ออกแบบโลโก้ร้านชา ให้ลูกค้าจำได้ง่าย

Logo ถือเป็นส่วนสำคัญที่เปรียบเสมือนหน้าตาของร้าน มีผลต่อการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักได้ โดยเฉพาะในยุคนี้ที่มีร้านของหวานเครื่องดื่มออกใหม่มากมาย โลโก้ที่ติดอยู่บนบรรจุภัณฑ์อาหารถ้ายิ่งจดจำได้ง่าย มีเอกลักษณ์ ก็จะยิ่งช่วยให้ลูกค้าเกิดการบอกต่อได้ง่ายขึ้นด้วย หลักการในการออกแบบโลโก้ที่ดี ให้จดจำง่ายไม่ซ้ำร้านอื่นมีเทคนิคอะไรบ้าง มาดูกัน

เริ่มจากต้องมีเอกลักษณ์ของร้านเพราะโลโก้ของร้านควรจะสื่อสารถึงตัวตนของร้าน สไตล์อาหารที่ขาย มองแล้วรับรู้ทันทีว่านี่คือร้านอาหารอะไร มีลักษณะที่สัมพันธ์กับการตั้งชื่อร้าน ถ้าไม่ไปซ้ำซ้อนกับร้านอื่นๆได้จะยิ่งดีเพราะป้องกันความสับสนของลูกค้า อย่างร้านที่ขายชาเขียวแท้ๆจากญี่ปุ่น ก็อาจจะมีการใช้ภาษาญี่ปุ่น เพื่อสื่อถึงที่มาของวัตถุดิบพระเอกของร้าน หรือใช้ดีไซน์ที่เป็นเหมือนอินตัง ( ตรายาง ) ของคนญี่ปุ่น เพื่อดึงเอกลักษณ์ดีไซน์ความเป็นญี่ปุ่นออกมาสื่อถึงที่มาของวัตถุดิบแท้ๆ

logo logo logo

โลโก้ที่ดีควรสื่อความหมายเพราะโลโก้ที่ดีจะต้องสามารถสื่อความหมายได้มากกว่าแค่บอกชื่อร้าน อย่างเช่นการใช้รูปใบชา ถ้วยชงชา หรือฉะเซ็นที่เป็นอุปกรณ์ชงชา เพื่อบ่งบอกถึงความเชี่ยวชาญในรสชาติของชาที่้ร้าน รูปที่อยู่ในโลโก้ควรจะผ่านการคิดว่ามีความหมายอย่างไร เห็นเข้าใจและจดจำได้ง่าย เพื่อสื่อสารไปให้ถึงลูกค้าได้ตรงประเด็น ซึ่งนอกจากรูปภาพ ที่ใช้ในการสื่อความหมายแล้ว สีของโลโก้ ก็ยังเป็นอีกส่วนสำคัญที่ช่วยให้นึกถึงสินค้าในแบรนด์ได้ง่ายขึ้น  อย่างเช่นการใช้สีเขียวในโลโก้ ทำให้นึกถึงชาเขียวได้ง่ายขึ้น สื่อถึงความเป็นธรรมชาติ ไม่ผ่านการปรุงแต่งจากสารสังเคราะห์

ให้โลโก้สื่ออารมณ์ของร้าน  ต้องรู้ก่อนว่าอยากให้ภาพออกมามีอารมณ์แบบไหน สอดคล้องกับร้านของเราอย่างไร เช่น ร้านขายชา ที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้หญิง ไม่ได้เน้นชาที่เข้มข้น แต่เน้นการปรับสูตรไปให้หลากหลาย ผู้หญิงทานง่ายขึ้นและมีขนมอื่นๆที่ทำจากชา จะต้องใช้โลโก้ที่มีโทนสีชมพูปนเข้ามา เพื่อดึงดูดสายตาผู้หญิงที่มีความอ่อนหวาน หรือปรับเป็นโลโก้ที่เรียบๆนิ่งๆ แต่เน้นแพคเกจจิ้งสีหวานเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้หญิง

logo logo

ไม่ใช้สีสันที่มากจนเกินไปจำนวนสีที่ใช้บนโลโก้ควรอยู่ที่ 1 – 3 สี จึงจะพอเหมาะ และไม่ทำให้เกิดความสับสนนอกจากนี้ อารมณ์ของสีที่ใช้ก็เป็นสิ่งสำคัญ เช่น สีเขียว ที่สื่อถึงธรรมชาติ สุขภาพ ความสดใหม่ และการเจริญเติบโต นอกจากนั้นยังให้อารมณ์สดชื่น ผ่อนคลายอีกด้วย

logo logo logo

อย่าลืมที่จะเช็คคู่แข่งบ้างการเข้าไปดูเว็บไซต์หรือโซเชียลมีเดียของแบรนด์อื่นๆ ช่วยให้เราฝึกการคิดวิเคราะห์ได้ ว่าโลโก้นั้นดูดี สื่อความหมาย มีเอกลักษณ์เพียงพอรึยัง เพื่อเอามาปรับที่ร้านให้ดีขึ้น เป็นการวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็ง ของแบรนด์ก็ว่าได้ และอย่าลืมติดตามเทรนด์ของการดีไซน์อยู่เสมอ เช่น ใช้สีแห่งปีอย่างสีม่วงอัลตราไวโอเลต หรือจะใช้การไล่เฉดสีและลูกเล่นในการพิมพ์ก็จะช่วยสร้างความโดดเด่นให้กับโลโก้ของคุณได้

แต่ก็จะเห็นได้ว่าโลโก้มีหลายแบบ ทั้งที่เป็นตัวอักษรปกติ รูปภาพ ลายกราฟฟิค หรือมาสคอต แต่ละแบบก็สื่อความหมายและเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้แตกต่างกัน เช่น แบรนด์ที่มีรูปการ์ตูน โลโก้ประเภทนี้จะช่วยดึงดูดกลุ่มลูกค้าเด็กและครอบครัวได้ นอกจากนี้ยังเป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการกระตุ้นให้เกิดการมีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมายได้อีกด้วย หรือสำหรับการใช้แค่เพียงสัญลักษณ์บางอย่าง อย่าง ใบชา ช้อนตักชา หรือฉะเซย ก้เพียงพอที่จะสื่อความหมายได้แล้วว่าร้านนี้เน้นขายชา

logo

หากลองครีเอทมาแล้วแต่ยังไม่แน่ใจว่าควรใช้จริงมั้ย ทดลองเทสต์บนหน้าเว็บไซต์หรือทำเป็นโปรไฟล์ดูก่อน หรือบางทีอาจจะทำโพลขึ้นมาให้คนเข้ามาให้ฟีดแบค เช่น ถามว่ามันดูสวยพอหรือยัง อยากแก้ตรงไหนไหม ดูเข้ากันกับเว็บไซต์หรือเปล่า เผื่อที่จะปรับแก้บางจุดเพื่อให้ลูกค้าจดจำได้ง่ายขึ้นก่อนผลิตสื่อต่างๆจริง

พอจะได้ไอเดียกันแล้วมั้ยคะ สำหรับท่านที่จะลองเปิดกิจการเป็นของตัวเอง ที่นี่ก็เริ่มลงมือออกแบบ โลโก้แบบที่ชอบ แล้วเอาไปต่อยอดลงนามบัตรร้าน แพคเกจสินค้า ในรูปแบบเดียวกันเพื่อให้เป็นภาพจำกับลูกค้า แล้วเกิดความรู้สึกอยากบอกต่อ ได้ง่ายขึ้น

logo logo logo

ที่มา

https://www.freepik.com

https://gdc.jp/archives/category/works/food

https://www.packagingoftheworld.com/2012/07/kotoha-with-yuica.html

https://www.behance.net

บทความจาก : Fuwafuwa

ทำความรู้จักใบชา สำหรับคั่วชาโฮจิฉะ

อย่างที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าชาโฮจิฉะ คือ ชาเขียวคั่วด้วยอุณหภูมิที่สูงจนมีกลิ่นหอม เป็นชาที่ทิ้งรสชาติและความหอมให้ยังคงหลงเหลือในปากหลังดื่ม จึงทำให้ชาชนิดนี้นิยมดื่มหลังอาหาร หรือระหว่างมื้ออาหาร ด้วยวิธีการคั่วนี้เองจึงทำให้สารคาเทชินซึ่งเป็นสารที่ทำให้มีรสฝาดและคาเฟอีนน้อยลง ชาประเภทนี้จึงอ่อนโยนต่อร่างกาย สามารถดื่มได้ทั้งเด็ก คนท้อง และผู้ใหญ่ทั่วไป และยังสามารถดื่มก่อนนอนได้อีกด้วยเพราะมีปริมาณคาเฟอีนในชาที่ต่ำมาก โดยใบชาที่นิยมนำมาคั่วเป็นโฮจิฉะมี 3 ชนิด ได้แก่ เซนฉะ (煎茶) บังฉะ (番茶) และคุคิฉะหรือชาที่ทำจากก้านชา (茎茶) แต่ละชนิดที่นำมาคั่วก็มีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกัน หากใครอยากลองที่จะคั่วชาเขียวให้เป็นชาโฮจิฉะ มาทำความรู้จัก ชาทั้ง 3 ชนิดนี้ก่อนว่าแตกต่างกันยังไง

ชาโฮจิฉะ ชาโฮจิฉะ

เริ่มที่ เซนฉะ (煎茶) ชาเขียวที่ชาวญี่ปุ่นดื่มในชีวิตประจำวัน ไม่ต้องเลี้ยงในร่ม สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี เป็นชาที่ผลิตเยอะที่สุดในญี่ปุ่น เพราะ เก็บใบชาได้ปีละ 4 ครั้ง โดยเริ่มเก็บตั้งแต่ เดือนพฤษภาคมโดยเก็บยอดอ่อน 3 ใบแรก และใช้กรรไกรตัด เซนฉะจะถูกแบ่งเกรด 3 ระดับ คือ เกรดสูง เกรดกลาง และ เกรดธรรมดา หลังจากเก็บใบชาจะนำมาเป่าให้แห้ง และปั่นใบชาให้เป็นเกลียว และม้วนภายในระยะเวลาที่สั้นที่สุด เพื่อหยุดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของเอนไซม์ เพราะจะทำให้คงสภาพสีและกลิ่นของของชาเอาไว้ได้ รสชาติออกไปทางรสฝาด แต่เป็นชาที่มีความหอมอยู่แล้ว เลยทำให้เวลานำมาคั่ว จะทำให้มีกลิ่นหอมยิ่งขึ้น

ชาเซนฉะ

แต่ถ้านำใบชาเซนฉะไปอบนานขึ้น ประมาณ 2-3 เท่า ทำให้ได้สีและรสชาติที่เข้มกว่าเซนฉะ จะเรียกว่า ฟุคะมุชิฉะ (深蒸し茶) นั่นเอง

ชาเซนฉะ ชาเซนฉะ

ส่วน บังฉะ (番茶) คุณภาพรองลงมาจากชาเซนฉะ เพราะเก็บเกี่ยวในช่วงที่สามหรือสี่ของปี เป็นใบชาที่เหลืออยู่ที่ยอดชาหลังเก็บใบชาเซนฉะไปแล้ว ใบชาบังฉะจะมีขนาดใหญ่กว่าที่นำไปผลิตเป็นชาเซนฉะ หลังจากนั้นก็นำมานวดเล็กน้อย รสชาติจะอ่อนๆ ใช้ดื่มทั่วไป เป็นใบชาที่เหลือจากยอดต้น มีรสชาติอ่อน แต่มีกลิ่นหอมที่ชัดเจน ฝาดเล็กน้อย ส่วนใหญ่ใบชาประเภทนี้เป็นใบแข็ง ไม่ค่อยสมบูรณ์ มีสีน้ำตาลอ่อนออกเหลือง และมีรสชาติขมกว่าเกียวคุโระและเซนฉะ

บังฉะ (番茶)

เมื่อนำบังฉะไปอบด้วยความร้อนในอุณหภูมิที่พอเหมาะ แล้วนวดให้แห้ง จะได้ใบชาหอม สีน้ำตาลแดง เรียกว่า “โฮจิฉะ” นั่นเอง ซึ่งชาบังฉะนี้  มีสารแทนนิน (tannin) มาก แต่มีคาเฟอีนน้อย  อีกเอกลักษณ์โดดเด่นของบังฉะ คือ ดื่มแล้วทำให้รู้สึกสดชื่นในปาก เทคนิคการดื่มก็คือการชงด้วยน้ำร้อนแบบเร็วๆ ให้รสชาติที่ค่อนข้างขมและฝาด เหมาะกับการดื่มเพื่อล้างปากหลังอาหาร ให้ความรู้สึกสดชื่นได้ นอกจากนั้นยังมีฟลูโอไรด์อยู่มากจึงมีผลในการลดแบคทีเรียในช่องปาก ช่วยบรรเทากลิ่นปากด้วย

มาถึงชาประเภทสุดท้าย  คุคิฉะหรือชาที่ทำจากก้านชา (茎茶) มีอีกชื่อหนึ่งว่า Boucha (棒茶) เป็นชาที่เป็นผลพลอยได้มาจากลำต้นและก้านของ ชาเซนฉะ หรือ ชามัทฉะ มีใบชาผสมน้อยมาก มีรสชาติหวานนวลกว่าชาชนิดอื่นๆ เพราะมีสาร L-theanineสูง ซึ่งสารนี้จะพบในลำต้น หรือรากของต้นชานั่นเอง ชาคุคิฉะสามารถชงซ้ำได้หลายครั้ง  และยังสามารถนำไปผสมกับน้ำผลไม้สำหรับเด็กๆ ได้ด้วย ชงในอุณหภูมิน้ำที่ 70-80 องศา จะได้รสชาติที่ดีที่สุด ชาชนิดนี้มีกลิ่นที่หอมมากเมื่อเทียบกับชาชนิดอื่นๆ เมื่อนำไปอบรมควันจึงจะได้ชาโฮจิฉะที่มีความหอมที่เป็นเอกลักษณ์

Boucha (棒茶)

เพียงแค่ชาเปลี่ยนกรรมวิธีในการผลิตและเก็บเกี่ยว ก็สามารถกลายเป็นชารูปแบบต่างๆ ให้คนเลิฟชาได้ลิ้มรสทั้งกลิ่น และรสชาติที่แตกต่างกัน

ที่มา

https://en.wikipedia.org/wiki/H%C5%8Djicha

https://subsc.jp/notes/534

http://www.amazon.com/gp/product/

บทความจาก : Fuwafuwa