เลือกใช้ Pantone สีชายังไงให้เป๊ะ

ทำไมเราจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการทำสื่อและการถ่ายภาพเมนูของที่ร้านมากๆ  ???

เพราะ สี คือ ส่วนสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในงานออกแบบ เพราะสีจะกำหนดความรู้สึกและสร้างอารมณ์ของผู้รับชม ไม่ว่าจะเป็นสีโทนเดียว(monochromatic), สดใส(bright), สดชื่น(cool), อบอุ่น(warm), หรือการเติมเต็มเฉดสีที่หลากหลายให้ทำหน้าที่ที่แตกต่างกันในหนึ่งชิ้นงานออกแบบ

tea pantone tea pantone

ชาแต่ละชนิด ให้สีที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับกรรมวิธีเก็บเกี่ยวและผลิต สเน่ห์ของสีชาที่ไม่ฉูดฉาด ดูแล้วสบายตาตามธรรมชาติ เช่น มัทฉะ ให้สีเขียวเข้ม ชาโฮจิฉะให้สีน้ำตาลแดงที่เกิดจากการนำชาเขียวไปคั่ว หรือชาอู่หลงที่ค่อนออกไปทางสีเหลืองทอง สีเหล่านี้ หากมาอยู่ในโปสเตอร์ หรือแพคเกจของร้าน การดึงจุดเด่นและเลือกใช้คู่สีที่เหมาะกัน เลือกใช้ชุดสี Pantone ที่ช่วยกันส่งเสริมให้ภาพดูเต็ม จะช่วยทำให้ภาพนั้นๆดูแล้วสบายตา ดึงดูดได้ง่ายขึ้น และที่สำคัญหากมีชุดสีในใจจะช่วยให้คุณบรีฟงานกราฟฟิคดีไซน์ที่ออกแบบไม่ว่าจะเป็นเมนูชา แพคเกจจิ้งของที่ร้าน เข้าใจไปในทิศทางเดียวกันมากขึ้น

หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าPantone ที่ว่าหมายถึงอะไร ??

Pantone คือ ชื่อบริษัทที่ทำธุรกิจการพิมพ์และการออกแบบในสหรัฐอเมริกา หลายคนจะรู้จักกันในนามผู้ที่กำหนดมาตรฐานการเทียบสีที่เรียกว่า Pantone Matching System (PMS) เพื่อใช้ในโรงพิมพ์ทั่วโลก

เวลาเราพิมพ์โปสเตอร์ ทำฉลากออกมา หรือหาคู่สีสำหรับการทำสื่อของผลิตภัณฑ์ชาเขียว เชื่อว่าหลายคนคงเจอปัญหาที่ว่าเลือกยังไง สีชาก็เพี้ยนไม่ตรงตามต้องการอยู่ดี การมี Pantone ไว้เทียบสีที่ชอบสักชุด ก็จะช่วยให้ได้งานที่เป๊ะมากขึ้น เพราะบางทีหากเราดูงานพิมพ์จากหน้าจอ แต่ละหน้าจอ ความสว่างจะไม่เท่ากัน สีอาจจะเพี้ยนได้ง่ายซึ่งการเลือกใช้สีนี้ สามารถนำเทคนิคไปปรับกับการจัดเซ็ตองค์ประกอบภาพเพื่อถ่ายภาพได้เช่นเดียยวกัน

ประเด็นแรกที่ต้องคำนึงในการเลือกใช้สีคือ สีที่เยอะเกินไป อาจจะทำให้งานของดูสับสน ไม่ดึงดูดเท่าที่ควร วิธีที่คนส่วนมากแนะนำกันคือ เลือกใช้สีสัก 2 – 3 สีในงานออกแบบนั้นๆ ใช้เทคนิคประสว่างสีให้เข้มอ่อนจาก 2-3 สีนั้น จะทำให้งานชิ้นนั้นมีมิติมากขึ้น ลองใช้ color wheel เลือกดูได้เลย รับรองว่างานของคุณจะออกมาดูสะอาด สำหรับพื้นที่ว่างลองเพิ่ม  textures ลองไปสักนิด จะได้ออกมาไม่เรียบจนเกินไป หากเน้นขายเมนูชาโฮจิฉะ ที่มีสีน้ำตาลของชา ก็ควรใช้สีโทนส้ม คู่กันและปรับความเข้มอ่อนของสีชาลง

tea pantone tea pantone

เทคนิคการเลือกสีหลัก แล้วหาสีที่เข้าคู่กันลองคิดว่างานที่กำลังออกแบบเป็นงานอะไร เป็นกีฬา, แฟชั่น, ความงาม, หรือธุรกิจ เพราะอารมณ์ของแต่ละงานก็เลือกใช้สีที่ไม่เหมือนกัน อยากจะให้อารมณ์งานออกมาอ่อนนุ่มหรือรุนแรง แล้วลองใส่รายละเอียดเอาไปอีกนิด จะไดู้่สีที่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว อย่างเช่น ชาเขียว สีหลักคือสีเขียว สีที่เข้าคู่กันได้คือ สีชมพู ที่จะช่วยให้ภาพดูอ่อนโยน เข้าถึงได้ง่าย เป็นมิตรต่อผู้บริโภค หรือถ้าเป็นสีชาโทนส้มน้ำตาล ก็สามารถนำสีชมพูมาใช้คู่ได้เช่นกัน

tea pantone tea pantone

หรือหากใครคิดไม่ออกจริงๆ ลองเข้า Pinterest แหล่งรวบรวมงานออกแบบมากมาย ที่จะทำให้ได้ไอเดียและกลุ่มโทนสีที่มีการจับคู่ไว้ให้แล้วเพื่อมาใช้ในการจัดองค์ประกอบภาพถ่ายรูปสินค้า และใน Pinterest ก็จะมีค่าสีแสดงอยู่ ง่ายต่อการใช้งานมากขึ้นเพราะเราไม่ต้องมานั่งเทียบเองว่า ชาสีเขียว ต้องใช้เขียวแบบไหน แค่พิมพ์ค่าสีนั้นลงๆไปก็จะได้สีชาที่เป๊ะถูกต้องนั่นเองหรือถ้าไม่แน่ใจว่าต้องใช้ Code สีไหน อีกวิธี ทีจะช่วยให้ได้สีชาที่ใกล้เคียงกับของจริงมากที่สุด คือ การดูดสีเอาจากภาพที่มีสีชาที่เราต้องการ 

เราจึงรวบรวมตัวอย่างโทนสีที่นิยมใช้กันในการทำ Artwork มาให้คนรักชาเขียวเป็นไอเดียในการใช้งานที่ง่ายและสะดวกขึ้น

tea pantone tea pantone tea pantone

tea pantone tea pantone tea pantone tea pantone

ที่มา

https://colorpalettes.net/wp-content/uploads/2014/08/cvetovaya-palitra-478.jpg

http://color.romanuke.com/tsvetovaya-palitra-2164/

บทความจาก : Fuwafuwa

Privacy Preferences

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save