะ

ส่วน บังฉะ (番茶) คุณภาพรองลงมาจากชาเซนฉะ เพราะเก็บเกี่ยวในช่วงที่สามหรือสี่ของปี เป็นใบชาที่เหลืออยู่ที่ยอดชาหลังเก็บใบชาเซนฉะไปแล้ว ใบชาบังฉะจะมีขนาดใหญ่กว่าที่นำไปผลิตเป็นชาเซนฉะ หลังจากนั้นก็นำมานวดเล็กน้อย รสชาติจะอ่อนๆ ใช้ดื่มทั่วไป เป็นใบชาที่เหลือจากยอดต้น มีรสชาติอ่อน แต่มีกลิ่นหอมที่ชัดเจน ฝาดเล็กน้อย ส่วนใหญ่ใบชาประเภทนี้เป็นใบแข็ง ไม่ค่อยสมบูรณ์ มีสีน้ำตาลอ่อนออกเหลือง และมีรสชาติขมกว่าเกียวคุโระและเซนฉะ

บังฉะ (番茶)

เมื่อนำบังฉะไปอบด้วยความร้อนในอุณหภูมิที่พอเหมาะ แล้วนวดให้แห้ง จะได้ใบชาหอม สีน้ำตาลแดง เรียกว่า “โฮจิฉะ” นั่นเอง ซึ่งชาบังฉะนี้  มีสารแทนนิน (tannin) มาก แต่มีคาเฟอีนน้อย  อีกเอกลักษณ์โดดเด่นของบังฉะ คือ ดื่มแล้วทำให้รู้สึกสดชื่นในปาก เทคนิคการดื่มก็คือการชงด้วยน้ำร้อนแบบเร็วๆ ให้รสชาติที่ค่อนข้างขมและฝาด เหมาะกับการดื่มเพื่อล้างปากหลังอาหาร ให้ความรู้สึกสดชื่นได้ นอกจากนั้นยังมีฟลูโอไรด์อยู่มากจึงมีผลในการลดแบคทีเรียในช่องปาก ช่วยบรรเทากลิ่นปากด้วย

มาถึงชาประเภทสุดท้าย  คุคิฉะหรือชาที่ทำจากก้านชา (茎茶) มีอีกชื่อหนึ่งว่า Boucha (棒茶) เป็นชาที่เป็นผลพลอยได้มาจากลำต้นและก้านของ ชาเซนฉะ หรือ ชามัทฉะ มีใบชาผสมน้อยมาก มีรสชาติหวานนวลกว่าชาชนิดอื่นๆ เพราะมีสาร L-theanineสูง ซึ่งสารนี้จะพบในลำต้น หรือรากของต้นชานั่นเอง ชาคุคิฉะสามารถชงซ้ำได้หลายครั้ง  และยังสามารถนำไปผสมกับน้ำผลไม้สำหรับเด็กๆ ได้ด้วย ชงในอุณหภูมิน้ำที่ 70-80 องศา จะได้รสชาติที่ดีที่สุด ชาชนิดนี้มีกลิ่นที่หอมมากเมื่อเทียบกับชาชนิดอื่นๆ เมื่อนำไปอบรมควันจึงจะได้ชาโฮจิฉะที่มีความหอมที่เป็นเอกลักษณ์

Boucha (棒茶)

เพียงแค่ชาเปลี่ยนกรรมวิธีในการผลิตและเก็บเกี่ยว ก็สามารถกลายเป็นชารูปแบบต่างๆ ให้คนเลิฟชาได้ลิ้มรสทั้งกลิ่น และรสชาติที่แตกต่างกัน

ที่มา

https://en.wikipedia.org/wiki/H%C5%8Djicha

https://subsc.jp/notes/534

http://www.amazon.com/gp/product/

บทความจาก : Fuwafuwa

ดื่มชาเขียวร้อนดีกว่าชาเขียวเย็นจริงมั้ย ?

ชาเขียว เครื่องดื่มที่อุดมด้วยคุณค่าทางสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย สามารถดื่มได้ทั้งแบบร้อนและแบบเย็น แต่ในทางกลับกันการดื่มชาเขียวอาจไม่ได้ช่วยให้เกิดประโยชน์อะไรต่อร่างกายเลยหากดื่มไม่ถูกวิธี ซึ่งที่ทุกคนทราบกันอย่างแน่ชัด คือ การดื่มน้ำชาไม่ว่าจะชาร้อนหรือชาแช่เย็น ไม่ควรแต่งรสด้วยน้ำตาล หรือ นมทุกชนิด ไม่ว่าจะนมสด นมข้นหรือนมผง เพราะโปรตีนในนมจะไปจับกับสารสำคัญในชา และทำลายประสิทธิภาพสารออกฤทธิ์ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพ จึงควรดื่มน้ำชาล้วนๆไม่ปรุงแต่ง

Hot Matcha Cold Matcha

อย่างไรก็ตาม แม้จะดื่มชาเขียวเพียวๆ แต่ก็มีคนเข้าใจว่าการดื่มชาเขียวเย็นไม่เกิดประโยชน์แล้วกลับทำให้เกิดโทษต่อร่างกาย เพราะชาเขียวเย็น ก่อให้เกิดการเกาะตัวแน่นของสารพิษที่เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็ง นอกจากนี้ชาเขียวเย็นยังส่งผลให้ไขมันในร่างกายก่อตัวมากขึ้นตามผนังหลอดเลือด และอุดตันตามผนังลำไส้ ทำให้เกิดโรคร้ายตามมา เช่น หลอดเลือดหัวใจอุดตัน มะเร็งลำไส้ เส้นเลือดตีบ แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานการวิจัยยืนยันอย่างชัดเจนว่าชาเขียวเย็นส่งผลเสียแบบนั้นจริงมั้ย

บางกระแสก็บอกว่า หากดื่มแบบเย็นที่มีน้ำแข็งผสม ความเย็นจากน้ำแข็งจะทำให้ประสิทธิภาพของชาเขียวเจือจางไปพร้อมน้ำแข็ง แทนที่จะได้รับประโยชน์แบบเต็มที่ก็ทำให้ได้รับคุณประโยชน์น้อยกว่า แต่สำหรับใครที่อยากดื่มชาเขียวแบบเย็นก็สามารถทำได้ เพียงให้ดื่มชาที่ชงด้วยตัวเองแล้วนำไปแช่เย็นไว้ แค่ไม่ใส่น้ำแข็งไปผสมเพิ่มก็พอ และเพื่อให้สารต้านอนุมูลอิสระจากในชาเขียวยังคงมีอยู่

ในทางกลับกัน มีสมมติฐานที่ยังคงเป็นที่ถกเกียงกันว่าการดื่มชาเขียวร้อนที่ว่ากันว่าช่วยยับยั้งการเกิดมะเร็งได้ เพราะยอดใบชาจะมีสารต้านอนุมูลอิสร แต่ก็ยังไม่ได้มีวิจัยที่ชัดเจน และบางคนก็เชื่อว่าการดื่มชาเขียวร้อน ยิ่งเสี่ยงมะเร็งหลอดอาหาร แม้จะยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน แต่คนเลิฟชาเขียวก็ควรดื่มชาในปริมาณที่พอเหมาะ และดื่มอย่างถูกวิธี เพื่อให้ได้คุณค่าทางสารอาหารมากที่สุด

สำหรับผู้ที่นิยมดื่มน้ำชาร้อนๆ สารสำคัญที่เป็นประโยชน์ คือ คาเทคชินส์ (Catechins) จะถูกความร้อนทำลายไปเกือบหมด คงเหลือแต่ความหอมและรสชาติ ถ้าต้องการให้ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายแต่ยังนิยมชาร้อนๆ ควรดื่มน้ำชาที่เข้มข้น เช่นเดียวกับคนจีนแต้จิ๋ว ที่นิยมชงชาจีนรสเข้มข้นในถ้วยชาใบจิ๋วคล้ายกับการดื่มกาแฟเอ็กซ์เพรซโซ่ ความเข้มข้นของใบชาจะทำให้มีปริมาณสารคาเทคชินส์ที่เข้มข้น และแม้ว่าสารเหล่านี้จะสลายตัวไปบางส่วนเมื่อโดนความร้อนจากน้ำร้อน แต่จะยังคงมีบางส่วนที่หลงเหลืออยู่ ที่พอจะให้ประโยชน์ต่อสุขภาพ

Hot Matcha

นอกจากนี้ยังมีวิจัยที่ว่า การดื่มชาร้อนช่วงอากาศร้อนๆๆ ช่วยให้รู้สึกเย็นมากกว่าชาเย็น เพราะเหงื่อจะออกเยอะ เป็นการช่วยระบายความร้อนได้อีกทาง ถ้าดื่มชาเขียวเย็นในช่วงที่อากาศร้อนชาเย็นที่เราดื่มเข้าไปจะสูญเสียความเย็นเมื่อไหลผ่านอวัยวะต่างๆ ถ้าดื่มในปริมาณที่มากเกินๆ

แม้จะยังไม่มีงานวิจัยที่ชัดเจนรองรับการดื่มชาเขียวเย็น หรือชาเขียวร้อนว่าการดื่มประเภทไหนจะเกิดผลร้ายต่อร่างกายมากกว่ากัน เพียงแค่โดยหลักการแล้วเราจะได้รับสารต้านอนุมูลอิสระมากที่สุดตอนดื่มชาร้อน โดยเฉพาะชาที่ต้มในอุณหภูมิ 70-78 องศาเป็นเวลา 2-4 นาที แล้วสารต้านอนุมูลอิสระจะหายไปประมาณ 20% หากโดนความร้อนนานๆนั่นเอง และปริมาณที่บริโภคในแต่ละวันก็ไม่ควรมากเกินไปเพราะอาจจะเกิดอาการท้องผูกได้ และกินหลังมื้ออาหาร เพื่อให้คาเฟอีนในชาไม่ไปทำให้เกิดกรดในกระเพาะนั่นเอง

ที่มา

shorturl.at/jtwDM

https://www.dotfit.com/content-35820.html

DIY Beauty and Natural Skincare Recipes, Essential Oils, Non-Toxic Lifestyle & More

บทความจาก : Fuwafuwa

ขนาดของใบชามีผลต่อคุณภาพของชาหรือไม่?

ใบชาที่เราเอามาชงดื่มกันทุกวันนี้ จริงๆแล้วมีหลายเกรดมากๆ ขึ้นอยู่กับกรรมวิธีในการผลิตและเก็บเกี่ยวใบชาที่แตกต่างกัน และมีหลากหลายชนิดให้เราได้เลือก ดังนั้นเพื่อเป็นการควบคุมคุณภาพของชา จึงมีการแบ่งเกรด ของใบชา โดยพิจารณาจากคุณภาพของใบชาที่ผลิตออกมาจากโรงงานหรือไร่ชาในแต่ละที่ การแบ่งเกรด แบ่งเป็น 3 เกรด ดังนี้

ขนาดใบชา ขนาดใบชา

  1. เกรดใบชาเต็มใบ (Whole Tea leaf)โดยทั่วไปชาเต็มใบถือว่าเป็นชาเกรดดี แบ่งได้ 4 เกรดย่อย คือ ใบอ่อน คือ ยอดใบอ่อนชั้นบนสุดของชาเต็มใบ ถือว่าเป็นชาที่ดีที่สุดใบชาคู่แรก  เป็นเกรดรองลงมา ขนาดของใบใหญ่ขึ้นมาหน่อยPekoeชาเกรดนี้ ใบจะมีลักษณะหนาและบิดเกลียว Pure Souchongมีลักษณะใบใหญ่ ค่อนข้างเหนียวและหยาบ เวลาผลิตเครื่องจักรจะปั้นใบชาเป็นก้อนกลมๆ เวลาชงก้อนชานี้จะขยายตัวออกให้เห็นลักษณะใบอย่างชัดเจน
  1. เกรดใบชาร่วง (Broken Tea Leaf) เป็นใบชาที่ไม่ผ่านการคัดเกรดตาม 4 ขั้นตอนแรก ผู้ผลิตก็จะนำใบชาที่เหลือมาผ่านกรรมวิธี หมัก คั่ว ตามกรรมวิธีของแต่ละโรงงาน เป็นชาที่เหลือจากการคัดเกรด โดยการนำเศษที่เหลือมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำไปปรุงแต่งเพื่อผลิตขั้นตอนต่อไป โดยคุณสมบัติของชาผง คือ เวลาชงด้วยน้ำร้อนจะขับสีออกเร็วมาก จึงเป็นที่นิยมของผู้ดื่มชา กลิ่น สี และรสชาติขึ้นอยู่กับผู้ผลิต ราคา จึงเหมาะสมสำหรับคนทั่วไป

Fine Leaf Teas

  1. เกรดใบชาผง (Fine Leaf Teas) เป็นชาที่เหลือจากการคัดเกรด โดยการนำเศษที่เหลือมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำไปปรุงแต่งเพื่อผลิตขั้นตอนต่อไป โดยคุณสมบัติของชาผง คือ เวลาชงด้วยน้ำร้อนจะขับสีออกเร็วมาก จึงเป็นที่นิยมของผู้ดื่ม กลิ่น สี และรสชาติขึ้นอยู่กับผู้ผลิต ราคา ก็เหมาะสมสำหรับคนทั่วไป

จะเห็นได้ว่าขนาดของใบชา คุณภาพทางรสชาติของใบชาไม่ได้ขึ้นกับขนาดของใบชาอย่างเดียว แต่ขึ่นอยู่กับลักษณะของใบชาว่าเป็นส่วนยอดใบชา หรือเป็นส่วนไหนของต้นชส ใบชาที่ใหญ่ไม่ได้หมายความว่าจะมีรสชาติที่ดีกว่า หรือแม้แต่ยอดชา ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นสุดยอดใบชาคุณภาพดี หากผ่านมือผู้ผลิตชาที่ไม่ดี  รสชาติชาก็อาจจะดร็อปลงได้เช่นกัน เพราะจริงๆแล้วขนาดของใบ ไม่มีการแยกคุณภาพหรือสารอาหารใดๆ แต่จะเกิดจากใบชาที่ขนาดใหญ่จะทำให้เกิดชาที่มีความเข้มข้นน้อยลงซึ่งสาเหตุมาจากพื้นที่ผิวสัมผัสที่มากกว่าเมื่อสัมผัสกับน้ำและทำให้ประสิทธิภาพในการสกัดลดลงนั่นเอง

การเก็บเกี่ยวชา

จุดสำคัญจะอยู่ที่การเก็บเกี่ยวชาเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะการผลิตชาให้ได้คุณภาพดีนั้น ต้องเริ่มจากใบชาสดที่มีคุณภาพ ก่อนซึ่งก็คือ ใบชาที่เก็บจากยอดชาที่ประกอบด้วย 1 ยอด กับ 2 ใบ การเก็บชาจะเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม จนถึงเดือนพฤศจิกายน โดยเฉลี่ยจะเก็บยอดชา 10 วันต่อครั้ง ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยวยอดชาจะอยู่ประมาณ 5.00-14.00 น. การเก็บยอดชาจะต้องไม่อัดแน่นในตะกร้า หรือกระสอบเพราะจะทำให้ยอดชาชํ้าและคุณภาพใบชาเสียได้ เนื่องจากความร้อนที่เกิดขึ้นจากการหายใจของใบชา หลังจาเก็บเกี่ยวแล้ว ควรรีบนำ ส่งโรงงานผลิตภายใน 3-4 ชั่วโมง

วิธีการเก็บรักษาใบชา ใบชาจะต้องเก็บรักษาเป็นอย่างดี เพื่อจะคงไว้ซึ่งกลิ่น สีและรสชาติ ภาชนะที่จะใช้บรรจุใบชาจะต้องแห้งและปราศจากกลิ่น อากาศเข้าไม่ได้ สิ่งสำคัญที่มีผลกระทบต่อคุณภาพใบชา คือ ความชื้น อุณหภูมิ และกลิ่น หากกระบวนการผลิต เก็บรักษาที่ไม่ได้มาตรฐาน ขนาดของใบชาจะเล็กจะใหญ่ หรือเก็บจากยอดชาหรือไม่ ก็ทำให้ชาเสื่อมคุณภาพอยู่ดี

วิธีการเก็บรักษาใบชา

ที่มา

https://www.pinterest.com/pin/491596115580846654/

http://www.taotealeaf.com/da-hong-pao-oolong-tea-premium/

บทความ : Fuwafuwa

ความต่างของ”กาน้ำชา”

ชามีบทบาทในพิธีกรรมและกิจกรรมทางสังคมต่างๆ ในพิธีกรรมและกิจกรรมทางสังคมต่างๆ ในหลายวัฒนธรรม การชงชาไม่ได้ชงเพื่อรสชาติเท่านั้น แต่การชงชาได้เป็นการแสดงออกถึงศิลปะความงามอีกประเภทหนึ่ง จึงส่งผลให้การเลือกใช้กาชาของแต่ละคนอาจจะลืมนึกถึงประโยชน์ในการใช้งานไป

เวลาเลือกกาน้ำชา บางคนเลือกเพียงจากความสวยงาม และใช้งานถนัดมือ แต่ความจริงแล้ว เราจำเป็นต้องคำนึงว่ากานั้นๆจะใช้ชงชาใบหรือชาซอง หรือใช้แค่ใส่น้ำร้อนเทลงถ้วยชาวังสำหรับตีผงมัทฉะ นอกจากวัตถุประสงค์ในการใช้แล้ว จะเห็นว่า กาน้ำชา สามารถทำได้จากวัสดุที่หลากหลายเช่นกัน ทั้ง หิน ดินเผา แก้ว เหล็กหล่อ เงิน และสเตนเลส วัสดุแต่ละประเภทมีผลต่อรสชาติของชาและก็เหมาะกับการชงชาแต่ละประเภทแตกต่างกันไป

กาน้ำชา กาน้ำชา

หากต้องการชงชาใบตะกร้ากรองชาที่มากับกาน้ำชาก็เป็นสิ่งที่สำคัญที่ต้องดูความถี่ของตะแกรงให้ดี ไม่เช่นนั้น อาจจะมีใบชาเล็ดลอดออกมาตอนเท ทำให้เสียรสชาติการดื่มชาได้

หากเป็นกาชา “เครื่องกระเบื้อง” เป็นเครื่องปั้นดินเผาสีขาวขุ่นคุณภาพดีที่ผ่านการเผาที่อุณหภูมิสูง กาน้ำชาเครื่องกระเบื้องใช้ได้ดีกับชารสอ่อน เช่น ชาเขียว ชาอู่หลง และชาดำอ่อนๆ ยอมชาดาร์จีลิง แต่ถ้าเป็น กาชา”เหล็กหล่อ”เหล็กหล่อถูกใช้เพื่อทำภาชนะสำหรับต้มน้ำด้วยกองไฟเพราะเหล็กจะร้อนได้เร็วและรักษาความร้อนไว้ได้ดีเมื่อมีอุณหภูมิตามที่ต้องการแล้ว การใช้กาน้ำชาแบบเหล็กมาหล่อต้มชาเกิดขึ้นในช่วงที่เซนฉะเริ่มได้รับความนิยมในญี่ปุ่น

โดยกาน้ำชาเหล็กหล่อมีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับกาน้ำชาดินเผาแบบไม่เคลือบ เพราะมันจะดูดซับรสชาติบางส่วนของชาไว้ดังนั้นจึงไม่ควรใช้น้ำยาล้างจานล้างกาน้ำชาเหล็กหล่อ และควรทำให้แห้งสนิทเพื่อป้องกันสนิม

กาชาอีกประเภทที่เห็นทั่วไปคือ กาชา “แก้ว” วัสดุที่ไม่ค่อยจะเหมาะแก่การทำกาน้ำชาเพราะมันเก็บกักความร้อนได้น้อย เปื้อนง่าย และเปราะบาง เหมาะสำหรับการชงชาที่มีความสวยงามโดยเฉพาะชาดอกไม้บานเพราะเราจะเห็นใบชาที่กำลังคลี่ออกอย่างสวยงาม นอกจากนี้คุณยังรู้ด้วยว่าชาของคุณเข้มพอหรือยัง และกาน้ำชาแก้วมักจะมาพร้อมกับเตาอุ่นที่ให้ใส่เทียนเข้าไปด้านล่างเพื่อรักษาให้ชาอุ่น

กาชา “ดินเหนียว”  ยิ่งอุณหภูมิที่สูงเท่าไหร่ เครื่องปั้นดินเผาที่ได้ออกมาก็จะแข็งแรงขึ้นเท่านั้น กาชาประเภทนี้จะสามารถเก็บรักษาความร้อนได้ดีกว่าประเภทอื่น โดยธรรมชาติแล้วเครื่องปั้นดินเผาแบบไม่เคลือบที่ทำจากดินเหนียวที่มีรูพรุนช่วยให้การน้ำชาดูดซึมกลิ่นและรสชาติของชาในกาได้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามคำแนะนำสำหรับการใช้เครื่องปั้นดินเผาที่ไม่เคลือบ คือ ควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำยาล้างจานเพราะมันจะดูดเอารสน้ำยาล้างจานไว้ ควรล้างด้วยน้ำเย็นจนแน่ใจว่าไม่มีเศษใบชาเหลืออยู่และนำไปตากให้แห้ง

กาน้ำชา กาน้ำชา

ส่วนกาน้ำชาที่ใช้ในพิธีชงชาของญี่ปุ่นที่ถูกเลือกมาเพื่อสะท้อนช่วงเวลาของปีหรือแต่ละโอกาส โดยการออกแบบตัวกาน้ำชาและอุปกรณ์ชงชาอื่นๆ จะสื่อถึงฤดูที่กำลังเปลี่ยนจากฤดูใบไม้ผลิไปเป็นฤดูใบไม้ร่วงนั่นเอง

อย่างไรก็ตามการชงชาที่อร่อยไม่ได้ขึ้นอยู่กับกาน้ำชาเพียงอย่างเดียว จริงหูที่กาน้ำชาที่ดีต้องน้ำหนักเบา เก็บความร้อน รินน้ำแล้วไม่หยด เมื่อเอียงกากลับมาน้ำต้องหยุดทันที ไม่ไหลเปียกโต๊ะ และฝากาต้องแน่นหนาพอให้เมื่อรินน้ำชาแล้วฝาไม่หลุดออกมา กาน้ำชาเซรามิกบางรุ่นหนักมาก ทำให้ควบคุมปริมาณน้ำที่เทออกมาได้ยาก แถมยังไม่เก็บความร้อน

อย่างระดับอุณหภูมิของน้ำร้อนเป็นสิ่งสำคัญมากในการชงชา ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับชาแต่ละชนิด ถ้าเป็น ชาขาวหรือ ชาเขียวที่ต้องการความสดใหม่ ควรใช้น้ำร้อนประมาณ 85 องศาเซลเซียส ชาอูหลงประมาณ 90 องศาเซลเซียส ชาแดงหรือ ชาพูเอ่อร์ประมาณ 100 องศาเซลเซียส

กาน้ำชา

อีกสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือ ควรอุ่นอุปกรณ์ที่ใช้ในการชงชาก่อนด้วยการลวกน้ำร้อน รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ควรมองข้าม เพราะต่อให้ต้มน้ำร้อนได้อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับชงชาแล้ว แต่ถ้ากาน้ำชาและแก้วที่ใช้ยังเย็นอยู่ เมื่อเทน้ำร้อนลงไปอุณหภูมิของน้ำก็จะลดลง ทำให้ดึงรสชาติชาออกมาได้ไม่เต็มที่นั่นเอง

ที่มา

https://www.pinterest.com/pin/337066353331099228/

บทความจาก : Fuwafuwa