ไขข้อสงสัย ทำไมชาไทย จึงต่างจาก ชาญี่ปุ่น

ดูเผินๆอาจจะไม่รู้ว่า เครื่องดื่มชาเขียวที่เราทานอยู่นั้น มาจากญี่ปุ่นแท้ๆ หรือผลิตจากในไทยกันแน่หากไม่ได้มีการระบุไว้ที่ชัดเจน ก็แยกยากอยู่เช่นกัน เพียงแต่จะสังเกตได้จากลักษณะของการบริโภค กล่าวคือ

1. คนญี่ปุ่นหลายคนยังคงมีความคิดว่า ชาเขียวกับน้ำตาล เป็นสิ่งที่ไม่เข้ากัน และยังนิยมบริโภคชาเขียวรสจืด ซึ่งเป็นรสดั้งเดิมเหมือนเมื่อสมัยโบราณ เป็นชาเขียวเพียวๆที่ดีต่อสุขภาพมากๆ แต่คนไทยจะบริโภคแบบนี้ไม่ค่อยได้กัน ชาเขียวไทย จึงได้มีการใส่น้ำตาลลงไปเพื่อปรับให้เข้ากับความชอบของคนไทย

Matcha Matcha

2. คนญี่ปุ่นมีวิธีชงชาที่พิถีพิถัน จนเกิดเป็นวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ วิธีการดื่มชาของญี่ปุ่นส่วนมากจะดื่มแบบร้อนเท่านั้น แต่ที่ไทย ด้วยความที่อากาศร้อน คนจึงนิยมบริโภคแบบเย็นมากกว่า

Matcha Matcha

3. ในส่วนของกรรมวิธีการปลูกชาเขียวทางภาคเหนือของไทย กับของญี่ปุ่น ด้วยสภาพอากาศ และอุณหภูมิ ความชื้น ความสูงจากระดับน้ำทะเลต่างกัน ย่อมส่งผลให้คุณลักษณะของชา สี กลิ่น รส แตกต่างกันเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละที่ การปลูกที่ไทย ส่วนมากจะปลูกช่วงต้นฤดูฝน ประมาณเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ซึ่งเป็นช่วงที่ดินมีความชุ่มชื้นเพียงพอ แต่ชาเป็นพืชที่ต้องการความชื้นสูง และสม่ำเสมอตลอดทั้งปีเพื่อให้มีการแตกยอด ที่ญี่ปุ่นชาจึงแตกยอดได้ดีกว่าด้วยสภาพภูมิอากาศของประเทศญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกียวโต เมืองที่รยล้อมด้วยภูเขา จึงทำให้ไม่ร้อนมากและมีความชื้นอยู่ในปริมาณที่เหมาะ อย่างไรก็ตามสวนชาของไทยส่วนใหญ่ยังอาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติเป็นแหล่งสำคัญ ทำให้สวนชามีผลผลิตมากน้อยแตกต่างกันไปตามปริมาณน้ำฝนในแต่ละปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศและปริมาณน้ำฝนนั่นเอง

4. ชาเขียวญี่ปุ่นไม่ได้ถูกนำไปคั่วบนกระทะเหมือนของไทย แต่กลับถูกนำไปผ่านความร้อนโดยการนึ่ง และอบแห้ง ใบชาเขียวญี่ปุ่นจึงมีสีเขียวที่สด และน้ำชาก็มีสีเขียวอ่อนๆตามธรรมชาติ

Matcha

5. ชาเขียวไทยหลายเจ้ามีการผสมแป้ง ลงไปในผงชาด้วย เพื่อให้ได้ปริมาณผงชาที่เยอะขึ้น แต่รสชาติ สี ก็จะเจือจางลงตามเช่นกัน จึงไม่ต้องแปลกใจหากเจอผงชาเขียวที่ผลิตจากญี่ปุ่นแล้วราคสูงกว่าที่ไทยมาก เห็นได้ชัดจากร้านชา เครื่องดื่มตามท้องตลาด หากสั่งที่เป็นเครื่องดื่มชาเยียว จะได้เห็นได้ชัดจากสีที่ของไทยจะอ่อนจนคล้ายสีเขียวมิ้นต์

Matcha Matcha

อย่างไรก็ตาม แม้ชาที่ผลิตในไทยคุณภาพอาจจะไม่ได้เทียบเท่ากับที่ญี่ปุ่น แต่หากมาชงเครื่องดื่มตามสูตรแบบฉบับที่ร้านได้ ก็เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อย แต่ร้านไหนที่อยากให้ลูกค้าได้ดื่มชาเขียวเข้มข้น กรเลือกใช้ผงชาเขียว วัตถุดิบคุณภาพดีจากต้นกำเนิด ก็จะยิ่งทำให้เมนูที่ร้านน่าทานมากยิ่งขึ้น

ที่มา

https://saihojimatcha.com/pages/saihoji-faqs

https://www.instagram.com/p/BgYv1pfHjgF/

https://nourishedkitchen.com/matcha-tea-latte

บทความจาก : Fuwafuwa

หลายคนอาจสงสัย น้ำแร่ใช้ชงชาได้มั้ย ?

หากพูดถึงน้ำที่ต้องใช้ในการชงชา เชื่อว่าทุกคนต้องนึกถึงอุณหภูมิของน้ำที่ควรใช้ มากกว่าชนิดของน้ำที่ใช้ชงชา เพราะปกติแล้วเราก็จะใช้น้ำสำหรับดื่มทั่วไป อาจจะเป็นน้ำขวดธรรมดาแบบที่วางขายทั่วไป นำมาต้มให้เดือดก็เป็นอันใช้ได้ แต่บางคนอาจจะสงสัยว่า แล้วน้ำแร่สามรถใช้ชงชาได้มั้ย? น้ำแร่ได้ชื่อว่าเป็นน้ำที่มีแร่ธาตุอยู่มาก หากเอามาชงชาแล้ว จะได้ชาที่ยิ่งคุณภาพดีจริงรึเปล่า??

น้ำแร่ มี 2 ชนิด แบ่งชนิดตามปริมาณของแร่ธาตุแมกนีเซียมและแคลเซียมที่พบในน้ำ ซึ่งถ้ามีปริมาณของแร่ธาตุสูง จะเรียกว่า “น้ำกระด้าง” (Hard Water)เป็นน้ำที่มีหินปูนและแมกนีเซียมละลายอยู่ด้วยค่อนข้างมาก แต่ถ้ามีปริมาณของแร่ธาตุต่ำ ก็จะเรียกว่า “น้ำอ่อน” (Soft Water)ส่วนมากน้ำแร่ นำเข้าจากต่างประเทศจะเป็นน้ำแร่ธรรมชาติแบบน้ำกระด้าง แต่ถ้าในไทยจะเป็นน้ำแร่ธรรมชาติแบบน้ำอ่อน โดยหลักแล้วน้ำทั้ง 2 ชนิด สามารถชงชาได้รสชาติดีเหมือนกัน แต่กลิ่น สีจะแตกต่างกัน

น้ำแร่

ในการชงชา นิยมใช้น้ำอ่อนมากกว่าน้ำกระด้าง เพราะในน้ำมีปริมาณแร่ธาตุน้อย ชาที่ได้จึงมีสีเข้ม รสชาติเข้มกลมกล่อมกว่า ทำให้สามารถดื่มด่ำกับรสชาติของชาได้มากที่สุด ตรงกันข้ามกับการใช้น้ำกระด้าง ซึ่งรสชาติของแร่ธาตุจะไปกลบรสชาติของชา ทำให้เวลาดื่ม นอกจากจะไม่ได้ดื่มด่ำกับรสชาติของชาอย่างเต็มที่แล้ว และอาจมีกลิ่นคล้ายๆกับโลหะเจืออยู่ในน้ำชาอีกด้วย รสชาติและกลิ่นหอมจะอ่อนๆ สีน้ำชาจางๆ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่สามารถใช้น้ำกระด้างในการชงชาได้เลย เพราะสุนทรียของการดื่มชาของแต่ละคนแตกต่างกันไปตามความชอบนั่นเอง

อย่างไรก็ตามก็มีบางคนที่เน้นความสะดวก นำน้ำประปามาต้มแล้วเอามาใช้ชงชาดื่ม ซึ่งน้ำต้มที่ได้จะมีคลอรีนที่ใช้สำหรับฆ่าเชื้อโรคในน้ำละลายปนอยู่ด้วย จะมีกลิ่นอื่นเจือปนอยู่ ถ้าอยากจะใช้น้ำประปาไปต้มชงชา ควรต้มน้ำในภาชนะที่ไม่มีฝาปิดและควรเพิ่มเวลาต้ม ประมาณ 3-5 นาที เพื่อให้กลิ่นคลอรีนระเหยหมดไป

น้ำแร่

ดังนั้นในการชงชาสามารถใช้น้ำแร่ชงได้ และสามารถใช้น้ำดื่มทั่วไปที่ สด ใหม่ สะอาด บริสุทธิ์ กล่าวคือ น้ำที่ไม่มีกลิ่นอื่นเจือปน ไม่ใช้สารเคมีในการปรับคุณภาพ อีกทั้งไม่ใช่น้ำที่ผ่านการต้มมาแล้วหลายครั้ง เพราะน้ำต้มที่ผ่านการต้อมหลายครั้งจะมีออกซิเจนน้อย หากนำมาชงชาจะทำให้รสชาติชาจืดชืดไป ขาดความนุ่ม และความลึก เป็นไปได้ ควรใช้น้ำที่มีค่าน้ำเป็นกลาง (PH7)ดังนั้นจะเหมาะที่สุด

น้ำแร่ น้ำแร่

ทั้งนี้การใส่ใจกับคุณภาพน้ำอย่งเดียวไม่ได้ส่งผลต่อรสชาติของชา 100% แต่ความอร่อย รสชาติอูมามิของชา ยังต้องคำนึงถึงอุณหภูมิของน้ำ ระยะเวลาที่ใช้ชง คุณภาพใบชา และยังรวมถึงเรื่องของภาชนะที่ใช้ในการชงชาอีกด้วย

ที่มา

eatingwell.com

ourfoodstories.com

บทความจาก : Fuwafuwa