ไขข้อสงสัย ทำไมชาไทย จึงต่างจาก ชาญี่ปุ่น

ดูเผินๆอาจจะไม่รู้ว่า เครื่องดื่มชาเขียวที่เราทานอยู่นั้น มาจากญี่ปุ่นแท้ๆ หรือผลิตจากในไทยกันแน่หากไม่ได้มีการระบุไว้ที่ชัดเจน ก็แยกยากอยู่เช่นกัน เพียงแต่จะสังเกตได้จากลักษณะของการบริโภค กล่าวคือ

1. คนญี่ปุ่นหลายคนยังคงมีความคิดว่า ชาเขียวกับน้ำตาล เป็นสิ่งที่ไม่เข้ากัน และยังนิยมบริโภคชาเขียวรสจืด ซึ่งเป็นรสดั้งเดิมเหมือนเมื่อสมัยโบราณ เป็นชาเขียวเพียวๆที่ดีต่อสุขภาพมากๆ แต่คนไทยจะบริโภคแบบนี้ไม่ค่อยได้กัน ชาเขียวไทย จึงได้มีการใส่น้ำตาลลงไปเพื่อปรับให้เข้ากับความชอบของคนไทย

Matcha Matcha

2. คนญี่ปุ่นมีวิธีชงชาที่พิถีพิถัน จนเกิดเป็นวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ วิธีการดื่มชาของญี่ปุ่นส่วนมากจะดื่มแบบร้อนเท่านั้น แต่ที่ไทย ด้วยความที่อากาศร้อน คนจึงนิยมบริโภคแบบเย็นมากกว่า

Matcha Matcha

3. ในส่วนของกรรมวิธีการปลูกชาเขียวทางภาคเหนือของไทย กับของญี่ปุ่น ด้วยสภาพอากาศ และอุณหภูมิ ความชื้น ความสูงจากระดับน้ำทะเลต่างกัน ย่อมส่งผลให้คุณลักษณะของชา สี กลิ่น รส แตกต่างกันเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละที่ การปลูกที่ไทย ส่วนมากจะปลูกช่วงต้นฤดูฝน ประมาณเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ซึ่งเป็นช่วงที่ดินมีความชุ่มชื้นเพียงพอ แต่ชาเป็นพืชที่ต้องการความชื้นสูง และสม่ำเสมอตลอดทั้งปีเพื่อให้มีการแตกยอด ที่ญี่ปุ่นชาจึงแตกยอดได้ดีกว่าด้วยสภาพภูมิอากาศของประเทศญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกียวโต เมืองที่รยล้อมด้วยภูเขา จึงทำให้ไม่ร้อนมากและมีความชื้นอยู่ในปริมาณที่เหมาะ อย่างไรก็ตามสวนชาของไทยส่วนใหญ่ยังอาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติเป็นแหล่งสำคัญ ทำให้สวนชามีผลผลิตมากน้อยแตกต่างกันไปตามปริมาณน้ำฝนในแต่ละปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศและปริมาณน้ำฝนนั่นเอง

4. ชาเขียวญี่ปุ่นไม่ได้ถูกนำไปคั่วบนกระทะเหมือนของไทย แต่กลับถูกนำไปผ่านความร้อนโดยการนึ่ง และอบแห้ง ใบชาเขียวญี่ปุ่นจึงมีสีเขียวที่สด และน้ำชาก็มีสีเขียวอ่อนๆตามธรรมชาติ

Matcha

5. ชาเขียวไทยหลายเจ้ามีการผสมแป้ง ลงไปในผงชาด้วย เพื่อให้ได้ปริมาณผงชาที่เยอะขึ้น แต่รสชาติ สี ก็จะเจือจางลงตามเช่นกัน จึงไม่ต้องแปลกใจหากเจอผงชาเขียวที่ผลิตจากญี่ปุ่นแล้วราคสูงกว่าที่ไทยมาก เห็นได้ชัดจากร้านชา เครื่องดื่มตามท้องตลาด หากสั่งที่เป็นเครื่องดื่มชาเยียว จะได้เห็นได้ชัดจากสีที่ของไทยจะอ่อนจนคล้ายสีเขียวมิ้นต์

Matcha Matcha

อย่างไรก็ตาม แม้ชาที่ผลิตในไทยคุณภาพอาจจะไม่ได้เทียบเท่ากับที่ญี่ปุ่น แต่หากมาชงเครื่องดื่มตามสูตรแบบฉบับที่ร้านได้ ก็เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อย แต่ร้านไหนที่อยากให้ลูกค้าได้ดื่มชาเขียวเข้มข้น กรเลือกใช้ผงชาเขียว วัตถุดิบคุณภาพดีจากต้นกำเนิด ก็จะยิ่งทำให้เมนูที่ร้านน่าทานมากยิ่งขึ้น

ที่มา

https://saihojimatcha.com/pages/saihoji-faqs

https://www.instagram.com/p/BgYv1pfHjgF/

https://nourishedkitchen.com/matcha-tea-latte

บทความจาก : Fuwafuwa

หลายคนอาจสงสัย น้ำแร่ใช้ชงชาได้มั้ย ?

หากพูดถึงน้ำที่ต้องใช้ในการชงชา เชื่อว่าทุกคนต้องนึกถึงอุณหภูมิของน้ำที่ควรใช้ มากกว่าชนิดของน้ำที่ใช้ชงชา เพราะปกติแล้วเราก็จะใช้น้ำสำหรับดื่มทั่วไป อาจจะเป็นน้ำขวดธรรมดาแบบที่วางขายทั่วไป นำมาต้มให้เดือดก็เป็นอันใช้ได้ แต่บางคนอาจจะสงสัยว่า แล้วน้ำแร่สามรถใช้ชงชาได้มั้ย? น้ำแร่ได้ชื่อว่าเป็นน้ำที่มีแร่ธาตุอยู่มาก หากเอามาชงชาแล้ว จะได้ชาที่ยิ่งคุณภาพดีจริงรึเปล่า??

น้ำแร่ มี 2 ชนิด แบ่งชนิดตามปริมาณของแร่ธาตุแมกนีเซียมและแคลเซียมที่พบในน้ำ ซึ่งถ้ามีปริมาณของแร่ธาตุสูง จะเรียกว่า “น้ำกระด้าง” (Hard Water)เป็นน้ำที่มีหินปูนและแมกนีเซียมละลายอยู่ด้วยค่อนข้างมาก แต่ถ้ามีปริมาณของแร่ธาตุต่ำ ก็จะเรียกว่า “น้ำอ่อน” (Soft Water)ส่วนมากน้ำแร่ นำเข้าจากต่างประเทศจะเป็นน้ำแร่ธรรมชาติแบบน้ำกระด้าง แต่ถ้าในไทยจะเป็นน้ำแร่ธรรมชาติแบบน้ำอ่อน โดยหลักแล้วน้ำทั้ง 2 ชนิด สามารถชงชาได้รสชาติดีเหมือนกัน แต่กลิ่น สีจะแตกต่างกัน

น้ำแร่

ในการชงชา นิยมใช้น้ำอ่อนมากกว่าน้ำกระด้าง เพราะในน้ำมีปริมาณแร่ธาตุน้อย ชาที่ได้จึงมีสีเข้ม รสชาติเข้มกลมกล่อมกว่า ทำให้สามารถดื่มด่ำกับรสชาติของชาได้มากที่สุด ตรงกันข้ามกับการใช้น้ำกระด้าง ซึ่งรสชาติของแร่ธาตุจะไปกลบรสชาติของชา ทำให้เวลาดื่ม นอกจากจะไม่ได้ดื่มด่ำกับรสชาติของชาอย่างเต็มที่แล้ว และอาจมีกลิ่นคล้ายๆกับโลหะเจืออยู่ในน้ำชาอีกด้วย รสชาติและกลิ่นหอมจะอ่อนๆ สีน้ำชาจางๆ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่สามารถใช้น้ำกระด้างในการชงชาได้เลย เพราะสุนทรียของการดื่มชาของแต่ละคนแตกต่างกันไปตามความชอบนั่นเอง

อย่างไรก็ตามก็มีบางคนที่เน้นความสะดวก นำน้ำประปามาต้มแล้วเอามาใช้ชงชาดื่ม ซึ่งน้ำต้มที่ได้จะมีคลอรีนที่ใช้สำหรับฆ่าเชื้อโรคในน้ำละลายปนอยู่ด้วย จะมีกลิ่นอื่นเจือปนอยู่ ถ้าอยากจะใช้น้ำประปาไปต้มชงชา ควรต้มน้ำในภาชนะที่ไม่มีฝาปิดและควรเพิ่มเวลาต้ม ประมาณ 3-5 นาที เพื่อให้กลิ่นคลอรีนระเหยหมดไป

น้ำแร่

ดังนั้นในการชงชาสามารถใช้น้ำแร่ชงได้ และสามารถใช้น้ำดื่มทั่วไปที่ สด ใหม่ สะอาด บริสุทธิ์ กล่าวคือ น้ำที่ไม่มีกลิ่นอื่นเจือปน ไม่ใช้สารเคมีในการปรับคุณภาพ อีกทั้งไม่ใช่น้ำที่ผ่านการต้มมาแล้วหลายครั้ง เพราะน้ำต้มที่ผ่านการต้อมหลายครั้งจะมีออกซิเจนน้อย หากนำมาชงชาจะทำให้รสชาติชาจืดชืดไป ขาดความนุ่ม และความลึก เป็นไปได้ ควรใช้น้ำที่มีค่าน้ำเป็นกลาง (PH7)ดังนั้นจะเหมาะที่สุด

น้ำแร่ น้ำแร่

ทั้งนี้การใส่ใจกับคุณภาพน้ำอย่งเดียวไม่ได้ส่งผลต่อรสชาติของชา 100% แต่ความอร่อย รสชาติอูมามิของชา ยังต้องคำนึงถึงอุณหภูมิของน้ำ ระยะเวลาที่ใช้ชง คุณภาพใบชา และยังรวมถึงเรื่องของภาชนะที่ใช้ในการชงชาอีกด้วย

ที่มา

eatingwell.com

ourfoodstories.com

บทความจาก : Fuwafuwa

ทำความรู้จักครกหินญี่ปุ่น อุปกรณ์คู่ใจของคนทำผงมัทฉะ

ทุกวันนี้มีการให้ความสำคัญน้อยมากกับเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการสร้างผงมัทฉะ เครื่องมือนั้นคือ “อิชิอุสุ” (石臼: Ishi-usu) หรือ “ครกหิน”นั่นเอง

อิชิอุสุ อิชิอุสุ

“ครกหินญี่ปุ่น” มีลักษณะเป็นหินทรงกระบอกสองชิ้น วางทับกัน โดยมีที่จับสำหรับหมุนที่หินด้านบน สามารใช้สำหรับบดอาหารจำพวกเมล็ดข้าว ธัญพืช และใบชา ซึ่งไม่ว่าจะหมุนด้วยแรงคนหรือพลังงานไฟฟ้า การบดมัทฉะโดยครกอิชิอุสุนั้น ถ้าหมุนโดยไม่หยุดพักเลย 1 ชั่วโมงจะได้ผงมัทฉะออกมาแค่ 40 กรัมเท่านั้น จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้มัทฉะมีราคาแพงกว่าใบชา

อิชิอุสุ มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 1400 ปี สมัยก่อน คนญี่ปุ่นแทบทุกครัวเรือนจะมีอิชิอุสุไว้ใช้ ทั้งบดเมล็ดข้าวเพื่อนำแป้งไปทำเส้นอุด้ง หรือบดถั่วเหลืองเพื่อนำไปทำเต้าหู้ โดยใส่อาหารที่ต้องการบดที่รูด้านบน แล้วหมุนครกไปมา ให้หินสองก้อนเสียดสีกัน และผงที่บดออกมาก็จะตกลงมาที่ถาดรอง การใช้ครกอิชิอุสุต้องใช้แรงเยอะ สมัยก่อน เวลาหนุ่มสาวจีบกัน แม่ฝ่ายหญิงจะให้ฝ่ายชายช่วยบดแป้งจากเมล็ดข้าว แล้วให้ฝ่ายหญิงเอาแป้งที่ได้ไปทำมันจู ( ซาลาเปาญี่ปุ่นลูกเล็กๆ ไส้ทำจากถั่วแดงหรือเกาลัดกวน ) เป็นวิธีการจีบ และเรียนรู้นิสัยซึ่งกันและกันของคนญี่ปุ่นในสมัยก่อน น่าเสียดาย ที่ปัจจุบัน บ้านญี่ปุ่นที่มีครกหินแบบนี้เหลืออยู่น้อยแล้วครับ อีกทั้งครกอิชิอุสุยังมีราคาแพงมาก โดยครกเล็กๆแบบในรูปข้างล่าง มีราคาตั้งแต่ 20,000 ถึง 70,000 กว่าบาท

ศิลปะการบดชาด้วยหินถูกนำเข้ามาในญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกโดยพระในศาสนาพุทธนิกายเซนชื่อ Eisai ในศตวรรษที่ 12 เขาใช้เทคนิคที่เขาสังเกตเห็นจากชาวจีน แม้ว่าวิธีการบดหินนี้ไม่ได้รับความนิยมในประเทศจีน แต่วิธีนี้ยังคงดำเนินต่อไปในญี่ปุ่นตั้งแต่ศตวรรษที่ 12 เป็นต้นมา ซึ่งผงมัทฉะเข้าเป็นครั้งแรกโดยเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมทางพุทธศาสนานิกายเซน จากนั้นก็กลายเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับการคัดเลือกจากชนชั้นสูงของสังคมญี่ปุ่นศักดินาและปัจจุบันจนถึงปัจจุบันที่ความชื่นชมของมัทฉะแพร่กระจายไปทั่วโลก

อิชิอุสุ อิชิอุสุ

มีประโยคที่กล่าวว่า“Matcha must be powdered green tea. But notall powdered green tea is matcha…”นั้นเป็นเพราะว่าใบชาที่ดีที่นิยมนำมาบดเป็นผงละเอียดได้ ส่วนใหญ่จะเป็นใบชาเทนฉะ เพราะบดออกมาแล้วจะได้ความละเอียดมากกว่าชนิดอื่น แต่ในยุคสมัยใหม่ เมื่อผงมัทฉะเป็นที่นิยมมากขึ้น เกิดการขายตัดราคากัน ทำให้ผงชาเขียวตามท้องตลาดทุกวันนี้อาจจะมีส่วนผสมของแป้งเพิ่มเข้ามาด้วย ทำให้ผงสีเขียวที่ควรจะเป็นผงชาเขียว 100% กลับไม่ใช่ผงมัทฉะที่แท้ตามแบบฉบับคนญี่ปุ่น จะเห็นได้ชัดหากเรานำผงมัทฉะหลายๆแบรนด์ มาเทเทียบกัน อนุภาคความละเอียดของผงมัทฉะจะเห็นได้ชัดว่ามีสีและความละเอียดท่แตกต่างกันออกไป

อิชิอุสุ

ส่วนที่สำคัญอีกประการของกรบดมัทฉะ คือ วิธีการของช่างฝีมือในการบดเทนฉะ เพราะเมื่อเพิ่มใบเทนชะลงในอิชิอุสุแล้ว วิธีการบดจะควบคุมยากขึ้น เพราะ อิชิอุสุ มักทำจากหินแกรนิต ถือเป็นหินที่ “อ่อน” เนื่องจากไม่เกิดแรงเสียดทานหรือความร้อนมากนัก จึงต้องหมุนโม่หินอย่างช้าๆและเป็นระบบเพื่อให้ได้ผงละเอียด การหมุนเร็วเกินไปส่งผลให้เกิดความร้อนมากเกินไปและใบชาจะออกซิไดซ์และไหม้ได้ บวกกับผงมัทฉะที่ได้อาจจะหยาบเกินไปสำหรับการตีด้วยฉะเซน

การบดอย่างช้าๆสม่ำเสมอ นำไปสู่ผงมัทฉะที่ละเอียดประณีต พร้อมด้วยกลิ่นหอมหวานที่อุดมไปด้วยรสอูมามิ ปัจจุบันนี้ เป็นที่น่าเสียดายที่ใบชาบางที่ถูกบดด้วยลูกเหล็กหรือด้วยเครื่องปั่นพลังสูงซึ่งสามารถทำลายความสมบูรณ์ คุณภาพ สารอาหาร และรสชาติของชามัทฉะได้ เพื่อให้สามารถผลิตมัทฉะได้จำนวนมาก แต่ก็มีหลายๆที่ที่พยายามควบคุมคุณภาพการผลิต ให้คงเดิมตามแบบวัฒนธรรมญี่ปุ่นดั้งเดิมไว้ ตามพิพิธภัณฑ์ ชา ที่ฟุกุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น ก็ยังมีการโชว์เครื่องอิชิอุสุ และให้นักท่องเที่ยวสามารถทดลองบดใบชาได้เองอีกด้วย

อิชิอุสุ

ที่มา

http://www.isetan.co.jp/icm2/jsp/shops/otoriyose/wagashi/2012_04_uzuki/s01.jsp

https://photodune.net

https://mizubatea.com/blogs/news-1/the-ishi-usu-what-using-a-stone-matcha-mill-is-all-about

บทความจาก : Fuwafuwa

ทำความรู้จักการปลูกชาเขียวแบบออร์แกนิค

ทำไมรสชาติของชาญี่ปุ่นออร์แกนิคจึงมีกลิ่นหอม และหวานละมุน?

Matcha

เพราะการปลูกชาออร์แกนิคเป็นการปลูกชาที่ต้องงดปุ๋ยเคมีหรือยาฆ่าแมลง ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ไม่มีการดัดแปลงพันธุกรรม (ไม่มีจีเอ็มโอ) รวมทั้งเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ได้ตัดต่อทางพันธุกรรม หรือวัตถุสังเคราะห์ใดๆ ซึ่งการเตรียมหน้าดินก่อนปลูก ต้องทำให้ปลอดสารพิษไม่น้อยกว่า 3 ปี และในกระบวนการผลิตต้องมีการอนุรักษ์ดินและแหล่งน้ำ เพื่อให้ผลผลิตเจริญเติบโตตามธรรมชาติอย่างแท้จริง และปลอดภัยต่อสุขภาพไม่มีสารตกค้างจากสารเคมี เนื่องจากการปลูกชาโดยทั่วไปยังมีการใช้สารเคมีและยาปราบศัตรูพืชซึ่งอาจจะส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว

ปัจจุบันแม้ชาส่วนใหญ่ที่ญี่ปุ่นเป็นเพียงชาปลอดสารพิษ มีเปอร์เซ็นต์น้อยมากๆ ที่เป็นออร์แกนิค 100% เพราะเป็นเรื่องยากที่จะสร้างไร่ชาออร์แกนิคนั่นเอง เนื่องจากมีไร่ชาปลอดสารพิษมากมายอยู่ในพื้นที่ติดกัน และมีการแพร่กระจายของปุ๋ยเคมีหรือสารกำจัดศัตรูพืชและสารเคมีที่แทรกซึมผ่านดินจากฟาร์มโดยรอบสามารถเข้าสู่ฟาร์มอินทรีย์ ดังนั้นไร่ชาออร์แกนิคจำเป็นต้องสร้างพื้นที่กันชนหรือที่พักพิงระหว่างไร่ชาออร์แกนิกและไร่ชาปลอดสารพิษ เพื่อให้สภาพดินไร้สารเคมีอย่างแท้จริง

Matcha

ชาออร์แกนิคมีรสชาติที่เรียบง่ายเพราะชาได้รับสารอาหารที่มีอยู่ในดินโดยตรง และรสชาติชาจะขึ้นอยู่กับสภาพอากาศด้วย การคัดเฉพาะยอดอ่อน 3 ใบบนเท่านั้น และเก็บเฉพาะช่วงเช้าก่อน 7 โมงเช้า เทคนิคที่ทำให้ชาออร์แกนิคมีรสชาติที่ละมุนพิเศษ เพราะใบชาจะผลิใบรับแสงแดดอ่อนๆ อย่างเต็มที่ และมีละอองน้ำค้างที่จะขับกลิ่นหอมและรสชาติหวานละมุนของชาให้ออกมาได้อย่างเต็มที่ในช่วงเวลาเช้านี่เองสภาพอากาศจึงเป็นอีกตัวแปรสำคัญที่ทำให้รสชาติชาเป็นเอกลักษณ์

อีกสาเหตุที่การปลูกชาออร์แกนิคได้รับความนิยมไม่มากนักเพราะว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ให้ออกผลผลิตได้รวดเร็วตามที่ต้องการ ปุ๋ยอินทรีย์จะทำงานช้าเป็นเวลา 3 ถึง 9 เดือน ในทางตรงกันข้ามปุ๋ยเคมีจะทำงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพในเวลาประมาณ 1 เดือนเท่านั้น ซึ่งสอดคล้องกับต้นทุนการผลิต ที่ปุ๋ยอินทรีย์จะทำงานช้า ดังนั้นต้นชาอินทรีย์จึงมีภาระมากกว่าต้นชาที่ไม่ใช่ออร์แกนิก ในทางกลับกันปุ๋ยเคมีในไร่ชาปลอดสารพิษทำให้กระบวนการปลูกง่ายขึ้นมาก ออกผลผลิตเร็ว

ดินในไร่ชาออร์แกนิกโดยทั่วไปมีอากาศมากกว่าและนุ่มกว่าดินในไร่ชาที่ไม่ใช่อินทรีย์ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณปุ๋ยที่ใช้ด้วย หากใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในปริมาณมากทำให้ดินนุ่มและโปร่งสบายขึ้น นี่เป็นเรื่องจริงสำหรับทั้งไร่ชาออร์แกนิคและไม่ใช่ออร์แกนิค ดินจะโปร่งสบายเนื่องจากแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในดินและสร้างสารอาหารและสภาพแวดล้อมที่ดีต่อใบชา

Matcha Field

ในพื้นที่ไร่ชาที่เมืองอูจิ เกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ในช่วงฤดูร้อน แสงแดดจะร้อนจัดและอากาศชื้น แต่ด้วยความชื้น พร้อมกับปุ๋ยที่อุดมสมบูรณ์นี้ เป็นสภาพแวดล้อมที่ดีมากสำหรับต้นชา แต่ยังเป็นสภาพแวดล้อมที่วัชพืชชื่นชอบด้วยเช่นกัน การกำจัดวัชพืชในไร่ชาออร์แกนิค ต้องใช้การถอนเถาวัลย์ออกจากต้นชา ถือเป็นงานที่ยาก เพราะชาออร์แกนิค กำจัดวัชพืชทำด้วยมือเท่านั้น และต้องกำจัดออกเพื่อป้องกันไม่ให้วัชพืชดูดซับสารอาหารจากปุ๋ยไปหมด

Matcha

ชาออร์แกนิคจะมีรสชาติที่รสชาติอร่อยกว่าชาจากไร่อื่นๆเพราะเติบโตในสภาพอากาศที่เหมาะสมและแหล่งน้ำธรรมชาติ คุณภาพดีเพราะเก็บด้วยมือ แถมยังปลอดภัยต่อสุขภาพในระยะยาว เพราะไม่มีสารเคมีตกค้าง จึงทำให้มีราคาที่สูงกว่าชาทั่วๆไปนั่นเอง

ที่มา

https://www.unclelee.com/article-history-our-tea.html

https://www.hibiki-an.com/contents.php/cnID/19

บทความจาก : Fuwafuwa

3 ขนมติดอันดับของคนญี่ปุ่น ที่ชอบทานคู่ชาเขียว

การกินชาเขียวให้อร่อย หลายคนคงทราบอยู่แล้วว่าคนญี่ปุ่นนิยมทานคู่กับขนมหวานญี่ปุ่น หรือที่เรียกว่า วากาชิ แม้ว่าที่จริงแล้วในพิธีชงชามีขนมอื่น ๆ อีกมากมายที่สามารถทานคู่ชาเขียวได้ แต่ขนมที่ติดอันดับคนนิยมกินคู่กับการดื่มชาและคนไทยรู้จักกันดี ได้แก่
อันดับ 1 คือ ไดฟุกุ ขนมแป้งโมจินุ่มหนึบที่พิเศษด้วยไส้ที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นไส้ชาเขียวลาวา ไส้ชาเขียวถั่วแดง บางเจ้าก็ใส่ผลไม้เข้าไปด้วยเพื่อเพิ่มรสชาติความอร่อย ขนมรสชาติออกหวาน ได้ชาเขียวร้อนๆเสิร์ฟคู่กัน เป็นความอร่อยที่ลงตัว
ส่วนใครที่อยากลองปั้นขนมไดฟุกุเอง เสิร์ฟคู่กับชาที่ร้าน เพิ่มสไตล์ความเป็นญี่ปุ่นให้กับเมนูในร้านสามารถทำได้เองง่ายๆ และต่อยอดเปลี่ยนรสชาติแป้งได้ฟุกุ หรือไส้ได้ตามชอบ

เมนู ไดฟุกุชาเขียว สตอเบอรี่

  1. แป้งข้าวเหนียว 100 กรัม
  2. แป้งมัน 20 กรัม ( สำหรับทำแป้งนวล )
  3. ผงมัทฉะ 10 กรัม
  4. น้ำตาลทราย 50 กรัม
  5. น้ำเปล่า 150 มล.
  6. ถั่วขาวกวนสำเร็จ 200 กรัม + ผงชา
  7. เขียว 5 กรัม
  8. สตรอเบอร์รี่

วิธีทำ

  1. แป้งข้าวเหนียว, ผงมัทฉะ, น้ำตาลทราย ผสมให้เข้ากัน ในภาชนะที่เข้าไมโครเวฟได้ ค่อยๆเติมน้ำผสมจนแป้งไม่เป็นเม็ด ลักษณะจะเหลวข้น
  2. นำส่วนผสมแป้งเข้าไมโครเวฟ โดยใช้พลาสติกแรพไว้ หรือ หา ภาชนะปิดไม่ให้แป้งหน้าแห้ง ใช้ไฟแรงสุดนาน 3 นาที นำออกมาเกลี่ยทุกๆ 1 นาที สังเกตแป้ง ถ้าสุกจะเปลี่ยนเป็นแป้งใส และจะจับตัวเป็นก้อน
  3. นำแป้งที่กวนสุกแล้ว คลุกกับแป้งนวล ตัดแบ่งให้เท่าๆกัน แผ่แป้งให้เป็นแผ่นกลม ใส่ไส้ถั่วขาวที่ผสมกันกับผงชาเขียวเป็นเนื้อเดียวกันที่ห่อลูกสตรอเบอร์รี่ไว้ ปั้นเป็นก้อนกลม คลุกแป้งนวลเพื่อไม่ให้ไดฟุกุติดกัน เป็นอันเสร็จเรียบร้อย

โดยปกติของการเสิร์ฟไดฟุกุ จะมีไม้เล็ก ๆ หรือที่เรียกว่า คุโระโมจิ (黒文字) ก็จะเป็นสัญลักษณ์ว่า ให้ทานขนมโดยการตัดแบ่งให้พอดีคำก่อนทาน ส่วนใหญ่จะเป็นขนมชิ้นไม่ใหญ่มากตัดได้ประมาณ 3-4 ครั้ง นั่นเอง

ต่อมาอันดับ 2 คือ เซมเบ้ ขนมข้าวกรอบที่มีหลายรูปทรง ขนาด และรสชาติ โดยปกติแล้วจะเป็นรสเค็ม(เป็นรสชาติของโชยุ)​ แต่รสหวานก็มีให้เห็น ส่วนใหญ่แล้วเซ็มเบจะรับประทานคู่กับชาเขียว เป็นขนมและจัดให้แขกที่มาเยี่ยมเยียนที่บ้านนั่นเอง โดยปกติแล้วเซ็มเบจะทำโดยการอบ หรือย่างถ่านแบบดั้งเดิม ระหว่างปรุงอาจมีการทาเซ็มเบด้วยซอสปรุงรส ซึ่งส่วนมากทำจากซอสถั่วเหลืองและมิริน จากนั้นอาจห่อด้วยสาหร่ายและปรุงด้วยเกลือ การเสิร์ฟเซมเบ้คู่กับชานั้นจะไม่มีไม้คุโระโมจิเหมือนอย่างไดฟุกุ จะเป็นที่รู้กันว่าให้ใช้มือทานได้เลยไม่เสียมารยาทนั่นเอง


หากร้านไหนอยากลองทำดังโงะเองที่ร้านก็สามารถทำได้ วิธีทำคล้ายกับการปั้นบัวลอยบ้านเราเลยทีเดียว
วัตถุดิบ ได้แก่ เต้าหู้ขาว 250 กรัม แป้งข้าวเจ้า (หรือแป้งโมจิ) + น้ำตาล 200 กรัม

วิธีทำแสนง่าย : ก่อนอื่นให้ใช้มือนวดผสมเต้าหู้และแป้งข้าวเจ้าเข้าด้วยกัน ให้แป้งมีความนุ่มกำลังดี ไม่นิ่มและไม่แข็งจนเกินไป หลังจากนั้นปั้นเป็นก้อนกลม ต้มน้ำในหม้อขนาดใหญ่จนเดือดและใส่ดังโงะก้อนกลมลงไป ต้มไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะลอยขึ้นมา เมื่อลอยขึ้นมาเหนือผิวน้ำแล้วให้ต้มต่อไปอีกประมาณ 2 – 3 นาทีและตักออกมาพักไว้บนจานรองกระดาษ นำไปเสียบไม้ ทานคู่ซอส หรือย่างไฟอ่อนๆก่อนก็ได้ตามชอบ เสิร์ฟคู่ชาเขียวร้อนของที่ร้าน รับรองว่าลูกค้าที่มาที่ร้านต้องรู้สึกเหมือนได้ไปญี่ปุ่นแน่นอน

ที่มา

https://www.pinterest.com/pin/325807354293426536/
https://moichizen.exblog.jp/13348925/
https://www.pinterest.com/pin/14707136267674817/
https://www.japancentre.com/en/recipes/1669-matcha-ganache-filled-strawberry-daifuku

By : Contrary To Popular Belief

ข้อควรระวังในการดื่มชา ที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้

หลายคนคงทราบกันอยู่แล้วว่า การดื่มชามีประโยชน์มากมาย แต่น้อยคนนักจะรู้ว่าการดื่มชามากจนเกินไปจะมีผลเสียต่อร่างกายพอสมควรเลยทีเดียว

1. การดื่มน้ำชาไม่ว่าจะชาร้อนหรือชาแช่เย็น ไม่ควรแต่งรสด้วยนมสด นมข้นหรือนมผง เพราะโปรตีนในนมจะไปจับกับสารสำคัญในชา ทำลายประสิทธิภาพสารออกฤทธิ์ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย วิธีการดื่มชาเขียวให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพ จึงควรดื่มน้ำชาล้วนๆไม่ควรปรุงแต่ง นอกจากจะได้สารอาหารที่ครบถ้วนแล้วยังไม่อ้วนจากน้ำตาลที่ปรุงแต่งเข้าไปด้วย

2. ใบชายังมีองค์ประกอบของฟลูออไรด์ในปริมาณที่ค่อนข้างสูง และสูงกว่าปริมาณในน้ำประปา หากดื่มในปริมาณที่มากเกินไป จะเกิดการสะสม มีผลให้ไตวาย เกิดมะเร็งลำไส้ โรคกระดูกพรุน (Osteofluorosis) โรคข้อ และโรคอื่นๆที่เกี่ยวกับกระดูก และยังทำให้ฟันเกิดคราบเหลืองได้ ยิ้มฟันขาวๆจะหายไป แต่ผู้ที่ดื่มไม่มาก ก็คงไม่ต้องกังวล



3. หลีกเลี่ยงชาที่มีส่วนผสมของคอมเฟรย์ (comfrey) ซึ่งมีสารไพโรลิซิดีน อัลคาลอยด์ อันอาจเป็นอันตรายต่อตับ ในบางประเทษดอกคอมเฟรย์เป็นเรื่องต้องห้ามเลย

4. สารออกซาเรท (oxalate) ในชาที่มีอยู่ในปริมาณน้อย แต่หากผู้ที่ชื่นชอบการดื่มชามากจนเกินไปและดื่มบ่อยๆเป็นประจำ จะสะสมสารออกซาเรทในร่างกายได้ อาจส่งผลต่อการทำลายไตได้

5. ใบชามีคาเฟอีนในปริมาณสูง อาจสูงกว่าในเมล็ดกาแฟด้วยซ้ำไป เพียงแต่การดื่มน้ำชา สารแทนนินจากน้ำชาจะช่วยลดการดูดซึมของคาแฟอีนเข้าสู่ร่างกาย ทำให้ฤทธิ์การกระตุ้นหัวใจและสมองน้อยกว่ากาแฟมากคาเฟอีน แต่ก็ส่งผลต่อการนอนเช่นเดียวกับกาแฟ ดังนั้นไม่ควรดื่มภายในสามชั่วโมงก่อนเข้านอน

6. สารแทนนินที่มีอยู่ในชาเขียวซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการท้องผูก เพราะสารตัวนี้ทำหน้าที่ยับยั้งการดูดซึมสารอาหารสำคัญอีกหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นโปรตีน เหล็กและโฟลิก เพราะฉะนั้น เพื่อป้องกันปัญหาท้องผูกตามมา แนะนำให้คุณหันมาดื่มชาเขียวแต่เพียงในปริมาณพอดี โดยดื่มวันละไม่ควรเกินกว่า 5 แก้ว ร่วมกับการดื่มน้ำให้มากๆ และกินอาหารที่มีกากใยสูง ก็จะช่วยปรับระบบขับถ่ายให้ทำงานคล่องตัวขึ้นได้แล้ว ดังนั้นจึงมักจะมีคำแนะนำไม่ให้เด็กดื่มน้ำชา ไม่ว่าจะเป็นชาเขียวแช่เย็นหรือชาร้อน เพราะจะทำให้ร่างกายขาดสารอาหารได้

7. สารคาเทคชินส์ (Catechins) ที่อยู่ในชา จะถูกความร้อนทำลายไปเกือบหมด คงเหลือแต่ความหอมและรสชาติ ถ้าต้องการดื่มชาร้อนๆ ควรดื่มน้ำชาที่เข้มข้น เช่นเดียวกับคนจีน ที่นิยมชงชาจีนรสเข้มข้นในถ้วยชาใบจิ๋วคล้ายกับการดื่มกาแฟเอ็กซ์เพรซโซ่ ความเข้มข้นของใบชาจะทำให้มีปริมาณสารคาเทคชินส์ที่เข้มข้น และแม้ว่าสารเหล่านี้จะสลายตัวไปบางส่วนเมื่อโดนความร้อนจากน้ำร้อน แต่จะยังคงมีบางส่วนที่หลงเหลืออยู่ ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพได้บ้าง


ไม่ว่าจะเป็นชาเขียวหรือชาชนิดใดก็ตาม ควรดื่มในปริมาณ และเวลาที่เหมาะสมเพื่อบำรุงร่างกายจะดีกว่าการดื่มที่มากเกินไป ^^

ที่มา

https://bit.ly/3a3MFi2

https://www.ful-filled.com/2018/01/23/all-about-matcha/

https://health.mthai.com/howto/health-care/12777.html

https://mommypotamus.com/comfrey/

By : Contrary To Popular Belief

Share on facebook
Share on twitter

Related Blogs

4 เหตุผลของการตีชาเขียวแล้วไม่เกิดฟอง

ปกติของการชงชาเขียวด้วยผงชาเขียวนั้น จะมีการใช้ฉะเซ็น หรือ ที่ตีฟองนมช่วยในการตีชาให้ละลายไปกับน้ำ บางครั้งตีผงชาด้วยอุปกรณ์และเทคนิคแบบเดิม กลับได้ผลลัพธ์ที่ไม่เหมือนเดิม ผงชาอาจจะไม่ละลาย ตีแล้วไม่ขึ้นฟองที่สวยงาม ทำให้เวลาถ่ายภาพเมนูอาหารไม่น่าทาน สาเหตุเกิดจากอะไรนั้น ลองมาสังเกตไปพร้อมๆกัน

Matcha Frothy

1. ไม่ได้กรองชาเขียวก่อนตีโดยทั่วไปแล้วผงมัทฉะไม่จำเป็นต้องผ่านการร่อน แต่ถ้าต้องการให้เกิดฟองที่สวยงามในตอนตี ควรจะผ่านการร่อนสักรอบเหมือนก่อนที่เราจะนำแป้งมาใช้ทำขนม เพาะ ผงชา และแป้งพวกนี้เมื่อถูกเก็บอยู่ในภาชนะนานๆ อาจเกิดการจับตัวเป็นก้อนได้อีกครั้ง การร่อนก่อนที่จะตีจะช่วยให้คุณได้เครื่องดื่มชาเขียวที่นุ่มขึ้น และยังทำให้ได้ฟองเป็นชั้นๆสวยงาม

2.ปริมาณน้ำกับชาไม่ได้สัดส่วนกัน  หากใส่น้ำในปริมาณที่มากเกินไปฟองมัทฉะก็ทำได้ยาก และอาจจะได้ฟองอากาศขนาดใหญ่จำนวนมากซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่ต้องการ เพราะการชงมัทฉะที่สวยงามน่าทานจะต้องเป็นฟองน้อยๆ หากใส่ผงมัทฉะในปริมาณที่มากเกินไปคุณจะได้ชาเขียวที่เข้มข้นมาก ๆ แต่มักจะเกิดกรณีที่เมื่อใช้ผงมัทฉะมากขึ้นเพื่อรสชาติที่เข้มขึ้น แต่ปริมาณของเหลว คือ น้ำ อยู่ในเรทเท่าเดิม ซึ่งไม่เพียงพอต่อการทำละลายของผงมัทฉะ จึงเป็นเรื่องยาก โดยปกติแล้วปริมาณความเข้มข้นของชาจะขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน แต่อัตราส่วนทั่วไปในการตีผงชามัทฉะคือ ไม้ไผ่ 2 ช้อน (หรือ 1 ช้อนชา) ต่อน้ำ 2-3 ออนซ์ หากต้องการปรับระดับความเข้นข้นเอง อย่าลืมที่จะเติมน้ำมากขึ้นตามระดับที่สามารถทำละลายผงชาได้

Matcha Frothy

3. อุณหภูมิของน้ำต่ำลงเกินไปหากน้ำเย็นเกินไปการพักมัทฉะในน้ำจะเป็นเรื่องยาก ซึ่งจะส่งผลให้มีการจับตัวเป็นก้อนมากกว่าฟอง อุณหภูมิของน้ำขึ้นไม่ได้มีสูตรบังคับตายตัว เพียงแต่มีคำแนะนำ เพื่อรสชาติที่ดีท่สุดเท่านั้นตามแบบฉบับของแต่ละร้านว่าควรใช้อุณหภูมิที่เท่าไหร่ ซึ่งแน่นอนว่า การใช้น้ำร้อนเกินไปก็ไม่ได้ทำให้การตีผงชาละลายได้ดีที่สุด แต่ถ้าอุณหภูมิของน้ำ ต่ำมากเกินไป ก็จะทำให้การละลายชาไม่ดีเท่าที่ควร อุณภูมิ 85 องศาเซลเซียส จึงเป็ฯอุณภูมิที่พอเหมาะที่สุดนั่นเอง

Matcha Frothy Matcha Frothy

4.ชาเขียวที่ใช้เป็นชาเขียวที่เสื่อมคุณภาพแล้วหากผงมัทฉะเป็นผงชาที่อยู่ในเกรดธรรมดาคุณภาพไม่สูงคุณนัก หรือเป็นชาที่ถูกเก็บไว้นานเกินด้วยวิธีการเก็บที่ผิดวิธี แม้จะสามารถตีต่อไปได้เรื่อยๆและดื่มได้ตามปกติ แต่ฟองมัทฉะที่สมบูรณ์แบบจะไม่ปรากฏให้เห็นเท่านั้น เพราะผงมัทฉะคุณภาพต่ำจะตีฟองได้ยาก แม้จะมีฟองอากาศอยู่บ้าง แต่จะไม่เป็นชั้นเรียบ มีโอกาสที่ของเหลวจะถูกเปิดเผยใต้พื้นผิวของฟองด้วย

การตีชาให้เกิดฟองเป็นเพียงความสวยงามที่ทำให้ชาแก้วนั้นดูน่ารับประทานมากขึ้น  บางร้านอาจจะต้องการฟองน้อยๆ หรือไม่มีฟองเลย ขึ้นอยู่กับรูปแบบการจัดเสิร์ฟที่ร้านตั้งใจไว้ ดังนั้นหากเห็นชาที่ไม่เกิดฟอง ไม่ได้แปลว่าชาแก้วนั้นมีคุณภาพไม่ดี 100% แต่อย่างใดจ้า…

ที่มา

https://creativemarket.com/Foxys/2137243-Flat-lay-of-freshly-brewed-Japanese

https://www.instagram.com/p/BoOKZJ5AQa-/

http://www.flickr.com/photos/corylum/3814974483/in/photostream

บทความจาก : Fuwafuwa

เปิดกรุประวัติศาสตร์ ชาเขียวในไทย

การดื่มชาได้เริ่มขึ้นในประเทศจีน คาดว่าไม่น้อยกว่า 2,167 ปีก่อนคริสตกาล ตำนานการเริ่มต้นของการดื่มชามีหลายตำนาน บ้างก็กล่าวว่าจักรพรรดิเสินหนิงของจีน (Shen Nung) ค้นพบวิธีชงชาโดยบังเอิญ เมื่อพระองค์ทรงต้มน้ำดื่มใกล้ๆ กับต้นชา ขณะรอคอยให้น้ำเดือด กิ่งชาได้หล่นลงในหม้อชา สักพักหนึ่งกลิ่นหอมกรุ่นก็โชยออกมา เมื่อพระองค์เอากิ่งชาออกแล้วทรงดื่ม ก็พบว่า มันทำให้สดชื่น การดื่มชาจึงแพร่หลายมากขึ้นในเวลาต่อมา นอกจากทรงค้นพบสรรพคุณของชาแล้ว พระองค์ยังทรงค้นคว้าและทดสอบสมุนไพรชนิดต่างๆ กว่า 200 ชนิด จนได้มีการเผยแพร่ไปยังประเทศต่างๆ ทั้งญี่ปุ่น อินเดีย รวมถึงที่ไทยเอง

matcha history matcha history

ในสมัยสุโขทัยช่วงที่มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับจีน พบว่าได้มีการดื่มชากัน แต่ก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่านำเข้ามาอย่างไร และเมื่อใด แต่จากจดหมายของท่านลาลูแบร์ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้กล่าวไว้ว่า คนไทยได้รู้จักการดื่มน้ำชาแล้ว โดยนิยมชงชาเพื่อรับแขก การดื่มชาของคนไทยสมัยนั้นดื่มแบบชาจีนไม่ใส่น้ำตาล แต่บางตำราก็บอกว่าคนสมัยนั้นจะอมน้ำตาลกรวดใส่ปากก่อน แล้วจิบน้ำชาร้อนๆตาม ระหว่างนั้นเจ้าบ้านก็จะรินน้ำชาใส่ถ้วยให้เรื่อยๆ ถ้าแขกดื่มพอแล้วก็ให้คว่ำถ้วยชาลงเป็นการส่งสัญญาณว่าน้ำตาลในปากละลายหมดเกลี้ยง แต่น้ำชาร้อนก็ไม่ได้เป็นเครื่องดื่มที่นิยมกันทุกบ้านทุกครัวเรือน เพราะคนไทยชอบกินน้ำเย็นดับร้อนอย่างน้ำฝนมากกว่า น้ำชาร้อนจึงจัดเสิร์ฟเฉพาะในจวนข้าราชการหรือถวายพระเท่านั้น แต่ก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัดนักว่าเป็นชาสายพันธุ์ไหน แล้วมีปลูกที่ไทยหรือเป็นเพียงชาที่ทูตใช้ชงดื่มกันในราชสำนัก

หลักฐานที่เห็นได้ชัดอีกประการ คือ ชาที่ปลูกในเมืองไทย เริ่มเมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประภาสยุโรปเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกล่าอาณานิคมจากชาวยุโรป เมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านได้เสด็จประพาสยุโรปโดยเฉพาะที่อังกฤษ ที่นั่นนิยมดื่มชาและ กาแฟ ในสมัยนั้นประเทศอินเดียเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษตั้งแต่สมัย สงครามโลกครั้งที่ 1 ได้เอาสินค้าเกษตรจากประเทศอินเดียมากมาย ชาอินเดียที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ ชาที่รัฐอัสสัม อยู่ที่ศรีลังกา เรียกว่า “ชาอัสสัม” แต่พอมาอยู่ที่ประเทศอังกฤษ ได้มีการเปลี่ยนชื่อจากชาอัสสัมมาเป็นชาซีลอน โดยระหว่างที่รัชกาลที่ 5 เจริญสัมพันธไมตรีอยู่นั้น ก็ได้นำต้นกล้าชาซีลอนจากอังกฤษกลับมาที่เมืองไทยด้วย ชาชนิดนี้จะชอบภูมิศาสตร์ที่เป็นภูเขาสูง และอากาศหนาวเย็น จึงได้ปลูกไว้ที่ดอยสะเก็ด สมัยนั้นเทือกเขาที่ดอยสะเก็ดจะมีภูเขาที่เชื่อมต่อเป็นแนวยาวถึงดอยวาวี ดอยแม่สลองและดอยตุง ปัจจุบันนี้ที่ดอยสะเก็ดและดอยวาวีก็ยังมีต้นชาอัสสัมอยู่ และได้รับการขนานนามใหม่ในการท่องเที่ยวว่า “ต้นชาร้อยปี”

เมื่อเริ่มการเพาะปลูกใบชาอย่างจริงจังทางภาคเหนือของประเทศ ในช่วงที่ปลูกพืชผักชนิดอื่นแทนฝิ่น จึงเริ่มมีการคิดค้นสูตรชาไทย ซึ่งทำจากชาอัสสัม ให้มีรสเข้มข้นถูกปากคนไทยมากขึ้นจนเป็นชาไทย เครื่องดื่มขึ้นชื่อของไทยทุกวันนี้

matcha history

สำหรับการปลูกชาในประเทศไทยนั้น แหล่งกำเนิดเดิมจะอยู่ตามภูเขาทางภาคเหนือของประเทศ โดยจะกระจายอยู่ในหลายจังหวัดแถบภาคเหนือ ที่สำคัญได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน ลำปางและตาก จากข้อมูลของสถาบันชาและกาแฟแห่งมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้มีบันทึกว่า การพัฒนาอุตสาหกรรมชาของประเทศไทย เริ่มขึ้นอย่างจริงจังในปี พ.ศ. 2480 โดย นายประสิทธิ์ และนายประธาน พุ่มชูศรี สองพี่น้องได้ตั้งบริษัท ใบชาตราภูเขา จำกัด และสร้างโรงงานชาขนาดเล็กขึ้นที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โดยรับซื้อใบชาสดจากชาวบ้านที่ทำเมี่ยงอยู่แล้ว แต่ปรากฏว่าพบปัญหาอุปสรรคหลายประการ เช่น ใบชาสดมีคุณภาพต่ำ ปริมาณไม่เพียงพอ ชาวบ้านขาดความรู้ความชำนาญในการเก็บเกี่ยวยอดชาและการตัดแต่งกิ่งชา จึงได้นำผู้เชี่ยวชาญทางด้านชาชาวฮกเกี้ยนมาจากประเทศจีน เพื่อมาถ่ายทอดความรู้ให้กับคนไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2482 สองพี่น้องตระกูลพุ่มชูศรี ได้แก้ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ โดยเริ่มปลูกสวนชาเป็นของตนเอง ใช้เมล็ดพันธุ์ชาพื้นเมืองมาเพาะ ที่อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ในเนื้อที่ประมาณ 100 ไร่และต่อมาได้ขยายพื้นที่ปลูกมาที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ในช่วงนั้นเองภาครัฐได้มีการนำชาพันธุ์ดีมาจากประเทศอินเดีย ไต้หวัน และญี่ปุ่นมาทดลองปลูก เพื่อทำการค้นคว้าและวิจัยต่อไป

ในปี พ.ศ. 2508 ได้ส่งเสริมการผลิตมากขึ้น โดยขอสัมปทานทำสวนชาจากกรมป่าไม้จำนวน 2,000 ไร่ ที่บ้านบางห้วยตาก ตำบลอินทขิน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ชาที่ผลิตได้ส่วนใหญ่จะเป็นชาฝรั่ง ต่อมาเอกชนเริ่มให้ความสนใจอุตสาหกรรมการผลิตชามากขึ้นโดยในปี พ.ศ. 2530 บริษัทชาระมิงค์ได้ขยายสัมปทานสวนชา ให้แก่บริษัทชาสยาม จากนั้นชาสยามได้เริ่มส่งเสริมให้เกษตรกรที่ปลูกไร่ในบริเวณใกล้เคียงปลูกสวนชาแบบใหม่ และรับซื้อใบชาสด จากเกษตรกรนำมาผลิตชาฝรั่งนามชาลิปตัน จนกระทั่งปัจจุบันนี้

matcha history

ส่วนชาเขียวนั้นแม้ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดว่าเข้ามาในไทยช่วงสมัยไหน แต่มีารคาดการณ์ว่าเข้ามาในช่วงที่มีการทดลองปลูกที่ภาคเหนือ และเริ่มแพร่หลายชัดขึ้นในช่วงที่ไทยรับวัฒนธรรมญี่ปุ่นเข้ามา และเริ่มปลูกอยู่ทางภาคเหนือ ซึ่งก่อนที่จะมีการรับวัฒนธรรมการดื่มชาแบบญี่ปุ่น คือแบบเป็นผงมัทฉะมาตีกับฉะเซนนั้น ชาเขียวในไทยมี 2 ประเภท

  1. ชาเขียวแบบญี่ปุ่น ชาเขียวแบบญี่ปุ่นไม่ต้องคั่วใบชา ชาเขียวมีสารอาหารพวกโปรตีนน้ำตาลเล็กน้อย และมีวิตามินอีสูง
  2. ชาเขียวแบบจีน ชาเขียวแบบจีนจะมีการคั่วด้วยกะทะร้อนนั่นเอง

หากถอยกลับไปชาเขียวญี่ปุ่นก็ได้รับอิทธิพลมาจากจีนเช่นกันราวต้นสมัยเฮอัน โดยเผยแพร่ผ่านทางนักบวชญี่ปุ่นที่ได้เดินทางไปเป็นทูตเรียนรู้เรื่องต่างๆจากประเทศจีนรวมทั้งการศึกษาตัวยาสมุนไพรจากจีนอีกด้วย เมื่อพระ ได้ชงชาใส่ถ้วยนำมาถวายองค์จักรพรรดิได้ดื่มชาก็เกิดความประทับใจในรสชาติ จึงสั่งให้นำเมล็ดชาไปปลูกที่สวนสมุนไพรภายในบริเวณราชวัง ชาจึงได้แพร่หลายไปในแถบภูมิภาคคิงคิ (เกียวโต) แต่ความนิยมยังคงมีอยู่แต่ในเฉพาะกลุ่มชนชั้นสูงเท่านั้น

ต่อมาในช่วงตอนต้นสมัยคามาคุระ นักบวช Eisai ในพุทธศาสนาเซน ได้นำเมล็ดชามาจากจีนเป็นจำนวนมากพร้อมกับกรรมวิธีการผลิตชากลับมาด้วย นั่นก็คือการดื่มชาในสไตล์ Matcha นั่นเอง ได้มีการส่งเสริมการเพาะปลูกชาเพื่อใช้เป็นสมุนไพรให้แพร่หลายมากขึ้น และมีประโยคหนึ่งในหนังสือที่ท่านได้เขียนไว้ว่า “ชาเป็นพื้นฐานทางจิตใจและเป็นเครื่องมือแพทย์ที่ดีที่สุด ทำให้ชีวิตถูกเติมเต็มและมีความสมบูรณ์มากขึ้น”จากนั้นก็เริ่มมีการค้นคว้าสรรพคุณของชามากขึ้นอีกด้วย

ในสมัยมุโระมาจิ เริ่มมีพิธีชงชาในแบบฉบับดั้งเดิมของญี่ปุ่นแล้ว เริ่มมีการลงรายละเอียดในภาชนะที่ใช้ในพิธีชงชา รวมไปถึงการเสิร์ฟชาเขียวในร้านอาหารอีกด้วย การดื่มชายังเป็นที่นิยมในงานพบปะสังสรรค์ของชนชั้นนักรบมากขึ้น แต่เป็นการดื่มชาเพื่อเล่นเกมทายปัญหาต่างๆ เพื่อชิงรางวัลเป็นเหล้าสาเก และมีการร้องเล่นเต้นรำไปด้วย ต่อมานักบวชเซน Shuko Murata ไม่เห็นด้วยกับการดื่มชาเพื่อความสนุกสนานเช่นนั้น เขาคิดว่าโลกแห่งความเรียบง่ายของเซนนั้นมีแนวคิดแตกต่างออกไปในการดื่มชา การดื่มชาด้วยความเรียบง่ายและมีสมาธิในแบบของเซนจะช่วยให้จิตใจสามารถพัฒนา ขึ้นได้อย่างสมบูรณ์ นักบวชจึงออกแบบห้องพิธีชงชาขนาดเล็ก เพื่อใช้สนับสนุนการชงชาตามอุดมคติของนักบวช Eisai และในขณะที่ชงชานั้นก็ได้ผสมผสานจิตวิญญาณของพุทธศาสนานิกายเซนไปด้วย

ต่อมาในสมัยยุคเมจิ การผลิตชามีมากขึ้น มีหนังสือเทคนิคการผลิตต่างๆ ออกมาอย่างแพร่หลาย เริ่มมีเครื่องจักรเข้ามาช่วยในกระบวนการผลิต และเริ่มมีการส่งออกชาไปยังต่างประเทศแล้ว และปริมาณการส่งออกยังมากเป็นอันดับสองรองจากประเทศจีนอีกด้วย แม้การส่งออกจะกระท่อนกระแท่นไปบ้างในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เพราะตอนนั้นชาดำเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นในต่างประเทศ แต่ไม่นานในศตวรรษที่ 20 ชาเขียวก็ได้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของผู้คนทั้งประเทศญี่ปุ่นและ แพร่หลายออกมาทั่วโลกอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันนั่นเอง

matcha history

ที่มา

http://photography.nationalgeographic.com

http://web2.mfu.ac.th/other/teainstitute/?p=291&lang=th

บทความจาก : Fuwafuwa

ดื่มชาเขียวร้อนดีกว่าชาเขียวเย็นจริงมั้ย ?

ชาเขียว เครื่องดื่มที่อุดมด้วยคุณค่าทางสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย สามารถดื่มได้ทั้งแบบร้อนและแบบเย็น แต่ในทางกลับกันการดื่มชาเขียวอาจไม่ได้ช่วยให้เกิดประโยชน์อะไรต่อร่างกายเลยหากดื่มไม่ถูกวิธี ซึ่งที่ทุกคนทราบกันอย่างแน่ชัด คือ การดื่มน้ำชาไม่ว่าจะชาร้อนหรือชาแช่เย็น ไม่ควรแต่งรสด้วยน้ำตาล หรือ นมทุกชนิด ไม่ว่าจะนมสด นมข้นหรือนมผง เพราะโปรตีนในนมจะไปจับกับสารสำคัญในชา และทำลายประสิทธิภาพสารออกฤทธิ์ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพ จึงควรดื่มน้ำชาล้วนๆไม่ปรุงแต่ง

Hot Matcha Cold Matcha

อย่างไรก็ตาม แม้จะดื่มชาเขียวเพียวๆ แต่ก็มีคนเข้าใจว่าการดื่มชาเขียวเย็นไม่เกิดประโยชน์แล้วกลับทำให้เกิดโทษต่อร่างกาย เพราะชาเขียวเย็น ก่อให้เกิดการเกาะตัวแน่นของสารพิษที่เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็ง นอกจากนี้ชาเขียวเย็นยังส่งผลให้ไขมันในร่างกายก่อตัวมากขึ้นตามผนังหลอดเลือด และอุดตันตามผนังลำไส้ ทำให้เกิดโรคร้ายตามมา เช่น หลอดเลือดหัวใจอุดตัน มะเร็งลำไส้ เส้นเลือดตีบ แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานการวิจัยยืนยันอย่างชัดเจนว่าชาเขียวเย็นส่งผลเสียแบบนั้นจริงมั้ย

บางกระแสก็บอกว่า หากดื่มแบบเย็นที่มีน้ำแข็งผสม ความเย็นจากน้ำแข็งจะทำให้ประสิทธิภาพของชาเขียวเจือจางไปพร้อมน้ำแข็ง แทนที่จะได้รับประโยชน์แบบเต็มที่ก็ทำให้ได้รับคุณประโยชน์น้อยกว่า แต่สำหรับใครที่อยากดื่มชาเขียวแบบเย็นก็สามารถทำได้ เพียงให้ดื่มชาที่ชงด้วยตัวเองแล้วนำไปแช่เย็นไว้ แค่ไม่ใส่น้ำแข็งไปผสมเพิ่มก็พอ และเพื่อให้สารต้านอนุมูลอิสระจากในชาเขียวยังคงมีอยู่

ในทางกลับกัน มีสมมติฐานที่ยังคงเป็นที่ถกเกียงกันว่าการดื่มชาเขียวร้อนที่ว่ากันว่าช่วยยับยั้งการเกิดมะเร็งได้ เพราะยอดใบชาจะมีสารต้านอนุมูลอิสร แต่ก็ยังไม่ได้มีวิจัยที่ชัดเจน และบางคนก็เชื่อว่าการดื่มชาเขียวร้อน ยิ่งเสี่ยงมะเร็งหลอดอาหาร แม้จะยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน แต่คนเลิฟชาเขียวก็ควรดื่มชาในปริมาณที่พอเหมาะ และดื่มอย่างถูกวิธี เพื่อให้ได้คุณค่าทางสารอาหารมากที่สุด

สำหรับผู้ที่นิยมดื่มน้ำชาร้อนๆ สารสำคัญที่เป็นประโยชน์ คือ คาเทคชินส์ (Catechins) จะถูกความร้อนทำลายไปเกือบหมด คงเหลือแต่ความหอมและรสชาติ ถ้าต้องการให้ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายแต่ยังนิยมชาร้อนๆ ควรดื่มน้ำชาที่เข้มข้น เช่นเดียวกับคนจีนแต้จิ๋ว ที่นิยมชงชาจีนรสเข้มข้นในถ้วยชาใบจิ๋วคล้ายกับการดื่มกาแฟเอ็กซ์เพรซโซ่ ความเข้มข้นของใบชาจะทำให้มีปริมาณสารคาเทคชินส์ที่เข้มข้น และแม้ว่าสารเหล่านี้จะสลายตัวไปบางส่วนเมื่อโดนความร้อนจากน้ำร้อน แต่จะยังคงมีบางส่วนที่หลงเหลืออยู่ ที่พอจะให้ประโยชน์ต่อสุขภาพ

Hot Matcha

นอกจากนี้ยังมีวิจัยที่ว่า การดื่มชาร้อนช่วงอากาศร้อนๆๆ ช่วยให้รู้สึกเย็นมากกว่าชาเย็น เพราะเหงื่อจะออกเยอะ เป็นการช่วยระบายความร้อนได้อีกทาง ถ้าดื่มชาเขียวเย็นในช่วงที่อากาศร้อนชาเย็นที่เราดื่มเข้าไปจะสูญเสียความเย็นเมื่อไหลผ่านอวัยวะต่างๆ ถ้าดื่มในปริมาณที่มากเกินๆ

แม้จะยังไม่มีงานวิจัยที่ชัดเจนรองรับการดื่มชาเขียวเย็น หรือชาเขียวร้อนว่าการดื่มประเภทไหนจะเกิดผลร้ายต่อร่างกายมากกว่ากัน เพียงแค่โดยหลักการแล้วเราจะได้รับสารต้านอนุมูลอิสระมากที่สุดตอนดื่มชาร้อน โดยเฉพาะชาที่ต้มในอุณหภูมิ 70-78 องศาเป็นเวลา 2-4 นาที แล้วสารต้านอนุมูลอิสระจะหายไปประมาณ 20% หากโดนความร้อนนานๆนั่นเอง และปริมาณที่บริโภคในแต่ละวันก็ไม่ควรมากเกินไปเพราะอาจจะเกิดอาการท้องผูกได้ และกินหลังมื้ออาหาร เพื่อให้คาเฟอีนในชาไม่ไปทำให้เกิดกรดในกระเพาะนั่นเอง

ที่มา

shorturl.at/jtwDM

https://www.dotfit.com/content-35820.html

DIY Beauty and Natural Skincare Recipes, Essential Oils, Non-Toxic Lifestyle & More

บทความจาก : Fuwafuwa

Matcha Breakfast Dish เมนู Matcha Yogurt

หลายคนอาจคิดว่าการได้จิบชาอุ่นๆ ในตอนเช้านั้นเป็นอะไรที่เพอร์เฟ็กต์ แต่ความจริงแล้วตอนเช้าเป็นช่วงที่ท้องกำลังว่าง หากเราดื่มชาเขียวเข้าไปจะกระตุ้นให้เกิดกรดในกระเพาะอาหาร จนอาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะได้ แถมคาเฟอีนที่อยู่ในชาเขียวยังจะกระตุ้นให้ร่างกายขับน้ำออกมา อาจทำให้เรารู้สึกขาดน้ำ สมองช้า ไม่สดชื่นอีกด้วย ทางที่ดีควรกินอาหารเช้าให้เรียบร้อยก่อนแล้วค่อยตามด้วยชาเขียวสัก 1 แก้ว หรือถ้าอยากทานชาเขียวจริงๆ ลองเอาไปผสมในซุป โยเกิร์ต หรือเมนูอื่นๆที่เหมาะกับการเป็นมื้อเช้า ทำให้ได้มื้อเช้าแสนอร่อยสไตล์คนเลิฟมัทฉะ และยังเป็นการเพิ่มเมนูมื้อเช้าให้ร้านคาเฟ่ของคุณได้อีกด้วย

เริ่มกันที่เมนูเบาๆง่ายๆไม่หนักท้องและดีต่อสุขภาพ อย่าง Matcha Yogurtเมนูที่หลายคนลืมนึกไปว่าชาเขียวก็ทานคู่กับโยเกิร์ตได้

Matcha Yogurt

เพียงแค่นำโยเกิร์ตรสธรรมชาติ 300 กรัม มาผสมกับผงมัทฉะ 1 ช้อนโต๊ะ เมเปิ้ลไซรัป 2 ช้อนชา คนให้เข้ากันแล้วท้อปปิ้งด้วย กีวี ลูกพีช บลูเบอรี่ แอปเปิ้ล หรือผลไม้อื่นๆตามที่ชอบ

แต่ถ้าใครไม่ชอบทานโยเกิร์ แนะนำเป็น Matcha Breakfast Bowl ที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางสารอาหาร ด้วยการนำเมล็ดเจีย 2 ช้อนโต๊ะ ผสมกับนมอัลมอนด์ หรือนมแมคคาดีเมีย หรือนมวัวแล้วแต่ชอบในปริมาณ 1 ถ้วย และผงมัทฉะ 2 ช้อนชา ปั่นรวมเข้ากัน สามารถเติมน้ำผึ้งเล็กน้อยเพื่อเพิ่มความหวานได้ตามชอบ หรือถ้าใครอยากเพิ่ม texture สามารถนำอะโวคาโดไปปั่นรวมได้ หลังปั่นแล้วสามารถเก็บในตู้เย็นได้นาน 1 วีค  ตกแต่งท้อปปิ้งด้วยสตอเบอรี่สด อัลมอนด์สไลด์ตามชอบ

อีกเมนูมื้อเช้าเบาๆสไตล์คนยุโรปอย่างMatcha Pancakeด้วยสูตรแป้งกลูเตนฟรี เหมาะกับคนที่แพ้อาหารกลุ่มแป้งสาลีใช้เวลาทำเพียงแค่ 12 นาที เหมาะกับคนที่เร่งรีบยามเช้า เริ่มด้วยผสมไข่ 2 ฟอง กับนมอัลมอนด์ ⅔ ถ้วย + น้ำมันมะพร้าว ¼ ถ้วยที่ละลายแล้ว กับน้ำตาลอ้อยและกลิ่นวนิลา คนให้เข้ากัน ร่อนแป้งกลูเตนฟรี 1 ถ้วย + ผงมัทฉะ 2 ช้อนโต๊ะ + ผงฟู  1 ช้อนโต๊ะ และเกลือเล็กน้อย ลงไปคนให้เข้ากัน หลังจากนั้น ตั้งกระทะเปิดไฟกลาง ใส่น้ำมันมะพร้าวลงไป  พอกระทะร้อน ตั้งส่วนผสมที่เตรียมไว้ใส่ลงไป ตามขนาดที่ต้องการ พอเริ่มสุกให้พลิกกลับอีกด้านจนเป็นสีเหลืองทอง สุกเท่ากันทั้ง 2 ด้าน เสิร์ฟคู่น้ำผึ้ง ผลไม้สด ตามชอบ มื้อเช้าแสนง่าย อิ่มอยู่ท้อง ^^

Matcha Pancake

เติมความหวานมื้อเช้าได้ง่ายๆกับอีกเมนูสำหรับคนเลิฟของหวานMatcha Sugar Toast ที่ใช้ส่วนผสมแค่ 3 อย่าง ทำเสร็จได้ง่ายๆภายใน 5 นาที ด้วยการนำ ผงชาเขียว ¼ ช้อนชา ผสมกับเนยเค็ม 2 ช้อนโต๊ะโดยเป็นเนยที่อยู่ในอุณหภูมิห้องและน้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ ผสมให้เข้ากัน ไปทาขนมปัง แล้วอบขนมปังในเตาให้กรอบสีสวยตามระดับความชอบ แนะนำที่อุณหภูมิ 175 องศา 2-5 นาที

Matcha Sugar Toast Matcha Sugar Toast

เพิ่มความอร่อยอีกระดับกับ Matcha cashew Butter on Toastเมนูวีแกน ที่ทำง่าย อิ่มอร่อยอยู่ท้องมื้อเช้า และสามารถนำไปทานคู่กับแพนเค้ก วาฟเฟิล หรือ สโคนก็อร่อยไปอีกแบบ เพียงแค่นำเม็ดมะม่วงหิมพานต์สับที่อบแล้ว 2 ถ้วย ผสมกับผงมัทฉะ 3 ช้อนชา กลิ่นวนิลา 1 ช้อนชา เกลือเล็กน้อย เมเปิ้ลไซรัป 2 ช้อนชา และน้ำมันมะพร้าว 3 ช้อนชา ปั่นด้วยเครื่องปั่นอาหารให้เข้ากัน เป็นอันเสร็จเรียบร้อย ทานคู่กับกล้วย โรยเม็ดมะม่วงหิมพานต์สับ และผงซินนาม่อนเล็กน้อย ยิ่งอร่อย

Matcha cashew Butter on Toast

ปิดท้ายด้วยMatcha Soup Tofu ซุปมัทฉะเต้าหู้เริ่มด้วยละลายเนยจืด ½ ถ้วย เปิดไฟกลางใส่่เห็ดหอมและต้นหอมหั่นละเอียดลงไป เติมผงมัทฉะ 2 ช้อนโต๊ะ เติมน้ำสต็อกไก่ประมาณ 8 ถ้วย และครีม 1 ถ้วย พร้อมทั้งเกลือ พริกไทยเล็กน้อย และผักโขม 1 ถ้วย เคี่ยวให้เข้ากัน ตั้งไฟคนประมาณ 10 นาที เสิร์ฟคู่กับเต้าหู้ที่นำไปกริลในกระทะจนสุกแล้ว

Matcha Soup Tofu

หากใครที่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มทำอาหารเช้าทานเองได้ยังไง สามารถลองทำตามสูตรนี้ได้ ก็จะได้เมนูมื้อเช้าอร่อยๆ เหมือนไปทานที่ร้าน 

ที่มา

https://veggiekinsblog.com/2020/01/10/matcha-cashew-butter/

https://www.bbcgoodfood.com/recipes/matcha-breakfast-bowl

https://www.menshealth.com/nutrition/g22552078/best-keto-breakfast-ideas/

https://teasquirrel.com/home/2019/9/25/the-only-matcha-pancakes-recipe-you-will-ever-need?format=amp

บทความจาก : Fuwafuwa

บริหารจัดการผงมัทฉะ ยังไงให้ยอดพุ่ง !

ในช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดีแบบนี้ หลายๆร้านคงยอดขายตกลง ยิ่งเจอกับโรคระบาดอย่างโควิดด้วยแล้ว ยิ่งทำให้ลูกค้าออกมาจับจ่ายใช้สอยกันน้อยลง การควบคุมวัตถุดิบที่เคยแพลนไว้อย่างดีของหลายๆร้านอาจจะรวนได้ วัตถุดิบบางตัวราคาค่อนข้างสูง ถ้าไม่บริหารจัดการให้ดีอาจจะทำให้ร้านขาดทุนได้

วิธีง่ายๆกับการจัดการวัตถุดิบของร้านก่อนที่ของจะหมดอายุ


  • รีเช็คสต็อกวัตถุดิบทุกตัว ถึงวันหมดอายุ และวิธีเก็บรักษา อย่างพวก ผงชา ที่โดนแสงไม่ได้ ก็ควรเก็บในที่มิดชิดเข้าตู้เย็นให้ถูกวิธี เพื่อที่จะทำให้ไม่เสียก่อนวลาที่กำหนด หรืออย่างอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆก็สำคัญไม่แพ้กัน ถ้าไม่ใช้ให้ถูกวิธี อาจจะทำให้เสียง่ายต้องเสียค่าซ่อมหรือซื้อใหม่อีก อย่างวิธีตากฉะเซ็น หรือแปรงชงชา ก็ควรเสียบไว้ในที่ตั้งของมัน วางผึ่งลมให้แห้งก่อนเก็บ เพื่อป้องกันการขึ้นรา
  • ดัดแปลง ร้านขนมหวาน เครื่องดื่มหลายร้านช่วงนี้อาจจะกุมหัวคิดหนักกันหน่อย ว่าจะทำยังไงถึงจะขายได้ในเมื่อลูกค้าไม่เข้าที่หน้าร้านสิ่งสำคัญคือ การดัดแปลง ผันตัวมาทำดิลิเวอรี่ให้ได้ รูปแบบในการเสิร์ฟแต่ละเมนูที่ปกติมีความอลังการ อาจจะต้องดัดแปลง เช่น พวกเมนูน้ำ อาจจะใช้เป็นเวอร์ชั่นใส่ขวดส่งแทน ง่ายต่อการดิลิเวอรี่ ลูกค้าได้รับก็ประทับใจ หรือจะอย่างพวกเมนูขนมหวาน ที่ลองดูวิธีการเสิร์ฟ ว่าแบ่งซอส แบ่งองค์ประกอบหลักของขนมใส่กล่องบริการเสิร์ฟยังไงได้บ้าง
  • ต่อยอด จากวัตถุดิบเดิมในร้านให้มากที่สุด วัตถุดิบบางอย่างที่เป็นของสดเสียง่ายอย่างนมสด หรือ ครีม ที่สั่งมาสต็อกไว้แล้ว ต้องดัดแปลงเมนูที่สามารถทำเสิร์ฟลูกค้าให้ได้ ก่อนที่จะเสีย เช่น อาจจะนำนมบางส่วนไปเป็นส่วนผสมของการทำขนมปัง ซึ่งเวลาในการเก็บรักษาขนมปังก็จะยืดได้นานกว่านมสดทั่วไป หรือ ใครที่สต็อกผงชาไว้เยอะ สำหรับทำเมนูต่างๆในร้าน ก็สามารถแบ่งชาออกมาส่วนนึง ผสมกับแป้ง ผงฟู แล้วแพ็คขายเป็น Matcha Pancake Powder สูตรเฉพาะของที่ร้าน เพื่อให้ลูกค้าสามารถสั่งไปทำแพนเค้กทาน เป็นการเพิ่มกิจกรรมทางอ้อมให้ลูกค้าไปสนุกกันเองในช่วงต้องอยู่บ้านนานๆเอง

เพียง 3 เทคนิคง่ายๆ ก็ช่วยให้วัถุดิบในร้าน ถูกใช้อย่างเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด แต่ถ้าใครอยากซื้อวัตถุดิบเข้าร้านเพิ่มเติมก็สามารถสั่งผงชาเขียวมัทฉะ ผงชาโฮจิฉะ และอุปกรณ์ชงชาอื่นๆ เพิ่มได้ที่ https://matchazuki.com/shop/ เรามีบริการส่งถึงหน้าบ้านเลย

ที่มา

https://www.willfrolicforfood.com/blog/grain-free-chickpea-ravioli-with-almond-ricotta-filling

https://www.ohhowcivilized.com/matcha-bubble-tea/

https://kirbiecravings.com/the-best-matcha-powder/

https://www.aarp.org/home-family/friends-family/info-2017/milk-delivery-service.html

By : Contrary To Popular Belief

Share on facebook
Share on twitter

Blogs

นำผงมัทฉะมาประกอบอาหารอย่าง โซบะชาเขียว

ใครที่ชื่นชอบชาเขียวเป็นชีวิตจิตใจ ยิ่งได้ชาเขียวพรี่เมี่ยมที่มีทั้งกลิ่น และรสชาติแบบออริจินัลใช้ทำเครื่องดื่มหรือขนมแล้ว เมนูนั้นจะยิ่งพิเศษ ชวนทานมากยิ่งขึ้น แต่หลายคนก็คงสงสัยเหมือนกันว่า ผงมัทฉะ เอาไปทำอย่างอื่นนอกจากเครื่องดื่มและขนมได้มั้ย????

ถ้านึกดีๆแล้ว ที่ญี่ปุ่น เรามักจะเห็นหลายๆร้านมีการนำผงมัทฉะมาประกอบอาหาร แต่เราอาจะลืมคิดไปว่าที่ไทย เมนูของคาวจากชาเขียว มีขายอยู่น้อยมาก ทั้งๆที่บางร้านเองก็ใช้ผงมัทฉะนำเข้าจากญี่ปุ่นเหมือนกัน การนำผงมัทฉะนั้นมาประกอบอาหารบ้างจึงเป็นเรื่องที่ไม่ยากเกินความสามารถแน่นอน แถมยังได้สัมผัสชาเขียวดั้งเดิมอีก ไม่ต้องไปไกลถึงญี่ปุ่น ก็ทำกินเองได้ที่บ้าน แถมยังนำมาใส่ในเมนูของคาวที่ร้านคาเฟ่ได้อีก “เส้นโซบะชาเขียวโฮมเมด” ที่ไม่ต้องผ่านกรรมวิธีทางโรงงานให้ยุ่งยาก

ส่วนผสม :

แป้งสาลีอเนกประสงค์ 100 กรัม

แป้งบัควีต 100 กรัม

น้ำ 200 กรัม

ผงมัทฉะ 1 ช้อนชา

เริ่มจากการผสมแป้งบัควีตกับแป้งสาลีอเนกประสงค์เข้าด้วยกัน ร่อนแป้งลงในอ่างผสม ใส่ผงมัทฉะ แล้วค่อยๆ ใส่น้ำทีละน้อยพร้อมใช้มือคนแป้งไปเรื่อยๆ นวดแป้งให้ค่อยๆ ดูดน้ำ นวดและซุยแป้งจนรู้สึกว่ามีเนื้อสัมผัสคล้ายเม็ดทราย

ใส่น้ำให้เหลือประมาณ ¼ ของน้ำทั้งหมด จากนั้นใส่น้ำที่เหลือลงไปพร้อมนวดให้แป้งจับตัวเป็นก้อน ใช้ฝ่ามือนวดแป้งตรงกลางแล้วพับริมแป้งขึ้นมาทับกัน นวดแป้งแบบนี้วนไปเรื่อยๆ จนกว่าแป้งจะนุ่ม (กดแล้วเป็นรอยบุ๋ม) จากนั้นปั้นแป้งให้เป็นก้อนกลม

โรยแป้งนวลบนไม้กระดานเล็กน้อย ย้ายก้อนแป้งของเรามาวางไว้ ใช้ฝ่ามือกดก้อนแป้งให้ขยายออก จากนั้นใช้ไม้คลึงรีดแป้งให้เป็นแผ่นสี่เหลี่ยมจัตุรัสบางประมาณ 0.2 มิลลิเมตร โรยแป้งนวลให้ทั่ว พับแป้งมาประกบกัน จากนั้นใช้มีดหั่นเป็นเส้นเล็กๆ คลุกเส้นด้วยแป้งนวลให้ทั่วอีกครั้ง ห่อด้วยกระดาษทิชชู ใส่ในภาชนะปิดสนิท หรือจะใส่ถุงพลาสติกแล้วรีดเอาอากาศออกให้หมดก็ได้ เก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดาได้ประมาณ 1-2 วัน

การลวกเส้นให้ตั้งหม้อน้ำบนไฟกลางจนเดือดจัด ใส่เส้นโซบะที่เราบรรจงหั่นลงต้มประมาณ 1 นาที ตักขึ้นแช่ในอ่างน้ำเย็น 20 วินาที ตักขึ้นพักให้สะเด็ดน้ำ โซบะต้มเสร็จใหม่ๆ ต้องกินทันทีอย่าปล่อยไว้นาน เพราะเส้นจะดูดน้ำเข้าไปทำให้เส้นอืด เละ ไม่อร่อยนั่นเอง

…………………..พอเราได้วิธีทำเส้นโซบะชาเขียวแล้ว มาดูกันว่าเส้นโซบะชาเขียว เอาไปทำอาหารเมนูอะไรได้อีกบ้าง

เริ่มจาก โซบะชาเขียวเย็น ที่คนญี่ปุ่นมักทานคู่กับ วาซาบิ ซอสสียุสำหรับทานกับโซบะ ประมาณ 50 ml. สาหร่ายแผ่นหั่นฝอย หอมญี่ปุ่นซอย โดยบางคนก็ทานคู่กับกุ้งเทมปุระ หรือ ผงเทมปุระทอดกรอบ นิยมทานกันในหน้าร้อน เพื่อเพิ่มความสดชื่น คลายร้อนนั่นเอง

matcha soba

นอกจากโซบะเย็นแล้ว มัทฉะโซบะ ยังสามารถนำไปทำได้อีกหลายเมนูเลยอย่างเช่น

Ginger Miso Soup With Green Tea Soba Noodles

Ginger Miso Soup With Green Tea Soba Noodles

Let’s Cook : ขิงบดละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ + น้ำเปล่า 6 ถ้วย + น้ำมะขาม ¼ ถ้วย เทรวมกันลงหม้อ ต้มไฟอ่อนประมาณ 10 นาที แล้วถึงเติม มิโสะ ¼ ถ้วย ลงไป ต้มต่ออีกประมาณ 3 นาที ไม่ต้องให้เดือดเกินไป เพราะ เวลาเสิร์ฟลูกค้าจะได้ซดน้ำได้ ไม่ลวกปาก

Serve ! ในชามเสิร์ฟจะมีโซบะมัทฉะ ไข่ต้ม 1 ฟอง แบบยังไม่ต้องสุกมาก เพราะไข่จะแห้งเกินไป และเห็ดหอม & บล็อคโคลี่ ย่างปริมาณตามชอบ ตกแต่งเพิ่มเติมด้วย โต้วเหมี่ยว และหอมญี่ปุ่นซอย ปริมาณตามชอบ โรยด้วยงาดำเล็กน้อยด้านบน

มาต่อกันที่อีกเมนูอย่าง

Green Tea Sesame Soba Noodles With Stir Fried Tofu

Let’s Cook : วอร์มเตาอบที่ 180c หั่นเต้าหู้เป็นก้อนสี่เหลี่ยม ขนาดประมาณ 1.5 ซม วางบนแผ่นรองอบ เข้าเต้าอบ 15 นาที แล้วลวกเส้นโซบะชาเขียวพักไว้ ผัดน้ำมันงา 1 ช้อนโต๊ะ + ขิงบด 2 ช้อนชา + น้ำส้มสายชู ½ ช้อนชา ผัดที่ไฟกลางให้หอม แล้วเอาเต้าหู้ที่อบเสร็จแล้วมาใส่ในกระทะ ใส่โชยุ 1 ช้อนโต๊ะ +  วาซาบิ ½ ช้อนโต๊ะ + มิโสะ 2 ช้อนชา ผัดจนเข้ากัน ปิดไฟ

Serve ! นำเต้าหู้ที่ผัดเสร็จแล้วมาใส่ในชามที่มีเส้นมัทฉะโซบะที่ลวกรอไว้แล้ว โรยหน้าตกแต่งด้วยงาขาวอีกที เป็นอันเรียบร้อย

Green Tea Sesame Soba Noodles With Stir Fried Tofu

แต่ถ้าใครอยากสลับเป็ฯใช้เส้นโซบะธรรมดา แต่ทานคู่กับซอสชาเขียว ลองใช้เป็นสูตรนี้แทน

Matcha Soba With Spicy Tofu Nuggets

Matcha Soba With Spicy Tofu Nuggets

Let’s Cook : เริ่มจากใส่น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ เปิดไฟกลาง ใส่หอมใหญ่สับละเอียดปริมาณตามชอบ และกระเทียมสับ 3 กลีบ ผัดจนหอม แล้วเอาไปเทใส่เครื่องปั่น เติมน้ำ 1 ถ้วย +เมเปิ้ลไซรับ 2 ช้อนโต๊ะ + เกลือ 1½ ช้อนชา + น้ำมะนาว 1 ช้อนชา+ ผงมัทฉะ 1 ช้อนชา + เม็ดมะม่วงหิมพานต์ดิบ ½ ถ้วย ปั่นให้เข้ากัน

นำเต้าหู้ หั่นชิ้นสี่เหลี่ยมไทอดในน้ำมันงาให้หอม ข้างนอกกรอบเล็กน้อย

Serve ! นำซอสครีมชาเขียว ไปคลุกกับเส้นโซบะที่ลวกไว้แล้วและเต้าหู้ทอดโรยหน้าด้วยหอมญี่ปุ่นซอย และงาขาวเล็กน้อย เป็นอันเรียบร้ออยอีกเมนูนึง ……อิตาดาคิมัส ทานแล้วนะคะ 🙂

ที่มา

https://foodie.sysco.com/recipes/matcha-soba-with-spicy-tofu-nuggets/

https://www.japancentre.com/en/recipes/1265-cold-green-tea-soba-noodles

shorturl.at/uIRX7

shorturl.at/mnCU2

shorturl.at/bqsxX

บทความจาก : Fuwafuwa