รวมกันแล้วรุ่ง ด้วย Marketing Collaboration

จะเห็นว่าช่วง 2-3 ปีมานี้ ธุรกิจร้านอาหาร คาเฟ่ เบเกอรี่ และเครื่องดื่มหลากหลายรูปแบบเติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งที่เป็น SME ร้านมีแฟรนไชส์ หรือแม้กระทั่งใครหลายคนที่อาศัยช่วงเวลาว่างอยู่ที่บ้าน เข้าครัว จับโน่นผสมนี่ออกมาทำขายเต็มไปหมด ไม่ว่าจะเป็นสินค้าไหนๆ ก็คู่แข่งเต็มไปหมด โดยเฉพาะร้านสไตล์ญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นขนม ชา หรือร้านอาหารก็ตาม ด้วยจำนวนร้านที่เพิ่มขึ้นมาก แต่จำนวนผู้บริโภคมีเท่าเดิม คงหนีไม่ได้ กับการที่ยอดซื้อของบางร้านที่ไม่มีเอกลักษณ์โดดเด่นมากพอ จะลดลงอย่างแน่นอน

การ Marketing Collaboration  หรือการจับคู่แบรนด์เพื่อทำโปรเจกต์ร่วมกัน กลยุทธ์นี้เป็นการผสมผสานจุดแข็งของแต่ละฝ่ายเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างความแปลกใหม่ และขยายกลุ่มลูกค้าให้กว้างขึ้น อย่างไรก็ตามการทำ Marketing Collaboration ใช่ว่าจะประสบความสำเร็จทุกเคสไป และมือใหม่ที่ไม่ถนัดการตลาดมากนัก อาจจะจับต้นชนปลายไม่ถูกว่าต้องเริ่มทำจากอะไร

เทคนิคการทำ Marketing Collaboration เริ่มจาก

1.กำหนดเป้าหมายให้ชัดต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนว่าทำเพื่ออยากได้กลุ่มลูกค้าแบบไหนเพิ่มขึ้น อยากได้ชื่อเสียงจากอีกแบรนด์ในด้านไหนในการทำกิจกรรมทางการตลาดร่วมกัน อย่างเช่น

Marketing Collaboration

“KitKat  X Krispy Kreme” ช็อคโกแลตคิทแคทที่หลายคนรู้จัก จับมือกับโดนัทยอดฮิต เพื่อออกสินค้าใหม่ที่เป็น Limited Edition แม้จะเป็นธุรกิจขนมเหมือนกัน แต่การจับมือของสองแบรนด์นี้ ที่ขึ้นชื่อเรื่องความอร่อยของโดนัทและเวเฟอร์ช็อคโกแลตที่ดังระดับโลก ย่อมทำให้คนรักขนมต้องอยากลองสักครั้งแน่นอน

Marketing Collaboration

หรือ Mister Donut x Calpis  โดนัทที่หลายคนคิดไม่ถึงว่าสามารถทำเป็นรสชาติเครื่องดื่มโยเกิร์ตที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของ Calpis ได้น่าทานขนาดนี้

การดึงเอกลักษณ์วัตถุดิบที่โดดเด่นของแบรนด์อื่นๆมาร่วมกันทำสินค้าใหม่ที่ีมีความน่าตื่นเต้นและน่าทานได้แบบนี้ จะเป็นการดึงฐานลูกค้าของทั้งสองแบรนด์ให้มาซื้อสินค้าตัวนี้ได้

2. แบรนด์ต้องมีความเข้ากันได้และเป็นแบรนด์ที่ลูกค้าและเจ้าของธุรกิจชื่นชอบ ความเข้ากันได้ รวมถึงวิธีการทำงาน วิสัยทัศน์ ภาพลักษณ์ หรือเป้าหมายว่าไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่ เพราะจะช่วยเพิ่มโอกาสสร้างผลกำไร และยังได้แลกเปลี่ยนความรู้ใหม่ๆที่น่าสนใจของแบรนด์พันธมิตรอีกด้ว

3. ต้องร่วมมือกันสร้างสรรค์สิ่งที่ทำให้ลูกค้าคิดไม่ถึง อย่าง 2 แบรนด์นี้ที่ดูแล้วไม่น่าจะทำการ Collaboration ได้ แต่ Kitkat ที่เกาหลียังคงมีไอเดียสร้างสรรค์ จับมือกับเครื่องสำอางวัยรุ่นออกซีรีย์ KitKat Eye Shadow Palettes in Two “Flavors” ที่ทำช็อคโกแลตออกมาให้มีสีเหมือนกันกับพาเลทของสาวๆ ช่วยสร้างสีสันให้ไม่น่าเบื่อ

Marketing Collaboration

4.อย่าลืมมองสินค้าประเภทเดียวกัน อย่ามองว่าอีกฝ่ายเป็นคู่แข่งอย่างเดียวเราอาจจะหยิบจุดเด่นของร้านคู่แข่งบางอย่างมาช่วยเติมเต็มสิ่งที่ร้านเราขาดไป กลายเป็นพันธมิตรที่ดีต่อกันได้ อย่างช่วงนี้ที่หลายๆร้านมีขายเครื่องดื่มชาสูตรเฉพาะของที่ร้าน อาจจะนำชาของแต่ละร้านที่มีจุดเด่นความกล่มกล่อมและรสชาติ และสัญชาติชาที่แตกต่างกัน บางร้านอาจจะเป็นชาไทย บางร้านเป็นชาจีน หรือชายุโรป แต่เป็นชาที่แตกต่างกัน ออกมาเป็นสินค้าใหม่ที่เป็นคอลเลคชั่น TEA ก็น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว

Marketing Collaboration

**ภาพนี้ไม่ได้เป็นการ Collaboration เป็นเพียงการยกตัวอย่างประกอบให้เห็นชัดเจนง่ายขึ้น**

5.การ Collaboration ไม่จำเป็นต้องเป็นแบรนด์ สินค้า 2 แบรนด์ เสมอไป การครีเอทสิ่งใหม่จากแบรนด์เดิม ด้วยศิลปิน เชฟจากที่อื่นที่ไม่ใช่คนในทีมของร้านนั้นๆ ก็ถือว่าเป็นการทำ Collaboration เช่นกัน อย่างเช่น Mister Donut x Toshi Yoroizuka (เชฟ patissier ชื่อดังของญี่ปุ่น ) ในการออก Collection Mister Donut 50th anniversary กับสุดยอดเมนูโดนัทที่รังสรรค์จากฝีมือเชฟระดับประเทศ ออกมาในรูปแบบของโดนัทที่เข้าถึงคนทุกเพศทุกวัย ถือเป็นการเปิดประสบการณ์ให้ใครหลายๆคนที่อยากทานของอร่อยได้ในราคาเข้าถึงง่าย

Marketing Collaboration Marketing Collaboration

ที่มา

https://bit.ly/2YLRvyJ

https://bit.ly/2SR2WBb

https://bit.ly/2LdTWSr

https://allabout-japan.com/en/article/2508/

https://matcha-jp.com/en/9656?type=news

บทความจาก : Fuwafuwa