เสิร์ฟชาเขียวยังไงให้เหมือนไปทานที่ญี่ปุ่น

ชาเขียว กลายเป็นอีกหนึ่งเมนูยอดฮิตไปแล้วสำหรับคนไทย โดยเฉพาะในหมู่ของคนที่ชื่นชอบความเป็นญี่ปุ่น ซึ่งในหลายๆร้านก็จะมีการนำผงชาเขียวปชงเป็นเครื่องดื่ม หรือเอาไปเป็นส่วนผสมของขนมสไตล์ตะวันตก อย่างเค้ก พาย ทาร์ต หรือขนมปัง

แต่รากฐานจริงๆของการดื่มชาเขียวร้อนนั้น มักจะเสิร์ฟคู่กับขนมวากาชิขนมชิ้นเล็กพอดีคำ ที่ถูกตกแต่งอย่างประณีต ในพิธีชงชา ซึ่งเป็นประเพณีดั้งเดิมของญี่ปุ่น วากาชิจึงเป็นจึงเป็นอีกไอเดียที่เจ้าของคาเฟ่ หรือคนที่อยากมีร้านเป็นของตัวเอง สามารถหยิบจับไอเดียไปต่อยอดได้ เพราะเป็นขนมที่ยังไม่แพร่หลายนักในไทย แต่ไม่ว่าใครที่ไปญี่ปุ่น ก็ต้องหาทานกันทุกครั้ง จึงเป็นไอเดียที่น่าสนใจมากสำหรับเจ้าของคาเฟ่ หรือผู้ที่สนใจเปิดคาเฟ่ในการสร้างเอกลักษณ์ให้กับเมนูในร้าน

ที่มา http://masoupedujour.tumblr.com/post/3928153619/clover-by-green-piglet

พูดถึงวากาชิ (和菓子/ Wagashi) หรือขนมหวานญี่ปุ่น หลายคนอาจจะยังนึกไม่ออกว่า คืออะไร??

วากาชิ ดั้งเดิมแล้วเป็นขนมหวานแบบแห้งที่ทำด้วยน้ำตาล ในสมัยนั้นน้ำตาลเป็นสิ่งที่หาได้ยากมาก ถูกจำกัดให้ชนชั้นสูงและผู้ผลิตขนมหวานที่ถูกเลือกเท่านั้น ขนมหวานตามฤดูกาลจึงเริ่มถูกคิดค้นขึ้นและนำไปใช้ประกอบพิธีชงชาในยุคนี้เอง

ขนมวากาชิแบบแห้ง หรือที่เรียกว่าฮิงะชิ

ขนมวากาชิแบบแห้ง

ที่มาhttps://www.flickr.com/photos/lotus-aki/15441310123/

ต่อมาได้มีการดัดแปลง ใช้ถั่ว น้ำตาล แป้งข้าวต่างๆ และแป้งชนิดอื่นๆ เป็นส่วนผสมหลัก และมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะและรสชาติไปตามฤดูกาล เช่น ในฤดูหนาว จะมีวากาชิแบบนึ่งทานอุ่นๆ ที่คล้ายกับซาลาเปา ทำจากแป้งผสมกับน้ำตาล สอดไส้ถั่วแดงหวาน เรียกว่ามันจู และยังมีขนมถั่วแดงต้มร้อนๆ ที่นิยมทานกันในช่วงที่อากาศหนาวอีกด้วย

ขนมมันจู

ขนมมันจู

ที่มา http://www.flickr.com/photos/bananagranola/2553212708/in/set-72157602396958026

ส่วนในฤดูร้อน ขนมมักจะเสิร์ฟแบบเย็นๆ เช่น วุ้น หรือขนมที่ทำจากแป้ง น้ำตาล และถั่วแดง

วุ้นโยคัง ที่มักเสิร์ฟในช่วงหน้าร้อน

วุ้นโยคัง

ที่มาhttp://500px.com/photo/32742361

ความพิเศษและน่าตื่นตาตื่นใจของวากาชิอีกอย่างที่ไม่เหมือนเบเกอรี่อื่นๆ คือ ลวดลายขนมที่เกิดจากการสร้างสรรค์ตามธรรมชาติ เช่น ต้นไม้ ดอกไม้ ตามการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล  เช่น ฤดูใบไม้ร่วง จะทำขนมเป็นรูปใบเมเปิ้ล ฤดูร้อน ทำเป็นรูปพัด หรือดอกทานตะวัน เป็นต้น

ที่มา https://mochikowagashishop.wixsite.com/wagashi-mochiko

ขนมวากาชิยังมีอีกหลายชนิด เช่น โดรายากิ ไดฟุกุ ดังโงะโมจิ นามะกาชิ โมนากะ เป็นต้น ซึ่งขนมเหล่านี้นอกจากจะใช้เสิร์ฟคู่ชาที่ร้านได้แล้ว ยังสามารถนำผงมัทฉะไปเป็นส่วนผสมในการทำขนมได้อีกด้วย เช่น ร้านไหนที่มีเมนูไอศครีมชาเขียวอยู่แล้วสามารถนำมาเสิร์ฟในรูปแบบขนมโมนากะ แป้งเวเฟอร์ สอดไส้ถั่วแดงและโมจิ ยิ่งดูเพิ่มมูลค่าให้ขนมดูน่าทานและไม่ซ้ำกับร้านไหนๆได้อีก หรือจะเป็นลองนำผงมัทฉะมาทำวุ้นโยคัง วุ้นสไตล์ญี่ปุ่น เสิร์ฟคู่กับถั่วแดงเชื่อมเม็ดโต ยิ่งดูน่าทานมากขึ้น

วากาชิ  วากาชิ

ที่มา http://www.flickr.com/photos/bananagranola/2070637842/in/set-72157602396958026/

https://www.flickr.com/photos/kiri_no_hana/9663383258/

บทความจาก : Fuwafuwa

ชาชนิดเดียวกัน ทำไมรสชาติถึงแตกต่างกัน?

การปลูกชาเขียว แต่ละไร่ แต่ละที่ก็มีวิธีการเคล็ดลับที่แตกต่างกันออกไป ส่งผลให้รสชาติชาแต่ละที่ไม่เหมือนกัน แต่จริงๆปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อรสชาติ คือ อากาศ ดิน และคนปลูกถ้าปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งมีความต่างกัน กระบวนการผลิต และรสชาติย่อมออกมาแตกต่างกัน แม้ชาที่ใช้ปลูกจะเป็นสายพันธุ์เดียวกันก็ตาม

ที่มา http://blog.davidstea.com/en/get-to-know-loose-leaf-tea/

ชาชนิดเดียวกัน ทำไมรสชาติถึงแตกต่างกัน?

ปัจจัยแรกที่ส่งผลต่อรสชาติชาเป็นอย่างมาก คือ  ดิน เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ชาแต่ละที่มีคุณภาพแตกต่างกับอีกที่ ซึ่งนอกจากดินตามธรรมชาติของแหล่งปลูกแต่ละแหล่งจะมีผลแล้ว  การคัดเลือกดิน รวมถึงการใส่ปุ๋ยแต่ละไร่ชาก็จะมีสูตรพิเศษของตนเองที่ทำให้ชารสชาติออกมาตามที่ต้องการแตกต่างกันสภาพเนื้อดินบนที่สูงจะมีแดงเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเกิดจากการซะล้างและบางพื้นที่เกิดจากการสลายตัวของภูเขาหินปูน ทั้งนี้ดินที่เหมาะสมสำหรับการปลูกชามีค่าความเป็นกรดด่างอยู่ระหว่าง 4.5-5.5 ซึ่งมีสภาพเป็นกรดเล็กน้อย

ชาชนิดเดียวกัน ทำไมรสชาติถึงแตกต่างกัน?

ปัจจัยต่อมา คือ อากาศ  ชาเขียว จำเป็นต้องปลูกในทั้งอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสม ควรเป็นพื้นที่มีหมอก ที่เกิดจากอุณหภูมิที่มีความแตกต่างกันสูง ในตอนกลางวันและกลางคืน ถึงแม้ว่าชาสามารถทนอุณหภูมิต่ำได้ดี แต่ก็ไม่ควรให้เกล็ดน้ำแข็งเกาะใบชา จะทำให้ใบชาเสียคุณภาพ จึงจะสังเกตได้ว่าในญี่ปุ่นจะมีพัดลมเป่าความร้อนขนาดใหญ่เกือบทุกไร่ชา เพื่อเป่าไม่ให้เกล็ดน้ำแข็งเกาะใบชาในฤดูหนาวนั้นเอง ซึ่งคุณภาพของใบชาโดยเฉพาะด้านกลิ่นและรสชาติส่วนนึงจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ฉะนั้นจึงมีความเกี่ยวข้องกับสภาพพื้นที่ปลูกอย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้พื้นที่ที่มีความสูงมากจะมีอากาศหนาวเย็นและอุณหภูมิคงที่เกือบตลอดทั้งปี จะส่งผลให้ผลผลิตใบชาสดมีคุณภาพแต่จะให้ผลผลิตต่ำ ซึ่งตรงข้ามกับพื้นที่ต่ำ อุณหภูมิสูง จะให้ผลผลิตสูงแต่คุณภาพต่ำ

ที่มา http://chaehbae.tumblr.com/post/90942615222/tea-fields-zhejiang-china-awesome-amazing

ชาชนิดเดียวกัน ทำไมรสชาติถึงแตกต่างกัน?

ปัจจัยต่อมาที่สำคัญไม่แพ้กัน คน คือ หัวใจของกระบวนการทั้งหมด ที่นอกจากจะต้องใช้ผู้มีประสบการณ์สูงในแต่ละขั้นตอนแล้ว ยังต้องใช้ความเอาใจใส่ ความละเอียดรอบคอบในการดูแลชาเพื่อให้ได้มาตรฐานที่ควรจะเป็น

ที่มา http://www.trekearth.com/gallery/Asia/Indonesia/Java/Jawa_Barat/Ciwalini/photo633381.htm

นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล็กๆน้อยๆที่ส่งผลต่อรสชาติชาอีกด้วย เช่น การเก็บใบชาจะเลือกที่มีลักษณะ 2 ยอด 1 ใบ เพราะใบชาส่วนนี้จะเต็มไปด้วยสารโพลีฟีนอลเป็นสารสำคัญที่จะส่งผลต่อสี กลิ่น รสชาติ รวมไปถึงคุณประโยชน์ต่างๆ ที่ดีต่อสุขภาพอีกด้วย

ซึ่งถ้าพูดถึงชาของญี่ปุ่น เรามักจะนึกถึง ชาจากอูจิเกียวโตและ ชาจากชิซุโอกะทั้งสองแห่งนี้ได้สร้างสไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์ในการผลิตชาที่งดงามและน่าอัศจรรย์ และยังมีเรื่องราวของการเดินทางที่สนใจแตกต่างกันออกไปอีกด้วย

ชาชนิดเดียวกัน ทำไมรสชาติถึงแตกต่างกัน?

อูจิ เกียวโต ดินแดนแห่งชาดั้งเดิม

อย่างที่ทราบกันอยู่แล้วว่าที่เกียวโต เมืองอูจิเป็นสถานที่แห่งประวัติศาสตร์ของชา ในตอนแรกการปลูกชาในอูจิมีหลากหลายแบบ แต่หลังจากนั้นก็ได้มุ่งเน้นไปที่การผลิตมัทฉะเป็นหลัก

เนื่องจากชามัทฉะมีความสัมพันธ์ที่สามารถผสมผสานไปกับลัทธิเซน เนื่องจากที่เกียวโตมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับวัดวาอารามชั้นนำหลายแห่ง จึงเน้นไปที่มัทฉะเป็นหลัก ด้วยดินที่ยอดเยี่ยมและวิธีการผลิตที่ดี ทำให้อูจิได้สร้างชาที่มีชื่อเสียงระดับโลกที่ผสมผสานรสชาติและประวัติศาสตร์เข้าด้วยกัน

ที่มา http://pin.it/YUO1SKu

ส่วนที่ชิซุโอกะ ต้นกำเนิดของชาสมัยใหม่

ประวัติศาสตร์ชาของชิซุโอกะนั้นแตกต่างจากอูจิ ในขณะที่มัทฉะใช้ชาที่เติบโตในภูมิภาค แต่เกษตรกรของชิซุโอกะได้คัดสายพันธ์ุชาอื่น ๆ ที่หลากหลาย เนื่องจากได้รับอิทธิพลของพุทธศาสนาน้อยกว่า ชิซุโอกะเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีการผลิตชาเขียวที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 40% ของไร่ชาทั้งหมด หนึ่งในนวัตกรรมหลักของชิซุโอกะ คือ ความหลากหลายของสายพันธุ์ที่เรียกว่า เซนฉะยะบุกิ (Sencha Yabukita)ซึ่งมีชื่อเสียงในด้านความแข็งแกร่ง กลิ่นหอม และรสหวาน กว่าที่เกียวโตนั้นเอง

ที่มา https://www.flickr.com/photos/ippei-janine/5721719180/

บทความจาก : Fuwafuwa

ชาเขียว ที่สีไม่เขียว

หลายคนจะเข้าใขว่าชาเขียวจะต้องมีแต่สีเขียวเท่านั้น ถ้าเป็นชาสีอื่นก็จะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งในความเป็นจริงแล้วชาเขียวยังมีสีอื่น ที่ไม่ใช่สีเขียว แต่มีต้นกำเนิดจากชาเขียวเหมือนกัน เพียงแต่ต่างกันที่กระบวนการผลิต เวลาในการเก็บใบชา กระบวนการคั่วชา ทำให้ชาเขียวที่ปกติสีเขียว หรือที่เราคุ้นในชื่อของ “มัทฉะ”ที่มักนิยมใช้ผงชามัทฉะในการชงเครื่องดื่มเป็นมัทฉะลาเต้ หรือนำไปทำขนมต่างๆที่ให้ให้สีเขียวเป็นหลัก แต่เมื่อผ่านกระบวนกรรมวิธีการผลิต จะกลายเป็นสีน้ำตาลได้ ชื่อที่เรียกกันอย่างคุ้นหู คือ ชาโฮจิฉะ นั้นเอง

ปกติแล้วชาเขียวมัทฉะ มาจากชาเทนฉะที่ถูกเลี้ยงในที่ร่มเหมือนชาเกียวคุโระก่อนจะนำไปบดเป็นผงด้วยหินอย่างพิถีพิถัน มักจะใช้ในพิธีชงชา มีหลายเกรด เช่น สำหรับทำขนม เครื่องดื่ม ชงในงานพิธีการ เป็นต้น สามารถสังเกตได้จากสีของมัทฉะ ยิ่งมัทฉะสีเข้มเท่าไหร่ คุณภาพก็ยิ่งดี หากดื่มมัทฉะ 1 ถ้วย จะได้รับสารอาหารเท่ากับดื่มชาเขียวประเภทอื่น 10-15 แก้วเลยทีเดียว

มัทฉะ      โฮจิฉะ

ที่มา https://www.takaski.com/product/ochaski-kyoma-kyoto-organic-matcha-made-japan/

ส่วนชาเขียวที่สีไม่เขียว….ชาโฮจิฉะ  คือใบชาที่เก็บเกี่ยวในช่วงสุดท้าย เป็นใบชาที่โตแล้ว ไม่ใช่ใบชาอ่อน จึงมีขนาดใบชาที่ใหญ่ และนับว่ามีคุณภาพรองลงมาจากชาเขียวเซนฉะ แต่โฮจิฉะมีความพิเศษ คือ ชาที่ผ่านการคั่วทำให้ชามีสีน้ำตาลอมแดง กลิ่นหอม ได้รสชาติที่เข้มข้มรสชาเขียวแท้ๆ ได้กลิ่นหอมให้ชวนดื่มมากกว่ามัทฉะ รสชาติมักจะถูกเปรียบเทียบกับคาราเมล ชาร์โคล หรือถั่วคั่ว ราคาจะถูกกว่าชาเขียวอื่น ๆ เพราะผลิตด้วยใบชาที่ถือว่าเป็นเกรดต่ำกว่าและมีความหวานน้อยกว่า เสน่ห์ของชานี้ก็คือการผ่านการคั่วซึ่งทำให้ความฝาดและขมลดลงไป กลายเป็นรสชาติที่หอมและดื่มง่ายจึงเป็นที่นิยมในญี่ปุ่นมากๆ เหมาะสำหรับดื่มระหว่างมื้อหรือหลังอาหารเย็น และเหมาะสำหรับเด็กเพราะมีคาเฟอีนต่ำ

ที่มา https://www.etsy.com/listing/275027278/kukicha-twig-green-tea-organic-35-oz-tin

โฮจิฉะลาเต้

แรกเริ่มเดิมทีชาเขียวโฮจิฉะจะชงดื่มกันในครัวเรือนเท่านั้น แต่ต่อมาที่โตเกียวกลับมีวัฒนธรรมการเสิร์ฟชาเขียวโฮจิฉะตามร้านอาหารภัตตาคารด้วย จนกระทั่งในปัจจุบันเป็นที่นิยมโดยทั่วไป อีกทั้งชาเขียวโฮจิฉะยังถูกนำไปทำเป็นรสชาติของขนมและเครื่องดื่มหลากหลายชนิด

ที่มา https://www.soarorganics.com/blogs/blog/gingerbread-hojicha-latte-recipe

สรรพคุณโฮจิฉะ

  1. ช่วยลดคอเลสเตอรอลและระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติ
  2. ร่างกายผ่อนคลาย สมองปลอดโปร่ง
  3. ลดแบคทีเรีย ป้องกันฟันผุ

Houjicha

ที่มา http://www.lifehack.org/386925/10-natural-reliefs-to-stop-diarrhea-quickly?ref=pp
https://matchazuki.com/product/matchazuki-houjicha

บทความจาก : Fuwafuwa

5 เทคนิคการเสิร์ฟเมนูชาเขียวให้ดูญี่ปุ่นมากขึ้น

ช่วงนี้ไปร้านไหนก็ต้องเจอกับเมนูชาเขียว ไม่ว่าจะเครื่องดื่ม หรือ ขนม อาจจะเป็นเทรนด์ญี่ปุ่นที่กำลังมาแรงเลยก็ว่าได้ ทำให้ลูกค้าหลายคนอาจจะรู้สึกได้ว่าไปร้านไหน ก็เหมือนกัน จนตัดสินใจไปในร้านที่ใกล้และสะดวกกว่าแทน ส่งผลต่อยอดขายที่อาจตกลงได้

วิธีสร้างจุดต่างให้กับเมนูในร้าน สิ่งแรกที่หลายคนนึกถึงคงเป็นโปรโมชั่น ลด แลก แจก แถม ซึ่งเป็นวิธีการเพิ่มยอดขายในระยะสั้นเท่านั้น อีกวิธีที่จะช่วยสร้างจุดเด่นของร้าน ให้ต่างจากร้านอื่น คือการเพิ่มเอกลักษณ์ ที่ไม่เหมือนใครให้กับสินค้า ยิ่งถ้าเป็นร้านชาด้วยแล้ว หลายคนต้องนึกถึงร้านคาเฟ่เก๋ๆในญี่ปุ่นแน่นอน

มาดู5  เทคนิคการเสิร์ฟเมนูชาเขียวให้ดูญี่ปุ่นมากขึ้นง่ายๆ สร้างความครีเอทให้ลูกค้าได้เข้ามาแชะ แชร์ เหมือนได้ไปคาเฟ่ที่ญี่ปุ่นจริงๆ

  1. เพิ่มวัตถุดิบความเป็นญี่ปุ่น หลากหลายเมนูที่ญี่ปุ่นมักมีส่วนประกอบของ
  • ถั่วแดง เพราะถั่วแดงเป็นพืชที่เติบโตมาพร้อมกับชาวญี่ปุ่นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ด้วยสภาพภูมิประเทศที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้ถั่วแดงเจริญงอกงาม นำมาเป็นส่วนผสมของขนมได้ตลอดทั้งปี จึงเป็นวัตถุดิบหลักที่ควรเอามาใช้เป็นส่วนหนึ่งของเมนูที่ร้าน เช่น จากมูสชาเขียว เพิ่มถั่วแดงเข้าไปเป็นส่วนประกอบด้วยจะยิ่งน่าทานมากขึ้น หรือชาเขียวลาเต้ธรรมดา เพียงแค่ใส่ถั่วแดงเข้าไป ยิ่งเพิ่มความน่าทานให้มากกว่าปกติอีก มูสชาเขียวถั่วแดง   

มูสชาเขียวถั่วแดง    

มัทฉะถั่วแดงเฟรปเป้

ที่มา http://mykitchenoflove.wordpress.com/2012/09/01/our-anniversary-cake-matcha-and-red-bean-mousse/

http://www.facebook.com/mofcafe

  • ดอกซากุระ ที่ไม่ว่าใครเห็นก็ต้องนึกถึงญี่ปุ่น ช่วงฤดูใบไม้ผลิ หลายๆที่นิยมนำดอกซากุระหมักเกลือมาเป็นส่วนผสมหนึ่งในขนม ซึ่งในไทยถือว่าเป็นวัตถุดิบที่หายาก เหมาะกับการนำมาต่อยอดเมนูที่ร้าน เช่น มัทฉะลาเต้ร้อนๆท้อปปิ้งด้วยซากุระ ให้กลิ่นอายฤดูใบไม้ผลิเบาๆ มัฟฟินธรรมดา เพิ่มความน่าทานด้วยการท้อปปิ้งซากุระครีมสด

ซากุระมัทฉะลาเต้

ซากุระ มัฟฟิน

ที่มา http://shewhoeats.blogspot.com/2010/04/sweets-over-flowers.htmlhttps://www.marumura.com/eat-sakura-flower/

https://thecitybakery.jp/new/328/

2. เสิร์ฟขนมในภาชนะสไตล์ญี่ปุ่นที่ช่วยให้ถ่ายภาพได้เก๋ ไม่ซ้ำร้านไหนๆ ใครเห็นต้องนึกว่ามาคาเฟ่ที่ญี่ปุ่นแน่นอน ที่มักนิยมใช้กันจะเป็นกล่องไม้ไผ่

ที่มา https://www.amazon.com/gp/mpc/A1BANPHECDMMWA?1213213894

https://tabizine.jp/2019/03/18/244578/

3. ใช้สี หรือรูปร่างของขนมให้อิงกับฤดูกาลของญี่ปุ่น เช่นเดือนมีนา ใช้สีชมพู มาเป็นส่วนหนึ่งของเค้ก หรือทำคุ้กกี้ หรือแพนเค้กเป็นทรงใบไม้ตามเทศกาลใบไม้เปลี่ยนสี

เค้กซากุระมัทฉะ

แพนเค้ก

ที่มา http://www.myfudo.com/easy-desserts-recipes-cherry-blossom-matcha-layer-cake-entremet-2/

https://www.vermontcountrystore.com/maple-leaf-cakelet-pan/product/81182

4. ใส่ความประณีตให้แพคเกจจิ้งทุกชิ้น เวลาที่เราไปเที่ยวที่ญี่ปุ่นมักจะเห็นของหลายๆชิ้นมีแพคเกจสวยงาม ซึ่งถ้าแพคเกจสวยน่าซื้อ จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้สินค้าได้ในตัว แถมยังสามารถจัดเป็นเซตสำหรับของฝากได้อีกด้วย ซึ่งการทำแพคเกจจิ้งที่ดี ไม่ใช่แค่เพียงดีไซน์ที่สวย แต่ต้องมีฟังก์ชั่นการใช้งานที่ตอบโจทย์กับทางร้านและลูกค้า เพื่อช่วยสร้างประสบการณ์ใหม่ๆให้กับลูกค้าไปในตัว อย่างร้านไอศครีมที่ญี่ปุ่น ที่มีการเสิร์ฟไอศครีมที่ระดับความเข้นข้นต่างกัน ในจานเดียวกัน เพื่อให้เห็นถึงสีและเนื้อสัมผัสของไอติมเปรียบเทียบกันได้อย่างชัดเจน ลูกค้าจะรู้สึกสนุกขึ้นเวลาทาน

ที่มา http://danielfooddiary.com/2019/02/07/nocturneno5/

5. มีคำทำนาย หรือกิจกรรมเล็กๆให้ลูกค้าได้ร่วมสนุก สร้างประสบการณ์ใหม่ๆ เช่น เปลี่ยนจากคุ้กกี้ชาเขียวธรรมดาเป็นคุ้กกี้เสี่ยงทายชาเขียว หรือจะเป็นการเสิร์ฟชาเขียวอัฟฟากาโต้ที่ให้ลูกค้าได้เทเองก่อนทาน แทนที่จะเทให้ลูกค้าตั้งแต่แรกเลย

ที่มา http://www.dessertsforbreakfast.com/2013/05/fortune-cookies.html?utm_source=feedly&utm_medium=feed&utm_campaign=Feed:+dessertsforbreakfast+(Desserts+for+Breakfast)

http://www.caramelizedblog.com/blog-roll/2017/1/drip-affogato-bar.html

ถึงแม้ว่าจะเป็นมือใหม่หัดทำขนมขาย หรือเพิ่งมีร้านคาเฟ่เป็นของตัวเองแต่ยังไม่อยากลงทุนมาก และไม่มีเชฟที่ช่วยคิดสูตรใหม่ๆให้ตลอดเวลา เราสามารถใช้ 5 เทคนิคง่ายๆข้างต้น มาเพิ่ม Value ให้กับคาเฟ่ชาเขียวธรรมดาๆ ให้มีเอกลักษณ์ไม่ซ้ำร้านไหน

บทความจาก : Fuwafuwa