ไขข้อสงสัย ทำไมชาไทย จึงต่างจาก ชาญี่ปุ่น
ดูเผินๆอาจจะไม่รู้ว่า เครื่องดื่มชาเขียวที่เราทานอยู่นั้น มาจากญี่ปุ่นแท้ๆ หรือผลิตจากในไทยกันแน่หากไม่ได้มีการระบุไว้ที่ชัดเจน ก็แยกยากอยู่เช่นกัน เพียงแต่จะสังเกตได้จากลักษณะของการบริโภค กล่าวคือ 1. คนญี่ปุ่นหลายคนยังคงมีความคิดว่า ชาเขียวกับน้ำตาล เป็นสิ่งที่ไม่เข้ากัน และยังนิยมบริโภคชาเขียวรสจืด ซึ่งเป็นรสดั้งเดิมเหมือนเมื่อสมัยโบราณ เป็นชาเขียวเพียวๆที่ดีต่อสุขภาพมากๆ แต่คนไทยจะบริโภคแบบนี้ไม่ค่อยได้กัน ชาเขียวไทย จึงได้มีการใส่น้ำตาลลงไปเพื่อปรับให้เข้ากับความชอบของคนไทย 2. คนญี่ปุ่นมีวิธีชงชาที่พิถีพิถัน จนเกิดเป็นวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ วิธีการดื่มชาของญี่ปุ่นส่วนมากจะดื่มแบบร้อนเท่านั้น แต่ที่ไทย ด้วยความที่อากาศร้อน คนจึงนิยมบริโภคแบบเย็นมากกว่า 3. ในส่วนของกรรมวิธีการปลูกชาเขียวทางภาคเหนือของไทย กับของญี่ปุ่น ด้วยสภาพอากาศ และอุณหภูมิ ความชื้น ความสูงจากระดับน้ำทะเลต่างกัน ย่อมส่งผลให้คุณลักษณะของชา สี กลิ่น รส แตกต่างกันเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละที่ การปลูกที่ไทย ส่วนมากจะปลูกช่วงต้นฤดูฝน ประมาณเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ซึ่งเป็นช่วงที่ดินมีความชุ่มชื้นเพียงพอ แต่ชาเป็นพืชที่ต้องการความชื้นสูง และสม่ำเสมอตลอดทั้งปีเพื่อให้มีการแตกยอด ที่ญี่ปุ่นชาจึงแตกยอดได้ดีกว่าด้วยสภาพภูมิอากาศของประเทศญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกียวโต เมืองที่รยล้อมด้วยภูเขา จึงทำให้ไม่ร้อนมากและมีความชื้นอยู่ในปริมาณที่เหมาะ อย่างไรก็ตามสวนชาของไทยส่วนใหญ่ยังอาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติเป็นแหล่งสำคัญ ทำให้สวนชามีผลผลิตมากน้อยแตกต่างกันไปตามปริมาณน้ำฝนในแต่ละปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศและปริมาณน้ำฝนนั่นเอง 4. ชาเขียวญี่ปุ่นไม่ได้ถูกนำไปคั่วบนกระทะเหมือนของไทย แต่กลับถูกนำไปผ่านความร้อนโดยการนึ่ง และอบแห้ง ใบชาเขียวญี่ปุ่นจึงมีสีเขียวที่สด และน้ำชาก็มีสีเขียวอ่อนๆตามธรรมชาติ 5….