
เทศกาลไหว้พระจันทร์ในแต่ละประเทศมีธรรมเนียมที่แตกต่างกัน เช่น ที่ญี่ปุ่น แม้ได้รับอิทธิพลจากจีน แต่ขนมไหว้พระจันทร์กลับไม่เหมือนกัน เพราะมีความเชื่อที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยนาระและเฮอัน ว่าในวันขึ้น 15 ค่ำ พลังจากดวงจันทร์สามารถทำให้คำขอพรเป็นจริงได้ คนญี่ปุ่นยังจินตนาการว่าเงาบนดวงจันทร์คล้ายกระต่ายตำโมจิ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเทศกาลนี้ สำหรับชาวนา การไหว้พระจันทร์คือการขอบคุณหลังเก็บเกี่ยวและขอพรให้พืชผลอุดมสมบูรณ์ในฤดูกาลถัดไปค่ะ
ในไทย การไหว้พระจันทร์ยึดตามความเชื่อจีนแท้ๆ โดยใช้ ขนมไหว้พระจันทร์ ซึ่งมีไส้หลากหลายแบบ ไส้ดั้งเดิมยอดนิยม เช่น ทุเรียนและลูกบัว ยังคงได้รับความนิยม แต่ปัจจุบันมีไส้ใหม่ๆ อย่างช็อกโกแลต ชาเขียว และคัสตาร์ด เพิ่มความแปลกใหม่และน่าตื่นเต้นให้กับเทศกาล
นอกจากความหลากหลายของไส้ ตัวแป้งขนมไหว้พระจันทร์ก็ได้รับการปรับเปลี่ยนเช่นกัน หากเป็นต้นตำรับจะใช้ แป้งอบ แต่ปัจจุบันมี แป้งบัวหิมะ หรือแป้งแบบไม่อบ ที่เพิ่มสีสันได้ตามต้องการ เหมาะกับไส้ที่รับประทานแบบเย็น ช่วยสร้างความสนุกและทันสมัยให้กับเทศกาลไหว้พระจันทร์ในไทยค่ะ
แป้งขนมไหว้พระจันทร์แบบอบมีขั้นตอนที่เรียบง่าย โดยเริ่มจากการผสมและนวดส่วนผสมจนเนียน จากนั้นนำไปห่อไส้ที่เตรียมไว้ กดใส่พิมพ์ เคาะออก แล้วอบจนสุกตามสูตร ซึ่งแต่ละร้านอาจมีเทคนิคเฉพาะตัวที่แตกต่างกัน
ขนมไหว้พระจันทร์แบบอบมักสอดไส้ที่ให้ความรู้สึกพรีเมียม เช่น ไส้ชาเขียวผสมเม็ดบัวหรือเกาลัด ซึ่งมอบกลิ่นอายแบบญี่ปุ่น พร้อมรสชาติที่กลมกล่อม นอกจากนี้ ชาเขียวไม่ได้ใช้เพียงในไส้เท่านั้น แต่ยังสามารถผสมในแป้งเพื่อเพิ่มสีสันและความโดดเด่นให้ขนมได้อีกด้วยค่ะ
1.แป้งสาลี 130 กรัม
2.น้ำมันถั่วลิสง 15 กรัม
3.น้ำเชื่อม 65 กรัม
4.ผงมัทฉะ 8 กรัม ขึ้นอยู่กับว่าอยากได้แป้งสีเข้มอ่อนแค่ไหน
- การเตรียมแป้ง ผงมัทฉะ ผสมน้ำมันถั่วลิสงและน้ำเชื่อมเข้าด้วยกัน จากนั้นเทแป้งสาลีลงบนโต๊ะแล้วเปิดพื้นที่ว่างเป็นวงตรงกลางแป้ง จากนั้นเทส่วนผสมของน้ำมันถั่งลิสงที่ผสมแล้วลงไปในตรงกลางแล้วผสมให้เข้ากัน นวดจนเนียนเป็นเนื้อเดียวกัน ตัดแบ่งเป็นชิ้นชิ้นละ 12 กรัม (ปรับขนาดได้ตามต้องการ)
- การเตรียมไส้ขนม 50 กรัม ห่อไข่เค็มหั่นครึ่ง 1 ชิ้น โดยวางไข่เค็มไว้ตรงกลาง
- การเตรียมขนม กดตัวแป้งให้แบนแล้วจึงใส่ไส้ลงไปและเป็นก้อนกลม เมื่อปั้นเสร็จแล้วให้โรยแป้งบนพิมพ์ขนมเล็กน้อย แล้วจึงใส่ตัวขนมลงไป กดขนมให้แน่น จากนั้นเคาะออกจากพิมพ์แล้ววางบนถาดอบ
- การอบ นำขนมเข้าอบในเตาที่ปรับอุณหภูมิไว้แล้ว ที่ไฟบน 230 องศาและไฟล่าง 200 องศา เป็นเวลา 10 นาที จากนั้นนำออกมาและทาผิวขนมด้านบนด้วยไข่ ก่อนจะเอาเข้าไปอบต่ออีก 10 นาทีก็เป็นอันเสร็จ
ต่อกันด้วยขนมไหว้พระจันทร์แบบแป้งไม่อบ หรือที่หลายคนรู้จักในชื่อ แป้งบัวหิมะ (Snow Skin) มีวิธีการทำที่แตกต่างจากแบบอบ โดยต้องทำแป้งให้สุกก่อนนำมาห่อไส้ ขนมชนิดนี้มีหลากหลายสูตรและเอกลักษณ์เฉพาะตัวในแต่ละร้าน ทั้งกลิ่นและรสชาติที่ไม่เหมือนกัน
โดยทั่วไป ขนมไหว้พระจันทร์แบบแป้งไม่อบนิยมกินแบบเย็น หากแช่ตู้เย็นจนแข็งเกินไป เพียงนำออกมาวางให้คลายความเย็นก่อนก็พร้อมรับประทาน ข้อดีของแป้งชนิดนี้คือสามารถเพิ่มส่วนผสมอย่าง ผงมัทฉะ ในระหว่างผสมแป้ง เพื่อให้ได้รสชาติชาเขียวและสีเขียวสดใส หรือใครอยากสร้างสรรค์มากขึ้น อาจลองใส่ ผงโฮจิฉะ เพื่อเพิ่มความหอมละมุนก็เป็นไอเดียที่น่าสนใจไม่น้อยค่ะ
- แป้งข้าวเหนียว 50 กรัม
- แป้งข้าวเจ้า 50 กรัม
- แป้งสาลีอเนกประสงค์ 40 กรัม
- น้ำตาลทราย 70 กรัม
- นมสด 200 กรัม
- นมข้นหวาน 40 กรัม
- น้ำมันพืช 40 กรัม
- ผงมัทฉะ 5 กรัม
- ผสมส่วนผสมทั้งหมดเข้าด้วยกัน นำไปนึ่งด้วยไฟกลาง ประมาณ 20-30 นาที (ระยะเวลาขึ้นอยู่กับขนาดภาชนะ)
- เมื่อนึ่งส่วนผสมเสร็จแล้ว นำออกมาพักไว้ให้พออุ่น แล้วจึงนำแป้งมานวดให้เนียน
- ส่วนไส้ ก็สามารถใส่ได้หลายแบบ หลังจากที่นำแป้งไปห่อไส้แล้ว กดปั้นกลม แล้วนำไปกดด้วยพิมพ์ขนมไหว้พระจันทร์ตามชอบเป็นอันเสร็จเรียบร้อย
ไอเดียเมนูใหม่ ที่ร้านขนมหลายร้านอาจจะนึกไม่ถึง ให้ช่วงเทศกาลพิเศษ มีขนมแบบใหม่ๆออกมา เพื่อเรียกลูกค้าทั้งลูกค้าเก่าและใหม่ ยิ่งถ้าได้แพคเกจดีๆสวยๆ ทั้งแบบชิ้นเดี่ยว หรือซื้อเป็นชุด ยิ่งเพิ่มมูลค่าให้กับขนมไหว้พระจันทร์ สร้างความประทับใจให้ผู้รับแน่นอน
ที่มา
https://www.huangkitchen.com/matcha-green-tea-snowskin-mooncake/
https://songdaygivral.hatenablog.com/entry/cac_loai_banh_trung_thu_givral
https://mobile.twitter.com/mo_hotels/status/500360064214241280
https://goodyfoodies.blogspot.com/2013/09/recipe-homemade-snowskin-mooncakes-with.html
บทความจาก : Fuwafuwa