New Normal ธุรกิจร้านชา ช่วงโควิด

ปฏิเสธไม่ได้เลยจริงๆว่าด้วยการแพร่ระบาดของโควิด ทำให้ร้านอาหารเครื่องดื่มช่วงนี้ยอดขายลดลงอย่างแน่นอน ด้วยสถานการณ์โควิดที่ทำให้การใช้ชีวิตเปลี่ยนไปวิถีการใช้ชีวิตของลูกค้ามีไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไป ถึงแม้ว่าจะยังคงเปิดให้บริการนั่งทานที่ร้านได้ แต่ข้อจำกัดก็ยังมีมาก ดังนั้นข้อแนะนำในการปรับตัวร้านให้อยู่รอด ควรปรับรูปแบบการให้บริการ ดังนี้

1.ระบบสั่งอาหารไร้สัมผัส (QR Order) เป็นระบบการสั่งอาหารผ่านการสแกน QR Code โดยใช้โทรศัพท์ลูกค้าแสกนโค้ดที่ทางร้านเตรียมไว้ เมนูจะไปแสดงในโทรศัพท์ลูกค้า ถือว่าเป็นการลดการสัมผัสกันเพื่อป้องกันเชื้อโรคที่อาจเกิดขึ้นได้บนใบเมนู นอกจากนี้ยังเป็นการประหยัดงบในการผลิตใบเมนูใหม่ๆทุกครั้งอีกด้วย เพราะหากอยู่ในโทรศัพท์ลูกค้า ร้านก็สามารถเพิ่มเมนูใหม่ๆ หรือเมนูโปรโมชั่นเข้าไปได้ตลอดเพียงอัพเดตลงระบบไม่ต้องปริ้นใหม่เหมือนทุกครั้งไป

QR Order

2. การชำระเงินแบบไร้สัมผัส (Contactless  Payment) ด้วยสถานการณ์ที่ต้องลดการสัมผัสกัน และต้องรักษาความสะอาดเป็นพิเศษ การชำระเงินโดยไม่ใช้เงินสดจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการชำระผ่านคิวอาร์โค้ด หรือการโอนเงินด้วยแอพพลิเคชั่นนั่นเอง ร้านไหนที่ยังมีแต่การรับเงินสดอย่างเดียว คงถึงเวลาที่ต้องเริ่มหาวิธีการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ช่วงนี้กัน

Contactless Payment

3. Drive-up หรือ walk-up windows หรือการสั่งอาหารแบบแยกจุด Pick upเป็นอีกวิธีที่สะดวกตอบโจทย์คนหิวที่อยาก Social distancing ซึ่งในบ้านเราจะเห็นระบบนี้ชัดๆกัยร้าน KFC หรือ Mc Donald แต่ในอนาคตเราอาจจะได้เห็นเห็นเทรนด์การออกแบบร้านที่เว้นระยะห่างระหว่างลูกค้ากับพนักงานมากขึ้น เช่น นอกจากจะมีพื้นที่สำหรับจอดรถสั่งและรับอาหารโดยเฉพาะแล้ว ยังมีฉากกั้นหรือแบ่งเป็นห้องสั่งที่เป็นสัดส่วนมากขึ้น เพื่อความรวดเร็วในการทำ-แพ็คและจัดส่งอาหาร และยังสะดวกต่อพนักงานเดลิเวอรี่ที่เข้ามารับอาหารด้วย ซึ่งร้านเครื่องดื่มบางร้านอย่าง Starbuck ก็มีบางสาขาในต่างประเทศที่เริ่มทำระบบนี้แล้ว ดังนั้น ร้านชาของใครที่พอมีพื้นที่เป็นสัดส่วนสามารถประยุกต์หน้าร้านให้เป็นจุด Pick Up สินค้าได้เร็วๆ โดยไม่ต้องรอนาน หรืออาจจะทำเป็นระบบให้้โทรสั่งแล้วให้พนักงานเดินออกมาให้ที่ริมถนนเมื่อลูกค้ามาถึงหน้าร้าน

Drive-up

4. บริการส่งอาหาร ผ่าน Deliveryนอกจากพนักงานส่งอาหารต้องใส่หน้ากากตลอดเวลาขณะปฏิบัติงาน รักษาระยะห่างกับลูกค้าไม่น้อยกว่า 1 เมตรแล้ว ในส่วนของร้านชาที่ต้องทำ คือ ต้องคิดว่าทำอย่างไรที่จะทำเมนูเครื่องดื่มในแอพพลิเคชั่นต่างๆให้อ่านง่าย มีรายละเอียดให้ลูกค้าเข้าใจว่าเครื่องดื่มแต่ละแก้วมีส่วนผสมอะไร พิเศษยังไง แต่ละหมวดหมู่ไม่ควรมีจำนวนมากเกินไป จะทำให้ลูกค้ารู้สึกสับสน ไม่รู้ว่าควรจะเลือกเมนูไหนดี และอย่าลืมอัพเดตเมนูพิเศษใหม่ๆ หรือทำโปรโมชั่นในแอพพลิเคชั่น เพื่อให้ลูกค้าได้รู้สึกเหมือนซื้อทานที่หน้าร้าน เป็นการเพิ่มความตื่นเต้นให้กับลูกค้า

5. หากร้านไหนที่ยังคงเปิดให้บริการตามปกติ ควรเพิ่มระบบจองคิวให้ลูกค้า โดยเฉพาะร้านชาที่มีขนาดเล็กมีไม่กี่ที่นั่ง เพื่อลดการรอคิวที่แออัดหน้าร้าน ลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคนั่นเอง

Delivery

6. จำนวนบิลที่ลดลง เพราะที่ร้านจำกัดจำนวนลูกค้า ทำอย่างไรที่จะเพิ่มยอดขายต่อบิลได้นั้น เป็นเรื่องที่ต้องคำนึงถึงโดยเฉพาะร้านชาบางร้านที่เน้นขายเครื่องดื่ม เมนูในร้านไม่ได้หลากหลายมาก การเพิ่มยอดขายจากลูกค้าที่มาคนเดียวทำได้หลายวิธี เช่น เพิ่มเมนูGrab&Go ที่หยิบขายง่ายๆไม่ต้องรอนาน หรือจะเป็นการจัดชุดเมนูชาเครื่องดื่มสุดคุ้ม เป็นต้น

Open Kitchen

7. Open Kitchen เทรนด์ครัวเปิด โชว์ความสะอาด และเพื่อลดความกังวลของลูกค้า การทำครัวเปิดให้ลูกค้าได้เห็นภาพการทำชงชาโดยตรง จะสร้างความรู้สึกเปิดกว้าง จริงใจ ช่วยทำให้ลูกค้ารู้สึกไว้วางใจร้าน และยังเป็นการโชว์ความน่าสนใจและลีลาการชงเครื่องดื่มให้กับร้านอีกด้วย

ที่มา

https://www.behance.net/gallery/53948421/Starbucks-Drive-Thru-(Keele-North)

https://www.pinterest.com/pin/491596115582901369/

บทความจาก : Fuwafuwa

E-commerce แบบไหนเหมาะกับร้านชา

พูดถึง E-commerce ก็ขออธิบายเพิ่มเติมก่อนว่า E-Commerce ย่อมาจากคำว่า Electronic Commerceเป็นการทำธุรกิจโดยซื้อขายสินค้าหรือโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่นิยมใช้งานมากที่สุดในปัจจุบันก็คือ อินเทอร์เน็ต โดยสามารถใช้ทั้งข้อความ เสียง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ซึ่งการทำ E-commerce สามารถเข้าถึงลูกค้าได้กว้างขวางและช่วยลดค่าใช้จ่ายต่างๆได้พอสมควร

E-commerce

E-commerce

ปัจจุบัน ผู้คนสามารถเข้าถึงสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ในโลกออนไลน์ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และการใช้งานอินเตอร์เน็ตถือได้ว่าเป็นกิจกรรมหลักในชีวิตประจำวันของผู้คนส่วนใหญ่ อีกทั้ช่วงสถานการณ์โควิดที่หน้าร้านบางร้านอาจจะเปิดขายได้ไม่เหมือนเดิม การหันมาพึ่งโลกโซเชียลในการขายจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกร้านควรหาลู่ทางในแบบที่ร้านตัวเองสามารถทำได้ ซึ่ง E-commerce เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง นอกจากพวกระบบดิลิเวอรี่อย่าง Line Man , Grab Food, Food Panda

หากถามถึงการทำ E-commerce ที่เหมาะกับร้านชา มี 3 ช่องทางใหญ่ ได้แก่

  1. Marketplaceเป็นช่องทางที่ทุกคนคุ้นเคยดี มีผู้เล่นใหญ่ๆ อย่าง Lazada, Shopee ซึ่งหากร้านชาร้านไหนมีใบชา ผงชา หรือสินค้าอื่นๆที่สามารถลงในแพลตฟอร์มเหล่านี้ได้ ก็ควรลองเปิดร้านค้าทิ้งไว้เช่นกัน เนื่องจากแพลตฟอร์มเหล่านี้มีสินค้าที่หลากหลาย และกลุ่มลูกค้าก็กว้าง ระบบโลจิสต์ติกส์ การชำระเงินครบวงจร จึงเหมาะกับร้านชาที่มีสินค้าแห้งๆอย่างวัตถุดิบส่วนผสมในกรชงเครื่องดื่ม หรืออาจะทำเป็นชุด Meal kit, Giftset วางขายในระบบแทนก็น่าสนใจเช่นกัน ดูโมเดลร้านชาใหม่ๆได้ที่ shorturl.at/bruEX
  2. E-Retailer เป็นกลุ่มธุรกิจค้าปลีกที่มีการขยายช่องทางออนไลน์ จากเดิมที่มีแค่หน้าร้าน ก็เพิ่มในส่วนของอีคอมเมิร์ซเข้ามา เช่น เทสโก้ โลตัส, บิ๊กซี, เซ็นทรัล และเดอะมอลล์ เป็นต้น ก็เปรียบเหมือนการที่เราไปออกบูทในห้างนั้นเอง เพียงแต่สินค้าที่ขายอาจะขายได้ไม่หลากหลายและมีข้อจำกัดพอสมควร ซึ่งร้านค้าปลีกบางร้านอาจจะมีค่าแรกเข้าที่ราคาค่อนข้างสูง จึงไม่ค่อยแนะนำกับแพลตฟอร์มนี้มากนัก
  3. Direct to Consumerคือการที่ร้านชาสร้างเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชั่นของตัวเองเพื่อให้มีฐานข้อมูลลูกค้าอยู่ในมือ และสามารถนำข้อมูลลูกค้าไปต่อยอดทำ Royalty Program ในอนาคตได้ ซึ่งการทำเว็บไซต์ E-Commerce ทีดีควรประกอบไปด้วย
    • หน้าเว็บไซต์ต้องเป็นระเบียบ นอกจากความสวยงามแล้ว เว็บไซต์จะต้องใช้งานง่าย มีการแบ่งหมวดหมู่สินค้าอย่างเป็นระบบ ไม่ซับซ้อน
    • ระบบเว็บไซต์หรือระบบหลังร้านต้องจัดการและควบคุมได้ง่าย เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ขาย
    • มีรายละเอียดของสินค้าครบถ้วนชัดเจน ทั้งรูปภาพ ข้อความอธิบาย ราคา นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มส่วนของรีวิวจากลูกค้าก็ได้เพื่อช่วยในการตัดสินใจซื้อ
    • สถานะสินค้าต้องแสดงแบบ Real Time กล่าวคือ ถ้าสินค้าหมด หรือเหลือจำนวนน้อย ต้องขึ้นแสดงให้ลูกค้าเห็น เพื่อให้ง่ายต่อการตัดสินใจซื้อ
    • มีขั้นตอนการสั่งซื้อที่ง่าย ไม่ยุ่งยาก มีการระบุชัดเจนว่าต้องทำอย่างไรบ้าง
    • อำนวยความสะดวกในการสั่งซื้อด้วยระบบตะกร้าสินค้า (Shopping Cart) ที่สามารถจดจำข้อมูลและจำนวนสินค้าของลูกค้าเอาไว้
    • สามารถสรุปรายการสั่งซื้อให้ลูกค้าได้ เช่น ราคาสินค้าทั้งหมด ค่าจัดส่ง เป็นต้น
    • การชำระเงินต้องมีความปลอดภัย และควรมีช่องทางให้ลูกค้าชำระเงินได้หลายช่องทาง เช่น บัตรเครดิต โอนผ่านธนาคาร เป็นต้น
    • มีระบบการติดตามการจัดส่ง เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า
    • เว็บไซต์ต้องรองรับการทำ SEO (Search Engine Optimization) ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้ค้นเจอเว็บไซต์และเพิ่มผู้เข้าชมเว็บไซต์ ซึ่งจะทำให้มีโอกาสขายสินค้าได้มากขึ้น

นอกจากการมีการทำ E-Commerce แล้ว ไม่ว่าจะทำด้วยแพลตฟอร์มของร้านเองหรืออาศัยเจ้าอื่นต้องอย่าลืมที่จะใช้กลยุทธ์การตลาดทั้งเรื่องการอัพเดตภาพเมนูใหม่ๆ การทำโปรโมชั่นในการโปรโมทสินค้าทางช่องทางออนไลน์ด้วยเหมือนเวลาที่เราเปิดขายหน้าร้านนั่นเอง

การทำเว็บไซต์ของร้านชาเอง จึงถือเป้นแพลตฟอร์มที่ค่อนข้างเหมาะกับผู้ประกอบการร้านชาทั้ง SMEและร้านที่ขายเครื่องดื่ม ขนม ที่ต้องมีการบอกเล่าเรื่องราว เอกลักษณ์ของแบรนด์ ผ่านหน้าเว็บไซต์ที่สวยๆ ซึ่งเว็บสำเร็จรูปฟรีที่สามารถให้ทดลองใช้ก็มีหลายตัว เช่น wordpress, wix.com หรือแบบเสียค่าแพคเกจในราคาถูก แต่ครีเอทเว็บสวยๆได้ก็มีมากมาย ซึ่งหลังจากครีเอทแล้ว แนะนำให้สร้ง Line@ ของที่ร้านเพื่อรับออเดอร์ และจัดส่งเองผ่านทาง Lineman, Grab หรือลาลามูฟ ก็เป็นวิธีที่เหมาะสม รวดเร็ว ประหยัดค่าใช้จ่ายและสามารถส่งอาหาร เครื่องดื่ม ขนม ได้ทุกเมนูของที่ร้าน

อีกสิ่งที่แม้ว่าเราจะหันไปรับลูกค้าทาง W-commerce แทนหน้าร้าน ก็อย่าลืมที่จะใช้การให้บริการเฉกเช่นเดียวกับการขายหน้าร้านเหมือนเดิมด้วยหลักของ Emotional Value 

ที่มา

https://brandinside.asia/e-commerce-thai-marketer-need-to-know/

https://guru.sanook.com/3871/

https://dribbble.com/shots/6623948-Matcha-cafe-app

บทความจาก : Fuwafuwa

เพิ่ม 3 แนวคิดธุรกิจอาหาร ให้ร้านชาโตต่อได้

ในยุคที่ร้านคาเฟ่ผุดขึ้นเยอะมาก การออกเมนูใหม่ โปรโมชั่นใหม่ หรือตกแต่งร้านเพิ่มเติม อาจจะไม่เพียงพออีกต่อไป การโฟกัสถึงเทรนด์ธุรกิจอาหาร จึงเป็นอีกสิ่งที่จะช่วยให้ธุรกิจไปต่อได้  เพราะเทรนด์อาหารสมัยนี้ ไม่ได้เน้นแค่ความอร่อย ยิ่งช่วงนี้ที่โควิดกลับมาระบาดอีกรอบ การสร้างความสะดวกให้ลูกค้าและให้ลูกค้าได้สัมผัสประสบการณ์กับอาหารเครื่องดื่มคุณภาพดี เหมือนได้ไปทานที่ร้านจึงเป็นเทรนด์ที่ร้านค้าต้องหันมาให้ความใส่ใจมากขึ้น มาดู 3 แนวคิดหลักของธุรกิจอาหาร ที่จะช่วยให้ร้านชาของคุณยังเติบโตได้แม้จะมีสถานการณ์โควิดก็ตาม

1. การเพิ่ม Option ให้สั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชั่นที่ทางร้านครีเอทเอง หรือผ่านระบบ Delivery ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ายุคนี้ การสั่งอาหารผ่านช่องทางออนไลน์เติบโตอย่างรวดเร็วมาก ยิ่งสถานการณ์โควิด ที่ทำให้หลายคนหลีกเลี่ยงการเข้าร้านอหาร และหันมาใช้การสั่งอาหารผ่านมือถือแทน ด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวกสบาย และเทรนด์การให้บริการในรูปแบบนี้ยังมีโปรโมชั่น สิทธิพิเศษมากมาย การเอาร้านชาเข้าไปอยู่ในแพลตฟอร์มสั่งอาหารดิลิเวอรี่อย่าง Grab Food, Food Panda, Gojek, Line Man จึงยังไปได้ดีอย่างแน่นอน ถึงแม้จะมีการเสีย GP อยู่บ้าง ทำให้บางร้านไม่อยากร่วมกับการทำดิลิเวอรี่แพลตฟอร์มเหล่านี้ แต่หากพิจารณาดีๆแล้วจะพบว่าการขายทางช่องทางดิลิเวอรี่พวกนี้ช่วยให้ร้านสามารถใช้วัตถุดิบที่มีอยู่แล้ว

Delivery

อย่างไรก็ตามสำหรับร้านชา อาจจะกังวลกับการขนส่งสินค้าที่ร้านว่าอาจจะหก เลอะเทอะ ไปถึงลูกค้าอาจจะไม่ได้รับสินค้าที่สมบูรณ์ 100% นั้น ต้องตัดความกังวลนั้นทิ้งแล้วมองหาแพคเกจ อีกทั้งวิธีการที่แตกต่างออกไปในการเสิร์ฟชาแทน เช่น การใช้ขวดใส่น้ำแยกน้ำชาและน้ำแข็งออกจากกัน

2. ปรับเมนูเครื่องดื่ม อาหารเพื่อสุขภาพ และมีความ Creative มากขึ้น อาหารที่ให้มากกว่าความอร่อยสำหรับยุคนี้ ต้องเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และหากมีการนำศาสตร์ชั้นสูงมาสร้างสรรค์เมนูอาหาร หรือใส่ความคิดสร้างสรรค์เข้าไปในเมนู ตลอดจนการนำเสนอในรูปแบบใหม่ๆ ที่ชวนตื่นเต้น ล้วนเป็นการสร้างประสบการณ์ใหม่ให้ลูกค้า อย่างการดื่มชาเขียวปกติหากทำเป็นสมูตตี้เพิ่มผลไม้บางตัวเข้าไปให้ชาเขียวมีรสชาติที่แปลกใหม่มากขึ้นและยังดีต่อสุขภาพ ก็เป็นสิ่งที่ช่วยดึงดูดลูกค้าสาวๆได้มากขึ้น หรือจะเป็นโยเกิร์ตธัญพืชที่เป็นกระแสมื้อเช้ายอดนิยมอยู่ช่วงนี้ สามารถเพิ่มรสชาติชาเขียวเข้าไปได้ เพื่อสร้างความเป็นเอกลักษณ์ให้มื้อเช้าที่ร้านของคุณ

Healthy Healthy

อย่างไรก็ตามหากเป็นเมนูเครื่องดื่ม อาหารเพื่อสุขภาพ หรือเป็นเมนูที่ครีเอทมากๆมักจะมีราคาที่สูงทำให้ลูกค้าใหม่น้อยคนนักที่จะกล้าลอง ดังนั้น หากทางร้านสามารถควบคุมต้นทุนให้ได้ในราคาต่ำ จะยิ่งทำให้ราคาขายถูกลงและเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้ง่ายขึ้นนั่นเอง

3. ธุรกิจขายอาหารแบบ 24 ชั่วโมงใครจะไปคิดว่า โมเดลการเปิดร้านอาหารแบบ 24 ชั่วโมงนั้น จะเป็นไปได้ และจะมีผู้ใช้บริการจริง แต่ด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน มีการใช้ชีวิตช่วงกลางคืนมากขึ้น และกลุ่มคนที่ทำงานในช่วงเวลากลางคืนนั้นจะมีโอกาสน้อยมากในการได้รับประทานอาหารเครื่องดื่มอร่อยๆ เหมือนคนที่ใช้ชีวิตช่วงกลางวัน อีกทั้งคนไทยยังมีความเชื่อว่าการบริโภคชา กาแฟที่มีคาเฟอีนช่วงกลางคืนจะทำให้นอนไม่หลับ ร้านค้าที่ขายชากาแฟช่วงดึกจึงมีน้อยมากๆ แต่คนที่ใช้ชีวิตช่วงกลางคืนก็ยังคงต้องการดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้อยู่ โมเดลธุรกิจขายอาหารเครื่องดื่ม 24 ชั่วโมงนี้จึงไปได้ดีกว่าที่คิด ถือเป็นการผลักดันให้ธุรกิจอาหารเติบโตจากการจับไลฟ์สไตล์คนใช้ชีวิตกลางคืนนั่นเอง

ที่มา

https://www.elle.com/culture/career-politics/a31478025/how-to-help-community-coronavirus-pandemic/

https://weheartit.com/entry/320776028

บทความจาก : Fuwafuwa

เพิ่มยอดขายร้านชาจากลูกค้าที่มาคนเดียว

4 เทคนิคนี้เป็นวิธีง่ายๆ ที่จะช่วยเพิ่มยอดขายโดยที่ลูกค้าไม่รู้สึกอึดอัดใจกับการมาทานชาคนเดียวในร้าน อาจจะด้วยเหตุผลที่ต้องการความสงบจึงเลือกมาร้านชาคนเดียว อาจจะด้วยสภาพสังคมที่วุ่นวายทำให้มีคนบางกลุ่มต้องความสงบในวันหยุดเสาร์อาทิตย์ หรือเป็นเพราะโสด หรือด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม แต่การที่ลูกค้าเดินคนเดียวเข้าไปในร้าน อาจจะสร้างความหนักใจให้บางร้าน เพราะคงคิดว่าคงได้ยอดซื้อไม่เท่าไหร่ การที่จะเพิ่มยอดขายจากบิลของลูกค้ากลุ่มนี้ได้นั้นจริงๆแล้วไม่ใช่เรื่องยาก เริ่มจากแนะนำให้ลองใช้เทคนิค 4 ข้อดังนี้

1. แนะนำเมนูของว่างและของหวานทานคู่เครื่องดื่มชาที่เป็นเมนูหลักของที่ร้าน โดยอาศัยช่วงที่รับออร์เดอร์ เทรนด์ให้พนักงานเสนอเมนูของว่าง ขนม ให้ลูกค้ารับประทานเล่นระหว่างรอเครื่องดื่ม หรืออาหารที่ต้องใช้เวลานานในการทำ โดยเมนูที่ควรแนะนำ ควรเป็นเมนูที่ช่วยเสริมให้รสชาติเครื่องดื่มอร่อยยิ่งขึ้น เช่น การเสนอขนมไดฟุกุ ขนมที่ไม่ต้องใช้เวลาในการปรุง แค่หยิบเสิร์ฟได้เลย ประหยัดเวลารอ ให้ทานคู่กับชาเขียวร้อน เป็นต้น หรือลองสังเกตพฤติกรรมลูกค้า ตอนที่ลูกค้าใกล้รับประทานอาหารเสร็จ ให้เข้าไปพร้อมเสนอเมนูของหวานและเครื่องดื่มตบท้าย ก็เป็นวิธีง่ายๆที่ช่วยเพิ่มยอดขายต่อบิลได้โดยเฉพาะสาวๆ

Matcha Order

2. จัดเซ็ตเมนูสุดคุ้มควบเมนูคาวหวานและเครื่องดื่ม เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดที่ทำให้ได้ยอดซื้อต่อบิลมากขึ้นจากลูกค้าที่มาคนเดียว ใช้กลยุทธ์นี้ได้ทุกเพศทุกวัย เพียงแค่จับเซ็ตเมนูที่ได้ครอบคลุมทุกอย่าง หรือใช้แค่การเพิ่มเงิน 10-50 บาทแล้วได้อีกเมนูไปทานด้วย จะทำให้ลูกค้ารู้สึกครบ จบ ประหยัดได้ในชุดเดียว การจัดเซ็ตเมนูจึงถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะทำให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่า และยินดีจ่ายในราคาที่สูงขึ้นโดยไม่รู้สึกอึดอัดใจ เช่น แทนที่คุณจะนำเสนอเมนูเดี่ยวๆ เช่น โซบะชาเขียวเย็น ก็เพิ่มการจัดเซ็ตสุดคุ้ม เสิร์ฟคู่โยคังชาเขียวถั่วแดง และชาร้อนๆสักแก้วพร้อมเครื่องเคียงที่ไว้ทานคู่กับโซบะอีกเล็กน้อย รับรองว่าไม่ว่าใครเห็นก็ต้องรู้สึกว่าคุ้ม หรือลองศึกษาวิธีว่าทำยังไงให้ลูกค้ารู้สึกว่าชาที่ร้านคุ้มค่าสมราคาเพิ่มเติมเป็นไอเดีย ก็ช่วยได้ทีเดียว

Matcha Order

3. ปรับปริมาณให้น้อยลงเพื่อให้สั่งได้หลากหลาย เพราะการจัดเซ็ตสุดคุ้ม อาจจะเป็นปริมาณที่ดูคุ้มจริงแต่เยอะไปสำหรับลูกค้าบางคน โดยเฉพาะสาวๆที่กลัวอ้วนหากทานเยอะไป ลูกค้าจึงเลือกที่จะสั่งอาหารจานเดียวแทน ฉะนั้นไม่ว่าคุณจะพยายามเสนอขาย หรือทำเมนูอร่อยเด็ดขนาดไหน เขาก็สั่งแค่จานเดียว ทางแก้ง่ายๆ คือ ปรับไซส์ของเมนูให้น้อยลง ทำเมนูเฉพาะ size s เช่น จากขนมเค้กชิ้นโต อาจจะทำขนาดมินิลง ระบุว่าเป็นไซส์ S ปรับปริมาณน้อย แล้วมาจับชุดเป็นเซ็ตสุดคุ้มเฉพาะคน size s นั่นเอง เพราะหากขายแต่เมนูเดี่ยวๆสำหรับ size s อาจจะทำให้ลูกค้าบางคนรู้สึกว่าน้อยเกินไปก็เป็นได้

Matcha Order Matcha Order

4. มีสินค้า Grab & Go มากขึ้นตั้งบริเวณหน้าร้านเพื่อให้ลูกค้าที่มาคนเดียวหยิบซื้อได้โดยไม่เคอะเขิน ยิ่งมีสินค้าที่ราคาไม่แพงมาก ดูแล้วแพคเกจสวยน่าทาน หรืออาจจะมีตัวชิมวางเล็กน้อย ยิ่งง่ายต่อการเพิ่มยอดซื้อต่อบิลได้ แต่ถ้าร้านไหนมีพื้นที่เพียงพอ อาจจะจัดชั้น Display เป็นมุมให้ลูกค้าาแวะซื้อก่อนกลับ ก็ช่วยเพิ่มยอดต่อบิลได้ไม่มากก็น้อย

Matcha Order Matcha Order

ข้อควรระวังอย่างมาก ลูกค้าที่มาคนเดียวบางคน อาจจะต้องการความสงบในร้าน และไม่ต้องการให้พนักงานมาเชียร์ขายสินค้ามากนัก โดยเฉพาะคนที่มร้านเครื่องดื่มคนเดียว เป็นไปได้ว่าอาจจะต้องการสมาธิ ในการคิดงานหรือ อ่านหนังสือสักเล่มพร้อมเครื่องดื่มดีๆ ดังนั้นการสังเกตพฤติกรรมลูกค้าจึงสำคัญอย่างยิ่งกับการให้บริการลูกค้าทุกกลุ่ม

ที่มา

https://www.facebook.com/paperandtea/photos/2223036527737529/

บทความจาก : Fuwafuwa

Touch point ลูกค้าร้านชา ด้วยการออก Limited Collection

การพัฒนาหรือปรับปรุงให้ลูกค้ามีความพึงพอใจในสินค้าหรือบริการ เป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกร้านต้องดูแลลูกค้าไปตลอดทั้งกระบวนการตั้งแต่ก่อนการขาย ระหว่างการขาย รวมไปถึงหลังการขาย เพราะการให้ความสำคัญกับ Customer Touchpoint จะทำให้คุณมองเห็นแนวทางในการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ได้ครบทุกจุดเพื่อให้เกิดประสบการณ์ที่ดีต่อลูกค้า ซึ่ง Customer Touchpoint จริงๆแล้วเริ่มตั้งแต่ลูกค้าค้นหาร้านชาผ่านออนไลน์ โฆษณา การเข้ามาที่ร้าน และจนจบการขาย ซึ่งการที่เราจะTouch Point ที่ดีที่สุดเป็นการที่เราทำให้ลูกค้าสามารถสัมผัสประสบการณ์กับการเป็นส่วนหนึงของร้านเราทุกที่-ทุกเวลาไม่จำกัดแค่ที่หน้าร้านได้นั้น  นั่นคือ การออก Merchandise Limited Collection สินค้าแบรนด์ของร้านตัวเองนั่นเอง ที่ช่วยค่อยๆแทรกซึมไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคนยุคนี้ ในทุกโอกาส ทุกโมเมนต์ของการบริโภค ไม่ว่าจะในร้าน – นอกร้าน นั่นเอง เพื่อสร้างโอกาสการเติบโตทางธุรกิจของร้านเครื่องดื่มปกติในแขนงอื่นๆโดยไม่ต้องรอแต่ลูกค้าที่เดินเข้ามาใช้บริการที่ร้านอย่างเดียว โดยสินค้า Limited Collection ถ้ายกตัวอย่างให้เห็นได้ชัดที่สุด คงหนีไม่พ้น “Starbucks” ที่ไม่ว่าจะเทศกาลไหนๆก็สามารถออกสินค้ามาดึงความสนใจได้ตลอด

Merchandise Limited Collection Merchandise Limited Collection

จะสังเกตได้ว่าใครที่เป็นลูกค้า Starbucks ก็จะมีทั้งแก้วเครื่องดื่มร้อน และแก้วเครื่องดื่มเย็น ที่พกติดตัวไปไหนมาไหนด้วย และแก้วสำหรับใช้ที่บ้านโดยเฉพาะ ทำให้แบรนด์เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน และแทบจะอยู่ในทุกโมเมนต์ของกิจกรรมประจำวัน ตั้งแต่เช้า – เดินทางไปทำงาน/ไปเรียน ไปจนถึงกลับบ้านการออกคอลเลคชั่นใหม่อย่างต่อเนื่องของ starbucks นี่เองที่ทำให้สร้างสีสันให้เหล่าลูกค้าได้รู้สึกอยากมีส่วนร่วมกับเทศกาลนั้นๆ

อย่างไรก็ตาม Limited Collection ไม่ได้จำกัดแค่แก้ว ยังสามารถครีเอทลายบนเสื้อ หรือสมุดอื่นๆได้อีกมากมาย ซึ่งสินค้านี่เองยังเป็นตัวสะท้อนวิสัยทัศน์ของร้านได้อีก อย่างร้านชาที่ควรออกสินค้า Limited Collection นี้เพื่อสะท้อนถึงการสร้างพฤติกรรมลูกค้าให้หันมาใช้ “แก้วส่วนตัว” มาซื้อเครื่องดื่มที่ร้านเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม และยังนำไปต่อยอดทำโปรโมชั่นที่ร้านได้อีกด้วย

Limited Collection Limited Collection

ส่วนลวดลายที่นำมาใช้กับสินค้า Limited Collection นี้ สามารถทำได้ง่ายๆตั้งแต่ การใช้โลโก้เลย หรือออกกลุ่มกราฟฟิคขึ้นมาอีกชุดเพื่อใช้กับสินค้านี้โดยเฉพาะ เพราะสินค้า Limited Collection นี้เป็นเหมือน“Silent Salesman” ที่ทรงพลัง ทั้งในการสร้าง Brand Visibility จากการที่คนถือแก้วไปมา หรือตั้งอยู่บนโต๊ะ ทำให้แก้วเป็นสื่อ หรือ Touch Point หนึ่งที่ปะทะสายตาของผู้ที่พบเห็นได้อีกด้วย

Limited Collection

ถึงแม้ Core Business ของร้านชา คือ เครื่องดื่มและอาหาร แต่ Merchandise เป็นอีกขาหนึ่งของการสร้างรายได้ และช่วยสร้าง Engagement ระหว่างแบรนด์ กับลูกค้า และเป็นอีก Touch Point การสื่อสารแบรนด์ได้เป็นอย่างดี ที่ไม่ว่าใครถือแก้ว หรือใช้สิ่งของต่างๆ ของ Starbucks ใครเห็นแล้วย่อมเห็นโลโก้ และชื่อแบรนด์ที่จดจำได้ ขณะเดียวกันทำให้แบรนด์อยู่ในบทสนทนาของลูกค้า ยิ่งคอลเลคชั่น Limited Edition วางจำหน่ายเฉพาะช่วงเวลาหนึ่งๆ เพื่อให้แฟนคลับได้สะสม จะเกิดการพูดถึง และบอกต่อ หากร้านไหนที่มีสินค้า Merchandise Limited Collection แบบนี้อยู่แล้ว อย่าลืมที่จะจัด Display และจัดเรียงสินค้าให้หาง่าย และเข้าถึงได้ง่าย อย่างที่ร้าน Starbucks เอง เลือกที่จะวางใน Shelf ใกล้ๆแคชเชียร์ และใกล้ประตูทางเข้าออก เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าสนใจสินค้านี้ตั้งแต่แว่บแรกที่เห็นนั่นเอง

กลุ่มสินค้า Merchandise นี้ยังมีประโยชน์มากในช่วงเทศกาลปีใหม่ เพราะสามารถซื้อฝากใครๆก็ได้ หรือจะนำมาจับชุดของขวัญให้คู่กับเมนูขนมที่ร้านก็ยิ่งทำให้ผู้รับรู้สึกไก้สัมผัสประสบการณ์ เหมือนได้ไปทานที่ร้านเองเลย หากใครที่ไม่รู้จะครีเอทสินค้าอะไร อาจจะเริ่มจากการไป Collaboration กับศิลปิน Artist ก่อนเพื่อให้ลูกค้ารู้จักเราได้ง่ายขึ้น แล้วค่อยเลือกสินค้าออกตามซีซั่นก็ย่อมได้

Limited Collection Limited Collection

ที่มา

https://www.marketingoops.com

https://www.carousell.sg

https://jw-webmagazine.com/

https://chachanoma-shop.jp/SHOP/0301-1008.html

https://www.facebook.com/paperandtea/photos

บทความจาก : Fuwafuwa

จัดแคมเปญร้านชายังไง ให้ส่งท้ายปีแบบปังๆ

เริ่มเข้าสู่สิ้นปี ช่วงที่ทุกคนชื่นชอบ ช่วงเวลาแห่งการจับจ่ายใช้สอย ให้รางวัลตัวเองและซื้อของฝากคนที่รัก ร้านค้า คาเฟ่ต่างๆหลังจากรีวิวผลประกอบการภาพรวมตรวจเช็คทุกไอเท็มในร้านชา( ดูเพิ่มได้ที่ shorturl.at/ckos8 ) แล้ว ก็เข้าสู่ช่วงโหมกระหน่ำจัดโปรโมชั่นลด แลก แจก แถม เพื่อเป็นการเพิ่มยอดขาย แต่นอกจากการทำโปรโมชั่นลดหนักๆแล้ว

ช่วงสิ้นปีแบบนี้ยังสามารถจัดกิจกรรมเพิ่มเติมให้ร้านชาของคุณมีสีสันได้มากขึ้นด้วยการ…..

1.เริ่มจากจัดตกแต่งร้าน นอกจากการเอาต้นคริสมาสต์มาวางและตกแต่งจุดอื่นๆให้มีกลิ่นอายความเป็นคริสมาต์ก็ถือว่าช่วยสร้างบรรยากาศการซื้อได้แล้ว แต่หากอยากให้เป็นภาพจำกับลูกค้าได้ง่ายขึ้น ควรวางคอนเซ็ปต์ตั้งแต่การตกแต่งแรกเลย เพื่อให้ทุกจุดในร้านมีความสอดคล้องกัน

ตกแต่งร้าน

การวางคอนเซ็ปต์ ต้องคำนึงถึงสีสัน ว่าจะเป็นคริสมาต์เน้นแดงเขียว หรือเน้นโทนสีทองสีเงิน เพื่อให้ภาพร้านเป็นไปในทิศทางเดียวกันรวมไปถึงป้ายตามจุดต่างๆด้วย เช่น ป้ายโปรโมชั่น ป้ายราคา รวมถึงแพ็คเกจจิ้งของสินค้า หากใครนึกภาพไม่ออก ลองนึกถึงสตาบัคส์ ที่มีการเปลี่ยนป้าย เพิ่มการตกแต่งและออกแพคเกจช่วงคริสมาสต์ทุกปี ให้ลูกค้าได้สนุกกับการรอลุ้นว่าปีนี้แก้วจะออกมาสีอะไร

แพ็คเกจจิ้ง แพ็คเกจจิ้ง

อย่างไรก็ตามการตกแต่งและทำทุกจุดในร้านให้เป็นธีมเดียวกัน อาจจะต้องใช้ Budget จำนวนหนึ่ง ซึ่งร้าน SME หรือธุรกิจเล็กๆ อาจจะยังมีงบไม่เพียงพอ ก็สามารถลดทอน แล้วเน้นเฉพาะการจัดตกแต่งบริเวณ Display จุดเดียวที่ร้านก็ได้

2.หลังจากบรรยากาศภายในร้านแล้ว ก็มาถึงตัวสินค้าที่ต้องคำนึงถึงว่า จะสร้างสีสันใหม่ๆ ครีเอทอะไรเพิ่มเติมเพื่อให้เมนูเดิมๆ กลายเป็นเมนูที่สร้างรอยยิ้มช่วงความสุขได้ เช่น มัทฉะลาเต้ร้อน จากเดิมที่เสิร์ฟเพียวๆ เพิ่มท้อปปิ้งด้วยมาชแมลโลว์ snowman น่ารักๆลงไป หรือออกรสชาติใหม่ไปเลย ที่เน้นการตกแต่งด้วยสีเขียวแดง เพราะชาเขียวสามารถเป็นของขวัญทุกเทศกาลได้อยู่แล้วตามความเชื่อของคนญี่ปุ่นอ่านเพิ่มเติมได้ที่ shorturl.at/dsGI8

Festive

การเพิ่มไอเท็มเล็กๆน้อยๆลงไปในเมนูเดิม ถือว่าประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการทดลองเมนูใหม่ได้ดีทีเดียว และยังสร้างความแปลกใหม่ให้ลูกค้าได้สัมผัสและสนุกไปกับช่วงเวลาพิเศษแบบนี้

3.การจัดชุดของขวัญเป็นGift Setที่รวมอุปกรณ์ชงชา หรือจัดเซ็ตของขวัญผงชา หรือเครื่องดื่มเบเกอรี่ที่ร้าน ให้เป็นชุดเซ็ตที่เหมาะกับการส่งมอบให้ช่วงปีใหม่

Gift Set Gift Set

แต่จะเพิ่มความน่าสนใจ ทำให้ลูกค้าสนุกมากขึ้นนอกจากการซื้อชุดของขวัญปกติ คือ ปรับ Gift Set ให้เป็น ชุด Lucky bagตามแบบคนญี่ปุ่น ที่หลายๆร้นจะจัดเซ็ตถุงโชคดีนี้ขายในราคาที่ถูกกว่ามูลค่าของจริงในถุง โดยที่จะไม่เห็นสินค้าภายในถุงว่ามีอะไรบ้าง เป็นการเสี่ยงโชคที่ได้รับของขวัญแน่นอนแต่ลุ้นแค่ว่า ได้อะไร

Lucky bag

4. จัดเวิร์คช็อปในธีมคริสมาสต์ เอาใจสาวๆที่ชอบการ D.I.Y. อยากทำของของขวัญ เช่น ทำคุ้กกี้คริสมาต์ชาเขียว  เป็นเมนูที่ทำไม่ยากและสามารถตัดแต่งคุ้กกี้ให้เป็นลวดลายสนุกได้ตามชอบ ยิ่งมีวัตถุดิบหลักเป็นผงชาเขียวด้วยแล้ว สีสันคุ้กกี้แบบต้นคริสมาต์ ยิ่งทำได้ไม่ยาก

workshop

5. ลุ้นรับของรางวัลด้วย Lucky Draw แน่นอนว่า การสุ่ม หรือเสี่ยงโชคเป็นสิ่งที่คนไทยชื่นชอบ ยิ่งแจกของช่วงสิ้นปีแบบนี้ ยิ่งเพิ่มความสนุกให้ลูกค้า เหมือนเป็นการคืนกำไรให้ลูกค้าได้ ทั้งนี้อาจจะต้องกำหนดยอดซื้อขั้นต่ำ และกฎเกณฑ์ในการจับฉลากเพื่อไม่ให้ที่ร้านขาดทุนจนเกินไป และของขวัญจากการจับฉลาก ควรเป็นสินค้า หรือบริการของที่ร้านเลย เช่น คูปองรับฟรีเครื่องดื่ม คูปองแลกซื้อผงชาเขียวไปชงเองที่บ้าน เป็นต้น

lucky draw

6. ทำการตลาดทั้ง 2 ช่องทาง ทั้ง online to offline และ offline to onlineเพราะในยุคนี้ ออนไลน์ถือเป็นสื่อแรกๆที่จะเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้วงกว้าง กล่าวคือ อาจจะมีการโพสต์แจกคูปองส่วนลดในเพจ เพื่อให้ลูกค้าที่ไม่เคยมที่ร้าน ได้กดรับสิทธิ์และแวะมาใช้ส่วนลดที่หน้าร้านได้ หรือจะเป็นกรณีที่ลูกค้ามาซื้อชาที่หน้าร้าน ให้โพสต์ในช่องทางออนไลน์ และติดแท็ก หรือ# กลับมาที่เพจของร้าน ก็ช่วยประชาสัมพันธ์ได้ดีทีเดียว ในราคาประหยัดด้วย เนื่องจากร้นเครื่องดื่มทุกวันนี้มีเยอะมาก บางร้านมาไวไปไวตามกระแส เพราะฉะนั้นการทำให้ลูกค้าใหม่เข้าถึงร้านชาของเราได้ง่าย มีส่วนลดตั้งแต่ครั้งแรกที่เข้าไป จะทำให้การตัดสินใจซื้อเป็นไปได้ง่ายขึ้น

สิ่งที่สำคัญที่สุดของการจัดแคมเปญร้านชาให้ปัง คือ การมองเห็นภาพรวมในทุกๆจุด ให้เป็นแคมเปญที่มีภาพจำเดียวกัน มากกว่าการทำโปรโมชั่นแบบฉาบฉวย หลังจากจบแคมเปญสิ่งที่ขาดไม่ได้ของการจัดแคมเปญสิ้นปีแบบนี้ คือ การประเมินและวัดผล ว่ายอดขายที่เพิ่มขึ้นมาจากจุดไหนบ้างเพื่อรีวิวแคมเปญและต่อยอดสู้การทำแคมเปญต่อไปในปีหน้าๆได้

ที่มา

https://twitter.com/nopstudio/status/674596615391350787

www.paperandtea.com

thekitchenmccabe.com

rawpixel.com

Marthastewart.com

บทความจาก : Fuwafuwa

ตรวจเช็คไอเท็มร้านชา “ถึงเวลาเก่าไปใหม่มารึยัง”

สิ้นปีแบบนี้ หลายๆร้านโฟกัสไปที่แผนของปีถัดไป ว่าจะทำอะไรใหม่ๆให้ที่ร้านดี ซึ่งถือว่าเป็นการวางแผนที่มองการณ์ไกลที่สำคัญ แต่อย่าลืมที่จะมารีวิวสิ่งต่างๆภายในร้าน ไล่ตรวจเช็คทุกไอเท็มว่าถึงเวลาเปลี่ยนรึยัง เพื่อสร้างภาพลักษณ์ใหม่ๆ แถมยังเป็นการจัดระเบียบร้านชาของคุณ ให้ใช้งานง่ายขึ้นไปอีกขั้น เริ่มจาก……..

1. สภาพวัตถุดิบภายในร้านตัวที่ค้างสต็อกมานาน ขายไม่ได้ หมดอายุรึยัง พวกนมสด ครีม หรือเนยที่เอาไว้ทำขนมในร้าน มักจะมีวันหมดอายุอยู่แล้ว แต่อย่างพวกผงมัทฉะ ผงชาโฮจิฉะ ที่ผลิตในญี่ปุ่น อาจจะดูแล้วไม่แน่ใจว่าวันหมดอายุคือตัวไหนแต่อาจจะสังเกตได้จากสีของผงชาที่เปลี่ยนไป เพราะความจริงแล้วในภาษาญี่ปุ่นคำว่าวันหมดอายุมี 2 แบบ คือ 1. วันหมดอายุควรบริโภค (消費期限)หมายถึง เราจะทานได้ถึงแค่วันที่ระบุไว้เท่านั้น เลยจากนั้นจะบูดเสีย และ 2. วันหมดอายุรสชาติ (賞味期限)หมายถึง สินค้าของเราจะอร่อยถึงแค่วันนี้เท่านั้น ต่อจากนั้นก็ไม่อร่อยแล้วนะ โดยมากผลิตภัณฑ์อาหารมักจะเขียนแบบที่ 2 เพื่อไม่ให้ลูกค้าติงได้ว่ากินก่อนวันหมดอายุควรบริโภคแล้วไม่อร่อย สำหรับผงชาทั้งหลายก็มักจะเป็นแบบที่ 2 กล่าวคือ ถึงจะเลยวันหมดอายุแล้วก็ยังชงดื่มได้อยู่นั่นเอง แต่รสชาติ กลิ่น จะหายไปเรื่อยๆนั่นเอง

Matcha

อย่างไรก็ตามวันหมดอายุดังกล่าว เป็นกรณีที่ ชานั้นถูกเก็บรักษาในอุณภูมิปกติโดยที่ยังไม่แกะซองนั่นเอง แปลว่า ถ้าเราแกะซองแล้วมันจะหมดอายุรสชาติเร็วขึ้นเนื่องจากสัมผัสกับอากาศและความชื้น ประกอบกับวิธีเก็บชาที่เปลี่ยนไปก็ทำให้อายุหดหรือยืดได้เช่นกัน ถ้าเก็บไว้ในที่อุณหภูมิสูงก็จะอายุสั้นลงอย่างไม่ต้องสงสัย แต่ถ้ายังไม่เปิดซองใบชาให้จับแช่ตู้เย็นช่องแข็งจะยืดอายุใบชาได้ถึง 2 ปีทีเดียว ใบชาส่วนใหญ่มีอายุ 1 ปีนับจากบรรจุซองหรือก็คือถ้าแช่ช่องแข็งก็จะบวกอายุไปอีก 1 ปี แน่นอนว่าสามารถใส่ช่องเย็นธรรมดาก็ได้เหมือนกันแต่จะอยู่ได้ไม่นาน แนะนำให้แบ่งใส่ถุงหลายๆถุง เพื่อช่วยให้ยืดการเสื่อมของรสชาติได้เพราะหากเราเก็บชาไว้ในที่เดียว ทุกครั้งที่เปิดมาชง อากาศก็จะเข้าๆออกๆ ทุกครั้ง ทำให้รสชาติใบชาเสื่อมลงเรื่อยๆ แต่ถ้าเราเก็บไว้หลายส่วน ชาส่วนที่แบ่งไว้จะสัมผัสอากาศน้อยครั้งกว่า พอชงที่แบ่งไว้ส่วนหนึ่งหมดแล้วไปเปิดอีกส่วนหนึ่ง ใบชาส่วนนั้นที่สัมผัสอากาศแค่ครั้งเดียว ย่อมจะคงรสชาติได้นานกว่าใบชาที่โดนอากาศหลายครั้ง สำหรับชาที่ใส่ไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดา ก่อนเปิดถุงควรเอามาตั้งทิ้งไว้ข้างนอกสักพักเพื่อให้อุณหภูมิในถุงเท่ากับอุณหภูมิห้อง

2. อุปกรณ์แตกพังบิ่นไปบ้างรึยัง ทั้งถ้วยชงชา ฉะเซน รีเช็คสภาพและวิธีการเก็บรักษาของพนักงานในร้าน โดยเฉพาะฉะเซ็นที่ทำจากไม้ไผ่จะกรอบและหักง่าย การเก็บรักษาที่ถูกต้องจะช่วยยืดระยะเวลาการใช้งานของอุปกรณ์นั้นๆ เพราะข้อควรระวังในการเก็บเพียงแค่ต้องไม่ชื้นและแห้งจนเกินไปครับ วางฉะเซ็นไว้ในห้องที่มีอากาศถ่ายเทสะดวกก็พอส่วนถ้วยชงชา หากมีการแตกร้าว หรือยังพอซ่อมแซมได้ อาจจะลองใช้การทำคินสึงิ ที่คล้ายๆการลงรักทองของคนญี่ปุ่น ก็ช่วยเพิ่มกลิ่นอายความเป็นญี่ปุ่นได้ แต่ถ้าหากใครไม่ถนัดงานฝีมือ แนะนำเป็นซื้อใบใหม่ ที่สร้างความแตกต่างจากใบเดิมไปเลยจะดีกว่า

อุปกรณฺ์

3. การตกแต่งภายในร้านโดยเฉพาะร้านที่เปิดมานานแล้ว สีสัน การตกแต่งต่างๆอาจจะหดความน่านใจหรือตกเทรนด์ไปแล้ว ลองปรับสไตล์ร้าน ปรับโทนสี หรือรีโนเวทบางส่วนของร้านรับเทรนด์ใหม่ๆที่กำลังมา

ร้านชา ร้านชา

นอกจากการตกแต่งร้านด้วยสี เราอาจจะเพิ่มความแปลกตาด้วยอุปกรณ์ชงเครื่องดื่มแบบใหม่ๆ ก็ช่วยสร้างความตื่นตาตื่นใจให้ลูกค้าขาประจำได้ทีเดียว

ร้านชา ร้านชา

4. ปรับผังเมนูที่ร้านและสื่อต่างๆ การปรับเมนูในที่นี่ ไม่ใช่แค่การเปลี่ยนดีไซน์ป้ายให้ดูใหม่ สวยงาม แต่เป็นการปรับผังทราเป็นเรื่องจำเป็นของทุกร้าน ที่ต้องเอาข้อมูลการขายของสินค้าแต่ละตัวมาดูว่า แต่ละเมนูขายดีแค่ไหนค่าเฉลี่ยว่าแต่ละวัน แต่ละเดือน เราขายแต่ละเมนูได้กี่แก้วใช้ข้อมูลย้อนหลังอย่างน้อย 30 วัน หรืออาจจะเปรียบเทียบย้อนไป 3 เดือน หรือเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าด้วย เพื่อประกอบการตัดสินใจ นอกจากนั้นยังต้องคำนึงถึงว่า แต่ละเมนูทำกำไรมากน้อยแค่ไหน เทียบกับต้นทุนวัตถุดิบแต่ละเมนูให้ชัดเจน เราจะเห็นอย่างชัดเจนดังนี้

  • เมนูที่ทำกำไรมาก และได้รับความนิยมมากสมควรเก็บไว้อย่างยิ่ง แล้วควรโปรโมทให้เป็นเมนูแนะนำ เชียร์ขายให้สุด
  • เมนูนั้นกำไรน้อย แต่ได้รับความนิยมมากอาจจะลองเพิ่มราคา แต่แน่นอนว่าลูกค้าบางรายย่อมไม่พอใจ และอาจทำให้เมนูนั้นราคาโดดสูงกว่าเมนูอื่นๆ มากเกินไป ดังนั้นจึงไม่ใช่วิธีที่แนะนำ หรือจะลองออกเมนูใหม่ที่ใกล้เคียงกัน แต่ได้กำไรมากกว่า แล้วเชียร์ขายเมนูใหม่ หรือจัดโปรโมชั่น เพื่อให้ลูกค้าสั่งเมนูเก่าน้อยลง หันมาสั่งเมนูใหม่แทน เมื่อลูกค้าติดเมนูใหม่ จึงค่อยๆ ถอดเมนูที่ไม่ทำกำไรออกไปในภายหลัง
  • เมนูนั้นกำไรมาก แต่ได้รับความนิยมน้อยต้องค้นหาให้เจอว่า เพราะอะไรลูกค้าจึงสั่งเมนูนี้น้อย เพราะพนักงานเชียร์ขายน้อย ตำแหน่งที่อยู่ในเมนูไม่โดดเด่นเตะตาลูกค้า รสชาติไม่ถูกปาก หรือเป็นเพราะเราตั้งราคาสูงเกินไปจริงๆ ลูกค้ารู้สึกว่าไม่คุ้มค่าที่จะสั่ง
  • เมนูนั้นกำไรน้อย และได้รับความนิยมน้อยหากลองเช็คในเมนูโดยภาพรวมแล้วเห็นว่าเมื่อตัดเมนูดังกล่าวทิ้ง ก็ไม่ส่งผลกระทบต่อยอดขายโดยรวม หรือกระทบต่อลูกค้า ก็ตัดทิ้งได้

นอกจากการรีวิวเมนูเดิมแล้ว อย่าลืมที่จะเพิ่มเมนูใหม่ๆ ที่มีสีสันแปลกตา การจัดเสิร์ฟที่ไม่เหมือนเดิม อย่างเช่นการจัดเสิร์ฟซอฟท์ครีมชาเขียวในถ้วยปกติ อาจจะเปลี่ยนไปใส่ในปลาไทยากิ หรือการเอาเค้กชาเขียวไปทานคู่กับมูสซากุระ ก็สร้างสีสันให้กับขนมได้มากทีเดียว

Matcha Menu Matcha Menu

ธุรกิจเครื่องดื่ม และคาเฟ่ช่วงนี้มาไว้ไปไว้มาก ก่อนจะวางแผนให้ธุรกิจไปข้างหน้า อย่าลืมที่จะตรวจเช็คสิ่งเดิมๆที่มีอยู่แล้วเพื่อปรับปรุงคุณภาพสินค้าและบริการให้ดีขึ้นไปพร้อมๆกับการประยุกต์สิ่งใหม่ๆเข้าไป

ที่มา

https://thietkenoithat.org.vn/blog/dich-vu-thiet-ke-va-thi-cong-quan-cafe-tron-goi-tai-quan-bac-tu-liem/

http://tendencee.com.br/2016/09/casquinhas-de-sorvete-em-formato-de-peixe/#_Uwg5wY

https://www.100-vegetal.com/2013/03/petits-gateaux-vert-cerise-battle-food.html

https://www.pinterest.com/pin/27092035248199711/

https://avantcha.com/product-category/iced-tea/

http://on.forbes.com/64968R2Ti

บทความจาก : Fuwafuwa

ปรับร้านชาเพื่อรองรับเทรนด์ผู้สูงอายุ

ในยุคของ Aging Society ที่ผู้สูงอายุเริ่มเพิ่มมากขึ้น ซึ่งคนกลุ่มนี้จะมีกำลังซื้อที่สูง เนื่องจากมีสถานะทางการเงินที่ดีกว่ากลุ่มอายุอื่น และพร้อมที่จะจ่ายเพื่อให้ได้สิ่งที่มีคุณภาพ การบริการที่ดี อาหารเครื่องดื่มที่อร่อย จึงเป็นสิ่งที่ทำให้ลูกค้าที่เป็นผู้สูงอายุนี้ประทับใจและรู้สึกผูกพันกับร้านค้าได้ง่าย เพราะหากดึงดูดลูกค้ากลุ่มนี้ได้ ที่ได้กลับมาจะไม่ใช่แค่ผู้สูงอายุ แต่ยังรวมถึงลูกหลานที่พาครอบครัวมารับประทานอาหารในโอกาสต่างๆ หรือซื้อเพื่อนำกลับไปฝากผู้ใหญ่ที่บ้านด้วย ดังนั้นผู้ประกอบการธุรกิจอาหารจึงไม่ควรมองข้าม ลูกค้าผู้สูงอายุกลุ่มนี้ เพราะอาจเป็นโอกาสทองสำหรับธุรกิจของคุณในอนาคตก็เป็นได้

Aging Society

การเจาะตลาดลูกค้ากลุ่มผู้สูงอายุ แม้จะต้องมุ่งเน้นไปที่ความรู้สึกคุ้มค่าผู้สูงอายุส่วนมากตัดสินใจอย่างถี่ถ้วนก่อนซื้อ และมีแนวโน้มที่จะซื้อสิ่งที่รู้สึกคุ้มค่ามากกว่า การจะซื้อเครื่องดื่ม  1 แก้ว หากร้านมีบรรยากาศที่ดี มีกรบริการที่ดี จอดรถง่าย เข้าออกสบาย ไม่โหวกเหวกเสียงดังเกินไป มีมุมผ่อนคลายสำหรับผู้สูงอายุ ก็จะเป็นสิ่งอำนวนความสะดวกเล็กๆน้อยๆที่ทำให้ลูกค้ากลุ่มนี้รู้สึกคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น หรืออาจจะชูโรงเมนูเครื่องดื่มด้วยสรรพคุณของชาที่มีต่อผู้สูงอายุเพื่อให้ลูกค้ารู้สึกว่าคุ้มค่า ดีต่อสุขภาพก็น่าสนใจทีเดียว

Matcha Matcha

เพราะนักวิจัยญี่ปุ่นจาก Graduate School of Biomedical Engineering มหาวิทยาลัยโทโฮคุ  ได้มีรายงานว่า การดื่มชาเขียวบ่อยๆ ช่วยชะลออาการซึมเศร้าในกลุ่มผู้สูงอายุ ทั้งหญิงและชายได้ จากข้อมูลของผู้สูงอายุทั้งหญิงและชาย (อายุ 70 ปีขึ้นไป) ที่มีอัตราการดื่มชาเขียววันละไม่ต่ำกว่า 4 ครั้งและนำมาเปรียบเทียบกับผู้สูงอายุที่ดื่มเพียงวันละ 1 ครั้ง หรือน้อยกว่า พบว่า ผู้สูงอายุกลุ่มแรกนั้น มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าน้อยกว่ากลุ่มที่สองถึง 44% เลยทีเดียว

ผู้ทำการศึกษาวิจัยดังกล่าวเปิดเผยว่า มีงานวิจัยมากมายที่แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของชาเขียว ในแง่ของการลดความกังวลใจ ทำให้จิตใจสงบ แต่ยังไม่มีเรื่องในประเด็นของการลดภาวะซึมเศร้าในกลุ่มผู้สูงอายุ เขาและทีมงานจึงสนใจที่จะศึกษาในประเด็นดังกล่าว และยังได้กล่าวอีกด้วยว่า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะกรดอะมิโน theanine ซึ่งเป็นส่วนประกอบของชาเขียวนั้นมีผลโดยตรงต่อสมอง ทำให้สมองปลอดโปร่ง และจิตใจผ่อนคลายจากความตึงเครียด จึงเป็นข้อดีที่ช่วยลดภาวะซึมเศร้าในกลุ่มผู้สูงอายุได้นั่นเอง

นอกจากนี้ชาเขียวยังช่วยป้องกันภาวะความเสื่อมต่างๆของร่างกายได้ ช่วยชะลอภาวะแก่ก่อนวัยและป้องกันโรคภัยต่างๆที่มักเกิดกับผู้สูงอายุ เพราะสารต้านอนุมูลอิสระในชาเขียวอย่าง Catechins เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์แรงกว่าวิตามินซีถึง 100 เท่า และแรงกว่าวิตามินอีถึง 25 เท่า ทำให้สามารถเข้าไปกำจัดอนุมูลอิสระได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลทำให้ร่างกายปราศจากสารพิษหรืออนุมูลอิสระต่างๆ ผิวพรรณจะสดใสเปล่งปลั่ง ไร้ริ้วรอยก่อนวัย ช่วยลดภาวะการแก่ก่อนวัยได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ ชาเขียวยังมีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงในการเป็นโรคความจำเสื่อมในผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุที่ต้องการได้รับประโยชน์ต่างๆจากการรับประทานชาเขียว ต้องดื่มชาเขียวให้ได้ประมาณ 5-10 ถ้วยต่อวัน

จะเห็นได้ว่าสรรพคุณของชาเขียวต่อผู้สูงอายุมีมากเพียงพอที่จะสร้าง Content ให้เป็นจุดขายต่อคนกลุ่มนี้ได้ โดยอีกสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญกับรายละเอียดเล็กๆน้อยๆของร้าน คือ การทำให้ร้านชาเป็นมากกว่าที่นั่งดื่มชากล่าวคือ เมื่อเกษียณจากการทำงานแล้ว ผู้สูงอายุหลายๆ คนอาจจะเกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย เหงา หรือแม้แต่รู้สึกรู้สึกลดคุณค่าในตนเอง ทำให้เสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า หากลองจัดกิจกรรมที่น่าสนใจ เพื่อให้ร้านอาหารของคุณเป็นสถานที่ในการรวมกลุ่มและมีกิจกรรมร่วมกันของผู้สูงอายุ เพื่อสร้างความรู้สึกอบอุ่น ผูกพันกับร้าน และอาจจะนำไปสู่ฐานลูกค้าประจำได้ เช่น ในระหว่างนั่งดื่มชา อาจจะมีหมากกระดานให้เล่น มีหนังสือหรือแผ่นพับเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะทำให้ลูกค้าสนใจร้านของคุณ และยังแสดงถึงความจริงใจ ใส่ใจที่คุณมีต่อลูกค้ากลุ่มผู้สูงอายุอีกด้วย

Aging Society

กลุ่มผู้สูงอายุเป็นกลุ่มคนที่ต้องการความใส่ใจและดูแลเป็นพิเศษ การบริการดุจดูแลญาติผู้ใหญ่ของคุณเอง อาจจะทำให้ร้านประสบความสำเร็จ และได้ใจลูกค้ากลุ่มนี้ได้ในเวลาอันสั้นเช่นกัน เช่น การเลือกชุดถ้วยชา กาชาแบบคลาสสิค ให้เหมาะกับกลุ่มผู้สูงอายุ ไม่เลือกที่เป็นลายกร์ตูน หรือแฟชั่นมาก หรือมุมโต๊ะเก้าอี้สำหรับผู้สูงอายุที่มีการจัดวางอย่างลงตัว จะทำให้ลูกค้ารู้สึกได้ถึงรายละเอียดเล็กๆน้อยๆตรงนี้

Matcha Matcha

จะเห็นได้ว่า ชา เป็นเครื่องดื่มที่ดื่มได้ทุกเพศทุกวัยก็จริง แต่ร้านเครื่องดื่มทุกวันนี้ มุ่งเน้นไปที่ร้านสำหรับวัยรุ่นและกลุ่มคนทำงานเท่านั้น โดยลืมมองไปถึงกลุ่มคนอีกเจนเนอร์ชั่นหนึ่ง ที่สามารถดื่มชาได้ และมีกำลังซื้อที่มากพอ จึงเป็นไอเดียใหม่ๆให้ผู้ประกอบการหลายคนที่อาจจะเจอทางตันของธุรกิจ หันมาลองทำร้านชาเพื่อผู้สูงอายุดู ก็ช่วยเพิ่มยอดขายและฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ๆได้เช่นกัน

ที่มา

https://www.firstlighthomecare.com/home-healthcare-temecula-valley/why-firstlight/services-quality-affordable-home-care-2/

บทความจาก : Fuwafuwa

ทำยังไงให้ลูกค้ารู้สึกว่าชาที่ร้านคุ้มค่าสมราคา

ร้านขายชาเหมือนกัน แต่มีราคา และรสชาติที่ต่างกันตามวัตถุดิบที่ใช้ บางร้านขายราคาสูง กลับมีลูกค้าที่พอใจมาใช้บริการแทนที่จะไปร้านที่ราคาถูกกว่า สิ่งที่สามารถยกระดับร้านชานั้นขึ้นมา ให้ลูกค้าชื่นชอบและเพิ่มมูลค่าได้ นั้นคือ “การสร้างแบรนด์”เพราะแบรนด์ที่มีจุดยืนที่ชัด ถ่ายทอดให้ลูกค้าได้เข้าใจและยอมรับในแบรนด์นั้นได้ จะยิ่งช่วยให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่ากับการซื้อ ง่ายต่อการตัดสินใจโดนใจ เรียกว่าถูกใจแล้วราคาเท่าไหร่ก็คุ้มค่า

แล้วการสร้างแบรนด์ของร้านชาปัจจุบันนี้ทำยังไงได้บ้าง??

ตามทฤษฎีแล้ว Branding คือ จุดยืน บุคลิกภาพลักษณ์ และความเป็นตัวตนของแบรนด์ที่เราต้องการถ่ายทอดให้ถึงลูกค้า ผ่านการออกแบบโลโก้ สื่อโฆษณา คอนเทนต์ในสื่อออนไลน์ต่างๆ โดยการสร้างแบรนด์นี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสื่อสารให้แก่ลูกค้าว่า ร้านเราขายอะไร แตกต่างจากร้านอื่นยังไง เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคนั่นเอง

ถ้าจะยกตัวอย่างง่ายๆให้เห็นได้ชัด คงหนีไม่พ้น แบรนด์เครื่องดื่มชื่อดังอย่าง Starbucks ที่มีการสร้างแบรนด์ เป็นจุดเด่นให้ลูกค้าอยากจะถือแก้วของที่ร้านถ่ายรูปลงโซเชียล ออกเมนูเครื่องดื่มใหม่ทุกซีซั่นเพื่อสร้างความตื่นตาตื่นใจให้ทั้งลูกค้าเก่าและใหม่ได้ลอง มีการนำเมนูใหม่ให้ลูกค้าได้ทดลองชิมเพื่อต่อยอดเป็นเมนูที่ร้าน มีการทำสื่อประชสัมพันธ์ที่ชุดเจนเป็นภาพเดียวกันในทุกสาขา เพื่อสร้างภาพจำให้ลูกค้าและผู้ที่เดินผ่านไปมาเกิดความรู้สึกอยากลอง

Starbucks Matcha

ถึงแม้ว่าความอร่อยกลายเป็นพื้นฐานที่ทุกร้านควรมี แต่สิ่งที่ Starbucks จะทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อ ก็คือ “ความรู้สึก”ที่ ไม่ว่าจะเป็น รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และจินตนาการ ล้วนแล้วแต่ถูกถ่ายทอดผ่านแบรนด์ทั้งนั้น ความครีเอทจากเมนูชาเขียวแบบเดิมๆ ก็มีการผสมผสานเอาวัตถุดิบตัวอื่นมาเสริม ให้คนรักชาได้รู้สึกว้าวได้ตลอด อย่าง Starbucks’ Matcha Lemonade หรือ Matcha Espresso Fusion Calories ที่มีเบสเป็นชาเขียว ซึ่ง Starbucs ก็เอาใจกลุ่มลูกค้าที่ทานที่ร้านแล้วติดใจในรสชาติ ด้วยการออกสินค้าพร้อมดื่มให้ไปชงทานต่อที่บ้านเองได้ในราคาที่ถูกลง เป็นการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ทุกรูปแบบ

Starbucks Matcha

นอกจากการสร้างแบรนด์แล้ว ถ้าถ่ายทอดไม่ดี ก็ไม่อาจสร้างความรู้สึกร่วมให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่ากับสิ่งที่ต้องจ่ายไปได้ การสร้างการรับรู้แบรนด์ (Brand Awareness) ก็เป็นสิ่งที่จะทำให้ลูกค้าได้เข้าถึงสินค้าเรามากขึ้น เช่น ชาที่ร้านเป็นชาเขียวพรีเมี่ยมอย่างดี นำเข้าจากญี่ปุ่น ทำให้ราคาค่อนข้างสูง ดังนั้นเราต้องสร้างแบรนด์ให้เห็นชัดเจน อาจจะด้วยบรรยากาศภายในร้าน เครื่องถ้วยชามที่ทำให้เห็นถึงความเป็นญี่ปุ่น และอาจจะมีการเสิร์ฟแบบญี่ปุ่นดั้งเดิม คือ เสิร์ฟคู่ขนมวากาชิ  หรือการชงชด้วยกรใช้ฉะเซน ตามแบบต้นฉบับวัฒนธรรมญี่ปุ่น เพื่อให้ลูกค้าได้รู้สึกถึงกลิ่นอายอย่างชัดเจน

Brand Awareness Brand Awareness

อย่างไรก็ตาม เพราะ Brand Awareness คือ การสร้างรับรู้ต่อแบรนด์ ผ่านการสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้แบรนด์เป็นที่รู้จัก เน้นย้ำถึงจุดเด่นของแบรนด์ผ่านทุกองค์ประกอบภายในร้าน เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายได้ตรงจุด ร้านชาบางร้านจึงเลือกจับกลุ่มลูกค้าวัยรุ่นหรือ First Jobber เพื่อมุ่งเน้นไปที่ไลฟ์สไตล์ การจัดตกแต่งที่สวยงาม น่าทาน ดูมีชีวิตชีวา ทำอยู่ในรูปแบบคอนเทนท์หลายๆแบบ เพื่อให้เกิดกระแส มาที่ร้านเพื่อถ่ายรูปลงโซเชียล ได้ภาพสวยๆจากอาหารน่าทานนั่นเอง

Brand Awareness Brand Awareness

นอกจากเรื่องแบรนด์ดิ้งแล้ว การสร้างประสบการ์แปลกใหม่ หรือความตื่นเต้นให้ลูกค้ารู้สึกอินกับเครื่องดื่มที่ร้าน จนประทับใจ ถูกใจยอมที่จะจ่ายในราคาที่สูงขึ้น เพื่อสัมผัสความพิเศษที่แตกต่าง ก็เป็นอีกไอเดียที่เป็นจุดขายให้ที่ร้านได้ไม่มากก็น้อย อย่างเช่น การเสิร์ฟชาในภาชนะที่แปลกตา อาจจะเป็นแก้ว 2 ชั้น เพื่อให้เห็นสีและของในแก้ว หรือจะเป็นเอาใจคอเบเกอรี่ด้วยการเสิร์ฟชาเขียวลาเต้อุ่นๆในถ้วยที่ทำจากคุ้กกี้ เป็นการสร้างความรู้สึกใหม่ๆให้ลูกค้ารู้สึกดีได้ ซึ่งภาพลักษณ์ของร้านที่ดีนี้ จะช่วยส่งผลต่อความเชื่อมั่นของลูกค้าทั้งใหม่และเก่า

Matcha

การทำให้ลูกค้ารู้สึกดีต่อร้าน สามารถเริ่มทำได้ง่ายมาก อาจเริ่มต้นจากการนำคอมเมนต์ดีๆจากลูกค้าเก่า มาบอกเล่าประสบการณ์ผ่านสื่อของร้าน หรืออาจจะเป็นการทำ CSR ก็จะช่วยให้ลูกค้ารู้สึกประทับใจร้านเรามากขึ้นนั่นเอง

ที่มา

shorturl.at/eiISU

shorturl.at/jsMR1

thestayathomechef.com

http://matchalatteicetea.blogspot.com

บทความจาก : Fuwafuwa

โมเดลร้านชา ทางเลือกใหม่ของธุรกิจเครื่องดื่ม

ช่วงนี้ธุรกิจเกิดใหม่เกิดขึ้นเยอะ โดยเฉพาะแวดวงอาหาร สร้างความท้าทายอย่างมากให้กับเจ้าของกิจการเพื่อปรับตัวเข้าหาผู้บริโภค อีกทั้งยังมีปัญหามากมายไม่ว่าจะเป็นจำนวนลูกค้าหรือกำลังซื้อที่ลดลง ร้านอาหารแบรนด์ดังๆหลายร้านเริ่มหาโมเดลใหม่ๆให้ธุรกิจตัวเอง เพราะทำอะไรแบบเดิมๆ ธุรกิจก็ไม่อาจเพิ่มยอดขายต่อไปได้ การทดลองทำโมเดลใหม่ๆ เพิ่มช่องทางหารายได้ จึงเป็นโมเดลที่น่าทดลองทั้งกับผู้ประกอบการรายใหม่และรายเดิม เริ่มที่คุ้นเคยๆกันอย่าง

โมเดลร้านชา

Food Truck ที่ดัดแปลงรถให้กลายเป็นร้านขายอาหาร หรือเครื่องดื่มแบบเคลื่อนที่ได้ จุดเด่นของโมเดลนี้คือการใช้พื้นที่น้อย ยืดหยุ่นในด้านทำเลเพราะเคลื่อนย้ายได้ง่าย บริการเสิร์ฟในรูปแบบขายร้านคีออสปกติ แต่สามารถขับเคลื่อนเข้าหากลุ่มลูกค้าได้ทุกที่ที่ต้องการไม่ว่าจะเป็นตามงานอีเว้นต์ หรือบริเวณที่อยากทดลองขายโดยไม่เสียค่าเช่าที่ เพื่อเน้นการเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น โดยเฉพาะลูกค้ากลุ่มคนรุ่นใหม่ ซึ่งวิธีทำไม่ซับซ้อน ใช้เวลาทำรวดเร็วเพื่อเน้นจำนวนลูกค้าและปริมาณการขายที่มาก ซึ่งรถ Food Truck จะเป็นลักษณะครัวเปิด โดดเด่นเรื่องกลิ่นหอม ยิ่งถ้าขายเครื่องดื่มอย่างชา กาแฟ ยิ่งสามารถดึงความหอมมาดึงดูดลูกค้าได้ อีกทั้งยังเป็นตัวกระตุ้นความสนใจของลูกค้าให้เข้ามาซื้อได้อีกทาง หลายๆ ร้านที่ญี่ปุ่น ก็เริ่มต้นจากการทำโมเดลนี้ สร้างแบรนด์และขยายธุรกิจให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น

Food Truck Food Truck

Meal Kits เริ่มจากจากกระแสการทำอาหารทานเองที่บ้านในช่วงโควิดที่หลายคนผันตัวมาเข้าครัวมากขึ้น ทำให้การขาย Meal Kits หรือชุดวัตถุดิบอาหารพร้อมปรุงเป็นที่นิยมมากขึ้น โดยในชุดที่ส่งไปจะมีส่วนผสมให้พร้อมใยเมนูขั้นตอนวิธีการทำอาหารจัดส่งให้ลูกค้าไปทำทานเองที่บ้าน นอกจากจะช่วยให้มือใหม่เข้าครัวได้ง่ายๆแล้ว ยังอำนวนความสะดวกให้กับคนที่ไม่อยากออกจากบ้านไปหาซื้อวัตถุดิบ และยังประหยัดเวลาด้วย ซึ่งการจัดชุดเครื่องดื่มชา ยังไม่เป็นที่นิยมนัก จึงเป็นช่องว่างในธุรกิจเครื่องดื่มที่น่าสนใจสำหรับร้านที่มีเมนูเป็นเอกลักษณ์ แล้วสามารถนำส่วนผสมมาจัดชุดได้ เพราะการขายแบบนี้  สามารถลดต้นทุนในด้านต่างๆได้ เช่น พนักงานหน้าร้าน ค่าดูแลรักษาร้านคาเฟ่ เพียงแค่จัดชุดวัตถุดิบใบเมนูสูตรจัดส่งเดลิเวอรี่ ก็ขยายกลุ่มลูกค้าได้มากและเป็นกลุ่มที่กว้างขึ้น เช่นในชุดประกอบไปด้วยฉะเซ็น ผงชา ถ้วยชงชา วิธีการชงชา เป็นต้น ให้ลูกค้าได้สร้างบรรยากาศแบบญี่ปุ่นๆได้เองที่บ้าน

Meal Kits  Meal Kits

หรือจะเป็นชุดอุปกรณ์ทำขนมจากผงมัทฉะก็น่าสนใจไม่น้อย เพราะยุคนี้ใครๆก็เข้าครัวได้ ถ้ามีอุปกรณ์ทำขนมที่ถ้าหาซื้อเองแล้วดูจะวุ่นวาย ไม่รู้ว่าต้องใช้ผงมัทฉะความเข้มระดับไหน อุปกรณ์ก็เยอะ ทุกอย่างจะง่ายขึ้นเพียงคุณรวมชุดให้ลูกค้าเลย ทั้งแป้ง น้ำตาล เนย ผงมัทฉะ แม่พิมพ์ขนม และอุปกรณ์อื่นๆ พร้อมใบสูตร เมื่อได้ลงมือทำขนมเอง แน่นอนว่า ก็จะเกิดการถ่ายรูป แชร์ต่อในโลกโซเชียล เป็นการกระจายการรับรู้ของแบรนด์ในมุมที่กว้างขึ้นได้

Cloud Kitchen Cloud Kitchen

Ghost Kitchen หรือ Cloud Kitchen เป็นร้านอีกรูปแบบที่ไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้าน มีแค่ครัวสำหรับทำอาหารส่งทางเดลิเวอรีเท่านั้นได้ เป็นความร่วมมือทางธุรกิจของสองแบรนด์ในการใช้ครัวกลางที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากจะช่วยลดต้นทุนแล้ว ละช่วยให้ลูกค้าออเดอร์อาหารได้หลากหลายจากที่เดียวและยังเป็นการเพิ่มประสบการณ์ให้พ่อครัว ที่สำคัญที่สุด คือ การประหยัดเรื่องต้นทุนค่าเช่าหน้าร้าน ยิ่งหากใครมีร้านชาอยู่แล้วอยากขยายสาขาแต่ไม่มีเงินทุน ก็สามารถใช้การเปิดแบบ Cloud Kitchen แทนได้ง่ายๆ

Cloud Kitchen Cloud Kitchen

โมเดลร้านชายุคนี้จึงไม่จำเป็นต้องมีแต่หน้าร้านให้เลือกซื้อและดื่มด่ำได้อย่างเดียว แต่กลับสามารถชงดื่มเองได้จากที่บ้านในรสชาติที่เหมือนกับมานั่งทานคาเฟ่ เพียงแค่ลองมุมกว้างๆดูจะเห็นโมเดลการทำธุรกิจชาอีกหลายรูปแบบที่น่าลอง

ที่มา

https://www.kenkotea.com.au/blogs/news/59665541-matcha-green-tea-fruity-parfait-recipe

https://www.gatherandfeast.com/matcha-coconut-cacao-protein-balls

http://fraeuleinanker.de/porto-hipster-coffee-guide/

บทความจาก : Fuwafuwa

เพิ่มสีสันในร้านชาด้วยไอเดีย Workshop เก๋ๆ

เปิดร้านคาเฟ่ขายอาหาร ขนม เครื่องดื่มอย่าางเดียวยุคนี้อาจจะไม่เพียงพอ คู่แข่งที่มากขึ้น บางทีก็อาจจะรู้สึกว่าร้านเงียบๆไป จัดโปรโมชั่นอย่างเดียวก็ไม่เพียงพอ การจัดกิจกรรม workshopเล็กๆในร้าน เป็นอีกไอเดีย ที่สร้างสีสันและบรรยากาศในร้านให้แปลกใหม่ขึ้น นอกจากจะช่วยสร้างประสบการณ์ให้กลุ่มลูกค้าแล้ว ยังเป็นการเพิ่มกลุ่มลูกค้าใหม่ที่อาจจะไม่เคยมาที่ร้าน แต่ชื่นชอบการ workshop ให้มาร่วมสนุกที่ร้านอีกทางหนึ่ง

5 ไอเดียกิจกรรม workshop เก๋ๆ ที่จัดได้ง่ายๆภายในร้าน ได้แก่

1.การจัด workshop ชงชาสไตล์ญี่ปุ่น ควบคู่ไปกับการทำขนมวากาชิเพราะเป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมชงชาญี่ปุ่นที่ไม่เหมือนการทำขนมเบเกอรี่ ผู้ที่ชื่นชอบการทำขนมหลายคนจึงอยากลองมาเปิดประสบการณ์การทำขนมวากาชิ ที่ต้องใช้ถั่วขาวและความประณีตในการดีไซน์ขนมขึ้นมา รวมถึงการชงชาแบบญี่ปุ่นแบบเต็มรูปแบบที่คนรักการดื่มชาเขียวจะรู้สึกว่าอยากมีประสบการณ์การได้จับฉะเซ็นตีชาเขียวแก้วโปรดของคุณด้วยตัวเอง ซึ่งในระหว่างการ workshop สามารถสอดแทรกเกร็ดความรู้เรื่องชาเขียว เช่น ประโยชน์ของชา ปรัชญาการใช้ชีวิตที่ได้จากการชงชา เป็นต้น

workshop workshop

2.การทำ Tea tasting ให้คนรักชามาอินๆฟินๆกัน ไอเดียนี้เหมาะกับร้านที่มีเครื่องดื่มประเภทชาหลายแบบทั้งชาเขียว ชาโฮจิฉะ ชาเก็นไมฉะ หรือแม้กระทั่งร้านที่มีชาเขียวที่มีความเข้มข้นที่แตกต่างกัน นำชาแต่ละชนิดมาชงให้ชิมและดมกลิ่น เพื่อให้ฝึกสังเกตความแตกต่างของรสชาเนื่องจากสภาพภูมิอากาศภูมิประเทศกระบวนการผลิตชาแต่ละชนิดที่แตกต่างกัน เลยให้รสสัมผัสที่ต่างกัน การฝึกลิ้มรสและมีการให้เกร็ดความรู้กับลูกค้าในแต่ละประเภทชา เป็นกิจกรรมที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนรักชาตัวจริง อาจจะดูวิชาการไปหน่อย แต่ถ้าที่ร้านสร้างบรรยากาศให้ดูผ่อนคลาย และให้ข้อมูลแต่ละประเภทชาที่ชัดเจน จะยิ่งแสดงให้เห็นว่าร้านเรา specialist ด้านชาตัวจริง

workshop workshop

3.การทำขนมจากชาเขียว กิจกรรมนี้ทำได้ง่ายมากๆ ไม่ต้องมีความเชี่ยวชาญเจาะลึกเหมือนกิจกรรมอื่น เพียงแค่ร้านคุณมีเบเกอรี่ ที่ทำจากชาเขียว ก็สามารถเปิด Workshop เล็กๆ ให้กับคนที่อยากลองเข้าครัวเปิดเตาทำขนม แต่ไม่รู้จะเริ่มยังไงได้มีโอกาสได้ลองทำขนมจากชาเขียวที่ชื่นชอบโดยมีร้านคุณคอยให้คำแนะนำตลอด อาจจัดให้แต่ละสัปดาห์ เมนูขนมจากชาเขียว หรือชาโฮจิฉะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เพื่อดึงกลุ่มฐานลูกค้าที่ติดใจวนกลับมาทำได้อีกไม่ซ้ำเมนู เช่น ทำไอศครีมชาเขียว คุ้กกี้ชาเขียว พุดดิ้งชาโฮจิฉะ เป็นต้น

workshop

4.การห่อผ้าฟุโระชิกิสไตล์ญี่ปุ่นสำหรับการมอบผงชาเป็นของขวัญอีเว้นต์นี้จะเหมาะอย่างยิ่งในช่วงเทศกาลอย่างวาเลนไทน์ วันพ่อ วันแม่ และช่วงคริสต์มาสต์ ปีใหม่ ช่วงที่ทุกคนส่งมอบของขวัญให้แก่กัน ให้ลูกค้าของคุณมาอินกับวัฒนธรรมญี่ปุ่น ด้วยการห่อของขวัญที่ซื้อมา หรือจะเป็นซื้อชุดผงชาของที่ร้าน มาจัดแพคเกจรักษ์โลก ไม่ใช้ถุงพลาสติก ด้วยผ้าเก๋ๆ อาจจะทำเป็นมีผ้าหลายลวดลายให้ลูกค้าเลือกตามบุคลิคของผู้รับ

workshop

5.การเพ้นถ้วยชา หรือการทำคินสึงิกิจกรรมสำหรับสายอาร์ต ที่เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น ด้วยปรัชญาที่ได้จากถ้วยชาพวกนี้ได้เริ่มเป็นกระแสมากขึ้น แน่นอนว่าถ้วยชา เป็นภาชนะคู่ใจของคนเลิฟชา หากได้ลองเพ้นลวดลาย หรือรู้จักการทำเทคนิคลงรักเชื่อมถ้วยชาที่แตกได้เอง จะยิ่งทำให้อินกับการดื่มชามากขึ้นแน่นอน

workshop

ลูกค้าที่สนใจมาร่วมกิจกรรมเหล่านี้ ทางร้านสามารถตั้งเงื่อนไขได้หลายแบบเลย เช่น

  • ต้องซื้อสินค้าภายในร้านก่อน เพื่อรับสิทธิ์ workshop ในราคาที่ถูกลง หรือ
  • เข้าร่วมฟรีได้เลย หากมียอดซื้อถึง XX บาท

ในทางกลับกัน อาจจะทำส่วนลดพิเศษให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคน หลังเสร็จการ workshop เพื่อเทิร์นลูกค้ากลุ่มนี้ให้กลายมาเป็นลูกค้าหน้าร้านได้ด้วยโปรโมชั่นที่ทางร้านตั้งขึ้นนั่นเอง

ที่มา

http://moichizen.exblog.jp/5313611/

http://evergreenhostel.com

http://www.boredpanda.com/flower-14/

บทความจาก : Fuwafuwa

ออกแบบโลโก้ร้านชา ให้ลูกค้าจำได้ง่าย

Logo ถือเป็นส่วนสำคัญที่เปรียบเสมือนหน้าตาของร้าน มีผลต่อการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักได้ โดยเฉพาะในยุคนี้ที่มีร้านของหวานเครื่องดื่มออกใหม่มากมาย โลโก้ที่ติดอยู่บนบรรจุภัณฑ์อาหารถ้ายิ่งจดจำได้ง่าย มีเอกลักษณ์ ก็จะยิ่งช่วยให้ลูกค้าเกิดการบอกต่อได้ง่ายขึ้นด้วย หลักการในการออกแบบโลโก้ที่ดี ให้จดจำง่ายไม่ซ้ำร้านอื่นมีเทคนิคอะไรบ้าง มาดูกัน

เริ่มจากต้องมีเอกลักษณ์ของร้านเพราะโลโก้ของร้านควรจะสื่อสารถึงตัวตนของร้าน สไตล์อาหารที่ขาย มองแล้วรับรู้ทันทีว่านี่คือร้านอาหารอะไร มีลักษณะที่สัมพันธ์กับการตั้งชื่อร้าน ถ้าไม่ไปซ้ำซ้อนกับร้านอื่นๆได้จะยิ่งดีเพราะป้องกันความสับสนของลูกค้า อย่างร้านที่ขายชาเขียวแท้ๆจากญี่ปุ่น ก็อาจจะมีการใช้ภาษาญี่ปุ่น เพื่อสื่อถึงที่มาของวัตถุดิบพระเอกของร้าน หรือใช้ดีไซน์ที่เป็นเหมือนอินตัง ( ตรายาง ) ของคนญี่ปุ่น เพื่อดึงเอกลักษณ์ดีไซน์ความเป็นญี่ปุ่นออกมาสื่อถึงที่มาของวัตถุดิบแท้ๆ

logo logo logo

โลโก้ที่ดีควรสื่อความหมายเพราะโลโก้ที่ดีจะต้องสามารถสื่อความหมายได้มากกว่าแค่บอกชื่อร้าน อย่างเช่นการใช้รูปใบชา ถ้วยชงชา หรือฉะเซ็นที่เป็นอุปกรณ์ชงชา เพื่อบ่งบอกถึงความเชี่ยวชาญในรสชาติของชาที่้ร้าน รูปที่อยู่ในโลโก้ควรจะผ่านการคิดว่ามีความหมายอย่างไร เห็นเข้าใจและจดจำได้ง่าย เพื่อสื่อสารไปให้ถึงลูกค้าได้ตรงประเด็น ซึ่งนอกจากรูปภาพ ที่ใช้ในการสื่อความหมายแล้ว สีของโลโก้ ก็ยังเป็นอีกส่วนสำคัญที่ช่วยให้นึกถึงสินค้าในแบรนด์ได้ง่ายขึ้น  อย่างเช่นการใช้สีเขียวในโลโก้ ทำให้นึกถึงชาเขียวได้ง่ายขึ้น สื่อถึงความเป็นธรรมชาติ ไม่ผ่านการปรุงแต่งจากสารสังเคราะห์

ให้โลโก้สื่ออารมณ์ของร้าน  ต้องรู้ก่อนว่าอยากให้ภาพออกมามีอารมณ์แบบไหน สอดคล้องกับร้านของเราอย่างไร เช่น ร้านขายชา ที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้หญิง ไม่ได้เน้นชาที่เข้มข้น แต่เน้นการปรับสูตรไปให้หลากหลาย ผู้หญิงทานง่ายขึ้นและมีขนมอื่นๆที่ทำจากชา จะต้องใช้โลโก้ที่มีโทนสีชมพูปนเข้ามา เพื่อดึงดูดสายตาผู้หญิงที่มีความอ่อนหวาน หรือปรับเป็นโลโก้ที่เรียบๆนิ่งๆ แต่เน้นแพคเกจจิ้งสีหวานเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้หญิง

logo logo

ไม่ใช้สีสันที่มากจนเกินไปจำนวนสีที่ใช้บนโลโก้ควรอยู่ที่ 1 – 3 สี จึงจะพอเหมาะ และไม่ทำให้เกิดความสับสนนอกจากนี้ อารมณ์ของสีที่ใช้ก็เป็นสิ่งสำคัญ เช่น สีเขียว ที่สื่อถึงธรรมชาติ สุขภาพ ความสดใหม่ และการเจริญเติบโต นอกจากนั้นยังให้อารมณ์สดชื่น ผ่อนคลายอีกด้วย

logo logo logo

อย่าลืมที่จะเช็คคู่แข่งบ้างการเข้าไปดูเว็บไซต์หรือโซเชียลมีเดียของแบรนด์อื่นๆ ช่วยให้เราฝึกการคิดวิเคราะห์ได้ ว่าโลโก้นั้นดูดี สื่อความหมาย มีเอกลักษณ์เพียงพอรึยัง เพื่อเอามาปรับที่ร้านให้ดีขึ้น เป็นการวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็ง ของแบรนด์ก็ว่าได้ และอย่าลืมติดตามเทรนด์ของการดีไซน์อยู่เสมอ เช่น ใช้สีแห่งปีอย่างสีม่วงอัลตราไวโอเลต หรือจะใช้การไล่เฉดสีและลูกเล่นในการพิมพ์ก็จะช่วยสร้างความโดดเด่นให้กับโลโก้ของคุณได้

แต่ก็จะเห็นได้ว่าโลโก้มีหลายแบบ ทั้งที่เป็นตัวอักษรปกติ รูปภาพ ลายกราฟฟิค หรือมาสคอต แต่ละแบบก็สื่อความหมายและเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้แตกต่างกัน เช่น แบรนด์ที่มีรูปการ์ตูน โลโก้ประเภทนี้จะช่วยดึงดูดกลุ่มลูกค้าเด็กและครอบครัวได้ นอกจากนี้ยังเป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการกระตุ้นให้เกิดการมีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมายได้อีกด้วย หรือสำหรับการใช้แค่เพียงสัญลักษณ์บางอย่าง อย่าง ใบชา ช้อนตักชา หรือฉะเซย ก้เพียงพอที่จะสื่อความหมายได้แล้วว่าร้านนี้เน้นขายชา

logo

หากลองครีเอทมาแล้วแต่ยังไม่แน่ใจว่าควรใช้จริงมั้ย ทดลองเทสต์บนหน้าเว็บไซต์หรือทำเป็นโปรไฟล์ดูก่อน หรือบางทีอาจจะทำโพลขึ้นมาให้คนเข้ามาให้ฟีดแบค เช่น ถามว่ามันดูสวยพอหรือยัง อยากแก้ตรงไหนไหม ดูเข้ากันกับเว็บไซต์หรือเปล่า เผื่อที่จะปรับแก้บางจุดเพื่อให้ลูกค้าจดจำได้ง่ายขึ้นก่อนผลิตสื่อต่างๆจริง

พอจะได้ไอเดียกันแล้วมั้ยคะ สำหรับท่านที่จะลองเปิดกิจการเป็นของตัวเอง ที่นี่ก็เริ่มลงมือออกแบบ โลโก้แบบที่ชอบ แล้วเอาไปต่อยอดลงนามบัตรร้าน แพคเกจสินค้า ในรูปแบบเดียวกันเพื่อให้เป็นภาพจำกับลูกค้า แล้วเกิดความรู้สึกอยากบอกต่อ ได้ง่ายขึ้น

logo logo logo

ที่มา

https://www.freepik.com

https://gdc.jp/archives/category/works/food

https://www.packagingoftheworld.com/2012/07/kotoha-with-yuica.html

https://www.behance.net

บทความจาก : Fuwafuwa