“ชาเขียว“ ของขวัญทุกเทศกาลของคนญี่ปุ่น

ชาวญี่ปุ่นมักจะมีของฝากเล็กๆน้อยๆถือติดไม้ติดมือมอบให้กันอยู่เรื่อยๆไม่ว่าจะเป็นโอกาไหนๆ เช่น หากต้องเดินทางไปต่างถิ่นหรือแม้กระทั่งทริปเล็กๆ โดยทั่วไปก็จะนิยมซื้อของฝาก หรือในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “โอมิยาเกะ”มาให้ โดยของฝากมีทั้งเป็นห่อคุกกี้น่ารักๆ ช็อกโกแลต ชาเขียว หรือของหวานญี่ปุ่นชนิดต่างๆ

โอมิยาเกะ

ไม่เพียงแค่การซื้อของฝากจากการไปท่องเที่ยว แต่การมอบของขวัญให้แก่กันทได้เป็นวัฒนธรรมที่ฝังรากลึกลงไปของคนญี่ปุ่น อย่างเช่น วันปีใหญ่ แต่งงาน คลอดบุตร ฯลฯ ซึ่ง”ชา”ถือว่าเป็นของขวัญที่นิยมมากๆเลยก็ว่าได้ การมอบชาเขียวให้กันนั้นก็จะแฝงความหมายที่แตกต่างตามวาระโอกาสที่ให้ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความยินดี การทักทาย หรือแสดงความขอบคุณ เพราะ”ชา”เป็นสิ่งที่ชาวญี่ปุ่นดื่มกันทุกวันอยู่แล้ว นอกจากจะดีต่อสุขภาพแล้ว ให้ความรู้สึกถึงความมีคุณภาพ มีราคา ยิ่งส่งมอบให้กันเป็นชุด gift set หรือ ห่อด้วยผ้าฟุโรชิกิด้วยแล้ว ยิ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กลายเป็นเซ็ตชาที่ถูกใจผู้รับแน่นอน อีกเหตุผลที่นิยมให้ชาเป็นของขวัญ เพราะนอกจากนั้นยังเก็บรักษาได้นาน และมีขนาดไม่เล็กไม่ใหญ่เกินไป ทานได้ทุกเพศทุกวัย ชายังแฝงความหมายที่ดีและเป็นมงคลที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ด้วย เช่น

ฉะเมียว (茶寿)

  • คำว่า ฉะเมียว (茶寿)ที่สะกดด้วยตัว茶ที่แปลว่า ชา อยู่ในคำนั้นด้วย ฉะเมียว ในความหมายคนญี่ปุ่น หมายถึง “การแสดงความยินดีฉลองอายุครบ 108 ปี” การมอบชาเป็นของขวัญจึงถือเป็นการอวยพรขอให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง อายุยืนยาว
  • ในงานแต่งงานของคนญี่ปุ่นบางพื้นที่ ได้แก่ ภูมิภาคคิวชู รวมถึง จังหวัดนีกาตะและฟุคุชิมะ จะมีการมอบ “ชุดชา”เป็นของขวัญสำหรับงานหมั้น เพราะต้นชามีอายุยืนยาว หยั่งรากลึกลงในดิน ยากที่จะถอนแล้วนำไปปลูกใหม่อีกครั้ง แสดงถึง “การแต่งงานออกเรือนของเจ้าสาวเพียงครั้งเดียว และยึดมั่นในคู่ครองไปตลอดชีวิต”

ชุดชา ชุดชา

  • ในวันขึ้นปีใหม่ของญี่ปุ่นจะมีธรรมเนียมการดื่มชาไดฟุคุฉะ (大福茶) เป็นชาที่ดื่มเพื่อขอให้ในปีนี้ปลอดภัยจากภัยพิบัติ และโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ โดยเฉพาะที่เกียวโต สืบเนื่องมาจากในสมัยก่อนที่มีนักบวชเอาชาไปแจกให้ผู้ป่วยติดเชื้อดื่ม และอาการหายเป็นปกติ การรับประทานชุดอาหารโอเซจิ (おせち料理) ในวันขึ้นปีใหม่ พร้อมดื่มไดฟุคุฉะกับบ๊วยแห้งและสาหร่ายคอมบุ วัฒนธรรมที่สืบทอดต่อกันมายาวนาน
  • คำว่า เมเดไต (めでたい) ที่แปลว่า “น่ายินดี” ในภาษาญี่ปุ่น พ้องเสียงกับคำว่า เมเดไต (芽出たい) ที่แปลว่า “ต้องการแตกหน่อ(ของยอดชา)” ดังนั้นการมอบชาเป็นของขวัญจึงมีความเป็นสิริมงคลที่คนญี่ปุ่นเชื่อว่า หมายถึง การแสดงความยินดีต่อผู้รับนั่นเอง

เมเดไต (めでたい)

อย่างไรก็ตาม บางตำรากล่าวว่ากชาเป็นเครื่องดื่มที่ญี่ปุ่นรับมาจากประเทศจีนพร้อมกับศาสนาพุทธ จึงให้ภาพพจน์ที่เกี่ยวข้องกับพิธีทางพุทธศาสนา ซี่งส่วนมากจะเป็นพิธีศพ จึงควรหลีกเลี่ยงที่จะให้ชาเป็นของขวัญ แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้ความเชื่อนั้นก็ได้หายไป และยังมีความนิยมส่งชินชะ (新茶)ซึ่งเป็นชาแรกของฤดูที่ทำจากยอดอ่อนที่เก็บได้ครั้งแรก ให้เป็นของขวัญตามฤดูกาลมากขึ้น

ชินชะ (新茶)

นอกจากโอกาสมงคลต่างๆ ที่เราส่งมอบชากันเป็นของขวัญแล้ว ยังมีวัฒนธรรมการดื่มชาอื่นๆที่คนญี่ปุ่นจะดื่มกันอีก เช่น

  • ซากุระยุ (桜湯)ที่ได้จากการชงน้ำร้อนกับกลีบดอกซากุระที่ปรุงรสด้วยเกลือ แทนชาเขียว นิยมดื่มในโอกาสมงคล คู่กับขนมฮิกาชิ เป็นขนมแห้ง ชิ้นเล็กมีลวดลายและสีสันงดงาม คล้ายขนมผิงบ้านเรา
  • ในฤดูร้อนนิยมดื่มมุงิชะ (麦茶)ชาข้าวบาร์เลย์เย็นๆ คลายร้อน
  • ถ้าใช้รับรองแขก จะนิยมเสิร์ฟเกียวกุโระ ( 玉露) หรือ เซ็นชะ ( 煎茶)คู่กับขนมวากาชิ
  • แต่ในชีวิตประจำวันจะนิยมดื่มโฮจิฉะ ( ほうじ茶) บันชะ ( 番茶) เก็นไมฉะ ( 玄米茶) คู่กับขนมเซมเบ้

เลือกชาให้ถูกประเภท ถูกเทศกาล การส่งมอบของขวัญด้วยชา จะทำให้ผู้รับประทับใจมากยิ่งขึ้น

ที่มา

https://www.hibiki-an.com/index.php/cPath/26

https://www.ooigawachaen.co.jp/blog/2015/12/16/249

https://www.alfemminile.com/none/none-s4002149.html

บทความจาก : Fuwafuwa

ปรัชญาของคนญี่ปุ่นที่แฝงแนวคิด จาก ถ้วยชา

เคยสังเกตมั้ยว่า ถ้วยชงชาญี่ปุ่น เมื่อเทียบกับของทางฝั่งยุุโรป จะมีลักษณะที่แตกต่างกันค่อนข้างมาก ถ้วยชาญี่ปุ่น จะไม่เรียบ 100% ลักษณะส่วนมากเป็นถ้วยชาจากการปั้นด้วยมือ มีความขรุขระบ้าง ลวดลายสีสันที่ดูเป็นงานคราฟต์ บางใบดูดีๆจะเห็นว่าเป็นถ้วยที่แตกแล้ว แต่ถูกประสานด้วยทองจนเนียนเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของลวดลายถ้วยชานั้นๆ ซึ่งวิธีการทำแบบนี้เราเรียกว่า การทำคินสึงิ (Kintsugi)นั่นเอง

Kintsugi

คินสึงิ มีประวัติศาตร์อันยาวนาน ย้อนไปในศตวรรษที่ 15 โชกุนของญี่ปุ่นที่มีชื่อว่า อาชิกางะ โยชิมาสะ (Ashikaga Yoshimasa) ได้ส่งถ้วยชาที่เสียหายไปยังประเทศจีนเพื่อซ่อมแซม และมันก็ถูกส่งกลับมาในสภาพที่มีตัวเย็บเหล็กที่ไม่สวยงาม ทำให้โชกุนต้องคิดค้นหาวิธีที่ดีกว่าในการซ่อมแซมสิ่งที่พังไป ช่างฝีมือของเขาจึงมองหาวิธีอันงดงามในการประกบเครื่องปั้นดินเผาอีกครั้งด้วยการใช้ครั่งผสมทอง เทคนิคนี้เป็นการเชื่อมรอยต่ออันงดงามที่ถูกพูดถึงกันมากในประวัติศาสตร์ จึงเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็ว นักสะสมจำนวนมากรู้สึกชื่นชอบเทคนิคนี้มากถึงขั้นตั้งใจทุบเครื่องปั้นดินเผาอันมีค่า เพื่อที่จะได้ซ่อมแซมมันโดยใช้เทคนิคคินสึงิซึ่งแน่นอนว่าเครื่องปั้นเซรามิคมีความวิจิตรงดงามมากยิ่งขึ้นหลังจากการซ่อมแซมทุกครั้ง การซ่อมแซมภาชนะที่แตกบิ่นเสียหายด้วยวิธีคินสึงิแบบนี้ อีกนัยนะหนึ่งเกิดจากการที่ชาวญี่ปุ่นเชื่อกันว่า ถ้วยชามที่แตกบิ่นนั้นไม่ควรทิ้งขว้าง แต่ควรซ่อมมันด้วยรักทองเพื่อให้พวกมันกลับคืนมามีชีวิตอีกครั้ง เหมือนกับชีวิตของเราทุกคนนั้นล้วนหลีกหนีความเจ็บปวดทางใจไม่พ้น เช่น การสูญเสียผู้เป็นที่รักหรือสิ่งที่เป็นที่รัก เผชิญกับอาการเจ็บป่วยร้ายแรงหรืออุบัติเหตุที่ส่งผลต่อชีวิต แม้แต่ความเจ็บปวดที่ต่อเนื่องมาจากอดีต บาดแผลทางใจเหล่านี้ควรได้รับการเยียวยาและสมานให้กลับมาดีดังเดิม ดังนั้นปรัชญาคินสึงิจึงถูกนำมาประยุกต์ใช้เพื่อซ่อมแซมบาดแผลทางใจที่หนักหนาและค้างคา เพื่อที่เราจะได้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากขึ้น เข้มแข็งมากขึ้น และเข้าใจผู้ที่ยังเจ็บปวดคนอื่นๆ มากขึ้นนั่นเอง

ปรัชญาของคนญี่ปุ่นที่แฝงถึงแนวคิดที่ว่า ไม่มีชีวิตใดที่สมบูรณ์แบบอย่างหลักคินสึงิ คือ การทำให้ตัวเองเข้าใจถึงความแตกหัก เปราะบางภายในจิตใจของตัวเอง เป็นการสร้างความแข็งแกร่งจากภายในสู่ภายนอก ทำให้มีสภาวะจิตใจที่ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ เพราะการซ่อมแซมถ้วยที่แตกร้าวอย่างใส่ใจและเต็มไปด้วยความรักจะทำให้เราเข้าใจว่าเราควรยอมรับ, เคารพในรอยร้าวและรอยแผลเป็น, ความอ่อนแอและความไม่สมบูรณ์พร้อมทั้งในตัวเราและผู้อื่น เพื่อพบความสุขที่แท้จริงในชีวิต

Wabi-sabi

อย่างไรก็ตาม ถ้วยชาที่ผ่านการทำคินสึงิมาแล้ว  แม้จะยังใช้งานได้ แต่ถ้วยที่แตกแล้วก็คือแตกแล้ว ไม่ได้สมบูรณ์แบบเหมือนเดิม เพียงแต่เป็นความเรียบง่ายที่ไม่ต้องดิ้นรนหาถ้วยชาใบใหม่ แต่เต็มใจที่จะใช้ถ้วยชาที่มีริ้วรอย ผ่านการผุกร่อนตามกาลเวลาแบบนี้ เป็นอีกหนึ่งปรัชญาแห่งการดำรงชีวิตที่ฝังรากลึกอยู่ในจิตวิญญาณของชาวญี่ปุ่นมานานเช่นกัน นั่นคือ สุนทรียภาพอันเรียบง่าย สมถะ ไม่ยึดติดในความสมบูรณ์แบบ ชื่นชมในริ้วรอยและความผุกร่อนของสรรพสิ่งที่เสื่อมสลายไปตามกาลเวลามอย่างเต็มใจ แนวคิดนี้คนญี่ปุ่นเรียกว่า  วะบิ สะบิ” Wabi-sabi (侘寂)

วะบิ สะบิ” Wabi-sabi (侘寂)  เป็นแนวคิดที่ถูกนำไปปรับใช้และแทรกตัวอยู่ในงานตกแต่งสไตล์ Loft, Industrial, Rustic, Minimal ซึ่งสังเกตได้อย่างง่ายด้วยถ้วยชา ที่เราเห็นคนญี่ปุ่นใช้กัน ขอบถ้วยที่ไม่มีการปรับให้เรียบ เมื่อริมฝีปากจรดจะสัมผัสได้ถึงผิวอันดิบหยาบ ส่วนถ้วยชา ไม่ได้เนี๊ยบเรียบหรู แต่เป็นถ้วยชาที่เปี่ยมด้วยสุนทรียะที่มุ่งนำพาจิตผู้ดื่มชาให้สัมผัสได้ถึงความสงบและเรียบง่าย เพื่อแสดงถึงแก่นแท้แห่ง “วะบิ สะบิ” นั่นเอง

วะบิ สะบิ

แนวคิดถ้วยชาดังกล่าว เกิดในสมัยที่พิธีดื่มชาทีได้รับอิทธิพลจากภิกษุนิกายเซน ได้รับความสนใจอยากแพร่หลาย และกลายเป็นส่วนหนึ่งของศิลปะ ปรัชญา เกิดชาโนยุ หรือ วิถีแห่งชา ที่ได้รับความนิยมอย่างยิ่งในหมู่ชนชั้นสูง นักรบและพ่อค้าที่ร่ำรวย เครื่องใช้ต่างๆ ในพิธีชงชา ล้วนถูกซื้อหาจากต่างแดนและประดับประดาด้วยสิ่งอันหรูหรา โดยเฉพาะถ้วยชาที่สวยงามเป็นหนึ่งในสิ่งที่ชนชั้นสูงและผู้มีฐานะใน ยุคนั้นต่างแสวงหาความหรูหราฟุ่มเฟือยนี้ เห็นได้จากช่วงปี ค.ศ.1585-1586 ฮิเดโยชิมีคำสั่งให้ริคิวจัดสร้างห้องชาที่ปิดด้วยทองคำทั้งหลัง เพื่อรับเสด็จสมเด็จพระจักรพรรดิโอะกิมะจิ โดยฮิเดโยชิเองทำหน้าที่เป็นผู้ชงชา เขาจึงเสิร์ฟชาด้วยถ้วยชาที่ปั่นขึ้นอย่างง่ายเพื่อโน้มนำให้ผู้ดื่มเข้าถึงความงามอันปราศจากการปรุงแต่ง ตระหนักถึงความงามอันจริงแท้ที่มิได้ขึ้นอยู่กับรูปลักษณ์ภายนอก ความไม่สมบูรณ์แบบก็ทำให้ได้สัมผัสรสชาติที่แท้จริงของชาได้เช่นเดียวกัน

นอกจากนี้ วะบิ-ซะบิยังสะท้อนให้เห็นได้ชัดผ่านสถาปัตยกรรมและหัตถกรรมที่เกี่ยวข้องกับพิธีชงชาของชาวญี่ปุ่นนั่นคือ เรือนชงชา ซึ่งแยกตัวจากสิ่งปลูกสร้างอื่น มีขนาดเล็กแค่เพียงพอดีกับกิจกรรม สร้างขึ้นจากวัสดุที่ไม่มีลักษณะความคงทนถาวรที่จะต้องเสื่อมสลายไปซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมญี่ปุ่น เช่น ตัวบ้านทำจากไม้ และบานประตูทำจากกระดาษ ต่างจากสถาปัตยกรรมโมเดิร์นของตะวันตกที่ถูกสร้างให้มีภาพลักษณ์ของความสมบูรณ์ เป็นอมตะและไม่สามารถทนต่อปัจจัยที่มากระทำผ่านกาลเวลาได้

ถัดมาที่ห้องในเรือนชงชามักออกแบบให้คนเข้าไปได้ไม่เกินครั้งละ 5 คน ประตูทางเข้าของแขกมีความสูงเพียง 80 เซนติเมตร ทุกคนต้องคลานด้วยมือและเข่าเป็นแถวเดียวเข้าไปด้วยความสงบและเสมอภาคกัน อันเป็นการลดทิฐิและทำให้เกิดความเรียบง่ายในการอยู่ร่วมกัน

ภายในห้องมีถ้วยชามอุปกรณ์ที่ใช้ในพิธีซึ่งทำมากวัสดุตามธรรมชาติ แต่ละชิ้นมีร่องรอย มีคราบผ่านการเวลาในแบบฉบับของตนเอง เพื่อแสดงถึงความงดงามของสิ่งที่ไม่สมบูรณ์แบบของสิ่งต่างๆ ที่ไม่ใช่สิ่งที่ไม่ดี แต่เมื่อสิ่งเหล่านั้นมาอยู่รวมกันแล้ว ก็อาจจะทำให้เกิดมุมมองต่างๆที่เปลี่ยนไป เกิดสุนทรียะในการใช้ชีวิตแบบที่ไม่ต้องสมบูรณ์แบบเสมอไปนั่นเอง

พิธีชงชาของชาวญี่ปุ่น

ที่มา

https://www.bareo-isyss.com/service/decor-guide/wabi-sabi-decor/

https://www.hibiki-an.com/contents.php/cnID/61

https://www.bareo-isyss.com/service/decor-guide/wabi-sabi-decor/

https://jpninfo.com/thai/11264

https://gaskimishima.wordpress.com

https://etsy.me/2MjfImy

https://themomentum.co/wabi-sabi/

บทความจาก : Fuwafuwa

มาศึกษาต้นกำเนิด ผงชาเขียวมัทฉะ

ว่ากันว่า ชาเขียวได้ถูกค้นพบโดยจักรพรรดิเสินหนงซึ่งเป็นบัณฑิตและนักสมุนไพรผู้รักความสะอาดเป็นอย่างมาก ดื่มเฉพาะน้ำต้มสุกเท่านั้น วันหนึ่งขณะที่เสินหนงกำลังพักผ่อนอยู่ใต้ต้นชาในป่า และกำลังต้มน้ำอยู่นั้น ปรากฏว่าลมได้โบกกิ่งไม้ เป็นเหตุให้ใบชาร่วงหล่นลงในน้ำซึ่งใกล้เดือดพอดี เมื่อเขาลองดื่มก็เกิดความรู้สึกกระปรี้กระเปร่าขึ้นมาก ชาเขียวถูกพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ชาวบ้านก็เริ่มหันมาปลูกชาและพัฒนาต่อกันมาเรื่อยๆ มีทั้งการเติมเครื่องเทศน์ หรือดอกไม้ลงไป เพื่อให้มีกลิ่นและรสชาติที่แตกต่างมากยิ่งขึ้น ซึ่งชาที่ปลูกในจีนทั้งหมดเป็นชาเขียว กระบวนการผลิตชาจะเกิดจากการรวมใบชา นำมานึ่ง และอบแห้ง ซึ่งจะเก็บได้ไม่ดีนัก สูญเสียกลิ่นได้ง่าย และรสชาติไม่ดี ในช่วงศตวรรษที่ 17 มีการค้าขายกับชาวยุโรปการผลิตเพื่อจะรักษาคุณภาพชาให้นานขึ้น โดยการหมักแล้วก็จะนำไปอบ ซึ่งก็เป็นที่มาของชาอูหลง และชาดำ ในประเทศจีน

ไร่ชา ไร่ชา

การเข้ามาของชาในประเทศญี่ปุ่นนั้น เริ่มราวต้นสมัยเฮอัน ในสมัยนั้นจีนและญี่ปุ่นเริ่มมีการติดต่อทางด้านศาสนาพุทธและวัฒนธรรมกัน บ้างแล้ว นักบวชญี่ปุ่นได้เดินทางไปเป็นทูตเรียนรู้เรื่องต่างๆ จากประเทศจีนรวมทั้งการศึกษาตัวยาสมุนไพรจากจีนอีกด้วย ชาจีนจึงเข้ามาในประเทศญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกๆ โดยพระสงฆ์นั่นเอง เริ่มจากนักบวชจากจังหวัดไอจิ ได้นำชาอัดแข็ง (ต้องฝนกับหินก่อนแล้วจึงใส่น้ำร้อนถึงจะดื่มได้) และเมล็ดชาจำนวนไม่มากเข้ามาที่ญี่ปุ่นก่อน เมื่อจักรพรรดิได้เข้ามาเยี่ยมพระที่วัด พระ จึงชงชาใส่ถ้วยนำมาถวาย เมื่อองค์จักรพรรดิได้ดื่มชาก็เกิดความประทับใจในรสชาติ จึงสั่งให้นำเมล็ดชาไปปลูกที่สวนสมุนไพรภายในบริเวณราชวัง ชาได้แพร่หลายไปในแถบภูมิภาคคิงคิ (เกียวโต) แต่ความนิยมยังคงมีอยู่แต่ในเฉพาะกลุ่มชนชั้นสูงเท่านั้น

Matcha

ต่อมาในช่วงตอนต้นสมัยคามาคุระ (Kamakura) นักบวชในพุทธศาสนาเซน ได้นำเมล็ดชามาจากจีนเป็นจำนวนมากพร้อมกับกรรมวิธีการผลิตชากลับมาด้วย วิธีการผลิตดังกล่าวนั่นก็คือ การนำใบชามาบดโดยครกหินที่ทำให้เกิดความร้อนน้อยที่สุด เพื่อรักษารสชาติและกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ไว้ ออกมาเป็นผงละเอียดเหมือนแป้ง หรือที่เราเรียกว่า ผงมัทฉะนั่นเอง ซึ่งการทำผงมัทฉะใช้เวลานานกว่าจะได้ผงชาออกมาจำนวนหนึ่ง ราคาจึงสูงกว่าชาเขียวชนิดอื่นๆ และมีวิธีการชงที่ค่อนข้างพิเศษที่ต้องใช้แปรงชงชาในการตีตาให้ละลายก่อน

ในสมัยนั้นมีการส่งเสริมการเพาะปลูกชาเพื่อใช้เป็นสมุนไพรให้แพร่หลายมากขึ้น และมีประโยคหนึ่งในหนังสือที่ท่านได้เขียนไว้ว่า ชาเป็นพื้นฐานทางจิตใจและเป็นเครื่องมือแพทย์ที่ดีที่สุด ทำให้ชีวิตถูกเติมเต็มและมีความสมบูรณ์มากขึ้น”จากนั้นก็เริ่มมีการค้นคว้าสรรพคุณของชา ที่ช่วยดับกระหายได้ ช่วยให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้น และช่วยล้างพิษด้วยการขับสารพิษออกทางปัสสาวะอีกด้วย

สมัยที่โชกุน มินาโมโตะ ซาเนะโมโตะ ทนทุกข์ทรมานจากการดื่มสุราอย่างหนัก ได้ลองดื่มชาและอาการของโชกุนก็หายไปในที่สุด ต่อมา เหล่านักบวชจึงเริ่มมีการเดินทางเพื่อออกเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับชาไปทั่วญี่ปุ่น จากนั้นชาจึงกลายมาเป็นส่วนหนึ่งพิธีกรรมบางอย่างและใช้เพื่อการรักษาโรค

Matcha History Matcha History

ในสมัยมุโระมาจิ เริ่มมีพิธีชงชาในแบบฉบับดั้งเดิมของญี่ปุ่นแล้ว เรียกว่า Chanoyu และในยุคนี้การชงชาเริ่มมีการผสมผสานทางด้านความคิด จิตวิญญาณ และการสร้างสรรค์ศิลปะในแบบธรรมชาติเข้ามาเกี่ยวข้องแล้ว เริ่มมีการลงรายละเอียดในภาชนะที่ใช้ในพิธีชงชา รวมไปถึงการเสิร์ฟชาเขียวในร้านอาหารอีกด้วย

Matcha History

การดื่มชาด้วยความเรียบง่ายและมีสมาธิในแบบของเซนจะช่วยให้จิตใจสามารถพัฒนา ขึ้นได้อย่างสมบูรณ์ นักบวชจึงออกแบบห้องพิธีชงชาขนาดเล็ก เพื่อใช้สนับสนุนการชงชาตามอุดมคติของนิกายเซน หลังจากนั้นจึงเริ้มมีพิธีชงชาตามแบบฉบับญี่ปุ่นเกิดขึ้นอย่างที่เราเห็นกันทุกวันนี้ แม้ว่าในสมัยยุคเอโดะ พิธีชงชาและการดื่มชาเริ่มมีการขยายวงกว้างลงมาถึงชนชั้นล่างมากขึ้น แต่กระนั้นเมื่อถึงการเก็บเกี่ยวชาที่ดีที่สุดในช่วงแรกของปีก็ต้องส่งมอบ ให้กับชนชั้นซามูไรก่อน ส่วนชาที่ชาวบ้านดื่มกันจะเป็นชาที่เก็บเกี่ยวในครั้งต่อมาคุณภาพก็จะด้อยลงมานั่นเอง จนช่วงหลังๆได้มีการเผยแพร่และลดการแบ่งชนชั้นตามกาลเวลา ประเพณีชงชาจึงยังคงเป็นที่แพร่หลายสืบทอดต่อกันมาถึงทุกวันนี้ เพราะประเพณีชงชานอกจากจะช่วยฝึกสมาธิแล้ว ยังช่วยให้จิตใจสงบ ได้อยู่กับตัวเองมากขึ้น โรงเรียนในญี่ปุ่นบางแห่งมีการสอนประเพณีชงชาให้เด็กญี่ปุ่นด้วย

ที่มา

http://fineartamerica.com/featured/oolong-tea-bud-jung-pang-wu.html

https://moyamatcha.com/en/moya-matcha/history-of-matcha/#

http://d.hatena.ne.jp/keibunsha2/20110508

https://www.pinterest.com/pin/339951471845392656/

https://www.flickr.com/photos/aligatorpics/6240407574/in/photostream/

http://japan-web-magazine.com/japanese-tea/japan-japanese-tea-ceremony0.html

https://traditional-japan.tumblr.com/image/153431720372

shorturl.at/brstQ

บทความจาก : Fuwafuwa

ชา กับ กาแฟ เครื่องดื่มที่เป็นที่นิยม

ถ้าพูดถึงเครื่องดื่มที่เป็นที่นิยมทั่วโลก คงหนีไม่พ้น ชาและกาแฟเห็นได้จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่ให้ความนิยมเครื่องดื่ม 2 ชนิดนี้มากขึ้น ไม่ว่าจะไปที่ไหนๆ ก็มีร้านชา หรือกาแฟ เต็มไปหมด แน่นอนว่า ทั้งชาและกาแฟมีคาเฟอีนเหมือนกันทั้งคู่ ซึ่งหลังจากเราดื่มชาหรือกาแฟเข้าไปแล้วจะรู้สึกตื่นตัวด้วยฤทธิ์ของคาเฟอีน และรู้สึกว่ากระหายน้ำ เพราะร่างกายจะพยายามกำจัดคาเฟอีนที่สูงออกไปนั่นเอง หากเปรียบเทียบปริมาณคาเฟอีนระหว่างใน 1 แก้ว ระหว่างชากับกาแฟ กาแฟจะมีปริมาณคาเฟอีนอยู่ที่ 90-170 มิลลิกรัม ส่วนชาจะมีคาเฟอีนอยู่ที่ 25-70 มิลลิกรัม จะเห็นได้ว่าปริมาณในชาพบได้น้อยกว่ามาก ดังนั้นคนที่มองหาตัวเลือกเพื่อสุขภาพ ก็อาจจะเลือกชาเป็นตัวเลือกแรก

ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่าชา หรือกาแฟอันไหนดีกว่ากัน แต่ตามหลักความเป็นจริงแล้ว ทั้ง 2 ชนิดมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะการดื่มของแต่ละคนด้วย หากดื่มในสัดส่วนที่พอดี จะให้ประโยชน์ต่อร่างกาย แต่หากดื่มในปริมาณมากๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ เช่น มะเร็งหลอดอาหารที่มาจากการดื่มชา โรคกระดูกพรุนจากการดื่มกาแฟ เป็นต้น

coffee

อย่างไรก็ตาม ชาและกาแฟก็มีประโยชน์ต่อร่างกายในด้านอื่นๆเช่นกัน เช่น เมื่อคุณมีอาการหนาว สิ่งที่ควรดื่มคือกาแฟเพราะหลังจากดื่มเพียงแค่ 10 นาที คาเฟอีนในกาแฟจะทำให้มีการเต้นของหัวใจและความดันเลือดที่ดีขึ้น และสิ่งที่ผสมลงไปในกาแฟ เช่น พวกนม น้ำตาล ยังกลายเป็นพลังงานซึ่งทำให้ร่างกายอุ่นขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้ ประโยชน์ของการดื่มกาแฟ ยังช่วยในเรื่องของการลดความเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์ ลดอาการปวดหัวไมเกรนได้ ลดความเสี่ยงเป็นโรคเกาต์ในผู้ชายได้ และหากดื่มในปริมาณที่เหมาะสม สามารถลดความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้ด้วย นอกจากนี้ในกาแฟมีโพแทสเซียมและฟอสฟอรัสสูงกว่าชา ซึ่งช่วยในเรื่องของการบำรุงกระดูก

สเน่ห์ของกาแฟ ที่คอกาแฟชื่นชอบกัน คือ กลิ่นหอมของการคั่วกาแฟจะไปทำปฏิกิริยากับโปรตีนในสมอง ตัวที่เกี่ยวกับความเครียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเครียดที่เกิดจากการนอนไม่หลับ แค่ได้กลิ่นกาแฟก็จะผ่อนคลายลง

ข้อควรระวังในการดื่มกาแฟ คือ กาแฟมีปริมาณคาเฟอีนสูงกว่าชา ถ้าดื่มมากเกินไปเกิน 3-4 แก้วต่อวัน หรือ 400 มิลลิกรัม อาจทำให้เกิดอาการหัวใจเต้นเร็ว หรือเต้นผิดจังหวะ วิตกกังวล รวมถึงอาการนอนไม่หลับได้ นอกจากนั้นยังทำให้ฟันเหลืองอีกด้วย หากดื่มกาแฟเกินวันละ 8 แก้วต่อวัน ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่มากเกินไปจะเพิ่มอัตราการแท้งบุตรได้ และกาแฟยังไปลดการไหลเวียนของเลือดเข้าสู่หัวใจอีกด้วย

การดื่มกาแฟขณะที่ท้องว่าง อาจทําให้ปฏิกิริยาตอบสนองต่อกาเฟอีนรุนแรงขึ้น และในขณะเดียวกันอันตรายจากการระคายเคืองในกระเพาะอาหารก็จะสูงขึ้นด้วย ซึ่งหมายความว่า หากไม่ต้องการเสี่ยงต่อโรคกระเพาะอาหารอักเสบหรือใจสั่นก็ไม่ควรดื่ม

Tea or Coffee

ในทางกลับกัน หากคุณต้องการให้อารมณ์ดีขึ้น ต้องการความรู้สึกผ่อนคลาย สิ่งที่คุณควรดื่มคือ ชาเพราะกลิ่นของชาจะช่วยทำให้ใจเย็น และผ่อนคลาย เช่น ชามะลิ หรือ ชาผลไม้ หรือไม่ก็ชาเขียวเองก็ตาม แนะนำให้ก่อนดื่ม สูดกลิ่นที่ของชาร้อนๆก่อน แล้วค่อยๆจิบ แค่นี้ก็ช่วยสร้างรอยยิ้มในยามบ่ายได้ดี นอกจากนั้นแล้ว ชายังมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยต้านโรคมะเร็งได้  ช่วยป้องกันโรคมะเร็งและช่วยบำรุงผิวพรรณ ทำให้ไม่แก่ง่าย การดื่มชา 4 ครั้งต่อวันอย่างต่อเนื่อง 6 สัปดาห์ จะช่วยลดระดับฮอร์โมนความเครียดได้ นอกจากนี้ชายังมีส่วนช่วยในการลดโรคมะเร็งหลอดอาหารในผู้หญิงได้ถึง 60% ชาสามารถช่วยกระตุ้นระบบประสาท ช่วยหมุนเวียนโลหิตได้ ทำให้ร่างกายทำงานได้ตามปกติ ป้องกันไขมันส่วนเกินสะสมในร่างกาย ลดอาการของโรคอัลไซเมอร์ได้เช่นเดียวกับกาแฟ อีกทั้งยังเพิ่มฤทธิ์ในการรักษาโรคไมเกรนได้ด้วยเช่นกัน

แต่หากดื่มชามากเกินไปทำให้เป็นโรคกระดูกพรุน และในชายังมีสารทานินจำนวนมาก ซึ่งสารตัวนี้จะช่วยลดการดูดซึมธาตุเหล็ก ทำให้เสี่ยงเป็นโรคโลหิตจางได้ หากดื่มชาร้อนมากไป อาจทำให้เสี่ยงเป็นโรคมะเร็งหลอดอาหารได้อีกด้วย

ชาแต่ละชนิด ก็มีปริมาณคาเฟอีนที่แตกต่างกันไปอีก อย่างชาดำจะมีปริมาณคาเฟอีนมากที่สุด เฉลี่ย  23 – 110 มิลลิกรัม รองลงมาเป็นชาอูหลง อยู่ที่ 12 – 55 มิลลิกรัม และชาเขียว 8 – 36 มิลลิกรัม ตามด้วย ชาขาว ที่มีแค่ 6 – 25 มิลลิกรัม

Tea

จะเห็นว่าทั้งชา และกาแฟ มีประโยชน์และโทษด้วยกันทั้งคู่ หากดื่มในปริมาณที่มากเกินไป ดังนั้นการเลือกดื่มในปริมาณที่เหมาะสม ส่วนใครที่เป็นสายรักสุขภาพ ก็จะนิยมหันมาบริโภคชา มากกว่ากาแฟ เพราะในชายังมีสารที่สําคัญอื่นๆ อีก เช่น แทนนิน คาเทชิน เพิ่มเติ่มอีก หรือหากต้องการดื่มชา หรือ กาแฟ จริงๆ แนะนำให้ชงดื่มเองได้ ก็จะยิ่งดีต่อร่างกาย เพราะสามารถควบคุมปริมาณนม น้ำตาล ครีม ที่เป้นสาเหตุให้เกิดโรคอ้วนได้

ที่มา

https://www.sweetrevolution.co.uk/

https://www.pinterest.com/pin/841962092818083327/

บทความจาก : Fuwafuwa

กลิ่นหอมที่แตกต่างของ “เก็นไมฉะ”

ถ้าพูดถึงชาเขียวของญี่ปุ่น หลายคนคงนึกถึง “มัทฉะ” เป็นชื่อแรก เพราะ “มัทฉะ” เป็นชาเขียวชั้นดีที่นิยมใช้ในพิธีชงชาของชนชั้นสูงในญี่ปุ่น ด้วยกรรมวิธีการบดยอดอ่อนใบชาอย่างพิถีพิถัน จนได้รสชาติที่กลมกล่อม ส่วนชาเขียวอีกประเภทหนึ่งที่คนทั่วโลกนิยมดื่มกันมากที่สุด ด้วยรสชาติที่สดชื่น ดื่มง่ายอย่าง “เซนฉะ” แต่มีชาเขียวอีกหนึ่งประเภทที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยกลิ่นหอมที่แตกต่างจากชาประเภทอื่นของ “เก็นไมฉะ”

genmaicha genmaicha

เก็นไมฉะ ( 玄米茶: Genmaicha)  เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนอยู่น้อยมาก ถือว่าน้อยกว่าชาเขียวประเภทอื่นๆเลยก็ว่าได้ จึงสามารถดื่มได้ทุกที่ทุกเวลา และทุกเพศทุกวัย แถมราคายังไม่แพงชงง่าย

เก็นไมฉะ แตกต่างจากชาเขียวประเภทอื่นที่เห็นได้ชัดอีกประการ คือ กลิ่นหอมที่เกิดจากการเบลนด์ชาร่วมกับข้าวคั่วนั่นเองเห็นได้จากสีของใบชาที่ไม่ได้มีสีน้ำตาลเหมือนสีข้าวคั่ว 100% และก็ไม่ได้เขียวมากเหมือนสีของใบชาเขียวปกติ แต่จะเป็นสีเหลืองทอง ที่เกิดจากข้าวคั่วที่นำมาผสมผสานกันในเก็นไมฉะ ข้าวที่ต้องคัดสรรสายพันธุ์ดีงามของญี่ปุ่น ผ่านกรรมวิธีการคั่วด้วยอุณหภูมิที่เหมาะสม แล้วมาตากแห้งและอบเข้ากับใบชา ในอัตราส่วน 1 : 1  ผสมผสานกันออกมาเป็นชากลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์หาไม่ได้จากชาเขียวประเภทอื่น รสชาติที่ฝาดกำลังดี หวานน้อย การดื่มเก็นไมฉะคู่กับเมนูอื่นๆ ก็นับเป็นตัวเลือกที่เข้ากันได้ดีทีเดียว

รสชาติที่ดีของเกนไมฉะ ส่วนนึงมาจากคุณภาพของข้าว มากกว่าคุณภาพของใบชา การนำข้าวกล้องไปคั่วต้องระวังอย่าให้แตก เหมือนกับป็อบคอร์น เรียกว่า “ข้าวตอก” เพราะถ้าแตกมากคุณภาพความอร่อยของชาขะลดลงเมื่อนำไปผสมกับชาเขียว

ส่วนคุณค่าทางสารอาหารก็มีเยอะไม่แพ้ชาเขียวประเภทอื่นๆ ไล่มาตั้งแต่เก็นไมฉะมีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ช่วยในเรื่องปรับสมดุลระบบความดันโลหิต ช่วยลดความเสี่ยงจากมะเร็งและโรคหัวใจได้อีกด้วย

genmaicha

มีบางตำราที่เล่ากันว่าเกนไมฉะเกิดจากพ่อค้าชาชาวญี่ปุ่นคนหนึ่งในสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง รู้สึกเสียดายข้าวหลังจากนำไปเซ่นไหว้บรรพบุรุษ จึงนำมาคั่วแล้วนำมาผสมกับชานั่นเอง แต่ก็มีบางตำราเล่าว่ากิดขึ้นที่เมืองเกียวโต เมื่อพ่อค้าใบชาเขียวผู้มั่งคั่ง และเต็มเปี่ยมด้วยความคิดสร้างสรรค์ จับเอาวัตถุดิบต่างๆ มาผสมผสานเข้ากับใบชาเขียว เพื่อให้ได้ความพรีเมียมที่แปลกใหม่ วันหนึ่งพ่อค้าใบชาเขียวนึกสนุก จึงทดลองนำข้าวคั่วและใบชาเขียวมาลองชงดื่มดู จนได้มาซึ่งเก็นไมฉะที่มีทั้งกลิ่นและรสชาติไม่เหมือนใคร

ชาที่นำใบชาเขียว มาผสมกับข้าวกล้อง โดยข้าวกล้องที่นำมาผสมจะถูกนำไปนึ่ง แล้วนำมาผัดจนมีสีน้ำตาลอ่อน ผสมกับใบชาในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 นั่นคือเหตุผลหลักที่เวลาเราดื่ม” เกนไมฉะ ” (玄米茶: Genmaicha) หรือ “ชาข้าวกล้องคั่ว” จะได้กลิ่นหอมที่ไม่เหมือนชาเขียวประเภทอื่น นั่นเอง จริงๆแล้ว” เกนไมฉะ ” เป็นชาธรรมดา ราคาไม่แพง เวลาชง ต้องชงด้วยน้ำร้อน 100 องศาเซลเซียส ในเวลาเพียง 30 วินาที เพราะถ้าแช่นานไป ชาจะเริ่มมีรสชาติขมจนทานลำบาก

สำหรับวิธีการการต้มชาเขียวชนิดนี้ แนะนำให้ใช้น้ำร้อนที่มีอุณหภูมิประมาณ 80–85 ° C และใช้เวลาต้มชาที่ประมาณ 3-5 นาที หากต้มนานกว่านี้จะทำให้ชามีรสฝาดมากขึ้น

genmaicha

ที่มา

https://www.rishi-tea.com/product/gram-tin-genmai-matcha-organic-japanese-green-tea-blend/loose-leaf-tea

http://www.stocksy.com/22595

https://www.teasource.com/products/genmaicha-green-tea-blend

กลิ่นหอมที่แตกต่างของ “เก็นไมฉะ”บทความจาก : Fuwafuwa

ช้อนไม้ไผ่ Chashaku (茶杓) จำเป็นจริงหรอ?

ช้อนตักผงชามัทฉะ หรือที่เรียกว่า Chashaku (茶杓)มีที่มาจากในสมัยก่อนช่วงที่ชาเขียวจากจีนถูกนำเข้ามาสู่ญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นใช้ช้อนตักชาที่ทำจากงาช้าง นำเข้าจากประเทศจีน แต่พอเข้าสู่ช่วงหลังๆมา ช้อนตักชาที่ทำจากไม้ไผ่ปลายดัดก็เริ่มมีปรากฏให้เห็น โดยมีการคาดกันว่าผู้ที่คิดค้นรูปร่างฉะชะขุแบบในปัจจุบันขึ้นมา คือ มุราตะ จุโค ผู้พัฒนาพิธีชงชาแบบเซนเป็นคนแรก ซึ่งเหตุผลที่เลือกใช้ไม้ไผ่แทนงาช้าง เพราะว่า ต้องการให้ช้อนตักผงชานั้นมีความเรียบง่าย ไม่ฟุ้งเฟ้อหรูหราแบบงาช้าง เพราะนิกายเซน มีพื้นฐานแนวคิดอย่างเรียบง่ายมาจากศาสนาพุทธแบบเซนนั่นเอง

ChashakuChashaku

ลักษณะที่ดีของ Chashaku ส่วนมากจะทำจากไม้ไผ่ มีปลายช้อนกว้าง 1 ซม. เพื่อให้การตักผงชา 1 ครั้งได้ในปริมาณที่เหมาะสม คือ ประมาณ 1 กรัม ซึ่งในพิธีชงชาจะใช้ชา 2 กรัม กล่าวคือ ตักชาด้วย Chashaku 2 รอบนั่นเองโดยไม่ต้องผ่านการใช้เครื่องชั่ง นอกจากนี้ตัวด้ามควรยาว 19 ซม. เป็นความยาวที่พอดีกับการใช้ในพิธีชงชาของญี่ปุ่น

ChashakuChashaku

การตักผงชาเขียวเพื่อชงชานั้น จริงๆสามารถใช้ช้อนสแตนเลส หรือช้อนประเภทอื่นได้เช่นกัน ไม่จำเป็นจะต้องใช้ Chashaku ก็ได้ แต่จะเห็นว่าหลายๆร้านคาเฟ่ และตามพิธีชงชาของญี่ปุ่นเอง จะนิยมใช้ Chashaku เพราะด้วยคุณสมบัติของไม้ไผ่ ที่เมื่อสัมผัสกับผงชาเขียวแล้ว จะทำให้รสชาติคงที่ และด้วยปริมาณชาที่ Chashaku สามารถตักได้ในแต่ละครั้งนั่นเอง นอกจากนี้ไม้ไผ่ของช้อน Chashaku ยังทำให้สรรพคุณสารอาหารต่างๆของชาเขียวคงเดิม ใช้งานง่ายด้วยการใช้ผ้าแห้ง หรือทิชชู่เช็ดบริเวณปลายช้อนให้แห้งก่อนเก็บเข้ากล่อง ไม่ควรล้างด้วยน้ำเปล่า และ Chashaku ยังทำให้รู้สึกถึงความเป็นญี่ปุ่นแท้ๆนั่นเอง อย่างไรก็ตามช้อน Chashaku นี้มีไว้สำหรับการตักผงชาเท่านั้น ไม่ได้มีไว้สำหรับตักใบชาประเภทอื่นๆ

Chashaku

แต่ในปัจจุบันนี้ช้อน Chashaku ได้มีการผลิตด้วยวัสดุอื่นเพิ่มมากขึ้นนอกจากไม้ไผ่ ตามกาลสมัยที่เปลี่ยนไป เช่น แสตนเลส โลหะ หรือไม้เนื้อแข็งประเภทอื่นๆ ซึ่งช้อนที่ทำด้วยโลหะ จะมีปลายช้อนที่กลมคล้ายกับช้อนชาทั่วไปที่เราใช้ทำขนมกัน แต่ก็ต้องเลือกให้ดีเพราะบางครั้งอาจจะทำให้ตักชาได้ในปริมาณที่ไม่คงที่

ที่มา

https://www.edenfoods.com/store/matcha-spoon.html

https://oideyasu.tumblr.com/post/64615700994

https://www.taketora.co.jp/fs/taketora/sa00235

https://www.pinterest.com/pin/353110427034464612/

บทความจาก : Fuwafuwa

รู้หรือไม่ทำไมชาเป็นตะกอนเมื่อเย็น?

เคยทานชาเขียวแล้วมีผงชาเขียวนอนก้นเป็นตะกอนกันมั้ยคะ?

ตะกอนที่เห็นอยู่นั้นแท้จริงแล้ว คือ ผงชาที่ละลายไม่หมด เป็นผลมาจากการชงที่ไม่ดีส่วนนึง เพราะผงมัทฉะที่ดีจะค่อนข้างละเอียดมาก ไม่สามารถละลายได้หมดด้วยน้ำร้อนจากการใช้ช้อนคนธรรมดา แต่ควรใช้แปรงชา หรือที่เรียกว่า ฉะเซ็นในการชง จะทำให้ละลายได้ง่ายกว่า หรือถ้าร้านไหนที่ไม่มีฉะเซ็น สามารถลองใส่พวกกระบอกเชคเกอร์ หรือใช้ตระกร้อมือคนแทนก็พอคนให้ผงชาละลายได้อยู่

ตะกอนชา

อย่างไรก็ตามในการบางครั้งที่ใช้ฉะเซ็นในการชงแล้ว บางคนอาจจะพบว่า เมื่อทิ้งไว้ระยะหนึ่งก็จะเกิดการแยกชั้นได้ ไม่เว้นแม้กระทั่งชาเขียวที่บรรจุขายทั่วไป เราจะได้เห็นข้างขวดเขียนไว้เสมอว่า “อาจมีตะกอนตามธรรมชาติ ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย” จึงถือว่าเป็นเรื่องปกติมากที่ชาแต่ละขวดหลังจากชงแล้วอาจจะมีตะกอนหลุดรอดออกมานั่นเองMatcha Matcha

พูดถึงตัวผงฝุ่นในชาเป็นผลมาจากการตกตะกอน ซึ่งเรียกว่า ‘ครีมชา’ จะเกิดขึ้นเมื่อชามีอุณหภูมิเย็นลงต่ำกว่า 40 องศาเซลเซียส สารประกอบในชา อย่างระหว่างคาเฟอีนและโพลีฟีนอลจะจับตัวกันอย่างอ่อนๆ ซึ่งหากชาเมนูไหนที่มีการใส่นม ก็จะเกิดปฏิกิริยาระหว่างโปรตีนในนม และ โพลีฟีนอลต่างๆ มีผลให้เกิดตะกอนมากขึ้นนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม การผสมชาและน้ำใหม่ที่ต้มแล้วเข้าด้วยกัน จะทำให้ใบชาตกตะกอนอยู่ด้านล่างของกาที่ใช้ชงชาได้เช่นกัน เพื่อเป็นการลดการสัมผัสระหว่างใบชาและน้ำ แนะนำให้ทำการคนชาทุกครั้งเพื่อกระตุ้นชาและทำให้มีการละลายที่เหมาะสม

กรณีที่ชาของบางร้านไม่ตกตะกอนเลย จึงอาจเป็นที่น่าสงสัยได้ว่า ร้านนั้นไม่ได้ใช้ผงมัทฉะจริงๆ แต่ อาจจะเป็นการใช้เป็นไซรัปรสชาเขียวแทน หรืออาจใช้ผงชงสำเร็จรูปเพื่อลดระยะเวลาในการชง ซึ่งทำให้ราคาก็จะลดหลั่นกันไปตามวัตถุดิบที่ใช้นั่นเอง

นอกจากตะกอนที่มักเกิดที่ก้นถ้วยแล้ว ในบางครั้งจะเจอกรณีที่กากชา หรือ ใบชาสีเข้ม ที่ลอยอยู่ด้านบนของชาที่ชงแล้วแทนนอนก้น กรณีดังกล่าว เป็นผลของส่วนประกอบน้ำหนักโมเลกุลที่สูง เกิดจากแคลเซียม และ ไบคาร์บอเนตไอออน ที่ผิวหน้าของน้ำ ตามปกติแล้ว กากชาจะเกิดขึ้นในชาที่มีความเข้มข้นสูง อย่างไรก็ตามการบริโภคกากชา หรือตะกอนชาที่มีปริมาณน้อยกว่า 1 มิลลิกรัมของกากชาที่เกิดขึ้นในถ้วยชานั้น จะไม่เป็นอันตรายใดๆต่อสุขภาพของผู้ดื่ม

Matcha Matcha

ที่มา

https://japanesegreenteaonline.com/

https://www.stylecraze.com/trending/tea-drinks-for-weight-loss/

http://www.honannchasou.net/shihou_18.html

บทความจาก : Fuwafuwa

ออกแบบบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่ม ให้โดนใจลูกค้า

เคยสงสัยมั้ยว่าสินค้าดีมีคุณภาพ บางทีก็อาจจะไม่ดึงดูดใจลูกค้า เพราะในยุคสมัยนี้ Packaging เป็นอีกเรื่องที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญไม่แพ้กัน ยิ่งช่วงนี้ผู้บริโภคหันมาสั่งอาหารดิลิเวอรี่กันมากขึ้น ขวดบรรจุชาพร้อมดื่ม ที่ไว้ใส่เครื่องดื่มให้ลูกค้าที่สั่งดิลิเวอรี่ จึงกลายเป็นอีกสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญไม่แพ้คุณภาพและรสชาติของชาขวดนั้นๆ

matcha package

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการออกแบบขวดชาพร้อมดื่ม

1. ขวดชาต้องมีเอกลักษณ์ ง่ายต่อการจดจำจะทำให้สินค้าของเราโดดเด่นออกมาจากสินค้าชนิดเดียวกันที่อยู่ตามท้องตลาด อาจใช้สีในการแบ่งแยกประเภทชา เช่นชาเขียว ขวดสีเขียว ชาโฮจิฉะ ชวดสีเทา ชาอู่หลงขวดสีเหลือง หรือการใช้รูปทรงของฉะเซ็นที่ช่วยให้ลูกค้าจำและนึกถึงชาของที่ร้านได้ง่ายขึ้น เป็นต้น

matcha packaging

2. ขวดต้องเปิดง่าย ใช้งานได้สะดวก หลายครั้งที่บรรจุภัณฑ์มีฟังก์ชันและลูกเล่นที่โดดเด่น น่าสนุก แต่กลับต้องเสียกลุ่มลูกค้าไปเพราะใช้งานยาก ขนส่งแล้วหก ถือแล้วเปื้อนมือ จะทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าสินค้าของเรานั้นเป็นภาระนั่นเอง

3. อย่าลืมเรื่องราวของแบรนด์และสินค้าไม่ว่าจะเป็นแนวคิด แรงบันดาลใจ ภูมิหลัง ถือเป็นกิมมิคเล็กๆ ที่จะช่วยสร้างการรับรู้และทำให้ผู้บริโภครู้จักแบรนด์และสินค้าของเราได้ลึกซึ่งยิ่งขึ้นเอาเรื่องราวมาสร้างสรรค์ด้วยกราฟฟิคดีไซน์บางจุด อาจจะเป็นการใช้ไอค่อนเล่าเรื่องราว หรือเป็นการติดแท็กเพิ่มเติมที่ขวด ก็ช่วยให้ลูกค้าอินไปกับสินค้าเราได้มากขึ้น แทนการเขียนทุกอย่างลงบนขวดชา

tea packaging

หลังจากที่คำนึงถึงเรื่องราวนี้แล้ว มาดูในเรื่องของเทรนด์การออกแบบบ้าง

1. Simple or Minimalน้อยแต่มาก เรียบแต่โก้ เป็นหนึ่งเทรนด์การออกแบบบรรจุภัณฑ์มาแรงที่เอาชนะใจลูกค้าได้อย่างดีเยี่ยม เทรนด์นี้เป็นที่นิยมในกลุ่มคาเฟ่ และร้านขนมช่วงนี้ ดีไซน์ที่ขาวสะอาด สีสันสบายตา มีภาพและตัวอักษรน้อยๆ ออกแบบอย่างเรียบง่าย แต่อัปโหลดลงอินสตาแกรมได้อย่างมีสไตล์ สามารถครองใจลูกค้ายุคนี้ได้แน่นอน

green tea package

2. Collaboration เป็นการออกแบบบรรจุภัณฑ์ผ่านการร่วมมือกันของแบรนด์ 2 แบรนด์ โดยการนำโลโก้หรือจุดเด่นของแบรนด์นั้นๆ มารวมกันไว้บนบรรจุภัณฑ์เกิดเป็นดีไซน์ใหม่ที่น่าสนใจ อย่างเช่น การให้นักวาดภาพ illustor ชื่อดัง มาช่วยสร้างสรรค์ผลงานบนขวดชา หรืออย่างที่พบเห็นได้บ่อยในบ้านเราจะเป็ฯ น้องมะม่วง ที่มักจะไปโลดแล่นบนผลิตภัณฑ์ต่างๆนั้นเอง แต่ทั้งนี้ ก็อย่าลืมที่จะเลือกการ Collab ให้เหมาะกับสินค้าของทางร้านด้วย

3. Intelligent Packagingคือการนำเอาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมาใช้ในการออกแบบ เช่น การใส่ QR code ลงไปเพื่อสแกนดูรายละเอียดของสินค้า หรือการใช้นวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะช่วยให้บรรจุภัณฑ์เปลี่ยนสีเมื่ออาหารใกล้ถึงวันหมดอายุ ซึ่งในไทยมีการใช้นวัตกรรมนี้ค่อนข้างน้อย จึงสามารถเพิ่มโอกาสทางการตลาดได้ค่อนข้างสูงเลยทีเดียว

4. Personalized packaging เป็นการให้ลูกค้าออกแบบบรรจุภัณฑ์นั้นๆได้เอง เช่น สามารถเขียนข้อความลงไปได้ หรือวาดรูปลงไปเองได้ เพื่อให้ชาขวดนั้นๆ มีความแตกต่างและแสดงความรู้สึกของลูกค้าคนนั้นๆได้

matcha design package

เพราะการได้ซื้อของที่มีแพคเกจที่สวย เหมาะกับการถ่ายรูปลงโซเชียลนั้น นอกจากจะทำให้สินค้านั้นมี Value มากขึ้นในการที่จะส่งมอบให้คนอื่นๆในเทศกาลต่างๆแล้ว ยังเป็นการบอกต่อของผู้บริโภคด้วยกันเองโดยที่ทางร้านไม่ต้องเสีย Budget ในการทำการตลาดเลย

matcha bottle

ที่มา

https://www.pinterest.com/pin/542894930081180183/

https://www.pinterest.com/pin/628955904180276261/

https://www.packagingoftheworld.com

บทความจาก : Fuwafuwa

 

ชา ทำ cold brew ได้มั้ยนะ…?

หลายคนอาจจะคุ้นชินกับกาแฟ Cold Brew ซึ่งเป็นกาแฟที่มีความหวานมากกว่ากาแฟที่ชงด้วยวิธีอื่นเนื่องจากมีกรดต่ำ เพราะใช้น้ำเย็นสกัดระดับคาเฟอินในปริมาณต่ำเมื่อเทียบกับกาแฟที่ชงด้วยน้ำร้อน ซึ่งคอชาเลยอาจจะสงสัยว่า ชา สามารถนำไปผ่านกรรมวิธีเช่นเดียวกับการทำ Cold Brew กาแฟได้มั้ยนะ?

Tea Cold Brew

หลักของการทำ Cold Brew คือ การสกัดเย็น สามารถใช้ได้ทั้งน้ำที่อุณหภูมิห้อง หรือจะใช้น้ำเย็น 5-15 องศาก็ได้ ตามปกติแล้ว ถ้าเราใช้น้ำร้อนชงชา คาเตชินและคาเฟอีนในใบชาจะออกมากับน้ำร้อน เพราะสารสองตัวนี้ละลายที่อุณหภูมิสูง ราว 80-90 องศาขึ้นไป สารสองตัวนี้จะให้รสขม ในขณะที่รสอุมามิของชาที่หลายคนชอบดื่มด่ำ ซึ่งเกิดจากกรดอะมิโน จะละลายที่อุณหภูมิตั้งแต่ 60 องศาขึ้นไป ดังนั้น พวกชาเขียวที่อุดมไปด้วยรสอุมามิ อย่างเกียวขุโระ จึงต้องชงด้วยน้ำอุณหภูมิ 40-60 องศา

ดังนั้นหากเราแช่ใบชาในน้ำเย็น รสขมของชาจะออกมาน้อยกว่าการชงแบบร้อน เหมาะสำหรับคนชอบดื่มชารสนุ่มๆ แบบอูมามินั่นเอง

Tea Cold Brew Tea Cold Brew

วิธีการทำชา cold brewทั้งชาดำ ชาอู่หลง

  1. ใช้ใบชา 4 กรัม ต่อน้ำ 200-250 มล
  2. นำใบชาใส่ถุงชาใช้แล้วทิ้ง
  3. นำถุงชาที่ใส่ใบชาแล้วแช่ลงไปในน้ำ ปิดฝาให้แน่น
  4. นำชาแช่ในตู้เย็น เป็นระยะเวลา 6-12 ชั่วโมง
  5. พอครบ ให้ดึงถุงชาออก ชาที่เย็นแบบนี้ สามารถเก็บได้ในตู้เย็นราว 3-4 วัน รสชาติก็ไม่เปลี่ยน ไม่มีความขมเพิ่ม

แต่ข้อควรระวังสำหรับชาเขียว จะขมได้ง่ายมาก ให้ลดปริมาณชาลง เหลือใบชา 3 กรัม ต่อน้ำ 500 มล. และแช่ชาเพียง 3-6 ชั่วโมง  และปกติแล้ว เวลาชงร้อนเรามักได้ กลิ่นหอมจากการชง แต่การชงชาแบบ Cold brew จะไม่มีกลิ่นหอมชวนดื่ม

แม้ว่าใบชาที่ผ่านการ cold brew แล้ว อาจจะนำมาชงร้อนซ้ำได้อีกสักครั้ง แต่รสชาติจะเหลือน้อยแล้ว แนะนำให้ทิ้งไปเลยจะดีกว่า

ส่วนการใช้ผงชาเขียวทำ Cold Brew นั้น ให้ใช้ผงชา 1 ช้อนชาลงไปในขวดที่มีฝาปิด และเทน้ำลงไป 1.5 ถ้วย ปิดฝาแล้วเขย่าประมาณ 15 วินาทีเป็นอันเรียบร้อย

Tea Cold Brew

ที่มา

https://pickledplum.com/cold-brew-tea/

https://theteacupoflife.com/2019/04/cold-brew-matcha.html

https://matchaoutlet.com/blogs/recipes/cold-brew-summer-matcha-drink

บทความจาก : Fuwafuwa

ชาที่ต้มแล้ว เอามาต้มซ้ำได้มั้ยนะ??

หลายคนคงเคยชินกับการชงชาจากถุงชาซ้ำสองถึงสามรอบ หรือใช้ใบชาที่ผ่านการชงแล้วมากกว่า 1 ครั้ง แม้จะมีความสงสัยกับการชงชาว่าหลังจากต้มน้ำแล้ว เอามาชงซ้ำอีกรอบได้มั้ย เพราะดูๆแล้วยังชงดื่มได้อีก สักรอบถึงสองรอบ

Green tea Green tea

โดยปกติแล้วผงชา หรือใบชาบดทุกชนิด มีความเข้มข้นในตัวเอง หากมีการนำมาต้ม หรือโดนน้ำร้อน จะทำให้น้ำร้อนสกัดรสชาติและความเข้มข้นของชาออกมา และเมื่อตอนเราบีบน้ำให้ออกมาจากใบชา ยิ่งบีบแรงเท่าไหร่ ก็จะได้ความเข้มข้นของชามากขึ้น เมื่อผงหรือใบชาที่ผ่านการกรองกากมาแล้วหนึ่งครั้ง ในตัวของผงหรือใบชานั้น ก็ยังคงเหลือรสชาติ และความเข้มข้นอยู่ แต่ไม่เข้มเท่าครั้งแรก ยิ่งชงซ้ำหลายครั้ง รสชาติของน้ำชา ก็จะจืดลงไปเรื่อยๆนอกจากนั้นสีและกลิ่นของชาก็จะลดลง โดยเฉพาะชาที่ผสมนมอย่างเช่น ชาไต้หวัน ชาเขียว ชาไทยแล้วความหวานและกลิ่นของนมจะกลบกลิ่นชาไปอีกด้วย

Green tea Green tea

นอกจากนี้รสชาติ สีสัน และ ความรู้สึกที่สัมผัสจากการดื่มชานั้นมาจากสององค์ประกอบหลักของชา คือ โพลีฟีนอล และ คาเฟอีนแต่ละส่วนประกอบมีรสฝาดในตัวเอง แต่เมื่อมารวมกันความฝาดก็จะลดลง การต้มน้ำให้เดือดอีกครั้งจะทำการลดระดับของ CO2 ซึ่งมีผลในการลดความเป็นกรดลง มีผลต่อองค์ประกอบของคาเฟอีนและโพลีฟีนอล และจะทำให้เกิดการเปลี่ยนสีรวมทั้งลักษณะของชาที่ชง น้ำที่ต้มสองครั้งจะมีผลต่อรสชาติของชาเท่านั้น ไม่ได้มีอันตรายใดๆ และสารอาหารก็ไม่ได้หายไปไหนอีกด้วย

matcha

อย่างไรก็ตามเมนูชาเย็นแนะนำใช้ชงครั้งเดียว เพราะเมนูชาเย็น ความอร่อยที่แท้จริง คือ รสชาติต้องเข้มข้น กลิ่นต้องหอมนั้นเอง

อย่างไรก็ตามอาจจะมีบางคนที่อ่านบทความนี้แล้วรู้สึกว่างั้นการชงชาแค่ครั้งเดียวแต่ทิ้งไว้ในกาชาให้นานขึ้นเพื่อให้ได้รสชาติที่เข้มข้นเลยน่าจะดีกว่าการเอามาชงซ้ำ ต้องขอบอกก่อนเลยว่าเป็นความคิดที่ไม่ดีนัก เพราะอีกตัวแปรที่ส่งผลต่อกลิ่นและรสชาติของชา คือ ระยะเวลาที่เราทิ้งชาเอาไว้ในกาน้ำชา ที่ไม่ต่างอะไรกับการอบขนม ถ้าอบนานเกินไปเค้กอาจจะค่อยๆ แห้งไปเรื่อยๆ จนไหม้ ถ้าทิ้งใบชาไว้ในกานานๆ รสชาติก็จะค่อยๆ ขมขึ้นเรื่อยๆ จนไม่อร่อยไปเอง ถ้าอยากได้รสชาติหอมหวานจากใบชาเพิ่มมากขึ้น แนะนำว่าให้เพิ่มปริมาณใบชา แทนที่จะใช้วิธีทิ้งใบชาแช่ในกาให้นานขึ้น ไม่เช่นนั้นน้ำชาอาจจะออกมาขมจนดื่มไม่ลงเลยก็ได้ หรือเอาชาใบเก่า กลับมาชงได้อีกรอบจะเป็นวิธีที่ดีกว่านั้นเอง

ที่มา

https://www.pinterest.com/pin/244461086010500412/

https://kinarino.jp/cat8/25451

https://e-yamamotoen.com/?pid=105742195

บทความจาก : Fuwafuwa

การผสมชากับนมนั้นมันไม่ดีจริงเหรอ? 

ชาใส่นม ไม่ว่าจะเป็นมัทฉะลาเต้ หรือ ชานมเย็น ที่เป็นที่ชื่นชอบของหลายๆคน ด้วยความเข้มข้น ของชา และความกลมกล่อมด้วยนมที่ผสมตามสูตรของที่ร้าน ชาจึงกลายเป็นหนึ่งในเครื่องดื่มที่มีการบริโภคมากที่สุดในโลกก็ว่าได้ อย่างที่ไทยบ้านเรา ก็มีทั้งชาดำเย็น ชานม หรือฝั่งญี่ปุ่น คนนิยมบริโภคชาเขียว ฝั่งยุโรปยังมีธรรมเนียมในการดื่มชากับขนมหวาน หรือที่เรียกว่า Afternoon tea นอกจากรสชาติที่อร่อยแล้วยังเป็นเพราะชาอุดมด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากๆ อย่างที่รู้กัน เช่น สารคาเทชิน (Catechin) ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ช่วยดักจับอนุมูลอิสระ และสารธีอะนิน (Theanine) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ทำงานสัมพันธ์กันกับเส้นประสาท หากดื่มไปแล้วจะทำให้รู้สึกผ่อนคลาย สงบนิ่งและสมองปลอดโปร่งมากขึ้น ซึ่งการจะได้ประโยชน์จากสารอาหารเหล่านี้อย่างเต็มที่ เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าต้องดื่มแบบไม่ผสมนม หรือน้ำตาล

Matcha Latte

แต่การผสมชากับนมนั้นมันไม่ดีจริงเหรอ? 

มีการค้นพบโดย นักวิจัยจากโรงพยาบาลคาริตของมหาวิทยาลัยเบอร์ลิน เยอรมนี ว่า ชาจะหมดประโยชน์ได้ ถ้าหากใส่นม เพราะโปรตีนในนมจะไปยับยั้งการทำงานของสารคาเทซิน ทำให้ประโยชน์ของชาในการปกป้องโรคหัวใจหมดไปการวิจัยดังกล่าวทดลองเปรียบเทียบ ระหว่างสุขภาพของผู้ดื่มน้ำอุ่น ดื่มชา และดื่มชาแบบเติมนม พบว่า

“ คนที่ดื่มชาทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้นอย่างชัดเจน เมื่อเทียบกับการดื่มน้ำอุ่น แต่พอมีการเติมนมลงไปในน้ำชาคุณประโยชน์ชาก็จะหายไปทันที ”

Matcha Latte

แต่ถ้าต้องการดื่มชาแบบเติมนมจริงๆ ก็ยังมีการโต้เถียงอีกว่า“ควรใส่ ชาก่อนหรือหลังนม?”

บางคนก็เชื่อว่าการเติมนมทีหลังชงชา ทำให้ผู้ดื่มสามารถกะปริมาณนมได้ง่ายกว่า โดยดูจากสีที่เปลี่ยนไป แถมเปิดโอกาสให้เจ้าของชาเลือกอุณหภูมิที่พอใจได้ด้วยตนเอง

แน่นอนว่าก็มีบางคนที่บอกว่าการเติมนมก่อนชงชาสามารถรักษาอุณหภูมิของชาได้ดีกว่า และทำให้ชามีรสละมุนกว่า เพราะแลคโตสในนม จะละลายดีกว่าเมื่อถูกความร้อนอย่างช้าๆ และการที่เทชาลงทีหลัง ทำให้นมมีโอกาสสัมผัสความร้อนจากชาได้อย่างทั่วถึงนั้นเอง ซึ่งเป็นสาเหตุหลังให้รสชาติของนมมีความกลมกล่อมและหวานหอมมากกว่า และนมที่ดีไม่ควรผ่านความร้อนหลายครั้ง ดังนั้นถ้าอยากเก็บคุณค่าทางสารอาหาร ก็แนะนำให้เสิร์ฟนมอุณหภูมิปกติ โดยให้ผ่านความร้อนจากการสัมผัสชาเพียงครั้งเดียวจะดีกว่านั่นเอง

อย่างไรก็ตามการไม่ใส่นมลงไปในชา ถือว่าเป็นวิธีการดื่มที่ดีที่สุด แต่ถ้าใครอยากใส่นมจริงๆ ลองเปลี่ยนมาดื่มชาที่ผสมนมอัลมอนด์ หรือนมพิสทาชิโอแทนก็น่าสนใจทีเดียว เพราะ 2 ตัวนี้อุดมด้วยมีแคลอรี่ต่ำ อุดมไปด้วยวิตามินอี และวิตามินดีไม่แพ้นมวัวเลย ที่สำคัญไม่มีส่วนผสมของถั่วเหลือง ปราศจากแลคโตสและกลูเตน คนที่แพ้นมวัวจึงสามารถทานได้อย่างไร้กังวล

Matcha Latte

ที่มา https://www.teacachai.com/pistachio-matcha-latte/

https://www.acozykitchen.com/matcha-iced-latte

https://bonaippetit.com/aip-coconut-milk-matcha-latte/

https://theforkedspoon.com/how-to-make-thai-iced-tea/

บทความจาก : Fuwafuwa

สีเขียวๆเหมือนกัน แต่ทำไมเป็นชาเขียวคนละแบบกัน

ทุกคนน่าจะเคยเห็นชาเขียว ที่สีไม่เขียว อย่างที่รู้จักกันในชื่อของ ชาโฮจิฉะ กันแล้ว แต่ก็อาจจะเคยเห็นชา ที่สีเขียวเหมือนกัน ต่างระดับเข้มอ่อน ซึ่งจริงๆแล้วเป็นการแสดงรสชาติที่มีหลากรสชาติหลายระดับ สิ่งที่ทำให้ชาเขียวแตกต่างจากชาประเภทอื่นๆ อย่างชาแดง และชาอู่หลง คือการ “นึ่ง” ใบชา ที่สามารถช่วยไล่กลิ่นเหม็นเขียวไปพร้อมๆ กับหยุดกระบวนการออกซิเดชัน ทำให้รักษาสีเขียวเอาไว้ได้นั่นเอง

สิ่งที่เรียกว่าชาเขียวเองก็ยังแบ่งได้ออกเป็นอีก 4 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่

1.เกียวคุโระ (Gyokuro)ยอดใบชาเขียวชั้นดี ใบชาม้วนเป็นเกลียว สีเขียวเข้ม ปลูกโดยคลุมผ้ากันแสงให้อยู่ในสภาวะเหมาะสมจนเกิดเป็นสีเขียว ผ่านการนึ่ง นวด และทำให้แห้ง ได้ออกมาเป็นชารสไม่ฝาด หวานเล็กน้อย ซึ่งที่มาของรสชาติหวานกลมกล่อมนี้ มาจากการที่ให้ใบชาอยู่ในร่มก่อนการเก็บเกี่ยว ซึ่งการป้องกันแสงแดดนี้จะทำให้สารเธียอะนินที่มีประโยชน์ (ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย) ในใบชาเพิ่มขึ้น แต่ทำให้สาร catechin ที่มาของรสขมในใบชาลดลง ทำให้ได้ชาที่มีรสชาติหวานกลมกล่อมนั่นเองกลิ่นหอม สีชาเกียวคุโระสีเขียวสด จัดเป็นชาเขียวชั้นสูง ผลิตได้ไม่มาก เก็บเกี่ยวได้ทีละน้อย ราคาจึงค่อนข้างแพง ส่วนมากใช้ในงานพิธีการ

2.มัทฉะ (Matcha) ชื่อที่หลายคนคุ้นเคยมากที่สุด ชาตัวนี้ผลิตจากมาจาก เท็นฉะ (Tencha) ซึ่งได้มาจากใบชาที่ปลูกในที่ร่มเหมือนชาเกียวคุโระก่อนจะนำไปบดเป็นผงด้วยหินอย่างพิถีพิถัน มักจะใช้ในพิธีชงชา เพราะมัทฉะรสชาติกลมกล่อมมัทฉะแบ่งเป็นหลายเกรด เช่น สำหรับทำขนม เครื่องดื่ม ชงในงานพิธีการ เป็นต้น สามารถสังเกตได้จากสีของมัทฉะ ยิ่งมัทฉะสีเข้มเท่าไหร่ คุณภาพก็ยิ่งดี ซึ่งในมัทฉะสารอาหารค่อนข้างมากที่สุด

3.เซ็นฉะ (Sencha) ชาเขียวส่วนใหญ่ หรือคิดเป็นกว่า 60% ของชาเขียวในประเทศญี่ปุ่นไม่ต้องเลี้ยงในร่ม เก็บเกี่ยวในช่วงแรก หรือช่วงที่สองของปี เมื่อเก็บใบมาแล้วต้องผ่านกระบวนการนึ่ง นวด และอบแห้งเหมือนกับเกียวคุโระ รสชาติค่อนข้างฝาด เนื่องจากการอบเลยทำให้ชาประเภทนี้ค่อนข้างมีกลิ่นหอม

4. บันฉะ (Bancha) คุณภาพรองลงมาจากชาเซนฉะ เพราะเก็บเกี่ยวในช่วงที่สามหรือสี่ของปี ใช้ดื่มทั่วไป เป็นใบชาที่เหลือจากยอดต้น ได้มาจากใบชาที่เก็บนอกฤดูกาล เช่น ก่อนต้นชาแตกยอด

ใหม่ หรือมีขนาดไม่ได้ตามมาตรฐาน รวบรวมมาผ่านกระบวนการต่างๆ จนได้เป็นชาราคาย่อมเยา มีรสชาติอ่อน สีออกไปทางเหลืองอมเขียวแทนที่จะเป็นสีเขียวสด รสฝาดกว่าชาชนิดอื่น อีกทั้งกลิ่นเฉพาะตัวของชาไม่หอมเท่าประเภทอื่น

ชาเขียว

ความอร่อยในการดื่มชาแต่ละประเภทอยู่ที่รสนิยม วิธีการปรุง รวมถึงอาหารที่รับประทานทานคู่กับชา แต่ชาเขียวทุกประเภทมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายจำนวนมากน้อย ขึ้นอยู่กับประเภทของชานั้นๆ นั่นเอง

Matcha Matcha

ที่มา

6 Different Types of Tea: The Ultimate Guide

http://www.flickr.com/photos/nikosan-artwork/5445104938/in/set-72157625618496145/

Homemade Tea Blends | For Christmas

https://kinarino.jp/cat8/25451

บทความจาก : Fuwafuwa