ออกแบบเมนูอย่างไรให้ปังดึงดูดลูกค้า!!!

เคยเจอปัญหานี้ที่ร้านกันมั้ย ???

  • คิดเมนูออกมาได้รสชาติดี ราคาไม่แพงแล้ว แถมทำเลร้านก็ดี แต่ทำไมลูกค้ายังไม่เข้าร้าน
  • มีบริการส่งดิลิเวอรี่ แต่ลูกค้าก็ยังไม่กดสั่งซื้อ
  • เลือกใช้วัตถุดิบชั้นดี นำเข้าจากต้นกำเนิด แต่ยอดขายก็ไม่ขึ้น

ส่วนนึงที่หลายคนอาจลืมนึกถึงไปคือ ใบเมนูของที่ร้าน หรือรูปภาพที่เราใช้ในการทำเมนูหรือโพสต์ลงโซเชียลนั้นเอง ที่เป็นเหมือนหน้าต่างบานแรกของทุกร้าน ส่งผลต่อการเลือกซื้อของลูกค้า มาดูกันว่า ดีไซน์เล่มเมนูแบบไหนที่ช่วยดึงดูดลูกค้าได้มากขึ้น

1. คำที่ใช้เขียนในใบเมนูต้องน่าตื่นตาตื่นใจเช่น “Handcrafted” “Recommend” “New Arrival” “Signature Menu” แต่อย่าใส่มากเกินไป เพราะลูกค้าอาจจะสับสนในการตัดสินใจเลือกสั่งได้ อย่างภาพนี้ที่ถ้าดูเผินๆหลายคนอาจจะไม่สนใจ แต่ถ้าดูดีๆแล้วเห็นคำว่า NEW ในภาพ จะเกิดความสะดุดตา อยากซื้อขึ้นมาในทันใด

Matcha Menu

2. เล่าเรื่องราวของเมนูนั้น อธิบายรสชาติของขนมว่ามีส่วนผสมของไส้อะไรบ้าง หรือ อธิบายวัตถุดิบเล็กน้อย เมนูไหนที่ใช้วัตถุดิบพรี่เมี่ยม อย่างเช่น ผงชาเขียวนำเข้าจากอูจิเกียวโต ชาชั้นดีของญี่ปุ่น คำเหล่านี้ช่วยกระตุ้นให้ลูกค้าสนใจ เพราะได้รู้ถึงที่มาของวัตถุดิบที่รสเลิศจึงมีส่วนช่วยให้อยากสั่งอาหารได้มากเลยทีเดียว

Matcha Menu

นอกจากอธิบายด้วยข้อความแล้ว สามาถอธิบายด้วยภาพได้เช่นกัน อย่างเช่น การมีพร็อพตกแต่งข้างๆเป็นฉะเซ็น ถ้วยชงชาญี่ปุ่น แสดงถึงที่มาของชาเขียวที่อยู่ในทาร์ตนี้ว่าเป็นชาเขียวของญี่ปุ่น และมีส่วนผสมของ ถั่วแดง

Matcha Menu

3. สีสื่อความหมายเช่น สีเขียวสื่อความหมายถึงความสดชื่น ดูธรรมชาติ จึงควรใช้ประกอบเมนูที่โดดเด่นด้านความสด สะอาด สีเหลืองสื่อความหมายถึงความสุข จึงดึงดูดสายตาของลูกค้าได้ดี สีแดงกระตุ้นให้เกิดการซื้อ เป็นต้น

4. เลือก เมนูเด็ด ไว้กึ่งกลางหน้า เพราะคนส่วนมากดูที่ตรงกลางก่อน ค่อยเลื่อนสายตาไปมองทางซ้ายบนและขวาบน

5. ตั้งราคาให้ดึงดูด ลงท้ายด้วยเลข 9 เพราะทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าราคาไม่แพงจนเกินไป (แม้จะเพิ่มอีกแค่ 1 บาทก็ตาม)

6. จัดกลุ่มเมนูที่มีความเหมือนกันไว้ด้วยกัน เพื่อให้ลูกค้าดูเทียบกันตัดสินใจได้ง่ายขึ้น เช่น ขนมในร้านมีหลายรสชาติ แต่จับอันที่เป็นรสชาติชาเขียวเหมือนกันไว้ใกล้ๆกัน แยกรสชาติกันไป

Matcha Menu

7. เลือกใช้สัญลักษณ์กราฟฟิคบางอย่างเพื่อทดแทนคำพูด หรือข้อความ เพื่อความเข้าใจง่ายและ TEXT ไม่เยอะเกิน เช่นใช้สัญลักษณ ใบชา เครื่องดื่มร้อน เย็น ปั่น แทนข้อความที่ต้องระบุลงไป

Matcha Menu

8. ใส่ข้อมูลที่จำเป็นลงไปแล้ว อย่าลืมทิ้งพื้นที่วางในภาพหรือใบเมนูบ้าง เพื่อให้อาหารในภาพดูโดดเด่น สบายตา อ่านง่าย เพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น

Matcha Menu

ที่มา

https://bit.ly/2xMsTe9

Pinterest.com

https://creative.starbucks.com/voice/

https://www.misterdonut.jp/

https://www.pablo3.com/

บทความจาก : Fuwafuwa

สีเขียวๆเหมือนกัน แต่ทำไมเป็นชาเขียวคนละแบบกัน

ทุกคนน่าจะเคยเห็นชาเขียว ที่สีไม่เขียว อย่างที่รู้จักกันในชื่อของ ชาโฮจิฉะ กันแล้ว แต่ก็อาจจะเคยเห็นชา ที่สีเขียวเหมือนกัน ต่างระดับเข้มอ่อน ซึ่งจริงๆแล้วเป็นการแสดงรสชาติที่มีหลากรสชาติหลายระดับ สิ่งที่ทำให้ชาเขียวแตกต่างจากชาประเภทอื่นๆ อย่างชาแดง และชาอู่หลง คือการ “นึ่ง” ใบชา ที่สามารถช่วยไล่กลิ่นเหม็นเขียวไปพร้อมๆ กับหยุดกระบวนการออกซิเดชัน ทำให้รักษาสีเขียวเอาไว้ได้นั่นเอง

สิ่งที่เรียกว่าชาเขียวเองก็ยังแบ่งได้ออกเป็นอีก 4 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่

1.เกียวคุโระ (Gyokuro)ยอดใบชาเขียวชั้นดี ใบชาม้วนเป็นเกลียว สีเขียวเข้ม ปลูกโดยคลุมผ้ากันแสงให้อยู่ในสภาวะเหมาะสมจนเกิดเป็นสีเขียว ผ่านการนึ่ง นวด และทำให้แห้ง ได้ออกมาเป็นชารสไม่ฝาด หวานเล็กน้อย ซึ่งที่มาของรสชาติหวานกลมกล่อมนี้ มาจากการที่ให้ใบชาอยู่ในร่มก่อนการเก็บเกี่ยว ซึ่งการป้องกันแสงแดดนี้จะทำให้สารเธียอะนินที่มีประโยชน์ (ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย) ในใบชาเพิ่มขึ้น แต่ทำให้สาร catechin ที่มาของรสขมในใบชาลดลง ทำให้ได้ชาที่มีรสชาติหวานกลมกล่อมนั่นเองกลิ่นหอม สีชาเกียวคุโระสีเขียวสด จัดเป็นชาเขียวชั้นสูง ผลิตได้ไม่มาก เก็บเกี่ยวได้ทีละน้อย ราคาจึงค่อนข้างแพง ส่วนมากใช้ในงานพิธีการ

2.มัทฉะ (Matcha) ชื่อที่หลายคนคุ้นเคยมากที่สุด ชาตัวนี้ผลิตจากมาจาก เท็นฉะ (Tencha) ซึ่งได้มาจากใบชาที่ปลูกในที่ร่มเหมือนชาเกียวคุโระก่อนจะนำไปบดเป็นผงด้วยหินอย่างพิถีพิถัน มักจะใช้ในพิธีชงชา เพราะมัทฉะรสชาติกลมกล่อมมัทฉะแบ่งเป็นหลายเกรด เช่น สำหรับทำขนม เครื่องดื่ม ชงในงานพิธีการ เป็นต้น สามารถสังเกตได้จากสีของมัทฉะ ยิ่งมัทฉะสีเข้มเท่าไหร่ คุณภาพก็ยิ่งดี ซึ่งในมัทฉะสารอาหารค่อนข้างมากที่สุด

3.เซ็นฉะ (Sencha) ชาเขียวส่วนใหญ่ หรือคิดเป็นกว่า 60% ของชาเขียวในประเทศญี่ปุ่นไม่ต้องเลี้ยงในร่ม เก็บเกี่ยวในช่วงแรก หรือช่วงที่สองของปี เมื่อเก็บใบมาแล้วต้องผ่านกระบวนการนึ่ง นวด และอบแห้งเหมือนกับเกียวคุโระ รสชาติค่อนข้างฝาด เนื่องจากการอบเลยทำให้ชาประเภทนี้ค่อนข้างมีกลิ่นหอม

4. บันฉะ (Bancha) คุณภาพรองลงมาจากชาเซนฉะ เพราะเก็บเกี่ยวในช่วงที่สามหรือสี่ของปี ใช้ดื่มทั่วไป เป็นใบชาที่เหลือจากยอดต้น ได้มาจากใบชาที่เก็บนอกฤดูกาล เช่น ก่อนต้นชาแตกยอด

ใหม่ หรือมีขนาดไม่ได้ตามมาตรฐาน รวบรวมมาผ่านกระบวนการต่างๆ จนได้เป็นชาราคาย่อมเยา มีรสชาติอ่อน สีออกไปทางเหลืองอมเขียวแทนที่จะเป็นสีเขียวสด รสฝาดกว่าชาชนิดอื่น อีกทั้งกลิ่นเฉพาะตัวของชาไม่หอมเท่าประเภทอื่น

ชาเขียว

ความอร่อยในการดื่มชาแต่ละประเภทอยู่ที่รสนิยม วิธีการปรุง รวมถึงอาหารที่รับประทานทานคู่กับชา แต่ชาเขียวทุกประเภทมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายจำนวนมากน้อย ขึ้นอยู่กับประเภทของชานั้นๆ นั่นเอง

Matcha Matcha

ที่มา

6 Different Types of Tea: The Ultimate Guide

http://www.flickr.com/photos/nikosan-artwork/5445104938/in/set-72157625618496145/

Homemade Tea Blends | For Christmas

https://kinarino.jp/cat8/25451

บทความจาก : Fuwafuwa