ชาจีนต่างกับชาญี่ปุ่นอย่างไร
|

ชาจีนต่างกับชาญี่ปุ่นอย่างไร

ไม่ว่าที่ประเทศจีน และที่ญี่ปุ่น ก็มีชาเป็นเครื่องดื่มหลักเหมือนกัน เพราะชา เป็นเครื่องดื่มที่อุดมด้วยสารอาหาร ดีต่อสุขภาพ เช่นเดียวกัน เมื่อพูดถึงชาจีนเรามักเข้าใจว่าเป็นชาเขียวในความเป็นจริงแล้ว ชามีหลายประเภท ตามเวลาในการเก็บใบชา และสถานที่เก็บ โดยชาจีน จะแบ่งเป็น ชาขาว, ชาเขียว, ชาอู่หลง, ชาดำ กรรมวิธีทำชาแต่ละประเภทแตกต่างกัน อย่างเช่นชาขาวและชาเขียว จะทำให้ได้รับความร้อน เพื่อรักษาสารต้านอนุมูลอิสระให้ยังคงอยู่ ส่วนชาอู่หลง ชาดำ พวกนี้ถูกเอาไปหมัก ชาอู่หลงจะหมักให้ถูกอ๊อกซิไดน์เพียงส่วนหนึ่ง ส่วนชาดำจะถูกอ๊อกซิไดน์ทั้งหมด ในทางกลับกันชาเขียวญี่ปุ่นเป็นชาที่เก็บสดๆ เอามา stream ด้วยไอน้ำ เพื่อหยุดออกซิไดซ์ ได้สีเขียวสวย และรสตามธรรมชาติ การที่ใบชาที่ได้นั้นไม่ผ่านขั้นตอนการหมัก จึงทำให้ใบชามีสารประกอบฟีนอล หลงเหลืออยู่มาก จึงทำให้ชาเขียวมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากกว่าชาชนิดอื่น และเมื่อเอามาบดผ่านเครื่องจนเป็นผง จึงกลายเป็นผงมัทฉะ ที่เรานิยมใช้ในพิธีชงชา และการทำขนมนั่นเอง นอกจากความต่างของกรรมวิธีการผลิตแล้ว การเสิร์ฟชาของชาจีนและชาญี่ปุ่นก็แตกต่างกัน ประเทศจีนส่วนมากจะใช้กาใหญ่ เมื่อมีแขกเข้าบ้าน ก็ใส่ใบชาในกาและเทน้ำร้อนใส่ลงไป เมื่อแช่ไว้จนได้กลิ่นและสีชาแล้วจึงรินใส่แก้วให้แขกดื่ม แต่ก็มีบางท้องถิ่นของจีนเช่นเมืองจางโจวของมณฑลฮกเกี้ยนจะมีอุปกรณ์กังฮูเต๊ โดยมีเครื่องถ้วยชากาชาเป็นชุดและมีวิธีการชงชาที่พิเศษ จึงทำให้กลาย เป็นศิลปะชาที่มีเอกลักษณ์ของพื้นเมือง ส่วนที่ญี่ปุ่น พิธีการชงชา จะมีลักษณะที่เป็นแบบแผนที่ได้พัฒนาภายใต้อิทธิพลของพุทธศาสนานิกายเซ็น มีขั้นตอนและกรรมวิธีการชงที่ค่อนข้างละเอียดอ่อนมากกว่าของจีน…

How to ใช้ฉะเซ็น ….ใช้ยังไงให้ใช้ได้นาน
|

How to ใช้ฉะเซ็น ….ใช้ยังไงให้ใช้ได้นาน

หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมการชงชามัทฉะ ไม่สามารถใช้ช้อนคนเหมือนเวลาเราชงกาแฟ หรือโกโก้?? คำตอบก็คือ มัทฉะ คือ ผงชาที่บดมาจากใบชา ไม่เหมือนสารละลายที่นำไปผ่านกระบวนการอบให้เป็นผงพร้อมชงอย่างโอวัลตินหรือน้ำตาลทราย จึงไม่มีคุณสมบัติละลายน้ำการใช้แปรงชงชา หรือที่เรียกว่า ฉะเซ็น ในการตีผงชาจะทำให้ผงชาละลายได้หมดและได้กลิ่นและรสชาติแบบต้นตำรับสไตล์ญี่ปุ่นมากกว่านั่นเอง แต่บางคนก็อาจจะใช้ตะกร้อที่ใช้ทำขนมมาตีผงชาแทน แต่มีข้อเสีย คือ ตีมัทฉะออกมาแล้วฟองจะใหญ่ไม่ละเอียด ทำให้มัทฉะดูไม่น่าทาน ฉะเซ็น ปกติจะทำจากไม้ไผ่ มีจำนวนซี่ประมาณ 80 ซี่ หากน้อยกว่านี้ จะเป็นฉะเซ็นที่มีไว้สำหรับการชงโคอิฉะ หรือมัทฉะแบบเข้มข้น ที่จำเป็นต้องใช้ฉะเซ็นในการนวดผงชาให้เป็นเนื้อเดียวกันกับน้ำร้อน ต่างจากการชงอุสึฉะ หรือมัทฉะแบบบางที่จะใช้ฉะเซ็นตีผงชาให้ขึ้นฟอง แต่ฉะเซ็นบางรุ่นที่มีจำนวนซี่เยอะ อย่าง 100 ซี่ หรือ 120 ซี่ มีข้อดีคือตีมัทฉะให้ขึ้นฟองได้ง่ายและฟองละเอียดกว่าในสมัยก่อนฉะเซ็นที่จำนวนซี่เยอะๆ มีไว้สำหรับให้โชกุนหรือขุนนางผู้สูงศักดิ์ใช้เพียงเท่านั้น การใช้งานฉะเซ็นครั้งแรก ควรแช่ฉะเซ็นในน้ำอุ่น 15-30 นาที เพื่อให้เนื้อไม้คลายตัวก่อน นอกจากนนั้น เพื่อยืดอายุการใช้งานฉะเซ็น ทุกๆครั้งก่อนใช้ควรแช่ฉะเซ็นในน้ำอุ่นประมาณ 5-10 นาทีเพื่อให้เนื้อไม้ยืดหยุ่นรับแรงจากการใช้งานโดยไม่แตกหัก และควรใช้งานฉะเซ็นกับถ้วยที่ก้นแบนกว้างทรงเตี้ย หลีกเลี่ยงการใช้กับถ้วยชาทรงสูงปากแคบก้นมีมุมเพราะอาจทำให้ปลายแปรงกระแทกมุมจนแตกหักได้ ที่สำคัญ คือไม่ควรกดแปรงฉะเซ็นกับก้นถ้วย แต่เน้นการสะบัดฉะเซ็นโดยการใช้ข้อมือโดยหลีกเลี่ยงการสะบัดแปรงแรงจนชนข้างถ้วย หลังการใช้งานทุกครั้ง ควรนำไปแกว่งในน้ำอุ่น โดยแกว่งเฉพาะส่วนที่สัมผัสกับมัทฉะ ไม่ต้องล้างน้ำทั้งอัน…