บทความทั้งหมด
รอบรู้มัทฉะ
ทำความรู้จักใบชา สำหรับคั่วชาโฮจิฉะ
05 ก.ย. 20

ชาโฮจิฉะ (Hojicha) คือชาเขียวที่คั่วด้วยอุณหภูมิสูงจนมีกลิ่นหอม และยังคงรสชาติในปากหลังดื่ม จึงนิยมดื่มหลังอาหารหรือระหว่างมื้อ ด้วยการคั่วนี้ ทำให้สารคาเทชินที่ทำให้มีรสฝาดและคาเฟอีนลดลง ทำให้โฮจิฉะอ่อนโยนต่อร่างกาย ดื่มได้ทั้งเด็ก คนท้อง และผู้ใหญ่ รวมถึงสามารถดื่มก่อนนอนได้เพราะมีคาเฟอีนต่ำ ชาที่นิยมใช้ในการทำโฮจิฉะมี 3 ชนิด ได้แก่ เซนฉะ (Sencha), บังฉะ (Bancha) และคุคิฉะ (Kukicha) ซึ่งแต่ละชนิดมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกัน

ชาโฮจิฉะชาโฮจิฉะ

 

เซนฉะ (Sencha) คือชาเขียวที่ชาวญี่ปุ่นนิยมดื่มในชีวิตประจำวัน สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปีและไม่ต้องเลี้ยงในร่ม เป็นชาที่ผลิตมากที่สุดในญี่ปุ่น เพราะเก็บใบได้ปีละ 4 ครั้ง ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม โดยจะเก็บยอดอ่อน 3 ใบแรกและใช้กรรไกรตัด เซนฉะแบ่งเป็น 3 เกรด: เกรดสูง, เกรดกลาง, และเกรดธรรมดา หลังจากเก็บใบชา จะมีการเป่าให้แห้งและม้วนใบชาในระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อหยุดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ซึ่งช่วยรักษาสีและกลิ่น รสชาติของเซนฉะมีความฝาดและมีกลิ่นหอมที่ชัดเจนขึ้นเมื่อคั่ว

 

ชาเซนฉะ

 

แต่ถ้านำใบชาเซนฉะไปอบนานขึ้น ประมาณ 2-3 เท่า ทำให้ได้สีและรสชาติที่เข้มกว่าเซนฉะ จะเรียกว่า ฟุคะมุชิฉะ (深蒸し茶) นั่นเอง

 

ชาเซนฉะ

ชาเซนฉะ

 

ส่วน บังฉะ (番茶) คุณภาพรองลงมาจากชาเซนฉะ เพราะเก็บเกี่ยวในช่วงที่สามหรือสี่ของปี เป็นใบชาที่เหลืออยู่ที่ยอดชาหลังเก็บใบชาเซนฉะไปแล้ว ใบชาบังฉะจะมีขนาดใหญ่กว่าที่นำไปผลิตเป็นชาเซนฉะ หลังจากนั้นก็นำมานวดเล็กน้อย รสชาติจะอ่อนๆ ใช้ดื่มทั่วไป เป็นใบชาที่เหลือจากยอดต้น มีรสชาติอ่อน แต่มีกลิ่นหอมที่ชัดเจน ฝาดเล็กน้อย ส่วนใหญ่ใบชาประเภทนี้เป็นใบแข็ง ไม่ค่อยสมบูรณ์ มีสีน้ำตาลอ่อนออกเหลือง และมีรสชาติขมกว่าเกียวคุโระและเซนฉะ

 

บังฉะ (番茶)

 

เมื่ออบบังฉะด้วยความร้อนและนวดให้แห้ง จะได้ใบชาหอมสีน้ำตาลแดงที่เรียกว่า “โฮจิฉะ” บังฉะมีสารแทนนินสูงแต่คาเฟอีนน้อย ทำให้รู้สึกสดชื่นในปาก เมื่อต้องการชงควรใช้น้ำร้อนแบบเร็ว ๆ เพื่อให้ได้รสชาติขมและฝาด เหมาะสำหรับล้างปากหลังอาหาร และยังช่วยลดแบคทีเรียในช่องปากได้ด้วยฟลูโอไรด์

 

สำหรับคุคิฉะ (หรือ Boucha) เป็นชาที่ทำจากก้านชาเซนฉะหรือมัทฉะ มีใบชาผสมน้อย รสชาติหวานนวลกว่าเพราะมีสาร L-theanine สูง ชาชนิดนี้สามารถชงซ้ำได้หลายครั้งและสามารถผสมกับน้ำผลไม้สำหรับเด็ก ๆ ได้ หากชงในอุณหภูมิ 70-80 องศา จะได้รสชาติที่ดีที่สุด คุคิฉะมีกลิ่นหอมมากเมื่อเทียบกับชาชนิดอื่น ๆ และอบรมควันเพื่อให้ได้ชาโฮจิฉะที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว

 

Boucha (棒茶)

 

เพียงแค่ชาเปลี่ยนกรรมวิธีในการผลิตและเก็บเกี่ยว ก็สามารถกลายเป็นชารูปแบบต่างๆ ให้คนเลิฟชาได้ลิ้มรสทั้งกลิ่น และรสชาติที่แตกต่างกัน

 

ชอบบทความนี้ ?
โปรดแชร์ให้เพื่อนๆ