เพิ่มสีสันในร้านชาด้วยไอเดีย Workshop เก๋ๆ

เปิดร้านคาเฟ่ขายอาหาร ขนม เครื่องดื่มอย่าางเดียวยุคนี้อาจจะไม่เพียงพอ คู่แข่งที่มากขึ้น บางทีก็อาจจะรู้สึกว่าร้านเงียบๆไป จัดโปรโมชั่นอย่างเดียวก็ไม่เพียงพอ การจัดกิจกรรม workshopเล็กๆในร้าน เป็นอีกไอเดีย ที่สร้างสีสันและบรรยากาศในร้านให้แปลกใหม่ขึ้น นอกจากจะช่วยสร้างประสบการณ์ให้กลุ่มลูกค้าแล้ว ยังเป็นการเพิ่มกลุ่มลูกค้าใหม่ที่อาจจะไม่เคยมาที่ร้าน แต่ชื่นชอบการ workshop ให้มาร่วมสนุกที่ร้านอีกทางหนึ่ง

5 ไอเดียกิจกรรม workshop เก๋ๆ ที่จัดได้ง่ายๆภายในร้าน ได้แก่

1.การจัด workshop ชงชาสไตล์ญี่ปุ่น ควบคู่ไปกับการทำขนมวากาชิเพราะเป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมชงชาญี่ปุ่นที่ไม่เหมือนการทำขนมเบเกอรี่ ผู้ที่ชื่นชอบการทำขนมหลายคนจึงอยากลองมาเปิดประสบการณ์การทำขนมวากาชิ ที่ต้องใช้ถั่วขาวและความประณีตในการดีไซน์ขนมขึ้นมา รวมถึงการชงชาแบบญี่ปุ่นแบบเต็มรูปแบบที่คนรักการดื่มชาเขียวจะรู้สึกว่าอยากมีประสบการณ์การได้จับฉะเซ็นตีชาเขียวแก้วโปรดของคุณด้วยตัวเอง ซึ่งในระหว่างการ workshop สามารถสอดแทรกเกร็ดความรู้เรื่องชาเขียว เช่น ประโยชน์ของชา ปรัชญาการใช้ชีวิตที่ได้จากการชงชา เป็นต้น

workshop workshop

2.การทำ Tea tasting ให้คนรักชามาอินๆฟินๆกัน ไอเดียนี้เหมาะกับร้านที่มีเครื่องดื่มประเภทชาหลายแบบทั้งชาเขียว ชาโฮจิฉะ ชาเก็นไมฉะ หรือแม้กระทั่งร้านที่มีชาเขียวที่มีความเข้มข้นที่แตกต่างกัน นำชาแต่ละชนิดมาชงให้ชิมและดมกลิ่น เพื่อให้ฝึกสังเกตความแตกต่างของรสชาเนื่องจากสภาพภูมิอากาศภูมิประเทศกระบวนการผลิตชาแต่ละชนิดที่แตกต่างกัน เลยให้รสสัมผัสที่ต่างกัน การฝึกลิ้มรสและมีการให้เกร็ดความรู้กับลูกค้าในแต่ละประเภทชา เป็นกิจกรรมที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนรักชาตัวจริง อาจจะดูวิชาการไปหน่อย แต่ถ้าที่ร้านสร้างบรรยากาศให้ดูผ่อนคลาย และให้ข้อมูลแต่ละประเภทชาที่ชัดเจน จะยิ่งแสดงให้เห็นว่าร้านเรา specialist ด้านชาตัวจริง

workshop workshop

3.การทำขนมจากชาเขียว กิจกรรมนี้ทำได้ง่ายมากๆ ไม่ต้องมีความเชี่ยวชาญเจาะลึกเหมือนกิจกรรมอื่น เพียงแค่ร้านคุณมีเบเกอรี่ ที่ทำจากชาเขียว ก็สามารถเปิด Workshop เล็กๆ ให้กับคนที่อยากลองเข้าครัวเปิดเตาทำขนม แต่ไม่รู้จะเริ่มยังไงได้มีโอกาสได้ลองทำขนมจากชาเขียวที่ชื่นชอบโดยมีร้านคุณคอยให้คำแนะนำตลอด อาจจัดให้แต่ละสัปดาห์ เมนูขนมจากชาเขียว หรือชาโฮจิฉะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เพื่อดึงกลุ่มฐานลูกค้าที่ติดใจวนกลับมาทำได้อีกไม่ซ้ำเมนู เช่น ทำไอศครีมชาเขียว คุ้กกี้ชาเขียว พุดดิ้งชาโฮจิฉะ เป็นต้น

workshop

4.การห่อผ้าฟุโระชิกิสไตล์ญี่ปุ่นสำหรับการมอบผงชาเป็นของขวัญอีเว้นต์นี้จะเหมาะอย่างยิ่งในช่วงเทศกาลอย่างวาเลนไทน์ วันพ่อ วันแม่ และช่วงคริสต์มาสต์ ปีใหม่ ช่วงที่ทุกคนส่งมอบของขวัญให้แก่กัน ให้ลูกค้าของคุณมาอินกับวัฒนธรรมญี่ปุ่น ด้วยการห่อของขวัญที่ซื้อมา หรือจะเป็นซื้อชุดผงชาของที่ร้าน มาจัดแพคเกจรักษ์โลก ไม่ใช้ถุงพลาสติก ด้วยผ้าเก๋ๆ อาจจะทำเป็นมีผ้าหลายลวดลายให้ลูกค้าเลือกตามบุคลิคของผู้รับ

workshop

5.การเพ้นถ้วยชา หรือการทำคินสึงิกิจกรรมสำหรับสายอาร์ต ที่เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น ด้วยปรัชญาที่ได้จากถ้วยชาพวกนี้ได้เริ่มเป็นกระแสมากขึ้น แน่นอนว่าถ้วยชา เป็นภาชนะคู่ใจของคนเลิฟชา หากได้ลองเพ้นลวดลาย หรือรู้จักการทำเทคนิคลงรักเชื่อมถ้วยชาที่แตกได้เอง จะยิ่งทำให้อินกับการดื่มชามากขึ้นแน่นอน

workshop

ลูกค้าที่สนใจมาร่วมกิจกรรมเหล่านี้ ทางร้านสามารถตั้งเงื่อนไขได้หลายแบบเลย เช่น

  • ต้องซื้อสินค้าภายในร้านก่อน เพื่อรับสิทธิ์ workshop ในราคาที่ถูกลง หรือ
  • เข้าร่วมฟรีได้เลย หากมียอดซื้อถึง XX บาท

ในทางกลับกัน อาจจะทำส่วนลดพิเศษให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคน หลังเสร็จการ workshop เพื่อเทิร์นลูกค้ากลุ่มนี้ให้กลายมาเป็นลูกค้าหน้าร้านได้ด้วยโปรโมชั่นที่ทางร้านตั้งขึ้นนั่นเอง

ที่มา

http://moichizen.exblog.jp/5313611/

http://evergreenhostel.com

http://www.boredpanda.com/flower-14/

บทความจาก : Fuwafuwa

4 เหตุผลของการตีชาเขียวแล้วไม่เกิดฟอง

ปกติของการชงชาเขียวด้วยผงชาเขียวนั้น จะมีการใช้ฉะเซ็น หรือ ที่ตีฟองนมช่วยในการตีชาให้ละลายไปกับน้ำ บางครั้งตีผงชาด้วยอุปกรณ์และเทคนิคแบบเดิม กลับได้ผลลัพธ์ที่ไม่เหมือนเดิม ผงชาอาจจะไม่ละลาย ตีแล้วไม่ขึ้นฟองที่สวยงาม ทำให้เวลาถ่ายภาพเมนูอาหารไม่น่าทาน สาเหตุเกิดจากอะไรนั้น ลองมาสังเกตไปพร้อมๆกัน

Matcha Frothy

1. ไม่ได้กรองชาเขียวก่อนตีโดยทั่วไปแล้วผงมัทฉะไม่จำเป็นต้องผ่านการร่อน แต่ถ้าต้องการให้เกิดฟองที่สวยงามในตอนตี ควรจะผ่านการร่อนสักรอบเหมือนก่อนที่เราจะนำแป้งมาใช้ทำขนม เพาะ ผงชา และแป้งพวกนี้เมื่อถูกเก็บอยู่ในภาชนะนานๆ อาจเกิดการจับตัวเป็นก้อนได้อีกครั้ง การร่อนก่อนที่จะตีจะช่วยให้คุณได้เครื่องดื่มชาเขียวที่นุ่มขึ้น และยังทำให้ได้ฟองเป็นชั้นๆสวยงาม

2.ปริมาณน้ำกับชาไม่ได้สัดส่วนกัน  หากใส่น้ำในปริมาณที่มากเกินไปฟองมัทฉะก็ทำได้ยาก และอาจจะได้ฟองอากาศขนาดใหญ่จำนวนมากซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่ต้องการ เพราะการชงมัทฉะที่สวยงามน่าทานจะต้องเป็นฟองน้อยๆ หากใส่ผงมัทฉะในปริมาณที่มากเกินไปคุณจะได้ชาเขียวที่เข้มข้นมาก ๆ แต่มักจะเกิดกรณีที่เมื่อใช้ผงมัทฉะมากขึ้นเพื่อรสชาติที่เข้มขึ้น แต่ปริมาณของเหลว คือ น้ำ อยู่ในเรทเท่าเดิม ซึ่งไม่เพียงพอต่อการทำละลายของผงมัทฉะ จึงเป็นเรื่องยาก โดยปกติแล้วปริมาณความเข้มข้นของชาจะขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน แต่อัตราส่วนทั่วไปในการตีผงชามัทฉะคือ ไม้ไผ่ 2 ช้อน (หรือ 1 ช้อนชา) ต่อน้ำ 2-3 ออนซ์ หากต้องการปรับระดับความเข้นข้นเอง อย่าลืมที่จะเติมน้ำมากขึ้นตามระดับที่สามารถทำละลายผงชาได้

Matcha Frothy

3. อุณหภูมิของน้ำต่ำลงเกินไปหากน้ำเย็นเกินไปการพักมัทฉะในน้ำจะเป็นเรื่องยาก ซึ่งจะส่งผลให้มีการจับตัวเป็นก้อนมากกว่าฟอง อุณหภูมิของน้ำขึ้นไม่ได้มีสูตรบังคับตายตัว เพียงแต่มีคำแนะนำ เพื่อรสชาติที่ดีท่สุดเท่านั้นตามแบบฉบับของแต่ละร้านว่าควรใช้อุณหภูมิที่เท่าไหร่ ซึ่งแน่นอนว่า การใช้น้ำร้อนเกินไปก็ไม่ได้ทำให้การตีผงชาละลายได้ดีที่สุด แต่ถ้าอุณหภูมิของน้ำ ต่ำมากเกินไป ก็จะทำให้การละลายชาไม่ดีเท่าที่ควร อุณภูมิ 85 องศาเซลเซียส จึงเป็ฯอุณภูมิที่พอเหมาะที่สุดนั่นเอง

Matcha Frothy Matcha Frothy

4.ชาเขียวที่ใช้เป็นชาเขียวที่เสื่อมคุณภาพแล้วหากผงมัทฉะเป็นผงชาที่อยู่ในเกรดธรรมดาคุณภาพไม่สูงคุณนัก หรือเป็นชาที่ถูกเก็บไว้นานเกินด้วยวิธีการเก็บที่ผิดวิธี แม้จะสามารถตีต่อไปได้เรื่อยๆและดื่มได้ตามปกติ แต่ฟองมัทฉะที่สมบูรณ์แบบจะไม่ปรากฏให้เห็นเท่านั้น เพราะผงมัทฉะคุณภาพต่ำจะตีฟองได้ยาก แม้จะมีฟองอากาศอยู่บ้าง แต่จะไม่เป็นชั้นเรียบ มีโอกาสที่ของเหลวจะถูกเปิดเผยใต้พื้นผิวของฟองด้วย

การตีชาให้เกิดฟองเป็นเพียงความสวยงามที่ทำให้ชาแก้วนั้นดูน่ารับประทานมากขึ้น  บางร้านอาจจะต้องการฟองน้อยๆ หรือไม่มีฟองเลย ขึ้นอยู่กับรูปแบบการจัดเสิร์ฟที่ร้านตั้งใจไว้ ดังนั้นหากเห็นชาที่ไม่เกิดฟอง ไม่ได้แปลว่าชาแก้วนั้นมีคุณภาพไม่ดี 100% แต่อย่างใดจ้า…

ที่มา

https://creativemarket.com/Foxys/2137243-Flat-lay-of-freshly-brewed-Japanese

https://www.instagram.com/p/BoOKZJ5AQa-/

http://www.flickr.com/photos/corylum/3814974483/in/photostream

บทความจาก : Fuwafuwa