เปิดกรุประวัติศาสตร์ ชาเขียวในไทย

การดื่มชาได้เริ่มขึ้นในประเทศจีน คาดว่าไม่น้อยกว่า 2,167 ปีก่อนคริสตกาล ตำนานการเริ่มต้นของการดื่มชามีหลายตำนาน บ้างก็กล่าวว่าจักรพรรดิเสินหนิงของจีน (Shen Nung) ค้นพบวิธีชงชาโดยบังเอิญ เมื่อพระองค์ทรงต้มน้ำดื่มใกล้ๆ กับต้นชา ขณะรอคอยให้น้ำเดือด กิ่งชาได้หล่นลงในหม้อชา สักพักหนึ่งกลิ่นหอมกรุ่นก็โชยออกมา เมื่อพระองค์เอากิ่งชาออกแล้วทรงดื่ม ก็พบว่า มันทำให้สดชื่น การดื่มชาจึงแพร่หลายมากขึ้นในเวลาต่อมา นอกจากทรงค้นพบสรรพคุณของชาแล้ว พระองค์ยังทรงค้นคว้าและทดสอบสมุนไพรชนิดต่างๆ กว่า 200 ชนิด จนได้มีการเผยแพร่ไปยังประเทศต่างๆ ทั้งญี่ปุ่น อินเดีย รวมถึงที่ไทยเอง

matcha history matcha history

ในสมัยสุโขทัยช่วงที่มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับจีน พบว่าได้มีการดื่มชากัน แต่ก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่านำเข้ามาอย่างไร และเมื่อใด แต่จากจดหมายของท่านลาลูแบร์ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้กล่าวไว้ว่า คนไทยได้รู้จักการดื่มน้ำชาแล้ว โดยนิยมชงชาเพื่อรับแขก การดื่มชาของคนไทยสมัยนั้นดื่มแบบชาจีนไม่ใส่น้ำตาล แต่บางตำราก็บอกว่าคนสมัยนั้นจะอมน้ำตาลกรวดใส่ปากก่อน แล้วจิบน้ำชาร้อนๆตาม ระหว่างนั้นเจ้าบ้านก็จะรินน้ำชาใส่ถ้วยให้เรื่อยๆ ถ้าแขกดื่มพอแล้วก็ให้คว่ำถ้วยชาลงเป็นการส่งสัญญาณว่าน้ำตาลในปากละลายหมดเกลี้ยง แต่น้ำชาร้อนก็ไม่ได้เป็นเครื่องดื่มที่นิยมกันทุกบ้านทุกครัวเรือน เพราะคนไทยชอบกินน้ำเย็นดับร้อนอย่างน้ำฝนมากกว่า น้ำชาร้อนจึงจัดเสิร์ฟเฉพาะในจวนข้าราชการหรือถวายพระเท่านั้น แต่ก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัดนักว่าเป็นชาสายพันธุ์ไหน แล้วมีปลูกที่ไทยหรือเป็นเพียงชาที่ทูตใช้ชงดื่มกันในราชสำนัก

หลักฐานที่เห็นได้ชัดอีกประการ คือ ชาที่ปลูกในเมืองไทย เริ่มเมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประภาสยุโรปเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกล่าอาณานิคมจากชาวยุโรป เมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านได้เสด็จประพาสยุโรปโดยเฉพาะที่อังกฤษ ที่นั่นนิยมดื่มชาและ กาแฟ ในสมัยนั้นประเทศอินเดียเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษตั้งแต่สมัย สงครามโลกครั้งที่ 1 ได้เอาสินค้าเกษตรจากประเทศอินเดียมากมาย ชาอินเดียที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ ชาที่รัฐอัสสัม อยู่ที่ศรีลังกา เรียกว่า “ชาอัสสัม” แต่พอมาอยู่ที่ประเทศอังกฤษ ได้มีการเปลี่ยนชื่อจากชาอัสสัมมาเป็นชาซีลอน โดยระหว่างที่รัชกาลที่ 5 เจริญสัมพันธไมตรีอยู่นั้น ก็ได้นำต้นกล้าชาซีลอนจากอังกฤษกลับมาที่เมืองไทยด้วย ชาชนิดนี้จะชอบภูมิศาสตร์ที่เป็นภูเขาสูง และอากาศหนาวเย็น จึงได้ปลูกไว้ที่ดอยสะเก็ด สมัยนั้นเทือกเขาที่ดอยสะเก็ดจะมีภูเขาที่เชื่อมต่อเป็นแนวยาวถึงดอยวาวี ดอยแม่สลองและดอยตุง ปัจจุบันนี้ที่ดอยสะเก็ดและดอยวาวีก็ยังมีต้นชาอัสสัมอยู่ และได้รับการขนานนามใหม่ในการท่องเที่ยวว่า “ต้นชาร้อยปี”

เมื่อเริ่มการเพาะปลูกใบชาอย่างจริงจังทางภาคเหนือของประเทศ ในช่วงที่ปลูกพืชผักชนิดอื่นแทนฝิ่น จึงเริ่มมีการคิดค้นสูตรชาไทย ซึ่งทำจากชาอัสสัม ให้มีรสเข้มข้นถูกปากคนไทยมากขึ้นจนเป็นชาไทย เครื่องดื่มขึ้นชื่อของไทยทุกวันนี้

matcha history

สำหรับการปลูกชาในประเทศไทยนั้น แหล่งกำเนิดเดิมจะอยู่ตามภูเขาทางภาคเหนือของประเทศ โดยจะกระจายอยู่ในหลายจังหวัดแถบภาคเหนือ ที่สำคัญได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน ลำปางและตาก จากข้อมูลของสถาบันชาและกาแฟแห่งมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้มีบันทึกว่า การพัฒนาอุตสาหกรรมชาของประเทศไทย เริ่มขึ้นอย่างจริงจังในปี พ.ศ. 2480 โดย นายประสิทธิ์ และนายประธาน พุ่มชูศรี สองพี่น้องได้ตั้งบริษัท ใบชาตราภูเขา จำกัด และสร้างโรงงานชาขนาดเล็กขึ้นที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โดยรับซื้อใบชาสดจากชาวบ้านที่ทำเมี่ยงอยู่แล้ว แต่ปรากฏว่าพบปัญหาอุปสรรคหลายประการ เช่น ใบชาสดมีคุณภาพต่ำ ปริมาณไม่เพียงพอ ชาวบ้านขาดความรู้ความชำนาญในการเก็บเกี่ยวยอดชาและการตัดแต่งกิ่งชา จึงได้นำผู้เชี่ยวชาญทางด้านชาชาวฮกเกี้ยนมาจากประเทศจีน เพื่อมาถ่ายทอดความรู้ให้กับคนไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2482 สองพี่น้องตระกูลพุ่มชูศรี ได้แก้ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ โดยเริ่มปลูกสวนชาเป็นของตนเอง ใช้เมล็ดพันธุ์ชาพื้นเมืองมาเพาะ ที่อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ในเนื้อที่ประมาณ 100 ไร่และต่อมาได้ขยายพื้นที่ปลูกมาที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ในช่วงนั้นเองภาครัฐได้มีการนำชาพันธุ์ดีมาจากประเทศอินเดีย ไต้หวัน และญี่ปุ่นมาทดลองปลูก เพื่อทำการค้นคว้าและวิจัยต่อไป

ในปี พ.ศ. 2508 ได้ส่งเสริมการผลิตมากขึ้น โดยขอสัมปทานทำสวนชาจากกรมป่าไม้จำนวน 2,000 ไร่ ที่บ้านบางห้วยตาก ตำบลอินทขิน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ชาที่ผลิตได้ส่วนใหญ่จะเป็นชาฝรั่ง ต่อมาเอกชนเริ่มให้ความสนใจอุตสาหกรรมการผลิตชามากขึ้นโดยในปี พ.ศ. 2530 บริษัทชาระมิงค์ได้ขยายสัมปทานสวนชา ให้แก่บริษัทชาสยาม จากนั้นชาสยามได้เริ่มส่งเสริมให้เกษตรกรที่ปลูกไร่ในบริเวณใกล้เคียงปลูกสวนชาแบบใหม่ และรับซื้อใบชาสด จากเกษตรกรนำมาผลิตชาฝรั่งนามชาลิปตัน จนกระทั่งปัจจุบันนี้

matcha history

ส่วนชาเขียวนั้นแม้ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดว่าเข้ามาในไทยช่วงสมัยไหน แต่มีารคาดการณ์ว่าเข้ามาในช่วงที่มีการทดลองปลูกที่ภาคเหนือ และเริ่มแพร่หลายชัดขึ้นในช่วงที่ไทยรับวัฒนธรรมญี่ปุ่นเข้ามา และเริ่มปลูกอยู่ทางภาคเหนือ ซึ่งก่อนที่จะมีการรับวัฒนธรรมการดื่มชาแบบญี่ปุ่น คือแบบเป็นผงมัทฉะมาตีกับฉะเซนนั้น ชาเขียวในไทยมี 2 ประเภท

  1. ชาเขียวแบบญี่ปุ่น ชาเขียวแบบญี่ปุ่นไม่ต้องคั่วใบชา ชาเขียวมีสารอาหารพวกโปรตีนน้ำตาลเล็กน้อย และมีวิตามินอีสูง
  2. ชาเขียวแบบจีน ชาเขียวแบบจีนจะมีการคั่วด้วยกะทะร้อนนั่นเอง

หากถอยกลับไปชาเขียวญี่ปุ่นก็ได้รับอิทธิพลมาจากจีนเช่นกันราวต้นสมัยเฮอัน โดยเผยแพร่ผ่านทางนักบวชญี่ปุ่นที่ได้เดินทางไปเป็นทูตเรียนรู้เรื่องต่างๆจากประเทศจีนรวมทั้งการศึกษาตัวยาสมุนไพรจากจีนอีกด้วย เมื่อพระ ได้ชงชาใส่ถ้วยนำมาถวายองค์จักรพรรดิได้ดื่มชาก็เกิดความประทับใจในรสชาติ จึงสั่งให้นำเมล็ดชาไปปลูกที่สวนสมุนไพรภายในบริเวณราชวัง ชาจึงได้แพร่หลายไปในแถบภูมิภาคคิงคิ (เกียวโต) แต่ความนิยมยังคงมีอยู่แต่ในเฉพาะกลุ่มชนชั้นสูงเท่านั้น

ต่อมาในช่วงตอนต้นสมัยคามาคุระ นักบวช Eisai ในพุทธศาสนาเซน ได้นำเมล็ดชามาจากจีนเป็นจำนวนมากพร้อมกับกรรมวิธีการผลิตชากลับมาด้วย นั่นก็คือการดื่มชาในสไตล์ Matcha นั่นเอง ได้มีการส่งเสริมการเพาะปลูกชาเพื่อใช้เป็นสมุนไพรให้แพร่หลายมากขึ้น และมีประโยคหนึ่งในหนังสือที่ท่านได้เขียนไว้ว่า “ชาเป็นพื้นฐานทางจิตใจและเป็นเครื่องมือแพทย์ที่ดีที่สุด ทำให้ชีวิตถูกเติมเต็มและมีความสมบูรณ์มากขึ้น”จากนั้นก็เริ่มมีการค้นคว้าสรรพคุณของชามากขึ้นอีกด้วย

ในสมัยมุโระมาจิ เริ่มมีพิธีชงชาในแบบฉบับดั้งเดิมของญี่ปุ่นแล้ว เริ่มมีการลงรายละเอียดในภาชนะที่ใช้ในพิธีชงชา รวมไปถึงการเสิร์ฟชาเขียวในร้านอาหารอีกด้วย การดื่มชายังเป็นที่นิยมในงานพบปะสังสรรค์ของชนชั้นนักรบมากขึ้น แต่เป็นการดื่มชาเพื่อเล่นเกมทายปัญหาต่างๆ เพื่อชิงรางวัลเป็นเหล้าสาเก และมีการร้องเล่นเต้นรำไปด้วย ต่อมานักบวชเซน Shuko Murata ไม่เห็นด้วยกับการดื่มชาเพื่อความสนุกสนานเช่นนั้น เขาคิดว่าโลกแห่งความเรียบง่ายของเซนนั้นมีแนวคิดแตกต่างออกไปในการดื่มชา การดื่มชาด้วยความเรียบง่ายและมีสมาธิในแบบของเซนจะช่วยให้จิตใจสามารถพัฒนา ขึ้นได้อย่างสมบูรณ์ นักบวชจึงออกแบบห้องพิธีชงชาขนาดเล็ก เพื่อใช้สนับสนุนการชงชาตามอุดมคติของนักบวช Eisai และในขณะที่ชงชานั้นก็ได้ผสมผสานจิตวิญญาณของพุทธศาสนานิกายเซนไปด้วย

ต่อมาในสมัยยุคเมจิ การผลิตชามีมากขึ้น มีหนังสือเทคนิคการผลิตต่างๆ ออกมาอย่างแพร่หลาย เริ่มมีเครื่องจักรเข้ามาช่วยในกระบวนการผลิต และเริ่มมีการส่งออกชาไปยังต่างประเทศแล้ว และปริมาณการส่งออกยังมากเป็นอันดับสองรองจากประเทศจีนอีกด้วย แม้การส่งออกจะกระท่อนกระแท่นไปบ้างในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เพราะตอนนั้นชาดำเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นในต่างประเทศ แต่ไม่นานในศตวรรษที่ 20 ชาเขียวก็ได้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของผู้คนทั้งประเทศญี่ปุ่นและ แพร่หลายออกมาทั่วโลกอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันนั่นเอง

matcha history

ที่มา

http://photography.nationalgeographic.com

http://web2.mfu.ac.th/other/teainstitute/?p=291&lang=th

บทความจาก : Fuwafuwa

MATCHA MOONCAKE เมนูพิเศษรับเทศกาลไหว้พระจันทร์

เทศกาลไหว้พระจันทร์ของแต่ละประเทศก็มีธรรมเนียมที่ไม่เหมือนกัน อย่างที่ญี่ปุ่น แม้จะได้รับอิทธิพลมาจากประเทศจีน แต่ขนมที่ใช้ไหว้ในช่วงเทศกาลนี้กลับแแตกต่างกันออกไป ไม่ได้มีหน้าตาเหมือนชนมไหว้พระจันทร์ที่เราคุ้นเคยเพราะคนญี่ปุ่น มีความเชื่อกิดขึ้นเมื่อมีขุนนางเป็นผู้ที่นำเข้ามาในช่วงสมัยนาระ-สมัยเฮอัน ในวันขึ้น 15 ค่ำ พลังงานที่มาจากดวงจันทร์จะมีสิ่งลี้ลับที่จะสามารถให้พรที่ขอนั้นเป็นจริงขึ้นมาได้ (บางครั้งคนญี่ปุ่นจะจินตนาการเห็นเงาบนพื้นผิวพระจันทร์นั้นเป็นรูปร่างคล้ายกระต่ายที่กำลังตำขนมโมจิ) โดยส่วนใหญ่ชาวนามักจะไหว้เพื่อแสดงการขอบคุณหลังจากที่ได้เก็บเกี่ยวพืชผลที่อุดมสมบูรณ์ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง โดยส่วนใหญ่ชาวนามักจะขอพรจากดวงจันทร์ให้เก็บเกี่ยวได้ผลผลิตที่ดี พืชผลอุดมสมบูรณ์ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงและเพื่อขอพรให้ได้พืชผลที่ดีในปีต่อๆไป

mooncake mooncake

วันนั้นผู้คนจะเฉลิมฉลองด้วยการเตรียมอาหารประจำฤดูใบไม้ร่วงในการบวงสรวงพระจันทร์ คือขนมไหว้พระจันทร์ซึกิมิ ดังโงะ (月見 団子tsukimi dango)ขนมที่ทำจากแป้งข้าวเจ้าและน้ำตาล นำไปนึ่งพร้อมปั้นเป็นลูกกลมๆ ส่วนมากก็จะปั้นโมจิทรงกลมทั้งหมด 12 ลูกตาม 12เดือนในหนึ่งปี หรือ 15ลูกตามคำเรียก “คืนที่สิบห้า” ซึ่งดังโงะแต่ละพื้นที่ก็มีหน้าตาแตกต่างกันออกไป และขนมสมัยใหม่ ก็มีการดัดแปลงเอาโยคัง หรือเนริกิริมาปั้นให้เป็นรูปร่างกระต่ายมากขึ้น เพื่อให้เข้ากับเทศกาล

mooncake

อย่างไรก็ตามในไทยยึดความเชื่อตามแบบจีนแท้ๆ ที่มีการใช้ขนมไหว้พระจันทร์ หลากหลายไส้ อย่างไส้ยอดนิยมหรือไส้ดั้งเดิมจะเป็น ไส้ทุเรียน , ไส้ลูกบัว เป็นต้น แต่เดี๋ยวนี้มีไส้แปลกใหม่ เช่น ไส้ช็อกโกแลต, ไส้ชาเขียว, ไส้คัสตาร์ด และอีกมากมาย แน่นอนว่าไส้ต่างๆของขนมไหว้พระจันทร์ช่วยสร้างความตื่นเต้นแปลกใหม่ให้กับช่วงเทศกาลเป็นอย่างยิ่ง นอกจากไส้ขนมที่มีมากขึ้นแล้ว หลากหลายร้านก็ยังเพิ่มเติมความแปลกใหม่ให้กับตัวแป้งขนมไหว้พระจันทร์ด้วย ถ้าเป็นขนมไหว้พระจันทร์ต้นตำรับก็ต้องเป็น “แป้งอบ”แต่เดี๋ยวนี้ก็จะมีแป้งขนมไหว้พระจันทร์แบบไม่อบหรือที่หลายคนเรียกว่า “แป้งบัวหิมะ”มาช่วยเพิ่มสีสันด้วย เพราะในแป้งแบบไม่อบนี้สามารถเติมสีสันได้ตามต้องการ ส่วนมากจะนำมาห่อไส้สมัยใหม่หรือไส้ที่ต้องกินแบบเย็นๆ

mooncake mooncake mooncake

แป้งขนมไหว้พระจันทร์แบบอบไม่มีอะไรที่ซับซ้อนนัก เพียงผสมส่วนผสมเข้าด้วยกันแล้วนวดจนเนียนเข้ากันดี จึงนำไปห่อไส้ขนมไหว้พระจันทร์ที่เตรียมไว้ กดใส่พิมพ์ เคาะออกมา แล้วนำไปอบให้สุกตามสูตรก็เป็นอันเสร็จ ซึ่งวิธีทำแต่ละร้านก็จะแตกต่างกันออกไป ส่วนใหญ่ขนมไหว้พระจันทร์แบบอบจะทำเป็นสอดไส้ชาเขียวผสมเม็ดบัว หรือเกาลัด เพื่อให้ได้กลิ่นอายความเป็นญี่ปุ่น และความกลมกล่อมของชาเขียวที่เข้ากันกับเกาลัด นอกจากทำเป็นไส้ขนมได้แล้วยังสามารถเอามาผสมกับแป้งเพื่อทำให้สีแป้งเป็นสีชาเขียวได้เช่นกัน

mooncake

แป้งขนมไหว้พระจันทร์แบบอบให้เป็นสีชาเขียว

1.แป้งสาลี 130 กรัม

2.น้ำมันถั่วลิสง 15 กรัม

3.น้ำเชื่อม 65 กรัม

4.ผงมัทฉะ 8 กรัม ขึ้นอยู่กับว่าอยากได้แป้งสีเข้มอ่อนแค่ไหน

ขั้นตอนการทำ

  1. การเตรียมแป้ง ผงมัทฉะ ผสมน้ำมันถั่วลิสงและน้ำเชื่อมเข้าด้วยกัน จากนั้นเทแป้งสาลีลงบนโต๊ะแล้วเปิดพื้นที่ว่างเป็นวงตรงกลางแป้ง จากนั้นเทส่วนผสมของน้ำมันถั่งลิสงที่ผสมแล้วลงไปในตรงกลางแล้วผสมให้เข้ากัน นวดจนเนียนเป็นเนื้อเดียวกัน ตัดแบ่งเป็นชิ้นชิ้นละ 12 กรัม (ปรับขนาดได้ตามต้องการ)
  2. การเตรียมไส้ขนม 50 กรัม ห่อไข่เค็มหั่นครึ่ง 1 ชิ้น โดยวางไข่เค็มไว้ตรงกลาง
  3. การเตรียมขนม กดตัวแป้งให้แบนแล้วจึงใส่ไส้ลงไปและเป็นก้อนกลม เมื่อปั้นเสร็จแล้วให้โรยแป้งบนพิมพ์ขนมเล็กน้อย แล้วจึงใส่ตัวขนมลงไป กดขนมให้แน่น จากนั้นเคาะออกจากพิมพ์แล้ววางบนถาดอบ
  4. การอบ นำขนมเข้าอบในเตาที่ปรับอุณหภูมิไว้แล้ว ที่ไฟบน 230 องศาและไฟล่าง 200 องศา เป็นเวลา 10 นาที จากนั้นนำออกมาและทาผิวขนมด้านบนด้วยไข่ ก่อนจะเอาเข้าไปอบต่ออีก 10 นาทีก็เป็นอันเสร็จ

ต่อกันด้วย ขนมไหว้พระจันทร์แบบแป้งไม่อบเมื่อไม่ต้องนำไปอบให้สุกอีกครั้งหนึ่ง จึงต้องทำแป้งให้สุกก่อนนำไปห่อไส้ขนมไหว้พระจันทร์ที่เตรียมไว้ แป้งขนมแบบนี้จริงๆ แล้วมีอยู่มากมายหลายสูตร หากใครเคยกิน “แป้งบัวหิมะ – Snow Skin” ของหลายๆ ร้านก็จะรู้ว่าแต่ละเจ้ามีกลิ่นและรสชาติที่ค่อนข้างแตกต่างกัน ส่วนมากแล้วขนมไหว้พระจันทร์แบบแป้งไม่อบจะกินแบบเย็น หากนำไปแช่ตู้เย็นแล้วแข็งเกินไป เพียงนำออกมาวางข้างนอกให้คลายความเย็นลงก็กินได้เลย ซึ่งขนมไหว้พระจันทร์แบบนี้จะสามารถใส่ผงมัทฉะเข้าไปในระหว่างผสมแป้งได้ เพื่อให้ได้แป้งรสชาเขียว สีสวยสดใสตามที่ต้องการ หรือถ้าใครครีเอทไปอีก อยากจะลองใส่ผงชาโฮจิฉะลงไป ก็น่าสนใจไม่น้อย

mooncake

แป้งขนมไหว้พระจันทร์แบบไม่อบ

  1. แป้งข้าวเหนียว 50 กรัม
  2. แป้งข้าวเจ้า 50 กรัม
  3. แป้งสาลีอเนกประสงค์ 40 กรัม
  4. น้ำตาลทราย 70 กรัม
  5. นมสด 200 กรัม
  6. นมข้นหวาน 40 กรัม
  7. น้ำมันพืช 40 กรัม
  8. ผงมัทฉะ 5 กรัม

ขั้นตอนการทำ

  1. ผสมส่วนผสมทั้งหมดเข้าด้วยกัน นำไปนึ่งด้วยไฟกลาง ประมาณ 20-30 นาที (ระยะเวลาขึ้นอยู่กับขนาดภาชนะ)
  2. เมื่อนึ่งส่วนผสมเสร็จแล้ว นำออกมาพักไว้ให้พออุ่น แล้วจึงนำแป้งมานวดให้เนียน
  3. ส่วนไส้ ก็สามารถใส่ได้หลายแบบ หลังจากที่นำแป้งไปห่อไส้แล้ว กดปั้นกลม แล้วนำไปกดด้วยพิมพ์ขนมไหว้พระจันทร์ตามชอบเป็นอันเสร็จเรียบร้อย

ไอเดียเมนูใหม่ ที่ร้านขนมหลายร้านอาจจะนึกไม่ถึง ให้ช่วงเทศกาลพิเศษ มีขนมแบบใหม่ๆออกมา เพื่อเรียกลูกค้าทั้งลูกค้าเก่าและใหม่ ยิ่งถ้าได้แพคเกจดีๆสวยๆ ทั้งแบบชิ้นเดี่ยว หรือซื้อเป็นชุด ยิ่งเพิ่มมูลค่าให้กับขนมไหว้พระจันทร์ สร้างความประทับใจให้ผู้รับแน่นอน

mooncake

ที่มา

https://www.huangkitchen.com/matcha-green-tea-snowskin-mooncake/

https://songdaygivral.hatenablog.com/entry/cac_loai_banh_trung_thu_givral

https://mobile.twitter.com/mo_hotels/status/500360064214241280

Pumpkin Snowskin Mooncakes 南瓜冰皮月饼

https://goodyfoodies.blogspot.com/2013/09/recipe-homemade-snowskin-mooncakes-with.html

บทความจาก : Fuwafuwa