Chasen (茶筅 หรือที่เรียกว่า ที่ตีฟองชา) เป็นหนึ่งในอุปกรณ์สำคัญในการชงตีผงมัทฉะให้ละลาย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีลักษณะแปรงและคุณภาพที่เหมาะสมเพื่อให้ได้มัทฉะที่ดี ซึ่งฉะเซ็นมีหลายประเภท ที่มีความแตกต่างแค่เล็กน้อยในวัสดุ และรูปร่าง และลักษณะการใช้งาน โดยวัสดุหลักที่ใช้คือ ไม้ไผ่ ซึ่งไม้ไผ่ที่ใช้ทำมี 3 ชนิดหลัก ได้แก่ ไผ่ Hachiku, ไผ่ Susudake, และไผ่ดำ Kurodake โดยไผ่ Hachiku เป็นวัสดุที่นิยมใช้มากที่สุดในการทำฉะเซ็น เพราะเนื้อไม้มีความเนียน และอ่อน ทำให้แกะง่าย แต่ในขณะเดียวกันก็มีความทนทานต่ำและแตกง่ายเช่นกัน
หากใช้ไผ่ Susudakeจะมีความทนทานกว่า แต่จะหาไผ่ชนิดนี้ค่อนข้างยาก ส่วนไม้ไผ่ Kurodakeเป็นวัสดุที่มีน้ำหนักมากที่สุดในการทำฉะเซ็น อยู่ได้นานกว่าไม้ไผ่ Hachiku 3 เท่า แต่ไม้ชนิดไผ่ Kurodakeจะแกะสลักได้ยากเป็นพิเศษ ไผ่ที่ใช้ทำฉะเซ็นมักมีอายุประมาณ 3 ปีและเก็บเกี่ยวในฤดูหนาว หลังจากการเก็บเกี่ยวไม้ไผ่จะแห้งเป็นเวลาหนึ่งปี ขั้นแรกในช่วงฤดูหนาวจะทำด้านนอกโดยปล่อยให้สภาพอากาศในฤดูหนาวเป็นไม้จากนั้นนำไปเก็บไว้ในที่เก็บของแห้งและทิ้งไว้ที่นั่นตลอดทั้งปี
เมื่อไม้ไผ่พร้อมแล้วจะเลือกไม้ไผ่ที่เหมาะสม สภาพสมบูรณ์ที่สุด มาตัดเป็นชิ้นยาว 9-12 ซม. และแกะสลักด้วยมือเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่พร้อมใช้งานโดยเด็กฝึกงาน และถูกส่งกลับไปยังต้นทางผู้ชำนาญการแกะสลักอีกครั้งเพื่อทำการปรับแต่งอย่างละเอียดซึ่งประกอบด้วยการโค้งงอและเกลียว
รูปร่างสุดท้ายของฉะเซ็นถูกกำหนดขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆมากมาย เช่น Chu-araho ฉะเซ็นที่มีขนแปรงหยาบกว่า 70 ถึง 80 ที่ใช้สำหรับโคอิชะ (มัทฉะแบบเข้มข้น) และ Kazuho ฉะเซ็นที่มีขนแปรงละเอียดมากถึง 120 ชนิดที่ใช้เป็นหลักสำหรับอุซึฉะ (มัทฉะแบบเจือจาง)
แม้ว่าจะมีหลายประเทศที่พยายามทำฉะเซ็นขึ้นมา แต่ว่าที่ญี่ปุ่นยังให้คุณภาพที่ดีกว่าอย่างสม่ำเสมอเนื่องจากความใส่ใจในรายละเอียดของช่างฝีมือในแต่ละขั้นตอน ตั้งแต่การเลือกไม้ไผ่อย่างพิถีพิถันไปจนถึงการตัดและขึ้นรูปในแต่ละครั้ง เพราะคุณภาพไม้ไผ่มีผลอย่างมากต่อความทนทานของฉะเซ็นซึ่งส่งผลต่อให้การตีชาด้วยฉะเซ็นที่ทำจากไม้ไผ่คุณภาพสูงมีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น
ส่วนจำนวนสายตะกร้อที่ตียิ่งมีความละเอียดมากเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้มัทฉะแก้วนั้นนุ่มนวลขึ้น ฉะเซ็นทั่วไปที่ขายมีจำนวนซี่ตะกร้อระหว่าง 16 ถึง 120 ซี่ ยิ่งจำนวนสูงเท่าไหร่ก็ยิ่งง่ายต่อการปัดผงชาลงในน้ำ และ ตีมัทฉะให้ขึ้นฟองได้ง่าย ฟองละเอียด แต่ถ้าจำนวนซี่น้อยจะใช้เวลาในการตีนานขึ้น ส่วนวิธีใช้ แนะนำให้วางฉะเซ็นส่วนที่เป็นตะกร้อตีลงในน้ำร้อนสักสองสามวินาทีก่อนเพื่อคลายตัวไม้ไผ่ให้อ่อนลง เคล็ดลับในการตี คือ การงอข้อมือเล็กน้อยในขณะที่ขยับข้อมือเท่านั้น ปัดส่วนผสมให้เร็วที่สุดโดยใช้การเคลื่อนไหวเป็นรูปตัว M หรือ W หลังจากได้ชั้นโฟมที่เท่ากันแล้วให้ค่อยๆเอาที่ปัดในลักษณะหมุนวนอีกครั้งเป็นอันเรียบร้อย
ฉะเซ็นมีหลายประเภท หากนับกันจริงๆแล้วจะพบว่ามีมากถึงหนึ่งร้อยรุ่นเลยทีเดียว ในยุคเริ่มแรกนั้น ฉะเซ็นถูกทำออกมาเพียงแค่รุ่นเดียวเท่านั้น ทว่าหลังจากที่พิธีชงชาญี่ปุ่นเกิดการแพร่หลาย ลูกศิษย์ของเซนโนะริคิวหลายคนต่างก็ออกไปเปิดสำนักชงชาของตนเอง นำความรู้ที่ได้จากการร่ำเรียนกับริคิวไปเผยแพร่ต่อ ซึ่งแต่ละคนต่างก็ได้ดัดแปลงรายละเอียดปลีกย่อยบางอย่างให้เข้ากับอัตลักษณ์และค่านิยมส่วนตน และเมื่อเวลาผ่านไปเรื่อยๆ รายละเอียดที่แตกต่างกันเพียงเล็กน้อยเหล่านั้นในเริ่มแรกก็ได้แตกแขนงออกไปเรื่อยๆ จนกระทั่งกลายเป็นข้อแตกต่างของแต่ละสำนักชงชาในที่สุด รวมถึงรูปทรงของฉะเซ็นที่แต่ละสำนักใช้ในการชงชาด้วยเช่นกัน
ในส่วนของด้ายที่นำมาพันฉะเซ็น ก็มีข้อแตกต่างไปตามแต่ละรุ่นอีกเช่นกัน ฉะเซ็นปกติจะใช้ด้ายสีดำ ทว่าฉะเซ็นที่ใช้ในโอกาสพิเศษจะถูกพันด้วยด้ายสีแดงหรือสีขาว เพื่อความเป็นศิริมงคล โดยเฉพาะฉะเซ็นรุ่นที่ใช้ในวันขึ้นปีใหม่
อยากรู้แปรงชงชาแบบไหนเป็นที่นิยม อ่านต่อได้ที่บทความ >> 10 อันดับ แปรงชงชาเขียว แบบไหนดี ปี 2022
ที่มา
http://japan-web-magazine.com/japanese-tea/japan-japanese-tea-ceremony0.html
https://zhaozhoutea.com/chasen-%E8%8C%B6%E7%AD%85-the-matcha-whiskchasen/
บทความจาก : Fuwafuwa