การทำไส้ขนมจากผงชาเขียวมัทฉะ

เทคนิคในการดัดแปลงส่วนผสมและสูตรต่างๆให้เป็นรสชาติที่หลากหลาย เป็นสิ่งที่เจ้าของร้านขนมและร้านคาเฟ่ควรรู้ บางครั้งหลายคนไปเรียนทำขนมมา แต่พอต้องการดัดแปลงขนมที่เรียนมาเป็นรสชาติที่ต้องการ กลับใส่ส่วนผสมไม่ถูก

การทำครีมชาเขียวเป็นไส้ขนม บางเจ้าก็นิยมซื้อสำเร็จตามที่มีขายอยู่แล้วในท้องตลาดมาใช้เลยเพื่อความสะดวก แต่รสชาติความเข้มข้นรวมทั้งสีของชาเขียว อาจจะไม่ได้เป็นอย่างที่ตั้งใจไว้

Matchazuki เลยอยากจะมาแชร์ การทำไว้ครีมชาเขียวอย่างง่าย และถ้าใครเป็นคอชาโฮจิฉะ ก็สามารถเปลี่ยนผงชาเขียวตามสูตรเป็นผงชาโฮจิฉะได้ในปริมาณเท่าๆกัน แต่แนะนำให้การทำขนมใช้ผงชาเขียวจะอร่อย สีสวย และได้รสชาติที่ดีกว่าใช้ชาใบ

ไส้มัทฉะ ไส้มัทฉะ

หากใครอยากลองทำไส้คัสตาร์ดชาเขียวเอง ลองทำได้ง่ายๆเพียงแค่อุ่นนม 125 ml. ในหม้อ แค่พออุ่นๆ ไม่ถึงกับต้องเดือด ดูถ้ามีไอลอยขึ้นมาก็ปิดไฟเลย หลังจากนั้น ตีไข่แดง 1 ฟอง กับน้ำตาล 35 กรัม จนเป็นสีเหลืองอ่อน ร่อนแป้งเค้ก 13 กรัม กับผงชาเขียว 1 ช้อนชา 5 กรัมลงไปตีต่อ จากนั้นค่อยๆเทนมอุ่นลงไปผสมลงไปในหม้อ อุ่นด้วยไฟเบา คนด้วยไม้พายตลอดเวลา จนครีมเริ่มข้น ถ้าเห็นมีฟองขึ้นมาปุ๊บ อุ่นอีก 1 นาทีแล้วปิดไฟเลยค่ะ จากนั้นใส่เนยลงไป คนจนเนยละลายเข้ากัน หลังจากนั้นเทครีมใส่จานแบนๆ ปิดด้วยแรปใสแล้วเอาเข้าตู้เย็นแช่ไว้สัก 1 ชม.เนื้อครีมประเภทนี้จะมีความหนืดเหมือนเวลาเราทานซาลาเปาไส้ครีม เหมาะกับเอาไปเป็นไส้ขนมปัง หรือทำไส้พายนั้นเอง

matcha cream

แต่ถ้าเป็นครีมชาเขียว เนื้อสัมผัสนุ่มละมุน ไว้ปาดเป็นไส้เค้กอย่างเครปเค้ก ไส้ชูครีม หรือไส้โรลเค้ก ตัวไส้กลุ่มนี้ครีมจะมีลักษณะที่เป็นเนื้อบางเบา นุ่มละมุนลิ้น ทานได้เรื่อยๆ ไม่หนักหรือเลี่ยน เพราะเกิดจากวัตถุดิบอย่างง่ายเพียงแค่ 3 อย่าง ได้แก่ วิปปิ้งครีม 400 มิลลิลิตร ผงชาเขียว 1/3 ถ้วย และ น้ำตาลทราย 1/3 ถ้วยที่มาเทผสมกัน แล้วตีด้วยหัวตีตะกร้อ จนตั้งยอดอ่อนวิธีการสังเกตว่าเป็นยอดอ่อนคือ มือหยุดตีแล้วยกหัวตะกร้อขึ้น ตัวครีมที่ปลายตะกร้อจะงอลงเล็กน้อย เนื้อครีมแบบนี้จะมีความนุ่มละมุน มักนิยมใช้กับเบเกอรี่สไตล์ญี่ปุ่น แต่ถ้าตีนานเกินไป ไส้ครีมชาเขียวนุ่มๆของเราจะกลายเป็นครีมเนื้อหนักที่ไว้ปาดรอบเค้กเพื่อตกแต่งหรือบีบครีมขึ้นรูปเป็นลวดลายต่างๆ

matcha cream

หรือถ้าเป็นเสปรดชาเขียวที่ไว้ทานคู่กับขนมปังนั้นแค่นำผงชาเขียว 12 g นมจืด 50 ml นมจืด 150 ml วิปครีม 100 ml น้ำตาลทราย 40 g ผสมรวมกันในหม้อ เคี่ยวใช้ ’ไฟอ่อน 15 นาที สังเกตได้ว่าส่วนผสมจะลดลง 50% และมีความหนืดขึ้นั้นเอง

matcha custard

แต่ถ้าเป็นพวกไส้ชาเขียวลาวา วิธีทำเริ่มจากผสมผงเจลาติน 1 ½ ช้อนชา กับน้ำ  2 ช้อนโต๊ะ คนให้เข้ากันแล้วพักไว้ จากนั้นตีไข่ไก่ 2 ฟอง น้ำตาล ½ ถ้วย และแป้งข้าวโพด 4 ช้อนโต๊ะ เข้าด้วยกัน แล้วพักไว้ ใส่นม 2 ถ้วย วิปปิ้งครีม  1 ถ้วย ผงชาเขียว  ¼ ถ้วย และเกลือ ½ ช้อนชา ลงไปในหม้อตั้งไฟอ่อน ใช้ตะกร้อมือคนให้เข้ากันจนผงชาเขียวละลายดี แล้วจึงเทส่วนผสมของไข่ไก่ตามลงไป คนจนส่วนผสมข้นขึ้นมา เมื่อส่วนผสมนมข้นขึ้นแล้วให้ปิดไฟ จากนั้นใส่เจลาติน และเนยที่เตรียมไว้ลงไปคนให้เข้ากัน นำไปพักในตู้เย็นจนกว่าจะเย็น นำมาใส่ขนมปัง ซาลาเปา หรือขนมที่ต้องการให้เป็นไว้ลาวาได้เลย ตัวนี้ที่เป็นไส้ลาวาได้เพราะมีการใช้เนยในการทำไส้นั้นเอง เวลาอุ่นร้อนๆ หั่นขนมออกมา มันจึงมีลักษณะไหลเยิ้มเป็นลาวา

หากใครมีสูตรขนมอื่นๆแล้วต้องการทำเป็นรสชาติชาเขียวแต่ไม่รู้จะเริ่มปรับยังไง อย่างเช่นมีสูตรไส้ช็อคโกแลต ก็สามารถเปลี่ยนผงโกโก้ ให้เป็นผงชาเขียวได้เลยในปริมาณที่เท่ากัน หรือถ้าใครที่อยากได้ความเข้มข้นหรือสีที่ชัดขึ้น ริ่มแรก ให้ลองแอดผงชาเขียวเข้าไปครั้งละ 2-5 กรัมก่อน เพื่อให้รสขมชาเขียวไม่โดดจนเกินไป หรือถ้าใครแพ้นมวัว ก็สามารถเปลี่ยนนมวัวเป็นนมถั่วเหลืองได้เช่นกัน ทีนี้เราก็จะปรับเปลี่ยนดัดแปลงขนมให้มีหลากหลายเอาใจ MATCHA LOVER กันได้ง่ายๆไม่ต้องพึ่งไส้สำเร็จที่อาจจะใส่สารกันบูด แต่งกลิ่น และใช้สีเขียวสังเคราะห์แทนผงมัทฉะแท้ๆ 🙂

ที่มา

https://www.proportionalplate.com/dalgona-matcha-latte/

http://www.matcha.my/Blog/matcha-milk-jam-recipe

https://www.oliveandartisan.com/การทำไส้ขนมจากผง Matcha

https://minimalistbaker.com/vegan-matcha-buttercream-frosting-1-bowl/

บทความจาก : Fuwafuwa

กลิ่นหอมที่แตกต่างของ “เก็นไมฉะ”

ถ้าพูดถึงชาเขียวของญี่ปุ่น หลายคนคงนึกถึง “มัทฉะ” เป็นชื่อแรก เพราะ “มัทฉะ” เป็นชาเขียวชั้นดีที่นิยมใช้ในพิธีชงชาของชนชั้นสูงในญี่ปุ่น ด้วยกรรมวิธีการบดยอดอ่อนใบชาอย่างพิถีพิถัน จนได้รสชาติที่กลมกล่อม ส่วนชาเขียวอีกประเภทหนึ่งที่คนทั่วโลกนิยมดื่มกันมากที่สุด ด้วยรสชาติที่สดชื่น ดื่มง่ายอย่าง “เซนฉะ” แต่มีชาเขียวอีกหนึ่งประเภทที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยกลิ่นหอมที่แตกต่างจากชาประเภทอื่นของ “เก็นไมฉะ”

genmaicha genmaicha

เก็นไมฉะ ( 玄米茶: Genmaicha)  เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนอยู่น้อยมาก ถือว่าน้อยกว่าชาเขียวประเภทอื่นๆเลยก็ว่าได้ จึงสามารถดื่มได้ทุกที่ทุกเวลา และทุกเพศทุกวัย แถมราคายังไม่แพงชงง่าย

เก็นไมฉะ แตกต่างจากชาเขียวประเภทอื่นที่เห็นได้ชัดอีกประการ คือ กลิ่นหอมที่เกิดจากการเบลนด์ชาร่วมกับข้าวคั่วนั่นเองเห็นได้จากสีของใบชาที่ไม่ได้มีสีน้ำตาลเหมือนสีข้าวคั่ว 100% และก็ไม่ได้เขียวมากเหมือนสีของใบชาเขียวปกติ แต่จะเป็นสีเหลืองทอง ที่เกิดจากข้าวคั่วที่นำมาผสมผสานกันในเก็นไมฉะ ข้าวที่ต้องคัดสรรสายพันธุ์ดีงามของญี่ปุ่น ผ่านกรรมวิธีการคั่วด้วยอุณหภูมิที่เหมาะสม แล้วมาตากแห้งและอบเข้ากับใบชา ในอัตราส่วน 1 : 1  ผสมผสานกันออกมาเป็นชากลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์หาไม่ได้จากชาเขียวประเภทอื่น รสชาติที่ฝาดกำลังดี หวานน้อย การดื่มเก็นไมฉะคู่กับเมนูอื่นๆ ก็นับเป็นตัวเลือกที่เข้ากันได้ดีทีเดียว

รสชาติที่ดีของเกนไมฉะ ส่วนนึงมาจากคุณภาพของข้าว มากกว่าคุณภาพของใบชา การนำข้าวกล้องไปคั่วต้องระวังอย่าให้แตก เหมือนกับป็อบคอร์น เรียกว่า “ข้าวตอก” เพราะถ้าแตกมากคุณภาพความอร่อยของชาขะลดลงเมื่อนำไปผสมกับชาเขียว

ส่วนคุณค่าทางสารอาหารก็มีเยอะไม่แพ้ชาเขียวประเภทอื่นๆ ไล่มาตั้งแต่เก็นไมฉะมีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ช่วยในเรื่องปรับสมดุลระบบความดันโลหิต ช่วยลดความเสี่ยงจากมะเร็งและโรคหัวใจได้อีกด้วย

genmaicha

มีบางตำราที่เล่ากันว่าเกนไมฉะเกิดจากพ่อค้าชาชาวญี่ปุ่นคนหนึ่งในสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง รู้สึกเสียดายข้าวหลังจากนำไปเซ่นไหว้บรรพบุรุษ จึงนำมาคั่วแล้วนำมาผสมกับชานั่นเอง แต่ก็มีบางตำราเล่าว่ากิดขึ้นที่เมืองเกียวโต เมื่อพ่อค้าใบชาเขียวผู้มั่งคั่ง และเต็มเปี่ยมด้วยความคิดสร้างสรรค์ จับเอาวัตถุดิบต่างๆ มาผสมผสานเข้ากับใบชาเขียว เพื่อให้ได้ความพรีเมียมที่แปลกใหม่ วันหนึ่งพ่อค้าใบชาเขียวนึกสนุก จึงทดลองนำข้าวคั่วและใบชาเขียวมาลองชงดื่มดู จนได้มาซึ่งเก็นไมฉะที่มีทั้งกลิ่นและรสชาติไม่เหมือนใคร

ชาที่นำใบชาเขียว มาผสมกับข้าวกล้อง โดยข้าวกล้องที่นำมาผสมจะถูกนำไปนึ่ง แล้วนำมาผัดจนมีสีน้ำตาลอ่อน ผสมกับใบชาในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 นั่นคือเหตุผลหลักที่เวลาเราดื่ม” เกนไมฉะ ” (玄米茶: Genmaicha) หรือ “ชาข้าวกล้องคั่ว” จะได้กลิ่นหอมที่ไม่เหมือนชาเขียวประเภทอื่น นั่นเอง จริงๆแล้ว” เกนไมฉะ ” เป็นชาธรรมดา ราคาไม่แพง เวลาชง ต้องชงด้วยน้ำร้อน 100 องศาเซลเซียส ในเวลาเพียง 30 วินาที เพราะถ้าแช่นานไป ชาจะเริ่มมีรสชาติขมจนทานลำบาก

สำหรับวิธีการการต้มชาเขียวชนิดนี้ แนะนำให้ใช้น้ำร้อนที่มีอุณหภูมิประมาณ 80–85 ° C และใช้เวลาต้มชาที่ประมาณ 3-5 นาที หากต้มนานกว่านี้จะทำให้ชามีรสฝาดมากขึ้น

genmaicha

ที่มา

https://www.rishi-tea.com/product/gram-tin-genmai-matcha-organic-japanese-green-tea-blend/loose-leaf-tea

http://www.stocksy.com/22595

https://www.teasource.com/products/genmaicha-green-tea-blend

กลิ่นหอมที่แตกต่างของ “เก็นไมฉะ”บทความจาก : Fuwafuwa