พูดถึง E-commerce ก็ขออธิบายเพิ่มเติมก่อนว่า E-Commerce ย่อมาจากคำว่า Electronic Commerceเป็นการทำธุรกิจโดยซื้อขายสินค้าหรือโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่นิยมใช้งานมากที่สุดในปัจจุบันก็คือ อินเทอร์เน็ต โดยสามารถใช้ทั้งข้อความ เสียง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ซึ่งการทำ E-commerce สามารถเข้าถึงลูกค้าได้กว้างขวางและช่วยลดค่าใช้จ่ายต่างๆได้พอสมควร
ปัจจุบัน ผู้คนสามารถเข้าถึงสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ในโลกออนไลน์ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และการใช้งานอินเตอร์เน็ตถือได้ว่าเป็นกิจกรรมหลักในชีวิตประจำวันของผู้คนส่วนใหญ่ อีกทั้ช่วงสถานการณ์โควิดที่หน้าร้านบางร้านอาจจะเปิดขายได้ไม่เหมือนเดิม การหันมาพึ่งโลกโซเชียลในการขายจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกร้านควรหาลู่ทางในแบบที่ร้านตัวเองสามารถทำได้ ซึ่ง E-commerce เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง นอกจากพวกระบบดิลิเวอรี่อย่าง Line Man , Grab Food, Food Panda
หากถามถึงการทำ E-commerce ที่เหมาะกับร้านชา มี 3 ช่องทางใหญ่ ได้แก่
- Marketplaceเป็นช่องทางที่ทุกคนคุ้นเคยดี มีผู้เล่นใหญ่ๆ อย่าง Lazada, Shopee ซึ่งหากร้านชาร้านไหนมีใบชา ผงชา หรือสินค้าอื่นๆที่สามารถลงในแพลตฟอร์มเหล่านี้ได้ ก็ควรลองเปิดร้านค้าทิ้งไว้เช่นกัน เนื่องจากแพลตฟอร์มเหล่านี้มีสินค้าที่หลากหลาย และกลุ่มลูกค้าก็กว้าง ระบบโลจิสต์ติกส์ การชำระเงินครบวงจร จึงเหมาะกับร้านชาที่มีสินค้าแห้งๆอย่างวัตถุดิบส่วนผสมในกรชงเครื่องดื่ม หรืออาจะทำเป็นชุด Meal kit, Giftset วางขายในระบบแทนก็น่าสนใจเช่นกัน ดูโมเดลร้านชาใหม่ๆได้ที่ shorturl.at/bruEX
- E-Retailer เป็นกลุ่มธุรกิจค้าปลีกที่มีการขยายช่องทางออนไลน์ จากเดิมที่มีแค่หน้าร้าน ก็เพิ่มในส่วนของอีคอมเมิร์ซเข้ามา เช่น เทสโก้ โลตัส, บิ๊กซี, เซ็นทรัล และเดอะมอลล์ เป็นต้น ก็เปรียบเหมือนการที่เราไปออกบูทในห้างนั้นเอง เพียงแต่สินค้าที่ขายอาจะขายได้ไม่หลากหลายและมีข้อจำกัดพอสมควร ซึ่งร้านค้าปลีกบางร้านอาจจะมีค่าแรกเข้าที่ราคาค่อนข้างสูง จึงไม่ค่อยแนะนำกับแพลตฟอร์มนี้มากนัก
- Direct to Consumerคือการที่ร้านชาสร้างเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชั่นของตัวเองเพื่อให้มีฐานข้อมูลลูกค้าอยู่ในมือ และสามารถนำข้อมูลลูกค้าไปต่อยอดทำ Royalty Program ในอนาคตได้ ซึ่งการทำเว็บไซต์ E-Commerce ทีดีควรประกอบไปด้วย
- หน้าเว็บไซต์ต้องเป็นระเบียบ นอกจากความสวยงามแล้ว เว็บไซต์จะต้องใช้งานง่าย มีการแบ่งหมวดหมู่สินค้าอย่างเป็นระบบ ไม่ซับซ้อน
- ระบบเว็บไซต์หรือระบบหลังร้านต้องจัดการและควบคุมได้ง่าย เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ขาย
- มีรายละเอียดของสินค้าครบถ้วนชัดเจน ทั้งรูปภาพ ข้อความอธิบาย ราคา นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มส่วนของรีวิวจากลูกค้าก็ได้เพื่อช่วยในการตัดสินใจซื้อ
- สถานะสินค้าต้องแสดงแบบ Real Time กล่าวคือ ถ้าสินค้าหมด หรือเหลือจำนวนน้อย ต้องขึ้นแสดงให้ลูกค้าเห็น เพื่อให้ง่ายต่อการตัดสินใจซื้อ
- มีขั้นตอนการสั่งซื้อที่ง่าย ไม่ยุ่งยาก มีการระบุชัดเจนว่าต้องทำอย่างไรบ้าง
- อำนวยความสะดวกในการสั่งซื้อด้วยระบบตะกร้าสินค้า (Shopping Cart) ที่สามารถจดจำข้อมูลและจำนวนสินค้าของลูกค้าเอาไว้
- สามารถสรุปรายการสั่งซื้อให้ลูกค้าได้ เช่น ราคาสินค้าทั้งหมด ค่าจัดส่ง เป็นต้น
- การชำระเงินต้องมีความปลอดภัย และควรมีช่องทางให้ลูกค้าชำระเงินได้หลายช่องทาง เช่น บัตรเครดิต โอนผ่านธนาคาร เป็นต้น
- มีระบบการติดตามการจัดส่ง เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า
- เว็บไซต์ต้องรองรับการทำ SEO (Search Engine Optimization) ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้ค้นเจอเว็บไซต์และเพิ่มผู้เข้าชมเว็บไซต์ ซึ่งจะทำให้มีโอกาสขายสินค้าได้มากขึ้น
นอกจากการมีการทำ E-Commerce แล้ว ไม่ว่าจะทำด้วยแพลตฟอร์มของร้านเองหรืออาศัยเจ้าอื่นต้องอย่าลืมที่จะใช้กลยุทธ์การตลาดทั้งเรื่องการอัพเดตภาพเมนูใหม่ๆ การทำโปรโมชั่นในการโปรโมทสินค้าทางช่องทางออนไลน์ด้วยเหมือนเวลาที่เราเปิดขายหน้าร้านนั่นเอง
การทำเว็บไซต์ของร้านชาเอง จึงถือเป้นแพลตฟอร์มที่ค่อนข้างเหมาะกับผู้ประกอบการร้านชาทั้ง SMEและร้านที่ขายเครื่องดื่ม ขนม ที่ต้องมีการบอกเล่าเรื่องราว เอกลักษณ์ของแบรนด์ ผ่านหน้าเว็บไซต์ที่สวยๆ ซึ่งเว็บสำเร็จรูปฟรีที่สามารถให้ทดลองใช้ก็มีหลายตัว เช่น wordpress, wix.com หรือแบบเสียค่าแพคเกจในราคาถูก แต่ครีเอทเว็บสวยๆได้ก็มีมากมาย ซึ่งหลังจากครีเอทแล้ว แนะนำให้สร้ง Line@ ของที่ร้านเพื่อรับออเดอร์ และจัดส่งเองผ่านทาง Lineman, Grab หรือลาลามูฟ ก็เป็นวิธีที่เหมาะสม รวดเร็ว ประหยัดค่าใช้จ่ายและสามารถส่งอาหาร เครื่องดื่ม ขนม ได้ทุกเมนูของที่ร้าน
อีกสิ่งที่แม้ว่าเราจะหันไปรับลูกค้าทาง W-commerce แทนหน้าร้าน ก็อย่าลืมที่จะใช้การให้บริการเฉกเช่นเดียวกับการขายหน้าร้านเหมือนเดิมด้วยหลักของ Emotional Value
ที่มา
https://brandinside.asia/e-commerce-thai-marketer-need-to-know/
https://dribbble.com/shots/6623948-Matcha-cafe-app
บทความจาก : Fuwafuwa