3 ขนมติดอันดับของคนญี่ปุ่น ที่ชอบทานคู่ชาเขียว

การกินชาเขียวให้อร่อย หลายคนคงทราบอยู่แล้วว่าคนญี่ปุ่นนิยมทานคู่กับขนมหวานญี่ปุ่น หรือที่เรียกว่า วากาชิ แม้ว่าที่จริงแล้วในพิธีชงชามีขนมอื่น ๆ อีกมากมายที่สามารถทานคู่ชาเขียวได้ แต่ขนมที่ติดอันดับคนนิยมกินคู่กับการดื่มชาและคนไทยรู้จักกันดี ได้แก่
อันดับ 1 คือ ไดฟุกุ ขนมแป้งโมจินุ่มหนึบที่พิเศษด้วยไส้ที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นไส้ชาเขียวลาวา ไส้ชาเขียวถั่วแดง บางเจ้าก็ใส่ผลไม้เข้าไปด้วยเพื่อเพิ่มรสชาติความอร่อย ขนมรสชาติออกหวาน ได้ชาเขียวร้อนๆเสิร์ฟคู่กัน เป็นความอร่อยที่ลงตัว
ส่วนใครที่อยากลองปั้นขนมไดฟุกุเอง เสิร์ฟคู่กับชาที่ร้าน เพิ่มสไตล์ความเป็นญี่ปุ่นให้กับเมนูในร้านสามารถทำได้เองง่ายๆ และต่อยอดเปลี่ยนรสชาติแป้งได้ฟุกุ หรือไส้ได้ตามชอบ

เมนู ไดฟุกุชาเขียว สตอเบอรี่

  1. แป้งข้าวเหนียว 100 กรัม
  2. แป้งมัน 20 กรัม ( สำหรับทำแป้งนวล )
  3. ผงมัทฉะ 10 กรัม
  4. น้ำตาลทราย 50 กรัม
  5. น้ำเปล่า 150 มล.
  6. ถั่วขาวกวนสำเร็จ 200 กรัม + ผงชา
  7. เขียว 5 กรัม
  8. สตรอเบอร์รี่

วิธีทำ

  1. แป้งข้าวเหนียว, ผงมัทฉะ, น้ำตาลทราย ผสมให้เข้ากัน ในภาชนะที่เข้าไมโครเวฟได้ ค่อยๆเติมน้ำผสมจนแป้งไม่เป็นเม็ด ลักษณะจะเหลวข้น
  2. นำส่วนผสมแป้งเข้าไมโครเวฟ โดยใช้พลาสติกแรพไว้ หรือ หา ภาชนะปิดไม่ให้แป้งหน้าแห้ง ใช้ไฟแรงสุดนาน 3 นาที นำออกมาเกลี่ยทุกๆ 1 นาที สังเกตแป้ง ถ้าสุกจะเปลี่ยนเป็นแป้งใส และจะจับตัวเป็นก้อน
  3. นำแป้งที่กวนสุกแล้ว คลุกกับแป้งนวล ตัดแบ่งให้เท่าๆกัน แผ่แป้งให้เป็นแผ่นกลม ใส่ไส้ถั่วขาวที่ผสมกันกับผงชาเขียวเป็นเนื้อเดียวกันที่ห่อลูกสตรอเบอร์รี่ไว้ ปั้นเป็นก้อนกลม คลุกแป้งนวลเพื่อไม่ให้ไดฟุกุติดกัน เป็นอันเสร็จเรียบร้อย

โดยปกติของการเสิร์ฟไดฟุกุ จะมีไม้เล็ก ๆ หรือที่เรียกว่า คุโระโมจิ (黒文字) ก็จะเป็นสัญลักษณ์ว่า ให้ทานขนมโดยการตัดแบ่งให้พอดีคำก่อนทาน ส่วนใหญ่จะเป็นขนมชิ้นไม่ใหญ่มากตัดได้ประมาณ 3-4 ครั้ง นั่นเอง

ต่อมาอันดับ 2 คือ เซมเบ้ ขนมข้าวกรอบที่มีหลายรูปทรง ขนาด และรสชาติ โดยปกติแล้วจะเป็นรสเค็ม(เป็นรสชาติของโชยุ)​ แต่รสหวานก็มีให้เห็น ส่วนใหญ่แล้วเซ็มเบจะรับประทานคู่กับชาเขียว เป็นขนมและจัดให้แขกที่มาเยี่ยมเยียนที่บ้านนั่นเอง โดยปกติแล้วเซ็มเบจะทำโดยการอบ หรือย่างถ่านแบบดั้งเดิม ระหว่างปรุงอาจมีการทาเซ็มเบด้วยซอสปรุงรส ซึ่งส่วนมากทำจากซอสถั่วเหลืองและมิริน จากนั้นอาจห่อด้วยสาหร่ายและปรุงด้วยเกลือ การเสิร์ฟเซมเบ้คู่กับชานั้นจะไม่มีไม้คุโระโมจิเหมือนอย่างไดฟุกุ จะเป็นที่รู้กันว่าให้ใช้มือทานได้เลยไม่เสียมารยาทนั่นเอง


หากร้านไหนอยากลองทำดังโงะเองที่ร้านก็สามารถทำได้ วิธีทำคล้ายกับการปั้นบัวลอยบ้านเราเลยทีเดียว
วัตถุดิบ ได้แก่ เต้าหู้ขาว 250 กรัม แป้งข้าวเจ้า (หรือแป้งโมจิ) + น้ำตาล 200 กรัม

วิธีทำแสนง่าย : ก่อนอื่นให้ใช้มือนวดผสมเต้าหู้และแป้งข้าวเจ้าเข้าด้วยกัน ให้แป้งมีความนุ่มกำลังดี ไม่นิ่มและไม่แข็งจนเกินไป หลังจากนั้นปั้นเป็นก้อนกลม ต้มน้ำในหม้อขนาดใหญ่จนเดือดและใส่ดังโงะก้อนกลมลงไป ต้มไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะลอยขึ้นมา เมื่อลอยขึ้นมาเหนือผิวน้ำแล้วให้ต้มต่อไปอีกประมาณ 2 – 3 นาทีและตักออกมาพักไว้บนจานรองกระดาษ นำไปเสียบไม้ ทานคู่ซอส หรือย่างไฟอ่อนๆก่อนก็ได้ตามชอบ เสิร์ฟคู่ชาเขียวร้อนของที่ร้าน รับรองว่าลูกค้าที่มาที่ร้านต้องรู้สึกเหมือนได้ไปญี่ปุ่นแน่นอน

ที่มา

https://www.pinterest.com/pin/325807354293426536/
https://moichizen.exblog.jp/13348925/
https://www.pinterest.com/pin/14707136267674817/
https://www.japancentre.com/en/recipes/1669-matcha-ganache-filled-strawberry-daifuku

By : Contrary To Popular Belief

โมเดลร้านชา ทางเลือกใหม่ของธุรกิจเครื่องดื่ม

ช่วงนี้ธุรกิจเกิดใหม่เกิดขึ้นเยอะ โดยเฉพาะแวดวงอาหาร สร้างความท้าทายอย่างมากให้กับเจ้าของกิจการเพื่อปรับตัวเข้าหาผู้บริโภค อีกทั้งยังมีปัญหามากมายไม่ว่าจะเป็นจำนวนลูกค้าหรือกำลังซื้อที่ลดลง ร้านอาหารแบรนด์ดังๆหลายร้านเริ่มหาโมเดลใหม่ๆให้ธุรกิจตัวเอง เพราะทำอะไรแบบเดิมๆ ธุรกิจก็ไม่อาจเพิ่มยอดขายต่อไปได้ การทดลองทำโมเดลใหม่ๆ เพิ่มช่องทางหารายได้ จึงเป็นโมเดลที่น่าทดลองทั้งกับผู้ประกอบการรายใหม่และรายเดิม เริ่มที่คุ้นเคยๆกันอย่าง

โมเดลร้านชา

Food Truck ที่ดัดแปลงรถให้กลายเป็นร้านขายอาหาร หรือเครื่องดื่มแบบเคลื่อนที่ได้ จุดเด่นของโมเดลนี้คือการใช้พื้นที่น้อย ยืดหยุ่นในด้านทำเลเพราะเคลื่อนย้ายได้ง่าย บริการเสิร์ฟในรูปแบบขายร้านคีออสปกติ แต่สามารถขับเคลื่อนเข้าหากลุ่มลูกค้าได้ทุกที่ที่ต้องการไม่ว่าจะเป็นตามงานอีเว้นต์ หรือบริเวณที่อยากทดลองขายโดยไม่เสียค่าเช่าที่ เพื่อเน้นการเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น โดยเฉพาะลูกค้ากลุ่มคนรุ่นใหม่ ซึ่งวิธีทำไม่ซับซ้อน ใช้เวลาทำรวดเร็วเพื่อเน้นจำนวนลูกค้าและปริมาณการขายที่มาก ซึ่งรถ Food Truck จะเป็นลักษณะครัวเปิด โดดเด่นเรื่องกลิ่นหอม ยิ่งถ้าขายเครื่องดื่มอย่างชา กาแฟ ยิ่งสามารถดึงความหอมมาดึงดูดลูกค้าได้ อีกทั้งยังเป็นตัวกระตุ้นความสนใจของลูกค้าให้เข้ามาซื้อได้อีกทาง หลายๆ ร้านที่ญี่ปุ่น ก็เริ่มต้นจากการทำโมเดลนี้ สร้างแบรนด์และขยายธุรกิจให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น

Food Truck Food Truck

Meal Kits เริ่มจากจากกระแสการทำอาหารทานเองที่บ้านในช่วงโควิดที่หลายคนผันตัวมาเข้าครัวมากขึ้น ทำให้การขาย Meal Kits หรือชุดวัตถุดิบอาหารพร้อมปรุงเป็นที่นิยมมากขึ้น โดยในชุดที่ส่งไปจะมีส่วนผสมให้พร้อมใยเมนูขั้นตอนวิธีการทำอาหารจัดส่งให้ลูกค้าไปทำทานเองที่บ้าน นอกจากจะช่วยให้มือใหม่เข้าครัวได้ง่ายๆแล้ว ยังอำนวนความสะดวกให้กับคนที่ไม่อยากออกจากบ้านไปหาซื้อวัตถุดิบ และยังประหยัดเวลาด้วย ซึ่งการจัดชุดเครื่องดื่มชา ยังไม่เป็นที่นิยมนัก จึงเป็นช่องว่างในธุรกิจเครื่องดื่มที่น่าสนใจสำหรับร้านที่มีเมนูเป็นเอกลักษณ์ แล้วสามารถนำส่วนผสมมาจัดชุดได้ เพราะการขายแบบนี้  สามารถลดต้นทุนในด้านต่างๆได้ เช่น พนักงานหน้าร้าน ค่าดูแลรักษาร้านคาเฟ่ เพียงแค่จัดชุดวัตถุดิบใบเมนูสูตรจัดส่งเดลิเวอรี่ ก็ขยายกลุ่มลูกค้าได้มากและเป็นกลุ่มที่กว้างขึ้น เช่นในชุดประกอบไปด้วยฉะเซ็น ผงชา ถ้วยชงชา วิธีการชงชา เป็นต้น ให้ลูกค้าได้สร้างบรรยากาศแบบญี่ปุ่นๆได้เองที่บ้าน

Meal Kits  Meal Kits

หรือจะเป็นชุดอุปกรณ์ทำขนมจากผงมัทฉะก็น่าสนใจไม่น้อย เพราะยุคนี้ใครๆก็เข้าครัวได้ ถ้ามีอุปกรณ์ทำขนมที่ถ้าหาซื้อเองแล้วดูจะวุ่นวาย ไม่รู้ว่าต้องใช้ผงมัทฉะความเข้มระดับไหน อุปกรณ์ก็เยอะ ทุกอย่างจะง่ายขึ้นเพียงคุณรวมชุดให้ลูกค้าเลย ทั้งแป้ง น้ำตาล เนย ผงมัทฉะ แม่พิมพ์ขนม และอุปกรณ์อื่นๆ พร้อมใบสูตร เมื่อได้ลงมือทำขนมเอง แน่นอนว่า ก็จะเกิดการถ่ายรูป แชร์ต่อในโลกโซเชียล เป็นการกระจายการรับรู้ของแบรนด์ในมุมที่กว้างขึ้นได้

Cloud Kitchen Cloud Kitchen

Ghost Kitchen หรือ Cloud Kitchen เป็นร้านอีกรูปแบบที่ไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้าน มีแค่ครัวสำหรับทำอาหารส่งทางเดลิเวอรีเท่านั้นได้ เป็นความร่วมมือทางธุรกิจของสองแบรนด์ในการใช้ครัวกลางที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากจะช่วยลดต้นทุนแล้ว ละช่วยให้ลูกค้าออเดอร์อาหารได้หลากหลายจากที่เดียวและยังเป็นการเพิ่มประสบการณ์ให้พ่อครัว ที่สำคัญที่สุด คือ การประหยัดเรื่องต้นทุนค่าเช่าหน้าร้าน ยิ่งหากใครมีร้านชาอยู่แล้วอยากขยายสาขาแต่ไม่มีเงินทุน ก็สามารถใช้การเปิดแบบ Cloud Kitchen แทนได้ง่ายๆ

Cloud Kitchen Cloud Kitchen

โมเดลร้านชายุคนี้จึงไม่จำเป็นต้องมีแต่หน้าร้านให้เลือกซื้อและดื่มด่ำได้อย่างเดียว แต่กลับสามารถชงดื่มเองได้จากที่บ้านในรสชาติที่เหมือนกับมานั่งทานคาเฟ่ เพียงแค่ลองมุมกว้างๆดูจะเห็นโมเดลการทำธุรกิจชาอีกหลายรูปแบบที่น่าลอง

ที่มา

https://www.kenkotea.com.au/blogs/news/59665541-matcha-green-tea-fruity-parfait-recipe

https://www.gatherandfeast.com/matcha-coconut-cacao-protein-balls

http://fraeuleinanker.de/porto-hipster-coffee-guide/

บทความจาก : Fuwafuwa

Chasen หนึ่งในอุปกรณ์สำคัญในการชงมัทฉะ

Chasen (茶筅 หรือที่เรียกว่า ที่ตีฟองชา) เป็นหนึ่งในอุปกรณ์สำคัญในการชงตีผงมัทฉะให้ละลาย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีลักษณะแปรงและคุณภาพที่เหมาะสมเพื่อให้ได้มัทฉะที่ดี ซึ่งฉะเซ็นมีหลายประเภท ที่มีความแตกต่างแค่เล็กน้อยในวัสดุ และรูปร่าง และลักษณะการใช้งาน โดยวัสดุหลักที่ใช้คือ ไม้ไผ่ ซึ่งไม้ไผ่ที่ใช้ทำมี 3 ชนิดหลัก ได้แก่ ไผ่ Hachiku, ไผ่ Susudake, และไผ่ดำ Kurodake โดยไผ่ Hachiku เป็นวัสดุที่นิยมใช้มากที่สุดในการทำฉะเซ็น เพราะเนื้อไม้มีความเนียน และอ่อน ทำให้แกะง่าย แต่ในขณะเดียวกันก็มีความทนทานต่ำและแตกง่ายเช่นกัน

Susudake

หากใช้ไผ่ Susudakeจะมีความทนทานกว่า แต่จะหาไผ่ชนิดนี้ค่อนข้างยาก ส่วนไม้ไผ่ Kurodakeเป็นวัสดุที่มีน้ำหนักมากที่สุดในการทำฉะเซ็น อยู่ได้นานกว่าไม้ไผ่ Hachiku 3 เท่า แต่ไม้ชนิดไผ่ Kurodakeจะแกะสลักได้ยากเป็นพิเศษ ไผ่ที่ใช้ทำฉะเซ็นมักมีอายุประมาณ 3 ปีและเก็บเกี่ยวในฤดูหนาว หลังจากการเก็บเกี่ยวไม้ไผ่จะแห้งเป็นเวลาหนึ่งปี ขั้นแรกในช่วงฤดูหนาวจะทำด้านนอกโดยปล่อยให้สภาพอากาศในฤดูหนาวเป็นไม้จากนั้นนำไปเก็บไว้ในที่เก็บของแห้งและทิ้งไว้ที่นั่นตลอดทั้งปี

Chasen

เมื่อไม้ไผ่พร้อมแล้วจะเลือกไม้ไผ่ที่เหมาะสม สภาพสมบูรณ์ที่สุด มาตัดเป็นชิ้นยาว 9-12 ซม. และแกะสลักด้วยมือเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่พร้อมใช้งานโดยเด็กฝึกงาน และถูกส่งกลับไปยังต้นทางผู้ชำนาญการแกะสลักอีกครั้งเพื่อทำการปรับแต่งอย่างละเอียดซึ่งประกอบด้วยการโค้งงอและเกลียว

Chasen Chasen

รูปร่างสุดท้ายของฉะเซ็นถูกกำหนดขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆมากมาย เช่น Chu-araho ฉะเซ็นที่มีขนแปรงหยาบกว่า 70 ถึง 80 ที่ใช้สำหรับโคอิชะ (มัทฉะแบบเข้มข้น) และ Kazuho ฉะเซ็นที่มีขนแปรงละเอียดมากถึง 120 ชนิดที่ใช้เป็นหลักสำหรับอุซึฉะ (มัทฉะแบบเจือจาง)

แม้ว่าจะมีหลายประเทศที่พยายามทำฉะเซ็นขึ้นมา แต่ว่าที่ญี่ปุ่นยังให้คุณภาพที่ดีกว่าอย่างสม่ำเสมอเนื่องจากความใส่ใจในรายละเอียดของช่างฝีมือในแต่ละขั้นตอน ตั้งแต่การเลือกไม้ไผ่อย่างพิถีพิถันไปจนถึงการตัดและขึ้นรูปในแต่ละครั้ง เพราะคุณภาพไม้ไผ่มีผลอย่างมากต่อความทนทานของฉะเซ็นซึ่งส่งผลต่อให้การตีชาด้วยฉะเซ็นที่ทำจากไม้ไผ่คุณภาพสูงมีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น

ส่วนจำนวนสายตะกร้อที่ตียิ่งมีความละเอียดมากเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้มัทฉะแก้วนั้นนุ่มนวลขึ้น ฉะเซ็นทั่วไปที่ขายมีจำนวนซี่ตะกร้อระหว่าง 16 ถึง 120 ซี่ ยิ่งจำนวนสูงเท่าไหร่ก็ยิ่งง่ายต่อการปัดผงชาลงในน้ำ และ ตีมัทฉะให้ขึ้นฟองได้ง่าย ฟองละเอียด แต่ถ้าจำนวนซี่น้อยจะใช้เวลาในการตีนานขึ้น ส่วนวิธีใช้ แนะนำให้วางฉะเซ็นส่วนที่เป็นตะกร้อตีลงในน้ำร้อนสักสองสามวินาทีก่อนเพื่อคลายตัวไม้ไผ่ให้อ่อนลง เคล็ดลับในการตี คือ การงอข้อมือเล็กน้อยในขณะที่ขยับข้อมือเท่านั้น ปัดส่วนผสมให้เร็วที่สุดโดยใช้การเคลื่อนไหวเป็นรูปตัว M หรือ W หลังจากได้ชั้นโฟมที่เท่ากันแล้วให้ค่อยๆเอาที่ปัดในลักษณะหมุนวนอีกครั้งเป็นอันเรียบร้อย

Chasen Chasen

ฉะเซ็นมีหลายประเภท หากนับกันจริงๆแล้วจะพบว่ามีมากถึงหนึ่งร้อยรุ่นเลยทีเดียว ในยุคเริ่มแรกนั้น ฉะเซ็นถูกทำออกมาเพียงแค่รุ่นเดียวเท่านั้น ทว่าหลังจากที่พิธีชงชาญี่ปุ่นเกิดการแพร่หลาย ลูกศิษย์ของเซนโนะริคิวหลายคนต่างก็ออกไปเปิดสำนักชงชาของตนเอง นำความรู้ที่ได้จากการร่ำเรียนกับริคิวไปเผยแพร่ต่อ ซึ่งแต่ละคนต่างก็ได้ดัดแปลงรายละเอียดปลีกย่อยบางอย่างให้เข้ากับอัตลักษณ์และค่านิยมส่วนตน และเมื่อเวลาผ่านไปเรื่อยๆ รายละเอียดที่แตกต่างกันเพียงเล็กน้อยเหล่านั้นในเริ่มแรกก็ได้แตกแขนงออกไปเรื่อยๆ จนกระทั่งกลายเป็นข้อแตกต่างของแต่ละสำนักชงชาในที่สุด รวมถึงรูปทรงของฉะเซ็นที่แต่ละสำนักใช้ในการชงชาด้วยเช่นกัน

ในส่วนของด้ายที่นำมาพันฉะเซ็น ก็มีข้อแตกต่างไปตามแต่ละรุ่นอีกเช่นกัน ฉะเซ็นปกติจะใช้ด้ายสีดำ ทว่าฉะเซ็นที่ใช้ในโอกาสพิเศษจะถูกพันด้วยด้ายสีแดงหรือสีขาว เพื่อความเป็นศิริมงคล โดยเฉพาะฉะเซ็นรุ่นที่ใช้ในวันขึ้นปีใหม่

Chasen

อยากรู้แปรงชงชาแบบไหนเป็นที่นิยม อ่านต่อได้ที่บทความ >> 10 อันดับ แปรงชงชาเขียว แบบไหนดี ปี 2022

ที่มา

http://japan-web-magazine.com/japanese-tea/japan-japanese-tea-ceremony0.html

https://zhaozhoutea.com/chasen-%E8%8C%B6%E7%AD%85-the-matcha-whiskchasen/

บทความจาก : Fuwafuwa