ความต่างของ”กาน้ำชา”
|

ความต่างของ”กาน้ำชา”

ชามีบทบาทในพิธีกรรมและกิจกรรมทางสังคมต่างๆ ในพิธีกรรมและกิจกรรมทางสังคมต่างๆ ในหลายวัฒนธรรม การชงชาไม่ได้ชงเพื่อรสชาติเท่านั้น แต่การชงชาได้เป็นการแสดงออกถึงศิลปะความงามอีกประเภทหนึ่ง จึงส่งผลให้การเลือกใช้กาชาของแต่ละคนอาจจะลืมนึกถึงประโยชน์ในการใช้งานไป เวลาเลือกกาน้ำชา บางคนเลือกเพียงจากความสวยงาม และใช้งานถนัดมือ แต่ความจริงแล้ว เราจำเป็นต้องคำนึงว่ากานั้นๆจะใช้ชงชาใบหรือชาซอง หรือใช้แค่ใส่น้ำร้อนเทลงถ้วยชาวังสำหรับตีผงมัทฉะ นอกจากวัตถุประสงค์ในการใช้แล้ว จะเห็นว่า กาน้ำชา สามารถทำได้จากวัสดุที่หลากหลายเช่นกัน ทั้ง หิน ดินเผา แก้ว เหล็กหล่อ เงิน และสเตนเลส วัสดุแต่ละประเภทมีผลต่อรสชาติของชาและก็เหมาะกับการชงชาแต่ละประเภทแตกต่างกันไป หากต้องการชงชาใบตะกร้ากรองชาที่มากับกาน้ำชาก็เป็นสิ่งที่สำคัญที่ต้องดูความถี่ของตะแกรงให้ดี ไม่เช่นนั้น อาจจะมีใบชาเล็ดลอดออกมาตอนเท ทำให้เสียรสชาติการดื่มชาได้ หากเป็นกาชา “เครื่องกระเบื้อง” เป็นเครื่องปั้นดินเผาสีขาวขุ่นคุณภาพดีที่ผ่านการเผาที่อุณหภูมิสูง กาน้ำชาเครื่องกระเบื้องใช้ได้ดีกับชารสอ่อน เช่น ชาเขียว ชาอู่หลง และชาดำอ่อนๆ ยอมชาดาร์จีลิง แต่ถ้าเป็น กาชา”เหล็กหล่อ”เหล็กหล่อถูกใช้เพื่อทำภาชนะสำหรับต้มน้ำด้วยกองไฟเพราะเหล็กจะร้อนได้เร็วและรักษาความร้อนไว้ได้ดีเมื่อมีอุณหภูมิตามที่ต้องการแล้ว การใช้กาน้ำชาแบบเหล็กมาหล่อต้มชาเกิดขึ้นในช่วงที่เซนฉะเริ่มได้รับความนิยมในญี่ปุ่น โดยกาน้ำชาเหล็กหล่อมีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับกาน้ำชาดินเผาแบบไม่เคลือบ เพราะมันจะดูดซับรสชาติบางส่วนของชาไว้ดังนั้นจึงไม่ควรใช้น้ำยาล้างจานล้างกาน้ำชาเหล็กหล่อ และควรทำให้แห้งสนิทเพื่อป้องกันสนิม กาชาอีกประเภทที่เห็นทั่วไปคือ กาชา “แก้ว” วัสดุที่ไม่ค่อยจะเหมาะแก่การทำกาน้ำชาเพราะมันเก็บกักความร้อนได้น้อย เปื้อนง่าย และเปราะบาง เหมาะสำหรับการชงชาที่มีความสวยงามโดยเฉพาะชาดอกไม้บานเพราะเราจะเห็นใบชาที่กำลังคลี่ออกอย่างสวยงาม นอกจากนี้คุณยังรู้ด้วยว่าชาของคุณเข้มพอหรือยัง และกาน้ำชาแก้วมักจะมาพร้อมกับเตาอุ่นที่ให้ใส่เทียนเข้าไปด้านล่างเพื่อรักษาให้ชาอุ่น กาชา “ดินเหนียว”  ยิ่งอุณหภูมิที่สูงเท่าไหร่…

“ชาเขียว“ ของขวัญทุกเทศกาลของคนญี่ปุ่น
|

“ชาเขียว“ ของขวัญทุกเทศกาลของคนญี่ปุ่น

ชาวญี่ปุ่นมักจะมีของฝากเล็กๆน้อยๆถือติดไม้ติดมือมอบให้กันอยู่เรื่อยๆไม่ว่าจะเป็นโอกาไหนๆ เช่น หากต้องเดินทางไปต่างถิ่นหรือแม้กระทั่งทริปเล็กๆ โดยทั่วไปก็จะนิยมซื้อของฝาก หรือในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “โอมิยาเกะ”มาให้ โดยของฝากมีทั้งเป็นห่อคุกกี้น่ารักๆ ช็อกโกแลต ชาเขียว หรือของหวานญี่ปุ่นชนิดต่างๆ ไม่เพียงแค่การซื้อของฝากจากการไปท่องเที่ยว แต่การมอบของขวัญให้แก่กันทได้เป็นวัฒนธรรมที่ฝังรากลึกลงไปของคนญี่ปุ่น อย่างเช่น วันปีใหญ่ แต่งงาน คลอดบุตร ฯลฯ ซึ่ง”ชา”ถือว่าเป็นของขวัญที่นิยมมากๆเลยก็ว่าได้ การมอบชาเขียวให้กันนั้นก็จะแฝงความหมายที่แตกต่างตามวาระโอกาสที่ให้ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความยินดี การทักทาย หรือแสดงความขอบคุณ เพราะ”ชา”เป็นสิ่งที่ชาวญี่ปุ่นดื่มกันทุกวันอยู่แล้ว นอกจากจะดีต่อสุขภาพแล้ว ให้ความรู้สึกถึงความมีคุณภาพ มีราคา ยิ่งส่งมอบให้กันเป็นชุด gift set หรือ ห่อด้วยผ้าฟุโรชิกิด้วยแล้ว ยิ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กลายเป็นเซ็ตชาที่ถูกใจผู้รับแน่นอน อีกเหตุผลที่นิยมให้ชาเป็นของขวัญ เพราะนอกจากนั้นยังเก็บรักษาได้นาน และมีขนาดไม่เล็กไม่ใหญ่เกินไป ทานได้ทุกเพศทุกวัย ชายังแฝงความหมายที่ดีและเป็นมงคลที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ด้วย เช่น คำว่า ฉะเมียว (茶寿)ที่สะกดด้วยตัว茶ที่แปลว่า ชา อยู่ในคำนั้นด้วย ฉะเมียว ในความหมายคนญี่ปุ่น หมายถึง “การแสดงความยินดีฉลองอายุครบ 108 ปี” การมอบชาเป็นของขวัญจึงถือเป็นการอวยพรขอให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง อายุยืนยาว ในงานแต่งงานของคนญี่ปุ่นบางพื้นที่ ได้แก่ ภูมิภาคคิวชู รวมถึง…