เปิดกรุประวัติศาสตร์ ชาเขียวในไทย
|

เปิดกรุประวัติศาสตร์ ชาเขียวในไทย

การดื่มชาได้เริ่มขึ้นในประเทศจีน คาดว่าไม่น้อยกว่า 2,167 ปีก่อนคริสตกาล ตำนานการเริ่มต้นของการดื่มชามีหลายตำนาน บ้างก็กล่าวว่าจักรพรรดิเสินหนิงของจีน (Shen Nung) ค้นพบวิธีชงชาโดยบังเอิญ เมื่อพระองค์ทรงต้มน้ำดื่มใกล้ๆ กับต้นชา ขณะรอคอยให้น้ำเดือด กิ่งชาได้หล่นลงในหม้อชา สักพักหนึ่งกลิ่นหอมกรุ่นก็โชยออกมา เมื่อพระองค์เอากิ่งชาออกแล้วทรงดื่ม ก็พบว่า มันทำให้สดชื่น การดื่มชาจึงแพร่หลายมากขึ้นในเวลาต่อมา นอกจากทรงค้นพบสรรพคุณของชาแล้ว พระองค์ยังทรงค้นคว้าและทดสอบสมุนไพรชนิดต่างๆ กว่า 200 ชนิด จนได้มีการเผยแพร่ไปยังประเทศต่างๆ ทั้งญี่ปุ่น อินเดีย รวมถึงที่ไทยเอง ในสมัยสุโขทัยช่วงที่มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับจีน พบว่าได้มีการดื่มชากัน แต่ก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่านำเข้ามาอย่างไร และเมื่อใด แต่จากจดหมายของท่านลาลูแบร์ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้กล่าวไว้ว่า คนไทยได้รู้จักการดื่มน้ำชาแล้ว โดยนิยมชงชาเพื่อรับแขก การดื่มชาของคนไทยสมัยนั้นดื่มแบบชาจีนไม่ใส่น้ำตาล แต่บางตำราก็บอกว่าคนสมัยนั้นจะอมน้ำตาลกรวดใส่ปากก่อน แล้วจิบน้ำชาร้อนๆตาม ระหว่างนั้นเจ้าบ้านก็จะรินน้ำชาใส่ถ้วยให้เรื่อยๆ ถ้าแขกดื่มพอแล้วก็ให้คว่ำถ้วยชาลงเป็นการส่งสัญญาณว่าน้ำตาลในปากละลายหมดเกลี้ยง แต่น้ำชาร้อนก็ไม่ได้เป็นเครื่องดื่มที่นิยมกันทุกบ้านทุกครัวเรือน เพราะคนไทยชอบกินน้ำเย็นดับร้อนอย่างน้ำฝนมากกว่า น้ำชาร้อนจึงจัดเสิร์ฟเฉพาะในจวนข้าราชการหรือถวายพระเท่านั้น แต่ก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัดนักว่าเป็นชาสายพันธุ์ไหน แล้วมีปลูกที่ไทยหรือเป็นเพียงชาที่ทูตใช้ชงดื่มกันในราชสำนัก หลักฐานที่เห็นได้ชัดอีกประการ คือ ชาที่ปลูกในเมืองไทย เริ่มเมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประภาสยุโรปเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกล่าอาณานิคมจากชาวยุโรป เมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านได้เสด็จประพาสยุโรปโดยเฉพาะที่อังกฤษ ที่นั่นนิยมดื่มชาและ…

MATCHA MOONCAKE เมนูพิเศษรับเทศกาลไหว้พระจันทร์
|

MATCHA MOONCAKE เมนูพิเศษรับเทศกาลไหว้พระจันทร์

เทศกาลไหว้พระจันทร์ของแต่ละประเทศก็มีธรรมเนียมที่ไม่เหมือนกัน อย่างที่ญี่ปุ่น แม้จะได้รับอิทธิพลมาจากประเทศจีน แต่ขนมที่ใช้ไหว้ในช่วงเทศกาลนี้กลับแแตกต่างกันออกไป ไม่ได้มีหน้าตาเหมือนชนมไหว้พระจันทร์ที่เราคุ้นเคยเพราะคนญี่ปุ่น มีความเชื่อกิดขึ้นเมื่อมีขุนนางเป็นผู้ที่นำเข้ามาในช่วงสมัยนาระ-สมัยเฮอัน ในวันขึ้น 15 ค่ำ พลังงานที่มาจากดวงจันทร์จะมีสิ่งลี้ลับที่จะสามารถให้พรที่ขอนั้นเป็นจริงขึ้นมาได้ (บางครั้งคนญี่ปุ่นจะจินตนาการเห็นเงาบนพื้นผิวพระจันทร์นั้นเป็นรูปร่างคล้ายกระต่ายที่กำลังตำขนมโมจิ) โดยส่วนใหญ่ชาวนามักจะไหว้เพื่อแสดงการขอบคุณหลังจากที่ได้เก็บเกี่ยวพืชผลที่อุดมสมบูรณ์ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง โดยส่วนใหญ่ชาวนามักจะขอพรจากดวงจันทร์ให้เก็บเกี่ยวได้ผลผลิตที่ดี พืชผลอุดมสมบูรณ์ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงและเพื่อขอพรให้ได้พืชผลที่ดีในปีต่อๆไป วันนั้นผู้คนจะเฉลิมฉลองด้วยการเตรียมอาหารประจำฤดูใบไม้ร่วงในการบวงสรวงพระจันทร์ คือขนมไหว้พระจันทร์ซึกิมิ ดังโงะ (月見 団子tsukimi dango)ขนมที่ทำจากแป้งข้าวเจ้าและน้ำตาล นำไปนึ่งพร้อมปั้นเป็นลูกกลมๆ ส่วนมากก็จะปั้นโมจิทรงกลมทั้งหมด 12 ลูกตาม 12เดือนในหนึ่งปี หรือ 15ลูกตามคำเรียก “คืนที่สิบห้า” ซึ่งดังโงะแต่ละพื้นที่ก็มีหน้าตาแตกต่างกันออกไป และขนมสมัยใหม่ ก็มีการดัดแปลงเอาโยคัง หรือเนริกิริมาปั้นให้เป็นรูปร่างกระต่ายมากขึ้น เพื่อให้เข้ากับเทศกาล อย่างไรก็ตามในไทยยึดความเชื่อตามแบบจีนแท้ๆ ที่มีการใช้ขนมไหว้พระจันทร์ หลากหลายไส้ อย่างไส้ยอดนิยมหรือไส้ดั้งเดิมจะเป็น ไส้ทุเรียน , ไส้ลูกบัว เป็นต้น แต่เดี๋ยวนี้มีไส้แปลกใหม่ เช่น ไส้ช็อกโกแลต, ไส้ชาเขียว, ไส้คัสตาร์ด และอีกมากมาย แน่นอนว่าไส้ต่างๆของขนมไหว้พระจันทร์ช่วยสร้างความตื่นเต้นแปลกใหม่ให้กับช่วงเทศกาลเป็นอย่างยิ่ง นอกจากไส้ขนมที่มีมากขึ้นแล้ว หลากหลายร้านก็ยังเพิ่มเติมความแปลกใหม่ให้กับตัวแป้งขนมไหว้พระจันทร์ด้วย ถ้าเป็นขนมไหว้พระจันทร์ต้นตำรับก็ต้องเป็น “แป้งอบ”แต่เดี๋ยวนี้ก็จะมีแป้งขนมไหว้พระจันทร์แบบไม่อบหรือที่หลายคนเรียกว่า “แป้งบัวหิมะ”มาช่วยเพิ่มสีสันด้วย เพราะในแป้งแบบไม่อบนี้สามารถเติมสีสันได้ตามต้องการ ส่วนมากจะนำมาห่อไส้สมัยใหม่หรือไส้ที่ต้องกินแบบเย็นๆ แป้งขนมไหว้พระจันทร์แบบอบไม่มีอะไรที่ซับซ้อนนัก…