3 ขนมติดอันดับของคนญี่ปุ่น ที่ชอบทานคู่ชาเขียว
|

3 ขนมติดอันดับของคนญี่ปุ่น ที่ชอบทานคู่ชาเขียว

หลายคนอาจจะพอทราบอยู่แล้วว่าคนญี่ปุ่นนิยมเสิร์ฟชาเขียวร้อนๆคู่กับขนมวากาชิในพิธีชงชา ซึ่งจริงๆแล้วขนมวากาชิมีหลากหลายแบบ เพื่อให้ได้สัมผัสถึงรสชาติ ความอร่อย และบรรยากาศ ความรู้สึกเหมือนไปทานที่ญี่ปุน รู้มั้ยว่าเมนูขนมยอดฮิตที่คนญี่ปุ่นนิยมเสิร์ฟคู่ชาเขียว คือ เมนูไหน????

Matcha Cookie เมนูง่ายๆที่ไม่ธรรมดา

Matcha Cookie เมนูง่ายๆที่ไม่ธรรมดา

เพราะยุคนี้ใครๆก็เข้าครัวเปิดเตาอบขนมได้ ยิ่งเป็นคุ้กกี้แล้ว เมนูพื้นฐานสำหรับคนทำขนมเลยที่จะต้องเริ่มทำกัน จึงทำให้ตลาดขนมช่วงนี้ มีเยอะมากจนทำให้ลูกค้าตัดสินใจเลือกได้ยาก

ไอศครีมชาเขียวสำหรับทุกคน

ไอศครีมชาเขียวสำหรับทุกคน

ไอศครีมชาเขียว เมนูทำไม่ยาก แต่แตกต่างได้ง่ายๆ แค่เปลี่ยนสัดส่วนของผงชา

เพิ่มไอเดียให้เมนูหวานเย็นนี้พิเศษไปอีกขั้นด้วยสูตรลีนๆสำหรับคนทานวีแกนอย่าง Vegan Matcha Avocado Ice Cream หรือจะเป็นสูตร Matcha Mint Chocolate Chunk Ice Cream และ Honey Matcha Raspberry Ice cream ก็สามารถทำเองได้ง่ายๆ ไม่ต้องใช้เครื่องทำไอศครีมเลยจ้า

โมเดลร้านชา ทางเลือกใหม่ของธุรกิจเครื่องดื่ม
|

โมเดลร้านชา ทางเลือกใหม่ของธุรกิจเครื่องดื่ม

ช่วงนี้ธุรกิจเกิดใหม่เกิดขึ้นเยอะ โดยเฉพาะแวดวงอาหาร สร้างความท้าทายอย่างมากให้กับเจ้าของกิจการเพื่อปรับตัวเข้าหาผู้บริโภค อีกทั้งยังมีปัญหามากมายไม่ว่าจะเป็นจำนวนลูกค้าหรือกำลังซื้อที่ลดลง ร้านอาหารแบรนด์ดังๆหลายร้านเริ่มหาโมเดลใหม่ๆให้ธุรกิจตัวเอง เพราะทำอะไรแบบเดิมๆ ธุรกิจก็ไม่อาจเพิ่มยอดขายต่อไปได้ การทดลองทำโมเดลใหม่ๆ เพิ่มช่องทางหารายได้ จึงเป็นโมเดลที่น่าทดลองทั้งกับผู้ประกอบการรายใหม่และรายเดิม เริ่มที่คุ้นเคยๆกันอย่าง Food Truck ที่ดัดแปลงรถให้กลายเป็นร้านขายอาหาร หรือเครื่องดื่มแบบเคลื่อนที่ได้ จุดเด่นของโมเดลนี้คือการใช้พื้นที่น้อย ยืดหยุ่นในด้านทำเลเพราะเคลื่อนย้ายได้ง่าย บริการเสิร์ฟในรูปแบบขายร้านคีออสปกติ แต่สามารถขับเคลื่อนเข้าหากลุ่มลูกค้าได้ทุกที่ที่ต้องการไม่ว่าจะเป็นตามงานอีเว้นต์ หรือบริเวณที่อยากทดลองขายโดยไม่เสียค่าเช่าที่ เพื่อเน้นการเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น โดยเฉพาะลูกค้ากลุ่มคนรุ่นใหม่ ซึ่งวิธีทำไม่ซับซ้อน ใช้เวลาทำรวดเร็วเพื่อเน้นจำนวนลูกค้าและปริมาณการขายที่มาก ซึ่งรถ Food Truck จะเป็นลักษณะครัวเปิด โดดเด่นเรื่องกลิ่นหอม ยิ่งถ้าขายเครื่องดื่มอย่างชา กาแฟ ยิ่งสามารถดึงความหอมมาดึงดูดลูกค้าได้ อีกทั้งยังเป็นตัวกระตุ้นความสนใจของลูกค้าให้เข้ามาซื้อได้อีกทาง หลายๆ ร้านที่ญี่ปุ่น ก็เริ่มต้นจากการทำโมเดลนี้ สร้างแบรนด์และขยายธุรกิจให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น Meal Kits เริ่มจากจากกระแสการทำอาหารทานเองที่บ้านในช่วงโควิดที่หลายคนผันตัวมาเข้าครัวมากขึ้น ทำให้การขาย Meal Kits หรือชุดวัตถุดิบอาหารพร้อมปรุงเป็นที่นิยมมากขึ้น โดยในชุดที่ส่งไปจะมีส่วนผสมให้พร้อมใยเมนูขั้นตอนวิธีการทำอาหารจัดส่งให้ลูกค้าไปทำทานเองที่บ้าน นอกจากจะช่วยให้มือใหม่เข้าครัวได้ง่ายๆแล้ว ยังอำนวนความสะดวกให้กับคนที่ไม่อยากออกจากบ้านไปหาซื้อวัตถุดิบ และยังประหยัดเวลาด้วย ซึ่งการจัดชุดเครื่องดื่มชา ยังไม่เป็นที่นิยมนัก จึงเป็นช่องว่างในธุรกิจเครื่องดื่มที่น่าสนใจสำหรับร้านที่มีเมนูเป็นเอกลักษณ์ แล้วสามารถนำส่วนผสมมาจัดชุดได้ เพราะการขายแบบนี้  สามารถลดต้นทุนในด้านต่างๆได้ เช่น…

Chasen หนึ่งในอุปกรณ์สำคัญในการชงมัทฉะ
|

Chasen หนึ่งในอุปกรณ์สำคัญในการชงมัทฉะ

Chasen (茶筅 หรือที่เรียกว่า ที่ตีฟองชา) เป็นหนึ่งในอุปกรณ์สำคัญในการชงตีผงมัทฉะให้ละลาย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีลักษณะแปรงและคุณภาพที่เหมาะสมเพื่อให้ได้มัทฉะที่ดี ซึ่งฉะเซ็นมีหลายประเภท ที่มีความแตกต่างแค่เล็กน้อยในวัสดุ และรูปร่าง และลักษณะการใช้งาน โดยวัสดุหลักที่ใช้คือ ไม้ไผ่ ซึ่งไม้ไผ่ที่ใช้ทำมี 3 ชนิดหลัก ได้แก่ ไผ่ Hachiku, ไผ่ Susudake, และไผ่ดำ Kurodake โดยไผ่ Hachiku เป็นวัสดุที่นิยมใช้มากที่สุดในการทำฉะเซ็น เพราะเนื้อไม้มีความเนียน และอ่อน ทำให้แกะง่าย แต่ในขณะเดียวกันก็มีความทนทานต่ำและแตกง่ายเช่นกัน หากใช้ไผ่ Susudakeจะมีความทนทานกว่า แต่จะหาไผ่ชนิดนี้ค่อนข้างยาก ส่วนไม้ไผ่ Kurodakeเป็นวัสดุที่มีน้ำหนักมากที่สุดในการทำฉะเซ็น อยู่ได้นานกว่าไม้ไผ่ Hachiku 3 เท่า แต่ไม้ชนิดไผ่ Kurodakeจะแกะสลักได้ยากเป็นพิเศษ ไผ่ที่ใช้ทำฉะเซ็นมักมีอายุประมาณ 3 ปีและเก็บเกี่ยวในฤดูหนาว หลังจากการเก็บเกี่ยวไม้ไผ่จะแห้งเป็นเวลาหนึ่งปี ขั้นแรกในช่วงฤดูหนาวจะทำด้านนอกโดยปล่อยให้สภาพอากาศในฤดูหนาวเป็นไม้จากนั้นนำไปเก็บไว้ในที่เก็บของแห้งและทิ้งไว้ที่นั่นตลอดทั้งปี เมื่อไม้ไผ่พร้อมแล้วจะเลือกไม้ไผ่ที่เหมาะสม สภาพสมบูรณ์ที่สุด มาตัดเป็นชิ้นยาว 9-12 ซม. และแกะสลักด้วยมือเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่พร้อมใช้งานโดยเด็กฝึกงาน และถูกส่งกลับไปยังต้นทางผู้ชำนาญการแกะสลักอีกครั้งเพื่อทำการปรับแต่งอย่างละเอียดซึ่งประกอบด้วยการโค้งงอและเกลียว รูปร่างสุดท้ายของฉะเซ็นถูกกำหนดขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆมากมาย เช่น Chu-araho ฉะเซ็นที่มีขนแปรงหยาบกว่า…