เสิร์ฟชาเขียวยังไงให้เหมือนไปทานที่ญี่ปุ่น
|

เสิร์ฟชาเขียวยังไงให้เหมือนไปทานที่ญี่ปุ่น

ชาเขียว กลายเป็นอีกหนึ่งเมนูยอดฮิตไปแล้วสำหรับคนไทย โดยเฉพาะในหมู่ของคนที่ชื่นชอบความเป็นญี่ปุ่น ซึ่งในหลายๆร้านก็จะมีการนำผงชาเขียวปชงเป็นเครื่องดื่ม หรือเอาไปเป็นส่วนผสมของขนมสไตล์ตะวันตก อย่างเค้ก พาย ทาร์ต หรือขนมปัง แต่รากฐานจริงๆของการดื่มชาเขียวร้อนนั้น มักจะเสิร์ฟคู่กับขนมวากาชิขนมชิ้นเล็กพอดีคำ ที่ถูกตกแต่งอย่างประณีต ในพิธีชงชา ซึ่งเป็นประเพณีดั้งเดิมของญี่ปุ่น วากาชิจึงเป็นจึงเป็นอีกไอเดียที่เจ้าของคาเฟ่ หรือคนที่อยากมีร้านเป็นของตัวเอง สามารถหยิบจับไอเดียไปต่อยอดได้ เพราะเป็นขนมที่ยังไม่แพร่หลายนักในไทย แต่ไม่ว่าใครที่ไปญี่ปุ่น ก็ต้องหาทานกันทุกครั้ง จึงเป็นไอเดียที่น่าสนใจมากสำหรับเจ้าของคาเฟ่ หรือผู้ที่สนใจเปิดคาเฟ่ในการสร้างเอกลักษณ์ให้กับเมนูในร้าน ที่มา http://masoupedujour.tumblr.com/post/3928153619/clover-by-green-piglet พูดถึงวากาชิ (和菓子/ Wagashi) หรือขนมหวานญี่ปุ่น หลายคนอาจจะยังนึกไม่ออกว่า คืออะไร?? วากาชิ ดั้งเดิมแล้วเป็นขนมหวานแบบแห้งที่ทำด้วยน้ำตาล ในสมัยนั้นน้ำตาลเป็นสิ่งที่หาได้ยากมาก ถูกจำกัดให้ชนชั้นสูงและผู้ผลิตขนมหวานที่ถูกเลือกเท่านั้น ขนมหวานตามฤดูกาลจึงเริ่มถูกคิดค้นขึ้นและนำไปใช้ประกอบพิธีชงชาในยุคนี้เอง ขนมวากาชิแบบแห้ง หรือที่เรียกว่าฮิงะชิ ที่มาhttps://www.flickr.com/photos/lotus-aki/15441310123/ ต่อมาได้มีการดัดแปลง ใช้ถั่ว น้ำตาล แป้งข้าวต่างๆ และแป้งชนิดอื่นๆ เป็นส่วนผสมหลัก และมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะและรสชาติไปตามฤดูกาล เช่น ในฤดูหนาว จะมีวากาชิแบบนึ่งทานอุ่นๆ ที่คล้ายกับซาลาเปา ทำจากแป้งผสมกับน้ำตาล สอดไส้ถั่วแดงหวาน เรียกว่ามันจู และยังมีขนมถั่วแดงต้มร้อนๆ ที่นิยมทานกันในช่วงที่อากาศหนาวอีกด้วย ขนมมันจู ที่มา…

ชาชนิดเดียวกัน ทำไมรสชาติถึงแตกต่างกัน?
| |

ชาชนิดเดียวกัน ทำไมรสชาติถึงแตกต่างกัน?

การปลูกชาเขียว แต่ละไร่ แต่ละที่ก็มีวิธีการเคล็ดลับที่แตกต่างกันออกไป ส่งผลให้รสชาติชาแต่ละที่ไม่เหมือนกัน แต่จริงๆปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อรสชาติ คือ อากาศ ดิน และคนปลูกถ้าปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งมีความต่างกัน กระบวนการผลิต และรสชาติย่อมออกมาแตกต่างกัน แม้ชาที่ใช้ปลูกจะเป็นสายพันธุ์เดียวกันก็ตาม ที่มา http://blog.davidstea.com/en/get-to-know-loose-leaf-tea/ ปัจจัยแรกที่ส่งผลต่อรสชาติชาเป็นอย่างมาก คือ  ดิน เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ชาแต่ละที่มีคุณภาพแตกต่างกับอีกที่ ซึ่งนอกจากดินตามธรรมชาติของแหล่งปลูกแต่ละแหล่งจะมีผลแล้ว  การคัดเลือกดิน รวมถึงการใส่ปุ๋ยแต่ละไร่ชาก็จะมีสูตรพิเศษของตนเองที่ทำให้ชารสชาติออกมาตามที่ต้องการแตกต่างกันสภาพเนื้อดินบนที่สูงจะมีแดงเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเกิดจากการซะล้างและบางพื้นที่เกิดจากการสลายตัวของภูเขาหินปูน ทั้งนี้ดินที่เหมาะสมสำหรับการปลูกชามีค่าความเป็นกรดด่างอยู่ระหว่าง 4.5-5.5 ซึ่งมีสภาพเป็นกรดเล็กน้อย ปัจจัยต่อมา คือ อากาศ  ชาเขียว จำเป็นต้องปลูกในทั้งอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสม ควรเป็นพื้นที่มีหมอก ที่เกิดจากอุณหภูมิที่มีความแตกต่างกันสูง ในตอนกลางวันและกลางคืน ถึงแม้ว่าชาสามารถทนอุณหภูมิต่ำได้ดี แต่ก็ไม่ควรให้เกล็ดน้ำแข็งเกาะใบชา จะทำให้ใบชาเสียคุณภาพ จึงจะสังเกตได้ว่าในญี่ปุ่นจะมีพัดลมเป่าความร้อนขนาดใหญ่เกือบทุกไร่ชา เพื่อเป่าไม่ให้เกล็ดน้ำแข็งเกาะใบชาในฤดูหนาวนั้นเอง ซึ่งคุณภาพของใบชาโดยเฉพาะด้านกลิ่นและรสชาติส่วนนึงจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ฉะนั้นจึงมีความเกี่ยวข้องกับสภาพพื้นที่ปลูกอย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้พื้นที่ที่มีความสูงมากจะมีอากาศหนาวเย็นและอุณหภูมิคงที่เกือบตลอดทั้งปี จะส่งผลให้ผลผลิตใบชาสดมีคุณภาพแต่จะให้ผลผลิตต่ำ ซึ่งตรงข้ามกับพื้นที่ต่ำ อุณหภูมิสูง จะให้ผลผลิตสูงแต่คุณภาพต่ำ ที่มา http://chaehbae.tumblr.com/post/90942615222/tea-fields-zhejiang-china-awesome-amazing ปัจจัยต่อมาที่สำคัญไม่แพ้กัน คน คือ หัวใจของกระบวนการทั้งหมด ที่นอกจากจะต้องใช้ผู้มีประสบการณ์สูงในแต่ละขั้นตอนแล้ว ยังต้องใช้ความเอาใจใส่ ความละเอียดรอบคอบในการดูแลชาเพื่อให้ได้มาตรฐานที่ควรจะเป็น ที่มา http://www.trekearth.com/gallery/Asia/Indonesia/Java/Jawa_Barat/Ciwalini/photo633381.htm…

ชาเขียว ที่สีไม่เขียว
| |

ชาเขียว ที่สีไม่เขียว

หลายคนจะเข้าใขว่าชาเขียวจะต้องมีแต่สีเขียวเท่านั้น ถ้าเป็นชาสีอื่นก็จะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งในความเป็นจริงแล้วชาเขียวยังมีสีอื่น ที่ไม่ใช่สีเขียว แต่มีต้นกำเนิดจากชาเขียวเหมือนกัน เพียงแต่ต่างกันที่กระบวนการผลิต เวลาในการเก็บใบชา กระบวนการคั่วชา ทำให้ชาเขียวที่ปกติสีเขียว หรือที่เราคุ้นในชื่อของ “มัทฉะ”ที่มักนิยมใช้ผงชามัทฉะในการชงเครื่องดื่มเป็นมัทฉะลาเต้ หรือนำไปทำขนมต่างๆที่ให้ให้สีเขียวเป็นหลัก แต่เมื่อผ่านกระบวนกรรมวิธีการผลิต จะกลายเป็นสีน้ำตาลได้ ชื่อที่เรียกกันอย่างคุ้นหู คือ ชาโฮจิฉะ นั้นเอง ปกติแล้วชาเขียวมัทฉะ มาจากชาเทนฉะที่ถูกเลี้ยงในที่ร่มเหมือนชาเกียวคุโระก่อนจะนำไปบดเป็นผงด้วยหินอย่างพิถีพิถัน มักจะใช้ในพิธีชงชา มีหลายเกรด เช่น สำหรับทำขนม เครื่องดื่ม ชงในงานพิธีการ เป็นต้น สามารถสังเกตได้จากสีของมัทฉะ ยิ่งมัทฉะสีเข้มเท่าไหร่ คุณภาพก็ยิ่งดี หากดื่มมัทฉะ 1 ถ้วย จะได้รับสารอาหารเท่ากับดื่มชาเขียวประเภทอื่น 10-15 แก้วเลยทีเดียว       ที่มา https://www.takaski.com/product/ochaski-kyoma-kyoto-organic-matcha-made-japan/ ส่วนชาเขียวที่สีไม่เขียว….ชาโฮจิฉะ  คือใบชาที่เก็บเกี่ยวในช่วงสุดท้าย เป็นใบชาที่โตแล้ว ไม่ใช่ใบชาอ่อน จึงมีขนาดใบชาที่ใหญ่ และนับว่ามีคุณภาพรองลงมาจากชาเขียวเซนฉะ แต่โฮจิฉะมีความพิเศษ คือ ชาที่ผ่านการคั่วทำให้ชามีสีน้ำตาลอมแดง กลิ่นหอม ได้รสชาติที่เข้มข้มรสชาเขียวแท้ๆ ได้กลิ่นหอมให้ชวนดื่มมากกว่ามัทฉะ รสชาติมักจะถูกเปรียบเทียบกับคาราเมล ชาร์โคล หรือถั่วคั่ว…

5 เทคนิคการเสิร์ฟเมนูชาเขียวให้ดูญี่ปุ่นมากขึ้น
| |

5 เทคนิคการเสิร์ฟเมนูชาเขียวให้ดูญี่ปุ่นมากขึ้น

ช่วงนี้ไปร้านไหนก็ต้องเจอกับเมนูชาเขียว ไม่ว่าจะเครื่องดื่ม หรือ ขนม อาจจะเป็นเทรนด์ญี่ปุ่นที่กำลังมาแรงเลยก็ว่าได้ ทำให้ลูกค้าหลายคนอาจจะรู้สึกได้ว่าไปร้านไหน ก็เหมือนกัน จนตัดสินใจไปในร้านที่ใกล้และสะดวกกว่าแทน ส่งผลต่อยอดขายที่อาจตกลงได้ วิธีสร้างจุดต่างให้กับเมนูในร้าน สิ่งแรกที่หลายคนนึกถึงคงเป็นโปรโมชั่น ลด แลก แจก แถม ซึ่งเป็นวิธีการเพิ่มยอดขายในระยะสั้นเท่านั้น อีกวิธีที่จะช่วยสร้างจุดเด่นของร้าน ให้ต่างจากร้านอื่น คือการเพิ่มเอกลักษณ์ ที่ไม่เหมือนใครให้กับสินค้า ยิ่งถ้าเป็นร้านชาด้วยแล้ว หลายคนต้องนึกถึงร้านคาเฟ่เก๋ๆในญี่ปุ่นแน่นอน มาดู5  เทคนิคการเสิร์ฟเมนูชาเขียวให้ดูญี่ปุ่นมากขึ้นง่ายๆ สร้างความครีเอทให้ลูกค้าได้เข้ามาแชะ แชร์ เหมือนได้ไปคาเฟ่ที่ญี่ปุ่นจริงๆ เพิ่มวัตถุดิบความเป็นญี่ปุ่น หลากหลายเมนูที่ญี่ปุ่นมักมีส่วนประกอบของ ถั่วแดง เพราะถั่วแดงเป็นพืชที่เติบโตมาพร้อมกับชาวญี่ปุ่นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ด้วยสภาพภูมิประเทศที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้ถั่วแดงเจริญงอกงาม นำมาเป็นส่วนผสมของขนมได้ตลอดทั้งปี จึงเป็นวัตถุดิบหลักที่ควรเอามาใช้เป็นส่วนหนึ่งของเมนูที่ร้าน เช่น จากมูสชาเขียว เพิ่มถั่วแดงเข้าไปเป็นส่วนประกอบด้วยจะยิ่งน่าทานมากขึ้น หรือชาเขียวลาเต้ธรรมดา เพียงแค่ใส่ถั่วแดงเข้าไป ยิ่งเพิ่มความน่าทานให้มากกว่าปกติอีก มูสชาเขียวถั่วแดง    มูสชาเขียวถั่วแดง     มัทฉะถั่วแดงเฟรปเป้ ที่มา http://mykitchenoflove.wordpress.com/2012/09/01/our-anniversary-cake-matcha-and-red-bean-mousse/ http://www.facebook.com/mofcafe ดอกซากุระ ที่ไม่ว่าใครเห็นก็ต้องนึกถึงญี่ปุ่น ช่วงฤดูใบไม้ผลิ หลายๆที่นิยมนำดอกซากุระหมักเกลือมาเป็นส่วนผสมหนึ่งในขนม ซึ่งในไทยถือว่าเป็นวัตถุดิบที่หายาก เหมาะกับการนำมาต่อยอดเมนูที่ร้าน เช่น มัทฉะลาเต้ร้อนๆท้อปปิ้งด้วยซากุระ ให้กลิ่นอายฤดูใบไม้ผลิเบาๆ มัฟฟินธรรมดา เพิ่มความน่าทานด้วยการท้อปปิ้งซากุระครีมสด ซากุระมัทฉะลาเต้…