โมเดลร้านชา ทางเลือกใหม่ของธุรกิจเครื่องดื่ม

ช่วงนี้ธุรกิจเกิดใหม่เกิดขึ้นเยอะ โดยเฉพาะแวดวงอาหาร สร้างความท้าทายอย่างมากให้กับเจ้าของกิจการเพื่อปรับตัวเข้าหาผู้บริโภค อีกทั้งยังมีปัญหามากมายไม่ว่าจะเป็นจำนวนลูกค้าหรือกำลังซื้อที่ลดลง ร้านอาหารแบรนด์ดังๆหลายร้านเริ่มหาโมเดลใหม่ๆให้ธุรกิจตัวเอง เพราะทำอะไรแบบเดิมๆ ธุรกิจก็ไม่อาจเพิ่มยอดขายต่อไปได้ การทดลองทำโมเดลใหม่ๆ เพิ่มช่องทางหารายได้ จึงเป็นโมเดลที่น่าทดลองทั้งกับผู้ประกอบการรายใหม่และรายเดิม เริ่มที่คุ้นเคยๆกันอย่าง

โมเดลร้านชา

Food Truck ที่ดัดแปลงรถให้กลายเป็นร้านขายอาหาร หรือเครื่องดื่มแบบเคลื่อนที่ได้ จุดเด่นของโมเดลนี้คือการใช้พื้นที่น้อย ยืดหยุ่นในด้านทำเลเพราะเคลื่อนย้ายได้ง่าย บริการเสิร์ฟในรูปแบบขายร้านคีออสปกติ แต่สามารถขับเคลื่อนเข้าหากลุ่มลูกค้าได้ทุกที่ที่ต้องการไม่ว่าจะเป็นตามงานอีเว้นต์ หรือบริเวณที่อยากทดลองขายโดยไม่เสียค่าเช่าที่ เพื่อเน้นการเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น โดยเฉพาะลูกค้ากลุ่มคนรุ่นใหม่ ซึ่งวิธีทำไม่ซับซ้อน ใช้เวลาทำรวดเร็วเพื่อเน้นจำนวนลูกค้าและปริมาณการขายที่มาก ซึ่งรถ Food Truck จะเป็นลักษณะครัวเปิด โดดเด่นเรื่องกลิ่นหอม ยิ่งถ้าขายเครื่องดื่มอย่างชา กาแฟ ยิ่งสามารถดึงความหอมมาดึงดูดลูกค้าได้ อีกทั้งยังเป็นตัวกระตุ้นความสนใจของลูกค้าให้เข้ามาซื้อได้อีกทาง หลายๆ ร้านที่ญี่ปุ่น ก็เริ่มต้นจากการทำโมเดลนี้ สร้างแบรนด์และขยายธุรกิจให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น

Food Truck Food Truck

Meal Kits เริ่มจากจากกระแสการทำอาหารทานเองที่บ้านในช่วงโควิดที่หลายคนผันตัวมาเข้าครัวมากขึ้น ทำให้การขาย Meal Kits หรือชุดวัตถุดิบอาหารพร้อมปรุงเป็นที่นิยมมากขึ้น โดยในชุดที่ส่งไปจะมีส่วนผสมให้พร้อมใยเมนูขั้นตอนวิธีการทำอาหารจัดส่งให้ลูกค้าไปทำทานเองที่บ้าน นอกจากจะช่วยให้มือใหม่เข้าครัวได้ง่ายๆแล้ว ยังอำนวนความสะดวกให้กับคนที่ไม่อยากออกจากบ้านไปหาซื้อวัตถุดิบ และยังประหยัดเวลาด้วย ซึ่งการจัดชุดเครื่องดื่มชา ยังไม่เป็นที่นิยมนัก จึงเป็นช่องว่างในธุรกิจเครื่องดื่มที่น่าสนใจสำหรับร้านที่มีเมนูเป็นเอกลักษณ์ แล้วสามารถนำส่วนผสมมาจัดชุดได้ เพราะการขายแบบนี้  สามารถลดต้นทุนในด้านต่างๆได้ เช่น พนักงานหน้าร้าน ค่าดูแลรักษาร้านคาเฟ่ เพียงแค่จัดชุดวัตถุดิบใบเมนูสูตรจัดส่งเดลิเวอรี่ ก็ขยายกลุ่มลูกค้าได้มากและเป็นกลุ่มที่กว้างขึ้น เช่นในชุดประกอบไปด้วยฉะเซ็น ผงชา ถ้วยชงชา วิธีการชงชา เป็นต้น ให้ลูกค้าได้สร้างบรรยากาศแบบญี่ปุ่นๆได้เองที่บ้าน

Meal Kits  Meal Kits

หรือจะเป็นชุดอุปกรณ์ทำขนมจากผงมัทฉะก็น่าสนใจไม่น้อย เพราะยุคนี้ใครๆก็เข้าครัวได้ ถ้ามีอุปกรณ์ทำขนมที่ถ้าหาซื้อเองแล้วดูจะวุ่นวาย ไม่รู้ว่าต้องใช้ผงมัทฉะความเข้มระดับไหน อุปกรณ์ก็เยอะ ทุกอย่างจะง่ายขึ้นเพียงคุณรวมชุดให้ลูกค้าเลย ทั้งแป้ง น้ำตาล เนย ผงมัทฉะ แม่พิมพ์ขนม และอุปกรณ์อื่นๆ พร้อมใบสูตร เมื่อได้ลงมือทำขนมเอง แน่นอนว่า ก็จะเกิดการถ่ายรูป แชร์ต่อในโลกโซเชียล เป็นการกระจายการรับรู้ของแบรนด์ในมุมที่กว้างขึ้นได้

Cloud Kitchen Cloud Kitchen

Ghost Kitchen หรือ Cloud Kitchen เป็นร้านอีกรูปแบบที่ไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้าน มีแค่ครัวสำหรับทำอาหารส่งทางเดลิเวอรีเท่านั้นได้ เป็นความร่วมมือทางธุรกิจของสองแบรนด์ในการใช้ครัวกลางที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากจะช่วยลดต้นทุนแล้ว ละช่วยให้ลูกค้าออเดอร์อาหารได้หลากหลายจากที่เดียวและยังเป็นการเพิ่มประสบการณ์ให้พ่อครัว ที่สำคัญที่สุด คือ การประหยัดเรื่องต้นทุนค่าเช่าหน้าร้าน ยิ่งหากใครมีร้านชาอยู่แล้วอยากขยายสาขาแต่ไม่มีเงินทุน ก็สามารถใช้การเปิดแบบ Cloud Kitchen แทนได้ง่ายๆ

Cloud Kitchen Cloud Kitchen

โมเดลร้านชายุคนี้จึงไม่จำเป็นต้องมีแต่หน้าร้านให้เลือกซื้อและดื่มด่ำได้อย่างเดียว แต่กลับสามารถชงดื่มเองได้จากที่บ้านในรสชาติที่เหมือนกับมานั่งทานคาเฟ่ เพียงแค่ลองมุมกว้างๆดูจะเห็นโมเดลการทำธุรกิจชาอีกหลายรูปแบบที่น่าลอง

ที่มา

https://www.kenkotea.com.au/blogs/news/59665541-matcha-green-tea-fruity-parfait-recipe

https://www.gatherandfeast.com/matcha-coconut-cacao-protein-balls

http://fraeuleinanker.de/porto-hipster-coffee-guide/

บทความจาก : Fuwafuwa